GMM – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 29 Jul 2022 08:35:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “แกรมมี่” ลงทุนเปิด GMM Academy แหล่งบ่มเพาะปั้นศิลปิน  https://positioningmag.com/1393932 Tue, 26 Jul 2022 08:03:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1393932 แกรมมี่ซุ่มเปิด “จีเอ็มเอ็ม อะคาเดมี่” (GMM Academy) โรงเรียนปั้นศิลปิน ไอดอลเข้าสังกัด ขอเทียบเท่า YG ค่ายดังจากเกาหลีใต้ หวังยกระดับอุตสาหกรรมเพลงไทยให้อินเตอร์

หลังจากที่แกรมมี่ได้เคยร่วมทุนกับ บริษัท YG Entertainment Inc. จากประเทศเกาหลีใต้ เปิด YGMM เมื่อเดือนตุลาคม 2564 เป็นบริษัทพัฒนาศิลปินระดับโลกแบบครบวงจร หวังปั้นให้ไทยเป็นอีกหนึ่งฐานของการพัฒนาศิลปินไอดอลที่ครบวงจรที่สุดตั้งแต่การคัดเลือก, ฝึกซ้อม, สร้างสรรค์และโปรโมตผลงาน 

ล่าสุดแกรมมี่ได้ลงทุนเปิดโรงเรียนปั้นศิลปินเอง ในชื่อ GMM Academy เพื่อปั้นศิลปิน ไอดอลไทยเข้าสังกัดของตนเอง โดยเน้นที่ 3 ส่วน ได้แก่ ไอดอล, ป็อปสตาร์ และไทดอล (ศิลปินลุกทุ่ง)                         

ในปัจจุบันวงการดนตรีมีศิลปินเกิดใหม่ได้ตลอดเวลาบนโลกออนไลน์ เด็กรุ่นใหม่มีความสามารถ มีอิสระ และได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวมากขึ้น เราจะเห็นได้จากบางคนสามารถเปิดช่องใน YouTube เพื่อแสดงความสามารถของตัวเองได้แล้ว แต่การจะเป็นศิลปินมืออาชีพ จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพรอบด้าน

แกรมมี่จึงมองเห็นโอกาสในการพัฒนาศิลปินให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืน การเปิดสถาบันนี้เพื่อสอนวิชาชีพศิลปินด้วยมาตรฐานระดับโลก และขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมเพลงให้มีความหลากหลาย สามารถก้าวไปสู่ระดับอินเตอร์ได้

นรมน ชูชีพชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาด จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

“แนวคิดของจีเอ็มเอ็ม อะคาเดมี่ เราเชื่อว่า อาชีพศิลปิน เป็นอาชีพที่สามารถเติบโตได้ และปัจจุบันมีเด็กรุ่นใหม่ที่มีพรสวรรค์ มีความสามารถจำนวนมาก ถ้าได้ทำงานกับผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านนี้โดยเฉพาะ จะช่วยพัฒนาและส่งเสริมให้ไปไกลกว่าเดิมมาก จีเอ็มเอ็ม อะคาเดมี่ จึงสร้างหลักสูตรเฉพาะทางที่พร้อมพัฒนา ขัดเกลาศิลปินไปในแบบที่เหมาะกับตนเองทั้งสไตล์เพลง คาแรกเตอร์ จนพร้อมที่จะออกสู่ตลาด เมื่อออกไปแล้วเรายังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสู่การเป็นมืออาชีพ เป็นซูเปอร์สตาร์ มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนและมีฐานแฟนคลับ”  

ในสถาบันนี้เปิดรับออดิชั่นคนที่สนใจเป็นศิลปิน ถ้าใครที่ผ่านการคัดเลือกก็จะได้เข้าเรียนครบหลักสูตรตั้งแต่ร้องเพลง เต้น และพัฒนาบุคลิกภาพ โดยรวมแล้วอาจจะใช้เวลา 1-2 ปี ในการเรียน ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน

GMM Academy ประกอบด้วย 3 บุคลากรสำคัญ ธนบูลย์ คูรอย ผู้อำนวยการฝ่ายคัดสรรและพัฒนาศิลปิน บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) มีประสบการณ์ในวงการมากกว่า 20 ปี เป็นโปรดิวเซอร์คอนเสิร์ตใหญ่ และโค-เอ็กเซ็กคิวทีฟโปรดิวเซอร์ รายการเรียลลิตี้ค้นหาสุดยอดนางแบบและนายแบบชื่อดังของเมืองไทย, ผู้จัดการศิลปิน และอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัย 

รวมไปถึง วิทวัส วีระญาโณ หรือครูเจ VOCAL MASTER จบการศึกษาจากหลักสูตรด้านการสอนร้องเพลงจาก 5 สถาบันในต่างประเทศ เป็นคนแรกของเอเชียที่ได้อันดับ 1 จากการสอบ PANEL TEST ของสถาบัน INSTITUTE FOR VOCAL ADVANCEMENT จากอเมริกา

และ อภิสราฐ์ เพชรเรืองรอง หรือครูเจด้า PERFORMANCE MASTER ได้รับรางวัล BEST CHOREOGRAPHER OF THE YEAR จาก MNET ASIA MUSIC AWARDS 2016 และเป็นตัวแทนประเทศไทยในฐานะกรรมการการแข่งขันระดับโลก THE WORLD HIP HOP DANCE CHAMPIONSHIP HIPHOP INTERNATIONAL

]]>
1393932
เปิดดีลยักษ์ “แกรมมี่” ร่วมทุน YG เปิด YG”MM ภารกิจปั้นศิลปินโกอินเตอร์ https://positioningmag.com/1333988 Thu, 27 May 2021 07:24:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333988 GMM Grammy และ YG Entertainment ประกาศความร่วมมือครั้งใหญ่ ด้วยโมเดลร่วมทุน เปิดบริษัทใหม่ YG”MM (วายจีเอ็มเอ็ม) ร่วมพัฒนาศิลปินไทยเป็นไอดอลโกอินเตอร์ตามศิลปินดังรุ่นพี่

ในช่วง 30 กว่าปีที่ผ่านมา GMM Grammy ได้ผลิตศิลปินที่มีคุณภาพออกมาอย่างมากมาย ซึ่งก่อให้เกิดความสำเร็จอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม การปรับตัวให้ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในวันนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะการสร้างศิลปินและแนวเพลงให้มีประสิทธิภาพครบทุกหมวดหมู่ ครอบคลุมทุก Segment การลงทุนเพื่อสรรหา และพัฒนาศิลปินรุ่นใหม่อย่างมีเป้าหมายก็เป็นหนึ่งในพันธกิจ ที่จะส่งเสริมศิลปินไทยให้ก้าวไกลไปสู่ระดับสากล

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการร่วมทุนระหว่าง GMM Grammy และ YG Entertainment ซึ่งเป็นพันธมิตรค่ายเพลงยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ ด้วยการประกาศจัดตั้งบริษัทพัฒนาศิลปินแบบครบวงจร YG”MM (วายจีเอ็มเอ็ม) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

โดยบริษัท YG”MM (วายจีเอ็มเอ็ม) มีทุนจดทะเบียนมูลค่า 200 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนการถือหุ้นเป็น GMM Grammy จะถือหุ้นในสัดส่วน 51% และ YG Entertainment ถือหุ้นในสัดส่วน 49%

เป็นการดึงจุดแข็งของ 2 บริษัทมาผนึกกำลังในการสร้างโอกาสทางธุรกิจเพลงเพื่อการพัฒนา และสร้างศิลปินใหม่ให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับโลกแบบครบวงจร รวมทั้งเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมเพลงในประเทศไทยอีกด้วย โดยการตกลงทำสัญญาในครั้งนี้มีพันธกิจหลักร่วมกัน ด้านการลงทุนและผสมผสานทรัพยากรต่างๆ ทั้งทีมบุคลากร เทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญ และระบบการดำเนินงานต่างๆ

“ภาวิต จิตรกร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)

ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

“อุตสาหกรรมเพลงยังมีโอกาสทางธุรกิจอีกมาก แต่เราต้องยอมรับความจริงว่าโลกเปิดกว้างสำหรับผู้ฟังตามความก้าวล้ำของเทคโนโลยี ศิลปินจากทุกทวีปทั่วโลกก็เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเรามีฝันที่จะพาศิลปินไทยไประดับโลกการเดินทางเพียงลำพังอาจไปสู่เป้าหมายได้ช้ากว่าที่ตั้งใจไว้

บริษัทฯ จึงได้พูดคุยเจรจากับพาร์ตเนอร์ที่มีวิชั่นในลักษณะเดียวกัน ซึ่งเป็น The Best of Asia นั่นคือ YG Entertainment โดยการ JV ในครั้งนี้ คือ การผสานจุดแข็งของแต่ละฝ่ายในการเฟ้นหา พัฒนา และส่งเสริมศิลปินรุ่นใหม่ให้เป็นศิลปินแถวหน้าในระดับโลก ควบคู่กับการสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวร่วมกัน”

การ Synergy ในครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะสร้างศิลปิน Boy Band และ Girl Group ให้เปิดตัวภายใน 5 ปีข้างหน้า ตามหลักสูตรของ YG Entertainment และ GMM Grammy ดังนั้นบทบาทหน้าที่สำคัญของ YG”MM (วายจีเอ็มเอ็ม) ใน Function งานต่างๆ จะมีองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้

Yg Entertainment
Photo : Shutterstock
  • Audition

การเฟ้นหาเด็กรุ่นใหม่เข้ามาเป็นศิลปินฝึกหัด ที่จะได้รับการฝึกฝนอย่างเข้มข้น โดยเหล่าครูชั้นนำของทีม YG Entertainment ซึ่งเป็นตัวแทนจากต้นสังกัดของ BLACKPINK, 2NE1, BIGBANG เพื่อปลายทางในการเป็นศิลปิน Idol ที่มีคุณภาพและมีความพร้อมในทุกมิติ

  •  Training

หลังจากค้นหา ‘ว่าที่ศิลปิน’ ได้แล้วจากการ Recruit และการ Audition เหล่าศิลปินจะได้รับการฝึกหัด และการพัฒนาในการเป็นศิลปินแบบครบทุกด้าน จะเน้นเรื่องความสามารถในการเป็นศิลปิน เช่น การร้องเพลง การเต้น การแสดงนอกจากนี้การฝึกหัดยังรวมถึงการจัดแต่งรูปร่าง บุคลิก ลักษณะนิสัย การตอบคำถามสื่อ มนุษยสัมพันธ์ ฯลฯ โดยทีม Master Trainer ของ YG Entertainment

  • Concept & Production

คิด และวาง Concept ในเรื่องต่างๆ ตามเทรนด์โลก เพื่อทำให้ศิลปินเป็นที่ต้องการของตลาดและโดนใจทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งเรื่อง DNA ในภาพลักษณ์ของศิลปิน การวาง Concept เพลงและการแต่งเพลง รวมถึงการ Mastering การสร้างมิวสิกวิดีโอและชิ้นงานโปรโมตระดับโลก ฯลฯ

Photo : Shutterstock
  • Media Marketing

จัดสรรสื่อที่ครอบคลุมแบบครบวงจรทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น On Ground, On Air, Online รวมถึงการคิดและวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดด้วยคอนเทนต์ที่ใช่และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ภายใต้ Big Data ที่เรามีมากที่สุดในประเทศเพื่อสร้างความสำเร็จด้านภาพลักษณ์และสร้างรายได้ให้กับศิลปิน เพื่อให้ศิลปินเป็นที่รู้จักควบคู่กับการสร้างความนิยมให้กับเพลงใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น

  • Music Marketing Distribution

ทำการตลาดให้ศิลปินเพื่อสร้างรายได้ในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Physical, Digital, Merchandising, Concert, Fan Meet, Festival รวมไปถึงการบริหารศิลปิน ทั้งในรูปแบบ Presenter, งานจ้าง, Sponsorship และสินค้าของศิลปิน

  • Copyright

ดูแลลิขสิทธิ์เพลงให้ในรูปแบบการ Service กับธุรกิจต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่จะคืนรายได้กลับสู่คนเบื้องหลังและเบื้องหน้า

]]>
1333988
อนาคต “แกรมมี่” หลังขายหุ้นให้ “ลูกเจ้าสัว” https://positioningmag.com/1137645 Mon, 28 Aug 2017 02:00:36 +0000 http://positioningmag.com/?p=1137645 ต้องนับเป็น “จุดเปลี่ยน” ครั้งสำคัญของแกรมมี่ หลังการขายหุ้นเพิ่มทุน สัดส่วน 50% คิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านบาท บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ให้กับ “ตระกูลสิริวัฒนภักดี” 

เพราะนี่คือ การ “ปลดเปลื้อง” ลดภาระการลงทุนในธุรกิจมีเดียชิ้นสุดท้าย เพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจไปสู่การเป็นผู้ผลิตรายการ หรือ “คอนเทนต์ โพรไวเดอร์” เต็มตัว

ตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา แกรมมี่ต้องเผชิญกับความยากลำบาก และบอบช้ำอย่างหนัก จากการพยายามแสวงหาเสาะแสวงหาธุรกิจใหม่ๆ เพื่อมาทดแทนขาลงของธุรกิจเพลง ที่ต้องโดนพายุ “ดิจิทัล” ซัดกระหน่ำ

หนึ่งในนั้น คือ ธุรกิจ “เพย์ทีวี” ผ่านดาวเทียม GMMZ ถือเป็นธุรกิจที่ อากู๋-ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เคยหมายมั่นปั้นมือว่าจะเป็นธุรกิจ “ดาวรุ่ง” ดวงใหม่ จึงทุ่มลงทุนไปจำนวนมากทั้งคอนเทนต์ และการจัดจำหน่ายผลิตกล่องดาวเทียม

แต่ปรากฏว่าธุรกิจไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ไม่สามารถสู้กับ “ทรูวิชั่นส์” เจ้าตลาดไม่ได้ จึงต้องแบกรับผลขาดทุนชนิดเลือดสาด หมดไปหลายพันล้าน

แกรมมี่จึงต้องทยอยตัดขายทิ้งธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก และธุรกิจที่ไม่ทำเงิน ต่อเนื่องมาตลอดในช่วง 3-4 ปี

เริ่มตั้งแต่ขายทิ้งหุ้น “มติชน” ที่ถืออยู่ 22% ในราคา เท่าทุนกับที่ซื้อมาในปี 2548 ให้กับกลุ่มจึงรุ่งเรืองกิจ ตามมาด้วยการขายหุ้นในซีเอ็ด ซึ่งทำธุรกิจร้านหนังสือ       

จนในที่สุด อากู๋ ก็ตัดยอมขายทิ้งธุรกิจเพย์ทีวีไปให้กับ CTH ตามมาด้วยธุรกิจสิ่งพิมพ์ทั้งหมด รวมมูลค่า 45 ล้านบาทให้กับบริษัท ซีทรู จำกัด ของ ธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ซีอีโอ ไทยแอร์เอเชีย

รวมทั้งขายหุ้น 50% ที่ถืออยู่ในบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ ให้กับบริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ของกลุ่มมาลีนนท์

การตัดอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตของแกรมมี่ ก็เพื่อต้องการฝากอนาคตไว้กับ ธุรกิจ “ทีวีดิจิทัล” ที่อากู๋ไปประมูลมาถึง 2 ช่อง คือช่องวันและช่อง GMM 25

ช่องวัน นั้นอยู่ภายใต้การดูแลของ บอย-ถกลเกียรติ วีรวรรณ ที่เคยมีประสบการณ์ และฝากฝีมือจากการผลิตละคร และซิทคอม ป้อนให้กับทีวีช่องต่างๆ มาแล้ว

ส่วนช่อง GMM 25 นั้นมี พี่ฉอด-สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา เป็นหัวเรือใหญ่ เพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่วัยทีน

ถึงแม้แกรมมี่จะมี “หน้าตัก” ในเรื่องของการผลิตคอนเทนต์มาแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ของทีวีดิจิทัลกลับไม่สวยหรูอย่างที่คิด ไหนจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากการแย่งชิงเค้กก้อนเล็กลงจากคู่แข่ง 24 ราย พฤติกรรมคนดูก็เปลี่ยนไป ไม่ได้อยู่แค่หน้าจอทีวี และแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ขยายอิทธิพลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

แต่ยิ่งนานวัน การแย่งชิงโฆษณายิ่งเข้มข้นขึ้น ยิ่งเศรษฐกิจขาลงด้วยแล้ว แม้แต่ช่องหลักอย่างช่อง 3 และช่อง 7 เอง ก็ยังต้องกุมขมับ ต้องลุกขึ้นมาทำโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ไม่ต้องพูดถึงช่องรองลงมา จะต้อง “จัดหนัก” ขนาดไหน

เมื่อแกรมมี่มีทีวีดิจิทัลในมือถึง 2 ช่อง ก็ยิ่งต้องแบกรับภาระการลงทุนเป็นเท่าตัว ซึ่งแกรมมี่เองก็ไม่ได้มี “สายป่าน” ที่ยาวพอจะทนกับภาวะขาดทุนต่อไปเรื่อยๆ ได้

ช่องวัน แม้เรตติ้งจะติดอยู่อันดับ 5 และ 6 ส่วนช่องจีเอ็มเอ็ม 25 เรตติ้ง อยู่อันดับ 13-14 แต่ก็ยังอยู่ในภาวะยากลำบาก ละครที่เป็นไฮไลต์ แม้จะพยายามลดต้นทุนการผลิต แต่รายได้จากโฆษณาที่หาได้ก็แค่ “เสมอตัว” การจะทำให้ “จุดคุ้มทุน” ก็ยิ่งห่างไกลกับความเป็นจริง

สถานการณ์แบบนี้ หากปล่อยไว้นานจะยิ่งลำบาก แกรมมี่จึงต้องวิ่งหา “นายทุน” ใหม่เข้ามาช่วยต่อลมหายใจ

เริ่มจาก “ช่องวัน” ที่ใช้เงินลงทุนสูงสูงกว่า จีเอ็มเอ็ม 25 แกรมมี่ติดต่อเจรจามาแล้วหลายราย รวมทั้ง “กฤตย์ รัตนรักษ์” เจ้าของช่อง 7 ก็เคยถูกทาบทามมาแล้ว

แต่ในที่สุด มาลงตัวที่ “กลุ่มปราสาททองโอสถ” เจ้าของช่องพีพีทีวี ที่ยอมควักเงิน 1.9 พันล้าน มาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในสัดส่วน 50% ในบริษัท วัน เอ็นเตอร์ไพรซ์ เจ้าของช่องวัน เมื่อปลายปีที่แล้ว

ตามมาด้วยดีลล่าสุด คือการขายหุ้น 50% คิดเป็นมูลค่า 1,000 ล้านบาท บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ให้กับตระกูลสิริวัฒนภักดี

หลังการ “ปลดล็อก” ลดภาระการลงทุนทีวีดิจิทัล แกรมมี่เองจะกลับสู่สามัญ หันมาเป็นผู้ผลิตรายการ หรือ content provider โดยใช้ความเชี่ยวชาญ และบุคลากรในมือ ในธุรกิจเพลง ดนตรี คอนเสิร์ต ภาพยนตร์ ผลิตรายการทีวี ละคร ป้อนให้กับ “ช่องทีวี” ทุกราย

เพราะเวลานี้ ไม่ได้มี “ทีวีดิจิทัล” เท่านั้น แต่ยังมีแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่าง Over The Top หรือ OTT ที่กำลังทรงอิทธิพล เพิ่มบทบาทต่อคนมากขึ้นเรื่อยๆ

ผู้ให้บริการ OTT ล้วนแต่เป็นรายใหญ่ ที่เป็นข้ามชาติ YouTube, Facebook, Line TV และ Netflix ช่องเหล่านี้ นอกจากมีคอนเทนต์ต่างประเทศที่มีอยู่แล้ว ยังต้องการคอนเทนต์ไทยเพื่อสร้างฐานคนดูในวงกว้าง OTT ข้ามชาติเหล่านี้ จึงยอมจ่ายค่าจ้างในการผลิตรายการ เช่น ละคร สูงถึงตอนละ 2-5 ล้านบาท

ในขณะที่เจ้าช่องทีวีต้องเสียต้นทุนผลิตอย่างต่ำๆ ก็ตอนละ 1 ล้านบาทขึ้นไป ไหนยังต้องวิ่งหาโฆษณาอีก สถานการณ์แบบนี้ อย่างดีก็แค่ “คุ้มทุน”

สู้หันมารับจ้างผลิต ป้อนให้ช่องเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น “ทีวีดิจิทัล” แพลตฟอร์มดิจิทัล OTT ได้รายได้มาเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ต้องมีต้นทุน ให้แบกรับเหมือนกับการเป็นเจ้าของช่องทีวี ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่า “จะออกหัวหรือออกก้อย”

ส่วนช่องวัน และช่อง จีเอ็มเอ็ม 25 นับจากนี้ จะเดินไปตามนโยบาย และทิศทางของพาร์ตเนอร์แต่ละราย

ช่องวันนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร เนื่องกลุ่มปราสาททองโอสถเองต้องการคงจุดยืนของช่องวันไว้เช่นเดิม โดยมีละครเป็นคอนเทนต์หลัก เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยพยายามผลักดันให้พีพีทีวีทุ่มลงทุนผลิตละคร แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงหันไปมุ่งเรื่องของกีฬาแทน และให้ช่องวันเป็นหัวหอกในเรื่องของละคร

ส่วนจีเอ็มเอ็ม 25 นั้นในเบื้องต้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารเช่นกัน ตามข้อตกลงที่ “ฐาปน สิริวัฒนภักดี” ทำไว้นั้น พี่ฉอด-สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ยังคงรับหน้าบริหารงานต่อไปอีกอย่างน้อย 5 ปี เพื่อคงจุดแข็งของช่อง ที่เป็นกลุ่มวัยรุ่นไว้

แต่ในระยะยาวแล้ว ช่อง GMM 25 จะต้องปรับเนื้อหาเพื่อขยายไปสู่กลุ่มคนดูทั่วประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกลุ่มเป้าหมายของของไทยเบฟ ที่เป็นระดับแมส

เพราะจุดมุ่งหมายของการซื้อหุ้นในจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ต้องการใช้เป็น “ช่องทาง” ในการสร้างการรับรู้ให้กับสินค้าในเครือข่ายไทยเบฟ ซึ่งมีทั้งธุรกิจเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค ตลอดจนธุรกิจฟาสต์ฟู้ด ไปยังผู้บริโภคทั่วไป

ดีลการซื้อหุ้นครั้งนี้ นอกจากทีวีดิจิทัลแล้ว ยังได้รวม “เอไทม์ มีเดีย” สื่อวิทยุ ที่ถือเป็นธุรกิจหลักของแกรมมี่ไปด้วย ก็เพื่อต้องการเข้าถึงกลุ่มคนฟังทั่วไปให้ได้มากที่สุด

นี่คือ ที่มาของดีลทั้งหมดที่เกิดขึ้น เพื่อการกลับสู่สามัญ ในการเป็นคอนเทนต์ โพรไวเดอร์ อย่างเต็มตัวอีกครั้งของแกรมมี่

]]>
1137645
แกรมมี่ ติดใจ ออกมิวสิก สติกเกอร์เอาใจ “คนโสด” หวังปั้นรายได้จากออนไลน์ https://positioningmag.com/1132705 Thu, 13 Jul 2017 07:53:51 +0000 http://positioningmag.com/?p=1132705 โมเดลธุรกิจของค่ายเพลงยุคนี้ ต้องต่อยอดสู่ออนไลน์ การออก “มิวสิก สติกเกอร์” เป็นอีกหนึ่งในช่องทางหารายได้ของค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่ใช้ลิขสิทธิ์เพลงในมือมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

หลังจากประเดิมออก ”มิวสิก สติกเกอร์” ร้องเพลงได้ ความยาว 8 วินาที ใช้ท่อนฮุคเพลงฮิตของคนทำงานมาแล้ว จนทำยอดขายติดชาร์ตดาวน์โหลดมาแล้ว มาคราวนี้ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ต่อยอด ส่ง ‘สติกเกอร์เพลงฮิตคนโสด’ โดยเลือกเพลงฮิตยอดนิยมที่โดนใจ คนโสด ขาแชทมาให้โหลด 24 แบบ

ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิก บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คอนเซ็ปต์ของ “สติกเกอร์เพลงฮิตคนโสด” มาจาก Insight ที่โดนใจคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ  ภายใต้คอนเซ็ปต์ “บอกโลกว่า  โสดโปรดจีบ”

สติกเกอร์จะบอกเล่าสถานะความโสด อาทิ คนโสดจริง โสดหลอก เกือบโสด ใกล้โสด อยากโสด ไม่ว่าจะเป็นโสดสถานะไหนก็สามารถโหลดใช้ได้ โดยมาพร้อมกับท่อนฮุคเพลงฮิต จากศิลปินดัง ไม่ว่าจะเป็นป๊อป ร็อก และลูกทุ่ง เช่น อยากโดนเป็นเจ้าของ (เพลง คนไม่มีแฟน ของ เบิร์ด-ธงไชย), คนที่ไม่เข้าตา (เพลง คนที่ไม่เข้าตา ของ ป๊อป-ปองกูล), I need somebody (เพลง I need somebody ของ บี้-สุกฤษฏิ์), โปรดส่งใครมารักฉันที (เพลง โปรดส่งใครมารักฉันที ของ Instinct เป็นต้น โดยเป็นเพลงฮิตติดหูที่คุ้นเคย และสามารถสื่อถึงความรู้สึกของคนกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี

]]>
1132705
“ซีทีเอช”โดนปรับวันละ 2 หมื่นบาท-GMM B เจอ 1 ล้านบาท https://positioningmag.com/1100519 Mon, 22 Aug 2016 13:44:13 +0000 http://positioningmag.com/?p=1100519 บอร์ด กสท. มีมติปรับ “ซีทีเอช เคเบิล ทีวี” วันละ 2 หมื่นบาท กรณีไม่ส่งแผนเยียวยา พร้อมปรับ “จีเอ็มเอ็ม บี” 1 ล้านบาท กรณีไม่คืนค่าแพ็กเกจลูกค้าภายใน 30 วัน หลังเลิกสัญญา

ผศ.ภักดี มะนะเวศ รองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) วันที่ 22 ส.ค. 2559 ครั้งที่ 28/2559 มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงาน กสทช. เสนอ โดยไม่อนุญาตให้บริษัท ซีทีเอช เคเบิล ทีวี จำกัด ขยายระยะเวลานำส่งแผนเยียวยากรณียุติการให้บริการโครงข่ายต่อผู้ใช้บริการและผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ เพื่อให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (ช่องรายการ) พร้อมทั้งข้อมูลอื่นๆ ตามมติที่ประชุม กสท.ครั้งที่ 26/2559 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2559

โดยให้มีคำสั่งปรับทางปกครองต่อบริษัท ซีทีเอช เคเบิล ทีวี จำกัด ตามมาตรา 58(2) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ในอัตราวันละ 2 หมื่นบาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 ส.ค.2559 เป็นต้นไป จนกว่าบริษัทจะปฏิบัติตามคำสั่งให้แล้วเสร็จ

ภายหลังเมื่อมีคำสั่งปรับทางปกครองแล้ว ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง หากพบว่าบริษัทยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้ส่งแผนเยียวยาฯ กสท.จะใช้มาตรการทางปกครองสั่งพักใช้ใบอนุญาตต่อไป

นอกจากนี้ที่ประชุม กสท. เห็นชอบหลักการกำหนดอัตราโทษปรับทางปกครอง ตามที่คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เสนอ กรณีบริษัท จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด หยุดการให้บริการแพ็กเกจ Z PAY TV โดยไม่แจ้งให้สมาชิกทราบเป็นการล่วงหน้า โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ให้ปรับทางปกครองในอัตรา 1 ล้านบาท และปรับอีกวันละ 5 หมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง และให้สำนักงาน กสทช. แจ้งคำสั่งเตือนไปยังจีเอ็มเอ็ม บี ให้คืนเงินสมาชิกภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง หากยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ให้ดำเนินการปรับทางปกครองในอัตราดังกล่าว

]]>
1100519