GrabBike – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 02 Mar 2020 12:54:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กทม.เตรียมลงดาบ 3 วินมอเตอร์ไซค์รุมแกร็บ “ยึดเสื้อวิน 3 ปี” https://positioningmag.com/1266622 Mon, 02 Mar 2020 12:54:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266622 กทม.เตรียมลงโทษ 3 วินจักรยานยนต์ รุมทำร้ายหนุ่มแกร็บไบค์ กลางซอยสุขุมวิท 48 เชิญประชุมคณะอนุกรรมการ 4 ฝ่ายประจำพื้นที่เขตคลองเตย พรุ่งนี้ พร้อมยึดเสื้อวิน 3 ปี

...พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงคลิปวิดีโอที่เผยแพร่ทางสื่อโซเซียล เหตุวินรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะรุมทำร้ายผู้ให้บริการรับส่ง ผู้โดยสารเอกชนในพื้นที่เขตคลองเตย ว่า ตนได้ดูคลิปวิดีโอดังกล่าวแล้ว ได้สั่งการให้สำนักงานเขตคลองเตย ตรวจสอบข้อมูล พบว่าผู้ก่อเหตุทั้ง 3 ราย เป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะสมาชิกวินปากซอยสุขุมวิท 48 เขตคลองเตย

อย่างไรก็ตาม การทำร้ายร่างกายผู้อื่นและการใช้ความรุนแรง เป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายและไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง กรุงเทพมหานครในฐานะที่กำกับดูแลวินรถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ จะเสนอให้ใช้มาตรการยึดเสื้อวินต่อผู้ก่อเหตุ เนื่องจากเป็นการกระทำความผิดที่เข้าข่ายความประพฤติไม่เหมาะสมตามข้อ 13 แห่งประกาศคณะกรรมการประจำกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดสถานที่ตั้งวินและหลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรองการใช้รถจักรยานยนต์สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร พ.. 2563

ในวันที่ 3 มี.. เวลา 09.00 . กทม.จะเชิญคณะอนุกรรมการ 4 ฝ่ายประจำพื้นที่เขตคลองเตย ร่วมประชุม ณ ฝ่ายเทศกิจ ชั้น 3 สำนักงานเขตคลองเตย เพื่อดำเนินการสอบสวนและพิจารณาการลงโทษผู้ก่อเหตุทั้ง 3 ราย ตามมาตรการยึดเสื้อวินต่อไป ทั้งนี้ กทม.เข้าใจดีถึงปัญหาระหว่างผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ กับผู้ให้บริการรับผู้โดยสารเอกชน ซึ่งทางกรมการขนส่งทางบกกำลังหาทางออกร่วมกันสำหรับทุกฝ่าย

Source

]]>
1266622
9 ข้อ กับอนาคต “แกร็บ” หลังรวมอูเบอร์ เดลีไลฟ์แอป เตรียมขยับสู่ธุรกิจ “นาโน ไฟแนนซ์” https://positioningmag.com/1169366 Thu, 10 May 2018 00:08:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1169366 ครบ 1 เดือนพอดี นับตั้งแต่ 9 เม.. 61 ที่ลูกค้าอูเบอร์ต้องย้ายมาใช้บริการแกร็บเต็มตัว แกร็บมีประเด็นร้อนให้ติดตามหลายเรื่อง โดยเฉพาะรูปแบบบริษัทหลังการควบรวมอูเบอร์ รวมถึงแนวทางให้บริการนับจากนี้

1. แกร็บต้องการเป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับทุกวัน

วิสัยทัศน์นี้ของแกร็บเกิดขึ้นเพราะการสำรวจครั้งล่าสุด ที่แกร็บพบว่าทุกวันนี้ชาวดิจิทัลต้องการแอปพลิเคชั่นเดียว โดยในวันหนึ่ง คนส่วนใหญ่อยากเปิดแค่ 1 แอปพลิเคชั่นที่จะมีทุกบริการในนั้น แกร็บจึงวางเป้าหมายใหญ่ว่าจะเป็นเดลีไลฟ์แอป ซะเลย

การจะเป็นแอปสำหรับทุกวันได้ ต้องทำให้แกร็บเป็นแอปที่ตอบโจทย์ออฟไลน์ได้หมด 

ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกร็บ แท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุ

ก่อนนี้แกร็บ เป็นแอปพลิเคชั่นเรียกรถแท็กซี่ หรือ เรียกรวมว่า ระบบร่วมเดินทาง หรือ Ridesharing  แต่หลังจากรวมกิจการอูเบอร์ เข้ามา รวมเอาฐานลูกค้า และบริการต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ก็ทำให้มองไกลกว่าเดิม ด้วยการวางเป้าหมายเป็นแอปเดียวที่เชื่อมการใช้จ่าย การเดินทาง และบริการหลายอย่างเข้าด้วยกัน ที่ผ่านมา แกร็บอาจมีพันธมิตรหลักคือคนขับแต่จากนี้ แกร็บจะหาพันธมิตรที่เป็นธุรกิจเอสเอ็มอี และร้านอาหารให้มากขึ้น ซึ่งวันนี้แกร็บมีพันธมิตรทั้งภูมิภาคกว่า 6 ล้านรายแล้ว

ธรินทร์ อธิบายว่า วันนี้แกร็บได้เพิ่มขอบเขตบริการจากการรับส่งผู้โดยสารมาให้บริการส่งของ บริการส่งอาหาร กระทั่งเมื่อปีที่แล้ว แกร็บออกระบบคะแนน ให้ผู้โดยสารนำคะแนนไปแลกบริการและสินค้ากับพันธมิตรได้ ล่าสุดคือ 2-3 เดือนที่ผ่านมา แกร็บเริ่มประสานงานเพื่อให้บริการสินเชื่อรายย่อยแก่ผู้ขับ และที่สิงคโปร์มีให้บริการเช่าจักรยานแล้ว

แกร็บเชื่อว่าด้วยธุรกิจที่มีหลายขา บริษัทจะรวมทุกอย่างส่งให้ผู้บริโภค นี่คือวิสัยทัศน์ที่เรามีในอนาคต

2. สัดส่วนธุรกิจแกร็บจะเปลี่ยนแปลงชัดเจน

ผู้บริหารแกร็บเชื่อว่า จากธุรกิจเดินทางขนส่งด้วยรถ 4 ล้อและ 2 ล้อที่เป็นธุรกิจหลักของแกร็บ ในอนาคตธุรกิจส่งอาหารอย่างแกร็บฟู้ด น่าจะเปลี่ยนขึ้นมาครองสัดส่วนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจหลักของแกร็บก็จะยังมีขนาดเม็ดเงินหมุนเวียนสูงมากขึ้นต่อไป เพราะกลุ่มเดินทางขนส่ง 2 ล้อจะขยายตัวมากกว่านี้ ผลจากวินมอเตอร์ไซค์สามารถทำเที่ยววิ่ง หรือทำรอบได้มากขึ้นต่อวัน

3. แกร็บฟู้ดคือ 1 ในบริการหัวหอก

บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นอย่างแกร็บฟู้ดนั้นเพิ่งเริ่มให้บริการ 3-4 เดือน แต่ได้รับผลตอบรับ จากการที่ช่วงแรกเปิดให้บริการในรัศมี 5 กิโลเมตรนอกจากผู้สั่งสามารถติดตามได้ตลอดว่าอาหารอยู่ที่ไหน สามารถพิมพ์แชตสั่งอาหารได้โดยไม่ต้องโทร

ที่สำคัญคือ ให้บริการฟรีในช่วง 4 เดือนแรกเพื่อสร้างฐานลูกค้า

ปัจจุบันแกร็บฟู้ดมีพันธมิตรเกิน 4,000 ร้าน ตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา ออเดอร์สั่งอาหารเติบโต 440% โดยออเดอร์เหล่านี้เกิดจากการที่เปิดแอปแกร็บแล้วพบเมนูสั่งอาหารได้ทุกเวลา

ผู้บริหารแกร็บยืนยันว่า แกร็บฟู้ดได้รับอานิสงส์เล็กน้อยเท่านั้นจากการควบรวมอูเบอร์อีทส์ เนื่องจากบริการส่งอาหารของอูเบอร์มีพันธมิตรร้านค้าประมาณ 1,000 ร้าน ในขณะที่แกร็บมีประมาณ 2,000-3,000 ราย ซึ่งเมื่อมารวมกัน แกร็บต้องทำสัญญากับแต่ละร้านใหม่อีกครั้ง

ถามว่าเราพร้อมจะแข่งขันไหม เราส่งฟรีมา 4 เดือนจนคู่แข่งรายอื่นยกเลิกบริการฟรีไปหมดแล้วโดยบอกว่าลูกค้าแกร็บฟู้ดจะเสียค่าใช้จ่ายเท่ากับรับประทานที่ร้าน ซึ่งหลังจากวันที่ 1 มิถุนายน จะมีค่าบริการส่งเริ่มต้นที่ 10 บาท

ธรินทร์ ย้ำว่า ความสำเร็จนี้คือผลจากการเป็นวันสต็อปเซอร์วิสแอปโดยอีก 2 สัปดาห์ ผู้ใช้แกร็บทุกคนจะเห็นเมนูแกร็บฟู้ดในสมาร์ทโฟนของตัวเอง โดยที่ไม่ต้องดาวน์โหลดแอปใดเพิ่มเติม

4. ปรับโครงสร้างองค์กรรับมือ 3 บริการหลัก

แกร็บลงมือปรับโครงสร้างองค์กรรองรับ 3 บริการ คือ 1. บริการเดินทางขนส่ง (ทั้งมอเตอร์ไซค์และรถยนต์) 2. บริการส่งของ (ทั้งอาหารและสิ่งของ) 3. บริการชำระเงิน

แกร็บบอกว่าจะต้องทำให้ได้ 3 อย่าง คือต้องปลอดภัย ต้องเป็นบริการที่เข้าถึงได้ทุกคน และต้องเป็นประโยชน์กับชุมชน และช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ขับดีขึ้น มีการสอนภาษาอังกฤษ และในอนาคตยังไปถึงการให้เงินกู้แก่คนขับด้วย

5. เดินหน้าเข้าเตรียมเปิด “นาโน ไฟแนนซ์”

การให้เงินกู้กับคนขับถือเป็นสเต็ปแรก ธรินทร์บอกว่าหนึ่งในสิ่งที่แกร็บต้องการทำมากที่สุด คือวันนี้คนขับมอเตอร์ไซค์ แท็กซี่ ต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ ไม่มีหลักฐานเงินเดือนทำให้ธนาคารปฏิเสธ แต่แกร็บจะมีข้อมูลการขับ มีข้อมูลรายได้ แกร็บจึงกำลังเตรียมเปิดบริการเงินกู้ให้กับผู้ขับของแกร็บ โดยที่ไม่ต้องส่งหลักฐานเพิ่มเติม

เป้าหมายต่อไป คือ บริการทางการเงิน แกร็บเดินหน้าขอใบอนุญาตจากแบงก์ชาติ เพื่อให้บริการอีวอลเล็ต อาจต้องใช้เวลา 3-4 เดือน ทำให้การขยายผลระบบแกร็บเพย์ (Grab pay) ไม่เกิน 1 ปีน่าจะให้บริการทางการเงินได้ในรูปแบบนาโนไฟแนนซ์

6. ยืนยันค่าบริการไม่เปลี่ยนแปลง

หลังควบรวมอูเบอร์ อัตราค่าบริการรถโดยสารของแกร็บถูกระบุว่าจะไม่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะตัวคูณช่วงรถติด ที่จะลดลงจนแทบจะไม่มี 

เป็นเพราะคนขับรถกับแกร็บมากขึ้น ลูกค้าจะเรียกรถได้ง่ายขึ้นด้วย แต่ต้องยอมรับว่าเรายังต้องมีตัวคูณช่วงฝนตก เพื่อให้ราคาค่าโดยสารเพิ่มขึ้น ซึ่งจะจูงใจผู้ขับให้อยากรถขับรับส่งผู้โดยสารในช่วงฝนตกรถติด

ในมุมจำนวนรถ การควบรวมรถของอูเบอร์เข้ามาทำให้จำนวนผู้ขับแกร็บเพิ่มขึ้นราว 10% แต่ตัวเลขผู้โดยสารที่เรียกรถ แกร็บปฏิเสธไม่เปิดเผย 

แท็กซี่ไทยวันนี้ 9 หมื่นคัน คาดว่าอย่างน้อย 20% ขับแกร็บ

กรณีการปรับโครงสร้างบริษัท แกร็บไม่เปิดเผยชัดเจนว่าจะยุบรวมพนักงานอูเบอร์ไทยหรือให้ออก โดยบอกเพียงว่าไม่มีผู้บริหารแกร็บใดลาออก และที่แกร็บทำคือการพยายามหาทางออกที่เหมาะสม 

เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่เลือกได้ว่าจะอยู่หรือไป พร้อมบอกว่า แกร็บใช้เวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมาคุยรายคน แต่ไม่เปิดเผยจำนวนพนักงานอูเบอร์ไทยรวม

สำหรับตัวธรินทร์เอง ก่อนจะมาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บประเทศไทย ผู้บริหารรายนี้มาจากลาซาด้า ซึ่งมีบทบาทสำคัญในช่วงที่ลาซาด้าทำโครงการร่วมกับอาลีบาบา โดยธรินทร์ร่วมงานกับแกร็บมานาน 4 เดือนเท่านั้น

ที่สำคัญ ผู้บริหารแกร็บเชื่อว่าดีลแกร็บซื้ออูเบอร์ในอาเซียนนั้นไม่ทำให้เกิดการผูกขาด เนื่องจากวันนี้คนไทยยังมีตัวเลือกหลากหลาย สามารถเรียกมอเตอร์ไซค์ได้ หรือเดินทางรถไฟฟ้าได้ 

แกร็บยืนยันว่าจะไม่มีการตัดธุรกิจใดออก และตั้งเป้าขยายให้บริการแกร็บคลุม 20 จังหวัดทั่วไทยในปีนี้ จากปัจจุบันที่ขยายไปแล้ว 16-17 จังหวัดใหญ่ทั่วไทย

7. ยอดใช้แกร็บไม่ได้เกิดเพราะโปรโมชั่น

พฤติกรรมลูกค้าแกร็บในวันนี้ ธรินทร์ระบุว่าน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้แกร็บที่เรียกใช้บริการเพราะโปรโมชั่น โดยบอกว่าลูกค้าที่คลิกซื้อสินค้าออนไลน์ยังอาจรอให้มีโปรโมชั่นก่อน แต่การเดินทางนั้นต้องเดินทางวันนี้ ตอนนี้ ทำให้ยอดใช้งานแกร็บไม่ได้เกิดเพราะโปรโมชั่น

8 ปัญหายังไม่ถูกกฎหมาย

สำหรับกรณีที่ แกร็บ ยังคงมีปัญหาเรื่อง กฎหมาย ใช้รถส่วนบุคคลมารับจ้างล่าสุด กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร หรือ กอ. รมน. กรุงเทพฯ จะเอาจริงในการจัดระเบียบแกร็บ กำชับให้แกร็บทำตามกฎหมายด้วยการใช้เฉพาะรถป้ายเหลืองเท่านั้น

ประเด็นนี้ ธรินทร์เผยว่าแกร็บได้พยายามประสานเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด พร้อมกับย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยต้องค่อยเป็นค่อยไป และควรคำนึงถึงผลได้ผลเสีย 

เราคุยมา 3 ปีแล้ว ต้องตระหนักเรื่องหนึ่งว่าเราก็มีภาระรับผิดชอบกับกลุ่มผู้โดยสารและคนขับ มีคนขับหลายคนที่สร้างตัวมากับเรา ถ้าวันหนึ่งเขาขาดเราไปก็จะเดือดร้อน เราหวังว่าจะมีทางคุยที่เหมาะสม

แม้หน่วยงานราชการไทยตั้งธงว่ารถที่ให้บริการรับส่งต้องเป็นป้ายเหลือง แต่ผู้บริหารแกร็บมั่นใจว่าจะมีทางออกที่เหมาะกับทุกฝ่าย โดยบอกว่าในหลายประเทศรอบข้าง แกร็บสามารถให้บริการอย่างถูกกฎหมาย และเมื่อบวกกับวิสัยทัศน์รัฐบาลไทย ทั้งเรื่องไทยแลนด์ 4.0 เรื่องค่าครองชีพ หรือเรื่องสังคมไร้เงินสด ทั้งหมดแกร็บตอบโจทย์ได้ดี

แกร็บยินดีจดทะเบียน หรือให้ข้อมูลตามที่หน่วยงานรัฐต้องการ ผมเชื่อว่าวันนี้ คนขับแกร็บทุกคนไม่มีปัญหาในการจดทะเบียน

9. ตอบโจทย์ขนส่ง 4.0

แกร็บมองว่าวันนี้ระบบขนส่งมวลชนของไทยยังไม่ 4.0 ยังไม่มีระบบมารองรับ ธรินทร์จึงคิดว่าไทยสามารถใช้ระบบแกร็บมาตอบโจทย์นี้ได้ ขณะเดียวกันแกร็บจะทำให้เกิดสังคมไร้เงินสดได้จริงด้วย ส่งให้สังคมไทยเปลี่ยนไปสู่สังคมนวัตกรรมได้.

]]>
1169366
ไม่ต้องมาล้อมแล้วนะ ! ‘แกร็บ สองแถวแดง’ มาแล้ว https://positioningmag.com/1130089 Wed, 21 Jun 2017 09:03:06 +0000 http://positioningmag.com/?p=1130089 ‘แกร็บ’ เตรียมออกบริการใหม่ ‘แกร็บเรดทรัค’ ใช้เรียกรถสองแถวแดงที่เชียงใหม่ ให้กลายเป็นจุดเริ่มต้นการหาบริการเฉพาะตามแต่ละท้องถิ่น พร้อมเพิ่มอีก 2 บริการ จัสท์ แกร็บ (Just Grab) และการเป็นพันธมิตรกับ All Thai Taxi

หลังจากบริการรถเรียกผ่านแอปฯ สร้างความไม่พอใจให้กับบรรดารถสองแถวแดง ในจังหวัดเชียงใหม่ จนเกิดการล้อมไม่ให้บริการ ล่าสุด แกร็บ (Grab) ได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานจังหวัด และขนส่งเชียงใหม่ จนเป็นที่มาของการให้บริการแกร็บเรดทรัคใช้เรียกรถสองแถวแดงที่เชียงใหม่ ให้กลายเป็นจุดเริ่มต้นการหาบริการเฉพาะตามแต่ละท้องถิ่น พร้อมเพิ่มอีก 2 บริการ จัสท์ แกร็บ (Just Grab) และการเป็นพันธมิตรกับ All Thai Taxi

ยี วี แตง ผู้อำนวยการ บริษัท แกร็บ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า รูปแบบการให้บริการของแกร็บจะให้ความร่วมมือกับทั้งภาครัฐ และเอกชนในการนำบริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชัน มาเพื่อช่วยพัฒนารูปแบบการเดินทางของผู้ใช้บริการให้สะดวกขึ้น

‘การให้บริการของแกร็บ ให้ความร่วมมือกับภาครัฐมาโดยตลอด และเชื่อว่าเทคโนโลยีของแกร็บ จะเข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเทคโนโลยีมาให้บริการ อย่างการนำระบบเทเลมาติกส์ ในการเก็บข้อมูลการขับรถทั้งความเร็ว ระยะทาง เส้นทาง เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ขับขี่ มาแนะนำให้เกิดการขับขี่ที่ปลอดภัยมากที่สุด’

สำหรับบริการ ‘แกร็บ เรดทรัค’ ถือเป็นการนำนวัตกรรมดิจิตอลมาผนวกให้เข้ากับบริการรถสองแถวแดง ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ มานำร่องให้บริการเรียกรถแบบออน-ดีมานด์ผ่านแอปพลิเคชันแกร็บที่จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้

ข้อมูลเบื้องต้นคือรถสองแถวแดงที่ให้บริการ ‘แกร็บเรดทรัค’ สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 9 คนต่อคัน ส่วนค่าโดยสารจะถูกกำหนดจากทางกรมขนส่งฯ และจะถือเป็นแบบอย่างของการพัฒนาบริการให้เข้ากับคนในท้องถิ่นให้ดีขึ้น และแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์จากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

‘แกร็บเข้าไปทำงานร่วมกับ ผศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่อยู่ในสหกรณ์รถแดง และเป็นผู้ผลักดันการนำเชียงใหม่สู่สมาร์ทซิตี้ ทำให้เชื่อมั่นว่าเมื่อทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกันปัญหาต่างๆที่เคยเกิดขึ้นก็จะลดลง’

นอกจากนี้ ยังได้มีการเปิดบริการ จัสท์แกร็บ (Just Grab) ที่เป็นบริการรวบรวมรถแกร็บแท็กซี่ และแกร็บคาร์ ให้รับผู้โดยสารเรียกรถได้ไวขึ้น และมีการกำหนดค่าโดยสารตายตัว โดยจะเริ่มให้บริการในช่วงทดลองก่อนในจังหวัดนครราชสีมา อุดรธานี และอุบลราชธานี

ขณะเดียวกัน ก็ได้มีการเพิ่มพันธมิตรรถโดยสาร ด้วยการร่วมมือกับ All Thai Taxi เปิดให้ผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน แกร็บ สามารถเรียกรถออลไทยได้จากภายในแอป และชำระค่าบริการผ่าน Grab Pay ด้วยการตัดผ่านบัตรเครดิต หรือเงินสด ที่ระบบจะสมบูรณ์แบบภายใน 1 เดือนข้างหน้า

ประกอบกับก่อนหน้านี้ ได้มีการนำบริการอย่าง แกร็บ ไบค์ วิน (Grab Bike WIN) มาให้บริการแก่สมาชิกผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างในกรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา และพบว่าผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างในเครือข่ายของแกร็บเพิ่มจำนวนขึ้น 2 เท่าในระยะเวลา 1 เดือน และเพิ่มรายได้ให้ผู้ขับขี่ 25% เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยในแต่ละวัน

ปัจจุบัน แกร็บ ให้บริการใน 9 พื้นที่ ประกอบด้วย กรุงเทพฯ และปริมณฑล พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย ขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี และนครราชสีมา มีรูปแบบการให้บริการที่หลากหลายทั้งเรียกรถแท็กซี่ รถตู้ รถมอเตอร์ไซค์ ครอบคลุม 60% ของประชากร


ที่มา : http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000063284

]]>
1130089
ผ่าแผน ‘แกร็บ’ ปั้นแพลตฟอร์มเชื่อมโลกออนไลน์-ออฟไลน์ https://positioningmag.com/1129607 Fri, 16 Jun 2017 08:40:05 +0000 http://positioningmag.com/?p=1129607 แกร็บ (Grab) ถือเป็นสตาร์ทอัปที่มีอัตราการเติบโตที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับการให้บริการแพลตฟอร์มเรียกรถโดยสารมาได้ 5 ปี มีจุดกำเนิดมาจากประเทศมาเลเซีย ก่อนจะขยายไป 55 เมืองใน 7 ประเทศ

แกร็บ เพิ่งครบรอบ 5 ปีในเดือนมิถุนายน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จับกลุ่มผู้ใช้บริการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก ด้วยการนำความเข้าใจรูปแบบวัฒนธรรม และพฤติกรรมของผู้ใช้ในภูมิภาคที่ใกล้เคียงกันมาปรับใช้ในการให้บริการ

แอนโธนี ตัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งแกร็บ ระบุถึง ช่วงแรกของการเริ่มต้นให้บริการ แกร็บวางตัวเป็นแพลตฟอร์มในการเรียกรถแท็กซี่ในมาเลเซีย ที่ต้องการสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการ ว่าจะได้รับความปลอดภัยจากพนักงานขับที่มีการยืนยันตัวตนชัดเจน และให้ความสะดวกในการเรียกบริการผ่านแอปพลิเคชัน

การเติบโตของแกร็บในช่วงแรกจึงเพิ่มขึ้นตามจำนวนรถแท็กซี่ที่เข้ามาร่วมให้บริการ จนได้รับการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีโอกาสขยายบริการออกมาสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค พร้อมไปกับการรีแบรนด์ในช่วงปีที่ผ่านมา จากแกร็บ แท็กซี่ (Grab Taxi) มาเป็นแบรนด์ ‘แกร็บ’ พร้อมกับการขยายรูปแบบบริการเรียกรถโดยสารให้หลากหลายมากขึ้น ไม่ยึดบริการแท็กซี่เพียงอย่างเดียว เช่น ในไทยมี แกร็บ แท็กซี่ (Grab Taxi) แกร็บ คาร์ (Grab Car) แกร็บ ไบค์ (Grab Bike)

ในขณะเพื่อนบ้าน จะมี แกร็บ โค้ช (Grab Coach) แกร็บ ชัตเทิล (Grab Shuttle) ที่เป็นบริการเดินทางแบบหมู่คณะ, แกร็บ ฟู้ด (Grab Food) บริการสั่งซื้ออาหาร, แกร็บ แชร์ (บริการแชร์รถโดยสาร) ซึ่งบางบริการยังไม่สามารถนำเข้ามาให้บริการในไทยได้ เนื่องจากกฎหมายยังไม่รองรับ

แน่นอนว่า ถ้าสังเกตทิศทางในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา จะเห็นว่า แกร็บ พยายามที่จะเพิ่มรูปแบบบริการให้หลากหลายมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เข้าไปทำความเข้าใจกับภาครัฐ เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

โดยล่าสุด ได้เพิ่มบริการอย่าง แกร็บ นาว (Grab Now) ไว้ใช้ในการเรียกรถโดยสารประเภทใดก็ได้ ที่เร็วที่สุด โดยจะเริ่มให้บริการกับรถมอเตอร์ไซค์ก่อนในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย โดยเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน เมื่อพนักงานขับเข้ามาอยู่ในระยะที่ใกล้กัน ตัวแอปจะเชื่อมระบบผ่านบลูทูธ เมื่อเดินทางถึงที่หมายก็หักเงินจากบัญชีแกร็บ เพย์ได้ทันที

หรือ การเพิ่มฟีเจอร์อย่าง Grab Chat มาให้ผู้โดยสารสามารถติดต่อสื่อสารกับพนักงานขับรถในการระบุตำแหน่งเพิ่มเติม หรือบอกเวลานัดหมายได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้เริ่มให้บริการมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง และพบว่าอัตราการยกเลิกโดยสารลดน้อยลง

หัวใจแกร็บ พนักงานขับ ผู้โดยสาร และสังคม

เมื่อดูถึงระบบนิเวศในการให้บริการของแกร็บในปัจจุบันพบว่า หัวใจหลักของ แกร็บ ในตอนนี้อยู่ที่ 3 ส่วนหลักๆ คือในเรื่องของ พนักงานขับรถ หรือพาร์ตเนอร์ ที่ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 9.3 แสนราย เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและรายได้เฉลี่ยที่พนักงานได้รับ

พนักงานขับของแกร็บสามารถสร้างรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงถึง 32% ในแต่ละชั่วโมงที่ทำงาน (ในไทยอยู่ที่ราว 19%) ขณะเดียวกัน แกร็บยังช่วยให้พนักงานขับกว่า 6.4 แสนราย ได้เข้าสู่ระบบการฝากเงินในธนาคาร รวมถึงทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดอบรม การให้ความรู้ สอนภาษาอังกฤษ ให้แก่พนักงานขับรถในประเทศไทย และสร้างความสัมพันธ์กับสังคมผ่านโครงการช่วยเหลือต่างๆ

ฝั่งของผู้โดยสาร แกร็บ ระบุว่า ช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ 5 เท่า เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยอุบัติเหตุจากรถยนต์ส่วนบุคคลในภูมิภาค Ffp8 ใน 10 ของผู้ใช้งานที่เป็นผู้หญิงรู้สึกปลอดภัยมากกว่าเมื่อเรียกใช้งานแกร็บ ขณะเดียวกัน แกร็บยังช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางได้สูงสุดถึง 50% เมื่อเทียบกับขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นๆ

ภาคของสังคม แกร็บ ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปแล้วเกือบ 3.2 ล้านกิโลกรัมต่อปี จากการช่วยลดปริมาณรถยนต์บนท้องถนน

ในสิงคโปร์ แกร็บยังมีการร่วมมือกับภาครัฐ นำข้อมูลการเดินทางต่างๆ มาใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่จราจรติดขัดในแต่ละช่วงเวลา ทำแผนบริหารจัดการระบบขนส่ง แกร็บสามารถลดจำนวนรถยนต์ส่วนบุคคลในสิงคโปร์ลงกว่า 1.3 หมื่นคันในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา

เพิ่มชำระออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต

ทิศทางที่เริ่มเห็นชัดได้มากขึ้นในปัจจุบัน คือ แกร็บพยายามทำให้ทั้งผู้ขับ และผู้ใช้มีการเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อนำมาใช้งานระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ด้วยการให้บริการ แกร็บ เพย์ (Grab Pay) ที่เป็นรูปแบบการชำระเงินของแกร็บที่มีให้เลือกหลายรูปแบบ

แต่จุดที่ทำให้แกร็บได้รับความนิยมในการใช้บริการ คือ การที่เปิดให้ลูกค้าสามารถชำระค่าบริการด้วยเงินสดได้ ก่อนที่จะขยายการชำระเงินด้วยการผูกบัตรเข้ากับบัญชีผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต เพื่อชำระเงินผ่านระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที

ล่าสุด ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา แกร็บเพิ่มบริการ แกร็บ เพย์ เครดิต เพื่อใช้เป็นอีวอลเล็ต หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ใช้เติมเงินเข้าไปในระบบ เพื่อใช้จ่ายค่าโดยสารโดยไม่ต้องพกเงินสด ที่มีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง 90% ในทุกเดือนตั้งแต่เปิดให้บริการ

สำหรับในประเทศไทย รูปแบบการชำระเงินผ่าน แกร็บ เพย์ เครดิต กำลังอยู่ในช่วงขอใบอนุญาตในการให้บริการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งถ้าได้ใบอนุญาตจะผูกระบบเข้าด้วยกัน และเชื่อมการโดยสารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ง่ายขึ้น

สู่แพลตฟอร์ม เชื่อมโลกออนไลน์สู่ออฟไลน์ (O2O)

เมื่อยกระดับรูปแบบของการชำระเงินแล้ว ในระยะยาว แกร็บจึงมุ่งเป้าที่การเดินหน้าเข้าสู่ธุรกิจ O2O แบบเต็มรูปแบบ เพราะจากข้อมูลการสำรวจมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียผ่านรูปแบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายจะมีมูลค่าสูงถึง 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 17 ล้านล้านบาทในปี 2025

โดยแกร็บวางเป้าเพิ่มยอดพนักงานขับอีก 5 เท่าภายในปี 2025 พร้อมกับอัตราการเติบโต 5 เท่าต่อเนื่อง จึงทำให้วางเป้ารายได้ในปี 2025 ไว้ที่ 1.3 หมื่นล้านเหรียญ (ราว 4.4 แสนล้านบาท) ส่วนในประเทศไทยคาดว่าจะสามารถเติบโตได้ 20% หรือราว 2 พันล้านเหรียญ (ราว 6.8 หมื่นล้านบาท)

สิ่งสำคัญที่จะทำให้แกร็บแข็งแรงในการให้บริการ O2O ในการเป็นแพลตฟอร์มที่จะกลายเป็นตัวกลางในแง่ของการจัดส่งสินค้า คือเรื่องของความน่าเชื่อถือ จากปริมาณของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และระบบรับชำระเงินผ่านแพลตฟอร์มที่ได้รับการยอมรับทั่วภูมิภาคเอเชีย

ฝ่ากำแพง สานสัมพันธ์ภาครัฐ

อีกจุดหนึ่งที่ทำให้แกร็บยังไม่สามารถนำบริการต่างๆ เข้ามาสู่ประเทศไทยได้อย่างเต็มที่ ขึ้นอยู่กับข้อกฎหมายของระบบขนส่งในแต่ละประเทศ ซึ่งอย่างในสิงคโปร์ แกร็บสามารถให้บริการได้อย่างถูกกฎหมาย ส่วนเวียดนาม และฟิลิปปินส์ ก็มีการกำหนดขั้นตอนในความร่วมมือ อย่างการทำใบอนุญาตเพิ่มเติม

โฮย หลิง ตัน ผู้ร่วมก่อตั้ง แกร็บ กล่าวเสริมว่า ในเวลานี้ แกร็บได้เข้าไปทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อให้บริการของแกร็บเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเต็มที่ และเชื่อว่าทุกอย่างจะเป็นไปได้ เพียงแต่ว่าต้องรอดูว่าจะออกมาในรูปแบบไหนที่จะเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย


ที่มา : http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000061412

]]>
1129607
“แกร็บไบค์” คัมแบ็ก หันมาจับมือวินมอเตอร์ไซค์ให้บริการในกรุงเทพฯ https://positioningmag.com/1124254 Tue, 02 May 2017 10:39:38 +0000 http://positioningmag.com/?p=1124254 แกร็บ กลับมาเปิดตัว แกร็บไบค์ อีกครั้ง หลังจากโดนร้องเรียนจนต้องหยุดบริการไป มาคราวนี้ แกร็บหันมาจับมือกับวินมอเตอร์ไซค์ถูกกฎหมาย เปิดตัว แกร็บ (วิน) อย่างเป็นทางการ

แกร็บ ได้ทดลองให้บริการ แกร็บ (วิน) ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 แกร็บไบค์ (วิน) เป็นความร่วมมือระหว่างแกร็บและผู้ให้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งให้บริการด้วยรถจักรยานยนต์ที่ลงทะเบียนถูกต้อง

โดยผู้โดยสารสามารถใช้แอปพลิเคชั่นแกร็บในการเรียกใช้บริการแกร็บไบค์ (วิน) ได้ โดยคนขับจะมารับผู้โดยสารถึงที่ไม่ว่าจะเรียกใช้บริการจากจุดใดในกรุงเทพฯ ไม่ต้องเดินไปเรียกรถถึงวินมอเตอร์ไซค์

แกร็บ ยังระบุด้วยว่า แกร็บไบค์ จัดเป็นบริการที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดของแกร็บในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเป็นการเดินทางที่รวดเร็ว ปลอดภัย ในราคาที่เหมาะสม เหมาะกับการเดินทางช่วงเร่งด่วนในเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น

“แกร็บร่วมมือกับคนขับ พันธมิตร และทำงานร่วมกับกรมการขนส่งทางบกอย่างใกล้ชิดในช่วงทดลองให้บริการ และตอนนี้แกร็บไบค์ (วิน) พร้อมแล้วที่จะให้บริการทั่วกรุงเทพฯ” นายยี วี แตง ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยบริษัท แกร็บ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

บริการนี้จึงเป็นการร่วมมือกันมองหาโอกาสในการพัฒนาบริการของแกร็บและฟังก์ชันให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเทคโนโลยีของแกร็บช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของระบบวินมอเตอร์ไซค์ ให้ความต้องการการใช้งานของผู้โดยสารและจำนวนมอเตอร์ไซค์วินตามจุดต่างๆ มีความสมดุลมากขึ้น ช่วยลดระยะเวลาในการรอมอเตอร์ไซค์ของผู้โดยสาร และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของมอเตอร์ไซค์วินซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้นโดยไม่ต้องทำงานหนักขึ้น

ชำระได้ทั้งเงินสดและแกร็บเพย์

เมื่อแกร็บไบค์ (วิน) ให้บริการ โดยคนขับรถจักรยานยนต์รับจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมายได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกบริการได้ภายในกรุงเทพฯ ค่าบริการแกร็บไบค์ (วิน) นั้นเป็นอัตราเดียวกับวินมอเตอร์ไซค์ทั่วไป และแสดงค่าโดยสารในแอปก่อนที่ผู้โดยสารจะเลือกรับบริการ ผู้โดยสารสามารถชำระค่าบริการได้ด้วยเงินสดและแกร็บเพย์ซึ่งเป็นฟังก์ชันการชำระเงินในแอปของแกร็บที่ไม่ต้องใช้เงินสด ค่าบริการจะถูกหักจากบัตรเครดิตที่ได้ลงทะเบียนไว้หลังจากถึงจุดหมายปลายทางแล้ว ผู้โดยสารสามารถลงจากรถได้ทันทีโดยไม่ต้องหยิบเงินจากกระเป๋าหรือรอเงินทอน

โดยคนขับสามารถใช้ “แกร็บแชท“ ซึ่งเป็นโปรแกรมส่งข้อความของแกร็บ ในการติดต่อลูกค้า โดยไม่ต้องออกจากแอปพลิเคชั่น และไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์หรือค่าส่งข้อความ ช่วยให้สามารถบ่งบอกตำแหน่งได้ละเอียดขึ้น ประเมินเวลาได้ง่ายขึ้น และแจ้งเตือนได้เมื่อมาถึง  ซึ่งแกร็บแชทมีข้อความตัวอย่างให้ผู้โดยสารและคนขับเลือกใช้ได้ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันแปลข้อความตัวอย่างให้เป็นภาษาอังกฤษ มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน ไทย และเวียดนาม

ระหว่างโดยสาร ผู้โดยสาร และคนขับแกร็บไบค์ (วิน) ทุกคนจะมีหมวกกันน็อกแล้วทั้งคนขับและผู้โดยสารยังจะได้รับความคุ้มครองจากประกันอุบัติเหตุกลุ่มโดยไม่เสียค่าบริการ รวมทั้งผู้โดยสารยังสามารถแจ้งให้คนใกล้ชิดทราบถึงรายละเอียดการเดินทางได้โดยใช้ฟังก์ชัน Share My Ride ของแอปพลิเคชั่นแกร็บอีกด้วย

ใช้บริการแกร็บไบค์ (วิน) ได้แล้ววันนี้ผ่านแอพพลิเคชั่นแกร็บ ดาวน์โหลดได้ที่ Google Play และ iOS App Storeอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.grab.com/th/en/

]]>
1124254
ยังไงกันแน่ ! Uber-Grab Car ผิดไม่ผิดกฎหมาย ? https://positioningmag.com/1118803 Thu, 09 Mar 2017 08:36:09 +0000 http://positioningmag.com/?p=1118803 กรมขนส่ง ย้ำชัดการใช้แอปพลิเคชันเรียกรถนั้นไม่ผิดแต่จะต้องเป็นรถที่จดทะเบียนเท่านั้น ไม่ใช่ รถป้ายดำ หรือ รถส่วนบุคคลที่ไม่มีการตรวจสอบและจดทะเบียน

วันนี้ (9 มี.ค.) กรมการขนส่งทางบกนั้นได้ออกมายืนยันแล้วว่า การใช้แอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่ไม่ผิดกฎหมาย ยกเว้นเป็นการใช้เพื่อเรียกรถยนต์ส่วนบุคคล (ป้ายดำ) มารับส่งผู้โดยสาร โดยภาครัฐพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและพัฒนารูปแบบในการให้บริการ เพื่อเพิ่มทางเลือกและประโยชน์สูงสุดของประชาชน นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ได้ออกมาชี้แจงว่า ถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้ภาครัฐสนับสนุนรถโดยสารทางเลือกใหม่ เช่น Uber Grab car โดยระบุว่าเป็นบริการที่เพิ่มความสะดวกในการเดินทางมากกว่าการให้บริการรถโดยสารในปัจจุบัน

โดย “แอปพลิเคชันในการเรียกใช้บริการแท็กซี่นั้น สามารถกระทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ประเด็นที่ผิดกฎหมายคือ การนำแอปพลิเคชันไปใช้เรียกรถยนต์ส่วนบุคคล (ป้ายดำ) เพื่อใช้รับจ้างขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ฐานใช้รถยนต์ผิดประเภทจากที่จดทะเบียนไว้ ไม่ใช้มาตรค่าโดยสารตามที่ทางราชการกำหนด ผู้ขับรถไม่มีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ ไม่เคยผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และไม่เข้าสู่ระบบทะเบียนของศูนย์ข้อมูลประวัติผู้ขับรถสาธารณะของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ประชาชนจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย และกรณีเกิดเหตุไม่พึงประสงค์”

แต่ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบกตระหนักและให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแล การให้บริการขนส่งสาธารณะทางถนนให้มีความปลอดภัยต่อประชาชนสูงสุด จึงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาโดยตลอด ทั้งการชี้แจงทำความเข้าใจ การประชาสัมพันธ์แนะนำการใช้บริการรถโดยสารที่ถูกกฎหมายแก่ประชาชน

ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า ในทางคู่ขนาน กรมการขนส่งทางบกได้พัฒนายกระดับมาตรฐาน รถแท็กซี่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น มั่นใจ ความปลอดภัย โดยการให้บริการแท็กซี่ในปัจจุบันได้ติดตั้ง GPS Tracking พร้อมอุปกรณ์แสดงตัวผู้ขับรถ, กล้อง CCTV และยังมีระบบแจ้งเตือนการใช้ความเร็ว รวมถึงจัดทำระบบเรียกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันทางโทรศัพท์มือถือ เพื่อตอบโจทย์การเข้าถึงการให้บริการ เพิ่มความสะดวก ป้องกันปัญหาการปฏิเสธผู้โดยสาร แต่อธิบดีกรมขนส่งนั้นยังคงต้องการให้ประชาชนเลือกใช้บริการรถแท็กซี่ ที่จดทะเบียดถูกต้องตามกฎหมาย หรือ (ป้ายเหลือง) อยู่ดี เพราะรถแท็กซี่เหล่านี้ได้

“ผ่านการตรวจสภาพความมั่นคงแข็งแรงของรถปีละ 2 ครั้ง และผู้ขับรถต้องมีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ ซึ่งในกระบวนการขอรับใบอนุญาตขับรถสาธารณะจะมีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และมีการอบรมเพื่อสร้างจิตสำนึกการให้บริการที่ดี มีการทดสอบความสามารถในการขับรถให้บริการตามมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลผู้ขับรถทุกคนในศูนย์ข้อมูลประวัติผู้ขับรถสาธารณะ ทำให้สามารถตรวจสอบและดำเนินการติดตามตัวได้ทันทีกรณีที่เกิดเหตุไม่พึงประสงค์”

ที่มา : http://manager.co.th/HotShare/ViewNews.aspx?NewsID=9600000024213

]]>
1118803
เซเว่นฯ จับมือ Grab เปิดบริการ “เดลิเวอรี่” ส่งสินค้าถึงบ้าน https://positioningmag.com/1111706 Thu, 22 Dec 2016 06:05:33 +0000 http://positioningmag.com/?p=1111706 • ลูกค้าต้องสั่งซื้อสินค้าเซเว่นฯ ผ่านทางแอพพลิเคชั่น “7-Eleven TH”

• รับสินค้าที่สั่งซื้อและชำระค่าสินค้าให้กับผู้ขับขี่ของแกร็บไบค์ เดลิเวอรี่

• เพิ่มช่องทางหารายได้เพิ่มจากการจัดส่งสินค้าเซเว่นฯ ให้แก่ผู้ขับขี่ของแกร็บไบค์ เดลิเวอรี่

• เริ่มให้บริการในกรุงเทพฯ ค่าจัดส่ง 50 บาท

]]>
  • ลูกค้าต้องสั่งซื้อสินค้าเซเว่นฯ ผ่านทางแอพพลิเคชั่น “7-Eleven TH”
  • รับสินค้าที่สั่งซื้อและชำระค่าสินค้าให้กับผู้ขับขี่ของแกร็บไบค์ เดลิเวอรี่
  • เพิ่มช่องทางหารายได้เพิ่มจากการจัดส่งสินค้าเซเว่นฯ ให้แก่ผู้ขับขี่ของแกร็บไบค์ เดลิเวอรี่
  • เริ่มให้บริการในกรุงเทพฯ ค่าจัดส่ง 50 บาท
  • นับเป็นข้อตกลงที่ win win ทั้งคู่ เมื่อ แกร็บ (Grab) แพลตฟอร์มขนส่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมมือกับร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ให้บริการรับสั่งและส่งสินค้าให้ลูกค้าถึงบ้าน ผ่านแอพพลิเคชั่น 7-Eleven TH

    แกร็บ มีแพลตฟอร์มบริการ แกร็บไบค์ เดลิเวอรี่ GrabBike Delivery อยู่แล้ว การมาร่วมมือกับเซเว่นฯ จึงเป็นการขยายฐานผู้ใช้ และเพิ่มงานและรายได้ให้กับผู้ขับขี่แกร๊บไบค์ เดลิเวอรี่  ในขณะที่เซเว่นอีเลฟเว่นเองเพิ่มโอกาสในการขายช่องทางการขายสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น และมีพันธมิตรมาช่วยจัดส่งสินค้าถึงบ้านให้

    รูปแบบบริการ

    สำหรับลูกค้าที่จะใช้บริการ ต้องเปิดแอพพลิเคชั่น 7-Eleven TH และเลือกสินค้าจากเซเว่นฯ ที่จะกดยืนยันการสั่งซื้อ หลังจากนั้นระบบจะทำการเปิดแอพพลิเคชั่น Grab โดยอัตโนมัติ พร้อมรายละเอียดสถานที่จัดส่งที่กรอกไว้ล่วงหน้าที่หน้าจอ  แกร็บไบค์ (เซเว่นอีเลฟเว่น)

    1_grab

    หลังจากที่ยืนยันการจัดส่งแล้ว แอพพลิเคชั่นจะทำการค้นหาผู้ขับขี่ของแกร็บไบค์ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งจะเป็นผู้ติดต่อผู้สั่งซื้อ หลังจากนั้นผู้ขับขี่ของแกร็บไบค์จะไปรับสินค้าที่สั่งซื้อ จากหนึ่งในกว่า 800 สาขาของเซเว่นฯ ในเขตย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ และทำการจัดส่งสินค้า โดยลูกค้าสามารถชำระเงินปลายทางเมื่อได้รับสินค้า

    word_icon

    การขยายการให้บริการของแกร็บในครั้งนี้จะช่วยให้ผู้ขับขี่ของแกร็บไบค์มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจัดส่งสินค้าของเซเว่นฯและลูกค้าของเซเว่นฯ เองก็จะได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นจากการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์และรับสินค้าได้อย่างรวดเร็วเช่นกันนอกจากนี้ ตลอด 24 ชั่วโมง

    word_icon2

    นายยี วี แตงผู้อำนวยการประจำประเทศไทยบริษัท แกร็บ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

    แกร็บเอง ยังหวังว่า จะขยายบริการนี้ไปยังธุรกิจอื่นๆ ให้ขยายมาอยู่ในโลกออนไลน์เพื่อรับกับตลาดในปัจจุบันได้ด้วยเช่นกัน

    โปรโมชั่น 3 ครั้งแรก ฟรีค่าส่ง 50 บาท

    สำหรับลูกค้าที่ทดลองใช้บริการจัดส่งของแกร็บไบค์ผ่านแอพพลิเคชั่น 7-Eleven THจะได้รับข้อเสนอ ฟรี! ค่าจัดส่ง 50  บาท สำหรับการใช้บริการ 3 ครั้งแรก และสิทธิพิเศษในการซื้อชุดสินค้าลดราคาพิเศษจากเซเว่นฯ ตั้งแต่วันนี้ จนถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2560

    โดยลูกค้า ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นนี้ได้จากสมาร์ทโฟนในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) และไอโอเอส (iOS) โดยในเบื้องต้น จะเปิดให้บริการแก่ลูกค้าในเขตใจกลางกรุงเทพฯ ก่อน

    ]]>
    1111706
    แอปวินรับจ้าง GoBike โผล่ หลังรัฐ คุมกำเนิด GrabBike-UberMOTO https://positioningmag.com/1092553 Tue, 24 May 2016 08:22:03 +0000 http://positioningmag.com/?p=1092553 MGR Online – แอปฯ วินรับจ้างผ่านแอปฯ Go Bike โผล่ หลังรัฐกวาด GrabBike-UberMOTO ไม่ให้เกิดโดยชี้ว่าผิดกฎหมาย ผู้พัฒนา Go Bike เผยร่วมมือกับสมาคมวินรับจ้างและทำถูกต้องตามกฎหมายของกรมการขนส่งทางบก เปิดข้อมูลพบนักลงทุนมาเลเซียมีเอี่ยวทั้งสองแอปฯ

    วันนี้ (24 พ.ค.) ในโลกออนไลน์มีการกระจายข่าว การเปิดตัวแอปพลิเคชัน GoBike – จองมอเตอร์ไซค์รับจ้าง โดย GoBike Company Limited ขึ้นทั้งในสมาร์ทโฟนระบบ iOS และ Android โดยข้อมูลระบุว่าพัฒนาขึ้นโดย บริษัท โกไบค์ จำกัด (GOBIKE COMPANY LIMITED) เพื่อให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสาร รับ-ส่งเอกสาร และฝากซื้อสินค้า

    “GoBike เป็นผู้ช่วย และทุกอย่างสำหรับทุกการเดินทางของคุณ ให้ Go Bike เป็นทางออกที่ช่วยให้คุณประหยัดเวลาและมีชีวิตที่ง่ายขึ้นเราพร้อมให้บริการ ด้วยผู้ขับขี่ที่เชื่อถือได้และพร้อมให้บริการทั่วกรุงเทพฯและเขตปริมณฑล Go Bike จะช่วยให้คุณประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพียงคุณดาวน์โหลด application ของเราไว้ในโทรศัพท์เราพร้อมที่จะเป็นผู้ช่วยในการรับ-ส่งคุณไปให้ถึงจุดหมายที่ต้องการ อีกทั้งมีบริการรับส่งเอกสาร หรือซื้อสินค้า จากทีมผู้ขับขี่ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ช่วยส่วนตัวของคุณ ด้วยบริการ และมาตรฐานที่ไว้ใจได้

    บริการรับ-ส่ง เพื่อช่วยจัดการเวลาอันจำกัดให้แก่ผู้โดยสาร พร้อมผู้ขับขี่ที่พร้อมบริการในทุกพื้นที่ และ บริการ รับ-ส่งเอกสาร หรือฝากซื้อสินค้า

    เหตุผลที่คุณควรเลือกใช้ GoBike :

    • ไปถึงที่หมายได้ไวในช่วงเวลาจำกัด แม้ในชั่วโมงเร่งด่วน อีกทั้งมีความปลอดภัย จากผู้ขับขี่ที่ถูกอบรมมาอย่างถูกต้องตามกฎข้อบังคับของกรมการขนส่งทางบก
    • บริการรวดเร็ว ด้วยทีมผู้ขับขี่ที่ชำนาญเส้นทางมากที่สุด
    • ปลอดภัยด้วยระบบ GPRS บอกตำแหน่งผู้ขับขี่และรายงานสถานะผลการรับ-ส่ง
    • ราคาที่โปร่งใส โดยคิดตามระยะทางและถูกกฎหมาย คุณจึงมั่นใจได้ว่าจะไม่ถูกคิดราคาเกินจริง
    • ให้บริการด้วยทีมผู้ขับขี่ที่ถูกอบรมและมีประวัติลงทะเบียนถูกต้องตามกฎของกรมการขนส่งทางบก” คำอธิบายของแอปพลิเคชันดังกล่าวระบุ

    ทั้งนี้ แอปลิเคชันสำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ระบุว่า Go Bike ปรับปรุงแอปลิเคชันล่าสุดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ส่วนในระบบปฏิบัติการไอโอเอสระบุว่าปรับปรุงแอพลิเคชันเมื่อ 22 พฤษภาคม ขณะที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ Go Bike เปิดตัวมาตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2559 โดยเพิ่งมีการอัพเดตภาพโปรโมตแอปพลิเคชันในวันนี้ ส่วนเว็บไซต์ต้นทางของแปอฯ GoBike อยู่ที่ https://gobike.asia/ ทว่ายังไม่มีข้อมูลอะไรมากนัก

    ก่อนหน้านี้ในช่วงหลายเดือนที่มาผ่านกรมการขนส่งทางบกได้มีความพยายามแจ้งเตือนผู้ให้บริการ GrabBike ให้หยุดการให้บริการ และล่าสุดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา กรมการขนส่งทางบก ร่วมกับกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ฝ่ายเทศกิจเขตปทุมวัน ได้เชิญบริษัทผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน สำหรับเรียกรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล Grab Bike และ Uber MOTO เข้าหารือเพื่อชี้แจงกฎระเบียบ และประเด็นปัญหาที่ขัดต่อกฎหมาย ที่กรมการขนส่งทางบกมีหน้าที่กำกับดูแลอีกครั้ง หลังจากเคยมีการพูดคุยกันไปก่อนหน้านี้ และได้แจ้งให้ทั้งสองบริษัทยุติการให้บริการที่ผิดกฎหมายทันที

    ต่อมา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2559 สมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างแห่งประเทศไทย ก็แถลงข่าวว่า ทางสมาคมได้ร่วมมือกับ Go Bike เตรียมเปิดตัว Application จักรยานยนต์รับจ้างในกรุงเทพฯ

    “จากประเด็นทางสังคมที่ถูกพูดถึงกันในวงกว้างเกี่ยวกับระบบการคมนาคมโดยผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ซึ่งสร้างผลกระทบต่อหลายภาคส่วนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นประชาชน ภาคเอกชน รวมถึงภาครัฐ สมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างทั่วประเทศไทยให้เป็นไปตามความถูกต้อง เพื่อให้เป็นไปตามระบบของกฎหมาย และมาตรฐานการให้บริการ ได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการประสานงานภายในสมาคมฯ เอง หรือร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาของการบริการ ให้เกิดความปลอภัย ความสะดวกต่อผู้โดยสาร และสร้างมาตรฐานราคาให้เป็นไปอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังเพื่อยกระดับชีวิตของ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ให้มีรายได้ที่แน่นอน มีระบบการให้บริการที่ถูกต้องและชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาการรุกล้ำพื้นที่การให้บริการของกันและกัน

    ซึ่งในตอนนี้ ทางสมาคมฯ ซึ่งมีสมาชิกมากกว่า 100,000 คน ได้มีจุดยืนร่วมกับ Go Bike เตรียมเปิดตัวแอพพลิเคชั่นสำหรับสมาร์ทโฟน ให้กับคนเมืองที่มีการใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างมากกว่า 4 ล้านครั้งต่อวัน ด้วยการดาวน์โหลดแอพฯ Go Bike ซึ่งผู้โดยสารสามารถเรียกใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างที่ถูกกฎหมายได้ในพื้นที่ ที่ทยอยขยายบริการไปให้ครอบคลุมทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเสียค่าบริการตามจริง ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการใช้แอปฯ หรือค่าเรียกผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ อีกทั้ง Go Bike อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครอง ซึ่งสามารถให้บริการพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

    ‘เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมงานกับ Go Bike Thailand ในส่วนของเทคโนโลยีที่เข้ามา เพื่อเพิ่มโอกาสในการเป็นตัวกลาง ระหว่างกลุ่มลูกค้าและผู้ขับขี่ฯ นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านการประกอบอาชีพของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง โดยเราเชื่อว่าแอพพลิเคชั่นนี้จะเป็นการส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้คนในเมือง และยังแก้ไขปัญหาของผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างให้มีรายได้มากขึ้น สามารถให้บริการอื่นๆ นอกจากส่งผู้โดยสาร เช่น การส่งของ หรือเอกสารตามความต้องการของลูกค้า สร้างอาชีพเสริมให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจ ไม่เพียงแต่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างที่ทำเป็นอาชีพประจำเท่านั้น’ นายกสมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างกล่าว

    นอกจากนี้ นายชาครีย์ ละอองมณี ผู้อำนวยการด้านผลิตภัณฑ์ ของบริษัท โก ไบค์ ไทยแลนด์ ยังกล่าวเสริมต่ออีกว่า ‘ทาง Go Bike เองก็รู้สึกดีใจ ที่ได้ร่วมงานกับสมาคมฯ เพื่อยืนยันการมอบความสะดวกสบายสูงสุด ให้แก่ผู้ที่ใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างทุกท่านและช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างนั้นดีขึ้น จากแอปฯ ของเรา’ “

    1_gobike

    GrabBike – GoBike มาเลเซียมีเอี่ยวทั้งคู่

    จากการสืบค้นข้อมูลของทีมข่าว MGR Online พบว่า บริษัท โกไบค์ จำกัด เจ้าของแอปพลิเคชัน GoBike จดทะเบียนเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2558 ด้วยทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1108/31 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โดยมีกรรมการบริษัทคือ นาย เลียน วา เซง สัญชาติมาเลเซีย และผู้ถือหุ้น 3 รายคือ บริษัท เอ แอนด์ พี คอนซัลติ้ง จำกัดถือหุ้นร้อยละ 51, นายเลียน วา เซง ถือหุ้นร้อยละ 29 และนายอัฎฐพล สิทธิชัยอารีกิจ ถือหุ้นร้อยละ 20

    จากข้อมูลพบว่า บ.โกไบค์ นั้นมีกรรมการและผู้ถือหุ้นเป็นชาวมาเลเซีย โดยหากคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นแล้วบุคคล/นิติบุคคลไทยถือหุ้นร้อยละ 71 ส่วนมาเลเซียถือหุ้นร้อยละ 29 เมื่อเปรียบเทียบกับ บริษัทแกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Grab Bike แล้วมีบุคคล/นิติบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้น ร้อยละ 51 และสัญชาติเคย์แมนร้อยละ 49 ทว่า เบื้องหลังจริงๆ ของ บริษัทแกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด นั้นเป็นที่รับทราบว่าคือแอปฯ ที่มีต้นกำเนิดจากชาวมาเลเซีย

    2_gobike

    ที่มา : http://manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9590000051976

    ]]>
    1092553
    ศึกวินมอเตอร์ไซค์ VS แกร็บไบค์ ใคร “วิน” https://positioningmag.com/1092193 Thu, 19 May 2016 03:00:24 +0000 http://positioningmag.com/?p=1092193 เมื่อตอนที่ Uber เปิดตัวUberMOTOบริการเรียกรถจักรยานยนต์ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์  2559 ตามหลัง GrabBike ที่เปิดให้บริการมาก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนสิงหาคม 2558  มาติดๆ โดยที่ไทยเป็นประเทศแรกที่มีบริการ UberMOTO เชื่อว่าตลาดการแข่งขันการเรียกรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างผ่านแอปพลิเคชันน่าจะมีความดุเดือดเพิ่มขึ้นมาเป็นทวีคูณ

    เพราะราคาที่ UberMOTO เปิดตัวมา เริ่มต้นที่ 10 บาท +ระยะทางกิโลเมตรละ 3.50 บาท + 85 สตางค์ต่อนาที ในขณะที่ราคาเริ่มต้นของ GrabBike ตอนเปิดตัวใหม่ๆ เริ่มที่กิโลเมตรแรก 35 บาท กิโลเมตรต่อไป 1.1-10 กิโลเมตรละ 12 บาท และ 10.1 กิโลเมตร กิโลเมตรละ 15 บาท

    ปรากฏว่า จากนั้นเป็นต้นมา GrabBikeได้ทำโปรโมชันให้ส่วนลดออกมาเป็นระลอก ทั้งให้นั่งฟรี ตั้งแต่ 50 บาท จนถึง 100 บาท รวมทั้งได้ลดราคาลงมาเหลือ เริ่มต้นที่ 25 บาท และกิโลเมตรที่ 1.1 -4.9 กิโลเมตรละ 10 บาท และตั้งแต่กิโลเมตรที่ 5 ขึ้นไปคิด 15 บาทต่อนาที จนล่าสุดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แกร็บไบค์ได้หั่นราคา 50% เริ่มต้นที่ 10 บาท และคิดเพิ่ม 5 บาทต่อกิโลเมตร

    แต่ในความเป็นจริงการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้นกลับเป็นการแข่งขันระหว่างระบบวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างประจำสถานที่ต่างๆ ที่ไม่พอใจกับเหล่าบริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน เพราะมีราคาถูกกว่า และสะดวกกว่า

    หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สร้างให้เกิดกระแสดังกล่าวคงหนีไม่พ้นหนุ่มสถาปัตย์ที่เรียกใช้บริการGrabBikeแล้วปรากฏวินมอเตอร์ไซค์เจ้าถิ่นยึดกุญแจคนขับGrabBikeไปถือครองไว้ เพื่อไม่ให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการได้ ตามคลิปที่ได้เผยแพร่ไว้ก่อนหน้านี้

    แต่เรื่องราวกลับจบลงตรงที่วินมอเตอร์ไซค์คนดังกล่าวถูกตักเตือนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ และพนักงานขับGrabBikeถูกปรับ4,000บาท ในข้อหานำรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมาให้บริการทั้งที่ไม่มีใบขับขี่สาธารณะ และไม่ได้แต่งกายตามกฎกระทรวง แต่สิ่งที่ตามมาคือคำถามจากสังคมกับการให้บริการของวินฯ ที่มีการข่มขู่ผู้โดยสารอย่างชัดเจน แม้จะมีการจัดระเบียบใหม่แล้วก็ตาม

    โดยทางกรมการขนส่งทางบกได้มีการออกมาแนะนำให้ประชาชนเลือกใช้บริการรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ถูกกฎหมาย โดยสังเกตได้จากการจดทะเบียนเป็นรถจักรยานยนต์ป้ายเหลือง มีใบอนุญาตขับขี่สาธารณะ ข้อมูลคนขับ เสื้อวิน บัตรประจำตัว และรถต้องถูกต้องตรงกัน ให้บริการเฉพาะในเส้นทางหรือท้องที่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น และที่สำคัญคือต้องมีการติดตั้งป้ายแสดงอัตราค่าโดยสารอย่างชัดเจน

    อย่างไรก็ตาม หลังเหตุการ์ดังกล่าว ทั้งGrabBikeและUberMOTOกลับยังมีการทำโปรโมชันออกมาเชิญชวนลูกค้าใช้งานอย่างต่อเนื่องชนิดที่ไม่สนกรมขนส่งฯ เลยก็ว่าได้

    โดย GrabBike ได้ออกโปรโมชันให้ผู้โดยสารเรียกใช้บริการครั้งละไม่เกิน 5 บาท ภายในระยะทางไม่เกิน 13 กิโลเมตร โดยเน้นใจกลางเมือง เช่น อนุสาวรีย์ สีลม สาทร เอกมัย อโศก หรือให้ส่วนลด 100 บาท เมื่อโดยสารเกินระยะ 13 กิโลเมตร ในช่วงวันที่ 11-17.. ที่ผ่านมา

    ส่วนUberMOTOก็มองจุดการเรียกใช้งานในเส้นพหลโยธินตั้งแต่แยกพหลโยธินจนยาวไปจนถึงแยกเกษตร ฟรี 5ครั้งจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม2559ในอัตราค่าโดยสารที่ไม่เกิน100บาท โดยสามารถเรียกออกจากโซนดังกล่าว หรือเดินทางไปยังพื้นที่ดังกล่าวได้ ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเดินทางมายังรถไฟฟ้าได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

    โดย3เหตุผลหลักที่ทำให้ผู้ใช้งานยังคงเลือกที่จะใช้บริการGrabBikeรวมถึงUberMOTO เป็นเรื่องของความสะดวก ที่สามารถเรียกรถได้ทุกที่ ทุกเวลา ถัดมาคือเรื่องของราคาที่เป็นมาตรฐานชัดเจนตามระยะทาง (ไม่นับรวมโปรโมชันที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง) สุดท้ายคือในแง่ของความปลอดภัย เพราะในการเรียกใช้บริการจะมีการเก็บข้อมูลของทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ ก็สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้

    ประเด็นที่ใหญ่ที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องของราคาในการเรียกใช้บริการ เพราะบางกรณีในช่วงเวลาเร่งด่วนวินมอเตอร์ไซค์บางจุดจะมีการเรียกเก็บราคาเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว แม้ว่าจะมีการเปิดช่องทางให้ประชาชนร้องเรียนเรื่องค่าโดยสารได้ แต่เชื่อว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะมองว่าเสียเวลา ทำไมไม่เริ่มจากการกำหนดราคาให้เป็นมาตรฐานและชัดเจน จนไม่ต้องมีการร้องเรียนเลยดีกว่า

    ทั้งนี้ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิ์พลเมือง (TCIJ) ได้ลงพื้นที่สำรวจ เปรียบเทียบค่าโดยสาร ระหว่าง แอปพลิเคชันเรียกรถ และวินมอเตอร์ไซค์ ซึ่งค่าบริการของวินมอเตอร์ไซค์นั้นราคาต่างกันครึ่งต่อครึ่ง  เช่น หากเรียกจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวท่าพระอาทิตย์ ไปยังสถานีรถไฟหัวลำโพง หากเรียกผ่านแอปคิดราคา 40 บาท ส่วนวินมอเตอร์ไซค์คิดราคา 100 บาท

    โดย TCIJ ระบุว่า สาเหตุสำคัญที่ค่าบริหารต่างกันขนาดนี้ มาจากค่า “เสื้อวิน” มีราคาตัวละ 2 หมื่นบาทถึง 5แสนบาท ในพื้นที่อย่างรถไฟฟ้า หรือที่รถสาธารณะเข้าไม่ถึง

    ในขณะที่ GrapBike นั้นไม่มีระบบเสื้อวิน รายได้จะถูกหักให้ระบบ 15% ของรายได้ต่อวัน และประกันรายได้ให้ผู้ขับขี่ 60 บาท จึงเป็นแรงจูงใจที่ทำให้ผู้ขับขี่เปลี่ยนจากเสื้อวินหันมาอยู่ภายใต้ระบบของแอปพลิเคชันแทน

    แน่นอนว่าเรื่องดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในการให้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างเพียงอย่างเดียว เพราะเรื่องราวเหล่านี้เคยเกิดขึ้นในสมัยที่ GrabTaxiเริ่มให้บริการมาก่อนแล้ว ในกรณีที่แท็กซี่ไม่เปิดมิเตอร์ หรือเรียกแล้วไม่ไปGrabก็เข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยเรื่องของราคาที่ชัดเจน ประกอบกับพนักงานสามารถรู้จุดหมายปลายทางได้ก่อนกดรับ จึงไม่เกิดการปฏิเสธการใช้บริการเช่นเดียวกัน

    ทำให้สุดท้ายแล้วผู้ให้บริการแท็กซี่บางส่วนก็สมัครเข้าร่วมให้บริการกับทางGrabโดยจากการสอบถามหลายๆ ครั้งพบว่า ผู้ขับส่วนใหญ่พึงพอใจในการให้บริการไม่ต้องเสียเวลาขับรถหาผู้โดยสารในบางช่วงเวลา สร้างรายได้เฉลี่ยในแต่ละเดือนเพิ่มขึ้น เพียงแต่บางทีจะประสบปัญหาเรื่องการแจ้งโปรโมชันระหว่างทางGrabกับพนักงานขับไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกับผู้โดยสารได้

    อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในกลุ่มแอปพลิเคชันเรียกรถโดยสารในปัจจุบัน ไม่ได้เน้นเพียงด้านของราคาในการให้บริการเพียงอย่างเดียวแล้ว เพราะความเคลื่อนไหวล่าสุดของทั้งGrabและUberคือการร่วมเป็นพาร์ตเนอร์กับค่ายมือถืออย่างดีแทค และทรูมูฟเอชในการให้บริการWiFiภายในรถยนต์

    โดยทางทรูมูฟเอชจะจับมือกับทางGrabที่จะมีสติกเกอร์ 4G WiFi in Carติดอยู่บนหน้ารถที่ให้บริการ ขณะเดียวกันยังเปิดโอกาสให้ผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับแท็กซี่สาธารณะสามารถเปิดใช้บริการเลขหมายรายเดือนในราคาพิเศษได้ พร้อมรับอุปกรณ์ True 4G Car WiFIกับสมาร์ทโฟนมาใช้งานได้ทันที

    ขณะที่ทางUberก็มีความร่วมมือกับทางดีแทค ที่เพิ่มเติมจากเดิมคือให้ลูกค้าดีแทคBlueMemberโดยสารรถไปกลับสนามบินฟรี 2 เที่ยวต่อปีแล้ว ก็เพิ่มโอกาสให้ลูกค้าสามารถใช้งานไวไฟฟรีบนรถโดยสารของUber XและUber Blackที่มีกว่า200คัน ฟรีตลอดการเดินทาง ในแคมเปญ ‘dtac Super 4G Free Wi-Fi’ นอกจากนี้ ก็ยังมีโปรโมชันพิเศษให้แก่พนักงานชับรถได้รับส่วนลดเพิ่มเติม ก็ถือเป็นอีกทิศทางการแข่งขันที่เกิดขึ้นในบริการแอปเรียกรถ

    ***แนะรัฐแก้กฎหมายให้ทันบริการรูปแบบใหม่ๆ

    ทางด้านอูเบอร์เสนอว่า จากประสบการณ์เข้าไปให้บริการในหลายๆ ประเทศ จะเน้นไปที่การเข้าหาหน่วยงานรัฐทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อมูลถึงรูปแบบธุรกิจที่อูเบอร์ให้บริการ เพื่อให้มีการพัฒนากฎหมายให้เหมาะสมกับบริการร่วมเดินทาง (Ride Sharing) ที่ถือเป็นธุรกิจใหม่ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการมาของเทคโนโลยี แน่นอนว่าที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้เปิดให้มีการพูดคุยกันอย่างต่อเนื่อง

    พร้อมกันนี้ได้ยกตัวอย่างว่ามีหลายประเทศที่ปัจจุบันอูเบอร์ได้เข้าไปให้บริการภายใต้กฎหมายแล้ว ที่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุดก็คือฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ ที่มีความร่วมมือในการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยอูเบอร์ใช้ระยะเวลาเกือบ2ปีในการร่วมผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทางภาครัฐในฟิลิปปินส์ สำหรับในไทยก็จะอยู่ในขั้นตอนการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นเดียวกัน

    ทั้งนี้ เหตุผลหลักที่อูเบอร์มองว่าการร่วมเดินทางเป็นประโยชน์แก่ทั้งสังคมและผู้บริโภค อย่างแรกเลยคือการลดปริมาณรถบนท้องถนนที่จะมีปริมาณน้อยลง ถ้าประชาชนมีตัวเลือกมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจำนวนรถรับจ้างสาธารณะที่ไม่ปฏิเสธผู้โดยสาร หรือการที่ประชาชนนำรถมาร่วมเดินทาง ไปในสถานที่หรือจุดหมายปลายทางที่ใกล้เคียงกัน

    อย่างเช่นในประเทศสิงคโปร์ เมื่อการให้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันถูกต้องตามกฎหมาย มีบริการที่มีคุณภาพ ทางอูเบอร์ได้มีการสำรวจพบว่ามีประชาชนส่วนหนึ่งเลือกที่จะเรียกใช้งานรถผ่านแอปแทนการขับรถไปยังสถานที่ต่างๆ อาจจะเนื่องจากเรื่องของการใช้ถนนของสิงคโปร์ที่มีการเก็บภาษี และค่าผ่านทางเพื่อควบคุมปริมาณรถอยู่แล้ว แต่สุดท้ายก็ชี้ให้เห็นว่าแนวทางดังกล่าวสามารถทำได้

    เมื่อเห็นถึงการแข่งขันที่มีมากยิ่งขึ้น กับคุณภาพและบริการที่สามารถควบคุมได้ สุดท้ายแล้วถ้าหน่วยงานรัฐนำบริการเหล่านี้เข้าสู่ระบบ พร้อมกับเปิดโอกาสให้วินฯ ที่ทำมาหากินแบบสุจริตเข้าร่วมด้วย ประโยชน์ในการใช้บริการรถสาธารณะทั้งหลายก็จะตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างแน่นอน

    1grabbike

    ขนส่งฯ สั่งฟัน GrabBike-Uber MOTO ยุติให้บริการ

    อย่างไรก็ตาม ล่าสุด หลังจากกรมการขนส่งทางบกได้ประชุมร่วมกับทหารกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการตำรวจนครบาลและฝ่ายเทศกิจเขตปทุมวัน รวมทั้งผู้บริหารของ GrabBike และ Uber MOTO มีคำสั่งให้ Uber MOTO  และ GrabBike ยุติการให้บริการทันที หากยังฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้ถูกต้อง จะดำเนินการตามระเบียบของ คสช. ต่อไป

    เนื่องจากบริการของทั้งสอง สร้างความไม่เสมอภาคและไม่เป็นธรรมต่อรถจักรยานยนต์สาธารณะ ซึ่งกำลังเข้าสู่การจัดระเบียบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. จึงก่อให้เกิดความแตกแยก ก่อให้เกิดความไม่สงบในสังคม

    นอกจากนี้ ตาม พ.ร.บ.ขนส่งระบุว่า รถจักรยานยนต์ที่นำมารับส่งผู้โดยสารได้ ต้องจดทะเบียนเป็นรถจักรยานยนต์สาธารณะ และต้องมีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ และต้องใช้เสื้อวินที่แสดงบัตรประจำตัวและหมายเลขประจำตัวเท่านั้น

    กรมขนส่งทางบก จะร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ  และเจ้าหน้าที่เทศกิจกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจสอบการให้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างผิดกฎหมายผ่านแอปพลิเคชันต่อเนื่อง

    หากตรวจสอบพบจะต้องถูกเปรียบเทียบปรับสูงสุดทุกราย รวมทั้งนำรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมาใช้รับ-ส่งผู้โดยสาร พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522  โดยปรับไม่เกิน 2,000 บาท และแต่งกายไม่ถูกต้อง ปรับไม่เกิน 1,000 บาท และไม่แสดงใบอนุญาตขับรถสาธารณะปรับไม่เกิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 4,000 บาท

    โดยที่ผ่านมาพบการฝ่าฝืนและสามารถจับกุมได้แล้วทั้งสิ้น 66 ราย แบ่งเป็น Grab Bike 37 ราย Uber Moto 29 ราย หากพบความผิดซ้ำจะพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถต่อไป

    จะว่าไปแล้ว Grab Bike และ Uber เองก็ต้องเจอแรงต่อต้านจากผู้ให้บริการเดิมมาแล้วในหลายประเทศ ส่วนในไทยนั้นจะต้อง “ยุติ” บริการลงถาวร หรือแค่ชั่วคราวเมื่อเจอมาตรการของรัฐเข้า ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าทั้งคู่จะหาทางออกกับเรื่องนี้กันอย่างไร เพราะกระแสการตอบรับของผู้ใช้บริการก็เป็นสิ่งที่รัฐมองข้ามไม่ได้เช่นกัน

    ]]>
    1092193
    แกร็บไบค์จัดหนัก จัดโปรฯ หั่นราคาจ่ายไม่เกิน 5 บาท https://positioningmag.com/1091159 Tue, 10 May 2016 04:36:57 +0000 http://positioningmag.com/?p=1091159 แกร็บไบค์ (GrabBike) แอปพลิเคชั่น เรียกมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จัดโปรโมชั่นลดราคา ให้ผู้โดยสารที่เรียกใช้บริการ สามารถเรียกใช้บริการฟรี หรือจ่ายครั้งละไม่เกิน 5 บาท ภายในเส้นทางที่กำหนด ไม่เกิน 13 กิโลเมตร หากเกินกว่านี้ ระบบจะคิดเป็นส่วนลด 100 บาทแทน

    โปรโมชั่นนี้จำกัดสิทธิ์ 10 ครั้งต่อผู้ใช้ ระยะเวลาโปรโมชั่น 11 – 17 พ.ค. 2559 สามารถชำระได้ทั้งเงินสดหรือบัตรเครดิต

    ในใช้สิทธิ์โปรโมชั่นนี้ จะต้องเรียกแกร็บไบค์ (GrabBike) ผ่านแอปพลิเคชั่นแกร็บ ตามด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นแรกเลือกต้นทางและปลายทางที่ต้องการเดินทาง จากนั้นใส่รหัสโปรโมชั่น CHEAP และกดเรียกรถ

    ทั้งนี้ แกร๊บ แอปพลิเคชั่น เรียกรถโดยสาร ได้เข้ามาเปิดให้บริการในไทย เริ่มจาก แกร็บแท็กซี่ บริการเรียกรถแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชั่น จากนั้น ในเดือนสิงหาคม 2558 ได้เปิดตัว แกร็บไบค์ บริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ โดยกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ 4 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากเปิดให้บริการ และได้รับความนิยมมาแล้วในกรุงฮานอย โฮจิมินห์ และจาการ์ต้า

    ต่อมา เมื่ออูเบอร์ คู่แข่งในธุรกิจเดียวกันได้ส่ง “อูเบอร์ โมโต” บริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอป เข้ามาแข่งขัน ด้วยราคาเริ่มต้น 10 บาท คิดเพิ่ม 3.5 บาทต่อกิโลเมตร และ 85 สตางค์ต่อนาที เน้นให้บริการในย่านธุรกิจอย่าง สยาม, สาทร และสีลม

    แกร็บไบค์ จึงได้ทำโปรโมชั่น ลดค่าบริการลงเป็นระลอก จาก อัตราค่าบริการในช่วงเริ่มต้น 1 กิโลเมตรแรก 35 บาท กิโลเมตรที่ 2-9 กิโลเมตรละ 12 บาท และกิโลเมตรที่ 10 ขึ้นไป กิโลเมตรละ 15 บาท จากนั้นได้ลดราคาลงมา เริ่มต้น 25 บาท และกิโลเมตรที่ 1.1 – 4.9 กิโลเมตรละ 10 บาท ตั้งแต่กิโลเมตร ที่ 5 ขึ้นไปคิด 15 บาท ต่อกิโลเมตร จนล่าสุดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แกร็บไบค์ได้หั่นราคา 50% เริ่มต้นที่ 10 บาท และคิดเพิ่ม 5 บาทต่อกิโลเมตร

    ]]>
    1091159