JMART – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 01 May 2020 02:26:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดบิ๊กดีล JMART & KB เเบงก์เกาหลี นำกลยุทธ์ “ศิลปิน KPOP” เจาะสินเชื่อเเฟนคลับไทย https://positioningmag.com/1276373 Thu, 30 Apr 2020 13:00:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276373 เเม้ในยามที่ธุรกิจกำลังสู้กับวิกฤต COVID-19 ยังมีดีลใหญ่มาสะเทือนวงการสินเชื่อไทย เมื่อ JMART เปิดทางให้ KB Kookmin Card กลุ่มธุรกิจการเงินชั้นนำของเกาหลีใต้ ลงทุนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน “JFINTECH” ได้เงินก้อนโต 3,000 ล้านต่อยอดธุรกิจ เตรียมใช้กลยุทธ์นำ “ศิลปิน KPOP” เจาะสินเชื่อเเฟนคลับเเละคนรุ่นใหม่ไทยที่กำลังเติบโตสูง

เบื้องหลังดีลใหญ่ JMART & KB

ที่มาของการร่วมทุนครั้งนี้ KB Kookmin Card  ผู้ให้บริการบัตรเครดิตการ์ด และสินเชื่อส่วนบุคคลรายใหญ่ของเกาหลีใต้ มีฐานลูกค้าจำนวน 34 ล้านราย ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ KB Financial Group ได้ขยายลงทุนมายังอาเซียน

โดยเริ่มลงทุนธุรกิจ Non-Bank เน้นสินเชื่อส่วนบุคคลใน กัมพูชา เมียนมา ลาว เวียดนามเเละอินโดนีเซียก่อน จากนั้นต้องการขยับมาไทย เพื่อตั้งให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค จึงเริ่มมองหาพันธมิตรกลุ่มธุรกิจนี้ โดยมี EY(Ernst & Young) บริษัทตรวจสอบบัญชีรายใหญ่ของโลกเป็นผู้ประสานงาน

อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากหาพาร์ตเนอร์ในไทยมาร่วม 2 ปีก็ได้ตัดสินใจเลือก JFINTECH เเละทำการศึกษาร่วมกันกว่า 1 ปีครึ่งก่อนจะสำเร็จเเละแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา

โดยจะดำเนินการผ่านการเพิ่มทุนจดทะเบียนในบริษัทย่อย ด้วยมูลค่า 650 ล้านบาท เป็นการเพิ่มทุนเป็น 1,112,851,210 บาท แบ่งเป็น ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน และโอนหุ้นเดิมให้อีก 1 หุ้น รวมจำนวนหุ้นทั้งหมด 55,631,431 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (Par) หุ้นละ 10 บาท ซึ่ง JMART และบริษัทในเครือ JMT จะสละสิทธิ์การจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนใน JFINTECH

ดังนั้นการร่วมทุนครั้งนี้ ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ JMART ใน JFINTECH เหลือ 44.2% จากเดิม 90.2% ขณะที่ JMT ถือครองหุ้นในสัดส่วน 4.8% จากเดิม 9.8% ส่วน KB Kookmin Card จะถือครองหุ้น 49.99%

เบื้องต้นคาดว่า KB จะได้เข้าจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนแล้วเสร็จภายในเดือน มิ.ย.ปีนี้ เเละเดินหน้า “เเผนต่อไป” โดยการหาสินเชื่ออื่นมาทดแทนสัญญากู้ยืมเงินผู้ถือหุ้นในปัจจุบัน ซึ่งมีรายละเอียดยอดเงินกู้ ณ สิ้นปี 2562 รวม 3,012.5 ล้านบาท เป็นยอดเงินกู้ของบริษัท จำนวน 2,717.5 ล้านบาท และยอดเงินกู้ของ JMT จำนวน 295 ล้านบาท

“ดีลครั้งนี้จะทำให้กลุ่ม JMART ได้เงินคืนรวม 3,012.5 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้สถานะทางการเงินของบริษัทแข็งแกร่งมากขึ้น”


ปั้น JFINTECH เป็น Top 5 ธุรกิจสินเชื่อ-บัตรเครดิตในไทย

ผู้บริหาร JMART บอกว่า การร่วมทุนครั้งนี้ได้รับผลประโยชน์กันเเบบ Win-Win ทั้ง 2 ฝ่าย โดย JFINTECH จะได้นำเอาความรู้และเทคโนโลยีทางการเงินของ KB เข้ามาเสริมให้กับกลุ่มบริษัทในระยะยาว ขณะที่ความแข็งแกร่งในเครือข่ายของ JFINTECH ที่มีความเชี่ยวชาญในท้องถิ่น ก็จะเป็นเหมือนแพลตฟอร์มที่ทำให้ KB ขยายธุรกิจต่อไปได้หลายมิติในอาเซียน

“JFINTECH” ตั้งเป้าจะเป็น 1 ใน 5 ผู้นำธุรกิจสินเชื่อและบัตรเครดิตในประเทศไทย โดยในช่วง 1-2 ปีแรกจะเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในบริษัท พร้อมปล่อยสินเชื่อ จากนั้นช่วงปีที่ 3-4 จะเข้าไปเจาะตลาดบัตรเครดิต เเละเปิดตัวโปรดักต์ใหม่ในกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคล รุกการตลาดเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ในไทย ส่วนช่วงปีที่ 5 เป็นต้นไป จะเป็นการสร้างการเติบโตเเละทำกำไรมากขึ้น”

 

โดยกลุ่ม JMART คาดว่าหลังการร่วมทุนเเล้วเสร็จจะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ในเฟสเเรก ราว 650 ล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าผู้คนจะต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

รุกการตลาด “ศิลปิน KPOP” เจาะสินเชื่อเเฟนคลับ-คนรุ่นใหม่  

เหล่าธนาคารในเกาหลีใต้ กำลังเเข่งขันกันดุเดือด ด้วยการนำ “ศิลปิน KPOP” มาเพิ่มยอดผู้ใช้เเละออกขายผลิตภัณฑ์ดีไซน์พิเศษกันคึกคัก KB Kookmin Card ก็ขึ้นชื่อว่าเป็นธนาคารใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในด้านนี้ ด้วยเป็นสปอนเซอร์ให้บอยเเบนด์ชื่อดังที่มีฐานเเฟนคลับทั่วโลกอย่าง “BTS” (Bangtan Sonyeondan)

โดย KB มีการทำตลาดทั้งออฟไลน์เเละออนไลน์ที่เข้มข้น เน้นเจาะกลุ่มตลาดคนรุ่นใหม่ที่เป็น “Young Generation”

จุดเเข็งด้านการตลาดไอดอลนี้ ทำให้กลุ่ม JMART มองว่าเป็นโอกาสที่จะนำมาต่อยอดในไทย ซึ่งกระเเส KPOP กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก มีฐานเเฟนคลับเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย มีกำลังซื้อเเละมีการใช้จ่ายด้านไลฟ์สไตล์สูง จึงเป็นลูกค้าที่เหมาะเเก่การปล่อยสินเชื่อเเละบัตรเครดิต

ก่อนหน้านี้วงการธนาคารไทย ก็มีการนำศิลปิน KPOP มาทำตลาดเจาะกลุ่ม New Gen ที่มีกว่า 10 ล้านคนในไทยมาเเล้ว อย่างโปรเจกต์ใหญ่ KBankxBLACKPINK ของกสิกรไทยร่วมกับเกิร์ลกรุ๊ปชื่อดัง BLACKPINK ในคอนเซ็ปต์ #แค่เชื่อก็เป็นได้ ปล่อยโปรดักต์แรกเป็นบัตรเดบิตคอลเลคชั่นพิเศษที่ตั้งเป้ายอดบัตรถึง 1 ล้านใบ

อาจเป็นไปได้ว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็นศิลปินวง BTS หรือวงอื่นๆ มาอยู่บนบัตรของ JFINTECH ก็เป็นได้ เพราะมีฐานเเฟนคลับในไทย “เยอะมาก” อย่างไรก็ตามเเต่..ก็ต้องคอยลุ้นกันต่อไป

พับเเผนขยาย Jaymart Mobile – ธุรกิจทวงหนี้ยังสดใส 

ย้อนกลับมาคุยกันถึงธุรกิจที่น่าเป็นห่วงที่สุดในกลุ่ม JMART นั่นก็คือร้านขายมือถือเพราะ COVID-19 ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป หันไปช้อปสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เเละมีกำลังซื้อลดลง ชะลอการใช้จ่าย

“ในปีนี้ Jaymart Mobile คงไม่ขยายสาขาในห้างสรรพสินค้าเพิ่มเติม เเละอาจปรับลดจำนวนสาขาลงด้วย”

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจในเครืออย่าง Singer ยังมีโอกาสขยายการเติบโตได้อีก เพราะไม่ต้องอยู่ในห้าง เเละจะเข้ามาเสริมช่องทางการขายของ Jaymart Mobile ได้

ขณะเดียวกัน JMART ก็ยังมีธุรกิจดาวรุ่งอยู่ในมือ เเม้ต้องเผชิญเศรษฐกิจฝืดเคือง นั่นคือ “ธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ” ของบริษัทในเครืออย่าง JMT ยังเป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากบริษัทมีพอร์ตบริหารหนี้สะสมในปัจจุบันอยู่ที่ 177,000 ล้านบาท และสามารถทยอยรับรู้รายได้จากกระแสเงินสด (Cash collection) ที่สามารถเก็บเข้ามาได้ต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 10 ปี

“ในสถานการณ์ COVID-19 จะทำให้มีเเนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในระบบเพิ่มขึ้น จึงตั้งเป้าใช้งบลงทุนซื้อหนี้เข้ามาบริหารในปีนี้ที่ 4,500 ล้านบาท สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน” สุทธิรักษ์ ตรัย
ชิรอาภรณ์ ซีอีโอของ JMT ระบุ

สำหรับภาพรวมธุรกิจ เเม่ทัพของ JMART ยืนยันว่าปีนี้ก็น่าจะเป็นปีที่ดีที่สุดอีกปีหนึ่งของบริษัท จากปีที่แล้วที่ทำกำไรได้สูงสุด ปีนี้ก็น่าจะทำสถิติกำไรสูงสุดได้อีกปีหนึ่ง โดยยังคงตั้งเป้าการเติบโตของกำไรไว้ที่ 25% รายได้เติบโต 10% เเม้จะยอมรับว่าได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เเต่ยังบริหารจัดการต้นทุนเเละค่าใช้จ่ายได้ดี จึงคาดว่าจะยังคงทำได้ตามเป้า เเละสถานการณ์น่าจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง

 

]]>
1276373
เจมาร์ทนำร่องขายหุ่นยนต์ ฟันธงตลาดสมองกลจะโตเหมือนมือถือ  https://positioningmag.com/1192372 Fri, 12 Oct 2018 04:59:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1192372 ถือคติเริ่มก่อนได้เปรียบ สำหรับเจมาร์ทที่แสดงจุดยืนพร้อมขายหุ่นยนต์ก่อนที่ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว มั่นใจตลาดสมองกลสำหรับใช้ที่บ้านจะโตตามรอยคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ 

ในมุมผู้บริโภค เจมาร์ทมองโอกาสทองที่ความสามารถของหุ่นยนต์ ภาวะสมองกลช่วยจัดการงานทุกสิ่งที่โทรศัพท์มือถือทำได้ ทำให้มูลค่าตลาดหุ่นยนต์ในอนาคต จะยิ่งใหญ่หลายหมื่นล้านบาทเทียบเท่าตลาดโทรศัพท์มือถือวันนี้

ในมุมองค์กรธุรกิจ อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มจะใช้หุ่นยนต์ คือโรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ และอุตสาหกรรมค้าปลีกทุกประเภท แม้ว่าหุ่นยนต์จะไม่สามารถทดแทนการใช้แรงงานมนุษย์ได้ทั้งหมด 100% แต่คาดว่าจะทดแทนได้ 50-70% 

ต้องเริ่มวันนี้

เจมาร์ทเป็นบริษัทค้าปลีกที่ขายโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก เหตุผลที่ทำให้เจมาร์ทหันมาขายหุ่นยนต์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา

อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART เล่าว่า การตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นบนความเชื่อว่าเทคโนโลยีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยตอนแรกที่เจมาร์ทเริ่มขายโทรศัพท์มือถือ ตอนนั้นลูกค้าก็ยังน้อย ราคายังแสนแพง แต่อดิศักดิ์เชื่อว่าเป็นเทรนด์เดียวกัน

ตอนนั้นผมอยู่ที่บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าฟิลิปส์ ไฟฟ้าไปที่ไหน ทีวีก็ไปถึง พอมาเป็นมือถือ สัญญาณไปที่ไหน มือถือก็ไปที่นั่น ผมเชื่อในเทคโนโลยี และเชื่อว่า UBTech จะสามารถผลิตสินค้าทั้งแต่บีทูบี ใช้ในบ้าน รวมถึงระดับการศึกษา คิดว่าการพัฒนาธุรกิจนี้ คงต้องเริ่มแล้ววันนี้” 

UBTech ที่อดิศักดิ์กล่าวถึงคือบริษัทผู้พัฒนาหุ่นยนต์สัญชาติไต้หวันซึ่งขณะนี้มีฐานะเป็นพันธมิตรรายสำคัญของเจมาร์ทในวงการหุ่นยนต์ UBTech จะรับหน้าที่ผลิตงานต้นแบบที่สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (Institute of Field Robotics) หรือ FIBO เป็นผู้สร้างขึ้น โดยหุ่นของ FIBO จะถูกพัฒนาร่วมกับบริษัทจันวาณิชย์เจ้าของงานระบบอีพาสปอร์ตไทยซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องระบบวิเคราะห์ใบหน้า คาดว่าความร่วมมือนี้จะทำให้เกิดการเริ่มใช้หุ่นยนต์ในธุรกิจค้าปลีกไทยได้ช่วงปีหน้า

จุดต่างของ UBTech คือการทำธุรกิจทั้งหุ่นยนต์ส่วนตัวและหุ่นยนต์สำหรับธุรกิจ หุ่นยนต์ที่ UBTech ผลิตจึงรองรับการใช้งานทั้งที่บ้าน และในธุรกิจอย่างห้างสรรพสินค้า สนามบิน และธุรกิจค้าปลีก โดยธุรกิจเหล่านี้สามารถแนะนำสินค้าที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละคนได้ด้วยหุ่นยนต์ สามารถขยายผลแคมเปญได้แบบเฉพาะกลุ่ม และสามารถใช้หุ่นยนต์เก็บฟีดแบ็กแคมเปญได้ แถมยังเอามาใช้เป็นกล้องวงจรปิดได้อีกทาง

โอกาสของวงการหุ่นยนต์เพื่อธุรกิจนั้นสดใสชัดเจนมาก จุดนี้ ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้ง FIBO ให้ข้อมูลว่า ประเทศไทยนำเข้าระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มากกว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี ตัวเลขนี้มีแนวโน้มมากขึ้นเพราะตลาดแรงงานของไทยกำลังเปลี่ยนแปลง

แรงานต่างด้าวกำลังกลับบ้านเกิด เพราะบ้านเกิดกำลังพัฒนา แต่ประเทศไทยก็ไม่สามารถหยุดการผลิตได้เหมือนกัน ความสามารถของเทคโนโลยีวันนี้จึงทำให้เอกชนสนใจมาก เพราะสามารถลดต้นทุนทุกด้านได้

ดร.ชิตให้ข้อมูลว่า ตลาดระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปีทั่วโลก มูลค่าตลาดปี 2014 อยู่ที่ 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะโตเป็น 1.4 ล้านล้านเหรียญ โดยเอเชียครองส่วนแบ่งใหญ่ราว 40% แชมป์คือไต้หวันซึ่งเป็นประเทศลำดับที่ 1-2 ที่ผลิตเครื่องจักรกลเชิงการเกษตรมากที่สุดในโลก

สำหรับหุ่นยนต์ในบ้าน Peng Wu ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจต่างประเทศของ UBTech อธิบายโอกาสของตลาดหุ่นยนต์สำหรับบ้านว่า หุ่นยนต์จะเตือนได้ว่าสมาชิกในบ้านต้องกินยาเมื่อไร นอนเมื่อไร การยกตัวอย่างแบบนี้อาจมองว่าการแจ้งเตือนเหล่านี้ไม่สำคัญ แต่หุ่นยนต์สามารถเตือนได้ในรอบปี หรือรอบหลายปี และจะมีความคิดความจำมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนเด็กจนเป็นผู้ใหญ่ นี่เองที่จะตอบโจทย์วิถีชีวิตในอนาคตได้

สิ่งที่ UBTech ทำได้คือการพัฒนาหุ่นยนต์ในราคาที่ต่ำกว่าหุ่นยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่น “Asimo” ของฮอนด้าที่มีราคาราว 2 ล้านบาท หรือหุ่นยนต์ญี่ปุ่นที่ขายแล้วตามห้างดังอย่างพารากอนก็มีราคาหลักแสนบาท ทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคไม่ได้ 

ขอ 3 ปี ตลาดหุ่นยนต์โตเท่ามือถือ

อดิศักดิ์เชื่อว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี กว่าตลาดหุ่นยนต์จะขยายตัวระดับตลาดโทรศัพท์มือถือ ตลาดหุ่นช่วงแรกคาดว่ามียอดขายอยู่ที่หลักหมื่นตัว แต่เมื่อผ่านไป 5 ปีอาจจะเพิ่มเป็น 2 แสน หรือเทคโนโลยีกับราคาอาจจะทำให้เป็น 3 แสนตัวก็ได้ 

ปัจจัยผลักดันคือประโยชน์ของหุ่นยนต์ที่เพิ่มขึ้น บนราคาที่จะลดลง

การเปิดตลาดหุ่นยนต์นี้ของเจมาร์ทเกิดขึ้นเพื่อต้องการตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการวางแผนลดบุคลากรลงด้วย จุดนี้เจมาร์ทให้ข้อมูลว่าปกติแล้วค่าแรงพนักงานคิดเป็นต้นทุนราว 20-30% ส่วนตัวเจมาร์ทวางแผนนำหุ่นยนต์มานำร่องใช้งานใน 5 สาขา 

ผู้บริหารเจมาร์ทย้ำว่ายังไม่มีการกำหนดราคาจำหน่ายหุ่นยนต์ในขณะนี้ แต่รุ่นใหญ่จะมีราคาหลักล้าน รุ่นสำหรับคอนซูเมอร์ราว 3-4 หมื่นบาท ขณะที่ภาคการศึกษาต้องมีราคาไม่ถึงหมื่นบาท ทั้งหมดนี้รวมการพัฒนาระบบให้รองรับภาษาไทย คาดว่ามาร์จิ้นการขายหุ้นจะอยู่ในระดับเดียวกับสินค้าทั่วไปคือราว 30-40% ของราคาขาย ตัวเลขนี้จะชัดเจนเมื่อเริ่มธุรกิจแล้ว

ทาโร่ เลิศวัฒนารักษ์ ซีอีโอบริษัทเจเวนเจอร์บริษัทย่อยที่เกิดขึ้นมาเพื่อพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีให้เกิดในเจมาร์ท มองว่าหากโครงการหุ่นยนต์นี้ขยายตัว และสามารถรวบรวมข้อมูลได้มากพอสร้างเป็นระบบ AI คาดว่าจะมีการตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นมาดูแลบริหารจัดการการประยุกต์ใช้ข้อมูลโดยเฉพาะ เบื้องต้นยังไม่มีการกำหนดเวลาแต่คาดว่าอีกไม่นานนับจากที่หุ่นเริ่มวางตลาด

หลังบ้านคือดาต้าทั้งสิ้น ไม่มีดีไวซ์ที่เรียนรู้ได้เร็วเท่าหุ่นยนต์ สิ่งที่เราทำคือประเทศไทยเริ่มเก็บข้อมูลและพัฒนาตรงนี้แล้ว เจมาร์ทมีเป้าหมายจะจัดตั้งคลาวด์ เป็นแพลตฟอร์ม AI ให้ประเทศ

นี่เองที่จะเป็นจิ๊กซอว์ต่อยอดธุรกิจของเจมาร์ท เมื่อถึงวันที่ตลาดหุ่นยนต์ยิ่งใหญ่เทียบเท่าตลาดโทรศัพท์มือถือ ตัวเลขยอดขายหลายหมื่นล้านบาทเชื่อว่าจะเกิดขึ้นไม่ยาก เพราะหุ่นยนต์ทำงานส่วนใหญ่ที่โทรศัพท์มือถือทำได้ แต่ต่างเพียงการแสดงผลด้วยการพูดและท่าทาง แทนหน้าจอเท่านั้น 

สำหรับมูลค่าตลาดหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของไทยวันนี้ ดร.ชิตระบุว่าในตัวเลขที่ประเทศไทยนำเข้าระบบอัตโนมัติราว 2 แสนล้านบาท นั้นเป็นตัวเลขส่งออกราว 3-4 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ถือว่าขาดดุลมากกว่า 1.6-1.7 แสนล้านบาท ตรงนี้เป็นตลาดในประเทศไทยที่มีโอกาสงดงามรออยู่.

]]>
1192372
“JFIN Coin” ไม่ฟิน ! เทรดวันแรก ดับสนิท ราคาร่วง -57.09% https://positioningmag.com/1168116 Wed, 02 May 2018 09:44:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1168116 รอลุ้นกันมาพักใหญ่ สำหรับการเปิดซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลผ่านการระดมทุน ICO ในวันแรกของบริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ JVC บริษัทลูกของ JMART ซึ่งถือเป็นรายแรกในประเทศไทย ที่ระดมทุนด้วยการทำ Initial Coin Offering (ICO) ในชื่อเหรียญ JFin Coin โทเคนสัญชาติไทย

โดยเข้าซื้อขายหน่วยโทเคนในตลาดรอง Coin Asset หรือกระดานซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล ได้เป็นครั้งแรก (1st Trading Day) ในวันที่ 2 พฤษภาคม ปรากฏว่าราคาที่ซื้อขายปรับลดลงมากที่สุดกว่า -57.09% และมีความผันผวนรุนแรงอย่างมาก โดยขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 6.45 บาท แต่ก็ปรับตัวลดลงต่ำสุดที่ 3 บาทต่อโทเคน

ความตั้งใจของ JMART ต้องการนำบริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ JVC บริษัทย่อยที่ JMART ถือหุ้นในสัดส่วน 80% ทำธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชันทางด้านฟินเทค ลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัป และเป็นรายแรกในประเทศไทยของกลุ่มบริษัทมหาชน ที่เข้ามาระดมทุนด้วยการทำ Initial Coin Offering (ICO) ในชื่อเหรียญ JFin Coin โทเคนสัญชาติไทย โดยเข้าซื้อขายในตลาดรองวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 เป็นวันแรก

อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART บอกว่า การนำบริษัท บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ JVC ซึ่งทำธุรกิจ พัฒนาซอฟต์แวร์ และแอฟพลิเคชันทางด้านฟินเทค ลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัป ระดมทุนในตลาดเงินดิจิทัล ก็เพื่อต้องการปลุกกระแส ICO ในประเทศไทย และพร้อมจะอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานภาครัฐบาล ที่เตรียมจะประกาศกฎเกณฑ์ต่างๆ ออกมาควบคุม ดูแล และสนับสนุนในอนาคต

ทั้งนี้ JFIN Coin จะจะระดมทุนในหลายช่วง ซึ่งช่วงแรกจะระดมทุน จำนวน 100 ล้านโทเคน และได้มีการเปิดพรีเซลไปแล้วเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2561 ที่ผ่านมา ในราคาโทเคนละ 6.60 บาท โดยมีผู้เสนอซื้อหมดทั้งจำนวน

อย่างไรก็ตาม JVC จะระดมทุนออกขาย ICO ในชื่อ JFIN Coin ทั้งสิ้น 300 ล้านเหรียญ เพื่อนำไปพัฒนาระบบสินเชื่อแบบดิจิทัล โดยอาศัยเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปล่อยสินเชื่อในปัจจุบัน

ทางด้าน ธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ JVC JFIN Coin จำนวน 100 ล้านโทเคน ด้วยราคาแรกที่ 6.45 บาทต่อโทเคน ซึ่ง JFIN จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ราว 660 ล้านบาท มาใช้พัฒนาดำเนินการพัฒนาระบบ JFIN Decentralized Digital Lending Platform (DDLP) แพลตฟอร์มให้บริการการกู้ยืมบนระบบบล็อกเชน คาดระบบจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 4/2562 จากนั้นจะนำไปใช้ในธุรกิจสินเชื่อของบริษัท เจ ฟินเทค จำกัด

อย่างไรก็ตาม ต่อจากนี้ บริษัทฯ มีแผนโรดโชว์ในต่างประเทศเพิ่มเติม เริ่มต้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และวางแผนไปเทรดในกระดานต่างประเทศที่ HitBTC ที่ฮ่องกง และ Upbit ที่เกาหลีใต้ ในลำดับตอไป.

Source

]]>
1168116
JMART บิตคอยน์ https://positioningmag.com/1153775 Wed, 17 Jan 2018 10:36:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153775 โดย : สุนันท์ ศรีจันทรา

เป็นข่าวฮือฮาทั้งตลาดหุ้น หลังจาก บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น JMART ประกาศว่า บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ JMART ถือหุ้นอยู่ 80% เตรียมระดมทุนด้วยดิจิทัล โทเคนชื่อ “เจฟิน คอยน์” ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (initial coin offering) หรือ ไอซีโอ

“เจฟิน คอยน์” มีเป้าหมายเสนอขายทั้งสิ้น 300 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่จะทำ ไอซีโอ 100 ล้านเหรียญ เสนอขายเหรียญละ 20 เซนต์ คาดว่าจะระดมทุนได้ 20 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 660 ล้านบาท ส่วนเงินที่ได้จากการระดมทุน จะนำไปใช้พัฒนาระบบสินเชื่อแบบดิจิทัล

เอกสารแสดงข้อมูลการระดมทุน จะนำเผยแพร่ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้สนใจลงทุน และมีแผนเสนอขายรอบพรีเซลระหว่างวันที่ 14-28 กุมภาพันธ์

JMART เป็นบริษัทจดทะเบียนรายแรกที่ประกาศระดมทุนด้วย ดิจิทัล โทเทน แต่ข้อมูลที่เปิดเผยสู่สาธารณชนในเบื้องต้น ไม่มีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้เกิดความเข้าใจถึงการระดมทุนรูปแบบใหม่

ไม่มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน เพราะไม่รู้ว่า “เจฟิน คอยน์” รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร และผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนอย่างไร

แม้แต่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ยังไม่สามารถให้รายละเอียดได้เกี่ยวกับ “เจฟิน คอยน์” ไม่อาจชี้ชัดว่า เป็นไอซีโอที่เป็นหลักทรัพย์หรือไม่ เพียงแต่เรียกร้องให้นักลงทุน ใช้วิจารณญาณ ศึกษารายละเอียดให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน ก่อนเข้าลงทุน

ขณะนี้ไม่มีใครตอบได้ว่า “เจฟิน คอยน์” เป็นหลักทรัพย์ประเภทไหน เสนอขายได้หรือไม่ เพียงแต่ ก.ล.ต.ตำหนิ JMART โดยทางอ้อม ระบุว่า การที่บริษัทจดทะเบียนเผยแพร่ข่าวซึ่งยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอ ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะอาจมีผลต่อราคาและการซื้อขายหุ้นของบริษัท

การออกหลักทรัพย์เสนอขายประชาชน ต้องยื่นขออนุญาตจาก ก.ล.ต. แต่การออก “เจฟิน คอยน์” ของบริษัทลูก JMART น่าจะยังไม่ได้ยื่นขออนุมัติจาก ก.ล.ต. อย่างเป็นทางการ และตอบไม่ได้ว่า จะต้องยื่นขออนุญาตหรือไม่

เพราะไม่รู้ว่า “เจฟิน คอยน์” จะเป็นตราสารการลงทุนประเภทใด

ไม่เข้าใจว่า เหตุใด JMART จึงใจร้อน รีบเร่งประกาศระดมทุนในรูปแบบ ดิจิทัล โทเคน ทั้งที่รายละเอียดยังไม่ครบถ้วน ทำไมไม่รอให้จัดทำข้อมูลอย่างสมบูรณ์ จึงประกาศให้สาธารณชนรับรู้ เพื่อป้องกันความสับสน

อย่างไรก็ตาม JMART ได้เปิดโลกใหม่ในการระดมทุน ด้วยสกุลเงินดิจิทัลแล้ว และบริษัทจดทะเบียนอื่นคงกำลังจับตาดู

เพราะถ้า JMART เปิดตลาดขายตราสารดิจิทัลได้สำเร็จ บริษัทจดทะเบียนอื่น คงแห่ระดมทุนในสกุลเงินดิจิทัลตามมาอีกมากมาย

แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงเป็นใย คือ นักลงทุนที่จะลงทุนใน “เจฟิน คอยน์” หรือตราสารดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ ที่จะออกตามมา เพราะอาจเกิดความเสียหายได้

เพราะถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอ ตามไม่ทันตามเงินสกุลดิจิทัล แต่ตามแห่เข้าไปเก็งกำไร พลาดพลั้งจะเจ็บหนัก 

JMART ปักธงแล้ว ประกาศตัวเป็นบริษัทจดทะเบียนเจ้าแรก ที่ชวนนักลงทุนลงไปลุยกับเงินสกุลดิจิทัล

ต้องรอดูกันต่อไปว่า “เจฟิน คอยน์” ของกลุ่ม JMART กระแสตอบรับเป็นอย่างไร จะทำให้นักลงทุนคลั่ง เก็งกำไรอย่างไม่กลัวเป็นกลัวตายเหมือน “บิตคอยน์” หรือไม่.

ที่มา : mgronline.com/stockmarket/detail/9610000005270

 

]]>
1153775