Glass – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 17 Aug 2010 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ต้นน้ำของบีเจซี https://positioningmag.com/13070 Tue, 17 Aug 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13070

หากไม่ใช่นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว โดยทั่วไปมักรับรู้แค่ว่า บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเจซี มีแค่เพียงธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคเท่านั้น

แต่ Consumer Product เป็นแค่หนึ่งในธุรกิจของบีเจซีเท่านั้น

อันที่จริงแล้ว Industrial Supply Chain คือหน่วยธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับบีเจซีมากที่สุด ประมาณ 47% ของรายได้รวม

เจ้าของโรงงานบรรจุภัณฑ์แก้วที่มีส่วนแบ่งตลาดถึง 40% ในประเทศ เท่ากับบางกอกล๊าส หลังจากเข้าซื้อกิจการ มาลายากล๊าส โดยร่วมทุนกับบริษัท โอเว่น อิลลินอยส์ อิงค์ เมื่อไม่นานนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของหน่วยธุรกิจนี้ที่มีต่อบีเจซีมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบัน นอกจากผลิตขวดเพื่อรองรับการเติบโตของเครื่องดื่มในเครือไทยเบฟฯ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เบียร์ช้าง และอื่นๆ ยังรับผลิตขวดแก้วหลากหลายรูปแบบทั้งประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอน-แอลกอฮอล์ และในกลุ่มสินค้าประเภทอาหาร ที่ความต้องการขวดแก้วยังคงมีอยู่ไม่สร่างซา และเป็นธุรกิจต้นน้ำที่สำคัญต่อการเติบโตของทั้งองค์กรอย่างมาก

สมพร ภูมิพัฒน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส กลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้ซึ่งคลุกคลีอยู่กับธุรกิจบรรจุภัณฑ์ของบีเจซีมาตั้งแต่ปี 2521 บอกว่า บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตให้กับไทยเบฟฯ เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมดเท่านั้น

หน้าที่ของหน่วยธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้วจึงไม่ได้แค่มีขึ้นเพื่อตอบสนองผลิตภัณฑ์ในเครือเพียงอย่างเดียว เพราะไม่ว่ายังไงก็ตาม บรรจุภัณฑ์แก้วก็ยังคงเป็นหนึ่งในตัวเลือกลำดับแรกสำหรับสินค้าประเภทอาหาร

จุดเด่นของบรรจุภัณฑ์แก้ว แม้ว่าในปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติกอย่างขวด PET จะกลายเป็นคู่แข่งที่สูสีที่สุดของขวดแก้ว แต่เมื่อใดก็ตามที่แบรนด์ต้องการสร้างให้สินค้ามีภาพลักษณ์ที่หรู ดูดีกว่าคู่แข่งแบรนด์อื่นในตลาด โดยเฉพาะเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์

ขณะเดียวกัน การที่ผู้ประกอบการเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์หันมาผลิตเครื่องดื่มประเภท One Way หรือซื้อกลับโดยที่ไม่ต้องนำขวดมาคืนมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย ก็ส่งผลดีต่อบรรจุภัณฑ์แก้วเช่นกัน ซึ่งทางบริษัทฯ เองก็ได้มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับเทรนด์สินค้า One Way มากขึ้น โดยได้ผลิตขวดให้บางลงกว่าขวดประเภทรีเทิร์น แต่ยังคงความแข็งแรงเช่นเดิม เพื่อให้สอดคล้องต่อความต้องการของแบรนด์ และพฤติกรรมผู้บริโภค ที่มักพกพาขวดน้ำไว้ติดตัว

นอกจากนี้ ในส่วนของบริการลูกค้า ก็ได้จัดตั้งหน่วยออกแบบผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ เพราะตอนนี้มีแบรนด์สินค้าใหม่ประเภท Functional Drink ได้ติดต่อเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งโจทย์ของสินค้าเหล่านี้ยากกว่าเครื่องดื่มประเภทอื่น เพราะต้องการบรรจุภัณฑ์ที่หวือหวา สะดุดตา เพื่อเรียกความสนใจจากผู้บริโภค

เมื่อวิเคราะห์ความต้องการของตลาดบวกกับกำลังเงินในอนาคตของบีเจซี ที่พร้อมทำการควบรวมกิจการใหม่ๆ เสมอเมื่อมีโอกาส หน่วยธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้วยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากในอนาคต

รายได้ในกลุ่มบรรจุภัณฑ์แก้ว

เครื่องดื่มแอลกอฮฮล์ 30%

เครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ 30%

สินค้าประเภทอาหาร 30%

อื่นๆ 10%

]]>
13070
บางกอกกล๊าสผุดโรงงานแห่งที่ 5 ผลิตกว่า 4,000 ล้านขวด/ปีผงาดเบอร์ 1 อาเซียน https://positioningmag.com/52820 Thu, 05 Aug 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=52820

กลุ่มบริษัทบางกอกกล๊าส ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วรายใหญ่แห่งประเทศและภูมิภาคเอเชีย ขยายกำลังการผลิต โรงงานในเครือแห่งใหม่ในนาม “อยุธยากล๊าส อินดัสทรี” ถือเป็นแห่งที่ 5 ของกลุ่ม มีกำลังการผลิตกว่า 40 ล้านขวดต่อเดือนส่งผลยอดรวมของกลุ่มทั้ง 5 โรงงานผลิตได้มากกว่า 4,000 ล้านขวดต่อปี

นายสุรศักดิ์ เดชะรินทร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มบริษัทบางกอกกล๊าส กล่าวว่า เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมาบริษัทได้ประกอบพิธีอุ่นเตาหลอมโรงงานอยุธยากล๊าสอย่างเป็นทางการ โดยเตาหลอมแรกที่เปิดดำเนินการนี้มีแผนเริ่มการผลิตในวันที่ 3 สิงหาคมนี้เป็นต้นไป โดยโรงงานในเครือแห่งใหม่นี้ดำเนินงานในนาม บริษัท อยุธยากล๊าส อินดัสทรี จำกัด ตั้งอยู่ ณ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ 55 หมู่ที่ 3 ต.สามบัณฑิต
อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา

“โรงงานใหม่แห่งนี้ได้จดทะเบียนก่อนก่อสร้างไปแล้ว โดยตั้งอยู่บนพื้นที่ครอบคลุม 276 ไร่ นับเป็นโรงงานแห่งที่ 5 ของกลุ่ม ซึ่งมีกำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 320 ตัน/วัน ด้วยสายการผลิต 3 สาย มุ่งเน้นเป็นฐานการผลิตขวดโซดาวันเวย์สำหรับกลุ่มบุญรอดบริวเวอรี่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตขวดโซดาป้อนตลาดได้ถึงเดือนละ 40-43 ล้านขวด”

นายสุรศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า “สำหรับโรงงานอยุธยานี้ ทางกลุ่มบริษัท บางกอกกล๊าส วางแผนให้เป็นฐานการผลิตที่สำคัญในอนาคตและจะมีโรงงานสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์อื่นๆ เกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ด้วย การขยายกำลังการผลิตในครั้งนี้จะทำให้กลุ่มบริษัท บางกอกกล๊าส มีฐานการผลิตถึง 5 ฐานการผลิต โดยมีฐานการผลิตอยู่ที่ ปทุมธานี มีกำลังการผลิต 910 ตัน/วัน, ระยอง 645 ตัน/วัน, ขอนแก่น 735ตัน/วัน, ปราจีนบุรี 180 ตัน/วัน และอยุธยา 320 ตัน/วัน รวมการผลิตทั้งหมด 2,790 ตันต่อวัน หรือประมาณ 1,018,350 ตันต่อปี หรือประมาณ เกือบ 4,000 ล้านขวดต่อปีจะทำให้ กลุ่มบริษัท บางกอกกล๊าส มีกำลังการผลิตขวดแก้วใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

นอกจากนี้ทางกลุ่มบริษัท บางกอกกล๊าส ยังได้ทำการขยายธุรกิจ ด้านบรรจุภัณฑ์อื่น โดยมีบริษัท ในเครือ คือ บางกอกบรรจุภัณฑ์ ผู้ผลิต กล่องลูกฝูก, บริษัท เพ็ชรแพค ผู้ผลิต ขวด พลาสติก รายแรกของประเทศไทยและ บริษัท บีจีแพ็ค ผู้ผลิตฝาพลาสติก,ลังพลาสติกและฝาจีบ ทำให้กลุ่มบริษัท บางกอกกล๊าส มีสินค้าครอบคลุมบรรจุภัณฑ์ตามความต้องการของลูกค้าเพื่อตอบสนองความต้องการได้อย่างครบวงจร” นายสุรศักดิ์ กล่าว

]]>
52820
บีเจซี ขยายธุรกิจทั้งในประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ https://positioningmag.com/52088 Mon, 31 May 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=52088

บริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) (บีเจซี) ประกาศถึงการร่วมทุนกับบริษัทโอเว่น อิลลินอยส์ อิงค์ (NYSE: OI) ซึ่งเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วรายใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อการขยายธุรกิจด้านการผลิตและการตลาดของบรรจุภัณฑ์แก้วในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์

บีเจซีและO-I ร่วมทุนกันเข้าซื้อบริษัท มาลายากล๊าส โปรดักส์ ซึ่งเป็นธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วของบริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ โฮลดิ้ง บีเอชดี มาลายากล๊าสมีโรงงานที่สระบุรี ประเทศไทย, มณฑลเสฉวน ประเทศจีน, ยะโฮร์บาห์รู ประเทศมาเลเซีย, และที่โฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม โดยมูลค่าการซื้อขายครั้งนี้ อยู่ที่ 221.7 ล้านเหรียญสหรัฐ สุทธิจากการหักหนี้และส่วนของผุ้ถือหุ้นข้างน้อย โดยสัดส่วนการลงทุนของบีเจซีอยู่ที่ 89.3 ล้านเหรียญสหรัฐ โรงงานทั้งสี่แห่งมีพนักงานรวมกันประมาณ 1,900 คน ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วสำหรับใช้บรรจุเบียร์ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารต่าง ๆ ด้วย ในปี 2552 มาลายากล๊าสมียอดขายรวม 126 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับธุรกิจในมาเลเซียและเวียดนาม บีเจซีจะบริหารร่วมกับO-I ในอัตราส่วน 50/50 ในส่วนของโรงงานในประเทศไทย บีเจซีจะเข้าถือหุ้นและรับผิดชอบการบริหาร ในขณะที่ O-I จะบริหารโรงงานในประเทศจีนโดยนับเป็นหน่วยหนึ่งของธุรกิจของ O-I ที่ดำเนินการอยู่ที่นั่น

ในประเทศไทย บีเจซีเป็นเจ้าของบริษัท อุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย จำกัด (มหาชน) – (TGI) ซึ่งเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วรายใหญ่ที่สุดของประเทศ และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาค TGI มีเตาเผาแก้วทั้งหมด 8 เตา กำลังผลิตวันละกว่า 2,400 ตัน บีเจซีและ OI มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดทางเทคนิคมานานกว่าทศวรรษ และได้พิจารณาที่จะยกระดับขยายความร่วมมือเป็นในระดับภูมิภาค

“บีเจซีมุ่งเน้นที่จะขยายตัวในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินโดจีนและในมาเลเซีย การเข้าควบรวมกิจการในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับบริษัทในการขยายธุรกิจเข้าไปในเวียดนามและมาเลเซีย ซึ่งในปัจจุบันเราเริ่มได้เข้าไปดำเนินธุรกิจทางด้านการค้าและการผลิตทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าอุปโภคบริโภค เมื่อรวมกำลังการผลิตของ TGI กับการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้มารวมกัน บีเจซีจะเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์” นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ของบีเจซี กล่าว

“การควบรวมกิจการครั้งนี้เป็นไปตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ของเราที่จะก้าวเป็นผู้นำการผลิตในประเทศจีนและในเอเชียอาคเนย์ “ นายอัล สตุคเคน ประธานกรรมการของและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ
O-I กล่าว “โรงงานที่เสฉวนจะช่วยสนับสนุนธุรกิจของเราในจีน และการร่วมมือทางธุรกิจกับบีเจซีในครั้งนี้ทำให้เรามีความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดที่มีความสำคัญและกำลังเจริญเติบโตอย่างเวียดนามและมาเลเซีย เราคาดหวังว่าจะได้เห็นตัวเลขรายได้ที่เพิ่มขึ้นอันเป็นเป็นผลมาจากการควบรวมกิจการในครั้งนี้”

“สองสามปีที่ผ่านมา บีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ขยายฐานธุรกิจในเวียดนามและมาเลเซีย การเข้าซื้อกิจการมาลายากล๊าส เป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของบีเจซีอินเตอร์เนชั่นแนล ที่มุ่งมั่นจะสร้างฐานธุรกิจที่แข็งแกร่งในเอเชียอาคเนย์” นายปีเตอร์ เอมิล- รอมฮิลด์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโสของบีเจซี และกรรมการผู้จัดการบริษัทบีเจซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัทย่อยของบีเจซีกล่าว

การซื้อกิจการของมาลายากล๊าสครั้งนี้นอกจากเป็นการเพิ่มความสามารถในการผลิตในภูมิภาค ยังเป็นการให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วด้วย

“เราตื่นเต้นกับโอกาสที่จะเป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ลูกค้า” นายอัศวินกล่าวเสริม “เราสามารถที่จะเพิ่มผลผลิตและคุณภาพให้แก่โรงงานเหล่านี้ โดยใช้ประสบการณ์และวิทยาการก้าวหน้าจากทั้งบีเจซีและO-I และจะเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้าทั้งปัจจุบันและลูกค้าใหม่ในภูมิภาค ซึ่งจะได้รับประโยชน์ จากการขยายกิจการในครั้งนี้”

ด๊อยช์แบ๊งค์ให้บริการคำปรึกษาแก่บีเจซีและO-I ในการเข้าควบรวมกิจการมาลายากล๊าส โดยมีบริษัท
-วีระวงค์, ชินวัฒน์, และเพียงพนอ เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

]]>
52088
สมาร์ท วิชั่น ร่วมจัดกิจกรรมกับ สภากาชาดไทย ในงาน “ห่วงใยแม่ ดูแลสายตา” https://positioningmag.com/48817 Fri, 07 Aug 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=48817

นางสาว  ชุลีพร ชมพัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท สมาร์ท วิชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด, นายวิทยา เวชชาชีวะ ประธานกรรมการจัดหาและบริการดวงตา สภากาชาดไทย, รศ.อรุณีประภา หอมเศรษฐี ประธานอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ศูนย์ดวกตา สภากาชาดไทย พร้อมด้วย ผศ.พญ.ลลิดา ปริยกนก ผู้อำนวยการศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย  ร่วมกันจัดงาน “ห่วงใยแม่ ดูแลสายตา” เนื่องในเดือนแห่งวันแม่ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาดวงตาอย่างถูกต้องและบริการตรวจวัดสายตาฟรีกับผู้มีปัญหาด้านสายตาและประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งเป็นการแสดงความรัก ความกตัญญูระหว่างแม่กับลูก ณ ศูนย์การค้าเอสพลานาด เมื่อเร็วๆ นี้

]]>
48817
ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับแก้วไวน์หรูระดับเวิล์ดคลาส Riedel โดย มร.แม็กซิมิเลี่ยน https://positioningmag.com/46751 Wed, 11 Mar 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=46751

ร่วมเปิดประสบการณ์หรูกับการมาเยือนเมืองไทยเป็นครั้งแรกของทายาทรุ่นที่ 11 ของRiedel มร.แม็กซิมิเลี่ยน โจเชฟ รีเดล ที่ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเตล กรุงเทพ พิเศษสุดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบสุนทรียรสในการดื่มไวน์ด้วยแก้วไวน์ชั้นเลิศ คุณจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ของการดื่มไวน์ พร้อมเกร็ดความรู้เกี่ยวกับแก้วไวน์จากทายาทของรีเดล ตัวจริง แถมท้ายด้วยโปรโมชั่น ชุดแก้วไวน์ รุ่น Vitis ราคาสุดพิเศษในงานนี้เท่านั้น พบกับความพิเศษเหนือระดับครั้งนี้ได้ในวันที่ 24 มีนาคม 2552 สนใจติดต่อจองบัตรได้ที่ Tel 02314-1822, 02318-1617 ต่อ 2135 Email: [email protected]

]]>
46751
RIEDEL แก้วไวน์หรู ระดับเวิร์ลคลาส พร้อมให้คุณลิ้มลองกับไวน์ชั้นเลิศ ที่ Wine Loft สุขุมวิท 31 https://positioningmag.com/41344 Tue, 03 Jun 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=41344

ร่วมเปิดประสบการณ์หรู กับครั้งแรกของ RIEDEL Master Class Tasting ที่ Wine Loft พิเศษสุดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบสุนทรียรสในการดื่มไวน์ ลิ้มลองรสชาติไวน์ชั้นดี 4 ชนิด ด้วย RIEDEL แก้วไวน์หรูจากประเทศออสเตรีย คุณจะได้พบกับประสบการณ์ใหม่ของการดื่มไวน์จากแก้ว RIEDEL ที่คุณอาจไม่เคยได้สัมผัสที่ไหนมาก่อน พร้อมเกร็ดความรู้เกี่ยวกับแก้วไวน์จากผู้เชี่ยวชาญของ RIEDEL ที่บินตรงมาเพื่อคนรักไวน์โดยเฉพาะ แถมท้ายด้วยโปรโมชั่นชุดแก้วไวน์ชั้นดีจากRIEDEL ราคาสุดพิเศษในงานนี้เท่านั้น พบกับความพิเศษเหนือระดับเฉพาะ Wine lover ได้ในวันที่ 11 มิถุนายน 2551 ที่ Wine Loft ติดต่อจองบัตรที่คุณนิศากร 02-260-0027 ข้อมูลเพิ่มเติม www.wineloft.com

]]>
41344
อุตสาหกรรมกระจกปี’ 51: เผชิญปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน…จับตากระจกส่งออกจากประเทศจีน https://positioningmag.com/38605 Wed, 02 Jan 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=38605

กระจกเป็นส่วนประกอบที่สำคัญชนิดหนึ่งในวัตถุต่างๆ เช่น หน้าต่าง ประตู โต๊ะ ตู้โชว์สินค้า กรอบรูป และรถยนต์ ซึ่งล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน ด้วยความหลากหลายของการใช้กระจกเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ต่างๆ กระจกจึงเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญปัจจัยหนึ่งสำหรับอุตสาหกรรมอื่นที่ใช้กระจกเป็นวัตถุดิบ ทั้งอุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์

ในระยะเริ่มต้นของอุตสาหกรรมกระจกในประเทศไทยแม้ว่าวัตถุดิบในการผลิตกระจกกว่า 80 % จะเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่ภายในประเทศ แต่ด้วยข้อจำกัดด้านการผลิตที่ต้องใช้เงินลงทุนเครื่องจักร และเทคโนโลยีในการผลิตที่ค่อนข้างสูงจึงจำเป็นต้องนำเข้ากระจกจากต่างประเทศ ทว่าด้วยการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้กระจกเป็นส่วนประกอบมีมากขึ้น เช่น การก่อสร้างอาคาร บ้านเรือนที่นิยมใช้กระจกเป็นส่วนประกอบมากขึ้น ภาครัฐจึงได้ให้การส่งเสริมการผลิตกระจกไว้ใช้ภายในประเทศเอง โดยในระยะแรกของการผลิตกระจกในประเทศ (ประมาณปี 2506) เป็นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และได้ขยายกำลังการผลิตเรื่อยมาเพื่อให้สามารถรองรับต่อปริมาณความต้องการใช้กระจกภายในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นและเมื่อมีปริมาณการผลิตมากพอหลังจากใช้บริโภคภายในประเทศจึงจะส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งโดยภาพรวมในปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนการผลิตกระจกเพื่อจำหน่ายให้กับตลาดภายในประเทศประมาณ 60 % และส่งออกไปยังต่างประเทศสูงถึงประมาณ 40 %

อุตสาหกรรมกระจกเป็นอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งแนวโน้มอุตสาหกรรมกระจกสำหรับประเทศไทยในปี 2551 ยังคงขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกประเทศหลายประการที่สำคัญได้แก่

ปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศ

 ต้นทุนด้านพลังงานเพิ่มสูงขึ้น ในการผลิตกระจกประกอบไปด้วยต้นทุนด้านเชื้อเพลิงประมาณ 20 % ของต้นทุนการผลิตรวม ซึ่งจากการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบได้ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท รวมถึงน้ำมันเตาที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระจกให้เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยราคาน้ำมันเตาได้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยมา และได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 (รายละเอียดแสดงในภาพที่ 1) ซึ่งหากราคาน้ำมันเตายังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการผลิตและกำไรของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 ปริมาณความต้องการภายในประเทศ ความต้องการผลิตภัณฑ์กระจกในประเทศไทยจะขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องที่นำกระจกไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตได้แก่ อุตสาหกรรมก่อสร้าง (50 %) อุตสาหกรรมยานยนต์ (30 %) และอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ และบรรจุภัณฑ์ (20 %) ดังนั้นหากเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาวะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ย่อมกระทบต่อภาวะตลาดอุตสาหกรรมกระจกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในปี 2551 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมที่ควรพิจารณาอย่างใกล้ชิดคือ

– อุตสาหกรรมก่อสร้าง แนวโน้มการลงทุนในอุตสาหกรรมการก่อสร้างในปี 2551 ในส่วนของการลงทุนจากภาครัฐอาจจะมีแนวโน้มขยายตัวจากการดำเนินการตามโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจกท์คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง เส้นทางบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต อีกทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางบางใหญ่-บางซื่อที่จะเริ่มทำการก่อสร้างในปี 2551 อีกทั้งการก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทร และบ้านมั่นคงในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการลงทุนก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ของทางภาคเอกชนอาจจะมีแนวโน้มชะลอตัวลง จากปัญหาด้านเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเมืองภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ซึ่งจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะกลับฟื้นคืนมาไม่สมบูรณ์มากนัก อีกทั้งต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้น และปริมาณที่อยู่อาศัยรอขายสะสมที่สูงถึงประมาณ 1.1 แสนยูนิต แต่แนวโน้มการก่อสร้างคอนโดมิเนียมอาจขยายตัวโดยเฉพาะพื้นที่บริเวณตามแนวโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่จะเริ่มทำการก่อสร้างในปี 2551 เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการกระจกแผ่นเรียบ และกระจกแปรรูปบางประเภท เช่น กระจกนิรภัย กระจกกันความร้อนเพิ่มขึ้น

– อุตสาหกรรมยานยนต์ แม้ว่าปริมาณความต้องการรถยนต์ของตลาดภายในประเทศจะเริ่มชะลอตัวลงบ้าง แต่ผู้ผลิตต่างชาติยังคงให้ความสำคัญและใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก ซึ่งสังเกตได้จากปริมาณรถยนต์ที่ผลิตในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี (รายละเอียดแสดงในภาพที่ 2) อีกทั้งการส่งเสริมโครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ของภาครัฐ ซึ่งจะทำให้ปริมาณการผลิตรถยนต์ประเภทต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น อันจะส่งผลให้ปริมาณความต้องการกระจกโดยเฉพาะกระจกนิรภัยสำหรับรถยนต์เพื่อใช้เป็นปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นด้วย

การบริหารสินค้าคงคลัง เนื่องด้วยอุตสาหกรรมกระจกจำเป็นต้องทำการผลิตสินค้าอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เริ่มจุดเตาหลอมจนกระทั่งสิ้นอายุเตาหลอม ไม่สามารถหยุดหรือชะลอการผลิต เพราะหากหยุดการผลิตจะทำให้น้ำแก้วที่หลอมอยู่ในเตาเผาแข็งตัวเป็นแก้ว ไม่สามารถนำมาหลอมใหม่ได้ จึงต้องดำเนินการผลิตต่อเนื่องจนครบอายุของเตาเผาประมาณ 7 – 8 ปี จึงหยุดซ่อมเตาหลอม ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องระหว่างปริมาณความต้องการใช้กระจกและปริมาณกระจกที่ผลิตได้ในแต่ละช่วงเวลาได้ นั่นคือปริมาณกระจกที่ผลิตออกสู่ตลาดในแต่ละช่วงเวลาจะมีปริมาณที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ขณะที่ปริมาณความต้องการกระจกในแต่ละช่วงเวลาจะขึ้นอยู่กับความต้องการใช้กระจกของอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง การบริหารสินค้าคงคลังในแต่ละช่วงเวลาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงสินค้าคงคลังบ่อยครั้งเช่นอุตสาหกรรมกระจก เพราะสินค้าคงคลังถือเป็นต้นทุนของธุรกิจในแต่ละช่วงเวลา หากช่วงเวลาใดมีสินค้าคงคลังจำนวนมากเกินไปย่อมกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจได้ และหากมีสินค้าคงคลังที่ต่ำเกินไปอาจเป็นการเสี่ยงต่อภาวะสินค้าขาดตลาดได้

ปัจจัยเสี่ยงภายนอกประเทศ

 ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เนื่องจากปริมาณกระจกที่ผลิตได้ภายในประเทศประมาณ 40% จะถูกส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ หากค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ต่อไป อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กระจกที่จะลดลงได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอุตสาหกรรมกระจกอาจได้รับผลดีบ้างจากการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตกระจกบางประเภทเช่น โซเดียมซัลเฟต ผงคาร์บอน และผงเหล็กที่จะมีราคาถูกลง

 การแข่งขันที่รุนแรงจากต่างประเทศทั้งการนำเข้าและส่งออก ผู้ผลิตกระจกในแต่ละประเทศพยายามที่จะแข่งขันด้านต้นทุนในการผลิตให้ต่ำกว่ากันอยู่ตลอดเวลาด้วยการขยายกำลังการผลิตให้เกิดการประหยัดต่อขนาดในการผลิตเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการในประเทศไทยไม่สามารถจำหน่ายหรือส่งออกกระจกในราคาที่สูงมากนัก อีกทั้งด้วยลักษณะของการผลิตกระจกที่ต้องดำเนินการผลิตต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ทำให้มีปริมาณกระจกจำนวนมากถูกผลิตขึ้นมา ขณะที่ความต้องการใช้กระจกของแต่ละประเทศขยายตัวไม่มากนัก ส่งผลให้เกิดการระบายสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

ในส่วนของการนำเข้ากระจกสำหรับประเทศไทยนั้น หากพิจารณามูลค่าการนำเข้ากระจกของประเทศไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา(รายละเอียดแสดงในตาราง) จะพบว่าประเทศไทยมีการนำเข้ากระจกแผ่นเรียบและกระจกแปรรูปด้วยมูลค่าที่ลดลง เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้กระจกภายในประเทศไม่เพิ่มสูงขึ้นเท่าไรนัก และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ประเด็นที่น่าจับตามองก็คือการนำเข้ากระจกราคาถูกจากประเทศจีนที่อาจจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าในปี 2551 ปริมาณความต้องการใช้กระจกในประเทศจีนจะมีแนวโน้มลดลงมากหลังจากการเสร็จสิ้นการก่อสร้างสนามกีฬาโอลิมปิก ซึ่ง ณ ปัจจุบันจีนมีเตาหลอมผลิตกระจกที่เปิดทำการผลิตกระจกอยู่ถึง 200 เตา แต่ละเตามีกำลังการผลิตเฉลี่ยประมาณ 2 แสนตันต่อเตาต่อปี หรือมีกำลังการผลิตรวมกันถึงประมาณ 40 ล้านตันต่อปี ขณะที่ปัจจุบันไทยมีการผลิตเพียงประมาณ 1 ล้านตันต่อปี ซึ่งอาจส่งผลให้มีกระจกราคาถูกจำนวนมากที่เกินกว่าความต้องการบริโภคภายในประเทศจีนจำนวนหนึ่งเข้ามาสู่ประเทศไทยได้

ขณะที่หากพิจารณาทางด้านการส่งออกกระจกของประเทศไทย แม้ว่าในช่วงสามปีที่ผ่านมาโดยภาพรวมประเทศไทยจะมีมูลค่าการส่งออกทั้งกระจกแผ่นเรียบและกระจกแปรรูปที่สูงกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ (รายละเอียดแสดงในตาราง) แต่การส่งออกกระจกแผ่นเรียบมีแนวโน้มลดต่ำลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระจกโฟลตกลาสที่ในปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกลดต่ำลงจากช่วงเวลาในอดีตมาก อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะการแข่งขันที่รุนแรงของกระจกที่ทำการส่งออกจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศอินโดนีเซีย และจีนที่มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่าประเทศไทยประมาณ 20 – 30 % ด้วยความได้เปรียบทางด้านการประหยัดจากขนาดในการผลิตที่ผลิตในจำนวนที่มาก ต้นทุนค่าแรงงานและพลังงาน อีกทั้งคุณภาพของกระจกแผ่นเรียบที่ผลิตได้จากแต่ละประเทศไม่แตกต่างกันมาก ขณะที่หากพิจารณามูลค่าการส่งออกกระจกแปรรูปที่เป็นการนำเอากระจกแผ่นเรียบมาแปรรูปด้วยกระบวนการและเทคโนโลยีที่สูงขึ้นนั้น นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา กระจกแปรรูปที่ไทยส่งออกมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นเพราะกระจกแปรรูปที่ผลิตเพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศของไทยสามารถผลิตได้ด้วยคุณภาพที่ได้มาตรฐานมากกว่ากระจกแปรรูปจากประเทศอินโดนีเซีย และจีน ซึ่งกระจกแปรรูปที่ประเทศไทยมีแนวโน้มการส่งออกได้ดี ได้แก่ กระจกนิรภัย กระจกเงา และกระจกลวดลาย โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เม็กซิโก และสิงคโปร์ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับประเทศไทยในการผลิตและส่งออกกระจกแปรรูปที่นำกระจกแผ่นเรียบมาพัฒนาปรับปรุงสร้างมูลค่าเพิ่มอีกระดับหนึ่ง อีกทั้งในปี 2551ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการส่งออกผลิตภัณฑ์กระจกไปยังประเทศญี่ปุ่นที่เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศไทยด้วยผลของความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA) ที่ส่งผลให้อัตราภาษีผลิตภัณฑ์กระจกที่ส่งออกจากประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นเป็น 0 % แต่ทว่าการส่งออกกระจกของผู้ผลิตรายย่อยในประเทศไทยที่ไม่มีตลาดรองรับที่แน่นอนอาจจะส่งออกได้ยากลำบากขึ้นจากผลกระทบจากปริมาณการผลิตเพื่อการส่งออกจำนวนมหาศาลของประเทศจีนที่อาจส่งออกแข่งขันกับประเทศไทยในปี 2551ได้

โดยสรุป แม้ว่าภาวะต้นทุนการผลิตด้านพลังงานของอุตสาหกรรมกระจกจะเพิ่มสูงขึ้น และอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกระจกจะมีแนวโน้มขยายตัวไม่มากนัก ประกอบกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการแข่งขันของอุตสาหกรรมกระจกในตลาดโลกที่จะมีความรุนแรงมากขึ้นจากปริมาณการผลิตจำนวนมหาศาลของประเทศจีนที่จะออกสู่ตลาดโลก แต่ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดการณ์ว่าในปี 2551 อุตสาหกรรมกระจกของประเทศไทยจะยังคงขยายตัวในระดับใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่ประมาณ 5 % โดยการลงทุนก่อสร้างในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ และการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกของบริษัทรถยนต์จำนวนมากที่มาตั้งฐานการผลิตภายในประเทศ อีกทั้งการส่งออกกระจกแปรรูปที่ยังคงมีแนวโน้มที่ดีจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวในอุตสาหกรรมนี้ต่อไปในปี 2551

]]>
38605
โอเชียนกลาสต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขด้วยชุดของขวัญเทรนด์ใหม่ https://positioningmag.com/37952 Wed, 21 Nov 2007 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=37952

เพราะความสุขในการให้ของใครหลายคน เริ่มต้นจากการเลือกสรรของขวัญเพื่อแทนความรู้สึกดีๆ ถึงคนที่คุณรัก ในเทศกาลปีใหม่นี้ โอเชียนกลาสสร้างสรรค์ Chic & Fun Series ชุดของขวัญที่เหมาะกับทุกไลฟสไตล์ รวมเรื่องราวความสุขสนุกสนานในชีวิตประจำวัน มาจัดเรียงร้อยเรื่องราวในรูปแบบเครื่องแก้ว ทั้งชุดแก้วน้ำ ชุดแก้วชา กาแฟ ชุดขวดโหลและที่รองแก้วสุดฮิป ที่พิมพ์ลายสีสันสดใส อาทิ Let’s Party, Pet Lovers, Best Wishes, Happy Meals, Love Signals พร้อมกล่องของขวัญที่มีดีไซน์เป็นเอกลักษณ์ถูกใจและหนุ่มสาว

คิดถึงของขวัญคิดถึงโอเชียนกลาส สินค้ามีจำหน่ายแล้วที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และ Ocean Shop สุขุมวิท 21 โทร. 0-2661-6556 ต่อ 371, 449 โชว์รูมภูเก็ต โทร. 0-7626-1008 และโชว์รูมขอนแก่น โทร. 0-4322-8149

]]>
37952
Bon Bon Trio Series แก้วปาร์ตี้เซ็ทสุดฮิป https://positioningmag.com/35806 Tue, 10 Jul 2007 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=35806

ชื่อรุ่น : Bon Bon Trio Series

สี : ฟ้า, เขียว, แดง, ดำ, น้ำตาล

ขนาด / ราคา : Bon Bon Carafe 0.5 L. 95 บาท / ใบ

Bon Bon Cup 10 ? oz. 66 บาท / ใบ

Bon Bon Snack Bowl 4” 75 บาท / ใบ

สถานที่จัดจำหน่าย : Ocean Shop (ถ.สุขุมวิท 21), โชว์รูมโอเชียนกลาส และ
ห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป โทร. 0-2661-6556 ต่อ 371, 449

คอนเซ็ปต์ : ใหม่ล่าสุดกับ Bon Bon Trio Series แก้วปาร์ตี้เซ็ทสุดฮิป สร้างความแปลกใหม่ด้วยสีสันและงานดีไซน์ทันสมัยสำหรับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่นำแก้วใส เหยือกน้ำ และถ้วยขนมมาจับคู่กับพลาสติกสีสดเนื้อนุ่มในโทนสีที่กำลังอินอย่าง ฟ้า เขียว แดง ดำ น้ำตาล อีกหนึ่งดีไซน์ที่เพิ่มความสนุกในทุกวันของคุณ

]]>
35806
EAGLE XG(TM) ของคอร์นนิ่ง ได้รับ 2 รางวัลใหญ่ https://positioningmag.com/34895 Mon, 04 Jun 2007 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=34895

ซับสเตรทแก้วที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้รับการยกย่องจากวงการอุตสาหกรรม

คอร์นนิ่ง อินคอร์ปอเรท (Corning Incorporated) (NYSE:GLW) ประกาศว่า ซับสเตรทแก้ว (glass substrate) รุ่น EAGLE XG(TM) ของบริษัทได้รับรางวัลใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมถึง 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลจอภาพแสดงผลดีเด่นแห่งปี (Advanced Display of the Year : ADY) และรางวัลส่วนประกอบจอภาพแสดงผลดีเด่นแห่งปี (Display Component of the Year ) จากสมาคมแสดงผลข้อมูล (Society for Information Display – SID) โดย EAGLE XG เป็น LCD substrate ตัวแรกที่ไม่มีส่วนผสมของโลหะหนักอย่างสารหนู พลวง และแบเรี่ยม นอกจากนั้นยังไม่มีส่วนประกอบของเฮไลด์ เช่น คลอรีน ฟลูออรีน และโบรมีน ทำให้ EAGLE XG เป็น LCD glass ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สุดในตลาด

รางวัล ADY จะมอบให้แก่ผลิตภัณฑ์จอแบนดีเด่น โดย EAGLE XG ได้รับรางวัล Grand Prize ในสาขาส่วนประกอบและวัตถุในจอภาพ งานมอบรางวัลดังกล่าวเกิดขึ้นในงาน FINETECH (งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมจอแบนหรือ FPD ที่ใหญ่ที่สุดของโลก) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโตเกียวในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในขณะที่รางวัลส่วนประกอบจอภาพดีเด่นแห่งปีของสมาคม SID จะมอบให้กับชิ้นส่วนใหม่ที่มีความสำคัญกับการทำงานของจอภาพ และ EAGLE XG เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลดีเด่นในหมวดนี้ โดยจะมีการมอบรางวัลในงาน SID Display Week 2007 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 23 พฤษภาคม ที่ลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

“เรารู้สึกเป็นเกียรติมากที่คอร์นนิ่งเป็นที่รู้จักไปทั่ววงการอุตสาหกรรมจากจอแก้วตัวใหม่ของเรา ซึ่งได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถเตรียมรับมือกับข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมที่เคร่งครัดกว่าเดิม” เจมส์ พี แคลปปิน ประธานของคอร์นนิ่ง ดิสเพลย์ เทคโนโลยีกล่าว “ตั้งแต่การเปิดตัวสินค้าช่วงต้นปี 2549 EAGLE XG ก็ประสบความสำเร็จเกินความคาดหมายของเรา และได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอย่างรวดเร็ว”

EAGLE XG(TM) มีศักยภาพในการทำงานสูงเทียบเท่ากับ glass substrates รุ่น EAGLE2000(R) ซึ่งเคยได้รับรางวัล ADY ในปี 2544 ด้วยเช่นกัน “นอกจากนั้น เพื่อรองรับข้อกำหนดเฉพาะด้านคุณภาพและคุณสมบัติ EAGLE XG จึงสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมขึ้นใหม่และเป็น TFT-LCD substrate ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สุดในตลาดปัจจุบัน” นายแคลปปินกล่าว

เกี่ยวกับคอร์นนิ่ง อินคอร์ปอเรท
คอร์นนิ่ง อินคอร์ปอเรท (www.corning.com) เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมกระจกและเซรามิคชนิดพิเศษ จากความรู้ด้านวิศวกรรมการผลิตและวัสดุศาสตร์ยาวนานกว่า 150 ปี คอร์นนิ่งได้สร้างสรรค์และผลิตส่วนประกอบที่ช่วยให้เกิดระบบไฮ-เทคโนโลยีสำหรับผลิตภัณฑ์อิเลคทรอนิคเพื่อผู้บริโภค การควบคุมการปล่อยพลังงาน การสื่อสารโทรคมนาคม และวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ผลิตภัณฑ์ของเราได้แก่ ซับสเตรทชนิดแก้วสำหรับโทรทัศน์จอแอลซีดี จอคอมพิวเตอร์ และแล็ปท็อป, ซับสเตรทชนิดเซรามิคและฟิลเตอร์สำหรับระบบควบคุมการแผ่รังสี, ใยแก้วนำแสง เคเบิล ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์สำหรับเครือข่ายการสื่อสาร, ออปติคอล ไบโอเซ็นเซอร์เพื่อการค้นคว้ายา และโซลูชั่นกระจกชนิดพิเศษอื่นๆ สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ เซมิคอนดักเตอร์ การบิน กลาโหม ดาราศาสตร์ และระบบการวัดและชั่ง

ข้อความเชิงคาดการณ์และข้อความเตือน
ข่าวเผยแพร่ฉบับนี้มีข้อความเชิงคาดการณ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงทางธุรกิจต่างๆ และความไม่แน่นอนอื่นๆซึ่งอาจทำให้ผลการดำเนินงานจริงผิดไปจากที่คาดอย่างมาก ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเหล่านี้ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงหรือการผันผวนของภาวะเศรษฐกิจและการเมืองโลกที่อาจเกิดขึ้นได้ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความต้องการสินค้าและกำลังการผลิตของอุตสาหกรรม การแข่งขัน ประสิทธิภาพการผลิต การลดต้นทุน การหาวัตถุดิบและส่วนประกอบที่จำเป็นได้ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่ การเปลี่ยนแปลงส่วนผสมการขายระหว่างสินค้าคุณภาพและสินค้าระดับรองลงมา ต้นทุนในการสร้างโรงงานใหม่ ปัญหาขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นในกิจกรรมการขายอันเนื่องมาจากการก่อการร้าย ความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ การไร้เสถียรภาพทางการเมือง หรือปัญหาทางด้านสุขภาพ การประกันภัยที่เพียงพอ กิจกรรมด้านทุนของบริษัท การซื้อและขายสินทรัพย์ ปริมาณของสินค้าคงคลังส่วนเกินหรือที่ตกรุ่น อัตราการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความสามารถในการบังคับใช้สิทธิบัตร ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และส่วนประกอบ ความผันผวนของราคาหุ้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของข้อบังคับหรือข้อกฎหมาย ปัจจัยความเสี่ยงที่นอกเหนือจากนี้มีอยู่ในแบบแสดงรายการข้อมูลที่คอร์นนิ่งได้ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แถลงการณ์ที่เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าเป็นข้อมูลเฉพาะในวันที่ถูกประกาศออกมาเท่านั้น และคอร์นนิ่ง ไม่มีภาระหน้าที่ในการการปรับปรุงหรือแก้ไขข้อความคาดการณ์ แม้มีข้อมูลใหม่หรือเหตุการณ์ในอนาคตเกิดขึ้นก็ตาม

ติดต่อ: บริษัทคอร์นนิ่ง
ฝ่ายสื่อสัมพันธ์
เจมส์ อี. เทอร์รี่, 607-974-7343
[email protected]
หรือ
แดเนียล เอฟ. คอลลินส์, 607-974-4197
[email protected]
หรือ
นักลงทุนสัมพันธ์
เคนเนธ ซี. โซฟิโอ, 607-974-7705
[email protected]

]]>
34895