Freshket – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 05 Mar 2022 08:49:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก freshket แพลตฟอร์มตลาดวัตถุดิบออนไลน์ ส่งตรงจากเกษตรกร https://positioningmag.com/1376446 Sat, 05 Mar 2022 07:04:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376446 ทำความรู้จัก freshket สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มจำหน่ายวัตถุดิบออนไลน์สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร และกลุ่มผู้บริโภค ส่งตรงจากเกษตรกร มีสินค้ากว่า 7,000 รายการ ชูจุดเด่นส่งสินค้าสดๆ วันต่อวัน ร้านค้าไม่ต้องสต็อกสินค้า

จุดเริ่มต้น freshket

freshket เป็นแพลตฟอร์มสตาร์ทอัพ ที่ชนะเลิศโครงการ dtac accelerate batch 4 ในปี 2559 โดย “เบลล์ พงษ์ลดา พะเนียงเวทย์” เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และ CEO วางจุดยืนเป็นแพลตฟอร์มจำหน่ายวัตถุดิบออนไลน์สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร และกลุ่มผู้บริโภค เรียกว่าเป็นตัวช่วยร้านอาหาร ในการจัดส่งสารพัดวัตถุดิบให้ถึงที่ แถมล้าง ตัดแต่งพืชผักพร้อมปรุงให้เรียบร้อย ปัจจุบันมีสินค้ากว่า 7,000 รายการ ครอบคลุมทั้งอาหารสด อาหารแห้ง ของใช้ส่วนตัว

ที่มาของแพลตฟอร์มนี้เกิดจากการเล็งเห็นถึงปัญหาจากการที่ผู้ซื้อกับผู้ขายมีการเชื่อมต่อจริงๆ กันทุกวัน แต่หากันไม่เจอจึงเกิดเป็นแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมาโดย นำเทคโนโลยีเข้ามาจัดการในระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างความโปร่งใส ให้ตั้งแต่เกษตรกร ผู้ผลิต สามารถส่งต่อไปถึง เจ้าของธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม รวมไปถึงผู้ผลิตอาหารทั่วไป ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อความเป็นธรรมที่สุดสำหรับทุกฝ่าย

ภายใต้คอนเซ็ปต์ที่ว่า “freshket จะไม่สต็อกวัตถุดิบสดข้ามวัน เพื่อให้ลูกค้าได้รับของที่สดใหม่ในทุกวัน” เพื่อให้คงความสดใหม่อยู่ตลอดด้วยการควบคุมอุณหภูมิในกล่องไว้ โดยจะขึ้นอยู่กับวัตถุดิบนั้นๆ ว่าควรจะอยู่ที่อุณหภูมิที่เท่าไหร่ เพื่อให้ทางร้านอาหารได้รับวัตถุดิบสดใหม่พร้อมปรุงได้ทันที โดยลูกค้าสามารถเลือกเวลาจัดส่งที่สะดวกได้ด้วยตัวเอง

สิ่งที่ทำให้ freshket เติบโตอย่างต่อเนื่องมาจาก

  1. บริการจัดส่งทุกวัน ไม่มีวันหยุด สามารถเลือกเวลาจัดส่งเองได้ตามความสะดวก พร้อมการันตีคุณภาพที่ 100%
  2. ความหลากหลายของอาหารสดและวัตถุดิบตั้งแต่เนื้อสัตว์ ผัก ไปจนถึงอาหารแห้งและเครื่องปรุงรสในราคาที่ไม่แตกต่างจากตลาดสด
  3. ส่งสินค้าอย่างรวดเร็วภายในวันรุ่งขึ้น และยังสามารถกำหนดช่วงเวลาการส่งได้เองตามสะดวก
  4. สินค้าจัดส่งมีการแพ็กใส่ถุงง่ายต่อการหยิบใช้ และบรรจุใส่กล่องอีกครั้งเพื่อป้องกันวัตถุดิบเสียหาย ส่วนอาหารสดประเภทเนื้อสัตว์มีการบรรจุน้ำแข็งใส่กล่องเพื่อรักษาความสดให้นานขึ้น
  5. ลูกค้าสามารถดูข้อมูลการสั่งย้อนหลัง และสามารถสั่งรายการเดิมที่เคยสั่งซ้ำๆ ได้ เพื่อความสะดวกรวดเร็วต่อการใช้งาน

ในปีนี้ freshket ตั้งเป้าปีนี้เพิ่มสัดส่วนการเติบโตที่ 3 เท่า พร้อมเพิ่มประเภทสินค้าให้กว้าง และลึกยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกประเภท และร้านอาหารทุก cuisine มุ่งเน้นที่ศักยภาพการบริหารจัดการบนแอปพลิเคชันให้เฟรชเก็ตเป็นเสมือนผู้ช่วยส่วนตัวร้านอาหารครบถ้วนถึง 90% ในขณะเดียวกันมุ่งเน้นที่ช่วยร้านอาหารปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมือง ไม่ว่าจะเป็นของแพง ของขาด หรือกระแสเงินสด โดยจับมือกับพันธมิตร (partnership) หลาย ๆ ฝ่าย

เพื่อตอกย้ำตัวตนและ DNA ของ freshket จึงเกิดเป็นแคมเปญ What’s freshket เพื่อบอกตัวตนของแบรนด์และบริการของ freshket ไปจนถึงความคุ้มค่าในการใช้บริการ และคุณภาพของสินค้า โดยมี tagline ว่า “สดจริง เชฟเลือกใช้” #ส่งทุกวันสดทุกวัน เพื่อเพิ่มความมั่นใจถึงคุณภาพของสินค้าบริการจัดส่งพร้อมใช้ทันทีไม่มีคัดทิิ้ง

โดยมุ่งเน้นที่ฐานลูกค้าปัจจุบัน พร้อมขยายฐานลูกค้าในระดับภูมิภาคให้กว้างขึ้น ในการเพิ่มศักยภาพในด้านการบริหารจัดการของแพลตฟอร์ม และบริการอื่นๆ ของ freshket ขยายพื้นที่ให้บริการไปยังหัวเมืองสำคัญและเมืองท่องเที่ยว เพื่อรองรับการให้บริการร้านอาหารในการบริหารจัดการและการจัดหาวัตถุดิบภายหลังการเปิดประเทศ พร้อมเครือข่ายและพื้นที่บริการขนส่งให้ครอบคลุมทั้งประเทศด้วยระบบ e-Logistics โดยเฉพาะในจุดยุทธศาสตร์สำหรับการขนส่งทางถนน

เนื่องจากสถานการณ์โควิด – 19 จะยังคงอยู่ และราคาอาหาร วัตถุดิบจะยังสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นสาเหตุให้ freshket ขยายความหลากหลายประเภทสินค้าให้กว้างและลึกขึ้น เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการทั้งลูกค้าบ้านและกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม เนื้อสัตว์, ผัก, อาหารทะเล, เครื่องปรุงทุกชนิดและเครื่องดื่ม หรือแม้แต่อุปกรณ์ทำความสะอาด ชุดป้องกันโควิด-19 เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้มากที่สุด หรือแม้แต่เทรนด์ vegan, planted-base (อาหารที่ทำจากพืชเป็นหลัก) ที่กำลังมา เกิดจากการให้ความสำคัญกับตัวเองเป็นหลัก เพราะในช่วงแพร่ระบาดของโควิด 19 คนจึงหันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองและเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น

]]>
1376446
สตาร์ทอัปมาแรง Freshket ตลาดสดออนไลน์ ส่งวัตถุดิบสด-แห้ง กว่า 3,000 รายการ ป้อนร้านอาหาร https://positioningmag.com/1247270 Mon, 23 Sep 2019 04:41:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1247270 ถือเป็นสตาร์ทอัปอนาคตไกล สำหรับแพลตฟอร์ม “Freshket” (เฟรชเก็ต) ตลาดสดออนไลน์ที่เข้ามาเป็น “ตัวช่วย” ร้านอาหาร ในการจัดส่งสารพัดวัตถุดิบให้ถึงที่ แถมล้าง ตัดแต่งพืชผักพร้อมปรุงให้เรียบร้อย เรียกว่าสะดวกสุดๆ ในยุค 4.0

เมื่อร้านอาหารกระจายอยู่ทุกหัวระแหง หากมองให้ลึกนั่นถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สามารถแตกไลน์ได้อีกมากมาย อย่าง “เฟรชเก็ต” ของ “เบลล์ พงษ์ลดา พะเนียงเวทย์” สตาร์ทอัปรุ่นใหม่เห็นโอกาสกับธุรกิจกับร้านอาหาร อาศัยประสบการณ์การทำงานจากการเป็นซัพพลายเออร์ของสดให้กับตลาดไท เห็น “ปัญหา” ของร้านอาหารทั้งรายเล็กและรายใหญ่ที่มาพร้อมกับ “โอกาส” สู่เชิงพาณิชย์ได้ ด้วยการเป็นตัวกลางเชื่อมแหล่งวัตถุดิบ กับร้านอาหาร ได้มาเจอกันในรูปแบบของ “อี มาร์เก็ตเพลส” (e-Marketplace)

เบลล์ พงษ์ลดา พะเนียงเวทย์

“ด้วยความที่เราอยู่ในวงการซัพลายเออร์ของสดที่ตลาดไท ส่งให้กับร้านอาหารที่มีหลายสาขา แต่กลับมองเห็นปัญหาของผู้ประกอบการร้านอาหารรายเล็กๆ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่มีเพียง 1- 2 สาขา จะเข้าไม่ถึงวัตถุดิบในราคาขายส่งที่มีราคาค่อนข้างต่ำได้ เพราะต้องซื้อเป็นจำนวนมาก จึงต้องการเป็นสื่อกลางเชื่อมแหล่งวัตถุดิบจากฟาร์ม ให้กับร้านอาหารรายเล็กโดยตรงในลักษณะของอี มาร์เก็ตเพลส”

แต่เมื่อทำได้ประมาณ 10 เดือน ก็พบว่าธุรกิจร้านอาหารไม่สามารถตอบโจทย์ด้วยระบบอี มาร์เก็ตเพลส ได้ โดยเฉพาะขั้นตอนการจัดส่งที่มีราคาค่อนข้างสูง จึงตัดสินใจพัฒนาแพลตฟอร์ม “เฟรชเก็ต” วางตำแหน่งเป็น “ศูนย์กลางวัตถุดิบ” ที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารทั้งหมด

“เฟรชเก็ต” ดูแลทั้งซัพพลายเชนและคลังสินค้าที่พร้อมจัดส่งให้ลูกค้ารายย่อยได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องสั่งสต็อกไว้เป็นจำนวนมาก ด้วยราคาขั้นต่ำที่ 499 บาท เท่านั้น ทำให้ร้านอาหารรายเล็กได้วัตถุดิบที่สดใหม่ทุกวัน ไม่ต้องกังวลเรื่องสินค้าค้างสต็อก หรือเน่าเสีย กลายเป็นต้นทุนที่ไม่ควรจะเสียไป แถมยังจัดส่งให้ถึงร้านได้อีกด้วย

นอกจากบริการจัดส่งที่ชิงความเปรียบทั้งในเรื่องของเวลาและราคาการสั่งขั้นต่ำแล้ว ในส่วนของราคาวัตถุดิบก็แข่งขันได้ แถมบางรายการยังถูกกว่าท้องตลาดอีกด้วย จากกลยุทธ์การบริหารสต็อกวัตถุดิบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบจากต้นน้ำมากขึ้น จำนวนร้านอาหารที่เข้ามาใช้บริการกว่า 1,500 ร้าน ทำให้สั่งซื้อวัตถุดิบในปริมาณจึงได้ราคาที่ถูกลง มีการติดตามข้อมูลจากร้านอาหารอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทราบสภาวะเศรษฐกิจ และนำมาบริหารจัดการวัตถุดิบ เป็นต้น

โกยลูกค้า 1,600 ร้านค้า

จากปี 2017 ที่มีร้านอาหารในชุมชนเฟรชเก็ตไม่ถึง 10 ร้าน ปัจจุบันมีมากกว่า 1,600 ร้านที่ได้สั่งซื้อวัตถุดิบกับเฟรชเก็ต นอกจากปริมาณการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้เข้าถึงแหล่งผลิตได้มากขึ้นแล้วนั้น ข้อมูลความต้องการของสินค้าแต่ละรายการทำให้วางแผนร่วมกับซัพพลายเออร์ และปรับกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้นทุนต่อหน่วยลดลง ราคาสินค้าต่อหน่วยจึงลดลงได้ ร้านอาหารที่อยู่ในชุมชนของเฟรชเก็ตจึงสามารถสร้างกำไรได้มากขึ้นจากต้นทุนอาหารที่ลดลง

ปัจจุบันร้านอาหารรายเล็กเป็นลูกค้าของเฟรชเก็ตกว่า 1,600 ร้าน กระจายอยู่ในกรุงเทพฯ 80% และปริมณฑล 20% โดยมีร้านอาหารอาหารไซต์ S ที่มีจำนวนสาขาประมาณ 3 – 10 สาขา และไซต์ M มี 11 – 30 สาขา เป็นลูกค้าหลักและมีแนวโน้มใช้บริการเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเทรนด์ในยุคนี้ผู้ประกอบการจะลดการทำงานในครัวกลางให้น้อยที่สุด แต่ไปเน้นด้านการทำการตลาดนั้น ดังนั้นเฟรชเก็ต จึงถือว่าเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในช่วงเวลาที่เหมาะสม

สั่งของสด 3,000 รายการ

ขณะที่ระบบหลังบ้าน เรียกว่ามีระบบบริหารจัดการแทบจะไม่มีการสต็อก “ของสด” หรือมีก็น้อยมาก แต่กลับมีสินค้าให้ร้านอาหารเลือกสรรกว่า 3,000 รายการ โดยใช้วิธีเมื่อร้านอาหารสั่งของสด ไม่ว่าจะเป็น เนื้อสัตว์ ผักสด ก็จะรวบรวมออเดอร์ ส่งให้ซัพพลายเออร์โดยตรงไม่ผ่านคนกลาง ทำให้ร้านอาหารได้วัตถุดิบสดใหม่ทุกครั้งที่สั่งวันต่อวัน อย่างเช่น หากร้านอาหารสั่งวัตถุดิบวันนี้ตอน 4 ทุ่ม ก็จะได้รับสินค้าตอน 8 โมงเช้า ของอีกวันเป็นต้น

“เรามีสินค้ากว่า 3,000 รายการ ทั้งของสด ของแห้ง เช่น น้ำปลา ซอสปรุงรส กะปิ ข้าวสาร และอื่นๆ สำหรับทำอาหารทั้งหมด ราคาใกล้เคียงกับตลาดมาก แต่เจ้าของร้านอาหารหรือฝ่ายครัวไม่ต้องเสียเวลาไปซื้อของด้วยตัวเอง โดยทำการคัด ตัดแต่งวัตถุดิบมาให้เรียบร้อย พร้อมประกอบการอาหารได้ เพียงสั่งขั้นต่ำแค่ 499 บาท ก็จัดส่งให้ฟรีทั่วกรุงเทพฯ”

นอกจากนี้เฟรชเก็ต ยังมีบริการระบบหลังบ้านให้ร้านอาหารด้วย สามารถดูยอดการสั่งซื้อ มีการเทียบราคาวัตถุดิบขึ้น-ลง ในตลาดให้ โดยดูผ่านสมาร์ทโฟนได้ ซึ่งระบบดังกล่าวให้เจ้าของร้านอาหารใช้บริการฟรี

ล่าสุดเฟรชเก็ต ได้ขยายศูนย์กระจายวัตถุดิบไปเขตปริมณฑล เช่น นนทบุรีและปทุมธานี เพื่อรองรับจำนวนร้านอาหารที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงยังขยายไปพัทยาแล้ว จากจำนวนร้านอาหารที่มีเป็นจำนวนมากเช่นกัน อนาคตมีแผนจะขยายไป ภูเก็ต เชียงใหม่ หรือตามหัวเมืองใหญ่ ด้วยการหาซัพพลายเออร์ในพื้นที่นั้นๆ คาดภายใน 3 ปี

ส่วนแผนการขยายตลาดที่นอกเหนือจากร้านอาหาร มองกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ที่มีโอกาสจะใช้วัตถุดิบด้านอาหารเป็นจำนวนมากเช่นกัน อย่าง โรงพยาบาล โรงอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานผลิตอาหาร บริษัทผู้ส่งออกอาหาร รวมถึงเซกเมนต์อื่นๆ ที่คาดว่ายังมีโอกาสเติบโต

นับเป็นอีกหนึ่งสตาร์ทอัปอนาคตไกล ที่ไม่มองข้ามเรื่องใกล้ตัว พร้อมนำมาต่อยอดเพิ่มความสะดวกสบายในธุรกิจร้านอาหารที่กระจายอยู่ทั่วทุกระแหง แถมยังเพิ่มโซลูชันที่เป็นมากกว่าผู้ส่งวัตถุดิบ แต่มาพร้อมระบบจัดการหลังบ้านด้านวัตถุดิบให้ร้านอาหารอย่างสมบูรณ์แบบ.

Source

]]>
1247270
5 Startup เลือดใหม่ Unicorn หนุ่มเริ่มออกวิ่ง https://positioningmag.com/1132135 Mon, 10 Jul 2017 22:55:26 +0000 http://positioningmag.com/?p=1132135 เมื่อนิยาม Startup ถูกหยิบมาใช้เป็นตัวแทนโมเดลใหม่ของการเริ่มต้นธุรกิจยุคนี้ หลากหลายคนรุ่นใหม่มองหาช่องทาง และพร้อมที่จะเข้ามาทดลองบนโมเดลใหม่อย่างคึกคัก ทำให้เห็นปรากฏการณ์ธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้น 

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ทุก Startup จะแบกความมุ่งหวัง ไปถึงปลายทางความสำเร็จได้

Startup ที่เกิดขึ้นช่วงนี้ กำลังได้รับการจัดอันดับจากสมาคมนิสิตเก่า MBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย ที่ทำการคัดเลือก Startup ประมาณ 50 บริษัท

เพื่อรับรางวัล JUMC STARExcellence 2017 ปีนี้มีผู้ได้รับรางวัล 5 บริษัท

1. Omise ยูนิคอร์นหนุ่มเขางาม

โอมิเซะ Startup สาย Fintech บริการ Payment Gateway ที่เปิดให้จ่ายเงินทางออนไลน์โดยไม่ต้องผ่านธนาคาร เช่น ตั๋วเครื่องบิน บัตรคอนเสิร์ต หรือช้อปปิ้งเว็บอีคอมเมิร์ซต่างๆ ผลงานก่อนหน้านี้ของผู้ก่อนตั้งโอมิซะ คือทำระบบ Payment ให้กับ True  Corporation, Minor International, Ookbee และ Primetime

โอมิเซะมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดไปได้ไกลที่สุดของไทย บางคนเรียกพวกเขาว่า ยูนิคอร์นตัวใหม่ของวงการเลยทีเดียว หลังจากที่สร้างความเชื่อมั่น ขายเรื่องราวของบริษัท จนสามารถระดมทุนซีรี่ส์ B ได้17.5 ล้านเหรียญ  ทำลายสถิติสูงสุดของ Startup ในไทย

โอมิเซะ ก่อตั้งในปี 2013 โดย ดอน-อิศราดร หะริณสุต และ จุน ฮาเซกาวา  เริ่มจากการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซเพราะเห็นว่าเป็นธุรกิจที่กำลังโตในไทยในเวลานั้น ก่อนจะพบว่า Payment Gateway ที่ต้องเลือกใช้ในเว็บยังไม่ตอบโจทย์ เช่น มีข้อผิดพลาดทางเทคนิค หน้าจอไม่แสดงผล และไม่รองรับการใช้งานบนมือถือ เมื่อลูกค้าจ่ายเงินไม่ได้ทันที ก็เลยเลิกไปในที่สุด ในขณะเดียวกันก็นำปัญหาที่ได้จากการทำอีคอมเมิร์ซในเรื่อง Payment Gateway ที่ยังไม่มีใครคิดแก้ปัญหาอย่างจริงจัง มาพัฒนาต่อและเป็นเปลี่ยนมาทำ Payment Gateway เต็มตัวในปี 2014

อิศราดร หะริณสุต ผู้ก่อตั้ง และ CEO โอมิเซะ บอกว่า โอมิเชะมีจุดแข็งที่แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นคือ ทำให้ผู้บริโภคใช้ได้ง่ายขึ้น หมดยุคของการจ่ายเงินแบบยุ่งยากซับซ้อน ทุกอย่างต้องเรียลไทม์และไม่สะดุด

“ถ้าซื้อออนไลน์ แล้วจ่ายออนไลน์เลย จะมีโอกาสปิดยอดได้ง่าย และเร็วขึ้น” เขาเชื่อมั่นในเรื่องนี้ และพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ตั้งแต่เปิดบริการมา 2 ปีอัตราการเติบโตของโอมิเซะยังไม่เคยตก และมีพาร์ตเนอร์รายใหญ่เข้ามาร่วมเพื่อเตรียมบุกตลาดอีกหลายประเทศ

2. Freshket ซัพพลายเชนร้านอาหาร

Freshket เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่หยิบเอาซัพพลายเชนในธุรกิจร้านอาหารมาพัฒนาต่อยอด

พงษ์ลดา พะเนียงเวทย์ CEO เฟรซเก็ต บอกว่า เฟรซเก็ตคือแพลตฟร์อมมาร์เก็ตเพลสที่ทำให้ผู้ซื้อ เช่น ภัตตาคาร, ร้านอาหาร กับผู้ผลิตเช่นเกษตรกร สามารถบริหารการสั่งซื้อวัตถุดิบได้สะดวกขึ้น โดยตัดความซับซ้อนรุงรังของระบบเอกสารออกไป

ปัญหาที่ผ่านมาคือร้านอาหารจะสั่งของทั้งทางแฟกซ์อีเมลและไลน์ ซึ่งซัพพลายของร้านอาหารจะยิบย่อยมาก เฟรซเก็ตเป็นตัวเชื่อมต่อระบบการสั่งงานจากหน้าบ้านเข้าหลังบ้าน เมื่อร้านอาหารสั่งของทางซัพพลายเออร์ก็ไม่ต้องมาทำบิลโดยการคีย์ใหม่ทั้งหมด เพราะแพลตฟอร์มจะทำเป็นรายการสินค้าเป็นบิลออกมาเลย เพราะของที่ต้องทำทุกวันจะไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น พงษ์ลดาบอกเล่าถึงสิ่งที่เธอกำลังทำ

กลุ่มเป้าหมายของเฟรซเก็ตคือร้านอาหารที่จับกลุ่มลูกค้าระดับ B ขึ้นไป ตั้งราคาอาหารไว้ประมาณ 300 บาทต่อคน ขณะนี้เน้นร้านอาหารในซอยเอกมัย และทองหล่อเป็นหลัก จากนั้นจะขยายไปยังย่านอื่นๆ สิ้นปีนี้จะมีร้านอาหาร 800 แห่งที่เข้าร่วมกับเฟรซเก็ต

3. Globish Can you speak English ?

ความไม่มั่นใจการการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ คือจุดเริ่มต้นของ Startup รายนี้ อุปนิสัยนี้ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องกับผู้ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร  ความอายในการพูด ถูกนำมาเป็นจุดแข็งของ Globish

ธกานต์ อานันโทไทย CEO บอกว่า Globish คือการเรียนการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ซึ่งมีความโดดเด่นคือเน้นการสอนแบบตัวต่อตัว Globish จะเรียกผู้สอนต่างชาติว่าโค้ช ผู้เรียนและโค้ชจะเห็นหน้ากันแบบ “เรียลไทม์” ผ่านวิดีโอคอลและสามารถ “ตอบโต้กันได้ทั้งสองทาง”

การเผญิชหน้าผู้เรียนกับผู้สอนภายออนไลน์ อาจทำให้เกิดความเกร็ง ความอายของผู้เรียนลดน้อยลง กล้าที่จะพูดออกมา และสะดวกขึ้นในการเลือกเวลา สถานที่ในการเรียน

Globish มีคนเข้ามาเรียนแล้วประมาณ 400 คน 80% เป็นลูกค้าทั่วไป ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน อายุระหว่าง 25-35 ปี และ 20% เป็นลูกค้าองค์กร บางองค์กรจ้าง Globish จัดคอร์สภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานขายที่ให้บริการในสนามบินต่างๆ

ปัจจุบัน Globish มีโค้ชต่างชาติ ประมาณ 200 คน โดยมีราคาการเรียนอยู่ที่ 120-165 บาทต่อ 25 นาที

ธกานต์ บอกว่า เธอเคยตั้งราคาที่ถูกกว่านี้แต่ก็พบกับความท้าทายว่า “เมื่อธุรกิจการศึกษาตั้งราคาถูกเกินไป ที่สุดกลับทำให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือ”

ธกานต์ คาดหวังว่า จะขยายลูกค้าทั่วไป และลูกค้าองค์กรให้มีสัดส่วนที่ 60:40 และภายใน 3 ปี จะมีผู้เข้าเรียนวันละ 2,000 คลาส และขยายไปเวียดนาม และอินโดนีเซีย

4. Local Alike ทัวร์ไร้มลพิษ

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่ชุมชนสามารถกำหนดโปรแกรมการท่องเที่ยวเองได้ กลายเป็นโมเดลธุรกิจท่องเที่ยวใหม่ของ สมศักดิ์ บุญคำ ผู้ก่อตั้ง และ Operation & Finance ของ Local Alike

สมศักดิ์ บุญคำ กล่าวว่า การท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักของคนไทย แต่ไม่มีใครบอกได้เลยว่ารายได้ที่ว่านั้น ไปที่โรงแรมเท่าไหร่ แล้วชุมชนเท่าไหร่ ผมอยากทำตัวเลขนี้ให้ชัดขึ้น และถ้าต้องการท่องเที่ยวทำอย่างไรให้เป็นการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนจริงๆ ซึ่งผมได้แรงบันดาลใจมาจากสถาบันท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I) ซึ่งเป็นเอ็นจีโอ ทำงานโดยไม่หวังผลกำไรและเก่งเรื่องพัฒนา เราก็เลยเรียนรู้มาจากเขา

การทำงานของ Local Alike คือตัวกลางระหว่างนักท่องเที่ยวกับชาวบ้าน  โดยเข้าไปรับฟังปัญหา และวางแผนพัฒนาแต่ละชุมชนเพื่อสร้างโปรแกรมท่องเที่ยวที่เป็นจุดแข็งของชุมชนขึ้นมา ที่สำคัญคือชุมชนบริการจัดการตัวเองล้วนๆ ไม่ใช่คนภายนอก เราเชื่อว่าการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถช่วยพัฒนาชุมชนได้

“ความแตกต่างจากบริษัททัวร์อื่น คือการจำกัดนักท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้กระทบกับวิถีชีวิตชุมชน” เขาเล่าถึงจุดแข็งของ startup ตัวนี้

Local Alike ทำการตลาดโดยใช้สื่อออนไลน์เป็นหลักเช่นสื่อวิดีโอ และเว็บไซต์ เพื่อเป็นช่องทางการหาลูกค้า และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ

ในแง่โอกาสของธุรกิจ จากสถิติที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในประเทศ มี 20 % ที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน นั่นคือโอกาสของ Local Alike

5. Skootar เคาน์เตอร์ เซอร์วิส ติดล้อ

รับส่งเอกสาร ส่งผู้โดยสาร ดูจะง่ายไปสำหรับ Skootar ที่มองช่องว่างของผู้ประกอบการ SME ในเรื่องการวางบิล เก็บเช็ค ส่งพัสดุสำคัญ ที่ต้องการผู้ให้บริการที่เข้าใจ และน่าเชื่อถือ ในการทำธุรกรรมการเงินบางประเภท

ธีภพ กิจจะวัฒนะ Co-Founder และ CEO Skootar บอกว่า Skootar คือแอปพลิเคชั่น และเว็บไซต์ให้บริการแมสเซ็นเจอร์สำหรับธุรกิจ ในการวางบิล เก็บเช็ค ส่งเงินเข้าธนาคาร หรือส่งพัสดุตามที่ต่างๆ โดยใช้โมเดล crowdsourcing ของแมสเซ็นเจอร์ เช่นเดียวกับ GrabBike, Lalamove โดยผู้ใช้สามารถใช้บริการผ่านเว็บไซต์หรือแอปทั้งแอนดรอยด์ และ iOS

“ความท้าทายในธุรกิจนี้คือการสร้างความสมดุลระหว่าง Demand และ Supply สองสิ่งนี้ต้องค่อยๆ โตไปด้วยกัน อีกอย่างก็คือการเปลี่ยนพฤติกรรมคน จากที่โทรเรียกแมสเซ็นเจอร์ให้เปลี่ยนมาเป็นใช้แอปพลิเคชั่น คนส่วนมากจะมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทาย“

]]>
1132135