JAS – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 05 Jul 2022 13:38:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะลึก “กัลฟ์” ชูยุทธศาสตร์บันได 3 ขั้น ดัน AIS ครองตลาดสื่อสารเบ็ดเสร็จ หลังประกาศซื้อกิจการ 3BB https://positioningmag.com/1391411 Tue, 05 Jul 2022 13:08:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391411 ทำไม AIS จึงประกาศการซื้อกิจการ 3BB ในช่วงเวลานี้?! หากจะทำความเข้าใจต้องศึกษาประวัติศาสตร์ของ JAS บริษัทแม่และผู้ให้บริการ 3BB และในครั้งนี้เป็นการเดินเกมหมากกลทางธุรกิจ ผ่านวิศวกรรมการเงินหรือไม่

แหล่งข่าวจากนักวิเคราะห์เปิดเผยว่า หมากกลทางธุรกิจ เอไอเอส ในยุค “กัลฟ์” คุมยุทธศาสตร์แบบเฉียบคม แบบรวบหัวรวบหาง กับการซื้อกิจการ 3BB เพื่อต่อรอง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กดดันดีลควบรวม ทรู-ดีแทค หวังผลให้ กสทช. คิดหนัก เพื่อให้เห็นการมีจำนวนผู้แข่งขันลดลง การแข่งขันจะลดลง ซึ่งสวนทางการการเคลื่อนไหวในตลาดที่เพิ่มความร้อนแรงในการแข่งขันทันที เมื่อตลาดมีผู้เล่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันมากขึ้น

คำถามที่สำคัญคือ หากจะทำความเข้าใจต้องศึกษาประวัติศาสตร์ของ JAS บริษัทแม่ และผู้ให้บริการ 3BB ที่ขึ้นชื่อในประวัติศาสตร์โทรคมนาคมไทย เรื่องมรดกบาปทิ้งการประมูลคลื่น 900 MHz ที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด เคาะประมูลในล็อตที่ 1 ได้ในราคาสูงถึง 75,654 ล้านบาท จนเกิดสมมุติฐาน “ทฤษฎีการสมคบคิด” เพื่อเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจกับ “ใครบางคน” หรือไม่

และรวมทั้งตั้งข้อสงสัยไปถึงการทำกำไรจาก “ตลาดหุ้น” ที่ดังอึงมี่ไปทั่วทั้งแผ่นดิน ได้มากกว่าเสีย กับกรณียอมให้ กสทช. ยึดเงินค้ำประกัน 644 ล้านบาท หลังไม่สามารถหาเงินมาชำระค่าใบอนุญาตงวดแรก ตีความได้หรือไม่ว่า การเคาะราคาที่ผู้คนมองว่า “บ้าระห่ำ” นั้น มีจิตเจตนาเพื่อลาก “บริษัทผู้เข้าร่วมประมูลบางราย” ให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนครั้งนี้เป็นจำนวนมหาศาลหรือไม่

ดังนั้น การประกาศซื้อกิจการครั้งนี้ ต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกัน ทำให้เห็นว่า โทรคมนาคม มีความซับซ้อน ซึ่งการซื้อกิจการของ 3BB ในครั้งนี้ ก็มีคำถามไม่ต่างกัน ว่า เป็นการเดินเกมหมากกลทางธุรกิจ ผ่านวิศวกรรมการเงินหรือไม่ เพราะเพียงแค่วันแรก เอไอเอส ก็กำไรส่วนต่างจากราคาหุ้นของ JAS แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว โดยสุดท้ายก็ยังไม่รู้ว่า เอไอเอส จะต้องการซื้อ 3BB จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่เวทมนตร์ทางการเงินทางธุรกิจเท่านั้น ต้องติดตามกันใกล้ชิด

ยุทธศาสตร์ “บันได 3 ขั้น” สู่การเป็นผู้นำตลาดสื่อสารของเอไอเอสนั้น

เริ่มจากบันไดขั้นที่ 1 คือ การเข้ามาของกัลฟ์ที่ข้ามห้วยมาจากธุรกิจพลังงาน ขยายฐานมาสู่ ธุรกิจเทเลคอม เป็นหนึ่งในหลายธุรกิจที่เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมดิจิทัล เพราะหากได้โครงสร้างพื้นฐานทั้งพลังงาน และสื่อสารแล้ว จะถือว่ามีความครบครัน จึงไม่น่าแปลกใจที่เห็นความเคลื่อนไหวของธุรกิจขนาดใหญ่ อย่างเจ้าแห่งวงการพลังงานอย่าง “กัลฟ์” (GULF) เข้าเทกโอเวอร์หุ้นใหญ่ของอินทัช (INTUCH) ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2564 โดยบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ได้ทำการเสนอซื้อหุ้น บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ หรือ INTUCH

ทำให้ปัจจุบัน กลุ่มกัลฟ์ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน INTUCH ในสัดส่วนรวมกัน 42.25% ขณะที่ INTUCH เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 ใน บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ ADVANC ทำให้ยุทธศาสตร์ของเอไอเอส มีความคมคายมากขึ้น ส่งผลให้เอไอเอสเปลี่ยนท่าทีจากที่ไม่คัดค้านการควบรวมทรูดีแทค เพราะมองว่า เอไอเอส ก็ยังได้เปรียบ มาสู่ท่าทีการคัดค้านอย่างชัดเจน เป็นธงของผู้ถือหุ้นใหม่ที่ปรับให้เอไอเอสมีเชิงรุกมากขึ้นในการบอนไซคู่แข่งในอุตสาหกรรม

จังหวะการก้าวเข้าสู่ธุรกิจเทเลคอมของ กลุ่มกัลฟ์ จึงเป็นบันไดขั้นแรก และเป็นก้าวสำคัญที่เสริมความแข็งแกร่งให้ AIS อย่างมีนัยสำคัญ เรียกได้ว่า ติดปีกให้กับเจ้าตลาดผู้ให้บริการมือถือในไทยได้ต่อยอดธุรกิจอย่างก้าวกระโดดด้วยความพร้อมของกัลฟ์ทั้งในด้านเงินทุนและเครือข่ายธุรกิจที่กว้างขวาง

อีกทั้งยังมี สิงเทล (Singtel) ยักษ์ใหญ่ในวงการโทรคมนาคมของสิงคโปร์ ที่ถือหุ้นใน AIS มายาวนาน จากข้อมูลโครงสร้างผู้ถือหุ้นของ AIS มีผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 40.44% และ Singtel Strategic Investments Pte. Ltd. จำนวน 23.31%

หลังจากที่ กลุ่มกัลฟ์ เข้ามาถือหุ้นใหญ่ใน อินทัช เพียงไม่กี่เดือน ก็เห็นผลเชิงธุรกิจทันที เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 GULF ได้ลงนามร่วมพัฒนาธุรกิจกับ Singtel และ AIS รุกพัฒนาธุรกิจ Data Center ในประเทศไทย ซึ่งเป็นการผนึกความแข็งแกร่งของทั้ง 3 บริษัท โดย GULF มีประสบการณ์ในธุรกิจผลิตไฟฟ้าและธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งในและต่างประเทศ และเครือข่ายทางธุรกิจที่กว้างขวาง

ขณะที่ AIS มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและดำเนินธุรกิจ Data Center หลายแห่งในประเทศไทย รวมถึงมีประสบการณ์ในการให้บริการแก่ลูกค้าองค์กรมากมาย และ Singtel มีประสบการณ์และความชำนาญในด้านเทคโนโลยีสำหรับ Data Center และมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งและหลากหลายทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ระดับโลก

บันไดขั้นที่ 2 ของ AIS เดินเกมธุรกิจ 5G อย่างแยบคาย โดยเมื่อเดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา มีรายงานข่าวว่า บอร์ดบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ NT ได้ตัดสินใจเลือกให้ AIS เป็นพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจ โดย NT จะแบ่งคลื่น 700 MHz ให้ AIS ครึ่งหนึ่ง หรือ เป็นจำนวน 5 MHz (ตามที่บริษัทเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่น 700 MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต ในย่านความถี่ 738-748 MHz คู่กับ 793-803 MHz ด้วยราคา 34,306 ล้านบาท จาก กสทช.)

ดีลนี้ AIS ยิงกระสุนนัดเดียว ได้นกสองตัว คือ สกัดผู้เล่นอย่าง NT ให้ออกไปจากตลาดโดยปริยาย ด้วยปริมาณคลื่น 5G ที่ NT มีเหลือน้อยจนไม่สามารถแข่งขันได้ ลดจำนวนคู่แข่งในตลาดโทรคมนาคมไทยให้เหลือน้อยลง และ AIS ยังนำคลื่นของ NT มาต่อยอดธุรกิจ 5G ส่งผลให้ AIS เป็นเจ้าเดียวที่ถือครองคลื่นความถี่มากที่สุดในประเทศ ทิ้งห่างจากคู่แข่งอย่างทรูและดีแทคที่แม้จะควบรวมธุรกิจได้สำเร็จก็ตาม อ่านเกมธุรกิจนี้ของ AIS ก็ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่า ใคร คือ ผู้ยึดครองตลาดโทรคมนาคมไทยตัวจริง

บันไดขั้นที่ 3 ของ AIS กับ ความเคลื่อนไหวล่าสุด กับ เกมธุรกิจบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต โดย AIS ได้แจ้งรายงานตลาดหลักทรัพย์ฯ เกี่ยวกับ ที่ประชุมบอร์ด เอไอเอส มีมติอนุมัติให้ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (“AWN”) เข้าซื้อหุ้น ในบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) (“TTTBB”) จำนวน 7,529,242,385 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 99.87% จากบริษัท อคิวเมนท์ จำกัด บริษัทย่อยของ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (“JAS”)

โดย AWN จะทำการขออนุญาตในการเข้าทำธุรกรรมดังกล่าว จาก กสทช. ก่อน และคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในไตรมาส 1 ของปี 2566 ซึ่งหากดีลเทกโอเวอร์ครั้งนี้สำเร็จ ก็จะทำให้ AIS ก้าวขึ้นเป็นผู้นำ ยึดครองตลาดบรอดแบนด์อย่างสมบูรณ์ในทันที ด้วยฐานลูกค้าทั่วประเทศที่ใหญ่และมากที่สุดในอุตสาหกรรม ที่ประมาณ 5.55 ล้านราย (จากรายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2565 JAS มีจำนวนผู้ใช้บริการบรอดแบนด์รวม 3.68 ล้านราย และ AIS มีจำนวนลูกค้าบรอดแบนด์รวม 1.865 ล้านราย) มากกว่า ทรูออนไลน์ ที่มีจำนวนลูกค้าบรอดแบนด์ 4.7 ล้านราย ณ ไตรมาส 1 ปี 2565

หากวิเคราะห์ให้ลึกจะเห็นว่า บันได 3 ขั้นของ AIS เกิดขึ้นในช่วงเวลาเพียงราวๆ 1 ปีเท่านั้น หลังจากที่ GULF ได้เข้ามาสู่วงการโทรคมนาคม เสมือนติดปีกให้ AIS เดินเกมยึดตลาดโทรคมนาคมไทยได้อย่างแข็งแรงและรวดเร็วตามแนวยุทธศาสตร์การขยายธุรกิจของ GULF ที่มีฐานกำลังแข็งแกร่ง ทั้งเงินทุนและเครือข่ายทางธุรกิจที่กว้างขวางในหลายอุตสาหกรรม แต่ที่น่าสนใจคือ ความเคลื่อนไหวทางธุรกิจทั้งหมดนี้ อยู่ในช่วงเวลาที่สอดคล้องเหมาะเจาะกับยุคเปลี่ยนผ่านที่ธุรกิจทั่วโลก รวมถึงภาคธุรกิจไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ปรับตัว และขับเคลื่อนให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อความอยู่รอดและแข็งแกร่งได้พอที่จะลงสนามแข่งขันกับบรรดาธุรกิจข้ามชาติที่แผ่ขยายสินค้าและบริการไปทั่วโลกได้แบบไร้พรมแดน

แม้ว่าการเทกโอเวอร์ 3BB ของ AIS จะยังต้องรอการพิจารณาจาก กสทช. ซึ่งน่าจะเป็นอีกประเด็นที่ท้าทายการกำกับดูแลของภาครัฐ ว่าจะสามารถควบคุมและดูแลอย่างสมดุลทั้งในด้านประโยชน์ของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่จะอยู่รอดและแข่งขันกับนานาประเทศทั่วโลกได้หรือไม่ ในขณะเดียวกัน กลุ่มนักวิจัย TDRI นักวิชาการ รวมถึง สภาองค์กรผู้บริโภค และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ก็น่าจะต้องเข้ามาตรวจสอบอย่างเข้มข้นและจับตาดีลนี้ด้วยเช่นกัน ไม่ต่างกับที่ได้วิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ดีลการควบรวมระหว่างทรูและดีแทคเอาไว้ก่อนหน้านี้

Source

]]>
1391411
JAS ส่ง JTS รุกธุรกิจ Hyperscale Data Center และ Cloud Service https://positioningmag.com/1298500 Thu, 24 Sep 2020 02:14:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298500 บริษัท จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์ จำกัด (มหาชน) (JTS) ผนึก KT Corporation (KT) พันธมิตรจากประเทศเกาหลีใต้ ลงนามในสัญญา “Strategic Collaboration Agreement” โดย JTS จะเข้าสู่ตลาด Hyperscale Data Center และ Cloud Service พร้อมดึงผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลกมาเปิดตลาดคลาวด์โซลูชั่นอย่างครบวงจรในประเทศไทย

นายสมบุญ พัชรโสภาคย์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการของบริษัทฯ กล่าวว่า “ธุรกิจ Hyperscale Data Center และ Cloud Service จะเป็นรากฐานเพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจโครงข่ายของจัสมินกรุ๊ป รวมถึงการร่วมมือทางกลยุทธ์กับ KT ในครั้งนี้จะนำมาซึ่งพันธมิตรผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลก เพื่อต่อยอดการให้บริการอื่นๆร่วมกัน”

โดยการลงนามในสัญญานี้ KT ทำหน้าที่เป็นพันธมิตรทางด้านกลยุทธ์ การพัฒนาธุรกิจการร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลก รวมไปถึงนำเทคโนโลยีทางด้าน Data Center และโซลูชั่นอื่นๆที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาร่วมกับทางบริษัทฯ

นายสมบุญ กล่าวว่า จากประสบการณ์ของ JTS ที่เริ่มต้นจากการให้บริการทางด้านโทรคมนาคมกับลูกค้าองค์กร
รวมถึงการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ (Infrastructure as a Service : IaaS) ทำให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและทำให้รู้ว่าธุรกิจในปัจจุบันข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญ ข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บมีหลากหลายรูปแบบทั้งตัวอักษร รูปภาพ วิดีโอ อีกทั้งมีการอัพเดทตลอดเวลา ทำให้ต้องการพื้นที่ในการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และต้องการความสามารถในการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมถึงมีความเสี่ยงในการสูญหายของข้อมูลหรือไม่สามารถใช้งานได้กรณีที่มีการจัดเก็บไว้ที่เดียว ซึ่ง Cloud Service และบริการจัดการข้อมูล (Data as a Service : DaaS) ที่บริษัทฯ เตรียมให้บริการนั้นจะแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลกทำให้บริษัทฯ ต้องจัดเตรียม Data Center ระดับ Hyperscale เพื่อรองรับการขยายระบบ
และพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล

โดยพบว่าปัจจุบันลูกค้าไม่ต้องการเพียงบริการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องการบริการที่ครอบคลุมถึงการย้ายระบบคลาวด์ไปยัง Hyperscalers, คลาวด์ผสม, บริการจัดการ คลาวด์, บริการพัฒนาระบบ IT ให้ทันสมัย, บริการจัดการความปลอดภัยและสำรองข้อมูล โดยคำนึงถึงเรื่องของ Performance, Scalability, Availability & Security

สำหรับ KT ในปัจจุบันเป็นผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมอันดับ 1 ในประเทศเกาหลีใต้และเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้าน IDC ในประเทศเกาหลีใต้มากว่า 10 ปี มีส่วนแบ่งการตลาดมากเป็นอันดับหนึ่ง ขณะที่ JTS มีความพร้อมทั้งด้านประสบการณ์การให้บริการ Data Center ของบริษัทในเครือ การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์รวมถึงการให้บริการวงจรเช่าระหว่างประเทศ ทาง JTS พร้อมยกระดับธุรกิจเป็นผู้เล่นในระดับ Hyperscaler Data Center และให้บริการ Cloud Service ในรูปแบบของ XaaS (Anything as a Service)

ดังนั้น มั่นใจได้ว่า JTS จะเป็นผู้นำในการให้บริการ Hyperscale Data Center และ Cloud ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสำหรับลูกค้าองค์กรมากที่สุดในประเทศอย่างแน่นอน

]]>
1298500
“คาซ่า ลาแปง” ร้านกาแฟ อันหอมหวนของ JAS https://positioningmag.com/1139183 Mon, 11 Sep 2017 03:52:54 +0000 http://positioningmag.com/?p=1139183 ถึงแม้ธุรกิจร้านกาแฟจะได้ชื่อว่าแข่งขันกันดุเดือด มีทั้งแบรนด์ไทยแบรนด์นอกเข้ามาในตลาดไทย แต่ก็ยังเป็นธุรกิจที่หอมหวนสำหรับ บริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน) ที่ตัดสินใจเข้าซื้อหุ้น “คาซ่า ลาแปง” (Casa Lapin) ของบริษัท คอฟฟี่ โปรเจคท์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจกาแฟ ด้วยวงเงิน 42 ล้านบาท และร่วมกันจัดตั้งบริษัทใหม่ชื่อว่า บริษัท บีนส์แอนด์บราวน์ จำกัด โดย เจเอเอส แอสเซ็ท ถือครอง 60% และ คอฟฟี่ โปรเจคท์ 40%

เป้าหมายของการเข้าไปถือหุ้นครั้งนี้ เจเอเอสฯ ต้องการเปิดตลาดธุรกิจค้าปลีกประเภทอาหารและเครื่องดื่มอย่างเป็นทางการ จากจุดยืนของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในกลุ่มคอมมูนิตี้มอลล์

เจเอเอสฯ เป็นบริษัทลูกของ “บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน)” ผู้จัดจำหน่ายมือถือและอุปกรณ์เสริม ที่ทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จอย่างลอยลำ จนสามารถแตกกิจการไปสู่ธุรกิจติดตามเร่งรัดหนี้ และบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ “บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน)” และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ “บริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน)”

ปัจจุบัน เจเอเอสฯ เป็นเจ้าของคอมมูนิตี้มอลล์ เดอะแจส วังหิน, เดอะแจส รามอินทรา แจสเออเบิร์น ศรีนครินทร์ และคอนโดมิเนียมนีเวร่า

บริษัทตั้งงบประมาณแต่ละปีไว้ 2 พันล้านบาท สำหรับการลงทุนทุกรูปแบบ ทั้งอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจบริหารพื้นที่เช่า รวมถึงธุรกิจใหม่ๆ ที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภค อย่างเช่น แฟชั่น และไลฟ์สไตล์ เป็นต้น โดยอยู่ระหว่างเจรจากับกลุ่มทุนหลายกลุ่ม ซึ่งยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ และการเข้าซื้อกิจการ คาซ่า ลาแปง ก็เป็นส่วนหนึ่งของการขยายการลงทุนแบบไม่มีลิมิตดังกล่าว

หนึ่งในเหตุผลของการเข้าซื้อธุรกิจกาแฟของ เจเอเอสฯ เพื่อลดความเสี่ยงในธุรกิจคอมมูนิตี้มอลล์ ที่สถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง จากสภาวะการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกที่ยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่สู้ดี

“ยังมีความเหนื่อยอีกมากสำหรับเดอะแจส” สุพจน์ วรรณา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน) กล่าว

ในขณะที่ห้างค้าปลีก เดอะแจส ยังลุ่มๆ ดอนๆ การตัดสินใจซื้อธุรกิจกาแฟ คาซ่า ลาแปง มาจากการที่ผู้บริหารมองว่า ยังเป็นดาวรุ่งที่มีศักยภาพเติบโต โดยปัจจุบันตลาดรวมร้านค้าปลีกกาแฟมีมูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาทในปี 2560 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากมูลค่าตลาด 1.7 หมื่นล้านบาทในปีก่อนหน้า และยังคงเติบโตทุกปี เฉลี่ยปีละ 10%

ขณะที่พฤติกรรมการบริโภคในช่วงหลายปีมานี้ อัตราการดื่มกาแฟของคนไทยยังไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศ เช่น นอร์เวย์ และเดนมาร์ก ครองแชมป์ประเทศที่ดื่มกาแฟมากที่สุด เฉลี่ย 5 แก้วต่อคนต่อวัน รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา และแคนนาดา ดื่มกาแฟเฉลี่ย 3-5 แก้วต่อคนต่อวัน ขณะที่ไทยดื่มกาแฟเฉลี่ย 1.5 แก้วต่อคนต่อวัน

“คนยุคใหม่มีแนวโน้มดื่มกาแฟเพิ่มขึ้น และผู้บริโภคก็มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ทำให้เรามองเห็นโอกาสการเติบโตของค้าปลีกประเภทนี้” ซีอีโอ เจเอเอสฯ ระบุ

เป้าหมายของ คาซ่า ลาแปง คือการเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2563 มีความเป็นไปได้มากว่า เจเอเอสฯ อาจจะได้แรงบันดาลใจจากธุรกิจร้านขนม “อาฟเตอร์ ยู” (After You) ที่หลังจากเปิดตัวไปได้ไม่นาน ก็สามารถดันตัวเองเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และกลายเป็นหุ้นม้ามืดในที่สุด

คาซ่า ลาแปง ถูกกำหนดแผนธุรกิจเอาไว้อย่างชัดเจน โดยภายในปี 2560 นี้ จะเปิดให้ครบ 10 สาขา จากที่มีอยู่เดิมแล้ว 7 สาขา และตั้งเป้ารายได้ไว้ 60 ล้านบาท

  • ปี 2561 เปิดอีก 10 สาขา ตั้งเป้ารายได้ 180 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว
  • ปี 2562 เปิดอีก 10 สาขา ตั้งเป้ารายได้ 270 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.5 เท่าตัว
  • ปี 2563 เปิดอีก 10 สาขา ตั้งเป้ารายได้ 360 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.33 เท่าตัว

เมื่อเข้าสู่ปี 2563 คาซ่า ลาแปง จะมีจำนวนสาขาทั้งหมด 40 แห่ง (ถ้าทำได้ตามเป้าหมาย) มูลค่าการลงทุนสาขาละ 7-10 ล้านบาท ขนาดพื้นที่ 120-300 ตารางเมตร

โมเดลการลงทุนมี 2 แบบ คือ บริษัทฯ ลงทุนเอง 100% 2. การร่วมทุนกับแลนด์ลอร์ดหรือผู้ที่สนใจ แต่ยังไม่มองการขยายตัวในระบบแฟรนไชส์

เมื่อแต่งองค์ทรงเครื่องพร้อมเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และเดินหน้าขยายกิจการในต่างประเทศต่อไป โดยมีเป้าหมายอยู่ที่เมืองใหญ่ๆ อย่างโตเกียว โซล ฮ่องกง ไทเป และสิงคโปร์

เพราะฉะนั้นจากนี้ไป แทนที่เราจะได้เห็นแต่เชนธุรกิจกาแฟต่างชาติแห่เข้าไทย ต่อไปเราจะได้เห็นกาแฟสายพันธุ์ไทยบุกไปเปิดตลาดต่างชาติมากขึ้น

สรุปว่า โอกาสของเจเอเอสฯ หลังตัดสินใจซื้อหุ้นร้านกาแฟ คาซ่า ลาแปง คือ

  1. เพิ่มพอร์ตธุรกิจ เจเอเอสฯ ให้แข็งแรงขึ้น ในก้าวจังหวะที่ เดอะแจส คอมมูนิตี้มอลล์ ยังขยายตัวไม่ได้เต็มที่ และอัตราการเติบโตยังไม่น่าพอใจ ตามสูตร อย่าเก็บไข่ไว้ในตะกร้าใบเดียวกัน
  2. สร้างรายได้ ลดรายจ่าย ดันรายได้รวมบริษัทให้เข้าเป้า แทนที่จะมาอดทนรอให้รายได้จากอสังหาริมทรัพย์ฟื้น
  3. เรียนรู้โนว์ฮาวธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เอามาต่อยอดในอนาคต
  4. เพิ่มชั่วโมงบินในกิจการค้าปลีกของรุ่นที่ 2
  5. คาซ่า ลาแปง จะเป็นธุรกิจดันดารา อันดับที่ 4 ของอาณาจักรธุรกิจในเครือเจมาร์ท ที่โตแล้วต้องแตกตัวในตลาดหลักทรัพย์ฯ
  6. การเปิดตลาดต่างประเทศ ถ้าทำสำเร็จ จะเป็นอีกจุดเปลี่ยนของอาณาจักรธุรกิจใต้ปีกเจมาร์ท

สำหรับ คาซ่า ลาแปง ร้านกาแฟแบรนด์ไทย เริ่มเปิดสาขาแรกในจังหวัดเชียงใหม่ อีก 1 เดือนต่อมา ก็ขยายมาเปิดสาขาแรกในกรุงเทพฯ ที่ซอยทองหล่อ สามารถทำรายได้ต่อเดือน 2 ล้านบาท จากนั้นขยายออกไป 7 สาขา จัดประเภทเป็นร้านกาแฟแบบ specialty coffee ตกแต่งร้านสไตล์บ้านกระต่าย เน้นรูปแบบ และแสงสีภายในร้าน ที่สื่อถึงความอบอุ่น จับกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ในเมือง ที่มีไลฟ์สไตล์เฉพาะตัว และชื่นชอบงานดีไซน์

แน่นอนว่า คาซ่า ลาแปง เอง เมื่อได้หุ้นส่วนเข้ามา ก็จะมีเงินทุนมาต่อยอด ขยายสาขาเพิ่มขึ้นปีละ 10 สาขา และปรับโหมดโมเดลการหารายได้ จากปัจจุบัน Casa Lapin มีโครงสร้างรายได้ 70% จากการกาแฟและเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ และอีก 30% จากอาหารและเบเกอรี่ ในอนาคตเพิ่มรายได้จากการขายสินค้าของที่ระลึก คาดว่าภายในปีหน้าสัดส่วนรายได้จากเมอร์ชันไดส์จะเป็น 20% ส่วนกาแฟและเครื่องดื่มจะลดลงมาเหลือ 65% ส่วนอาหารและเบเกอรี่อยู่ที่ 15%.

]]>
1139183
แจสไม่จ่ายใบอนุญาตคลื่น 900 กทค.เคาะค่าเสียหายได้แค่ 199 ล้านบาท https://positioningmag.com/1093450 Wed, 01 Jun 2016 10:00:12 +0000 http://positioningmag.com/?p=1093450 กทค.เคาะค่าเสียหายแจส 199 ล้านบาท ต้องจ่ายภายใน 16 มิ.ย.นี้ ชี้ช่องเอดับบลิวเอ็น ร้องค่าเสียโอกาสได้ ส่วนการยึดใบอนุญาตธุรกิจอื่นของกลุ่มจัสมินทำไม่ได้ เหตุไม่มีกฎหมายเอาผิด หากแจสไม่พอใจอุทรณ์ต่อกสทช.ได้ หากไม่จ่ายเจอกันที่ศาลแพ่ง

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติเรียกค่าเสียหายกรณี บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ไม่ชำระเงินค่าประมูลคลื่น 900 MHz จำนวน 199.42 ล้านบาท นอกเหนือจากเงินหลักประกัน 644 ล้านบาท ที่กสทช.ได้ยึดไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยการคิดค่าเสียหายดังกล่าวประกอบด้วย 1.ค่าใช้จ่ายในการจัดประมูลคลื่น 900 MHz รอบแรกเมื่อวันที่ 15-19 ธ.ค.2558 ที่ผ่านมา จำนวน 20.24 ล้านบาท ซึ่งคิดจากค่าใช้จ่ายการประมูลจริง 80.99 ล้านบาท หารด้วยจำนวนผู้ประมูล 4 ราย 2.ค่าใช้จ่ายในการประมูลเมื่อวันที่ 27 พ.ค.2559 จำนวน 10 ล้านบาท และ 3. ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยคำนวนจากยอดเงินที่แจสต้องชำระงวดแรก 8,040 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค.-30 มิ.ย.2559 ซึ่งคาดว่าจะเป็นวันสุดท้ายที่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) มาชำระเงินค่าประมูลคลื่น 900 MHz คิดเป็นเงิน 169.17 ล้านบาท

ส่วนการเรียกค่าเสียหายจากส่วนต่างการประมูลนั้น กสทช. ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ เนื่องจากราคาที่ประมูลครั้งที่สองเท่ากับครั้งแรกคือ 75,654 ล้านบาท

ทั้งนี้ ผู้ชนะการประมูลรายใหม่ คือ เอดับบลิวเอ็น สามารถเรียกร้องค่าเสียโอกาสในการประกอบธุรกิจได้ภายใน 2 ปี นับจากวันที่เปิดให้บริการ ส่วนการยึดใบอนุญาตที่กสทช.ออกใบอนุญาตให้กับ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) นั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีกฎหมายใดๆ หรือแม้กระทั่งกฎของกสทช.ในการยึดใบอนุญาตดังกล่าวรองรับ

ทั้งนี้ตัวแทนจากแจส โมบาย ได้มารับหนังสือเรียกร้องค่าเสียหายไปแล้วเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2559 ดังนั้นแจสต้องนำเงินมาชำระภายใน 15 วัน คือภายในวันที่ 16 มิ.ย.2559 หากแจสไม่พอใจก็สามารถส่งคำร้องอุทรณ์มายังกสทช.เพื่อนำเข้าพิจารณาในที่ ประชุมของ กทค. อีกครั้งหนึ่ง โดยเรื่องนี้ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง จึงไม่ต้องนำเรื่องถึงศาลปกครองกลาง แต่สามารถฟ้องร้องต่อศาลแพ่งได้

นายฐากร กล่าวอีกว่า สำหรับการตรวจสอบพฤติกรรมของบริษัทนั้น กทค.เห็นว่า เมื่อพิจารณาตามกรอบของกฎหมายยังไม่พบเหตุที่จะเป็นความเสียหายที่ทำให้รัฐ เสียประโยชน์หรือมีการสมยอมราคา ทั้งนี้การพิจารณาทั้งหมดไม่เกี่ยวกับกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานอื่น อย่างไรก็ดีหากหน่วยงานอื่นจะนำรายงานไปใช้เพื่อประโยชน์กสทช.ก็พร้อมจะเปิดเผยรายงานผลการตรวจสอบ

‘การทำงานของคณะทำงานพิจารณาความเสียหายแจสทำมา 2 เดือน ผลสรุปมาว่าต้องคิดค่าเสียหายเพียง 131 ล้านบาท แต่กทค.เห็นต่างว่าควรคิดค่าประมูลและดอกเบี้ยผิดนัดชำระด้วย หากแจสไม่พอใจก็สามารถมาอุทรณ์ได้ แต่หากเอดับบลิวเอ็นมาจ่ายเงินก่อน 30 มิ.ย. กสทช.ก็จะมีเงินจากดอกเบี้ยที่แจสจ่ายคืนให้เอดับบลิวเอ็น ด้วย หากจ่ายทีหลัง แจสก็ต้องถูกคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระต่อไปอีก’

ที่มา: http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000055094

]]>
1093450
แจส ทิ้งทุ่น ป่วนตลาด 4G กระเพื่อมทั้งวงการ https://positioningmag.com/62841 Thu, 24 Mar 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62841
แจส เบี้ยวจ่ายใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ดับฝันผู้ให้บริการรายที่ 4 ดีแทค-เอไอเอส ลุ้นประมูลอีกครั้ง แต่จะไปต่อ ใครจะได้ร่วมวง ขึ้นอยู่กับ กสทช.จะเดินเกมรอบใหม่อย่างไร 
 
หลังจากที่รอลุ้นกันอยู่นาน ในที่สุด แจส โมบาย บรอดแบนด์ ก็ไม่เดินทางมาจ่ายค่าใบอนุญาตให้กับ กสทช. ตามข้อกำหนดของการประมูลใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ภายใน 90 วัน ซึ่งมีกำหนดเส้นตาย คือในวันที่ 21 มีนาคม 2559 เวลา 16.30 น.
 
นับตั้งแต่ประมูลได้มา พิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ตั้งโต๊ะแถลงข่าว ถึง 2 ครั้ง แบบห่างกันแค่วันเดียว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า แจสไม่ได้มาเล่นๆ เพราะมีทั้งฐานลูกค้าจาก 3 BB และยังระบุถึงแหล่งเงินกู้ที่มาจากธนาคารกรุงเทพฯ 
 
แต่หลังจากนั้น แจส โมบายก็เงียบหายไป มีแต่กระแสข่าวจากสถาบันการเงินมาเป็นระลอก แต่ก็ไร้คำตอบจากแจส จนเมื่อมีการเคลื่อนไหวของแจสที่มีทั้งการจ่ายเงินปันผล และการประกาศซื้อหุ้นคืน รวมเป็นเงิน 6 พันล้านบาท นักวิเคราะห์ต่างก็ตีความกันไปคนละขั้ว มีทั้งเดินหน้า และถอดใจ 
 
จนคำตอบมาแน่ชัดเมื่อไร้เงาแจสเดินทางมาชำระเงินในเวลา 16.30 ของวันที่ 21 มีนาคม 2559  ซึ่งเป็นเส้นตายสุดท้าย โดยที่ยังไม่มีคำชี้แจงใดๆ จากแจสเช่นเคย 
 
แต่การไม่มาชำระเงินของแจส ใช่ว่าจะจบลงง่ายๆ เพราะถือว่าสั่นสะเทือนวงการไม่น้อย กสทช. เองถูกมองว่าจัดการประมูลไม่รัดกุมมากพอ ในขณะที่การแข่งขันของผู้ให้บริการมือถือที่เคยลุ้นกันว่าจะมีเบอร์ 4 เข้ามาเขย่าตลาดก็ยังอยู่ในมือของ 3 รายเดิมต่อไป และที่ต้องลุ้นกันต่อไป คือ การนำคลื่นความถี่ 900 MHz ออกมาประมูลใหม่ 
 
ส่วนแจสเองต้องถูกปรับไปตามระเบียบ ถูกริบเงินค้ำประกันจำนวน 644 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในรูปของเช็กเงินสดทันที 
 
นอกจากนี้ เรื่องค่าเสียหายจากค่าเสียโอกาส ที่แจสต้องถูกปรับเป็นเงินอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งกสทช.ได้แต่งตั้งคณะทำงาน โดยมีอนุกรรมการฝ่ายกฎหมาย และตัวแทนจากกระทรวงการคลัง อัยการสูงสุดเข้ามาร่วมประเมินความเสียหาย รวมทั้งเรื่องของการที่ต้องถูกแบล็กลิสต์ไม่ให้เข้าประมูล และอาจต้องรวมถึงการถูกยึดใบอนุญาตอื่นๆ และอาจกลายเป็นคดีอาญา
 
แต่แจสได้ชี้แจงกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการที่แจสโมบายจะต้องถูกริบเงินประกันการประมูล 644 ล้านบาทเท่านั้น เนื่องจากแจสโมบายมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขใดๆ ตามข้อ 5.2 ของหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 900 MHz  
 
สะท้อนว่า แจสคงไม่ยอมจ่ายเงินค่าเสียโอกาสเพิ่มให้กับ กสทช.ง่ายๆ เป็นอีกโจทย์ที่ กสทช.ต้องกลับไปขบคิดกันต่อว่าจะดำเนินการเอาผิดกับแจสอย่างไร
 
ความเงียบเชียบของแจส ทำเอาตลาดหลักทรัพยฯ ขึ้นป้ายห้ามซื้อขายหุ้น เพื่อให้แจสมาอธิบายสาเหตุไม่มาจ่ายค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ในวันที่ 21 มีนาคม
 
แจสระบุถึงสาเหตุว่า ผู้สนใจร่วมลงทุนซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศจีน และได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ของประเทศจีน ติดข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาในการขออนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องของประเทศจีน ซึ่งคาดว่าจะเสร็จประมาณกลางเดือนเมษายน 2559  และ กสทช.ก็ไม่สามารถผ่อนผันเงื่อนไขของเวลาได้ จึงทำให้แจส โมบายไม่สามารถนำหนังสือค้ำประกันจำนวน 72,000 ล้านบาท มาให้กับสำนักงาน กสทช.ได้ทันตามกำหนดเวลาในวันที่ 21 มีนาคม
 
อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงขึ้นเครื่องหมาย SP ห้ามซื้อขายหุ้นแจสต่อไปอีก เนื่องจากแจสยังชี้แจงข้อมูลไม่ครบถ้วนว่า ทำไมแจสโมบายไม่ทำตามเงื่อนไขเพื่อให้ได้ใบอนุญาต มูลค่าหลักประกันที่อาจถูกริบ และค่าใช้จ่ายต่างๆ และความเสียหายอื่น ผลกระทบต่อฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน แต่ในที่สุดได้ให้ซื้อขายในวันถัดไป 
 
ขณะเดียวกัน ก็มีการตั้งข้อสังเกตถึงขั้นที่ว่า การเข้าประมูลของแจส และทิ้งไพ่หมอบ ถือเป็นเกมที่ลึกล้ำมาก อาจเป็นการสมคบคิดเพื่อให้เป็น “ปาหี่” ที่มีผู้ได้และเสียประโยชน์ชัดเจน โดยเฉพาะทรูที่ต้องจ่ายค่าคลื่นไปในราคาแพงเกินความเป็นจริง ส่วนแจสเองก็ไม่ต้องเสียอะไร เนื่องจากเงินส่วนต่างที่ได้จากราคาหุ้นในตลาดจากการเป็นข่าวในช่วงที่ผ่านมา ก็มากเกินกว่าเงินประกันการประมูลไปแล้ว 
 
อย่างไรก็ตาม ที่ต้องจับตากันต่อไป คือ การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz รอบใหม่นี้ จะเกิดขึ้นได้เร็วแค่ไหน ภายใน 4 เดือนตามที่ กสทช.เคยกำหนดมาหรือไม่ ที่สำคัญ ราคาตั้งต้นในการประมูลรอบใหม่ ที่ล่าสุดที่ประชุม คณะกรรมการโทรคมนาคม หรือ กทค.ก็ได้สรุปเงื่อนไขสำคัญในการประมูลแล้วว่า จะต้องเริ่มต้นด้วยตัวเลข 75,654 ล้านบาท ตามที่แจสเคยประมูลได้ เพราะเป็นเงื่อนไขที่ทำไว้กับทรู ในการนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาต หากมีการประมูลใหม่ ราคาเริ่มต้นต้องไม่ต่ำกว่านี้ แต่ราคาตั้งต้นอาจจะลดลงได้ 3 ระดับ
 
นอกจากนี้ กติกาในการตัวเลขการวางหลักประกันปรับใหม่ให้เข้มงวดมากขึ้น โดยอยู่ในสัดส่วน 10%, 20% และ 30% ของราคาเริ่มต้น จากนั้นจะเปิดฟังความคิดเห็นสาธารณะอีกครั้ง จากนั้นคาดว่าจะการประมูลได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ 
 
เงื่อนไขดังกล่าว ก็ยังไม่สามารถการันตีได้ว่าจะมีผู้เข้าประมูล หากดูท่าทีของดีแทค และเอไอเอส  
 
 
ดีแทคเสนอ ราคาตั้งต้น 16,080 ล้านบาท ห้ามทรูประมูล
 
ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค ได้ออกมาสนับสนุนให้ กสทช.ประมูลคลื่น 900 MHzชุดที่ 1 ใหม่ (Re-auction) ตามประกาศ กสทช. กฎการประมูลและเงื่อนไขการประมูลซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน แต่ควรจำกัดไว้เฉพาะผู้ที่เข้าร่วมการประมูลที่เหลืออยู่จากการประมูลคลื่น 900 MHzคราวก่อนเท่านั้น  
 
นอกจากนี้ ราคาขั้นต่ำ (Reserve Price) ของการประมูลคลื่น 900 MHzชุดที่ 1 ครั้งใหม่นี้ควรกำหนดที่ราคา 16,080 ล้านบาท เท่ากับการประมูลคลื่น 900 MHzคราวก่อน (ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมประมูลมีจำนวนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ราย) โดยวิธีนี้ จะเป็นการประมูลแข่งขันที่จะเป็นการกำหนดมูลค่าคลื่นความถี่ 900 MHzชุดที่ 1 ที่แท้จริงและไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ และขอให้มีการทำประชาพิจารณ์ด้วย 
 
ส่วนเอไอเอส ก็แบ่งรับแบ่งสู้ โดยออกมาบอกว่าสนใจจะเข้าประมูล แต่ก็ต้องรอดูแนวทางของ กสทช.ที่จะพิจารณาออกมา ทั้งราคาประมูล และเงื่อนไขต่างๆ ว่าสอดคล้องกับการแข่งขันในตลาดหรือไม่ เพราะเอไอเอสก็ได้ลงทุนในการขยายเครือข่ายตามแนวทางที่ไม่มีคลื่น 900 MHz อยู่แล้ว จึงต้องดูว่าราคาตั้งต้นก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่ 
 
ในเมื่อท่าทีของเอไอเอสและดีแทค ต่างก็ไม่เห็นด้วยกับราคาตั้งต้นประมูล ก็ต้องรอดูว่า กสทช.จะหาทางออกกับเรื่องนี้อย่างไร เพราะหากไม่มีผู้สนใจประมูลก็ต้องเก็บคลื่นไว้ 1 ปี จึงจะนำออกมาประมูลได้ 
 
ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มองว่า จะมีการเปิดประมูลใบอนุญาตคลื่น 900 MHz เพราะไม่เช่นนั้นทรูจะเป็นผู้ให้บริการมือถือเพียงรายเดียวที่มีคลื่นความถี่ 900 MHz ในมือ ซึ่งทรูเองจะลงทุนเต็มที่ในคลื่น 900 ที่ได้ใบอนุญาตมา 
 
 
ทีดีอาร์ไอเสนอราคาประมูลตั้งต้น 70,180 ล้านบาท
 
ทางด้านสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เสนอให้ประมูลใหม่ภายใน 2-3 เดือน เพราะความต้องการมี และทำให้มูลค่าไม่ตกลงมาก เนื่องจากผู้ประกอบการน่าจะยังเสนอราคาประมูลไม่ต่างจากเดิมมากนักแม้ไม่มีแจสก็ตาม 
 
ส่วนการตั้งราคาประมูลใหม่ หากเป็นราคาเดียวกับแจสชนะประมูลคือ 75,654 ล้านบาท มองแล้วไม่สมเหตุผล เพราะสูงกว่าผู้ประมูลรายอื่นที่เหลือทั้ง 3 รายเคยเสนอไว้ หาก กสทช. พยายามยึดถือราคาดังกล่าว ก็อาจมองได้ว่า กสทช. ไม่ต้องการให้มีการใช้ประโยชน์จากคลื่นดังกล่าว ซึ่งจะมีผลนำไปสู่การผูกขาดบริการ 4G กสทช. 
 
ควรนำคลื่นมาประมูลใหม่โดยเริ่มที่ราคาสุดท้ายที่ผู้ประกอบการทุกรายยังรับได้คือ 70,180 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ประกอบการรายแรกที่ออกจากการประมูลเสนอไว้เป็นครั้งสุดท้าย และควรให้ทรูเข้าร่วมประมูลด้วย เพิ่มการแข่งขันในการประมูล และเป็นธรรมแก่ทรู 
 
นี่คือท่าทีของผู้เกี่ยวข้อง ดูแล้วยังเป็นโจทย์ใหญ่ของ กสทช.ต้องหาคำตอบว่าจะเดิมเกมเรื่องนี้อย่างไร 
 
 
สู้กัน 3 ก๊ก 3 ค่าย แบบเดิม
 
การโบกมืออำลาจาก 4G ของแจส ส่งผลให้การแข่งขันจะคงมีผู้เล่น 3 รายเดิม เอไอเอส ดีแทค และทรู เป็น 3 ก๊กมือถือที่ต้องห้ำหั่นกันต่อไป  
 
แม้ราคาหุ้นสื่อสาร 3 ราย จะขยับสูงขึ้นรับกับการไม่มีคู่แข่งรายที่ 4 ในตลาด แต่การแข่งขันเพื่อช่วงชิงความเป็นหนึ่งของทั้ง 3 ค่าย ก็ยังต้องสู้กันยิบตา และ “ลุ้น” กันชนิดตาไม่กะพริบ 
 
เนื่องจากค่ายทรูนั้น หมายมั่นปั้นมือจากการยอมทุ่มประมูลชิง “คลื่นความถี่” ในมือมากที่สุด เพราะมองว่า จะเป็น “แต้มต่อ” สำคัญที่จะทำให้ทรูก้าวจากเป็นเบอร์ 3 ขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลื่น 900 MHz ที่จะทำให้ทรูได้ฐานลูกค้า 2G ที่ใช้คลื่น 900 MHz ของเอไอเอสมาอยู่ในมือจะเป็น “สปริงบอร์ด” ที่ทำให้ทรูได้กวาดต้อนลูกค้าพรีเพดมาไว้ในมือ โอกาสที่จะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดก็จะมีมากขึ้น  
 
ศุภชัย ซีอีโอ ทรู บอกว่า ก่อนหน้านี้ แม้ว่าทรูจะใช้กลยุทธ์การตลาดเข้มข้นแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถช่วงชิงลูกค้าจำนวนมากๆ ได้ เพราะขีดจำกัดเรื่องคลื่นความถี่ ดังนั้นเมื่อทรูมีคลื่นความถี่มากที่สุด มีคลื่นความถี่ 850 MHz 900 MHz 1800 MHz และ 2100 MHz ครอบคลุมมากที่สุด จะเป็นอาวุธสำคัญที่ทำให้ทรูเพิ่มฐานลูกค้าได้ไม่มีขีดจำกัด 
 
แคมเปญ ชวนลูกค้าย้ายค่ายก็เลยซัดกันสนั่น นำโดยค่ายเอไอเอส หลังจากตัดสินใจยกธงขาวไม่ประมูลคลื่น 900 MHz ต่อ ปรับกลยุทธ์นำเงินมาขยายเครือข่ายที่มีอยู่ควบคู่ไปกับแคมเปญแจกเครื่อง เพื่อจูงใจให้ลูกค้ามาเปลี่ยนจาก 2G มาเป็น 3G และ 4G  ผ่านเครือข่ายร้านค้า และ อบต. เป็นจุดแจกจ่ายเครื่อง เพื่อกวาดต้อนให้ได้มากที่สุด ทรูจะมาจ่ายค่าใบอนุญาต และจะมีผลให้ซิมดับลง 
 
ส่วนค่ายทรู หลังจากจัดการเงินกู้ และแบงก์การันตีมาจ่ายค่าใบอนุญาตคลื่น900 MHz ได้ ก็รีบออกแคมเปญ ให้ลูกค้าเติมเงินแล้วแจกเครื่องฟรี รูปแบบคล้ายกัน โดยที่ทรูใช้เครือข่ายร้านเซเว่นอีเลฟเว่นเป็นช่องทางสำคัญในการกวาดต้อนให้ลูกค้าย้ายค่ายมาใช้ทรูมูฟเอช    
 
เมื่อต่างฝ่ายต่างต้องการรวบรัดให้ลูกค้าย้ายค่ายมาใช้ของตัวเอง ทั้งใต้ดินและบนดิน จึงนำไปสู่การฟ้องร้องระหว่างกัน รวมทั้งผลักดันโปรโมชัน “เติมเงินแลกเครื่องฟรี” ของทั้งคู่ ที่ยังคงเดินหน้าอย่างเข้มข้น กับการโกยลูกค้า2G ใช้คลื่น 900 จำนวน 4 แสนเลขหมาย และลูกค้าของเอไอเอสที่โรมมิ่งใช้คลื่น 900 MHz อีก 7.6 ล้านเลขหมาย ให้ได้ก่อนวันที่ 14 เมษายน 2559 เป็นเส้นตายของเอไอเอส หลังจากได้คุ้มครองชั่วคราวจากศาลปกครองต่อไปอีก 1 เดือน 
 
 
เอไอเอส-ทรู จัดงานใหญ่ชน
 
ในขณะเดียวกัน ทั้งคู่กำลังเดินเกมสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ เพื่อชิงความเป็นผู้นำ 4G  โดยทั้งทรู และเอไอเอส ก็พร้อมกันจัดงานใหญ่ขึ้นในวันและเวลาเดียวกัน คือ ช่วงบ่ายของวันที่ 23 มีนาคม 2559 สถานที่ก็ยังใกล้กัน
 
ทรูใช้ชื่องานว่า “The Leader of 4G ดีที่สุด เพื่อชีวิตที่สุดกว่า” ในการเปิดตัว ”แคมเปญ 4G Plus…รวมพลังคลื่นมากที่สุด เพื่อเติมเต็ม Digital Lifestyle ที่ดีที่สุด โดยมีศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอ มาเป็นประธานจัดงาน ถือเป็นบิ๊กอีเวนต์ของทรู เพราะเปิดแพ็กเกจใหม่ 4G หลังจากปล่อยให้คู่แข่ง 2 รายนำร่อง พร้อมกับเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ H-Man ที่มี ณเดชน์ คูกิมิยะ แบรนด์แอมบาสเดอร์ร่วมแสดง สะท้อนความแรงของเครือข่ายที่มีคลื่นในมือมากที่สุด
 
ขณะที่เอไอเอส ในฐานะของเบอร์ 1 ก็ไม่ยอมน้อยหน้า จัดแถลงข่าวใหญ่ โดยมี สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ซีอีโอ มาร่วมพร้อมกับผู้บริหารของหัวเว่ย เพื่อประกาศร่วมมือระหว่างเอไอเอส และหัวเว่ย ภายใต้ชื่องาน  World’s First  Innovative Technology Network เพื่อแสดงถึงศักยภาพพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า 
 
ผศ.เสริมยศ ให้ความเห็นว่า โอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 รายนั้น จะได้เห็นการแบไต๋ของแต่ละแบรนด์ออกมา การแข่งขันจะ Aggressive มากขึ้น เห็นได้จากกรณีวันที่มีเหตุการณ์ซิมดับเกิดขึ้น ได้เห็นพฤติกรรมของแบรนด์ การแสดงออกของแบรนด์ จะกระทบถึงวิธีคิดของผู้ประกอบการ แบรนด์หนึ่งได้กลายเป็นแบรนด์ใจดี อีกแบรนด์หนึ่งกลายเป็นแบรนด์ขายของไป แต่ต้องมาดูหลังจากนี้ที่มีการประมูลอีกรอบว่าจะออกมาเป็นอย่างไร แต่คงดุเดือดมากขึ้น

]]>
62841
“แจส” ชี้แจง เหตุจ่ายค่าคลื่นไม่ทัน 21 มี.ค. พันธมิตรจากจีน ติดขออนุมัติหน่วยงานลงทุน เสร็จกลาง เม.ย. https://positioningmag.com/62822 Tue, 22 Mar 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62822
บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ได้ส่งจดหมายชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถึงสาเหตุที่แจสไม่สามารถนำหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินจำนวน 72,000 ล้านบาท ไปจ่ายค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 MHz ให้กับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ในวันที่ 21 มีนาคม 2559 
 
เนื่องมาจาก ผู้ประกอบการรายใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศจีน (ซึ่งสนใจร่วมลงทุนในแจสโมบาย และได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคาพาณิชย์แห่งใหญ่ของประเทศจีน) ติดข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาในการขออนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องของประเทศจีน ซึ่งคาดว่าจะเสร็จประมาณกลางเดือนเมษายน 2559 ไม่ทันกับกำหนดเวลา 90 วันตามที่ระบุในประกาศ กสทช. 
 
และสำนักงาน กสทช.ก็ไม่สามารถผ่อนปรน หรือผ่อนผันเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาใดๆ ตามที่ระบุไว้ในประกาศ กสทช.ดังกล่าวให้แก่แจสโมบายได้ จึงทำให้แจส โมบายไม่สามารถนำหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินจำนวน 72,000 ล้านบาท มามอบให้กับสำนักงาน กสทช.ได้ทันตามกำหนดเวลา
 
ในส่วนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการที่แจสโมบายไม่ได้ไปขอรับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz. ในครั้งนี้นั้น ที่ปรึกษาทางกฎหมายของบริษัทได้ให้ความเห็นว่า แจสโมบาย ต้องถูกริบเงินประกันการประมูล 644 ล้านบาทเท่านั้น เนื่องจากแจสโมบายมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขใดๆ ตามข้อ 5.2 ของหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 900 MHz และการถูกริบเงินก็ไม่ได้มีผลต่องบการเงินของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ

 

]]>
62822
บทสรุป กสทช. เมื่อแจสไม่มาจ่ายเงินจะเกิดอะไรขึ้น https://positioningmag.com/62809 Mon, 21 Mar 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62809
หลังจากที่สำนักงาน กสทช.ได้จัดเตรียมสถานที่เพื่อรอให้ แจส โมบาย บรอดแบนด์ นำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น. ของวันที่ 21 มีนาคม 2559 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่แจสจะต้องนำเงินงวดแรกจำนวน 8,040 ล้านบาท พร้อมกับหนังสือรับรองจากสถาบันการเงิน หรือแบงก์การันตี อีก 67,614 ล้านบาท รวมเบ็ดเสร็จ  75,654 ล้านบาท 
 
แต่เวลาผ่านมาจนถึงเกือบเที่ยงวันแล้ว 12.00 น. แจส ก็ยังไม่ได้ติดต่อกับทาง กสทช. แต่อย่างใด จนล่าสุด ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า ทาง กสทช.ได้โทรศัพท์ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ แต่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบว่าจะเข้ามาชำระเงินหรือไม่ โดย กสทช.จะเปิดพื้นที่รอจนถึง 16.30 น. ซึ่งทาง กสทช.ต้องการให้แจสแสดงท่าทีว่าจะนำเงินมาจ่ายค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz หรือไม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนก่อนเวลาเที่ยง 
 
นอกจากนี้ ฐากร ยังได้ส่งข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวด้วยว่า “ตามที่มีข่าวบางสื่ออ้างคำพูดของผมว่าแจสจะนำเงินมาชำระในช่วงบ่ายวันนี้ ผมขอเรียนยืนยันว่า ผมไม่เคยให้สัมภาษณ์ใดๆ ว่า แจสจะนำเงินมาชำระเงินในช่วงบ่ายวันนี้ จึงเรียนมาเพื่อแจ้งให้สื่อมวลชนทุกๆท่านได้รับทราบข้อเท็จจริง” 
 
 
ในกรณีที่แจส ไม่จ่ายแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
 
ในวันนี้ (21 มีนาคม 2559) ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) เปิดเผยถึงกรณีที่แจสไม่นำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ถึงแนวทางที่ กสทช. จะดำเนินการต่อไป ดังนี้ 
 
-ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เพื่อหารือแนวทาง ในวันที่ 22 มีนาคม  
 
-รายงานให้รัฐบาลรับทราบ ในวันที่ 23 มีนาคม เนื่องจากเงินค่าประมูล 4G ต้องนำส่งเป็นรายได้ของรัฐ 
 
-ยึดหลักทรัพย์ค้ำประกันจากแจส จำนวน 644 ล้านบาท 
 
-ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการประมูล 4G ประเมาณ 160 ล้านบาท เป็นค่าเสียโอกาส จากการที่คนไทยไม่สามารถใช้งาน 4G คลื่น 900 อีก 10 MHz ได้เต็มประสิทธิภาพ 
 
-เปิดประมูลคลื่น 900 MHz ในอีก 4 เดือนข้างหน้า ในราคาเริ่มต้นเท่ากับราคาที่แจสชนะประมูลได้ที่ 75,654 ล้านบาท 
 
-แต่หากเปิดประมูลแล้ว ไม่มีเอกชนรายใดสนใจเข้าประมูล จะพักการประมูลคลื่น 900 MHz ไปไม่น้อยกว่า 1 ปี 
 
-เสนอแนวทางเลือกให้รัฐบาลพิจารณา คือ การให้ผู้ชนะประมูล อันดับ 2 และอันดับ 3 คือ แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ค ในเครือเอไอเอส และดีแทค ไตรเน็ต เน็ตเวิร์ค ในเครือดีแทค มาเจรจาต่อรองราคา ซึ่งอาจเป็นราคาเดียวกับที่แจสเสนอไว้ 

 

]]>
62809
แจส ทิ้งใบอนุญาต 900 MHz https://positioningmag.com/62813 Mon, 21 Mar 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62813
ในที่สุดแจส โมบาย บรอดแบนด์ ก็ไม่มาจ่ายค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ตามกำหนดเวลา คือภายในเวลา 16.30 น ของ วันที่ 21 มีนาคม 2559  ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่แจสจะต้องนำเงินงวดแรกจำนวน 8,040 ล้านบาท พร้อมกับหนังสือรับรองจากสถาบันการเงิน หรือ แบงก์การันตี อีก 67,614 ล้านบาท รวมเบ็ดเสร็จ  75,654 ล้านบาท 
 
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้แถลงข่าวถึงกรณีที่แจสไม่มาชำระค่าใบอนุญาตตามกำหนดเวลา โดยขณะนี้ให้ยึดมติตามที่ประชุม กทค. เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เช่น หากมีการประมูลใหม่ ราคาเริ่มต้นการประมูลจะต้องเริ่มต้นในราคาที่ผู้ชนะประมูลไปในครั้งที่แล้ว 
 
แต่เนื่องจากการประมูลคลื่น 900 MHz เป็นเรื่องระดับชาติ จึงต้องมีความระมัดระวังและรอบคอบ ดังนั้นการประเมินตัวเลขความเสียหายที่แจสไม่มาชำระเงินจะเป็นเท่าไหร่ อาจจะเร็วเกินไปที่จะให้คำตอบได้ จึงอยากให้รอข้อสรุปจากที่ประชุม กทค.ในวันที่ 23 มีนาคมนี้อีกครั้ง ซึ่งได้มีการจัดตั้งอนุกรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมาย ประกอบไปด้วย เลขากฤษฎีกา ผู้แทนจากกระทรวงการคลับ สำนักงานอัยการสูงสุด มาช่วยหารือ ประกอบการพิจารณาของบอร์ด กทค. 
 
โดยยืนยันด้วยว่า ถึงแม้ว่าแจสจะติดต่อมาเพื่อขอชำระเงินในวันถัดไป หรือวันอื่นๆ ก็ไม่มีผลอีกต่อไป 
 
อ่านประกอบ 
 
 
 
 
 
 

]]>
62813
เคานต์ดาวน์ แจส ขี่คลื่น 4G ชี้ชะตาด้วย “มันนี่เกม” https://positioningmag.com/62707 Thu, 10 Mar 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62707
จะได้ไปต่อหรือไม่? โค้งสุดท้ายของแจส กับการก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นในอุตสาหกรรมมือถือ เมกกะโปรเจกต์ระดับประเทศ ที่ต้องชี้ชะตาด้วย “มันนี่เกม” กำลังเป็นคำตอบสุดท้าย
 
กำลังถูกจับตามองอย่างหนักกับความเคลื่อนไหวล่าสุดของบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ แจส ได้ออกมาประกาศซื้อหุ้นคืนจำนวน 1,426 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนหุ้นซื้อหุ้น 20% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด ในราคาหุ้นละ 5บาท หรือคิดเป็นมูลค่าราว 5,000 ล้านบาท
 
หลายคนตั้งคำถามว่า แจส กำลังเดินเกมอะไรกันแน่ จะเดินหน้า หรือถอยหลัง?
 
เพราะอีกเพียงแค่ 10 กว่าวันเท่านั้น ก็จะถึงวันที่ 21มีนาคม 2559ที่ถึงกำหนดเส้นตายที่แจส โมบาย บรอดแบนด์ บริษัทลูกของแจสจะต้องนำเงินมาจ่ายค่าใบอนุญาต 4G บนคลื่นความถี่ 900 MHz แบ่งเป็นเงิน 8,040ล้านบาท และหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงิน หรือแบงก์การันตี เป็นเงินจำนวนที่เหลืออยู่ทั้งหมด รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น  75,654ล้านบาท ส่งมอบให้กับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
 
แต่จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนจากแจส ว่าจะเอาอย่างไรกันแน่
 
ที่ต้องมาลุ้นกันมากเป็นพิเศษ เพราะ “แจส” จัดเป็นมวยรุ่นเล็กที่หาญกล้าขึ้นเวทีมาชกกับมวยรุ่นใหญ่ “ระดับเฮฟวีเวต” ในธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจัดอยู่ในระดับ Mega Project ผู้เล่นล้วนแต่เป็นกลุ่มทุนรายใหญ่ ระดับแถวหน้าของประเทศ หรือไม่ก็ต้องเป็นบริษัทข้ามชาติ  
 
เมื่อ แจส คว้าชัยชนะประมูลใบอนุญาตมาได้ จึงมีกองเชียร์อยู่ไม่น้อย เพราะต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมมือถือ จากการมีผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามาบ้าง แทนที่จะตกอยู่ในมือผู้เล่น 3 ราย และแจสเองก็ไม่ธรรมดา ก่อนหน้านี้ บริษัท 3 BB บริษัทในเครือก็เคยเขย่าตลาดบรอดแบนด์แย่งชิงส่วนแบ่งตลาดจากทรูมาได้ไม่น้อย ด้วยกลยุทธ์ป่าล้อมเมืองและราคามาแล้ว และยังเป็นเจ้าของช่องโมโน ทีวีดิจิตอล
 
แต่แจสเองจะต้องเผชิญกับคำถามว่า จะนำเงินที่ไหนมาลงทุน เพราะนอกจากค่าใบอนุญาต 4G คลื่น 900 MHz ยังมีเรื่องค่าเช่า งบการตลาด ทีมงาน เพราะขนาดของธุรกิจรอบนี้ใหญ่กว่าที่แจสเคยทำมาอย่างสิ้นเชิง
 
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด่านแรก คือ การจ่ายค่าใบอนุญาต และแบงก์การันตี ทำให้ พิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ต้องออกมาเปิดแถลงข่าวถึง 2 ครั้ง 2 ครา เพื่อยืนยันว่า ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกรุงเทพ ที่เจรจากันไว้ตั้งแต่ก่อนประมูลแล้ว
 
แต่จนแล้วจนรอด ก็ยังไม่มีวี่แววว่าแจสจะเข้าไปจ่ายค่าใบอนุญาต มีแต่คำยืนยันจาก กสทช.ว่าได้รับการติดต่อจากแจสว่าจะมาจ่ายแน่ๆ
 
ทางด้านธนาคารกรุงเทพ ได้ออกมาระบุว่า ที่ยังไม่อนุมัติเงินกู้ให้ เพราะต้องการให้แจสเสนอแผนธุรกิจใหม่อีกครั้ง เนื่องจากตัวเลขประมูลสูงกว่าที่เคยประเมินกันไว้ 4-5 หมื่นล้าน แต่ประมูลจริงกลับทะลุไปถึงกว่า 7 หมื่นล้าน ธนาคารกรุงเทพจึงให้แจสกลับไปทำเรื่องมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง และที่แบงก์อยากรู้รายละเอียด คือ ความสามารถในการหารายได้ ทำกำไร และโอกาสทางธุรกิจ เช่น อาจจะมีการเพิ่มทุน และหาพันธมิตรเข้ามา เพื่อมา “การันตี” ความมั่นใจให้กับแบงก์
 
ผู้บริหารของจัสมินบอกว่า คงไม่เลือกวิธีการเพิ่มทุน เนื่องจากผู้ถือหุ้นเดิมต้องการรักษาสัดส่วนการถือหุ้น และการบริหารไว้ ทางออกน่าจะเป็นการหาพันธมิตรต่างชาติเข้ามาถือหุ้น  และตั้งแต่มีข่าวออกไป ก็มีบริษัทข้ามชาติที่อยู่ในธุรกิจสื่อสารของทุกประเทศในแถบเอเชีย ติดต่อขอมาเจรจาหลายราย
 
แต่เรื่องแบบนี้ก็ต้องใช้เวลา แม้จะไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ก็ตาม เพราะทุกรายเคยผ่านการลงทุน ถือหุ้นมาแล้ว จึงมีความเข้าใจธุรกิจค่อนข้างดี แต่ก็ต้องมีเรื่องรายละเอียดต้องเจรจา จึงยังไม่สรุป
 
จนกระทั่งล่าสุด แจส ได้ออกมาประกาศซื้อหุ้นคืน 20% ในราคาหุ้นละ 5 บาท หรือคิดเป็นมูลค่าราว 5,000 ล้าน  
 
ความเคลื่อนไหวของแจสครั้งนี้ ก็ยิ่งสร้างความสงสัยให้กับนักลงทุน และนักวิเคราะห์เอง ต่างก็ออกมาประเมินเหตุการณ์ ภายใต้พื้นฐานของข้อมูลที่แตกต่างกันไป
 
นักวิเคราะห์บางรายมองว่า นี่คือสัญญาณว่า แจส น่าจะเตรียมถอดใจกับการหาเงินไปจ่ายค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz แล้ว เพื่อไม่ต้องแบกรับต้นทุนจำนวนมาก ทั้งค่าใบอนุญาต และการลงทุนทำธุรกิจอีกจำนวนมาก จึงได้นำเงินสดที่มีอยู่ในมือไปซื้อหุ้นคืนแทน เพื่อช่วยให้ราคาหุ้นดีดกลับไปที่ระดับเดิมก่อนจะมีการเข้าสู่ 4G และจนถึงวันนี้ แจสเองก็ยังไม่ได้ประกาศพันธมิตรอย่างเป็นทางการ
 
ในขณะที่นักวิเคราะห์บางรายก็มองว่า การที่แจสออกมาประกาศซื้อหุ้นคืนในช่วงเวลานี้ เป็นสัดส่วนหุ้นที่ซื้อคืนสูงถึง 20% ก็เป็นไปได้ว่าแจสมีแผนจะเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงในภายหลัง เนื่องจากการเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงในภายหลัง เพื่อไม่ต้องการให้ Control Dilution ของพิชญ์ โพธารามิก ต่ำเกิน 20%
 
นอกจากนี้ยังมองว่า แบงก์กรุงเทพน่าจะยังคงให้การสนับสนุนแจส เพราะในอนาคต เรื่องของ “ฟินเทค” จะเป็นโจทย์ใหญ่ที่จะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมของการสื่อสาร และธนาคาร ในระดับที่เป็นการเปลี่ยน “แลนด์สเคป“ ทางด้านการเงิน และจะเกิดการร่วมือกันระหว่างธนาคาร และผู้ให้บริการมือถือ เกิดขึ้นในอนาคต
 
แต่จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีใครรู้คำตอบที่แน่ชัดว่า “แจส” จะอยู่หรือไปบนเวทีใหญ่ระดับ “Mega Project” ในอุตสาหกรรมมือถือ จนกว่าจะถึงวันที่ 21 มีนาคม 2559
 
แม้แต่ กสทช.เอง จากที่เคยยืนยันเป็นมั่นเป็นเหมาะ เวลานี้ก็ขอสงวนสิทธิ์ไม่ออกความเห็นกรณีของแจสแล้ว เพราะเกรงจะกระทบต่อราคาหุ้น และยืนยันว่าจะไม่มีการผ่อนปรนผ่อนจ่ายเป็นงวด หรือขยายระยะเวลาในการจ่ายชำระเงินออกไป
 
สิ่งที่เกิดขึ้นเวลานี้ ที่หลายคนคิดว่ารู้ อาจไม่ใช่สิ่งที่รู้ก็ได้ เช่นเดียวกับ “พันธมิตร” ที่แจสกำลังติดต่ออยู่ อาจจะมีทั้งที่ “มองเห็น” และ “มองไม่เห็น” ก็เป็นได้
 
เพราะทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับ “มันนี่เกม” จะพลิกสถานการณ์ทำให้แจสก้าวข้ามจากที่เคยสร้างทางหลวงชนบท มาสู่ถนนซูเปอร์ไฮเวย์ได้หรือไม่ ส่วนนักลงทุนรายย่อย ก็รอดูแค่ว่า จะซื้อหุ้นแล้วไปต่อดี หรือขายทิ้งดี
 
งานนี้เลยต้องขึ้นอยู่กับ “มันนี่เกม” ล้วนๆ
 
 

 

]]>
62707