Hertz – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 12 Jan 2024 06:22:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Hertz บริษัทเช่ารถรายใหญ่ ขาย Tesla รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์อื่นทิ้งหมด ให้เหตุผลค่าซ่อมสูงหลังเกิดอุบัติเหตุ https://positioningmag.com/1458621 Fri, 12 Jan 2024 06:07:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458621 แบรนด์เช่ารถยนต์อย่าง Hertz ล่าสุดบริษัทไม่ทนกับรถยนต์ไฟฟ้าอีกต่อไป ล่าสุดบริษัทได้ประกาศขาย Tesla รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์อื่นทิ้งหมด โดยให้เหตุผลจากค่าใช้จ่ายในการซ่อม หรือแม้แต่ค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ที่สูง ส่งผลต่อกำไรของบริษัท

Hertz บริษัทเช่ารถรายใหญ่ ได้แจ้งต่อ ก.ล.ต. ของสหรัฐอเมริกาว่า บริษัทประกาศขายรถยนต์ไฟฟ้าที่บริษัทมีอยู่ทั้งหมดกว่า 20,000 คัน หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนรถทั้งหมดของบริษัท และจะหันกลับมาซื้อรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแทน ซึ่งจะเพิ่มกำไรให้กับบริษัทได้

ในการขายรถยนต์ไฟฟ้ากว่า 20,000 คัน ประกอบไปด้วยหลายแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น Tesla หรือแบรนด์อื่นๆ อย่าง Chevrolet Bolt และ Nissan Leaf หรือแม้แต่ BMW i3 บริษัทได้ประกาศขายบนช่องทางออนไลน์ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถที่จะรับรถยนต์ได้ในสหรัฐอเมริกา

รายได้ส่วนหนึ่งในการขายรถยนต์ไฟฟ้าเหล่านี้ บริษัทจะนำไปซื้อรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแทน

ผู้บริหารของ Hertz ได้กล่าวว่า อีกปัญหาที่สำคัญคือ Tesla ซึ่งบริษัทมีรถยนต์แบรนด์ดังกล่าวจำนวนมากนั้นกลับไม่มีอะไหล่ทดแทนมากนัก และยังขาดแคลนช่างซ่อมที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี แตกต่างกับที่บริษัทรถยนต์อื่นๆ เช่น GM ฯลฯ ทำให้การซ่อมรถยนต์ไฟฟ้านั้นใช้เวลานานกว่ารถยนต์ทั่วไป

แผนการในการปลดระวางรถยนต์ไฟฟ้าที่บริษัทมีอยู่นั้นจะสามารถเพิ่มกระแสเงินสดให้กับบริษัทได้หลังจากนี้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่สูงจากการซ่อมหลังจากรถยนต์ไฟฟ้าเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทแย่ลง

ไม่เพียงเท่านี้ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้บริษัทเช่ารถรายใหญ่จากสหรัฐอเมริกาไม่อดทนต่อรถยนต์ไฟฟ้าอีกต่อไปก็คือ ค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ไฟฟ้าที่ลดลงไวกว่าคาด ส่งผลทำให้การขายรถยนต์เหล่านี้ในตลาดรถยนต์มือสองนั้นได้ราคาที่แย่กว่าเมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน

คาดว่า Hertz จะขาดทุนกับรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนมากเหล่านี้เป็นเงินถึง 245 ล้านเหรียญสหรัฐด้วย

การเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าของ Hertz เริ่มต้นในปี 2021 บริษัทเช่ารถรายใหญ่ได้ให้เหตุผลในช่วงเวลาดังกล่าวว่าต้องการที่จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเข้าถึงผู้คนทั่วไปได้มากยิ่งขึ้น โดยบริษัทได้สร้างความฮือฮาด้วยประกาศซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ Tesla เป็นเม็ดเงินมากถึง 4,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนที่บริษัทจะมีมุมมองเปลี่ยนไปจากปัจจัยของค่าใช้จ่าย

ที่มา – CNN, Business Insider

]]>
1458621
ลืม Loyalty ซะ เมื่อกลยุทธ์ Relevance Marketing มาแรง โดนใจผู้บริโภคยุค 4.0 https://positioningmag.com/1165915 Sat, 14 Apr 2018 03:08:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1165915 ปัจจุบันโมเดลและกลยุทธ์ทางการตลาดเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมค่อนข้างมาก เนื่องจากอิทธิพลของสังคมยุคดิจิทัลทำให้ผู้บริโภคมีสิทธิจะเลือกหาสินค้าและบริการที่ตอบสนองและโดนใจตัวเองมากขึ้น เพียงแค่เสิร์ชจากอินเทอร์เน็ต คำตอบและทางเลือกมากมายจะมาปรากฏตรงหน้าให้เลือกตัดสินใจ

จึงไม่น่าแปลกแต่อย่างใดเมื่อการตลาดที่เน้นลอยัลตี้ (Loyalty) โดยใช้แรงจูงใจไปที่ส่วนลด และยึดแบรนด์เป็นตัวตั้งในอดีตจะมีบทบาทน้อยลง เพราะหมดยุคแล้วสำหรับแบรนด์ที่ไม่ให้ลูกค้าปรับความต้องการได้เองตามความพอใจ

เห็นได้จากผลวิจัยผู้บริโภคของ Kantar Retail เมื่อเร็วๆ นี้ ที่พบว่า 71% บอกว่าพวกเขาไม่มีแรงจูงใจจากส่วนที่จะทำให้ภักดีกับแบรนด์ได้อีกต่อไป แต่ผู้บริโภคจะเลือกสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของตัวเองได้มากกว่า

ด้วยเหตุนี้ ทำให้ Relevance Marketing หรือพูดง่ายว่าการทำให้ผู้บริโภคหรือลูกค้ารู้สึกเป็นกันเองและใกล้ชิดกับแบรนด์มากขึ้น เป็นกลยุทธ์ที่หลายบริษัทเริ่มหันมาให้ความสำคัญ เพราะเป็นกลยุทธ์ที่สามารถสร้างกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า สามารถสร้างความสุข หาความเชื่อมโยง และส่งมอบคุณค่าประสบการณ์ของแบรนด์ไปให้ลูกค้าได้อย่างพึงพอใจมากที่สุด พร้อมให้พวกเขามีส่วนร่วมแบ่งปันข้อคิดเห็นผ่านโซเชียลมีเดียในตัวผลิตภัณฑ์

อีกทั้งแบรนด์ที่ให้ความสนใจ Relevance Marketing จะประสบความสำเร็จมากสุดในยุคนี้ เพราะสามารถคาดการณ์พฤติกรรมของผู้บริโภคได้ในท้ายที่สุด

จากการทำวิจัยของ Accenture แสดงให้เห็นว่าบริษัทต่างๆ ในสหรัฐฯ สูญเสียรายได้ต่อปีเป็นจำนวนเงิน 1 ล้านล้านเหรียญให้คู่แข่ง เมื่อพวกเขาไม่ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมากพอ การตลาดยุคนี้จึงต้องปรับตัวให้เหมือนกับสิ่งมีชีวิต และปฏิบัติกับลูกค้าเหมือนเพื่อนที่จริงใจต่อกัน

ที่สำคัญต้องอย่ายึดติดกับความสำเร็จในรูปแบบเดิม นักการตลาดและบริษัทจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อเติมเต็มความต้องการและดึงดูดลูกค้าให้ได้มากที่สุด

ปัจจุบันหลายบริษัท จึงเปลี่ยนจากแนวความคิดที่มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ไปสู่แนวทางแพลตฟอร์มที่สร้างความเชื่อโยงกับผู้บริโภคและลูกค้ามากขึ้น  ดังตัวอย่างของแบรนด์ต่อไปนี้

Yoplait โยเกิร์ตฝรั่งเศสหันมาสร้างความภูมิใจให้ผู้บริโภค

การปรับตัวของ Yoplait โยเกิร์ตแบรนด์ดัง ที่หันไปมุ่งและให้ความเกี่ยวข้องกับลูกค้ามากขึ้น เมื่อ Yoplait พบว่าผู้บริโภคมักมีความภาคภูมิใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อกับประเพณีของชาติหรือแสดงถึงตัวตนของผู้บริโภค และต่อยอดไปถึงการสร้างคุณค่าของแบรนด์ให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมมากขึ้น จากโครงการเก็บฝาของโยเกิร์ตเพื่อรักษาชีวิตช่วยเหลือผู้ป่วย และสร้างกิจกรรมการตลาดพร้อมแข่งวิ่งการกุศล

CVS Pharmacy ร้ายขายยาเบอร์ 2 ของอเมริกันเน้นให้ลูกค้ามีสุขภาพดี

CVS Pharmacy เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีร้านขายยา โดยมีเภสัชกรควบคุมคล้าย ๆ บู๊ทส์ในบ้านเรา เป็นแบรนด์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอเมริกา มีจุดต่างตรงที่เป็นร้านขายปลีกในเครือ CVS Health ที่ให้บริการแตกต่างจากการขายยาทั่วไปนั่นคือ เน้นไปที่การช่วยให้ลูกค้าของพวกเขามีสุขภาพโดยรวมที่ดียิ่งขึ้น เป็นการสร้างความสัมพันธ์และสายใยกับลูกค้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของบริษัท รวมไปถึงร่วมมือกับ AI giant IBM Watson ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเวลาที่ต้องการได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน

Just in Time สไตล์ Hertz

Hertz บริษัทรถเช่ารายใหญ่ของอเมริกา พัฒนาวิธีการทำงานในแบบทันเวลาพอดี (Just in Time) ในการนำเสนอบริการรถเช่าในช่วงเวลาที่เหมาะสม ด้วยการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าและนำเสนอผ่านตัวแทนศูนย์บริการรับฝากข้อความ หรือเว็บไซต์ของ Hertz

BMW หาบริการให้ลูกค้ามีประสบการณ์กับแบรนด์โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ

ในทำนองเดียวกัน ผู้ผลิตรถยนต์  BMW ได้พัฒนาให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น เพื่อเป็นการต่อยอดและส่งมอบประสบการณ์สร้างความสัมพันธ์มากกว่าการซื้อรถเพียงครั้งเดียวแล้วจบ โดยพัฒนาผ่านระบบนิเวศของบริษัท เช่น บริษัทรถเช่า ที่จอดรถ สถานีชาร์จ จนไปถึง ระบบต่างๆ เพื่อให้ลูกค้ามีความสะดวกสบายมากขึ้น

Under Armour สร้างความเชื่อมโยงจากกีฬาสู่นวัตกรรมเสื้อผ้าเพื่อสุขภาพ 

Under Armour แบรนด์ที่ไม่ได้คิดว่าตัวเองจะเป็นแค่แบรนด์ผลิตแฟชั่นด้านกีฬาอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถเติบโตได้อย่างอิสระ และขยายแตกไลน์ให้หลากหลาย ครอบคลุมลูกค้ากว้างขึ้น เพื่อเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับบริการใหม่ ๆ เช่น พยายามบุกตลาดสุขภาพและฟิตเนสแบบดิจิทัลมาสักระยะแล้ว โดยทุ่มค่าใช้จ่ายไปถึง 500 ล้านเหรียญ ทั้งอเมริกาและยุโรป และมีสมาชิกสมัครเข้ารวมกว่า 100 ล้านคน จนทำให้บริษัทต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมชุดเสื้อผ้าที่มีระบบเซนเซอร์ Biometric ป้อนสู่ตลาดมากขึ้น

ทั้งนี้แต่ละแบรนด์ต่างก็มีวิธีการทำ Relevance Marketing ที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยสรุปแล้วไม่ว่ากลยุทธ์ที่คิดขึ้นจะออมาในรูปแบบใด แบรนด์ที่ต้องการทำตลาดให้ใกล้ชิดและเป็นกันเองกับผู้บริโภค ควรทำให้ผู้บริโภคหรือลูกค้ารู้สึกถึง 5 สิ่งนี้

  1. Purpose ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์ได้แบ่งปันและให้ความสำคัญในคุณค่าของพวกเขา
  2. Pride ลูกค้ารู้สึกภาคภูมิใจและมีแรงบันดาลใจที่อยากใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของแบรนด์
  3. Partnership ลูกค้ารู้สึกว่าตัวแบรนด์มีเกี่ยวข้องและทำงานร่วมกันได้ดีกับพวกเขา
  4. Protection ลูกค้ารู้สึกมั่นคง ปลอดภัยและเชื่อใจในการทำธุรกิจกับบริษัท
  5. Personalization ลูกค้ารู้สึกได้ถึงความสัมพันธ์และมีประสบการณ์ร่วมกับตัวแบรนด์อย่างต่อเนื่อง

จะเห็นว่า สำหรับการตลาดยุคใหม่นี้ แบรนด์ต้องรู้จักปรับตัวอยู่เสมอ ค้นหาช่วงจังหวะ เข้าใจผู้บริโภคมากพอที่จะสื่อสารออกไปให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย จึงจะสามารถอยู่รอดอย่างแข็งแกร่งและยืนหยัดได้อย่างแท้จริง.

]]>
1165915