Health&beauty – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 27 Aug 2019 03:18:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “สวยสะดุด” พิษเศรษฐกิจ-เทรดวอร์ ตลาดบิวตี้ 3 แสนล้าน ออกอาการเหนื่อย!! https://positioningmag.com/1244008 Tue, 27 Aug 2019 01:57:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1244008 ตลาดสินค้าสุขภาพและความงาม (Health & Beauty) มูลค่าตลาดกว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 1.8 แสนล้านบาท และส่งออกมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท ปกติเติบโตได้ปีละ 7 – 8% แต่ปีนี้ออกอาการสะดุดตัวเลขอาจเห็นราว 2 – 3%

ปกติไม่ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร “ผู้หญิงไม่เคยหยุดสวย” แต่สถานการณ์ตลาดสินค้าความงามของไทยปีนี้ เผชิญกับปัญหาหลายประการ ไม่ต่างกับตลาดรวมในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่นกัน โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ค่อยจะกระเตื้องขึ้นเท่าที่ควรซึ่งก็เป็นมาหลายปีแล้ว กำลังซื้อของผู้บริโภคที่ชะลอตัวหรือใช้จ่ายไม่มากเท่าในอดีต การแข่งขันที่รุนแรงจากแบรนด์ไทยต่างประเทศ

อีกทั้งยังมีผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า ทำให้สินค้าส่งออกมีราคาสูงขึ้นด้วย ซึ่งแน่นอนว่าตลาดเป้าหมายต่างประเทศย่อมต้องชะลอการสั่งซื้อลงไปด้วยและหันไปหาตลาดอื่นที่มีราคาต่ำกว่าทดแทน

สงครามการค้าฉุดตลาดส่งออก

เกศมณี เลิศกิจจา รองเลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานกิตติมศักดิ์ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย ยอมรับว่าปีนี้ตลาดรวมสินค้าความงามยัง “ทรงตัว” หรือเติบโตไม่เกิน 5% จากเศรษฐกิจและกำลังซื้อถดถอย

ขณะที่ตลาดของการส่งออกก็อยู่ในภาวะชะลอตัวลง จากผลกระทบที่มาจากสงครามการค้า (Trade War) ของสองมหาอำนาจทางเศรษฐกิจระหว่าง จีน-สหรัฐอเมริกา ที่ทำให้ภาวะการค้าทั่วโลกได้รับผลกระทบด้วย ที่สำคัญอีกคือ ค่าเงินบาทของไทยที่ช่วงนี้แข็งค่าขึ้นอย่างมาก จึงกระทบตลาดส่งออก

โดยตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ตลาดส่งออกก็ไม่ได้หวือหวามากนัก มูลค่าตลาดอยู่ที่ 82,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยเป็น 84,000 ล้านบาทในปี 2559 แล้วลดลงมาเหลือ 83,000 ล้านบาทในปี 2560 ขณะที่ช่วง 8 เดือนแรก ปี2561 มีมูลค่าประมาณ 62,000 ล้านบาท ตลาดส่งออกหลักๆ คือ อาเซียน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย จีน เกาหลีใต้

ลุ้นครึ่งปีหลังตลาดฟื้น

ในฝั่งผู้ประกอบการธุรกิจความงามรายใหญ่ อย่างร้าน Beauty Buffet ก็มีมุมมองไม่ต่างกัน

ดร.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลาดรวมสินค้าความงามปีนี้ค่อนข้าง “ทรงตัว” ไม่หวือหวาเหมือนที่ผ่านมา เพราะภาวะทางเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ซึ่งคาดว่าจะเติบโตเพียงแค่ 2% ด้วยซ้ำไป จากเดิมที่ขยายตัวปีละ 10% โดยในช่วงครึ่งปีแรก 2562 ยังไม่ค่อยดีนัก แต่คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังตลาดรวมจะสามารถกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นได้ จากการเร่งทำตลาดของผู้ประกอบการโดยรวม

สำหรับ Beauty Buffet ปีนี้ถือเป็นโจทย์หินการทำธุรกิจในรอบ 22 ปีตั้งแต่อยู่ในอุตสาหกรรมสินค้าความงามก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ ปี 2562 วางเป้าหมายรายได้ไว้ที่ 2,200 ล้านบาท ลดลงนับแต่ปี 2560

ขณะที่ กวิน สัณฑกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดับบลิวซีไอ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารแบรนด์ วุฒิศักดิ์ กล่าวว่า ตลาดรวมสินค้าความงามของไทยยังมีศักยภาพและเติบโตได้อีกมากในอนาคต แต่ปีนี้เกิดภาวะชะลอตัวและตลาดค่อนข้างนิ่ง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อไม่ดีมากนัก  

กลยุทธ์ของวุฒิศักดิ์ ปีนี้ได้เริ่มขยายธุรกิจสินค้าความงามแบรนด์ “วุฒิศักดิ์ คอสเมติกส์” มี 2 ส่วนคือ 1. แบรนด์วุฒิศักดิ์ เริ่มด้วยเมจิกคอลเลคชั่น มีเจลอาบน้ำและบอดี้โลชั่น และ 2. วุฒิศักดิ์ ซีเล็ค คือ บริษัทเลือกสรรสินค้าที่ดีมีศักยภาพและพัฒนาเป็นของเราเอง มีเครื่องสำอาง สกินแคร์ อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เริ่มด้วยแบรนด์สเนลเอท ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสกัดจากเมือกหอยทาก

นอกจากนี้ได้เปิดรีเทล ช็อปชั่วคราวบนสถานีบีทีเอสเริ่มที่บีทีเอสราชดำริ เป็นแบบป็อปอัพ นาน 1 ปี รวมพื้นที่ 157 ตารางเมตร มีบริการใหม่ๆ เช่น สปาเล็บ การต่อขนตา ทรีตเมนต์ใบหน้า บิวตี้คาเฟ่ เป็นต้น ในต้นปีหน้าจะเปิดป๊อปอัพอีก 4 แห่ง

ปีนี้ตั้งเป้าหมายยอดรายได้ไว้ที่ 500 ล้านบาท แบ่งเป็น รายได้จากคลินิก 200 ล้านบาท และรายได้จากสินค้าคอสเมติกส์ 300 ล้านบาท.

source

]]>
1244008
ชิงเค้ก 2 แสนล้าน “แม็คโคร” แปลงโฉมร้านยาสู่ Health & Beauty เพิ่มสินค้า 1,600 รายการ มีเภสัชฯประจำ https://positioningmag.com/1242833 Mon, 19 Aug 2019 00:55:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242833 ปัจจุบันธุรกิจด้านสุขภาพและความงาม มีมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท เติบโตอย่างรวดเร็วตามเทรนด์การดูแลสุขภาพของผู้บริโภคในยุคนี้   

หน่วยงานบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้คาดการณ์จำนวนร้านขายยาทั่วประเทศ พบว่ามีมากกว่า 22,000  – 23,000 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ 30% และต่างจังหวัด 70% ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบสแตนอโลน ผู้ประกอบการเป็นกลุ่มเอสเอ็มอีกว่า 80%

ศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มลูกค้าที่หันมาใส่ใจสุขภาพและความงามของแม็คโครเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี

จึงมองโอกาสการทำตลาดดังกล่าวมากขึ้น ด้วยการปรับภาพลักษณ์ ร้านยาแม็คโคร พื้นที่ 220 ตร.ม. ของแม็คโคร สาขาสาทร เป็นร้านเพื่อสุขภาพและความงาม มีการออกแบบใหม่ ทันสมัย สะดวกสบาย รวมถึงมีเภสัชกรประจำร้าน

นอกจากนี้ได้เพิ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์และเวชภัณฑ์ทั่วไปรวมกว่า 1,600 รายการ ตั้งเป้าหมายให้สาขาสาทรเป็นสาขานำร่องก่อนขยายสู่สาขาอื่นๆ ของแม็คโครรูปแบบ cash&carry ในอนาคต เพื่อบริการลูกค้าสมาชิกและลูกค้าทั่วไป

“ร้านขายยามีการเปลี่ยนแปลงไปมากตามความต้องการของลูกค้า ที่หากมีอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นก็สามารถดูแลร่างกายขั้นต้นได้ จากยาและสินค้าทางการแพทย์ที่ปลอดภัย ภายใต้การดูแลของเภสัชกร ในราคาเข้าถึงง่าย” 

กลุ่มลูกค้าที่สนใจดูแลสุขภาพยังนิยมเลือกซื้อสินค้ากลุ่มอาหารเสริม และสินค้าความงามมากขึ้น ร้านเพื่อสุขภาพและความงามของแม็คโคร จึงปรับโฉมใหม่เพื่อเป็นทางเลือกกับกลุ่มลูกค้า

]]>
1242833
“อาร์เอส” อัพเลเวล เฮลท์&บิวตี้ แสนล้านน้อยไป “เฮียฮ้อ” ขอชิงค้าปลีก 2.5 ล้านล้าน https://positioningmag.com/1221703 Tue, 26 Mar 2019 23:27:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1221703 ทรานส์ฟอร์มธุรกิจสื่อยกแรกของ “อาร์เอส” เมื่อ 4 ปีก่อน “เฮียฮ้อ” ขอขายครีม ประกาศเข้าสู่ตลาดเฮลท์แอนด์บิวตี้ “แสนล้าน” วันนี้อัพเลเวลอีกครั้ง เข้าสู่ธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีกมูลค่า 2.5 ล้านล้านบาท ด้วยโมเดล MPC ย้ำ 3 ปีนี้ต้องเห็นรายได้ 10,000 ล้านบาท

ย้อนไปปี 2557 “อาร์เอส” ที่เพิ่งคว้าไลเซ่นส์ทีวีดิจิทัลมาหมาดๆ เปิดตัวช่อง 8 สู้ศึกอุตสาหกรรมสื่อทีวี ที่มีเม็ดเงินโฆษณา 7 หมื่นล้านบาทให้ช่วงชิง แต่ผ่านไปเพียงปีเดียว ก็ประกาศขยายธุรกิจใหม่ “ไลฟ์สตาร์” ในปี 2558 กับสนามรบ “เฮลท์แอนด์บิวตี้” ที่มีมูลค่านับ “แสนล้านบาท” ให้กอบโกย

จากรายได้หลัก “ร้อยล้านบาท” ในปีแรกของไลฟ์สตาร์ การก้าวสู่ปีที่ 4 ของธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง หรือ Multi-platform Commerce (MPC) ที่อาร์เอสเป็นผู้พัฒนาบิสสิเนสโมเดลขึ้นเอง ประกาศเป้าหมายรายได้ MPC ปีนี้ที่ตัวเลข 3,000 ล้านบาท กับสถิติ New High ทุกปี

ปีที่ผ่านมารายได้จากธุรกิจพาณิชย์มีสัดส่วน 53% สูงกว่าธุรกิจสื่อ วันที่ 29 มีนาคมนี้ “อาร์เอส” จึงย้ายหุ้นจากหมวดธุรกิจสื่อไปยังหมวดธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีกของตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมเกมรุกเต็มรูปแบบ

เป้าหมาย 3 ปี “หมื่นล้าน”

สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ (เฮียฮ้อ) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วันนี้ธุรกิจ MPC ของบริษัทไม่ได้มีแค่กลุ่มเฮลท์แอนด์บิวตี้ แต่ยังมีสินค้าเครื่องใช้ภายในบ้านและไลฟ์สไตล์ กลุ่มเครื่องประดับและความเชื่อ และศึกษาธุรกิจอีกหลายแคทิกอรี่ อาร์เอสจึงอยู่ในธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีก ที่มีมูลค่ากว่า 2.5 ล้านล้านบาท และมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวอีกครั้ง หลังการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ ขณะที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อมากขึ้น ถือเป็นโอกาสของธุรกิจ MPC ในอนาคต

หลังจากปี 2561 ธุรกิจ MPC ทำยอดขายได้ 2,127 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53% ขณะที่รายได้รวมบริษัทอยู่ที่ 3,827 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% ทำให้มั่นใจว่าธุรกิจ MPC ยังโตต่อได้ ปี 2562 อาร์เอสวางเป้าหมายรายได้รวมไว้ที่ 5,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% รายได้ MPC อยู่ที่ 3,000 ล้านบาท เติบโต 41% ทำ “นิวไฮ” เช่นเดิม

“จากบิสสิเนสโมเดลที่พัฒนาขึ้นเอง ปีนี้ถือเป็นปีสำคัญในรอบ 37 ปีของอาร์เอส ในการก้าวสู่ธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีกเต็มตัว เราวางเป้าหมายเชิงรุก 3 ปีจากนี้ หรือปี 2565 รายได้ต้องแตะ 10,000 ล้านบาท เติบโตปีละ 30% ทุกปี รายได้จาก MPC มีสัดส่วน 60% ธุรกิจสื่อ 30% เพลงและอื่นๆ 10%”

เฟส 2 ทรานส์ฟอร์มจับมือพันธมิตร

การทรานส์ฟอร์มธุรกิจของอาร์เอส จากธุรกิจสื่อสู่ธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีก จบเฟสแรกไปแล้ว ปี 2562 เป็นการเริ่มต้นเฟสสอง ที่ว่าด้วยเรื่องการขยายธุรกิจ “แนวราบ” ร่วมกับ “พาร์ตเนอร์”         

ประเดิมไตรมาสแรกกับความร่วมมือ “ไทยรัฐทีวี” พันธมิตรด้านช่องทางจำหน่ายสินค้าที่ถือว่า win win ทั้งคู่ ฝั่งอาร์เอสได้กลุ่มลูกค้าใหม่จากฐานผู้ชมไทยรัฐทีวี ส่วนไทยรัฐทีวี ใช้ประโยชน์จากช่วงเวลา “นอนไพร์มไทม์” มาสร้างรายได้จากรายการโฮมช้อปปิ้ง คาดรายได้ปีนี้ อยู่ที่ 350 ล้านบาท และปี 2563 อยู่ที่ 455 ล้านบาท

ปัจจุบันอาร์เอสอยู่ระหว่างเจรจากับทีวีดิจิทัลอีกหลายช่อง เพื่อเป็นพันธมิตรด้านช่องทางจำหน่าย เพราะวันนี้ต้องยอมรับว่าช่วงนอนไพร์มไทม์ทีวีดิจิทัล ยังมีเวลาว่างที่ขายโฆษณาไม่เต็ม

พาร์ตเนอร์ต่อมาคือ โรงงานผลิตสินค้า อาร์เอสมีแผนจะเข้าไป “ร่วมทุน” กับเป็นผู้ผลิต Original Equipment Manufacturer (OEM) การรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด และ Original Brand Manufacturer (OBM) การผลิตแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งจะชัดเจนช่วงไตรมาส 3 ปีนี้

บิสสิเนสโมเดลที่กำลังอยู่ระหว่างเจรจากับผู้ผลิต อาร์เอสไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากนัก แต่จะสร้างความมั่นใจให้ผู้ผลิตที่จะได้รับออร์เดอร์ผลิตสินค้าของอาร์เอสต่อเนื่อง สัดส่วนไม่ต่ำกว่า 60-70% ของกำลังการผลิต เป็นการการันตีรายได้ระยะยาว และการร่วมทุนจะทำให้อาร์เอสมีรายได้จากฝั่งธุรกิจสินค้าอีกทาง

“หลังจับมือกับพาร์ตเนอร์โรงงานผลิตสินค้าแล้ว อาร์เอสจะเป็นผู้ดำเนินธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีกตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ”

ส่วนเฟส 3 การทรานส์ฟอร์ม จะอยู่ในปี 2564 ที่จะรุกตลาดต่างประเทศ ด้วย 2 รูปแบบ คือ การแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายสินค้า และการทำบิสสิเนสโมเดล MPC เข้าไปทำตลาด โดยจะเริ่มในกลุ่ม CLMV และประเทศจีน ที่เป็นตลาดกำลังซื้อมหาศาล

]]>
1221703