GMM25 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 15 Aug 2019 06:25:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “แกรมมี่” โชว์ป๋า! ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาลเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี แม้ไตรมาส 2 รายได้ลดลง 13.7% https://positioningmag.com/1242239 Wed, 14 Aug 2019 04:07:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242239 ในภาวะที่เศรษฐกิจยังเอาแน่เอานอนไม่ได้เม็ดเงินโฆษณายังไม่มีทีท่าจะกระเตื้องขึ้นทำให้ผลประกอบการของหลายบริษัทยังอยู่ในภาวะตัวแดงเช่นเดียวกับแกรมมี่ที่ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาส 2/2562 ระบุว่ามีรายได้จากการขายสินค้า/บริการ และค่าลิขสิทธิ์ จำนวน 1,458 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 13.7% จากรายได้ธุรกิจภาพยนตร์และธุรกิจเทรดดิ้ง

เมื่อแยกย่อยลงไปในแต่ละธุรกิจจะพบว่าธุรกิจเพลง เป็นธุรกิจหลักของประกอบด้วยการจำหน่ายสินค้าเพลง (Physical product), ดิจิทัลมิวสิค, การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์, ธุรกิจโชว์บิซ, ธุรกิจบริหารศิลปิน และธุรกิจอื่นที่สนับสนุนธุรกิจ ในไตรมาส 2/2562 มีรายได้จากธุรกิจเพลง 893 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 61% ของรายได้รวม ซึ่งเพิ่มขึ้น 3.4%

โดยส่วนใหญ่มาจากธุรกิจดิจิทัลมิวสิกและธุรกิจบริหารศิลปิน ซึ่งเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการจัดคอนเสิร์ตใหญ่หลายรายการ เช่น “PECK PALITCHOKE Concert#2 : LOVE IN SPACE”, “What The Fest! Music Festival 2” และ “คอนเสิร์ต ต่าย อรทัย ดอกหญ้ากลางเมืองใหญ่”

ธุรกิจเทรดดิ้ง ประกอบด้วยธุรกิจจัด จำหน่ายสินค้าโฮมช้อปปิ้ง และธุรกิจจัดจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวี ในไตรมาสนี้ ธุรกิจโฮมช้อปปิ้งมีรายได้ 422 ล้านบาทลดลง 23.4% จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการแข่งขันในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนธุรกิจกล่องรับสัญญาณทีวี มีรายได้ 72 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.8%

ธุรกิจภาพยนตร์ในไตรมาส 2/2562 ไม่มีภาพยนตร์ใหม่เข้าฉาย แต่มีรายได้จากการขายลิขสิทธิ์จำนวน 33 ล้านบาท ในขณะที่ไตรมาส 2/2561 มีภาพยนตร์ใหม่น้องพี่ที่รัก” เข้าฉายในช่วงนั้นรายได้รวม ของไตรมาสจึงสูงถึง 183 ล้านบาท

ธุรกิจการลงทุน ประกอบไปด้วย บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ดำเนินธุรกิจดิจิทัลทีวีช่อง One31’ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสนี้มีละครที่ได้รับกระแสตอบรับดีหลายเรื่อง และ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด ประกอบด้วยธุรกิจดิจิทัลทีวี ช่อง GMM25’, ธุรกิจวิทยุและโชว์บิซ, ธุรกิจผลิตคอนเทนต์ ในไตรมาสนี้มีละครที่ได้รับความนิยมสูงคือ เรื่องเมียน้อยส่วนด้านคอนเสิร์ตที่ได้รับความนิยมมากคือ “The Real Nadech Concert” และ “Cassette Festival”

ทั้งนี้จากการที่ธุรกิจดิจิทัลทีวี 2 ช่อง ซึ่งได้รับความสนับสนุนจากมาตรการช่วยเหลือ ผู้ประกอบการดิจิทัลทีวีของภาครัฐ ทำให้ภาระขาดทุนเปลี่ยนมาเป็นกำไรในไตรมาสนี้แต่แกรมมี่ไม่ได้ระบุว่ามีกำไรเท่าไหร่

สุดท้ายธุรกิจอื่นๆ” ในไตรมาสนี้มีรายได้ 38 ล้านบาท เติบโต 2.8% ขณะเดียวกันต้นทุนขายและบริการเท่ากับ 851 ล้านบาท ลดลง 18.6% เนื่องจากไม่มีต้นทุนภาพยนตร์ใหม่และต้นทุนขายของสินค้าลดลง

ส่งผลให้ในไตรมาสนี้แกรมมี่มีผลกำไรสุทธิเท่ากับ 68 ล้านบาท เติบโต 33% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 51 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม แม้รายได้จะลดลงถึง 13.7% แต่ก่อนหน้านี้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อเดือนเมษายน 2562 ได้อนุมัติให้โอนทุนสำรองตามกฎหมายจำนวน 82 ล้านบาท และส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญจำนวน 2,951 ล้านบาท มาชดเชยขาดทุนสะสม จำนวน 3,033 ล้านบาท

ประกอบกับมีกำไรสุทธิในงวด 6 เดือนแรกของปี 2562 ตามงบการเงินเฉพาะกิจการรวมเป็น 132 ล้านบาท ที่ประชุมคณะกรรมการ จึงมีมติอนุมัติจ่ายปันผลระหว่างกาลเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี ในอัตราหุ้นละ 0.10 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 82 ล้านบาท คิดเป็น 62% ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการให้แก่ผู้ถือหุ้น

โดยได้กําหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการรับเงินปันผลระหว่างกาล (Record Date) ในวันที่ 21 สิงหาคม 2562 และกําหนดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ในวันที่ 12 กันยายน 2562 นี้

]]>
1242239
เรตติ้งเปลี่ยน! “ช่อง 3 SD” ลาจอ อันดับท็อปเท็นว่าง “4 ช่อง” เข็นคอนเทนต์ใหม่ลงผังหวังเสียบแทน https://positioningmag.com/1241984 Mon, 12 Aug 2019 01:25:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241984 เดือน .นี้ทีวีดิจิทัลจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ จากการคืนใบอนุญาต 7 ช่อง ที่จะเริ่มทยอยลาจอตั้งแต่เที่ยงคืนวันที่ 15 .นี้ เป็นต้นไป โดย 2 ช่องสุดท้ายคือ 3 Family และ 3 SD ยุติออกอากาศสิ้นเดือน .นี้

ในกลุ่ม 7 ช่องที่คืนใบอนุญาต ช่องที่มีเรตติ้งสูงสุด คือ ช่อง 3 SD หากย้อนสถิติ 5 ปี พบว่าขยับขึ้นมาต่อเนื่องและอยู่ในกลุ่มท็อปเท็นปัจจุบัน โดย ปี 2557 เรตติ้ง 0.017 อันดับ 17, ปี 2558 เรตติ้ง 0.083 อันดับ 13, ปี 2559 เรตติ้ง 0.234 อันดับ 7, ปี 2560 เรตติ้ง 0.279 อันดับ 7, ปี 2561 เรตติ้ง 0.309 อันดับ 9 และ ล่าสุดเดือน ก.ค. 2562 เรตติ้ง 0.288 อันดับ 9

4 ช่อง” เบียดชิงขึ้นท็อปเท็นเรตติ้ง  

ดังนั้นหลังจาก ช่อง 3 SD ที่ครองเรตติ้งติดท็อปเทนมาตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบัน การเตรียมคืนใบอนุญาต “ลาจอ” ในคืนวันที่ 30 ก.ย. เวลาเที่ยงคืน นั่นหมายถึงตำแหน่งที่ “ว่างลง” ของเรตติ้งในกลุ่ม 10 อันดับแรก ทำให้อันดับรองลงไปจะขยับขึ้นมาแทน

ปัจจุบันทีวีดิจิทัลที่มีเรตติ้งอันดับ 10 – 13 มีตัวเลขใกล้เคียงกันมากและมีโอกาสสลับตำแหน่ง แบบเดือนต่อเดือน หลังจาก ช่อง 3 SD ยุติออกอากาศ เรตติ้งอันดับ 9 และ 10 จะขยับขึ้น โดยมี 4 ช่อง ลุ้นไต่อันดับขึ้น คือ พีพีทีวี, เนชั่นทีวี, MCOT HD และ GMM25 ที่จะเบียดชิงตำแหน่งกันแบบหายใจรดต้นคอ

การขึ้นมาอยู่ในกลุ่มท็อปเท็นเรตติ้งได้ หมายถึงโอกาสที่จะได้เม็ดเงินโฆษณาจากมีเดีย เอเยนซีและสินค้าที่จัดสรรเม็ดเงินให้กับกลุ่มนี้เป็นอันดับแรก ปัจจุบัน ช่อง 7 และช่อง 3 ยังเป็น 2 ช่องผู้นำเรตติ้งที่เอเยนซีเลือกลงโฆษณาสูงสุด สัดส่วน 50% ของงบโฆษณาทีวี ส่วนงบโฆษณาทีวีอีก 40% จะกระจายไปที่ “ทีวีดิจิทัล” เรตติ้งอันดับที่ 3 – 7 และอีก 10% อาจจะอยู่ที่อันดับที่เหลือแต่ไม่เกินอันดับ 10

ช่วงครึ่งปีหลังจึงเห็นการเปลี่ยนแปลง “ผังรายการ” ของกลุ่มท็อปเท็น ในการนำคอนเทนต์ใหม่ลงจอ หวังขยับเรตติ้งจากจุดเปลี่ยนคืนใบอนุญาตของ 7 ช่อง ซึ่งรวมกันแล้วครองส่วนแบ่งการตลาดผู้ชมราว 8% มีรายได้โฆษณารวมกัน 120 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 1,440 ล้านบาทต่อปี ทั้งผู้ชมและเม็ดเงินก้อนนี้ ก็จะไหลไปยังช่องทีวีดิจิทัลอื่นๆ แทน

สถาพร พานิชรักษาพงศ์

GMM25 เข็นคอนเทนต์ใหม่ไต่ท็อปเท็น

สถาพร พานิชรักษาพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด กล่าวว่า ช่วงครึ่งปีหลัง 2562 ช่อง GMM25 วางแผนขยายฐานผู้ชมเพิ่มขึ้นทุกแพลตฟอร์ม โดยเดือน ส.ค. นี้ รายการ “ลูกทุ่งสู้ฟัด” ที่นำเสนอทุกวันอาทิตย์ 18.20 – 20.00 น. ทางหน้าจอทีวี ได้ต่อยอดไปสู่ On Ground โดยจะจัดบิ๊กอีเวนต์ “คอนเสิร์ตลูกทุ่งสู้ฟัด” ศิลปินจากแกรมมี่โกลด์ และผู้เข้าแข่งขันจากรายการ

หลังเริ่มออนแอร์รายการลูกทุ่งวิ่งสู้ฟัด ตั้งแต่เดือนพ.ค. ที่ผ่านมา พบว่าเรตติ้งขยับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีฐานคนดูกลุ่มใหม่ภาคอีสาน ภาคกลาง รวมไปถึงประเทศลาว เดือน มิ.ย. – ก.ค. ช่วงไพร์มไทม์หัวค่ำเพิ่มขึ้น 82.51% จากเดือน เม.ย. – พ.ค.

ส่วนไพร์มไทม์ 20.10 น. มี “ละครค่ำ” เรื่องใหม่ “ปลาร้าทรงเครื่อง” คอมเมดี้และดราม่า ทุกวันพุธ – พฤหัส เริ่มตอนแรก 15 ส.ค. และเรื่อง “แรงเทียน” ละครดราม่า ทุกจันทร์ – อังคาร เริ่มวันที่ 2 ก.ย.

พร้อมคอนเทนต์รายการกีฬาครั้งแรกของช่อง GMM 25 ช่วงวีคเอนด์กับรายการใหม่ “มวยดี วิถีไทย” ถ่ายทอดสดจากสนามมวยบลูอารีน่า จ. สมุทรปราการ ทุกวันอาทิตย์ 12.00 – 14.00 น. เริ่ม 11 ส.ค. เจาะผู้ชมกลุ่มผู้ชายเพิ่มขึ้น จากเดิมฐานผู้ชมเป็นกลุ่มผู้หญิง 60%

“ปีนี้ GMM 25 เสริมคอนเทนต์เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่ตลาดแมสอีสานและเอาใจกลุ่มเป้าหมายเดิมในทุกแพลตฟอร์ม และดึงคอนเทนต์กีฬามวยมาออกอากาศครั้งแรก ต้องการเพิ่มฐานผู้ชมครึ่งปีหลังและเป้าหมายติดอันดับท็อปเท็นเรตติ้งทีวีดิจิทัลให้ได้ จากเดือน ก.ค. เรตติ้งอยู่ที่อันดับ 14”

สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์

“พีพีทีวี” ย้ำเวิลด์คลาสยิงสดพรีเมียร์ลีกยาว 3 ปี

“พีพีทีวี” เป็นช่องที่ไล่บี้ช่องอื่นๆ เพื่อขึ้นมายืนในตำแหน่งเรตติ้งท็อปเท็นได้ในปีนี้ เดือนก.ค. 2562 ครองอันดับ 10 เรตติ้ง 0.159 ถือเป็นตำแหน่งที่ขยับขึ้นมาต่อเนื่อง หากดูย้อนหลังไป 5 ปี เริ่มต้นในปี 2557 เรตติ้ง 0.015 อันดับ 19, ปี 2558 เรตติ้ง 0.073 อันดับ 14, ปี 2559 เรตติ้ง 0.114 อันดับ 13, ปี 2560 เรตติ้ง 0.149 อันดับ 13 และปี 2561 เรตติ้ง 0.164 อันดับ 12

กลยุทธ์ของช่องพีพีทีวี คือ ทุ่มไม่อั้นกับคอนเทนต์ระดับเวิล์ดคลาส แต่ละปีใช้งบราว 1,000 ล้านบาท คอนเทนต์ ไฮไลต์ คือ กีฬาระดับโลกโดยเฉพาะฟุตบอลลีกดัง โดยเปิดตัว เป็น “ฟรีทีวี” ที่ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก มาตั้งแต่ฤดูกาล 2015/16 และล่าสุดกับ 3 ฤดูกาลใหม่ ปี 2019/20 ถึง 2021/22 ภายใต้การบริหารลิขสิทธิ์ของ “ทรูวิชั่นส์”

สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี ช่อง 36 กล่าวว่าได้ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกต่อเนื่องอีก 3 ฤดูกาลๆ ละ 30 แมตช์ เพื่อให้พีพีทีวีเป็นช่องฟรีทีวียอดนิยมของคอกีฬาตลอดระยะเวลาต่อเนื่อง หลังจากถ่ายทอดสดรายการนี้ 4 ปี และมีแฟนประจำที่ติดตามชม

ช่วง 5 เดือนหลังจากนี้ นอกจากฟุตบอลพรีเมียร์ลีกแล้ว “พีพีทีวี” ยังถ่ายทอดสดฟุตบอลบุนเดสลีกา รวมทั้งกีฬาอื่นๆ อีกหลากหลายรายการ เช่น ฟุตบอลโคปา อเมริกา (Copa America 2019) จากบราซิล ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก 2019 จากประเทศฝรั่งเศส ฟุตบอล ICC 2019 การแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบโมโตจีพี และศึกมวยชิงแชมป์โลกระหว่าง “ปาเกียว กับ เธอร์แมน”

ทีมผู้ประกาศข่าว พีพีทีวี

ตั้งแต่ครึ่งปีหลังยังได้ขยายเวลาข่าวเช้า จากเดิม 2 ชั่วโมง 30 นาที เป็น 3 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อให้ผู้ชมเกาะติดสถานการณ์ข่าวเช้ายาวต่อเนื่อง ตั้งแต่เวลา 05.30 ถึงเวลา 09.00 น. ประกอบด้วย “โชว์ข่าวเช้านี้” และ “โชว์ข่าว 36” รวมทั้ง “เที่ยงทันข่าว” เวลา 11.00 – 12.30 น. “เป็นเรื่อง เป็นข่าว” เวลา 17.00 – 17.30 น. และ “เข้มข่าวค่ำ” เวลา 17.30 – 20.00 น.

เป้าหมายของ พีพีทีวี จะต้องมีรายได้เติบโตจากปีก่อน 100% หรือราว 1,000 ล้านบาท รวมทั้งทำเรตติ้งติดท็อป 5 ให้ได้ในอนาคต

“อสมท” เปิดผังใหม่ปลาย ส.ค. นี้  

MCOT 30 ของ อสมท เป็นช่องฟรีทีวีเดิมที่ต้องลุ้นเป็นหนึ่งในกลุ่มท็อปเท็นในยุคทีวีดิจิทัล หลังจากผู้ผลิตรายการที่เคยอยู่กับช่อง ทยอยย้ายรายการออกไปยังทีวีดิจิทัลช่องใหม่แต่ ยุคเริ่ม ปี 2557 เรตติ้ง ช่อง MCOT 30 ยังทำได้ดี อยู่ที่ 0.468 อันดับ 3 มาปี 2558 เรตติ้ง 0.226 อันดับ 6 หลังจากนั้นเริ่มลดลงไปอยู่ท้ายตารางกลุ่มท็อปเทน ปี 2559 เรตติ้ง 0.180 อันดับ 9, ปี 2560 เรตติ้ง 0.265 อันดับ 9, ปี 2561 เรตติ้ง 0.189 อันดับ 10 ล่าสุด ก.ค. 2562 เรตติ้ง 0.159 อันดับ 12

เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าปลายเดือนส.ค. นี้ จะมีการปรับผังใหม่ โดยช่วงเช้า เน้นข่าวเศรษฐกิจทั่วไป ตลาดหุ้น และเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับปากท้องประชาชน ช่วงบ่าย เศรษฐกิจชาวบ้าน และกลุ่มสาระบันเทิง ส่วนช่วงเย็น รายการกีฬา ซีรีส์ต่างประเทศ และฮาร์ดทอล์ก เชื่อว่าปีนี้ยังคงทำเรตติ้งเกาะกลุ่มท็อปเท็นได้เหมือนปีก่อน

เนชั่น” ลุ้นโกยผู้ชมช่องสปริง 26 หลังลาจอ

ปี 2562 “เนชั่นทีวี” เป็นช่องข่าวที่สามารถไต่อันดับขึ้นมาอยู่ในกลุ่มท็อปเทนได้หลายครั้ง ล่าสุด ก.ค. 2562 เรตติ้ง 0.183 อยู่อันดับ 11 สถานการณ์นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่ทำให้รายการข่าวของเนชั่นทีวี ทำเรตติ้งขยับขึ้นต่อเนื่อง

หากย้อนไปดูเรตติ้ง 5 ปีก่อน เห็นได้ว่าอันดับจะอยู่ท้ายตาราง ปี 2557 เรตติ้ง 0.045 อันดับ 11, ปี 2558 เรตติ้ง 0.051 อันดับ 20, ปี 2559 เรตติ้ง 0.077 อันดับ 17, ปี 2560 เรตติ้ง 0.072 อันดับ 17, ปี 2561 เรตติ้ง 0.121 อันดับ 15

หลังจากช่อง สปริง 26 เตรียมยุติออกอาอากาศในเวลาเที่ยงคืนวันที่ 15 ส.ค. นี้ ผู้ชมช่องสปริง 26 มีโอกาสที่จะไหลไปช่องเนชั่นทีวีและปีนี้มีลุ้นติดอันดับท็อปเท็นเช่นกัน

]]>
1241984
เปิดใจ “อากู๋” ในวันที่แกรมมี่กลับมา “กำไร” เตรียมดัน 2 ช่องทีวีดิจิทัล ONE-GMM 25 เข้าตลาดปี 63 https://positioningmag.com/1232585 Sat, 01 Jun 2019 12:54:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232585 ก่อนเข้าสู่ธุรกิจทีวีดิจิทัลในปี 2557 “จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ธุรกิจคอนเทนต์ โปรวายเดอร์ ที่เริ่มต้นจากธุรกิจเพลงมากว่า 36 ปี ต้องฝ่าฟันกับพายุ Disruption ในอุตสาหกรรมเพลง ต่อด้วยการแข่งขันฟาดฟันในธุรกิจเพย์ทีวีมาก่อน 

การเป็นผู้ชนะประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัล 2 ช่อง เป็นการเดินตามเส้นทางฝันของ “อากู๋” ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ที่ต้องการเป็นเจ้าของสถานีฟรีทีวี เพื่อต่อจิ๊กซอว์อาณาจักร “คอนเทนต์และแพลตฟอร์ม” ให้สมบูรณ์แบบ

แต่จังหวะการเกิดทีวีดิจิทัลในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชั่น เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อและพฤติกรรมเสพคอนเทนต์ของผู้บริโภคครั้งใหญ่ และจำนวนทีวีดิจิทัล 24 ช่อง ที่วันนี้อุตสาหกรรมต่างยอมรับแล้วว่า “มากเกินไป”

ในที่สุดต้องมี คำสั่ง คสช. มาตรา 44 ออกมาแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล นับตั้งแต่ปี 2560 สนับสนุนค่าโครงข่ายมัสต์แคร์รี่ ปี 2561 พักชำระจ่ายค่าใบอนุญาต 3 ปี และช่วยค่าเช่าโครงข่าย MUX 50% และยาแรง ปี 2562 เปิดทาง “คืนช่อง” พร้อมรับเงินชดเชย ส่วนรายที่อยู่ต่อ “ไม่ต้องจ่ายค่าประมูลงวดที่ 5 และ 6” รวมทั้งค่าเช่าโครงข่าย MUX ตลอดอายุใบอนุญาตที่เหลืออยู่ถึงปี 2572 อันเป็นผลจากการนำคลื่นความถี่ 700 MHz ของฝั่งทีวี ไปประมูลเพื่อให้บริการ 5G ในฝั่งโทรคมนาคม

“แกรมมี่” กลับมากำไรรอบ 7 ปี

ก่อนใช้ยาแรงเปิดทางให้ “ทีวีดิจิทัล” คืนใบอนุญาต 5 ปี ของทีวีดิจิทัลของผู้ประกอบการ “หลายราย” ต่างอยู่ในอาการ “เลือดไหล” เมื่อเส้นทางทีวีดิจิทัลไม่เป็นไปตามคาด รายได้ 5 ปีแรกส่วนใหญ่ “ขาดทุน”

“จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” เจ้าของทีวีดิจิทัล 2 ช่อง คือ ช่อง ONE 31 และ GMM 25 ที่เผชิญกับสถานการณ์เทคโนโลยีดิสรัปชั่น การแข่งขันลงทุนในธุรกิจแพลตฟอร์มและเพย์ทีวีมาก่อน แสดงผล “ขาดทุน” มาตั้งแต่ปี 2555

ในช่วงการลงทุนทีวีดิจิทัล 2 ช่อง ตั้งแต่ปี 2557 ตัวเลขขาดทุนจึงอยู่ในหลักพันล้าน ปี 2558 แกรมมี่เริ่มตัดทิ้งธุรกิจที่ไม่ใช่ Core Business ตั้งแต่เพย์ทีวี ขายหุ้นซีเอ็ด ขายธุรกิจนิตยสาร ขายหุ้นอินเด็กซ์ ครีเอทีฟ

พร้อมดึงกลุ่มทุนระดับ “บิ๊ก” เข้ามาร่วมลงทุนทีวีดิจิทัล เดือน ธ.ค. 2559 ดึงบริษัท ประนันท์ภรณ์ จํากัด ของตระกูล “ปราสาททองโอสถ” เข้ามาร่วมลงทุนช่อง ONE 31 ด้วยเม็ดเงิน 1,905 ล้านบาท ถือหุ้น 50% และเดือน ส.ค. 2560 ดึงบริษัท อเดลฟอส จำกัด ของตระกูล “สิริวัฒนภักดี” เจ้าของอาณาจักรไทยเบฟ เข้ามาเพิ่มทุนในช่อง GMM 25 ด้วยเม็ดเงิน 1,000 ล้านบาท ถือหุ้น 50%

ปัจจุบัน จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” ถือหุ้นในบริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด (ช่อง ONE 31) 31.27% และถือหุ้นในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด (ช่อง GMM 25) 50%

การแก้ไขปัญหาธุรกิจทีวีดิจิทัลตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มาถึงวันนี้ เริ่มเห็นสัญญาณบวก รายได้ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กลับมา “กำไร” ในปี 2561 เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี และไตรมาสแรกปี 2562 ยังโชว์ตัวเลข “บวก” ต่อเนื่อง

ย้อนดูผลประกอบการ “จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่”

  • ปี 2555 รายได้ 11,756 ล้านบาท ขาดทุน 248 ล้านบาท
  • ปี 2556 รายได้ 11,003 ล้านบาท ขาดทุน 1,221 ล้านบาท
  • ปี 2557 รายได้ 9,264 ล้านบาท ขาดทุน 2,345 ล้านบาท
  • ปี 2558 รายได้ 9,708 ล้านบาท ขาดทุน 1,145 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 7,446 ล้านบาท ขาดทุน 520 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 8,869 ล้านบาท ขาดทุน 384 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 6,984 ล้านบาท กำไร 15.43 ล้านบาท
  • ปี 2562 ไตรมาสแรก รายได้ 1,814 ล้านบาท กำไร 59 ล้านบาท

“อากู๋” เปิดใจ 5 ปีทีวีดิจิทัล

ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม

การผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากของทีวีดิจิทัล 5 ปีแรก กระทั่งมาถึงจุดที่มีมาตรา 44 เปิดทางให้ทีวีดิจิทัล “คืนช่อง” และการกลับมาทำกำไรอีกครั้งของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ “อากู๋” ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) อัพเดตเรื่องราวเหล่านี้กับ Positioning  

โดยบอกว่าได้เป็นหนึ่งในคนที่ร่วมขับเคลื่อนหารือกับ กสทช. และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องแทบจะทุกครั้ง เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาทีวีดิจิทัล ซึ่งก็ต้องย้อนถึงสาเหตุ เริ่มต้นในช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุคแอนะล็อกไปยุคทีวีดิจิทัล มีปัญหามากมายในด้านการปฏิบัติงานช่วงเปลี่ยนผ่าน

นับตั้งแต่ การเรียงช่อง การประชาสัมพันธ์ การแจกกล่องรับสัญญาณระบบดิจิทัล ที่ถือเป็น “หัวใจของการสร้างแพลตฟอร์ม” เดิมกำหนดราคากล่องไว้ที่ 1,200 บาท สามารถรับชมช่องทีวีดิจิทัลและทีวีดาวเทียมได้ แต่ในที่สุดได้ปรับราคาเหลือกล่องละ 690 บาท รับชมได้เฉพาะช่องทีวีดิจทัล จากคุณภาพกล่องที่รับชมได้ไม่ชัดและต้องติดตั้งเสาสัญญาณในบางพื้นที่ และบางครัวเรือนไม่นำคูปองไปแลกกล่องมาติดตั้ง เพราะมีกล่องทีวีดาวเทียมอยู่แล้ว ทำให้อุตสาหกรรมไม่สามารถสร้าง “แพลตฟอร์มรับชมช่องทีวีดิจิทัล” ได้

“ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัล ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประมูลให้ต้องล้มหาย เกิดผลเสียมากมายเท่าที่คนทำงานมาตลอดชีวิตในอุตสาหกรรมสื่อจะสูญเสียได้ในช่วงเริ่มต้นทีวีดิจิทัล มี 2 ช่อง (ไทยทีวีและโลก้า) ต้องปิดตัวลงตั้งแต่ปีแรก ส่วนที่เหลืออยู่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก”

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ได้หารือกับ กสทช. เพื่อแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งต้องบอกว่าการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัล มาในจังหวะที่เกิด Technology Disruption ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมสื่อไทยและพฤติกรรมผู้บริโภค จึงเป็นที่มาของการเสนอขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ เพราะกระบวนการฟ้องร้องต้องใช้ระยะเวลานานในการแก้ปัญหา

“รัฐบาลเองก็เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและชะตากรรมที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลต้องเจอ แต่ก็มีกฎหมายและรายละเอียดจำนวนมาก การแก้ปัญหาจึงต้องออกมาเป็นคำสั่ง คสช. มาตรา 44 เพื่อเร่งแก้ปัญหาให้ทันเหตุการณ์ เพราะหากยังล่าช้าออกไป อาจมีผู้ประกอบการที่ล้มหายตายจากไปอีก ซึ่งไม่เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมสื่อและประชาชน รัฐบาลจึงตัดสินใจเข้ามาช่วยเหลือ”

ONE 31 – GMM 25 ค่าใช้จ่ายลด 3,000 ล้าน

ปัจจุบันทีวีดิจิทัลจ่ายเงินค่าใบอนุญาตไปแล้ว 70% คำสั่ง คสช. มาตรา 44 ที่ยกเว้นค่าใบอนุญาตงวดที่ 5 และ 6 และค่าเช่าโครงข่าย MUX ตลอดอายุใบอนุญาตที่เหลืออยู่อีก 10 ปี ให้กับทีวีดิจิทัล “ทุกราย” รวมมูลค่ากว่า 32,000 ล้านบาท ถือเป็นสิ่งที่ทีวีดิจิทัล “พอใจ” และ กสทช. สามารถทำได้ในด้านกฎหมาย เพราะเป็นการคืนคลื่นความถี่ 700 MHz ของทีวี เพื่อนำกลับไปประมูล 5G ที่จะได้มูลค่าสูงกว่า การแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล หากยิ่งยืดเยื้อ “เลือดคงไหลหมดตัว”  

หลังใช้ยาแรงด้วยการเปิดทาง “คืนใบอนุญาต” มี 7 ช่องที่ขอพอแค่นี้ ส่วนอีก 15 ช่อง ขอไปต่อ รวมทั้ง 2 ช่องของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อากู๋ มองว่าผู้ประกอบการที่ไปต่อ “ทุกราย” มีภาระลดลงทั้งค่าใบอนุญาตงวดที่ 5 และ 6 รวมทั้งค่าโครงข่าย MUX ทีวีดิจิทัลช่อง ONE 31 และ GMM 25 ลดค่าใช้จ่ายลงได้ 3,000 ล้านบาท ตลอดอายุสัญญาที่เหลืออยู่อีก 10 ปี

เมื่อช่องวันและจีเอ็มเอ็ม 25 ไม่มีภาระต้นทุนค่าใบอนุญาตและค่าโครงข่าย MUX ที่ต้องจ่าย ก็ถือว่าเราตัวเบา สามารถลงทุนแข่งขันคอนเทนต์ได้เต็มที่

 

มั่นใจ “แกรมมี่” กำไรต่อเนื่อง

หลังจากมีมาตรา 44 มาช่วยลดภาระต้นทุน “ทีวีดิจิทัล” ก็ต้องบอกว่าเป็นทิศทางที่สดใสของ “จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” หลังจากนี้ เพราะธุรกิจส่งสัญญาณ “บวก” มาตั้งแต่ปี 2561 ที่ผลประกอบการเริ่มกลับมากำไรอีกครั้งในรอบ 7 ปี แม้ยังมีภาวะ “ขาดทุน” ของทีวีดิจิทัลอยู่ก็ตาม และปีนี้ก็จะเห็นกำไรต่อเนื่อง

“ปีก่อนยังไม่มีมาตรา 44 ยกเว้นค่าใบอนุญาตงวดที่เหลือ แกรมมี่ก็พาบริษัทกลับมากำไรได้แล้ว ปีนี้ มีมาตรา 44 เข้ามาแก้ปัญหาอุตสาหกรรม ที่ส่งผลดีต่อทีวีดิจิทัลทุกราย และ 2 ช่องของแกรมมี่ด้วย ปีนี้มั่นใจทำกำไรได้ต่อเนื่อง”

สถานการณ์ทีวีดิจิทัลช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แกรมมี่ต้องดึงกลุ่มทุนเข้ามาร่วมถือหุ้น ถือเป็นการหาพาร์ตเนอร์ที่ดีมาเพิ่มทุนเพื่อขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น เป็นรูปแบบหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ เพราะการลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่ “ไม่จำเป็นต้องเดินคนเดียว” หลังจากนี้ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่จะมีพันธมิตรใหม่ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

แต่ก็ต้องบอกว่า 5 ปีของทีวีดิจิทัล รวมทั้งทีวีดาวเทียมและเพย์ทีวี เป็นบทเรียนที่ได้สั่งสอนพวกเราและกลุ่มเจน 2 ทั้งลูกๆ (ฟ้าใหม่ ระฟ้า อิงฟ้า และฟ้าฉาย ดำรงชัยธรรม) รวมทั้งผู้บริหารรุ่นใหม่ ภาวิต จิตรกร, บอย ถกลเกียรติ วีรวรรณ, สถาพร พานิชรักษาพงศ์ และท่านอื่นๆ ได้เรียนรู้การทำธุรกิจและการปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกัน

เราได้บทเรียนอย่างครบถ้วนและโชคดีที่เราผ่านมาได้ หลังจากนี้การทำงานจะระมัดระวังและไม่กลับไปสู่ปัญหาแบบเดิม เวลาเราเจอกับวิกฤติและปัญหาแล้วสามารถผ่านพ้นมาได้ ก็ทำให้เราแข็งแรงและมั่นคงขึ้น

ทีวีดิจิทัล 2 ช่อง เข้าตลาด ปี 63

ตั้งแต่ปี 2561 ที่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่กลับมา “ทำกำไร” ทีวีดิจิทัล “ช่องวัน” ก็มีผลประกอบการ “เป็นบวก” ช่องวันกำไรแล้ว ตั้งแต่ปี 2561 และปีนี้ก็ทำกำไร และปีหน้าก็ยังทำกำไรแน่นอน เพราะมาตรา 44 ช่วยลดต้นทุนได้ 200 ล้านต่อปี ส่วนช่อง GMM 25 ก็ขาดทุนไม่มากแล้ว และไปต่อได้ ไม่มีปัญหาอะไร ต้นทุนลดไปได้ 100 ล้านบาทต่อปีเช่นกัน

ส่วนช่อง GMM 25 กำลังเตรียมโครงสร้างใหม่ เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนทั้งค่าใบอนุญาตงวดที่ 5 และ 6 และค่าเช่าโครงข่ายแล้ว คาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยในเดือน มิ.ย. นี้

“ธุรกิจทีวีดิจิทัล หลังมีมาตรา 44 เราก็สบายเลย หลังจากนี้ไม่ต้องห่วงกำไรแน่นอน ทั้งช่องวัน 31 และ GMM 25 วางเป้าหมายปี 2563 จะนำ 2 ช่องเข้า IPO”

“ทีวี” ยังเป็นโอกาส

แม้การเป็นเจ้าของทีวีดิจิทัลทำให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ต้องเผชิญภาวะ “ขาดทุน” มาต่อเนื่อง แต่ “อากู๋” ยังมองทีวีเป็น “โอกาส” เพราะพื้นฐานของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ คือ Content Provider โดยทีวีเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์ม นอกจากนี้ยังมีดิจิทัล แพลตฟอร์มอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Netflix, Viu, Facebook, YouTube คอนเทนต์ของแกรมมี่ไปได้ทุก Window จึงไม่ได้มองแค่ธุรกิจทีวีเท่านั้น แต่เป็น Content Provider ที่ไปได้ทุกช่องทาง

“แกรมมี่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มทีวี และทีวียังคงเป็นสื่อหลักไปอีกหลายปี และเรามองทุกแพลตฟอร์มที่นำพาคอนเทนต์ของแกรมมี่ไปสู่ผู้คนได้ ก็จะส่งออกไปเผยแพร่ทุกช่องทาง”

ดังนั้น Content Provider ที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มทีวีด้วย ในเชิงธุรกิจน่าจะสดใส ยิ่งแพลตฟอร์มเยอะขึ้น ยิ่งทำให้คอนเทนต์ไปได้หลาย Window โดยเฉพาะในต่างประเทศซึ่งเป็นพันธมิตรกับ Netflix และยังทำงานร่วมกับ Netflix ในการผลิต Netflix Original เห็นได้ว่าแกรมมี่ไม่ได้ทำคอนเทนต์เพื่อทีวีอย่างเดียว

ธุรกิจเพลง “ไม่เคยขาดทุน”

ในยุคที่เทคโนโลยีถาโถมธุรกิจเพลงให้ต้องล้มหาย แผ่นซีดีเพลงกลายเป็นสินค้าที่คนรุ่นใหม่แทบไม่รู้จัก แต่ “อากู๋” บอกว่า ธุรกิจเพลงของแกรมมี่ ที่ประกอบด้วย การจำหน่ายสินค้าเพลง (Physical Product) ดิจิทัล มิวสิก, การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์, โชว์บิซ, การบริหารศิลปิน และธุรกิจอื่นๆ ยังเป็นธุรกิจหลักของแกรมมี่

และธุรกิจเพลง “ไม่เคยขาดทุน” ตลอด 36 ปีของแกรมมี่ ธุรกิจเพลงทำกำไรมาตลอด และกำไรจากธุรกิจเพลง ยังมาสนับสนุนธุรกิจทีวีดิจิทัล ที่อยู่ในภาวะเลือดไหลในช่วงที่ผ่านมา ยืนยันได้จากผลประกอบการไตรมาสแรก ปี 2562 ธุรกิจเพลง คิดเป็นสัดส่วน 54% เติบโต 16.9% จากปีก่อน

การบริหารธุรกิจเพลงให้เติบโตได้ มาจากการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คอนเทนต์เพลงทั้งหมด และมีแพลตฟอร์มสำหรับเพลงครบถ้วนที่สุด และสามารถบริหารจัดการหารายได้ในทุกแพลตฟอร์มกับการเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption ธุรกิจเพลงจึงไปต่อไปทั้ง Physical และ Digital Platform

ในธุรกิจเพลง แกรมมี่เป็นเจ้าของ Infrastructure ของอุตสาหกรรมเพลงในประเทศไทย จึงบริหารได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และเปิดให้บริการดูแลลิขสิทธิ์คอนเทนต์จากเจ้าของลิขสิทธิ์ทุกรายที่ต้องการใช้แพลตฟอร์มของแกรมมี่ ทั้ง Physical, Digital Platform, โชว์บิซ อีเวนต์

นับจากยุคก่อตั้งแกรมมี่ ที่เริ่มจากธุรกิจเพลง ต่อมาเป็นยุคที่มีแนวร่วมจากพาร์ตเนอร์ หลังจากนี้ก็จะเห็นการทำงานร่วมกับพันธมิตรใหม่ๆ เพิ่มเติม และอาจมีการร่วมทุนอีก เพราะธุรกิจวันนี้ใหญ่กว่ายุคก่อตั้งมากมาย นอกจากเพลง ทีวีดิจิทัล ยังมี โฮมช้อปปิ้ง ภาพยนตร์ วิทยุ โชว์บิซ  

“เราเป็น Entertainment Business ที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ผลิตและจัดจำหน่ายเอง มีแฟลตฟอร์มเอง และทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ทุกรายที่จะนำคอนเทนต์ของแกรมมี่ไปอยู่ในทุกช่องทาง”   

]]>
1232585
เบื้องลึก GMM25 เขย่าครั้งใหญ่ เลิกผลิตข่าว จ้างออก คุมแทน “สถาพร 27 คน ลือ ดึง “บอย-อภิชาติ์” จากทรูโฟร์ยู” https://positioningmag.com/1230066 Wed, 15 May 2019 23:05:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1230066 ตกเป็นดราม่าร้อนฉ่าไปหมาดๆ สำหรับ GMM25 ตัดใจไม่คืนช่อง แต่กลับเลือกปรับลดพนักงานข่าวลงเกือบทั้งหมด โดยจะหันไปใช้วิธีจ้างผลิตข่าวแทน เพื่อลดค่าใช้จ่าย

GMM25 เป็นหนึ่งในช่องทีวีดิจิทัลของค่ายจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่อากู๋ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประมูลมาพร้อมกับช่อง แต่เมื่อธุรกิจไม่ได้สวยหรูอย่างที่คาดไว้ตั้งแต่ทีแรก อากู๋ตัดสินใจเฉือนหุ้น GMM25 ขายให้ครอบครัว “สิริวัฒนภักดี” เจ้าของไทยเบฟเวอเรจเข้ามาถือ 50% ในบริษัท จีเอ็มเอ็ม โฮลดิ้ง ส่วนช่องวัน ขายหุ้น 50% ให้กลุ่มปราสาททองโอถสถเข้ามาถือ

แม้จะหายใจได้คล่องตัวขึ้นมีเงินทุนเข้ามาช่วยแต่สถานการณ์ของทีวีดิจิทัลยังคงเป็นไปอย่างยากลำบาก จนรัฐบาลต้องเข้ามาอุ้ม เปิดทางให้ทีวีดิจิทัลคืนช่องได้ แต่ทั้ง GMM25 และช่องวัน เลือกที่จะไปต่อ 

GMM25 ได้เลือกวิธีปรับโครงสร้างการบริหาร และปรับทิศทางการทำคอนเทนต์ใหม่ โดยมุ่งเน้นรายการวาไรตี้ บันเทิงมากขึ้น

เริ่มด้วยเย็นวานนี้ (14 พ.ค.) ได้แจ้งเรื่อง ยุบทีมข่าว เนื่องจากต้องใช้ต้นทุนสูง เรตติ้งไม่ดีนัก ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน และการแข่งขันของรายการข่าวก็สูงมาก

แหล่งข่าวจาก จีเอ็มเอ็ม25 กล่าวว่า การที่คณะกรรมการบริหารตัดสินใจไม่คืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัลกับ กสทช. และต้องการเดินหน้าทำธุรกิจทีวีดิจิทัลต่อไป แต่ก็ยอมรับว่าเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนสูง ดังนั้นจึงปรับลดต้นทุนการผลิตข่าว ซึ่งเป็นคอนเทนต์ที่จีเอ็มเอ็ม25 ไม่ถนัด  

โดยจะยุติผลิตข่าวเช้า ที่จะออกอากาศถึงวันที่ 17 ..นี้ ส่วนข่าวเที่ยงและเย็น จะออกอากาศถึงสิ้นเดือน มิ..นี้ ปัจจุบันฝ่ายข่าวมีพนักงาน 40 คน โดยจะเลิกจ้าง 27 คน และจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน 

หลังจากยุติการผลิตข่าวจะปรับการนำเสนอคอนเทนต์ในกลุ่มสาระและความรู้ให้เป็นไปตามสัดส่วนที่ กสทช.กำหนด คือ 25% ของผังรายการ ด้วยการนำเสนอ รายการสาระที่ดูสนุก ปัจจุบันมีอยู่ในผังแล้ว 3 รายการ คือ ไทยทึ่ง, ผู้หญิงอยากเล่า และ จักรเพชรเจ็ดย่านน้ำ โดยจะมีผังรายการแนวสาระเข้ามาเพิ่มเติมอีกในเดือน ก..นี้

ลือสะพัดเปลี่ยนผู้บริหารคุมช่อง

สถาพร พาณิชรักษาพงษ์

นอกจากนี้ ยังมีกระแสข่าวว่า GMM25 ได้มีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูงที่จะมาคุมช่อง GMM25 ใหม่ แทน สถาพร พาณิชรักษาพงษ์ กรรมการผู้จัดการ GMM25 คนปัจจุบัน จะกลับไปดูแลจีเอ็มเอ็มทีวี ผู้ผลิตรายการ ตั้งแต่แรกเหมือนเดิม

อภิชาติ์ หงษ์หิรัญเรือง

โดยได้ติดต่อทาบทาม อภิชาติ์ หงษ์หิรัญเรือง กรรมการผู้จัดการ ช่องทรูโฟร์ยู เข้ามารับตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ GMM25 กระแสข่าวระบุว่าจะเริ่มทำงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ก.ค. 2562 นี้

“บอย-อภิชาติ์” นั้น ทำงานกับค่ายทรูมาได้ 2-3 ปี เริ่มจากเป็น กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรู ซีเจ ครีเอชั่น ซึ่งทรูร่วมหุ้นกับ ซีเจ อีเอ็นเอ็ม ค่ายบันเทิงรายใหญ่จากเกาหลี ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็น กรรมการผู้จัดการ ทรูโฟร์ยู ทีวีดิจิทัลของกลุ่มทรู ในเดือนตุลาคม ปีที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้ อภิชาติ์ คลุกคลีอยู่ในแวดวงธุรกิจบันเทิงและดิจิทัล เคยเป็นรองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจดิจิทัล บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กรรมการผู้จัดการ บริษัท วอร์เนอร์ มิวสิค, กรรมการบริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์) ศูนย์รวมค่ายเพลงผู้ผลิตสิ่งบันเทิงเสียงสากล รับผิดชอบไทย ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม

ทั้งนี้ GMM25 ได้มีการเปลี่ยนผู้บริหารช่องมาระยะ เริ่มจากพี่ฉอด-สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา รับหน้าที่บุกเบิกช่องมาตั้งแต่ต้น จนเมื่อตุลาคม ปี 2561 พี่ฉอดได้โยกไปดูแลบริษัท Change 2561 บริษัทในเครือ จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง เพื่อรับผลิตคอนเทนต์รายการให้กับทุกช่อง โดยได้ดึง สถาพร จากจีเอ็มเอ็มทีวีเข้ามาบริหาร

หากได้ตอบรับจาก “บอย- อภิชาติ์” จะก้าวมาเป็นผู้บริหารคนล่าสุดของช่อง เพื่อรับบทบาทในการกอบกู้สถานการณ์ GMM25 ซึ่งปัจจุบันเรตติ้งเฉลี่ย 0.107 อยู่ในอันดับ 14 ด้วย ให้กลับมาสู้ศึกในสังเวียนทีวีดิจิทัลอีกครั้ง.

]]>
1230066
“ช่อง GMM25” เปิดเวทีดีเบต 10 พรรคการเมือง “ศึกใหญ่เลือกตั้ง’62 Young Blood Debate” เลือดใหม่การเมืองไทย https://positioningmag.com/1218185 Wed, 06 Mar 2019 09:01:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1218185 ช่อง GMM25 เปิดเวทีดีเบตครั้งสำคัญ ของ 10 นักการเมืองเลือดใหม่ไฟแรง เจาะทุกประเด็นที่ทุกคนอยากรู้ คนรุ่นใหม่จะมีบทบาทสำคัญในเวทีการเมืองอย่างไร? จัดถ่ายทอดสดรายการพิเศษ “ศึกใหญ่เลือกตั้ง’62 Young Blood Debate” เลือดใหม่การเมืองไทย วิสัยทัศน์พัฒนาชาติ ดำเนินรายการโดย “ต๊ะ-พิภู พุ่มแก้วกล้า” ในวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม นี้ เวลา 16.15 น. – 18.20 น. ทางช่อง GMM25 และ Facebook Live : GMM25thailand ซึ่งตัวแทนจาก 10 พรรค เข้าร่วมศึกใหญ่เลือกตั้งในครั้งนี้ ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และนโยบายพรรค ประชันความคิดให้ประชาชนได้รับรู้ ก่อนเข้าคูหากาพรรคที่ใช่ 24 มีนาคม นี้ โดยประกอบด้วย คุณรัฐภูมิ โตคงทรัพย์ (ฟิล์ม) พรรคพลังท้องถิ่นไท, นพ.คณวัฒน์ จันทรลาวัณย์ (หมอเอ้ก) พรรคประชาธิปัตย์, นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง (หมอเก่ง) พรรคอนาคตใหม่, คุณภูวพัฒน์ ชนะสกล (คิด) พรรคเสรีรวมไทย, คุณเกตินิคม กฤษณะเศรณี (กล้วย) พรรครวมพลังประชาชาติไทย, คุณวทันยา วงษ์โอภาสี (เดียร์) พรรคพลังประชารัฐ, คุณเกศปรียา แก้วแสนเมือง (เดียร์) พรรคเพื่อชาติ, คุณปุณฐิภาภัคร์ สุวรรณราช (ตุ๊กตา) พรรคชาติไทยพัฒนา, คุณไอณริณ สิงหนุต (น้ำแข็ง) พรรคมหาชน และคุณเผ่าภูมิ โรจนสกุล พรรคเพื่อไทย

ติดตามการดีเบตครั้งสำคัญของ 10 นักการเมืองเลือดใหม่ไฟ ได้ในรายการพิเศษ “ศึกใหญ่เลือกตั้ง’62 Young Blood Debate” เลือดใหม่การเมืองไทย วิสัยทัศน์พัฒนาชาติ ถ่ายทอดสดในวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม นี้ เวลา 16.15  น. – 18.20 น. ทางช่อง GMM25 และ Facebook Live : GMM25thailand

#YoungBloodDebate #GMM25Debate

]]>
1218185
GMM 25 อัดงบเบาๆ 600 ล้าน เปิดศึกข่าว ส่งซีรีส์-ละครผังปี 62 หวังดันเรตติ้ง ติด TOP 10 https://positioningmag.com/1208636 Wed, 16 Jan 2019 13:57:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1208636 ถือเป็นช่วงที่ “ทีวีดิจิทัล” ทยอยประกาศผังรายการ หลังจากช่องวันประกาศผังโดยมุ่งเน้นรายการข่าว เป็นอันดับสองรองจาก ละครไปแล้ว ถึงคิว GMM 25 ช่องทีวีดิจิทัล ร่วมค่ายแกรมมี่ ได้ประกาศผังรายการใหม่ ประเดิมด้วยการปรับโฉมรายการข่าว ให้ดูทันสมัย ทั้ง 3 ช่วงเวลา

ช่อง GMM 25 ถือเป็นช่องที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น แม้ช่องนี้จะมี “ต้นทุน” เรื่องการผลิตคอนเทนต์มาไม่น้อย จากการที่แกรมมี่เคยทำช่องทีวีดาวเทียมมาก่อน คอนเทนต์ช่วงแรกจึงมีทั้งซีรีส์คลับฟลายเดย์ ที่มีพี่ฉอด-สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา นำจากรายการวิทยุมาแปลงเป็นซีรีส์ ซีรีส์วาย เอาใจชายรักชาย โดยวางจุดยืนเป็นช่องของคนดูวัยรุ่น

แต่การทำธุรกิจ “ทีวีดิจิทัล” นั้นสิ่งสำคัญ “สายป่านต้องยาว” จึงเป็นที่มาของการเปิดทางให้ บริษัท อเดลฟอส ของลูกชายเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เทงบ 1,000 ล้านบาท เข้ามาซื้อหุ้น 50% GMM 25 จึงถูกวางโจทย์ใหม่ให้เข้าถึงผู้ชมกลุ่มแมสมากขึ้น ต่อมาได้มีการเปลี่ยนหัวเรือใหญ่ จากพี่ฉอด ที่ย้ายไปบุกเบิกธุรกิจผลิตคอนเทนต์ใหม่ ในชื่อ GHANGE 2561

ส่วน GMM 25 ได้โยกเอา สถาพร พานิชรักษาพงศ์ อดีตกรรมการผู้จัดการ จีเอ็มเอ็ม ทีวี มือผลิตซีรีส์วัยรุ่น ป้อนให้ทั้ง GMM 25 และช่องวัน มานั่งเป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทจีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด (ช่อง GMM 25)

แม้จะมีการเพิ่มคอนเทนต์พร้อมกับเพิ่มเงินลงทุน แต่ด้วยกลุ่มคนดูทีเป็นวัยรุ่น ที่นิยมดูทีวีลดลง และการแข่งขันรุนแรงของทีวีดิจิทัล เรตติ้งของช่อง GMM 25 จึงอยู่ในอันดับ 13-15 ยังไม่แตะท็อป 10

ล่าสุด GMM 25 ภายใต้การนำของ สถาพร ประกาศเทงบเฉียด 600 ล้าน จัดคอนเทนต์ลงผังรายการปี 2562 ระบุว่า จะมีทั้งรายการข่าวโฉมใหม่ รายการใหม่แกะกล่อง รายการฟอร์แมตระดับโลก ละครและซีรีส์ที่มั่นใจว่าจะโกยเรตติ้งเพิ่มเท่าตัวดันยอดรายได้ทะลุเกือบ 1,000 ล้านบาท เชื่อว่าจะขึ้นแท่นช่อง Top 10 ภายในสิ้นปีนี้

สถาพร พานิชรักษาพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทจีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด (ช่อง GMM 25) เปิดเผยว่า ช่อง GMM 25 จะมุ่งตรงกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น คือ กลุ่ม Young Adult อายุ 18-35 ปี และ Young at Heart อายุ 35 ปีขึ้นไป ด้วยคอนเทนต์ตอบโจทย์ จึงมียอดผู้ชมในทุกแพลตฟอร์มกว่า 16 ล้านคนต่อวัน แบ่งเป็นทางทีวีกว่า 6 ล้านคน และทางออนไลน์กว่า 10 ล้านคน

โดยในช่องทางออนไลน์นั้น GMM 25 ที่มียอด Engagement คอมเมนต์ ไลก์ แชร์ ใน Facebook เพจ GMM25Thailand สูงที่สุดเป็นอันดับ 1, มียอดผู้ติดตามใน YouTube สูงสุดเป็นอันดับ 5, มีผู้ชมใน Line TV สูงสุดเป็นอันดับ 2 และเป็น Content ไทย ที่มียอดรับชมสูงที่สุดใน VIU

ปีนี้ GMM 25 ได้เตรียมเงินลงทุนในการผลิคคอนเทนต์ไว้เกือบ 600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10% โดยยังให้น้ำหนักกับงบผลิต “ละครและซีรีส์” มากที่สุดกว่า 320 ล้านบาท รองลงมาเป็นรายการ Entertainment Variety 180 ล้านบาท โดยจะจับมือพันธมิตรผู้ผลิตจำนวนมากเพื่อสร้างความหลากหลายเป็น HUB OF CREATORS โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 เฟสคือ

เฟสที่ 1 เสริมแกร่งช่วง Day Time โดยเน้น 2 ส่วน คือ รายการข่าว และรายการ Entertainment Variety

รายการข่าวนั้น ถือว่าเติบโตสูง ในปี 2561 ทำเรตติ้งเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 80% ดังนั้น ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา จึงได้ปรับรายการข่าวให้เข้มข้นขึ้นชัดเจน ดูทันสมัยและน่าสนใจยิ่งขึ้น ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ข่าวใหญ่ 25” ใหญ่ ชัด คัด เพื่อคุณ ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 3 ช่วงเวลา ได้แก่ “เช้าข่าวใหญ่” 05.30-08.00 น., “เที่ยงข่าวใหญ่” 12.00-14.00 น. และ “ข่าวใหญ่ไทยแลนด์” 16.15-18.20 น.

สำหรับรายการกลุ่ม Entertainment Variety จะมี 2 รายการใหม่ คือ “ผู้หญิงอยากเล่า” จ.-ศ. 08.00-09.00 น. อัพเดตเทรนด์สุขภาพ ความงาม กิน เที่ยว สำหรับสาวยุคใหม่ เริ่ม 14 ม.ค. และ “ดาราแลนด์” จ.-ศ. 18.20-19.00 น. ขยายข่าวบันเทิงเพิ่มขึ้น เริ่ม 16 ม.ค.

ยังคงรายการ “แฉ” ไว้ และเพิ่มรายการใหม่ “อีจันสืบสยอง เจาะทุกคดีต่างๆ อะจ๊าก” ฯลฯ สร้างสีสันให้กับผู้ชมอย่างต่อเนื่อง จะทำให้รายการกลุ่มนี้มีความเข้มแข็ง ครบรส

เฟสที่ 2 เพิ่ม Music Content ใช้ประสบการณ์ด้านเพลงไทยของแกรมมี่ มาอยู่ในสลอตเวลา 19.00-20.00 น. เพิ่มรายการฟอร์แมตใหม่ ด้วยรายการ “Stage Fighter” นำรายการแข่งขันร้องเพลงในรูปแบบใหม่ “ไมค์คู่ สู้ ฟัด” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เริ่มมีนาคมนี้และ “Lip Sync Battle Thailand” เรียลลิตี้มิวสิคัลโชว์ในรูปแบบการลิปซิงค์ระดับโลก Season 2 ทุกวันอาทิตย์ 18.20-20.00 น. เริ่มเมษายนนี้ และรายการ “Hotwave Music Awards 2019” การประกวดวงดนตรีระดับมัธยมศึกษา เริ่มออกอากาศช่วงปลายปี 2562

เฟสที่ 3  เน้นช่วงไพรม์ไทม์ของทุกวัน ด้วยคอนเทนต์ Drama and Series ที่สร้างจากบทประพันธ์ระดับมาสเตอร์พีซ และ เบส ออน ทรู สตอรี่ แนวดราม่า มี 2 สลอตเวลา ได้แก่ ละคร 20.10 น. ประเดิมด้วยเรื่อง “เมียน้อย” ทุกวันจันทร์-อังคาร เริ่ม 14 ม.ค., “ก่อนอรุณจะรุ่ง” ทุกวันพุธ-พฤหัสบดี เริ่ม 16 ม.ค. และซีรีส์ 21.25 น. รวม 54 เรื่องตลอดปี เริ่มตั้งแต่กลางปีนี้เป็นต้นไป

GMM 25 เชื่อว่าจะโกยเรตติ้งเพิ่มขึ้น 100% และก้าวขึ้นมาเป็นช่อง TOP 10 ได้ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 1,000 ล้านบาท เติบโตขึ้นกว่า 35% จากปี 2561 โดยรายได้หลักจะมาจากค่าโฆษณาและค่าเช่าเวลาประมาณ 70% และค่าขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ในช่องทางออนไลน์และต่างประเทศอีก 30%.

]]>
1208636
จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เขย่าอีกรอบ แตก 5 บริษัทลูก ผลิตคอนเทนต์ป้อนทุกช่องทาง https://positioningmag.com/1193764 Sun, 21 Oct 2018 23:00:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1193764 ทีวีดิจิทัล ยังต้องดิ้นรนกันต่อ ยิ่งโจทย์เวลานี้ไม่ได้มีแค่คู่แข่งที่แย่งชิงเม็ดเงินโฆษณาเท่านั้น แต่ยังมีสื่อออนไลน์ที่มีบทบาทต่อผู้ชมอย่างมากเป็นอีกหนึ่งในเวทีที่ต้องต่อสู้ ยิ่งทำให้ทีวีดิจิทัลต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด

กลุ่มจีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง ช่องทีวีดิจิทัล จีเอ็มเอ็ม 25 ได้ปรับโครงสร้างใหม่ ด้วยการแตก 5 บริษัท ประกอบไปด้วย จีเอ็มเอ็ม 25, จีเอ็มเอ็มทีวี, จีเอ็มเอ็ม มีเดีย, เชนจ์ 2561 และ กลุ่มจีเอ็มเอ็ม สตูดิโอ ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำหน้าที่ผลิตคอนเทนต์บันเทิง หรือ คอนเทนต์ โพไวเดอร์ ในทุกช่องทาง

จีเอ็มเอ็มทีวีนั้น ยังคงผลิตรายการบันเทิง วาไรตี้ และซีรีส์วัยรุ่น จากนักแสดงวัยรุ่นในสังกัดที่เป็นไฮไลต์ของบริษัท มีผลงานป้อนช่องทีวีดิจิทัล ส่วนใหญ่เป็นช่องจีเอ็มเอ็ม 25 และช่องวัน และไลน์ทีวี รวมถึงเฟซบุ๊ก ยูทูป และยังมีการจัดคอนเสิร์ตจากศิลปินในกลุ่มด้วย

ส่วนบริษัทเชนจ์ 2561 จัดตั้งขึ้นใหม่ โดยมี “พี่ฉอด สายทิพย์” เป็นผู้บริหาร หลังจากที่ลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ก็หันมาผลิตคอนแทนต์บันเทิง ทั้งละคร คอนเสิร์ต ให้กับช่องจีเอ็มเอ็ม 25 เท่านั้น รวมถึงช่องทีวีดิจิทัลช่องอื่นๆด้วย เช่น ช่องวัน, ช่องพีพีทีวี และอมรินทร์ทีวี นอกเหนือจากการทำละครให้ช่องจีเอ็มเอ็ม 25 เพียงช่องเดียว

กลุ่มบริษัทใหม่คือ จีเอ็มเอ็ม สตูดิโอ ได้รวมผู้ผลิตคอนเทนต์บันเทิงจากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เช่น จีเอ็มเอ็ม บราโว เข้ามารวมในกลุ่มนี้ โดยมี ระฟ้า ดำรงชัยธรรม เข้ามาช่วยบริหารกลุ่มนี้ และยังมี “ปุ๊ก-พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์” ที่โยกจาก ตำแหน่ง Director ด้านละครของช่องจีเอ็มเอ็ม เข้ามาช่วยดูแลด้วย ความแตกต่างของกลุ่มนี้คือรับผลิตคอนเทนต์บันเทิงให้กับช่องทาง Netflix , YouTube และ LINE ที่เป็นตลาดต่างประเทศเป็นหลัก

และกลุ่มสุดท้ายคือ จีเอ็มเอ็ม มีเดีย เป็นการรวมธุรกิจวิทยุ และการจัดคอนเสิร์ต ทั้งหมด ในปี 2560 จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง มีรายได้รวม 1,551 ล้านบาท หรือคิดเป็น 18% ของรายได้รวมของกลุ่มจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่มีรายได้อยู่ที่ 10,179 ล้านบาท โดยรายได้รวมของจีเอ็มเอ็ม แชนแนล ลดลงจากปี 2559 ที่มีรายได้รวม 1,772 ล้านบาท หรือคิดเป็น 24% ของรายได้รวมของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่มีรายได้อยู่ที่ 7,430 ล้านบาท

ในส่วนการบริหารงาน ได้แต่งตั้ง สถาพร พานิชรักษาพงศ์ เข้ามาบริหารช่องอย่างเป็นทางการตั้งแต่กลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา และจะนั่งเป็น กรรมการผู้จัดการ บริษัทจีเอ็มเอ็มทีวี อีกตำแหน่ง

ก่อนหน้านี้ บุษบา ดาวเรือง ได้เข้ามารักษาการบริหารช่องชั่วคราว หลังจากที่ “พี่ฉอด-สายทิพย์ มนตรีกุล” หลุดจากตำแหน่งไปตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ จนกระทั่งทางจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ได้ส่งสถาพรเข้ามา พร้อมมีการเปลี่ยนแปลงทีมงานภายใน ซึ่งสถาพรเข้ามาดูแลงานละครในช่องด้วยตัวเอง โดยได้เริ่มเปิดรับผู้จัดจากภายนอกเข้ามาผลิตงานละครเพิ่มเติม

สำหรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในจีเอ็มเอ็ม แชนแนลนั้น มี จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ถือหุ้นจำนวน 9,999,998 หุ้น หรือ 50% และที่เหลืออีก 50% เป็นการถือหุ้นของกลุ่มช้าง ได้แก่ บริษัท สิริดำรงธรรม ถือหุ้นจำนวน 4,999,999 หุ้น 24.99% และ บริษัท ภักดีวัฒนา ถือหุ้นจำนวน 4,999,999 หุ้น หรือ 24.99% โดยกลุ่มช้างเข้ามาซื้อหุ้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2560

]]>
1193764
โมโน ส่ง “Harry Potter” โกยเรตติ้งไพรม์ไทม์ชิงเบอร์สาม เข้าใกล้บิ๊กช่อง 3 GMM25 ไต่อันดับ 12 ส่งซีรีส์เด็กใหม่ลง Netflix https://positioningmag.com/1187129 Mon, 10 Sep 2018 11:27:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1187129 จัดเต็มมาก เมื่อช่องโมโนจัดผังสู้ศึกไพรม์ไทม์ยิบตา ด้วยการส่งภาพยนตร์ชุด Harry Potter ทั้ง 7 ภาค เข้าผังตั้งแต่ 3-9 กันยายน ส่งเรตติ้งช่องคืนสู่อันดับ 3 เข้าใกล้ช่อง 3 เข้าไปทุกที

ช่วงสัปดาห์ระหว่างวันที่ 3-9 กันยายนที่ผ่านมา ช่องโมโน เจ้าพ่อหนังต่างประเทศ จัด Harry Potter ลงผัง หลังจากสัปดาห์ก่อนหน้านี้ต้องเพลี่ยงพล้ำให้เวิร์คพอยท์ ที่ได้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาเอเชียนเกมส์จนได้เรตติ้งทะยานขึ้นไปอยู่ในอันดับ 2 แทนที่ช่อง 3 เป็นการชั่วคราว จนเรตติ้งของโมโนหล่นไปอยู่อันดับ 4

การพลิกฟื้นสถานการณ์ของโมโน มาจากกลยุทธ์การจัดหนัง 7 ตอนลงยาวต่อเนื่องทั้งสัปดาห์มีผลแรงทำให้เรตติ้งเฉลี่ยของช่องโมโนเด้งขึ้นมาอยู่ที่ 1.079

 

เมื่อดูจากเรตติ้งเฉลี่ยของแต่ละภาคของ Harry Potter ที่โมโนจัดลงช่องแล้ว ได้เรตติ้งเฉลี่ยเกิน 2 จนถึงเกิน 4 ในแต่ละช่วง โดยเฉพาะวันพฤหัสที่ 6 .. Harry Potter ตอน  the Goblet of fire ได้เรตติ้งช่วงที่ 1 อยู่ที่ 4.181 และช่วงที่ 2/ 3.768 รวมได้เรตติ้งเฉลี่ยทั้งเรื่องอยู่ที่ 3.798 เป็นบทพิสูจน์ว่า คอนเทนต์ดีมีผลต่อความนิยมของผู้ชมได้เสมอ

ช่วงหลังมานี้ โมโนจัดหนังดังลงแต่ละช่วงเวลาถึง 6 เรื่องต่อวัน ตั้งแต่เวลา 8.30, 12.00, 15.30, ไพรม์ไทม์ 23.00 ., และหลังเที่ยงคืน โดยหนังดังฟอร์มใหญ่จะถูกจัดวางในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ของวัน ก่อนข่าว 2 ทุ่มและต่อเนื่องไปยังช่วงหลังข่าว 2 ทุ่ม ยกเว้นวันศุกร์ที่วางหนังยาวต่อเนื่องไปเลยในช่วงไพรม์ไทม์ นอกจากนี้ยังมีซีรีส์ต่างประเทศ ที่จัดลงถึง 4 ช่วงเวลาต่อวัน ตั้งแต่ช่วง 7.30, 11.00 14.00 และ 21.00 ซึ่งเรตติ้งจะขึ้นตามความนิยมของหนังและซีรีส์แต่ละเรื่อง แต่ก็ทำให้โมโนรักษาตำแหน่งเรตติ้งอันดับ 3 ประจำเดือนได้ตลอด ยกเว้นเดือนสิงหาคมที่โดนเวิร์คพอยท์แซงมาได้เดือนเดียวของปีนี้

*** GMM25 ไต่อันดับ 12 ส่งเด็กใหม่ลง Netflix

ทางด้านจีเอ็มเอ็ม25 หลังการจัดทัพทีมผู้บริหาร และจัดรายการลงผังใหม่ เรตติ้งค่อยๆ ไต่ระดับขึ้นมาในสัปดาห์ที่ผ่านมาขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 12 แล้ว เรตติ้งเฉลี่ย 0.132 รายการที่สร้างความนิยมของช่องจีเอ็มเอ็ม25 ช่วงนี้คือ

ละครเย็นในวันเสาร์อาทิตย์มนต์รักทรานซิสเตอร์ โดยในวันเสาร์ที่ 8 กันยายน ได้เรตติ้ง 0.436 และละครตลกช่วงหลังข่าวคุณพ่อจอมซ่าส์ในวันพุธที่ 5 กันยายน เรตติ้งเฉลี่ย 0.378

นอกจากนี้ยังมีซีรีส์ไทยสายดาร์กที่กำลังมาแรงเด็กใหม่ Girl From No Where ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ซีรีส์แนวลึกลับ ได้เค้าโครงเรื่องตัวละครหลักมาจากซีรีส์ญี่ปุ่น โดยซีรีส์ชุดนี้จีเอ็มเอ็มประกาศไว้ว่าจะมีทั้งหมด 13 ตอน ที่ลงจอช่วงดึกของทุกวันพุธ เป็นซีรีส์ที่กำลังสร้างกระแสในวงการออนไลน์ แจ้งเกิดทิชา อมาตยกุลที่มารับบทแนนโน๊ะ สาวน้อยเด็กใหม่ของทุกโรงเรียน ที่เข้ามาเปิดด้านมืดในใจของทุกคน

นอกจากนี้ยังเป็นซีรีส์ไทยเรื่องแรกของช่อง ที่ได้ร่วมมือกับ Netflix นำไปออกอากาศ Netflix หลังจากออนแอร์ครบ 13 ตอน โดยจะไม่อยู่บนแพลตฟอร์มทั้งยูทูป และไลน์ทีวี เพื่อเป็นการลองตลาดของซีรีส์แนวนี้ที่น่าจะเจาะกลุ่มตลาดอินเตอร์มากกว่า เนื่องจากเนื้อหาเรื่องค่อนข้างแรง เสียดสีเรื่องราวในสังคม ภายใต้พล็อตหลักของเรื่องที่ระบุไว้ว่าเด็กใหม่ 13 ข่าวฉาว ที่ทุกโรงเรียนอยากปิดให้มิดที่สุด

 ***เวิร์คพอยท์พีพีทีวี

สำหรับช่องที่เรตติ้งลงแรงของสัปดาห์นี้คือ เวิร์คพอยท์ และพีพีทีวี เรตติ้งเฉลี่ยลดลงหลังจากหมดช่วงกีฬาเอเชียนเกมส์ โดยเวิร์คพอยท์หล่นจากอันดับ 2 ในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่อันดับ 4 เหมือนเดิม ส่วนพีพีทีวี หล่นจากอันดับ 10 มาอยู่ที่อันดับ 13.

]]>
1187129
GMM25 ปรับทัพใหม่ เจาะกลุ่ม Premium Mass ดึง “ปุ๊ก-พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์” ผู้กำกับมือดี เข้าคุมละครของช่อง https://positioningmag.com/1171264 Thu, 24 May 2018 06:04:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1171264 ยังอยู่ในช่วงจัดทัพ สำหรับทีวีดิจิทัล GMM25 หลังการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไปเมื่อเร็วๆ นี้ โดย บุษบา ดาวเรือง เข้ามารักษาการตำแหน่งใหญ่ในช่อง GMM25 แทนที่ “พี่ฉอด- สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา” โดยพี่ฉอดย้ายไปอยู่บริษัทชาแนล เทรดดิ้ง ที่บริษัทแม่ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ตั้งขึ้นมาใหม่ เพื่อผลิตคอนเทนต์เพื่อรองรับทุกช่องทีวีดิจิทัล ไม่จำกัดว่าต้องเป็นช่อง GMM25 และทางออนไลน์ 

ขณะนี้ฝ่ายบริหารช่อง GMM25 ได้มีการปรับทัพ และทำ Positioning ของช่องใหม่ โดยตั้งเป้าว่าจะปรับช่อง GMM25 ให้เป็นช่องสำหรับกลุ่ม Premium Mass ที่หวังเจาะกลุ่มตลาดคนดูทั่วประเทศ แต่เน้นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง แทนที่กลุ่มวัยรุ่น วัยทำงานที่เป็นฐานผู้ชมช่องเดิม เนื่องจากต้องการสร้างทั้งเรตติ้งและรายได้ให้กับช่องมากขึ้น

“นโยบายใหม่ของช่อง วิเคราะห์มาจากกลุ่มอายุผู้ชมทีวีในปัจจุบัน ที่มีอายุมากกว่า 35+ ขึ้นไป หากต้องการได้เรตติ้ง ที่จะหาโฆษณาได้ ก็ต้องหันมาทำรายการที่เจาะกลุ่มผู้ชมที่ถูกต้อง การไปเจาะกลุ่มแมส จะไปชนช่อง 7 ที่แข็งแกร่งมาก ทางออกคือ  Premium Mass ที่เป็นฐานผู้ชมกว้างขึ้น แต่เป็นกลุ่มระดับบนของแมส น่าจะตอบโจทย์ทิศทางใหม่ของช่องได้ดียิ่งขึ้น” ผู้บริหารระดับสูงในกลุ่มแกรมมี่รายหนึ่งกล่าว

นอกจากนี้ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีทีวีดิจิทัล 2 ช่อง คือ ช่องวัน และช่อง GMM25 ตามนโยบายของกลุ่มจีเอ็มเอ็ม จะมีการแบ่งเซ็กเมนต์ทั้ง 2 ช่องให้แตกต่างกัน ซึ่งช่องวัน เจาะกลุ่มคนเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับช่อง 3 ที่ผ่านมาถือว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จ ติดลมบนไปแล้ว หากวัดจากเรตติ้งแล้ว ช่องวันอยู่ในอันดับ 6 ที่สูสีกับช่อง 8 ที่อยู่อันดับ 5 ในขณะที่ GMM25 อยู่ในอันดับ 14 สูสีกับช่องทรูโฟร์ยู ที่อยู่ในอันดับ 13

สอดคล้องกับที่บุษบา ดาวเรือง ให้สัมภาษณ์ล่าสุดเกี่ยวกับทิศทางช่องไว้ว่า กลยุทธ์ในตอนแรกของการเริ่มต้นของช่อง เป็นช่องคนรุ่นใหม่แบบเซ็กเมนต์ และพอมาถึงจุดที่เรากำหนดเซ็กเมนต์ไม่ได้แล้ว ทีวีมันต้องจับความแมสมากขึ้น นั่นมันจะหมายถึงเรตติ้ง สปอนเซอร์และทุกอย่าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องมีจุดยืนอยู่ด้วย ซึ่งตอนนี้มันอยู่ในช่วงรอยต่อ และการปรับเปลี่ยน จริงอยู่การสตาร์ทแบบเซ็กเมนต์ เรตติ้งเราอาจจะไม่เยอะ แต่ในแง่ออนไลน์ของเราเป็นที่นิยมมาก และมันก็สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนดู เราเลยเอาข้อถูก ข้อผิดต่างๆ มาทบทวนดูว่าอะไรเราจะพัฒนาต่อไป เลยบอกว่าพอเราเป็นสถานีโทรทัศน์เราก็ต้องทำอะไรที่มันเป็นแมส โดยที่กลุ่มเดิมเราก็ยังรักษาเอาไว้ด้วย

ก่อนหน้าที่จะมีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารในช่อง พี่ฉอดก็ได้เคยทำโครงการขยายกลุ่มผู้ชมไปตามหัวเมืองทั่วประเทศมาแล้ว ในโครงการ “GMM25 มาหาแฟน” ที่นำนักแสดงในละครของช่องออกไปทำกิจกรรมแนะนำช่อง ตามหัวเมืองหลักในต่างจังหวัด โดยเริ่มทำไปแล้วที่นครราชสีมา

ในส่วนด้านการตลาดนั้น อิงฟ้า ดำรงชัยธรรม ลูกสาวของอากู๋ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ดูแลด้านการตลาด ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายคอนเทนต์ มาร์เก็ตติ้ง ซึ่งได้เข้ามาทำงานตั้งแต่สมัยที่พี่ฉอดยังบริหารช่องนี้โดยเข้าช่วยการพัฒนาขยายคอนเทนต์ทั้งช่องทางทีวีและออนไลน์ ควบคู่ไปกับการขยายกลุ่มผู้ชมของช่องให้มากขึ้นจากเดิม ที่อยู่ในช่วง 18-34 ปี ไปยังกลุ่มที่สูงอายุมากขึ้น

ตั้ง “ปุ๊ก-พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์” Director คนใหม่ด้านงานละคร 

สำหรับคอนเทนต์หลักของช่อง จะมีรายการวาไรตี้ และละครเป็นหลักเหมือนเดิม แต่ปรับแนวทางละครใหม่ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายใหม่ จึงได้แต่งตั้ง “ปุ๊ก -พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ผู้กำกับหนัง และละคร ที่คร่ำหวอดในวงการมานาน มารับตำแหน่ง Director คนใหม่ด้านงานละคร

ปุ๊ก พันธุ์ธัมม์ เคยมีผลงานกำกับหนังเรื่อง ไอ้ฟัก ในปี พ.ศ. 2547 และเรื่อง “มะหมา 4 ขาครับ ในปี พ.ศ. 2550 และเป็นผู้กำกับละครหลายเรื่องให้ทั้งช่องวัน และช่อง 3 เช่น เคหาสน์ดาว ช่องวัน และ ซ่อนรักกามเทพ ในซีรีส์ชุดคิวปิด ของค่ายบรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น ผลงานสุดท้ายที่ทำให้ช่อง 3 คือละครดังจากลิขสิทธิ์เกาหลี “ลิขิตรักข้ามดวงดาว You who came from the star” ในฐานะผู้กำกับ แต่ถอนตัวออกไปกะทันหัน หลังจากเดินหน้าถ่ายทำไปได้ 20% เพื่อมารับตำแหน่งใหญ่ที่ GMM25

งานใหญ่ที่ปุ๊ก พันธุ์ธัมม์ ต้องตอบโจทย์ใหม่ของช่องให้ได้ คือ ทำละครที่เจาะกลุ่มให้กว้างขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในปลายปีนี้ และนอกจากออนแอร์ในช่อง GMM25 แล้ว ยังมีข้อผูกพันทางสัญญากับพันธมิตรทั้งไลน์ และ VIU ที่นำละครชุดของช่อง ในชุดวันจันทร์-อังคาร ออกอากาศทางไลน์ และ พุธ-พฤหัส ออกอากาศทาง VIU

ปัจจุบันคอนเทนต์ของช่อง GMM25 มาจากทั้งข่องผลิตเอง ทั้งละครและวาไรตี้ และรายการจากบริษัท จีเอ็มเอ็ม ทีวี ที่เป็นบริษัทลูกของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่ผลิตคอนเทนต์ซีรีส์วัยรุ่นป้อนช่องมาโดยตลอด. 

]]>
1171264
กลยุทธ์ “ละครมาราธอน” ลงผังสงกรานต์ ดันเรตติ้งช่องวันพุ่ง https://positioningmag.com/1166205 Wed, 18 Apr 2018 03:44:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1166205 แม้ว่าอันดับเรตติ้งของช่องวัน จะอยู่ในอันดับ 6 ของตารางเรตติ้ง 25 ช่องทีวีดิจิทัล แต่สำหรับรายการประเภทละครไทยแล้ว ละครช่องวัน คือคู่แข่งของทั้ง 2 ช่องใหญ่ ช่อง 7 และช่อง 3 ที่กำลังมาแรงน่าจับตามอง

เปิดมาปีนี้ ละครเรื่องแรกที่สร้างกระแสการกล่าวถึงมากที่สุดของช่องวันเรื่องแรก คือ “ล่า” ละครดราม่า แรง แฝงไปด้วยความแค้น การเอาคืน ออกอากาศข้ามปีจากปีที่แล้ว มาจบในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ด้วยเรตติ้งเฉลี่ยทั้งเรื่อง 2.417 โดยมีเรตติ้งสูงสุดอยู่ที่ 3.823 ตามติดมาด้วยละคร “เรือนเบญจพิษ” ที่ได้เรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 2.86 และมีเรตติ้งสูงสุดในตอนจบที่ 3.86

เมื่อจังหวะมา มีแรงส่งจากละครทั้ง 2 เรื่องตั้งแต่ต้นปี ช่องวันจึงจัดละครเพลงหมอลำ เพลงลูกทุ่ง “ดาวจรัสฟ้า” โดยตั้งความหวังสุดๆ ว่า จะมาเปรี้ยงปัง ไม่แพ้ละครแนวเดียวกันแบบ “ราชินีหมอลำ” ที่ออกอากาศไป และเป็นละครที่มีเรตติ้งสูงสุดของช่องวัน โดยมีเรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 3.662 สำหรับการรีรันรอบที่ 2 สูงกว่าช่วงออนแอร์ครั้งแรก ที่ได้ไป 3.298

แต่โชคไม่ดี เมื่อต้องไปชนกับ “บุพเพสันนิวาส” ของช่อง 3 ที่ออกอากาศทุกวันพุธ พฤหัส ในขณะที่ “ดาวจรัสฟ้า” ออกอากาศจันทร์-พฤหัส เรตติ้งจึงสวิงไปมา จะลดลงมาอยู่ในระดับ 2 กว่า เมื่อเป็นวันพุธ พฤหัส และจะเริ่มสูงขึ้นในระดับ 3 จนแตะเรตติ้งระดับ 4 เมื่อถึงวันจันทร์-อังคาร

งัดกลยุทธ์เก่า “ละครมาราธอน” ลงช่วงสงกรานต์

ในช่วงสงกรานต์ ปีใหม่ไทย เป็นช่วงที่คนดูทีวีน้อยลง เอเจนซี่ไม่ค่อยลงโฆษณา ช่องวันจึงงัดกลยุทธ์ “ละครมาราธอน” ที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้วในปลายปีที่แล้ว มาใช้อีกครั้ง ต่างกันที่ ครั้งนี้เป็นการรีรันมาราธอนในละครที่กำลังออกอากาศ เลือกมา 3 เรื่องคือ เมืองมายา ไลฟ์, กาหลมหรทึก และดาวจรัสฟ้า ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 12 -16 เม.ย.

 

โดยจัด “ดาวจรัสฟ้า” ที่เป็นไฮไลต์ ให้ลงช่วงมาราธอนตั้งแต่ช่วงไพรม์ไทม์ของวันที่ 14 เม.ย. เปิดทีวียาว ดูย้อนหลังต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นกลุ่มที่เป็นแฟนละครช่องอื่นๆ รวมถึง “บุพเพสันนิวาส” ช่อง 3 มาก่อน จากคนที่ไม่เคยดู ไม่รู้จัก ตรึงคนดูอยู่ยาวช่วงวันหยุด จนมาจบในวันที่ 16 เม.ย. ในช่วงค่ำ เพื่อต่อเข้าสู่ตอนใหม่ทันที

เป็นไปตามคาด เมื่อ “ดาวจรัสฟ้า” ได้เรตติ้งสูงที่สุดในช่วงมาราธอนเมื่อเทียบกับอีก 2 เรื่อง ที่ได้เรตติ้งระดับ 1 กว่าจนถึงเกือบ 2 และส่งต่อไปตอนออนแอร์สด ในวันที่ 16 เมษายน ทำให้เรตติ้งขึ้นสูงมาอยู่ที่ 4.254 เข้าใกล้ละคร “คมแฝก” ช่อง 3 ที่ออกตัวแรงตั้งแต่ตอนแรกในระดับ 5 กว่า เรตติ้งลดลงมาอยู่ที่ 4.356

แรงส่งนี้คาดว่าจะหนุนต่อเนื่องในอีก 4 ตอนที่เหลือของ “ดาวจรัสฟ้า” ที่จะจบในวันที่ 23 เมษายน ทำให้เรตติ้งพุ่งสูงขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ในช่วงวันพุธ-พฤหัส ที่ 18 –19 เมษายน ยังต้องเจอกระแสของออเจ้า ใน “บุพเพฯ ตอนพิเศษ” ที่น่าลุ้นว่าเรตติ้งจะสามารถขยับสูงขึ้นได้หรือไม่

แซงหน้าช่อง 8 ขึ้นเป็นอันดับ 5 ในเรตติ้งประจำสัปดาห์

ผลของช่วงละครมาราธอน ทั้ง 3 เรื่อง ยังทำให้เรตติ้งเฉลี่ยของช่องประจำสัปดาห์ วันที่ 9-15 เมษายนของช่องวัน ขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับ 5 ของตาราง ที่ 0.544  สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วที่อยู่ในอันดับ 6 เรตติ้ง 0.533

ในช่วงเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ผลจากช่วงละครมาราธอน ก็เคยทำให้เรตติ้งเฉลี่ยของช่องวัน แซงชนะช่องใหญ่ๆ ขึ้นมา อยู่ในอันดับ 3 ประจำเดือนตุลาคมมาแล้ว

โดยที่เดือนกันยายน 2560 ช่องวันยังอยู่ในอันดับ 6 ของเรตติ้งประจำเดือน พอเดือนตุลาคม เรตติ้งก็ขยับพรวดมาเป็นอันดับ 3 แซงหน้าทั้งเวิร์คพอยท์, โมโน และช่อง 8 แต่พอหมดเทศกาลละครมาราธอน เรตติ้งช่องวันในเดือนพฤศจิกายน ก็กลับเป็นปกติ คืออยู่ในอันดับ 6

ช่องน้อง GMM25 เอาด้วย ละครมาราธอน 4 เรื่อง

GMM25 ช่องน้องเล็กของกลุ่มจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่กำลังอยู่ระหว่างการจัดทัพผู้บริหารใหม่ โดยผู้บริหารจากบริษัทแม่ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ก็ได้เริ่มทดลองกลยุทธ์ “ละครมาราธอน” ในช่วงสงกรานต์เช่นเดียวกับช่องวันเช่นกัน โดยจัดละครไฮไลต์ที่เคยได้รับความนิยมของช่องมาลงผังถึง 4 เรื่องด้วยกัน คือ รักนะเป็ดโง่, Project S Side by Side: พี่น้องลูกขนไก่, Project S shoot I love you ปิ้ว ยิงปิ๊งเธอ และ Love Song Love Stories: ไม่แข่งยิ่งแพ้

แต่เรตติ้งที่ได้กลับยังไม่สูงมาก โดยเรื่องที่ได้เรตติ้งสูงสุดคือ “รักนะเป็ดโง่” ได้เรตติ้งเฉลี่ยไปที่ 0.450 ที่เหลือก็อยู่ในระดับประคองตัว เช่น เรื่อง “พี่น้องลูกขนไก่” ได้เรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 0.138 เท่านั้น

สำหรับช่อง GMM25 ถือว่าเป็นช่วงทดลองของใหม่ จากการจัดละครแนววัยรุ่น มาในช่วงมาราธอนช่วงสงกรานต์ทั้งหมด อาจจะยังไม่ตรงใจกับกลุ่มผู้ชมทีวีที่เป็นผู้มีอายุ มากกว่ากลุ่มวัยรุ่นที่ยกให้ช่วงวันสงกรานต์ คือช่วงเวลาที่ได้ไปสนุกสนานร่าเริงกับการเล่นน้ำสงกรานต์มากกว่า

อย่างไรก็ตาม การขยับทดลองอะไรใหม่ๆ ใน GMM25 ก็เริ่มแสดงให้เห็นแล้วว่า ในปีนี้ GMM25 กำลังต้องการการเปลี่ยนแปลงจริงๆ.

]]>
1166205