ในประเทศไทยเอง การเป็นคอนเทนต์ ครีเอเตอร์ได้กลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพยอดนิยมไปแล้ว เพราะสามารถสร้างทั้งชื่อเสียง และรายได้ในคราวเดียว เป็นใบเบิกทางสู่การทำธุรกิจได้อีกด้วย บางคนยังก้าวไปอีกขั้นสู่การเป็นอินฟลูเอนเซอร์
ข้อมูลจาก Tellscore พบว่า ประเทศไทยคาดว่ามีคอนเทนต์ ครีเอเตอร์มากถึง 9 ล้านคน ครอบคลุมตั้งแต่ในระดับ Nano – Macro – Mega Creator ทั้งที่เป็น Full-time และ Part time ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียและการใช้เวลาท่องโลกออนไลน์ของคนไทยที่มีอัตราสูงในอันดับต้นๆ ของโลก โดยจากข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) พบว่าประชากรไทยมีการอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ประมาณ 89.5% และมีช่องทางโซเชียลมีเดียมากถึง 50 ล้านคน คิดเป็น 71.5% ของประชากรทั้งหมด
แน่นอนว่าการเป็นครีเอเตอร์ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากเกินไปสำหรับคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมากับเทคโนโลยี ซึ่งการที่แต่ละคนมีคาแรกเตอร์ที่ชัดเจนยิ่งทำให้เกิดการจดจำมากขึ้น นำไปสู่การหารายได้เป้นกอบเป็นกำ
อย่างในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราได้เห็นกระแสความนิยมของอิฟลูเอนเซอร์ หรือครีเอเตอร์เกาหลีจำนวนมาก หลายคนประสบความสำเร็จในไทย มีรายได้มหาศาล หนึ่งสิ่งที่อธิบายความนิยมของคนไทยได้มากที่สุดคือ “ความเอ็นดู” คนไทยหลายคนรู้สึกปลื้มใจที่เห็นชาวต่างชาติหัดพูดภาษาไทย แม้จะทำกิจกรรมเงอะๆ งะๆ ก็ยังมองว่าน่ารักอยู่ดี ซึ่งลองนึกภาพว่าถ้าเป็นครีเอเตอร์คนไทยทำกิจกรรมเดียวกัน คงให้ความสนใจต่างกัน
ครีเอเตอร์เกาหลีจึงเบ่งบานในไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ไล่เรียงจาก “คิวเท” ยูทูบเบอร์ชาวเกาหลีเบอร์ต้นๆ ที่คนไทยรู้จัก เจ้าของช่อง Kyutae Oppa คิวเทเป็นชาวเกาหลีแท้ๆ ที่เกิด และเติบโตในไทย คิวเทเริ่มทำคลิปวิดีโอแรกตั้งแต่สมัยยังเรียนอยู่ ม. 6 เป็นคลิป “เกาหลีเต้นสายย่อ” และแจ้งเกิดได้จากคลิป “เกาหลีดูหนังผีไทยคนเดียว” ซึ่งเป็นการรีแอคชั่นขณะดูภาพยนตร์ “ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ”
เพียงชั่วระยะเวลา 3 ปีเศษๆ ช่องยูทูบของเขา ก็สามารถมียอดผู้ติดตามสูงถึงเกือบ 8 ล้านคน บวกกับยอดผู้ติดตามในเฟซบุ๊ก อีกกว่า 1 ล้านคน มาพร้อมกับงานโฆษณา งานรีวิวสินค้า แถมปีก่อนยังได้เปิดร้าน SPACE ZOO ร้านไก่ทอดเกาหลี เป็นการร่วมทุนกับ “เบียร์ ใบหยก” อีกด้วย
ในตอนนี้ต้องยกให้เป็นปีทองของ “พี่จอง คัลแลน” สร้างปรากฏการณ์ “ใจฟู” ดังไปทั่วประเทศ คู่หูดูโอจากช่อง Cullen HateBerry ที่ทำคลิปเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในประเทศไทย เป็นการเที่ยวในที่แปลกๆ ที่คนไทยบางคนยังไม่เคยไปด้วยซ้ำ เป็นการท่องเที่ยวสไตล์ง่ายๆ เจอร้านอาหารข้างทางก็แวะ เจอน้องหมาน้องแมวก็ให้ขนม ในคลิปมีการพูดภาษาไทยกันตลอด แม้ทั้งคู่จะเป็นชาวเกาหลีด้วยกัน พูดผิดๆ ถูกๆ แต่ก็สร้างความเอ็นดูให้กับด้อมไทย เกิดกระแสไวรัลไปทั่ว
ส่งผลให้พี่จอง คัลแลน มีงานพรีเซ็นเตอร์เข้ามากมาย ทั้ง AIS, Samsung, La Roche Posay (ครีมกันแดด), Jerhigh (อาหารสุนัข) และ M-150 รวมไปถึงหลายแบรนด์จ้องที่จะร่วมงานในการส่งสินค้าไปไทอินในคลิป หรือส่งสินค้าไปรีวิว แต่ทางช่องมีการคัดเลือกที่เข้มงวด เนื่องจากไม่อยากให้กระทบเนื้อหา จึงไม่ได้รับงานรีวิวเท่าไหร่นัก
รวมไปถึง “พี่ฮง” เจ้าของยูทูบช่อง Oppa Hong หนุ่มเกาหลีอารมณ์ดี ที่ล่าสุดหลายคนก็เชียร์กับกระแสจิ้นกับน้องรถไถ ก็เป็นหนึ่งในอินฟลูเกาหลีที่คนไทยให้ความสนใจด้วยเช่นกัน
นอกจากเหล่าอปป้าเกาหลีที่บรรดาด้อมไทยพร้อมเปย์ใจให้แล้ว ล่าสุดยังมี “กามิน” หรือจีกามิน TikToker สาวชาวเกาหลีที่มีกระแส “ชาลี-กามิน” มหากาพย์นี้ได้เริ่มต้นจาก “แน็ก ชาลี” ที่เห็นไลฟ์ของสาวกามินที่เล่าเรื่องราวของตนเองว่าต้องหาเงินเรียนหนังสือ ต้องกินซีเรียล และบะหมี่ซอง ทำให้ชาลีต้องการยื่นมือช่วยเหลือ
ชาลีค่อนข้างมีฐานแฟนคลับ เมื่อนำเรื่องราวมาเล่าก็ทำให้ยอดผู้ติดตามของกามินเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จนเกิดเป็นกระแสจิ้น และนำไปสู่เส้นทางความรัก พร้อมกับการเดินทางมาทำงานที่ประเทศไทย ทั้งรับงานพรีเซ็นเตอร์ ออกอีเวนต์ รวมถึงไลฟ์สดขายของร่วมกัน ก็สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว
ซึ่งรายได้ที่กามินได้จากการมาทำงานในประเทศไทยถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว เผลอๆ อาจเทียบเท่าดาราเบอร์ใหญ่ๆ เลยทีเดียว โดยข้อมูลจากผู้จัดการออนไลน์ บอกว่ากามินโกยรายได้ถึง 100 ล้านบาท แน็ก ชาลีเองก็เคยเปิดเผยในไลฟ์สดว่ารายได้ที่กามินหาได้สามารถใช้ได้จนถึงอายุ 50 เลยด้วยซ้ำ แม้จะเป็นการพูดเปรียบเปรยประชดประชัน แต่ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นเม็ดเงินมหาศาล
สรุปสิ่งที่กามินได้หลังจากการทำงานในไทย
– ไลฟ์สดขายของ ไลฟ์งานคู่งานละ 3-4 ล้านบาท โดยไม่คอมเฟิร์มยอดขาย เน้นคนมาร่วมชมไลฟ์สด
– งานอีเวนต์ค่าตัวรวมกันหลักล้าน งานพรีเซ็นเตอร์หลัก 10 ล้าน
– เป็นโฮสใน PK TikTok ที่กามินอยู่ใต้สังกัดเอเจนซี่ มียอดติดตาม และยอดเปย์ถล่มถลาย ยืน 1 ของเกาหลี และติด Top 3 ระดับโลก
– สร้างสถิติท็อปฟอร์มอันดับ 1 บนชาร์ตกิจกรรม TikTok Live เป็นสถิติที่ไม่มีคนเกาหลีคนไหนทำได้มาก่อน
– กามินเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ TikTok เกาหลีที่ทำเงินได้ตลอดสัปดาห์เกิน 20 ล้าน รางวัลสำหรับที่ 1 คือ 1. ได้ขึ้นป้ายโฆษณาโปรโมตที่สถานีรถไฟใต้ดินที่เกาหลี ซึ่งรัฐบาลเกาหลีก็พร้อมซัพพอร์ตกามินให้ได้มีภาพบิลบอร์ดติดที่บริเวณสถานีกังนัม ที่มีแต่คนดังเท่านั้นที่ได้ขึ้นบิลบอร์ดในย่านนี้ อาทิ ไช กังนัมสไตล์ แบล็กพิงก์ 2. ได้โล่ทองกิจกรรมพร้อมสลักชื่อ MVP 3. ได้เงินรางวัลประจำสัปดาห์ แบบยังไม่หักรายจ่าย 4. ได้รับเชิญไปงานอีเวนต์ของ TikTok Live เกาหลีที่จะประกาศในอนาคต กิจกรรมเหล่านี้เพิ่มความนิยมให้คนเกาหลีรู้จักกามินมากขึ้น
ต้องบอกว่าความสำเร็จของกามินมาจากฐานแฟนคลับคนไทยทั้งสิ้น ฐานแฟนคลับของชาลี ที่ต้องการช่วยเหลือ รวมไปถึงการเปย์เพื่อแลกกับความสุขทางใจ แลกกับความบันเทิงที่ทั้งสองทำคอนเทนต์ร่วมกัน จากกามินที่เป็นสาวเกาหลีธรรมดา มีคนดูไลฟ์เพียงแค่ 5 คน ตอนนี้มีเงินเป็นกอบเป็นกำ
แต่กามินเองก็โดนกระแสแบน กระแสตีกลับ คนไทยแห่อันฟอลโลว์ในทุกช่องทางจนผู้ติดตามหล่นฮวบอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาทั้งในด้านของอินฟลูเอง และแฟนคลับสายเปย์
อินฟลูเอนเซอร์เป็นหนึ่งอาชีพที่หารายได้ได้เยอะ มาจากทั้งรีวิวสินค้า งานอีเวนต์ งานไลฟ์ต่างๆ สิ่งที่เกิดปัญหาบ่อยครั้งคือหลายคนยังไม่เข้าใจในระบบภาษี บางคนยื่นผิดแบบ ทำให้เจอภาษีย้อนหลังกันอ่วม และเรื่องภาษีนี่เองก็เป็นหนึ่งในรอยร้าวของชาลี กามิน ซึ่งทางฝ่ายหญิงไม่เข้าใจในระบบภาษีของไทยที่เก็บแบบอัตราภาษีก้าวหน้า นั่นคือได้เยอะ ก็ต้องเสียเยอะ สูงสุดที่ 35%
อัตราภาษีก้าวหน้า คือ การเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นตามระดับรายได้สุทธิ ยิ่งรายได้สูง อัตราภาษีที่ต้องจ่ายก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย โดยระบบนี้จะแบ่งรายได้ออกเป็นขั้นบันได และคำนวณภาษีตามอัตราที่กำหนดในแต่ละขั้น ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 8 ขั้น โดยเริ่มจาก 0% จนถึง 35% ตามระดับรายได้สุทธิที่แตกต่างกัน
สำหรับอัตราภาษีก้าวหน้าของเกาหลีใต้ สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นแบ่งออกเป็นหลายช่วง ซึ่งอัตราภาษีจะเพิ่มขึ้นตามระดับรายได้สุทธิของผู้เสียภาษี
เกาหลีใต้ ยังมีระบบการเก็บภาษีเพิ่มเติมที่เป็นส่วนท้องถิ่น (Local income tax) ซึ่งคิดอัตราเพิ่มเติมที่ 10% ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องจ่ายด้วย
]]>ต้องบอกว่าในยุคปัจจุบันนี้มีแพลตฟอร์มใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย อีกทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หลายคนสามารถเป็นสื่อ หรือเป็นคนผลิตคอนเทนต์เองได้ Content Creator จึงได้จัดว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สามารถหารายได้ และกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในตอนนี้
มีการสำรวจว่า ในประเทศไทยมี Content Creator อยู่ราวๆ 2 ล้านคนเลยทีเดียว มีทั้ง Influencer คนมีชื่อเสียง คนที่มีอิทธิพลต่อบุคคลทั่วไป, KOL หรือจะเป็น Micro Influencer และ Nano Influencer ยิ่งในทุกวันนี้ทุกคนมีโซเชียลมีเดีย ทุกคนสามารถสร้างคอนเทนต์ได้ง่ายขึ้น
หลายปีที่ผ่านมานี้เราได้เห็นการมาของแพลตฟอร์ม TikTok เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ซึ่งแตกต่างจากโซเชียลมีเดียอื่นๆ อย่างเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรมที่เน้นติดตามคนรู้จัก คนที่สนใจ แต่ TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นความบันเทิงเป็นหลัก มีคอนเทนต์หลากหลาย ร้อง เล่น เต้น แสดง เรียกได้ว่าได้เห็น “ดาวติ๊กต็อก” เกิดขึ้นมากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
แต่การที่จะเป็น Content Creator มีความยากง่ายแค่ไหน โอกาสที่จะแจ้งเกิด และหารายได้เป็นอย่างไร ทาง AIS ได้รวมทุกข้อสงสัย พร้อมฟังประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟจาก Content Creator ระดับตัวท็อปของประเทศมาเผยแรงบันดาลใจ สูตรเด็ด เคล็ดลับ สร้างครีเอเตอร์สู่อาชีพที่สามารถต่อยอดให้เติบโตได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืน ภายในงาน Global Creator
Culture Summit งานนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ ชั้น 6 ศูนย์การค้าสยามพารากอน
งานนี้ AIS ได้จับมือร่วมกับพันธมิตร อีกทั้งยังเล่นใหญ่เชิญกูรูระดับโลก Professor David Craig นักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำจากสหรัฐอเมริกามาร่วมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ Content Creator ไทย พร้อมกับได้เชิญสุดยอด Content Creator คนไทย ได้แก่ ศรัณย์ แบ่งกุศลจิต (Uppercuz Creative), อติชาญ เชิงชวโน (อู๋ Spin 9), วุฒิพงษ์ ลิขิตชีวัน (อาตี๋รีวิว) และธรรมชาติ โยธาจุล (Thammachad) มาร่วมแชร์ประสบการณ์ และเคล็ดลับการเป็น Content Creator ให้ประสบความสำเร็จCulture Summit งานนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ ชั้น 6 ศูนย์การค้าสยามพารากอน
งานนี้ AIS ได้จับมือร่วมกับพันธมิตร อีกทั้งยังเล่นใหญ่เชิญกูรูระดับโลก Professor David Craig นักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำจากสหรัฐอเมริกามาร่วมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ Content Creator ไทย พร้อมกับได้เชิญสุดยอด Content Creator คนไทย ได้แก่ ศรัณย์ แบ่งกุศลจิต (Uppercuz Creative), อติชาญ เชิงชวโน (อู๋ Spin 9), วุฒิพงษ์ ลิขิตชีวัน (อาตี๋รีวิว) และธรรมชาติ โยธาจุล (Thammachad) มาร่วมแชร์ประสบการณ์ และเคล็ดลับการเป็น Content Creator ให้ประสบความสำเร็จ
ด้าน Professor David Craig กล่าวว่า “วันนี้ครีเอเตอร์ คือ กลุ่มผู้ทรงอิทธิพล ที่เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก เพราะมีศักยภาพเป็นได้ทั้ง “แบรนด์” ด้วยตัวเอง, เป็นผู้สร้างชุมชนออนไลน์, สร้างรายได้แบบ O2O ทั้งจากพื้นที่ตัวเอง-แพลตฟอร์ม-ช่องทางอื่น และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่อุตสาหกรรมแวดล้อมอื่นๆ ได้อีกด้วย อาทิ มีพลังขับเคลื่อนการพัฒนาบริการและฟีเจอร์ต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือ ที่มีความสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
นี่คือสิ่งยืนยันที่ว่า ครีเอเตอร์คือศูนย์กลางการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจของแพลตฟอร์ม และอีโคซิสเท็มที่เกี่ยวข้อง คิดเป็นมูลค่าถึงประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วโลก ดังตัวอย่างจาก วัฒนธรรมหว่างหง (Wanghong Culture) หรือเน็ตไอดอล ผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ของจีน ที่สร้างโซเชียลคอมเมิร์ซให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะที่จีน ไม่ว่าใคร แม้แต่แรงงานเกษตรกร ก็สามารถเป็นอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังได้ เพราะได้รับการสนับสนุนให้เป็นหว่างหงครีเอเตอร์ ดังนั้นการเดินทางมาแลกเปลี่ยนและทำงานวิจัยในครั้งนี้ของผม จึงเชื่อว่าจะได้แนวทางชัดเจน ที่ทำให้เราสามารถสร้างเศรษฐกิจจากวัฒนธรรมครีเอเตอร์ระดับโลก และสามารถกำหนดอนาคตและทิศทางของเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน”
พร้อมกันนี้ภายในยังได้เชิญกูรูด้าน Content Creator ซึ่งเป็นหนึ่งในอีโคซิสเท็มในการขับเคลื่อน Creator Culture ของไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดมาร่วมแลกเปลี่ยนบนเวทีนี้อีกด้วย Positioning ขอสรุปประเด็นเด็ดที่เหล่า Content Creator ไม่ควรพลาดดังนี้
ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ CEO YDM Thailand กลุ่มบริษัทด้านดิจิทัลมาร์เก็ต แชร์ข้อมูลในหัวข้อ “กลยุทธ์ Creator Marketing สูตรสำเร็จใหม่ของธุรกิจยุคดิจิทัล”
YDM Thailand เป็นเอเจนซี่ไทยที่ดูแลด้านดิจิทัล มาร์เก้ตติ้ง และดูแลเกี่ยวกับ Content Creator ให้กับแบรนด์ต่างๆ จากข้อมูลผลสำรวจพบว่าประเทศไทยมี Content Creator มากกว่า 2 ล้านคน ตอนนี้มีแพลตฟอร์มที่หลากหลาย มีการแยกย่อยเยอะหลายเซ็กเมนต์ บางคนเป็นบล็อกเกอร์สายอาหารก็มีแยกย่อยหลายแขนงลงไปอีก เช่น รีวิวคาเฟ่อย่างเดียว รีวิวอาหารญี่ปุ่นอย่างเดียว เพราะฉะนั้นในการวางกลยุทธ์ให้กับแบรนด์จะมีการผสมผสาน Content Creator หลายระดับทั้งคนตัวเล็ก กลาง และตัวท็อป ซึ่งอยู่ที่โจทย์ของลูกค้าว่าต้องการอะไร บางแคมเปญใช้ Content Creator ถึง 50 คนก็มี
4 ขั้นตอนในการเลือก Content Creator ให้เหมาะสมกับแบรนด์
นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากทางแพลตฟอร์ม โดย กวิน ภาณุสิทธิกร Head of Seller Management Thailand, TikTok Shop มาร่วมแชร์ข้อมูลในหัวข้อ “จาก Seller สู่ Creator สร้างรายได้จาก TikTok”
TikTok เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่มาแรงที่สุดแห่งยุค เพราะหลายๆ เรื่องราวที่เป็นไวรัลในสังคม ส่วนใหญ่ล้วนเกิดจาก TikTok ด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่เน้นความบันเทิงเป็นหลัก ใครๆ ก็สามารถสร้างวิดีโอได้ง่ายๆ ทำให้กลายเป็นที่นิยมไปโดยปริยาย
โดยที่ TikTok ทำตลาดในประเทศไทยได้ 7 ปี แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้มีอีกหนึ่งฟีเจอร์เกิดขึ้น นั่นก็คือ TikTok Shop เรียกว่า ได้สร้างความสั่นสะเทือนวงการอีคอมเมิร์ซอยู่ไม่น้อย กลายเป็นว่ากระแสของ Live Commerce กลายเป็นช่องทาการขายใหม่ของแบรนด์ ซึ่งการขายของใน TikTok Shop มีความยากง่ายแค่ไหน สร้างโอกาสอย่างไร และแตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นๆ อย่างไรบ้าง มีจุดแข็งอยู่ 4 ข้อด้วยกัน
ในทุกๆ วันที่เข้าในแอปพลิเคชั่น TikTok จะพบว่า คอนเทนต์จะแตกต่างกัน ไม่เหมือนเดิม ไม่เหมือนโซเชียลมีเดียอื่นๆ ที่เน้นติดตามพื่อน ครอบครัว คนรู้จัก ซึ่งแอปฯ พยายามหาคอนเทนต์ให้โดนใจผู้ใช้มากที่สุด ข้อดีของแพลตฟอร์มนี้ก็คือ ถ้าเป็นครีเอเตอร์จะแจ้งเกิดง่าย ทำให้มีดาวติ๊กต็อกเกิดขึ้นเยอะ แต่ต้องอัพเดตตัวเองตลอดเวลา ถ้าเป็นเจ้าของแบรนด์ ก็เป็นโอกาสมากๆ สามารถหาคนที่เป็นพันธมิตรช่วยขายเพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่ไม่เคยเข้าถึงได้
ผู้ใช้ไม่ได้ตั้งใจเข้าแอปฯ เพื่อไปดูความเคลื่อนไหวของเพื่อน หรือครอบครัว แต่เข้าไปเพื่อหาความบันเทิงใหม่ๆ คล้ายๆ กับการดูทีวี หรือเรียลลิตี้โชว์
พฤติกรรมผู้ใช้เปลี่ยนไป มีทั้งที่ตั้งใจเข้ามาซื้อของ และไม่ตั้งใจ หลายคนชอบดูไลฟ์สตรีมในการขายของ หรือดูคนดังต่างๆ ขายของ มีความสนุก ความบันเทิง มากกว่ากดใส่ตะกร้าตามเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
TikTok มีความพยายามในการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ ให้เข้ากับตลาดท้องถิ่นในประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากพฤติกรรมผู้ใช้ในประเทศนั้นๆ ไม่ได้นำเอานโยบายในระดับโกบอลมาปรับใช้กับทุกตลาด ทำให้มีความเข้าถึงผู้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น
ปัจจุบันการขายของบน TikTok มี 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ 1. ไลฟ์สตรีม 2. วิดีโอสั้น 3. แท็บร้านค้า และ 4. โปรแกรมพันธมิตร ขายผ่านครีเอเตอร์ โดยที่ร้านค้าที่เปิดโปรแกรมพันธมิตรขายผ่านครีเอเตอร์ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายได้มากกว่า มีข้อมูลว่า กลุ่มที่เปิดโปรแกรมโอกาสที่จะขายสินค้าออกชิ้นแรกสูงกว่า 60% ยกตัวอย่างร้าน Mr. K ร้านขายกิมจิ สินค้าปรุงอาหารเกาหลี อาหารญี่ปุ่น เปิดให้บริการมา 2 ปี ปัจจุบันมียอดขายเกิน 20 ล้านบาท รายได้ส่วนใหญ่มาจากครีเอเตอร์ถึง 80%
สำหรับงาน Global Creator Culture Summit ได้ปิดฉากลงด้วยความประทับใจไปแล้วเรียบร้อย AIS ในฐานะแม่งาน และในฐานะผู้พัฒนา Digital Infrastructure ของประเทศ นอกเหนือจากเป้าหมายในการส่งมอบประสบการณ์และเทคโนโลยีเพื่อลูกค้าและคนไทยแล้ว ยังพร้อมสนับสนุนด้วยเครื่องมือต่างๆ ตลอดจน เชื่อมโยง องค์ความรู้ ทักษะ ให้แก่ผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ตามแนวคิด Ecosystem Economy หรือ เศรษฐกิจแบบร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม Content Creator ที่ถือเป็นผู้ประกอบการซึ่งมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และยังเป็นศูนย์กลางความเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกในทุกแง่มุม ซึ่งจะช่วยสร้างการเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน
]]>บริษัท เชาท์ ทูเกทเตอร์ จำกัด (SHOUT Together) ประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์ม ‘SHOUT’ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มด้าน ‘อินฟลู-คอมเมิร์ช’ โดยเจาะลูกค้าไม่ว่าจะเป็นเอเจนซี่ หรือแบรนด์ต่างๆ ที่ต้องการหาอินฟลูเอนเซอร์ โดยมองถึงตลาด Affiliate Marketing ยังเติบโตต่อเนื่องในประเทศไทย
จิรพัฒน์ บุณยะเวชชีวิน Co-founder และ CEO ผู้บริหารของ SHOUT Together ได้กล่าวถึงประสบการณ์ในการทำงานของตัวเขาในสายงานเอเจนซี่ และพบว่าตลาดไลฟ์ขายสินค้านั้นเติบโตมากขึ้น รวมถึงช่องทางที่อาศัยอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) หรือ Key Opinion Leader (KOL) ในการช่วยทำการตลาด หรือที่เรารู้จักกันดีอย่าง Affiliate Marketing นั้นก็กำลังเติบโตอย่างมาก
CEO ของ SHOUT Together ยังชี้ว่าตลาดของ Affiliate Marketing นั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าตลาดของ Influencer ถึง 20 เท่า
นอกจากนี้เขายังกล่าวว่าลูกค้าที่เป็นแบรนด์ต่างๆ เองนั้นพบกับ 3 ปัญหาใหญ่ ได้แก่ การใช้ Influencer ผิดคน ซึ่งทำให้ไม่ตรงเป้าหมายของลูกค้า ขณะเดียวกันการใช้ Influencer เองนั้นมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป อาจทำไปแล้วไม่คุ้มกับการลงทุน รวมถึงการทำแคมเปญการตลาดนั้นมีต้นทุน และอาจมีความเสี่ยงในเรื่องความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายลงไป
สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้จิรพัฒน์และทีมงานได้พัฒนาแพลตฟอร์ม ‘SHOUT’ ขึ้นมาเพื่อที่จะตอบโจทย์ดังกล่าว ซึ่งบริษัทได้รับเม็ดเงินลงทุนเริ่มต้นจาก PinPung รวมถึงนักลงทุนรายอื่นๆ ในปี 2023 ที่ผ่านมาเป็นเงิน 5 ล้านบาท
เขาได้กล่าวเสริมว่า “ปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Data หรือ Automated Platform สามารถทำให้การทำ Influencer Campaign ต่างๆ สามารถทำได้สะดวก รวดเร็วและตอบโจทย์ธุรกิจได้แม่
สำหรับขั้นตอนในการใช้งานแพลตฟอร์ม SHOUT สำหรับแบรนด์หรือเอเจนซี่ ประกอบไปด้วย
นอกจากนี้ จิรพัฒน์ ยังชี้ว่าแพลตฟอร์ม SHOUT ยังช่วยให้แบรนด์หรือเอเจนซี่ประหยัดต้นทุนได้ถึง 60% โดยเขายกตัวอย่าง ไม่ว่าจะเป็นไม่ต้องติดต่อผ่านโทรศัพท์บ่อยๆ ฯลฯ และลดระยะเวลาการทำงานได้ถึง 95% เช่น เวลาในการทำเอกสาร หรือการโอนเงิน ฯลฯ
จิรพัฒน์ ยังมองว่าการใช้ KOL เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญการตลาดนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับแบรนด์ต่างๆ แล้ว และตอนนี้มี Influencer เกิดใหม่เรื่อยๆ สิ่งที่สำคัญสุดคือแบรนด์ต้องการอะไร เป้าหมายคืออะไร แล้วต้องมาดู Influencer ว่าตรงกับเป้าหมายหรือไม่ แล้วก็ต้องดูถึงความครีเอทีฟของ Influencer ว่าจะทำยังไง
นอกจากนี้เขามองว่าเทรนด์ Influencer จะร่วมทำงานกัน ทั้งในไทยหรือแม้แต่ไทยต่างประเทศ โดยเขายกตัวอย่างกรณีของ แน็ก ชาลี ไตรรัตน์ กับ กามิน ซึ่งเป็น Influencer ชาวเกาหลี หรือกรณีที่แร็ปเปอร์ชาวไทย มาจับมือกับ แร็ปเปอร์ต่างชาติ เป็นต้น
ผู้บริหารสูงสุดของ SHOUT Together ยังมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้วิธีทำแคมเปญการตลาดของแบรนด์ต่างๆ จะต้องคิดมากขึ้น
ขณะเดียวกันตลาด Affiliate Marketing ที่เติบโตมากขึ้น ทำให้ค่าคอมมิชชั่นถือว่ามีสำคัญ เขายังมองว่าบางแบรนด์อาจเจรจาในเรื่องสัดส่วนคอมมิชชั่น และมองว่าแผนการตลาดหรือการทำแคมเปญจะเป็นระยะยาวมากขึ้นได้ อาจไม่ใช่แคมเปญที่ทำครั้งเดียวแล้วจบ ซึ่ง Influencer นั้นจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่แบรนด์ก็จะมียอดขายเพิ่มขึ้น
โมเดลรายได้ของ SHOUT หลังจากนี้นั้น จิรพัฒน์ กล่าวว่าจะเก็บค่าคอมมิชชั่นราวๆ 15% ปัจจุบันมี Influencer อยู่ในแพลตฟอร์มราวๆ 8,000 คน และเขามองว่าการสร้างแพลตฟอร์มของบริษัทขึ้นมาไม่ได้เป็นคู่แข่งกับเอเจนซี่ แต่เป็นเหมือนระบบหลังบ้านที่ทำให้เอเจนซี่หรือแบรนด์ต่างๆ ทำงานได้ง่ายขึ้น
สำหรับเป้าหมายของ SHOUT Together นั้น CEO รายดังกล่าวได้กล่าวว่า ตอนนี้เริ่มรุกตลาดจริงจัง ตั้งเป้าว่าภายในปี 2024 นี้บริษัทจะมียอดขายสินค้าออนไลน์รวม หรือ GMV ที่ 100 ล้านบาท และมี Influencer บนแพลตฟอร์ม 20,000 ราย และถ้าหากมีการระดมทุนในรอบถัดไปเขาคาดหวังว่ามูลค่าบริษัท 300-500 ล้านบาท
]]>CNBC ได้รายงานข่าวว่าหลังจาก Meta บริษัทแม่ขอทั้ง Facebook หรือ Instagram ฯลฯ ว่าหลังจากที่บริษัทได้มีการปลดพนักงานชุดใหญ่ระดับหลักหมื่นคนนั้นไม่ใช่มีแค่ผลกระทบต่อพนักงานที่ถูกปลดไปเท่านั้น แต่ล่าสุดผลกระทบยังตามมาถึงเหล่า Influencer ด้วย
สื่อรายดังกล่าวได้รายงานถึงชีวิตของ Katya Karlova ซึ่งเธอเคยเป็นนางแบบแต่ในช่วงหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เธอต้องหันมาเป็น Influencer บน Instagram แทน ซึ่งมีผู้ติดตามมากถึง 250,000 คน หลังจากที่ทุกอย่างเริ่มดีขึ้นเธอก็ได้เริ่มที่จะโพสต์รูปของเธอลงเพื่อที่จะติดต่อหาช่างภาพ หรือหาโอกาสที่เพิ่มมากกว่าเดิม
ในช่วงเวลาที่เธอรุ่งโรจน์นั้นทาง Instagram มองว่าเธอนั้น “โดดเด่นและไม่เหมือนใคร”
แต่หลังจากที่ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีรายดังกล่าวได้ประกาศปลดพนักงานถึง 2 ครั้งติดต่อกัน ซึ่งรอบล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาคาดว่ามีพนักงานมากถึง 10,000 คน ซึ่ง Meta ได้ชี้แจงว่าบริษัทกำลังที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในให้ดีมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการยกเลิกตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครซึ่งมีราวๆ 5,000 ตำแหน่งออกไปด้วย
และนั่นทำให้ชีวิตของ Katya ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เมื่อการปลดพนักงานของ Meta นั้นส่งผลทำให้พนักงานที่ทำงานกับลูกค้า ซึ่งรวมถึง Influencer นั้นต้องโดนปลดออกไป นอกจากนี้การปลดพนักงานออกไปจำนวนมากยังส่งผลทำให้มีบัญชีปลอมที่สร้างโปรไฟล์เหมือนเธอ แม้ว่าเธอจะแจ้งไปยังบริษัทก็ไม่มีการตอบรับใดๆ ซึ่งแตกต่างกับช่วงก่อนหน้าที่มีการจัดการอย่างทันท่วงที
นอกจากนี้รายงานของ CNBC ยังได้สัมภาษณ์ธุรกิจขนาดเล็ก Influencer รายอื่นๆ หรือแม้แต่อดีตพนักงานของ Meta นั้นพบว่าการติดต่อกับผู้ดูแลด้านต่างๆ ทำได้ยากขึ้น แม้ว่าบริษัทจะออกมากล่าวว่ากำลังมีการปรับปรุงในส่วนของการดูแลลูกค้าหรือให้การสนับสนุนด้านต่างๆ ก็ตาม
ไม่เพียงเท่านี้ MeLynda Rinker ซึ่งเธอเป็นเจ้าของกลุ่มใน Facebook ที่มีผู้ใช้งานในกลุ่มเป็นหลักแสนคนนั้นก็พบว่ามีปัญหาในการใช้งานก็ไม่สามารถที่จะติดต่อกับพนักงานให้ดูแลในปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทมีกลุ่มสำหรับแจ้งปัญหาสำหรับเหล่า Influencer หรือเจ้าของกลุ่มที่มีผู้ใช้งานหลักแสนคนไว้โดยเฉพาะ แต่ก็ได้ปิดตัวลงในช่วงต้นปีหลังจากมีการปลดพนักงานชุดใหญ่
ขณะเดียวกันผู้ใช้งานหลายรายก็ประสบปัญหาเรื่องของอัลกอริทึ่ม อย่างในกรณีของ Katya นั้นอัลกอริทึ่มมองว่าโพสต์ของเธอมีลักษณะเนื้อหาส่อไปทางเพศ ทำให้โพสต์ที่เธอได้ร่วมงานกับแบรนด์ต่างๆ นั้นถูกมองเห็นลดลง ซึ่งส่งผลกระทบกับเธอ
ผลกระทบในส่วนของงานดูแลลูกค้าเหล่านี้ถือว่าเป็นส่วนที่ไม่สร้างกำไรให้กับบริษัท ทำให้บริษัทตัดสินใจที่จะปลดพนักงานที่ดูแลในส่วนนี้ หรือแม้แต่เลิกจ้างบริษัทภายนอกที่ดูแลในด้านนี้ และผลดังกล่าวก็ยังกระทบไปยัง Ecosystem ของบริษัทอีกด้วยนั่นก็คือเหล่า Influencer ไปจนถึงลูกค้าที่ลงโฆษณากับบริษัท
]]>ภาพรวมของ โฆษณาดิจิทัล ในปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มอย่าง Facebook ของ Meta ยังคงเป็นที่ 1 แต่จะเห็นส่วนแบ่งที่ลดลงจากเดิม 40% เหลือ 33% ส่วนอันดับ 2 อย่าง YouTube ลดลงจาก 20% เหลือ 15% ขณะที่ Online Video อื่น ๆ โดยเฉพาะแพลตฟอร์ม OTT เติบโตขึ้น และที่น่าสนใจก็คือ เม็ดเงินใน Influencer หรือ KOLs ต่าง ๆ อยู่อันดับ 4 มีมูลค่า 2,280 ล้านบาท
“ตอนนี้แพลตฟอร์ม Facebook, YouTube ยังเป็นผู้นำแต่สัดส่วนลดลงเรื่อย ๆ ขณะที่ TikTok ร้อนแรงจริง แต่เม็ดเงินโฆษณาที่ลงตรงกับแพลตฟอร์มยังน้อย มีมูลค่าเพียง 800 กว่าล้านบาท เพราะแบรนด์หรือนักการตลาดใช้เงินไปกับ Influencer โดยตรง” ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ เอ็มไอ กรุ๊ป กล่าว
แนวโน้มการทำอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งจากนี้ คือ สร้างยอดขาย ขณะที่แบรนด์เริ่มเรียนรู้แล้วว่า ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียจะเชื่อใน Influencers ระดับ Micro-Nano หรือ KOCs (Key opinion consumer) มากกว่า เพราะมองว่าเป็นผู้ใช้จริงมากกว่า ดารา หรือเซเลบเบอร์ใหญ่ ทำให้ในมุมที่แบรนด์ต้องการจะขายของ แบรนด์จึงใช้ Micro-Nano มากกว่า โดยเฉพาะใน Affiliate Marketing
ที่น่าสนใจคือ มีความเป็นไปได้ที่การใช้ Influencers ระดับ Micro-Nano จะใช้เงินน้อยกว่า แต่อาจฟันธงไม่ได้ เพราะแน่นอนว่าค่าจ้างอาจถูกกว่าแต่ เน้นปริมาณ นอกจากนี้ ข้อตกลงยังมีหลายรูปแบบ เช่น คิดเป็นค่าคอมมิชชั่นจากยอดขาย ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม แม้นักการตลาดและแบรนด์จะโฟกัสไปที่ Micro-Nano มากขึ้น แต่เชื่อว่าเม็ดเงินปีนี้จะเติบโตได้ 5% และจำนวน Influencers ระดับ Micro-Nano จะยิ่งเติบโต
“ตอนนี้อีคอมเมิร์ซไทยแข็งแรง หลายแพลตฟอร์มโซเชียลฯ ก็มุ่งเน้นไปที่การขายของ และแบรนด์ก็ต้องการเพิ่มยอดขาย ทำให้ Influencers ระดับ Micro-Nano ถูกใช้งานเพราะเขามองว่าได้ผลกว่า โดยเฉพาะกับสินค้าที่ต้องทำให้เชื่อ เช่น สกิลแคร์, อาหารเสริม ส่วนดาราหรือคนดังไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ผู้บริโภคเขามองว่าไม่ได้ใช้จริง ดังนั้น ดาราอาจเหมาะกับการสร้างอะแวร์เนสมากกว่า”
ในวันที่พฤติกรรมผู้บริโภคไม่สามารถคาดเดาได้ในโลกดิจิทัล ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการที่มีให้อย่างมหาศาลบนอินเทอร์เน็ตด้วยช่องทางที่หลากหลายและสามารถเสพข้อมูลแบบกระโดดข้ามไปมาระหว่าง Platform ได้อย่างอิสระ ทำให้การวางแผนการตลาดจึงไม่มีแบบ one for all แต่เป็น one for one ด้วยสารหนึ่งสารที่โดนใจ ในเวลาหนึ่งที่เหมาะสม หรือ ถูกคน-ถูกใจ-ถูกที่-ถูกเวลา
ดังนั้น คอนเทนต์ไม่ปังจริง อย่าคิดสื่อสารกับ mass ด้วยคอนเทนต์เดียวกัน เพราะผู้รับสารในยุค digital-led society เป็นกลุ่มย่อยมากขึ้น (Segmented World and Fragmented World) หากผู้รับสารไม่รู้สึกร่วม นอกจากจะการสื่อสารจะไม่เกิดผลอาจก่อให้เกิดผลเชิงลบ ดังนั้น ต้องลำดับความสำคัญทางธุรกิจของกลุ่มเป้าหมายย่อยและต้องเข้าใจและเข้าถึง Insight ของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งโดยเฉลี่ยในปัจจุบันแต่ละสินค้าและบริการจะมีประมาณ 6 กลุ่มย่อย
“KOLs และ KOCs ย่อย ๆ กลายเป็นเครื่องมือหลักในการสื่อสารการตลาดปีนี้ เพราะวัดผลการขายได้เลยและเข้าถึงกลุ่มย่อยได้ชัดเจน แต่แน่นอนว่าสักวันจะมีจุดอิ่มตัว ผู้บริโภคเริ่มไม่เชื่อ แต่คงไม่ใช่เร็ว ๆ นี้ ดังนั้น นักการตลาดก็ต้องหาทางใหม่ ๆ เช่น คอนเทนต์ที่ฉีกไป สุดท้ายก็จะกลับมาที่ครีเอทิวิตี้อยู่ดี” ภวัต เรืองเดชวรชัย ทิ้งท้าย
]]>แบรนด์จะเติบโตได้ไม่ใช่แค่สร้างด้วยการตลาดที่เน้นเฉพาะยอดขายตรงหน้าเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีเทคนิคที่เข้าใจพฤติกรรมคนยุคนี้ “มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์” บริษัทเอเยนซี่โฆษณาสัญชาติไทย ที่กำลังมาแรงในยุคนี้ จึงเลือกชูจุดขายการสร้างแบรนด์ผ่าน “คอมมูนิตี้” เปิดให้ลูกค้าได้สนทนากันเองเพื่อสร้างความผูกพัน หมัดเด็ดที่จะทำให้ผู้บริโภคอยู่กับแบรนด์อย่างยั่งยืน
“วันแรกๆ ที่เราเปิดบริษัท ช่วงนั้น Facebook กำลังบูม โพสต์และช่วยขายของได้ง่าย ค่าโฆษณายังค่อนข้างถูก บวกกับเราเริ่มการใช้กระแสกับคอนเทนต์เป็นเจ้าแรกๆ ทำให้สามารถสร้างฐานให้ธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว” ลิษา เลาหกรวัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด กล่าวย้อนถึงเมื่อแรกก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2559 โดยเริ่มจากการตลาดบนโซเชียลมีเดียและดิจิทัล
นางสาวลิษา เลาหกรวัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด
อย่างไรก็ตาม เธอกล่าวต่อว่าบริบทของการทำการตลาดดิจิทัลวันนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคมีความซับซ้อนมากขึ้นทั้งในแง่พฤติกรรมผู้บริโภคและแพลตฟอร์มที่ใช้งาน โซเชียลมีเดียมีจำนวนมากขึ้น และผู้บริโภคมีความสนใจที่หลากหลาย ตลาดที่เปลี่ยนทำให้ “มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์” เองมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บริษัทสามารถสร้าง “Business Solutions” ให้กับลูกค้าได้รอบด้าน ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ โดยปัจจุบัน มาสเก็ตฯ มีการให้บริการแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก คือ
ความซับซ้อนของผู้บริโภคเชื่อมโยงกับการสร้างแบรนด์ด้วย “คอมมูนิตี้” อย่างไร? ลิษาอธิบายว่า เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดยุคนี้ไม่ควรแบ่งกลุ่มลูกค้าเพียงแค่ เพศ วัย ภูมิลำเนา ฯลฯ เหมือนในอดีต เพราะ “ความสนใจ” หรือ “ไลฟ์สไตล์” ของคนไม่ได้แบ่งตาม “demographic” ที่ใกล้เคียงกันอีกแล้ว
“วันนี้เด็กอายุ 15 ปี อาจจะมีสิ่งที่ชอบต่างกันหลายอย่าง ขณะที่ผู้ใหญ่วัย 30 ปี อาจจะชอบสิ่งเดียวกับเด็กวัย 15 ปีก็ได้ อายุไม่ใช่กรอบจำกัดอีกต่อไปว่าจะต้องชอบเหมือนๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น ทั้งคู่อาจชอบฟังเพลงเหมือนกัน ชอบออกกำลังกายเหมือนกัน หากแบรนด์เข้าใจไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคสินค้าตัวเอง จะสามารถสร้างสังคมความชอบเหมือนกัน ซึ่งจะช่วยให้แบรนด์เข้าไปอยุ่ในใจผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น” ลิษากล่าว
อีกประเด็นหนึ่งคือ ผู้บริโภคยุคใหม่ไม่ได้รอฟังแบรนด์สื่อสารทางเดียวเท่านั้น แต่ชอบที่จะพูดคุยกันเองมากกว่า แบรนด์มีหน้าที่จับกระแสที่สังคมพูดคุยกันมาต่อยอดเป็นการตลาด หรือเรียกว่า “Reverse Marketing”
เมื่อต้องเจาะกลุ่มเป้าหมายตาม “ความสนใจ” และผู้บริโภคยังชอบการพูดคุยกันเอง ทำให้ “คอมมูนิตี้” คือคำตอบที่ใช่
มาสเก็ตฯ ได้หยิบวิธีการนี้มาเป็น “จุดแข็ง” ของบริษัทในการบริการลูกค้าแบรนด์มาตลอด โดยมีทั้งการ “สร้าง” คอมมูนิตี้ให้กับแบรนด์โดยเฉพาะ ผ่านกลยุทธ์ที่กระตุ้นให้เกิดความสนใจโดยกลุ่ม Influencer เพื่อให้เกิดบทสนทนาอย่างต่อเนื่องในคอมมูนิตี้เพื่อที่ในที่สุดผู้บริโภคจะสร้างการสนทนากันเองอย่างเป็นธรรมชาติ จนเกิดความผูกพันกับคอมมูนิตี้และแบรนด์ต่อไป
อีกส่วนหนึ่งคือความเข้าใจของทีมงานต่อคอมมูนิตี้นั้นๆ เพื่อจะจับกระแสในการทำการตลาดต่อได้ เช่น จากการศึกษาอินไซต์ของผู้ใช้รถยนต์รุ่นหนึ่ง พบว่ามีกลุ่มใหญ่ที่เป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำให้มาสเก็ตฯ เข้าไปทำการตลาดผ่านความสนใจของการเป็นผู้ปกครองนักเรียน จนทำให้เกิดกระแสการแนะนำต่อแบบปากต่อปากทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์
ตัวอย่างงานของมาสเก็ตฯ ที่ใช้กลยุทธ์นี้จนประสบความสำเร็จ เป็นแคมเปญแบรนด์ยาชนิดหนึ่ง ซึ่งในทางกฎหมายผลิตภัณฑ์ยาไม่สามารถโฆษณาได้ มาสเก็ตฯ จึงได้ใช้การสร้างคอมมูนิตี้ผ่านโซเชียลมีเดีย ในการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพผู้หญิง จัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ จนกลายเป็นชุมชนที่ผู้หญิงสามารถมาพูดคุยปัญหากัน มีผู้ติดตามกว่า 250,000 คน ซึ่งแพลตฟอร์มนี้กลายเป็นพื้นที่ที่ส่งเสริมผู้หญิงกล้าที่จะปรึกษาเภสัชกรได้ทั่วประเทศ
อีกหนึ่งจุดแข็งของมาสเก็ตฯ คือการปรับตัวใช้เครื่องมือเทคโนโลยีได้รวดเร็ว และนำมาใช้กับการสร้างสรรค์งานให้ลูกค้า ตัวอย่างเช่น แคมเปญของ TRAFFIC องค์กรไม่แสวงหากำไร ที่ต้องการรณรงค์ให้คนไทยหยุดสนับสนุนเครื่องรางที่ทำมาจากอวัยวะสัตว์ป่า เช่น งาช้าง มาสเก็ตฯ จึงสร้างสรรค์ไอเดียร่วมกับการใช้เทคโนโลยี “ยันต์ออนไลน์” ที่ customized เฉพาะบุคคล เป็นการสร้างตัวเลือกใหม่ให้คนเปลี่ยนมาเลือกใช้แทนการใช้เครื่องรางจากสัตว์ป่า
แนวทางของบริษัทที่เน้นเทคโนโลยีมาเป็นแกนหลัก ทำให้ล่าสุดบริษัทมีการพัฒนา Virtual Influencer ขึ้นมาในชื่อ “พะพราว” อินฟลูฯ เสมือนจริงภายใต้คอนเซ็ปต์ “Powerful” ผู้หญิงแกร่ง แข็งแรง มีพลังเหนือธรรมชาติ แตกต่างจากที่มีมาก่อนในตลาดเอเชียซึ่งอินฟลูฯ เสมือนจริงมักจะเป็นหญิงสาวน่ารัก ตัวเล็ก ทำให้พะพราวน่าจะเป็นตัวเลือกใหม่ในวงการได้
ลิษาเชื่อว่า Virtual Influencer น่าจะเริ่มติดตลาดในไทยในปีนี้ และอนาคตน่าจะเป็นที่นิยมมากขึ้นเหมือนกับในญี่ปุ่น ขณะที่แบรนด์จะได้ประโยชน์จากการเลือกใช้อินฟลูฯ เสมือนจริง เพราะสามารถนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ร่วมกันได้ง่ายกว่า เช่น ใช้ระบบ AI ปรับคำพูดหรือท่าทางของพะพราวได้อัตโนมัติเพื่อ personalized ทำโฆษณาที่แตกต่างแยกย่อยให้ลูกค้าแต่ละกลุ่ม หรือให้พะพราว Live ขายสินค้าได้หลายภาษาพร้อมๆ กัน
พะพราว (PAPROUD) อินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง มาพร้อมคอนเซ็ปต์ “1st Powerful Virtual Woman”
สำหรับเทรนด์การตลาดปี 2023 ลิษาเชื่อว่าข้อแตกต่างสำคัญคือ ปีนี้จะเป็นปีที่ผู้บริโภค “Digital Balancing” เริ่มจัดสมดุลการรับสื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ แตกต่างจากช่วง 3 ปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงโควิด-19 ทำให้น้ำหนักการรับสื่อแทบจะอยู่ในโลกออนไลน์ 100% เธอมองว่า สื่อดั้งเดิม เช่น สื่อ Out of Home, สื่อวิทยุ, อีเวนต์การตลาด ฯลฯ จะกลับมามีความสำคัญอีกครั้ง และต้องใช้งานผสมผสานกับสื่อออนไลน์ ทำให้นักการตลาดต้องปรับกลยุทธ์ให้ทันกระแสของผู้บริโภค
“ยุคนี้ 3-4 เดือนเราต้องรีวิวและปรับใหม่แล้ว เพราะทุกอย่างเปลี่ยนเร็วขึ้น เช่น เมื่อต้นปี 2022 TikTok ยังถูกมองว่าเป็นพื้นที่ของเด็ก Gen Z แต่พอถึงปลายปี 2022 ไม่ว่าวัยไหนก็เข้ามาเหมือนกัน และคอนเทนต์ก็มีหลากหลาย ไม่ใช่แค่ความบันเทิงแต่เป็นแหล่งความรู้ คอมมูนิตี้ของผู้ใช้ก็เกิดขึ้น ทำให้แบรนด์ไม่ควรมองข้าม” ลิษากล่าว
ปัจจุบัน มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์ให้บริการลูกค้าแล้วกว่า 100 รายจากหลากหลายวงการ เช่น ยานยนต์ ธนาคาร พลังงาน อาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ค้าปลีก บิวตี้ ฯลฯ และปีนี้บริษัทจะยังคงยึดมั่นในหัวใจการทำธุรกิจคือ ‘Move Us Forward’ ต่อไป พร้อมเคียงข้างลูกค้า พนักงาน และผู้บริโภคปลายทางให้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน
มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์
ติดต่อ มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์ ได้ที่
เว็บไซต์ www.masketcommunications.com
เฟซบุ๊ก Masket Communications : https://bit.ly/PRMasketFB1
อีเมล [email protected]
]]>จะเห็นว่ามีอินฟลูเอนเซอร์เกิดใหม่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะเห็น ดารา มาเปิดช่องทำตัวเองเป็นครีเอเตอร์กันมากขึ้น เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้งานในวงการบันเทิงลดลง โดยทาง พันธ์ศักดิ์ ลิ้มวัฒนายิ่งยง Country Manager of Thailand and Managing Director of Creator Growth AnyMind Group ได้แนะนำว่า การสร้างตัวตนเป็นเรื่องสำคัญ
อินฟลูฯ ที่พึ่งเกิดใหม่ ไม่ได้เป็นระดับ Top ในกลุ่ม (category) โดยเฉพาะกลุ่มที่กว้างมาก เช่น ท่องเที่ยว, ไลฟ์สไตล์ จากนี้ต้อง ลงลึก หรือจับ Sub-Segment โดยปัจจุบัน กลุ่มที่เติบโตมากที่สุดคือ ไฟแนนซ์ โดยเฉพาะเรื่องของคริปโตเคอร์เรนซี
“ถ้าอยู่ในแคกที่มันกว้างมากก็ต้องทำใจ ต้องลงลึกไปให้มากกว่าอย่างโจโฉที่อยู่ดี ๆ ก็โตขึ้นมาได้เพราะเขาจับซับเซกเมนต์ย่อยได้ ดังนั้น ต้องจับซับเซกเมนต์ย่อยให้ได้”
ปัจจุบัน การใช้งานอินฟลูฯ ส่วนใหญ่แบรนด์จะคิดถึงแต่ Top 3-5 ของแต่ละกลุ่ม ดังนั้น เรื่อง แรงกิ้ง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก อินฟลูฯ ที่ต้องการเติบโตต้องวางแผนที่จะ ชิงแอร์ไทม์ จากเหล่า Top ของกลุ่มได้อย่างไรบ้าง ซึ่งอาจเริ่มง่าย ๆ โดยการใช้ Social listening tools มาช่วย เช่น ดูว่าในช่วงที่ผ่านมามีการค้นหาชื่อของใครบ้าง แล้วตัวเองอยู่ตรงจุดไหนในเซกเมนต์ และดูว่าเขาทำคอนเทนต์ยังไงบ้าง
ปัจจุบัน อินฟลูเอนเซอร์จะมี Pain Point ไม่เหมือนกันในแต่ละกลุ่ม สำหรับ Micro/Nano (1,000-20,000 Follower) จะเป็นเรื่องการสร้างการเติบโต ต้องวางกลยุทธ์การผลิตคอนเทนต์ การสร้างการเติบโตของ Follower ในแต่ละแพลตฟอร์ม ระดับกลาง (1-5 แสน Follower) พอเริ่มโตขึ้น จะเริ่มคิดถึงเรื่องการ สร้างรายได้ ไม่ว่าจะเป็นการหาจากแพลตฟอร์มและจากสปอนเซอร์ และจะทำอย่างไรให้สปอนเซอร์ชอบ ส่วน ระดับ Mega จะไม่กังวลเรื่องเงิน แต่จะเป็นเรื่องการสเกลการสร้างเน็ตเวิร์กของครีเอเตอร์
เบื้องต้น ควรจะรู้ถึงวิธีการสร้างรายได้ของแต่ละแพลตฟอร์ม เริ่มจาก
แม้จะยังไม่มีข้อมูลเชิงเปรียบเทียบว่าการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์ของโซเชียลแพลตฟอร์มไหนมีมากที่สุด แต่เทรนด์ที่เห็นคือ ครีเอเตอร์มุ่งไป TikTok
“เราไม่ได้เชียร์ว่าถ้าดังจากแพลตฟอร์มหนึ่ง แล้วควรจะไปต่อที่แพลตฟอร์มอื่นด้วย เพราะเอกลักษณ์ของแต่ละแพลตฟอร์มไม่เหมือนกัน เพียงแต่ว่าครีเอเตอร์ต้องเข้าใจแพลตฟอร์มและวิธีหาเงินของแต่ละแพลตฟอร์ม”
สำหรับแบรนด์ที่จะใช้งานอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้ง สิ่งแรกที่ต้องมีคือ โจทย์ที่ชัดเจน ซึ่งอาจแบ่งหลัก ๆ 3 ข้อ
สิ่งสำคัญคือ ใช้อินฟลูฯ ที่เหมาะสมกับแบรนด์จริง ๆ และที่สำคัญคือ ครีเอทีฟที่ต้องระวังมากขึ้น เพราะถ้าปล่อยให้อินฟลูฯ ครีเอททุกอย่างอาจจะเสียโอกาสที่จะสร้างอิมแพ็ค รวมถึงเป็นไปได้ที่อาจเกิด ดราม่า
อย่างไรก็ตาม แบรนด์ยังมองว่าการทำอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งคือเรื่องของการ ต่อราคา และให้อินฟลูฯ ทำตามสั่ง แต่ในปัจจุบันด้วยจำนวนอินฟลูฯ ที่มหาศาล ทำให้เอเจนซี่หรือแพลตฟอร์มเป็นอีกทางเลือกให้แบรนด์ ที่จะมาช่วยวางแผน และหาอินฟลูฯ ที่เหมาะ และแนะนำข้อควรระวังของอินฟลูฯ นอกจากนี้ ยังมีการเก็บข้อมูลให้ลูกค้าเพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในแคมเปญ
“เราเห็นหลายครั้งที่ให้ครีเอเตอร์คิดเอง หรือแค่ไปแปะไว้เฉย ๆ ซึ่งมันเสียโอกาสเพราะเสียเงินไปแล้ว ดังนั้น การใช้ครีเอทีฟเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งแบรนด์ต้องบาลานซ์ระหว่างแบรนด์และอินฟลูฯ นอกจากนี้ อินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เทคโนโลยี ตอนนี้ตลาดยังไม่ได้แข่งขันกันเองมาก เพราะแบรนด์เลือกจะทำเองมากกว่า”
สำหรับแนวโน้มการทำอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งใน 2-3 ปีจากนี้ คือ แบรนด์ต้องการใช้เงินอย่างคุ้มค่า แบรนด์ระมัดระวังการใช้เงินมากขึ้น และ กลับมามองผลลัพธ์มากขึ้น ให้ความสำคัญกับแค่เอนเกจเมนต์อย่างยอดวิว, ไลก์, แชร์ และคอมเมนต์น้อยลง ต้องการฟีดแบ็กในเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ
“ในเมื่อสภาพแวดล้อมมันเอื้อ คนสั่งของออนไลน์มากขึ้น ข้อจำกัดมันหายไป ดังนั้น การทำการตลาดต่าง ๆ มันสามารถนำไปสู่การขายได้ นี่จึงเป็นชาเลนจ์ของนักการตลาด”
แม้ว่าเรื่องของ Metaverse จะเป็นกระแสของปีนี้ ทำให้เห็นการใช้ Virtual Influencer ในบางองค์กร แต่มันก็ยังมีความท้าทายถ้า ไม่สามารถสร้างความผูกพันกับผู้ชมได้ ซึ่งอาจจะทำให้ Virtual Influencer ไม่สามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้ในไทย เพราะความสัมพันธ์ในเชิงอารมณ์มีบทบาทกับประสบการณ์ร่วมมาก ดังนั้น ขึ้นอยู่ที่ความสามารถในการสร้างการสื่อสารระหว่าง Virtual Influencer กับกลุ่มเป้าหมายมากกว่า แต่ในกรณีของอนาคต ถ้า Metaverse เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตคนมากขึ้น มีการ Adopt Technology นี้มากขึ้น ก็อาจจะเป็นส่วนช่วยเสริมให้ Virtual Influencer มีโอกาสมากขึ้น
ปัจจุบัน Anymind ได้มีการจัด webinar ให้อินฟลูเอนเซอร์มาแลกเปลี่ยนความรู้ประมาณ 2 ครั้ง/เดือน เพื่อช่วยแก้ Pain Point ที่เจอ หรือแนะนำแนวทางหากแพลตฟอร์มโซเชียลมีการปรับเปลี่ยนอัลกอริทึม เพื่อให้อินฟลูเอนเซอร์สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรง
ซึ่ง Anymind ก็คาดหวังว่า เมื่อบริษัททำงานใกล้ชิดกับเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ โอกาสทางธุรกิจต่าง ๆ ก็จะตามมา เช่น มีเครือข่ายอินฟลูฯ ที่แข็งแรง สามารถหาคนได้ตรงตามความต้องการลูกค้า Win-Win ทุกฝ่าย
“ปัญหาของตลาดตอนนี้คือ อินฟลูฯ ล้นตลาด มีเกิดใหม่ตลอดเวลา เราเองต้องมีทีมงาน Influencers Discovery เพื่อแอดอินฟลูฯ หน้าใหม่เข้าระบบทุกวัน ขณะที่เราเองก็ทำงานกับครีเอเตอร์ทุกเธียร์ ดังนั้น เราจึงอยากสร้างคอมมูนิตี้ที่เฮลท์ตี้ขึ้นมา เพื่อให้อินฟลูฯ เขาเติบโตได้”
]]>คนไทยเกือบ 70% มีการติดตาม Influencers อย่างน้อย 1 คน โดยเฉพาะในกลุ่มเพศหญิงที่มีแนวโน้มจะติดตามมากกว่าผู้ชาย ซึ่งเหล่า Influencers เหล่านี้มักส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค ทั้งจากความชื่นชอบ ไว้วางใจ และโปรโมชันที่ถูกนำเสนอ
จากประสิทธิภาพดังกล่าว ทำให้ตลาด Influencers มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากตัวเลขของ DAAT คาดการณ์เม็ดเงินโฆษณาบนโซเซียลมีเดียของปี 2021 อยู่ที่ 2,113 พันล้านบาท โดยเฉพาะส่วนของตลาด Influencers คิดเป็น 9.1% จากยอดการการซื้อสื่อออนไลน์ทั้งหมด จากปีที่ผ่านมามีสัดส่วน 8.9% ขณะที่ตลาด Influencers ทั่วโลกมีมูลค่าถึง 4.6 แสนล้านบาท
“เพราะจากการเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่าย บวกกับความใฝ่ฝันของเด็กรุ่นใหม่ที่ต้องการเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ ทำให้อินฟลูฯ เพิ่มมากขึ้น ขณะที่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและความต้องการแบบใหม่ยิ่งทำให้กลุ่มผู้บริโภคมีความเฉพาะเจาะจงและหลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ ตั้งแต่เกิดโรคระบาดที่ทำให้ผู้บริโภคมีการเสพสื่อมากขึ้น ตลาดก็ยิ่งเติบโต”
นอกจากการแบ่งตามจำนวนแล้ว ประเภทของ Influencers ก็มีความหลากหลายโดยแบ่งไปตามประเภทและความเชี่ยวชาญของ Influencers นั้น ๆ โดยปัจจุบัน ก็มีหมวดหมู่ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาอีก แทบครอบคลุมทุกการตลาด ได้แก่
ในปี 2021 นี้ ผู้บริโภคมองหาความเชื่อมั่นของแบรนด์จากเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ ดังนั้น แบรนด์ควรเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่มีแนวความคิดและไลฟ์สไตล์ที่ สอดคล้องกับความเชื่อของแบรนด์ เมื่อเป็นช่นนี้แล้วก็จะได้คอนเทนต์ที่มี ความจริงใจ ต่อผู้บริโภคในท้ายที่สุด และแบรนด์ควรมีพื้นที่และวิธีการที่จะสนับสนุนให้ลูกค้าของแบรนด์ได้แสดงความคิดเห็นและสนับสนุนกับเพื่อนและครอบครัวจากใช้จริง
อย่างไรก็ตาม แบรนด์ควร ให้อิสระต่ออินฟลูเอนเซอร์ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ และแบรนด์ไม่ควรทิ้งเรื่อง บิ๊กดาต้าและเทคโนโลยี ในการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์เพื่อการเขาถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แน่นอนว่าการโฆษณาทุกครั้งจำเป็นต้องสร้าง Conversion แต่การจะเอาตัวยอดขายมาวัดประสิทธิภาพของอินฟลูเอนเซอร์ จะเป็นการ กดดันอินฟลูฯ เกินไป ซึ่งสิ่งที่อินฟลูฯ ถนัดคือ การชี้นำว่าสินค้าเหมาะหรือดีอย่างไร จากนั้นติดลิงก์หรือช่องทางการซื้อขาย เป็นต้น
“ตอนนี้ความท้าทายสุดของแบรนด์คือ จะหาอินฟลูฯ ที่เหมาะกับแบรนด์ได้อย่างไร และแบรนด์ต้องทำให้จริงใจที่สุดเท่าที่จะทำได้ และไม่จำเป็นว่าทำให้ไม่รู้ว่าเป็นโฆษณา เพราะผู้บริโภคเขารู้อยู่แล้ว แต่ถ้ามันเป็นสิ่งที่เข้ากับความต้องการของเขาหรือเขาสนใจหรือให้ความบันเทิง เขาก็ไม่สนใจว่าเป็นโฆษณา”
การทำวิดีโอในปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งแบบสั้น (Bite-Side) เช่น TikTok, Stories, Reels, เป็นต้น วิดีโอแบบปกติ และแบบ Live-Streaming โดยแต่ละแบบก็มีจุดเด่นในการทำแคมเปญแตกต่างกัน
อย่าง Bite-Side ที่สั้น ย่อยง่าย เน้นดึงความสนใจของคนในปัจจุบัน แบรนด์อาจจะใช้สร้างอแวร์เนส อย่างไรก็ตาม แบรนด์จะเลือกใช้เครื่องมือหรือแพลตฟอร์มไหนก็ต้องดูว่าต้องการสื่อสารแบบไหน เช่น บน TikTok เน้นสนุกสนาน, บน Instagram เน้นความครีเอทีฟ บน Twitter เน้นการแลกเปลี่ยนพูดคุย แบรนด์จึงต้องเข้าใจตัวเองว่าต้องการอะไร
ส่วน วิดีโอทั่วไป จะมีข้อดีคือ สามารถสร้างใช้เพื่อสร้างแบรนด์ เพราะสามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ เนื่องจากวิดีโอยาว สามารถใส่สตอรี่ได้มากกว่า ส่วนการ LIVE มีความเรียล มีความสนุกที่ได้ตอบโต้ ช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกว่ามีส่วนร่วมและช่วยกระตุ้นให้รีบตัดสินใจ
นอกจากนี้ การนำอินฟลูฯ มาช่วยสร้างแบรนด์หรือ Co-Creation ก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะอินฟลูฯ ใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากกว่าแบรนด์ สามารถสร้างภาพลักษณ์ได้ อาทิ การจับมือกับเชฟ ออกแบบรสชาติผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และไม่ใช่แค่หยุดกับอินฟลูเอนเซอร์ แต่สามารถนำไอเดียผู้ใช้มาพัฒนาแบรนด์ได้
ตอนนี้อินฟลูเอนเซอร์แข่งกันเองมากขึ้น มีทั้งเกิดใหม่และดร็อปลงไป แต่ไม่มีใครเป็นผู้นำในแต่ละกลุ่ม ดังนั้น พยายาม รักษาความเป็นตัวเอง ก็จะอยู่ได้นาน อย่างไรก็ตาม ก็ต้องปรับตัว เช่น พยายามทำคอนเทนต์ให้คนสนใจ ส่วนการมาของเวอร์ชวลอินฟลูเอนเซอร์ ถือเป็นเรื่องใหม่ที่น่าสนใจมาก แต่จะยั่งยืนไหมขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะปรับเข้ากับ Metaverse ได้ไหม ถ้าผู้บริโภคไม่โอเคก็อาจจะไม่ยั่งยืน แต่เชื่อว่ากลุ่มเทคโนโลยีจะนำเข้ามาปรับใช้ก่อน
]]>แน่นอนว่าการที่เหล่าดารา นักร้อง หรือคนดังเริ่มออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลนั้น กำลังสร้างความลำบากใจให้กับ แบรนด์ ต่าง ๆ ที่เคยทำหรือมีแผนที่จะทำ อินฟลูเอนเซอร์ มาร์เก็ตติ้ง โดย ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด (MI) ได้แสดงความคิดเห็นว่า จากนี้แบรนด์ต้องคิดมากขึ้นหากจะใช้อินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้ง
การออกมา Call Out ของดารา คนดัง และอินฟลูเอนเซอร์ต่าง ๆ ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและหลากหลายมากขึ้นทำให้แบรนด์ส่วนหนึ่ง เลิกใช้อินฟลูเอนเซอร์ ทั้งที่ ออกและไม่ออก มา Call Out เนื่องจากแบรนด์ไม่กล้าที่จะเสี่ยงยุ่งเกี่ยว เพราะประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่อง ละเอียดอ่อน ไม่รู้ว่าจะส่งผลด้านไหนกับแบรนด์ ดังนั้น แม้ว่าแบรนด์เองจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตามแต่จะ ไม่แตะเรื่องนี้ เป็นเรื่องปกติ
“ตอนนี้การ Call Out มันอยู่ในวงกว้างขึ้น ไม่ใช่ว่าเราไม่ใช้คนนี้ เราหนีไปใช้อีกคน ตอนนี้มันไม่ได้ ดังนั้น แบรนด์จึงเลือกที่จะหยุดไปเลยเพราะแบรนด์รู้ตัวว่าไม่สามารถคุมอินฟลูเอนเซอร์ได้ ไม่เหมือนการใช้พรีเซ็นเตอร์ที่มีสัญญาชัดเจน ดังนั้นดาราบางคนไม่ออกมา Call Out อาจติดสัญญาอยู่”
ด้วยตลาดและกลุ่มเป้าหมายในการทำตลาดในปัจจุบัน การใช้งานอินฟลูเอนเซอร์ถือว่าตอบโจทย์และเนียนที่สุด เพราะการที่แบรนด์ต้องคุยกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความหลากหลายมากขึ้น ดังนั้น อาจทำให้แบรนด์ โยกเม็ดเงินไปทำอย่างอื่นที่ไม่เสี่ยงแทน เช่น ยิงแอดใน Facebook เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีอะไรทดแทนอินฟลูเอนเซอร์ได้ ดังนั้น ถือเป็นอีกเรื่องใหม่ที่แบรนด์และนักการตลาดต้องปรับตัว และเป็นที่น่าเสียดายที่เงินไม่สะพัดในอินฟลูเอนเซอร์
สำหรับแบรนด์ที่กำลังใช้พรีเซ็นเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์ที่มีการ Call Out รุนแรง ถือเป็นความท้าทายของแบรนด์ เนื่องจากการแอคชั่นใด ๆ ก็ตามอาจส่งผลกระทบได้ เช่น การถอดโฆษณาก็จะถือว่าไม่สนับสนุนดารา Call Out เป็นต้น ดังนั้น ด้วยความละเอียดอ่อนของสถานการณ์ทำให้ไม่มีแบบแผนตายตัวถือเป็นโจทย์ยากของเหล่านักการตลาด
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดอินฟลูเอนเซอร์ มาร์เก็ตติ้งมีการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอินฟลูเอนเซอร์กำลังมี อิทธิพล อย่างมากกับผู้บริโภค เป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงที่สำคัญของแบรนด์ เพราะชาวโซเชียลกว่า 47 ล้านรายในไทยมีการติดตามอินฟลูเอนเซอร์อย่างน้อย 1 คน และในปีที่ผ่านมามีการใช้อินฟลูเอนเซอร์เพิ่มขึ้นกว่า 20% ปัจจุบัน คิดเป็น อันดับ 3 ของภาพรวมดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง มีสัดส่วน 10%
“ที่ผ่านมาตลาดเติบโตมาโดยตลอด และปีนี้ที่เราคาดว่าตลาดโฆษณาออนไลน์จะโตได้ 10-20% แต่พอมาเจอโควิดระลอก 3-4 เราเริ่มไม่มั่นใจว่าจะเติบโตอย่างที่คาด ขณะที่ภาพของตลาดอินฟลูเอนเซอร์ก็ยังประเมินไม่ได้ว่าจะเติบโตหรือลดลงจากปีที่แล้ว”
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่เรื่องการเมืองผ่านการเปลี่ยนผ่านหลายยุคหลายสมัย จากการแบ่งแยกเสื้อเหลือง เสื้อแดง มาถึงกปปส. และล่าสุดกับม็อบราษฎร
การแบ่งพรรคแบ่งพวกเริ่มมีให้เห็นมานานแล้ว แต่ก่อนถ้าดาราคนไหนที่ประกาศจุดยืนนชัดเจนว่าเป็นฝั่งนี้ ก็อาจจะถูกแบน หรือไม่มีงานไปได้ ยกตัวอย่างกรณี ฟลุ๊ค เดอะสตาร์ เพราะไม่มีใครกล้าจ้างงาน ไม่อยากเข้าไปเสี่ยง
แต่ในยุคนี้ก็เริ่มมีดารา นักร้อง รวมถึงเน็ตไอดอล อินฟลูเอนเซอร์ต่าง ๆ ประกาศจุดยืนมากขึ้น เริ่มมา Call Out พูดถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในสังคมไทย อย่าง ทราย เจริญปุระ, เพชร กรุณพล, แอมมี่ เดอะ บอททอม บลู, มิลลิ และอื่น ๆ อีกมากมาย เพราะยุคนี้มีการเข้าถึงสื่อมากขึ้น ใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารมากขึ้น
ดารากลุ่มนี้ก็มีทั้งกลุ่มที่ต่อต้าน และกลุ่มที่สนับสนุน กลุ่มที่ต่อต้านอาจจะแบนผลงาน และธุรกิจส่วนตัวไปเลย ส่วนกลุ่มที่สนับสนุนก็ยังตามซัพพอร์ตอยู่เสมอ แต่ถ้าถามถึงงานในวงการบันเทิง ก็เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เพราะอย่างที่ทราบว่า แบรนด์ หรือผู้จัดอาจจะไม่อยากเสี่ยงก็ได้
การที่ภาครัฐออกมาตรวจสอบดารา-นักร้องที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 มองว่าเป็นการเติมเชื้อไฟให้กับกลุ่มคนที่มีทัศนคติเดียวกัน ดังนั้น ยิ่งทำให้เกิดภาพลบและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง ซึ่งอาจจะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก
“เราไม่แน่ใจว่ารัฐต้องการออกมาเบรกไม่ใช่ดารามา Call Out หรือเปล่า หรือคิดเฉพาะแง่การบังคับใช้กฎหมายด้านเดียว เพราะสายตาคนนอกมันเป็นการยิ่งเติมเชื้อมากกว่า เนื่องจากไม่ใช่การเล่นกับดารา แต่เป็นการออกมาเล่นกับประชาชนที่เรียกร้องให้ดาราออกมา Call Out”
สุดท้าย การ Call Out คงไม่จบง่าย ๆ ไม่ว่าสถานการณ์จะดีหรือไม่ดีขึ้นก็ตาม เพราะการ Call Out ถือเป็นการสะท้อนเสียงของพวกเขา ขณะที่แบรนด์เองคงต้องหลีกเลี่ยงการใช้อินฟลูเอนเซอร์ มาร์เก็ตติ้งเพราะมองว่าไม่สามารถควบคุมความเสี่ยงได้
]]>ด้วยความที่อินฟลูเอนเซอร์ในไทยมีจำนวนมาก แต่การที่แบรนด์จะหาอินฟลูฯ ที่ตรงกับงานก็ยาก นอกจากนี้ยังมีเรื่องการวัดผลต่าง ๆ ส่วนอินฟลูฯ บางคนก็ทำเป็นงานอดิเรก ซึ่งก็อาจมีปัญหาเรื่องการคิดเรตราคาต่าง ๆ ดังนั้น เหล่าเอเจนซี่จึงเข้ามาเป็นตัวกลางในการจัดการให้ อย่าง ‘Tellscore’ หรือ ‘Revu’ ของกลุ่มเอเจนซี่ ‘YDM Thailand’ ที่จัดหาอินฟลูฯ ให้แบรนด์
โดยข้อมูลจาก DAAT พบว่า มูลค่าตลาดของอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งคาดว่าสูงถึง 1.8 พันล้านบาท เติบโตขึ้น 32% ซึ่งมูลค่าดังกล่าวยังไม่ร่วมแคมเปญที่อยู่นอกระบบไม่ผ่านเอเจนซี่ ซึ่งเกิดจากการดีลงานเองของแบรนด์ย่อย ๆ กับเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งตลาดจ้างตรงหรือ ‘ไมโครทรานซ์แซคชั่น’ อาจจะใหญ่กว่าผ่านเอเจนซี่ด้วยซ้ำ
ด้วยช่องว่างตรงนี้ที่เหล่าแบรนด์ย่อย ๆ หรือ SME ที่ดีลกับอินฟลูฯ เอง ทำให้ ‘Rabbit Digital Group’ เห็นเป็นโอกาสในการทำแพลตฟอร์ม ‘Pickle’ ที่จะช่วยให้ทั้ง ‘อินฟลูเอนเซอร์’ และ ‘แบรนด์’ สามารถเลือกกันและกันได้เอง เพื่อให้ตรงใจทั้งอินฟลูฯ และตรงใจแบรนด์ที่สุด
“เราเห็นเทรนด์ Influencer marketing platform มาประมาณปีครึ่ง แม้ตลาดตอนนี้จะมีการแข่งขันสูงพอตัว แต่เรายังเห็นโอกาสที่ไมโครอินฟลูเอนเซอร์ เพราะบางคนเขาอยากจะรับงานแบรนด์ที่เขาอยากทำ แต่ก็จะเจอแต่แบรนด์ที่เขาไม่ชอบ ส่วนแบรนด์ก็ไม่รู้จะติดต่ออินฟลูฯ เหล่านั้นยังไง จะใช้บริการเอเจนซี่ก็ไม่มีงบมากขนาดนั้น เราจึงเป็นตัวกลางให้เขาเลือกกันและกัน” รุ่งโรจน์ ตันเจริญ Head of Rabbit X, Co-founder of Rabbit Digital Group กล่าว
Pickle เป็น ‘Influencer marketing platform’ ที่เป็น ‘App Base’ โดยจะออกมาสำหรับฝั่งของ ‘แบรนด์’ และ ‘อินฟลูเอนเซอร์’ โดยแบรนด์จะสามารถกรอกรายละเอียดของแคมเปญ ค่าตอบแทนที่อินฟลูเอนเซอร์จะได้รับ (ให้เป็นของหรือเงินก็ได้) พร้อมกับระบุประเภทอินฟลูเอนเซอร์ที่ต้องการ โดยทางแอปฯ จะเลือกอินฟลูฯ ที่ตรงกับความต้องการให้ แบรนด์เองสามารถเลือกได้ว่าจะร่วมงานกับใคร จากนั้น ฝั่งอินฟลูเอนเซอร์ที่ถูกเลือกโดยแบรนด์ก็จะสามารถเลือกได้ว่าจะรับงานหรือไม่ ถ้าตกลงก็สามารถพูดคุยกับแบรนด์ได้เลย โดยหลังจบแคมเปญ Pickle จะช่วยแบรนด์วิเคราะห์ผลลัพธ์ได้ทันที
“อินฟลูเอนเซอร์เป็นการพาร์ตเนอร์ชิพ เป็นเหมือนกับ ‘แบรนด์ 2 แบรนด์’ มาอยู่ด้วยกัน ดังนั้น ความจริงใจเป็นสิ่งสำคัญ แบรนด์อย่าไปบังคับ ให้อินฟลูฯ เป็นตัวของตัวเอง และถ้าอินฟลูฯ ได้ทำกับแบรนด์ที่ชอบอยู่แล้วเขาจะหามุมพูดอย่าง ‘จริงใจ’ บางทีเรื่องเงินเป็นเรื่องรองด้วยซ้ำ ดังนั้น การแมตช์ระหว่างอินฟลูฯ กับแบรนด์จึงสำคัญ”
เบื้องต้น Pickle จะเน้นที่อินฟลูเอนเซอร์บน ‘Instagram’ อย่างเดียว ซึ่งปัจจุบัน ทาง Pickle จะรับเฉพาะอินฟลูฯ ที่มียอดผู้ติดตาม 3,000 คนขึ้นไป ปัจจุบันมีอินฟลูฯ เข้ามาสมัครประมาณ 1,000 คน ส่วนแบรนด์ที่เข้ามาใช้งานมีประมาณ 200 แบรนด์ตั้งแต่เปิดให้ใช้งานได้ 3 เดือน มียอดดาวน์โหลด 1,700 ครั้ง ปัจจุบัน แพลตฟอร์มให้ใช้งานฟรีถึงสิ้นปีนี้ คาดว่าจะเริ่มเก็บค่าบริการปีหน้า โดยกำลังคิดบิสซิเนสโมเดลอยู่
“เราเตรียมทำแคมเปญจะรวมร้านดังในไอจีมาแมตช์กับอินฟลูฯ เพื่อขยายตลาด โดยเราตั้งเป้าที่จะมีอินฟลูฯ ในระบบให้ได้หลัก 1,000 คนภายในปีนี้ และจะขยายไปยังแพลตฟอร์มอื่น อย่าง Facebook ในปีหน้า”
สุนาถ ธนสารอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แรบบิท ดิจิทัล กรุ๊ป กล่าวว่า ย้อนไป 10-20 ปีก่อน แบรนด์จะทำอะไรก็จะใช้เอเจนซี่หมด แต่ทุกวันนี้ไม่จำเป็น บางแบรนด์มีทีมในบริษัทตัวเอง บางแบรนด์ต่อตรงไปที่อินฟลูเอนเซอร์เลย เพราะแคมเปญเล็ก ๆ อินฟลูฯ สามารถจัดการให้ได้หมด ขณะที่คู่แข่งก็มีมากขึ้นทั้งจากในและต่างประเทศโดยเฉพาะ ‘Martech’ หรือเทคโนโลยีสำหรับการตลาด ดังนั้น เอเจนซี่จะอยู่ได้ต้องทำงาน ‘เฉพาะทาง’ (Specialist) มากขึ้น เช่น การวิเคราะห์ดาต้าต่าง ๆ หรือสามารถดูแลลูกค้าตั้งแต่ ‘ต้นจนจบ’ ได้
“ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเอเจนซี่ค่อนข้างเติบโต แต่ในปีที่ผ่านมาไม่ได้เติบโตขึ้นเพราะโควิด โดยเริ่มฟื้นในครึ่งปีหลังและช่วงต้นปี 2021 แต่การเปลี่ยนแปลงในเทรนด์คือ เอเจนซี่ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน งานโอเปอเรชั่น งานเล็ก ๆ ย่อย ๆ จะหายไป แต่งานที่ต้องการคุณค่าเอเจนซี่มีบทบาทมากขึ้น”
อย่างไรก็ตาม คงไม่สามารถคาดการณ์ตลาดมาร์เก็ตติ้งในปีนี้ได้ เพราะยังมีความ ‘ไม่แน่นอน’ มีเยอะ ทั้งสถานการณ์ COVID-19 ทั้งการแข่งขัน และการเมือง ขณะที่เทรนด์ที่เห็นคือ แบรนด์ต้องการคือ ‘คอนเวอร์ชั่น’ ว่าจะมียอดขายกลับมาได้มากน้อยแค่ไหนในแต่ละแคมเปญ นอกจากนี้ ความ ‘Authenticity’ (ความถูกต้องจริงใจ) จะเป็นพื้นฐานสำคัญของการตลาด และการตลาดที่บังคับคนดูจะค่อย ๆ หายไป
]]>