Interceptor – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 11 Nov 2019 03:28:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไทยลุ้น! เป็นประเทศที่ 5 ใช้ Interceptor เรือเก็บขยะแม่น้ำลำแรกของโลก https://positioningmag.com/1253052 Sat, 09 Nov 2019 16:56:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1253052 เรือเก็บขยะแม่น้ำลำแรกของโลก ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังแสงอาทิตย์ 100% ชื่อว่า Interceptor โดย The Ocean Cleanup องค์กรเก็บขยะในทะเลใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเพิ่งจะเปิดตัวเมื่อเร็วๆ นี้ พร้อมเป้าหมายจะจัดการกับขยะในแม่น้ำ 1,000 แห่ง (คิดเป็นประมาณ 1 % ของแม่น้ำทั่วโลก)

และถ้านำไปใช้ในแม่น้ำที่มีความสำคัญแล้ว สามารถลดปริมาณขยะลงทะเลถึง 80% ของขยะทั้งหมด ก่อนสิ้นปี 2568

เรือ Interceptor มีประสิทธิภาพเก็บขยะ 50,000 – 100,000 ชิ้นต่อวัน สามารถทำงานตลอดวันตลอดคืน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่เก็บเอาไว้ในแบตเตอรี่

เมื่อวานก่อน Boyan Slat ผู้ก่อตั้งโครงการ The Ocean Cleanup ที่ตอนนี้กลายเป็นโครงการเก็บขยะใหญ่ที่สุดในโลก เดินทางมาประเทศไทยเพื่อพบกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วราวุธ ศิลปะอาชา พร้อมมีการหารือถึงความร่วมมือในการเก็บขยะในแม่น้ำของไทย

เพจ TOP Varawut – ท็อป วราวุธ ศิลปะอาชา ได้โพลต์ถึงเรื่องนี้ว่า

ผมมีโอกาสได้ต้อนรับเจ้าของโครงการตัวจริง Boyan Slat ซีอีโอ Ocean Cleanup Foundation ที่คิดค้นทุ่นดักขยะทะเล ในการใช้กำจัดแพขยะในมหาสมุทรครับ

Boyan Slat เริ่มต้นโปรเจคท์ทุ่นดักขยะทะเล ตั้งแต่อายุ 19 ปีครับ ในปี 2012 เขาได้นำไอเดีย ทุ่นดักขยะ โครงสร้างกว้าง 100 กิโลเมตรไปเสนอในงาน TEDxTalk ที่เนเธอร์แลนด์ ในปี 2013 Boyan Slat ตัดสินใจพักการเรียนในมหาวิทยาลัย เพื่อมาก่อตั้งองค์กร The Ocean Cleanup อย่างเป็นทางการ

ต่อมาในปี 2014 เขาและเพื่อนร่วมทีมอีกกว่า 100 คน ได้ทำเครื่องกำจัดขยะรุ่นทดสอบขึ้น จนปัจจุบัน เขาได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องกำจัดขยะที่มีขนาดใหญ่ขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีขนาด 2,000 เมตร จนกลายเป็นโครงสร้างลอยน้ำจากฝีมือมนุษย์ที่ยาวที่สุดในโลก ที่คาดว่าจะสามารถ กำจัดขยะในมหาสมุทรได้ถึง 42% น้ำหนักกว่า 70 ล้านกิโลกรัม โดยวิธีนี้จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 4.53 ยูโร ต่อขยะ 1 กิโลกรัม หรือเพียง 155 บาทเท่านั้นครับ

ก่อนหน้า เรือลำนี้เริ่มทดลองใช้จริงแล้ว 2 ลำ ในประเทศอินโดนีเซีย และ มาเลเซีย โดยลำที่ 3 จะใช้ที่เวียดนาม ลำที่ 4 ที่ประเทศโดมินิกัน และมีความเป็นไปได้ ที่ประเทศไทยจะนำมาใช้เป็นลำที่ 5 หากว่าบรรลุในข้อตกลง

Boyan กล่าวว่า เรือลำนี้เป็นแค่ระบบสำรองกรณีที่ขยะหลุดลงแม่น้ำเท่านั้น การจัดการบนบกยังสำคัญกว่ามาก และไม่ควรคิดว่า Interceptor เป็นทางออก แต่เป็นระบบที่ช่วยเหลือมากกว่า

Source

]]> 1253052