JOOX – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 25 May 2022 08:52:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดวาร์ปความสนุกจาก ‘JOOX ROOMS’ ฟีเจอร์สุดฮิตจาก JOOX ด้วยฟังก์ชัน ‘K-ROOMS’ เพิ่มความสนุกไปอีกขั้นให้ผู้ใช้งาน จะแชทก็ดี หรือร้องเกะก็ได้! https://positioningmag.com/1386483 Wed, 25 May 2022 08:50:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1386483

หากพูดถึง Music Streaming ที่คนไทยใช้ฟังเพลง แน่นอนว่า ‘JOOX’ ต้องเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ใช้กันทุกวัน ซึ่ง JOOX ไม่ได้มีดีแค่คลังเพลงขนาดใหญ่หลายสิบล้านเพลง แต่ยังมีคอนเทนต์ความบันเทิงที่หลากหลาย อาทิ พอดแคสต์ วิทยุ และ Live มีฟีเจอร์และฟังก์ชันใหม่ๆ ที่ช่วยสร้าง Engagement และเพิ่มความสนุกในการใช้งานได้มากขึ้น รวมถึงเป็นคอมมูนิตี้และสื่อกลางที่เชื่อมโยงผู้ใช้งานและศิลปินเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ JOOX กลายเป็นแอปคอมมูนิตี้ของคนรักเสียงเพลงและความบันเทิงชั้นนำของไทย ที่สำคัญ JOOX ไม่เคยหยุดในการพัฒนาคอนเทนต์ ฟีเจอร์ ฟังก์ชัน และกิจกรรมบนแพลตฟอร์ม จึงรักษาความเป็นผู้นำได้อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด สนุกกันได้มากขึ้น ด้วยฟังก์ชันร้องคาราโอเกะ ‘JOOX K-ROOMS’ บนฟีเจอร์ JOOX ROOMS กับคอนเซ็ปต์ ‘EVERYWHERE FOR EVERYONE IN ANYTIME’ ที่ทำให้ฟีเจอร์นี้ครบเครื่อง สนุกยิ่งขึ้น ทั้งแชท ฟังเพลง และร้องเกะ กันให้มันสุดๆ ไปเลย



JOOX K-ROOMS เพิ่มความสนุกให้ทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา

หากพูดถึงฟีเจอร์ต่างๆ ของ JOOX ที่ออกมาเพื่อตอบโจทย์สำหรับคนรักเสียงเพลงของคนไทยนั้น เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึง 3 ฟีเจอร์เด็ด อย่าง ฟีเจอร์ ‘คาราโอเกะ’ ที่สามารถร้องแบบ Duet ร้องเดี่ยว หรือร้องเฉพาะท่อนฮุค, ‘JOOX BUZZ’ ฟีเจอร์สร้างคลิปวิดีโอสั้นสุดเก๋ และฟีเจอร์ ‘JOOX ROOMS’ ห้องแชทแบบเห็นหน้า ฟังเพลงได้ เปิดตี้ได้ จัดกิจกรรมและ Meet and Greet กับคนดังได้แบบเอ็กซ์คลูซีฟ รวมถึงนำมาใช้จัดงาน Virtual event ในปีที่ผ่านๆ มา อย่างงานประกาศรางวัลแห่งปี JOOX Thailand Music Awards 2021, การแข่งขันประกวดร้องเพลง I Love Your Voice, ผับทิพย์ทุกคืนวันศุกร์ เป็นต้น ล่าสุด JOOX ROOMS ยังเสริมลูกเล่นใหม่ อย่างฟังก์ชัน ‘คาราโอเกะ’ (JOOX K-ROOMS) สุดเจ๋ง ที่ทุกคนสามารถชวนชาวแก๊งมาไลฟ์คาราโอเกะกันได้ทุกที่ ทุกเวลา แบบไม่ต้องง้อห้องคาราโอเกะ


JOOX K-ROOMS สนุกยังไง?

ด้วยกระแส ROOMS ฟีเวอร์ JOOX เลยต่อยอดฟีเจอร์นี้ ด้วยฟังก์ชัน JOOX K-ROOMS เพื่ออัปเกรดความสนุกและความบันเทิงไปอีกขั้น กับไลฟ์คาราโอเกะที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยคอนเซ็ปต์ EVERYWHERE FOR EVERYONE IN ANYTIME’ โดยผู้ใช้งานสามารถเปิดห้องแชทเมาท์มอยกับเพื่อนก็ดี หรือจะเปิดเวทีร้องเกะกับแก๊งเพื่อนก็ได้หมด โดยฟังก์ชันนี้มีลูกเล่นเจ๋งๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การเลือกเพลงร้องให้จุใจไปกับเพลงหลากหลายแนวในคลังเพลงขนาดใหญ่ โดยเมื่อเริ่มร้องจะมีเนื้อร้องแบบไลฟ์ แถมเป็น Real Time Activation ที่ทุกคนภายในห้องสามารถพูดคุยกัน และร้องเพลงไปด้วยกันได้แบบเรียลไทม์

โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกร้องเพลงได้ทั้ง ไลฟ์คาราโอเกะแบบเดี่ยว ร้องโซโล่คนเดียวเสมือนจัดไลฟ์คอนเสิร์ตให้เพื่อนๆ ฟัง และยังสามารถดึงเพื่อนมาร่วมร้องเพลงด้วยกันได้ หรือเพื่อนๆ ภายในห้องสามารถกดจอยเพื่อไปแจมร้องเพลงกับเพื่อนก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังรีเควสขอเพลงที่ชอบ ยกมือต่อคิวขึ้นร้องเพลง รวมไปถึงส่งของขวัญให้กันรัวๆ ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ JOOX ยังเติมสีสันให้ทุกคนร้องเกะได้มันยิ่งขึ้นด้วยลูกเล่นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เอฟเฟ็กต์เสียงให้ผู้ใช้งานได้ปรับจูนโทนเสียงเวลาร้อง อยากได้แบบก้องกังวาน หรือสเตริโอ JOOX ก็จัดให้ หรือจะเพิ่มเสียงร้อง ลดเสียงดนตรีก็ได้ เรียกว่าปรับได้ทุกรูปแบบ แถมคุณภาพเสียงก็จัดเต็ม พร้อมพกฟิลเตอร์ให้ผู้ใช้งานได้ปรับหน้าได้ตามใจชอบ ทั้งหน้านวล ตาโต หน้าเรียว หรือจะเป็น Avatar กว่า 20 แบบ อาทิ หน้าหมี และการ์ตูนคาแรคเตอร์ที่ JOOX ใส่มาให้ทุกคนได้เล่นสนุก และเฮฮาไปกับเพื่อน

ใครที่อยากจะลองเล่นฟังก์ชันนี้ เพียงอัปเดต JOOX เป็นเวอร์ชันล่าสุด แล้วจิ้มไปที่ ‘ROOMS’ หรือภาษาไทย ‘ห้องแชท’ กดที่เครื่องหมาย + (บวก) เพื่อสร้างห้อง เมื่อสร้างห้องได้แล้ว ให้กดที่เครื่องหมายจุดสามจุด (…) ที่แถบด้านล่าง ตั้งชื่อห้อง เพิ่มแฮชแท็ก จากนั้นเลือกรูปแบบห้องที่ต้องการ เช่น ห้องแชท หรือห้องคาราโอเกะ (JOOX K-ROOMS) เมื่อห้องพร้อมใช้งาน กดปุ่มรูปไมค์ด้านล่าง แล้วกดเลือกเพิ่มเพลงที่อยากร้องได้เลย

ตั้งแต่ก้าวแรกที่ JOOX เข้ามาทำตลาด ก็เดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างความสุข ความสนุก และมอบประสบการณ์ความบันเทิงที่ครบวงจรให้กับคนไทยมาเป็นเวลากว่า 6 ปีแล้ว วันนี้ JOOX เติบโตและวางจุดยืนของตัวเองว่าไม่ได้เป็นแค่แพลตฟอร์ม Music Streaming เท่านั้น แต่เป็น Music Community ที่มอบเสียงเพลงและความบันเทิงที่หลากหลาย ไม่ว่าจะฟังเพลง พอดแคสต์ วิทยุ ชมไลฟ์คอนเสิร์ต รายการวาไรตี้ จัดเทศกาลดนตรีและงานประกาศรางวัล รวมถึงมีฟีเจอร์ที่มาช่วยสร้างการมีส่วนร่วม เชื่อมโยงศิลปินและแฟนเพลงให้ใกล้ชิดกันยิ่งกว่าเดิม เรียกได้ว่ามอบความบันเทิงครบทุกมิติจริงๆ

มาฟังเพลง มาแชท มาร้องเกะกันได้แล้ว! อัปเดต JOOX เวอร์ชันล่าสุด ได้ที่ iOS และ Android แล้วไปเปิดห้องกันได้เลย

#มาROOMSกันที่JOOX #JOOXROOMS #JOOXROOMSแชทก็ดีเกะก็ได้

]]>
1386483
เปิดเส้นทาง JOOX Thailand Music Awards เวทีประกาศรางวัลทางดนตรีสุดยิ่งใหญ่แห่งปีของไทยและเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพลงไทย https://positioningmag.com/1381437 Tue, 12 Apr 2022 11:00:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381437

ต้องบอกว่าวิวัฒนาการฟังเพลงของคนไทยมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยตลอดเวลา จากการฟังเพลงจากเทป ซีดี หรือวิทยุก็เริ่มฟัฒนาสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ มาจนถึงแพลตฟอร์มสตรีมมิงต่างๆ ซึ่งหลายคนต้องนึกถึง JOOX เป็นหนึ่งในใจอันดับต้นๆ

JOOX เป็นแพลตฟอร์มมิวสิคสตรีมมิงภายใต้ เทนเซ็นต์ ประเทศไทย ที่ปัจจุบันก้าวขึ้นมาเป็น “แอปคอมมูนิตี้ของคนรักเสียงเพลงและความบันเทิงอันดับ 1 ของไทย”  ที่มีความแมสและครองใจคนไทยมาตั้งแต่วันแรกจนปัจจุบัน คงเป็นเพราะจุดเด่นด้วยเพลงและกิจกรรมที่หลากหลาย โดยเฉพาะเพลงไทย รวมไปถึงเพลงสากล K-Pop และอีกมากมายทั้งเพลงในกระแส นอกกระแส ทุกยุค ทุกแนว

นอกจากเพลง JOOX ยังพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ มาสร้างสีสันความบันเทิงอย่างต่อเนื่อง อย่าง คาราโอเกะ พอดแคสต์ วิทยุออนไลน์ JOOX BUZZ รวมถึงห้องแชทแบบเห็นหน้าอย่าง JOOX ROOMS เป็นต้น

ยังไม่หมดเท่านี้ JOOX ยังมุ่งมั่นขับเคลื่อนศิลปินและอุตสาหกรรมเพลงของไทยให้เติบโตไปด้วยกัน ผ่านการริเริ่มจัดงานสำคัญของวงการ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ JOOX Thailand Music Awards งานประกาศรางวัลทางดนตรี เพื่อคนดนตรี เพื่อผู้ฟัง และเพื่อทุกคน

 


เวทีเพื่อคนดนตรีที่แท้ทรู

JOOX Thailand Music Awards หรือ JTMA ถือเป็นงานประกาศรางวัลทางดนตรีที่เรียกได้ว่าใหญ่ที่สุดของประเทศ เริ่มจัดครั้งแรกในปี 2017 และยืนหยัดจัดงานจนก้าวสู่ปีที่ 6 นั่นเพราะ JOOX ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับอุตสาหกรรมเพลงไทยให้พัฒนาขึ้นอย่างมีศักยภาพ ไปพร้อมๆ กับเป็นสื่อกลางที่คอยเชื่อมโยงศิลปินเข้ากับแฟนเพลงอย่างเหนียวแน่น


เส้นทางความปังต่อเนื่อง 6 ปี

การจัดงานแฟล็กชิพอีเวนต์ต่อเนื่องถึง 6 ปีไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนจากวิกฤติโควิด-19 แต่ JOOX กลับขอยืนหนึ่งจัด JOOX Thailand Music Awards อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม JOOX ก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละปีพร้อมวางคอนเซ็ปต์ และแนวคิดการจัดงานในแต่ละครั้งให้สดใหม่ ไม่ซ้ำกัน

ถ้างานประกาศรางวัลด้านภาพยนตร์มีการเดินพรมแดง งาน JOOX Thailand Music Awards ก็มีกิมมิกเก๋ๆ เป็นการเดิน “พรมเขียว” หรือ Green Carpet Walk จากเหล่าศิลปิน และคนดังที่มาร่วมงาน เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก

ลองมาย้อนไทม์ไลน์ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา JOOX Thailand Music Awards

เริ่มจัดตั้งแต่ปีแรก 2017 ก็ได้ศิลปินจากทั่วฟ้าเมืองไทยเหล่าคนบันเทิงทางดนตรีเข้าร่วมงานเดินพรมเขียวกันอย่างคับคั่ง พร้อมโชว์สุดพิเศษจากศิลปินจากทุกแนวเพลง เช่น เก่ง ธชย, ปราโมทย์ ปาทาน, ก้อง ห้วยไร่ เป็นต้น

ปีที่ 2 ในปี 2018 ถูกจัดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ VERY THAI ENTERTAINMENT ที่แตกยอดความคิดมาจากการแสดง การละเล่น และกีฬาของไทย มาดัดแปลงแล้วผสมให้เข้ากับดนตรี และเทคนิคแสง สี เสียงด้วยความลงตัว พร้อมสุดยอดโชว์จากสุดยอดศิลปินมากมายที่แสดงให้เห็น “สีสันความเป็นไทย” อาทิ การโซโลเมดเลย์เพลงฮิตโดย ฮาย – อาภาพร นครสวรรค์, โชว์สุดยิ่งใหญ่จาก Slot Machine

ปี 2019 มาพร้อมคอนเซปต์ “ดนตรีไร้พรมแดน” Music Without Boundaries ซึ่งทำให้ในปีนี้ได้มีโชว์ที่ศิลปินต่างสไตล์มาผสานแนวเพลงที่แตกต่างบนเวทีอย่างลงตัว โดยภายในงานเต็มไปด้วยศิลปินจากหลากค่ายกว่า 200 ชีวิตมาร่วมงานรวมไปถึงสองศิลปินจากต่างประเทศที่ได้มาร่วมงานอย่าง Hollaphonic และ Honne

ปี 2020 กับคอนเซ็ปต์ Music Connects ให้ดนตรีเชื่อมต่อกับทุกสิ่ง และได้พลิกรูปแบบการจัดงานสู่รูปแบบ Online Only เต็มตัวเป็นครั้งแรก ด้วยการประกาศรางวัลผ่านไลฟ์สตรีมมิง ซึ่งยังคงได้รับกระแสตอบรับจากแฟนเพลงอย่างถล่มทลาย

ปี 2021 ถูกเนรมิตขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ Make it BUZZ และยังคงจัดงานเป็นรูปแบบออนไลน์ แต่ฉีกกรอบความสนุกแบบเดิม กับครั้งแรกของการประกาศรางวัลผ่านฟีเจอร์วิดีโอสั้น JOOX BUZZ ที่ JOOX นำมาใช้ในการจัดงานตั้งแต่การประกาศรายชื่อศิลปินที่เข้าชิง การโปรโมทงาน การโหวต ไปจนถึงการประกาศผลรางวัล

ปีนี้มาในคอนเซ็ปต์ ‘Live Your Music’ ผ่านแนวคิด ‘เพราะดนตรีคือชีวิต ไม่ว่าจะอยู่โมเมนต์ไหนของชีวิต เราทุกคนมีเสียงดนตรีที่คอยเป็นพลังให้อยู่เสมอ’ พลิกโฉมจัดงานประกาศรางวัลในรูปแบบ Hybrid โดยแฟนเพลงรับชมได้จากไลฟ์การประกาศรางวัลทางแอปพลิเคชัน JOOX


การันตีการเป็นเวทีประกาศรางวัลอันทรงคุณค่าเพื่อคนดนตรี และเพื่อคนไทยทุกคน 

ตัวตนและจุดเด่นของงาน JTMA คือ การเป็นเวทีมอบรางวัลเพื่อคนดนตรี ที่มีผลงานโดดเด่น และโดนใจผู้ฟังในด้านต่างๆ ซึ่งคนไทยทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของผลการตัดสิน เพราะผลการตัดสินมาจากยอดการสตรีมบน JOOX ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา และจากแรงโหวตของแฟนเพลงทั่วประเทศ คนเบื้องหน้า และเบื้องหลังวงการเพลง ตลอดจนสื่อมวลชน เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม สนุก ส่งแรงเชียร์ และเสียงโหวตไปให้ศิลปินคนโปรด

ทุกรางวัลจึงสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของศิลปินที่สร้างสรรค์เพลงได้โดนใจผู้ฟังได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญได้ร่วมเชิดชูศักยภาพ และความสามารถของศิลปิน เพื่อให้มีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานเพลงที่มีคุณภาพต่อไป

ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2017-2022 เวที JTMA ได้มอบรางวัลให้เหล่าศิลปินรวม 72 รางวัลโดยในแต่ละปีได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงถล่มทลาย ตั้งแต่ช่วงเริ่มประกาศการจัดงาน การเปิดโหวต และช่วงการประกาศรางวัล นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งงานประกาศรางวัลที่ทั้งตัวศิลปิน และแฟนเพลงทุกคนรอคอย


กลับมาสร้างความประทับใจอีกครั้ง! กับงาน JTMA 2022 กับคอนเซ็ปต์ ‘Live Your Music’

เพราะดนตรีคือชีวิต ไม่ว่าจะอยู่โมเมนต์ไหนของชีวิต เราทุกคนมีเสียงดนตรีที่คอยเป็นพลังให้อยู่เสมอ JOOX จึงยืนหยัดจัด JTMA 2022 เพื่อนำเสียงเพลงไปมอบความสุข และรอยยิ้มให้คนไทยอีกครั้ง โดยงานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา

เป็นอีกหนึ่งปีที่ JOOX สร้างความประทับใจและส่งต่อกำลังใจให้ศิลปิน ด้วยรางวัลอันทรงเกียรติถึง 12 สาขา โดยศิลปินที่มีผลงานโดดเด่น โดนใจคนไทยมากที่สุดแห่งปี 2022 ได้แก่

1.รางวัลศิลปินแห่งปี (Artist of the Year) Three Man Down 

2.รางวัลเพลงแห่งปี (Song of the Year) พิง Ost. กระเช้าสีดาศิลปิน NONT TANONT

3.รางวัลศิลปินหน้าใหม่แห่งปี (Best New Artist) 4EVE

4.รางวัลเพลงต่างประเทศแห่งปี (International Song of the Year) Leave The Door Open ศิลปิน Bruno Mars, Anderson. Paak, Silk Sonic

5.รางวัลเพลงลูกทุ่ง l ไทบ้านแห่งปี รักควรมีสองคนศิลปิน พร จันทพร, เนย ภัสวรรณ พอดีม่วน

6.รางวัลเพลงเกาหลีแห่งปี (Korean Song of the Year) MONEY ศิลปิน LISA

7.รางวัลเพลงป๊อปแห่งปี (Pop Song of the Year) พิง Ost. กระเช้าสีดาศิลปิน NONT TANONT

8.รางวัลเพลงอินดี้แห่งปี (Indie Song of the Year) แฟนเก่าคนโปรดศิลปิน SLAPKISS

9.รางวัล Best Collaboration Song of the Year เพื่อนเล่น ไม่เล่นเพื่อน (Just Being Friendly) ศิลปิน Tilly Birds ft. MILLI

10.รางวัล Top Social Thai Artist of the Year เป๊ก ผลิตโชค

11.รางวัล Top Social Global Artist of the Year Xiao Zhan

12.รางวัลTop ROOMS of the Year นุ๊ก ปาย

ต้องยอมรับว่า JOOX Thailand Music Awards เป็นเวทีการประกาศรางวัลทางดนตรีของไทย ที่คนทั้งประเทศเฝ้ารอคอย และติดตามจริงๆ เพราะปีนี้ก็สามารถสร้างปรากฎการณ์และสร้างการมีส่วนร่วมจากแฟนๆ ได้อย่างถล่มทลาย โดยมีแฟนๆ เข้ามาร่วมทำกิจกรรมบนฟีเจอร์ JOOX ROOMS ถึงกว่า 100,000 คนต่อวัน มีการให้ของขวัญ (Gift) แก่ศิลปินมากกว่า 2 ล้านครั้ง ร่วมคอมเมนต์บนฟีเจอร์ถึงกว่า 500,000 ครั้ง และมียอดการเข้าชมช่วงไลฟ์ประกาศรางวัลเกือบ 200,000 ครั้ง

ปีนี้ JOOX ยังคงจัดเต็มความสนุกอัดแน่นไปด้วยไฮไลท์เด็ด ทั้งคอนเสิร์ตจากศิลปินที่ผลัดกันมาแสดงและร่วมลุ้นรางวัลไปพร้อมกันภายในงานตลอด 3 ชั่วโมง และมีศิลปินแถวหน้าของประเทศไทยเข้าร่วมงาน และเปิดเวทีสร้างความสนุกให้ทุกคนอย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็น นนท์ ธนนท์ , หยิ่น-วอร์, AR3NA, Mirrr, SLAPKISS, Patrickananda

ปีหน้า JOOX Thailand Music Awards จะเตรียมอะไรมาเซอร์ไพรส์ และสร้างสีสันให้กับคนดนตรี และคนไทยอีก เราคงต้องติดตาม แต่เชื่อว่าไม่ผิดหวังแน่นอน

]]>
1381437
แซงแล้ว! มูลค่าบริษัท ‘Tencent’ ทะลุ 6.6 แสนล้านดอลลาร์ ขึ้นนำ ‘Facebook’ เพราะ Covid-19 https://positioningmag.com/1290029 Thu, 30 Jul 2020 00:17:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290029 หากพูดถึงชื่อของ ‘เทนเซ็นต์’ (Tencent) บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของจีน ที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มและเกมดัง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ‘WeChat’ ‘Joox’ ‘WeTV’ และเกม ‘PUBG Mobile’ ล่าสุด มูลค่าตลาดของเทนเซ็นต์ก็โตแซงหน้าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียระดับโลกอย่าง ‘Facebook’ เรียบร้อยแล้ว

มูลค่ารวมของการซื้อขายหุ้นสาธารณะของเทนเซ็นต์อยู่ที่ 5.15 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือประมาณ 664,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกันมูลค่าของ Facebook อยู่ที่ 656,150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหุ้นเทนเซ็นต์ได้ปรับตัวขึ้นประมาณ 43% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่งผลให้มูลค่าตลาดของเทนเซ็นต์เพิ่มขึ้นประมาณ 1.56 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือราว 201,440 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่ Facebook เองมีการปรับตัวขึ้นเพียง 12% โดยราคาหุ้นเคยแตะ 250.15 ดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา Facebook ต้องเผชิญกับราคาหุ้นที่ลดลง เนื่องจากภาวะขาลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และทางการสหรัฐฯ เพิ่มการคุมเข้มบรรดาบริษัทสื่อสังคมออนไลน์

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้เทนเซ็นต์เติบโตคือ การระบาดของ Covid-19 ที่ส่งผลให้ประชาชนต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน ทำให้หลายคนใช้เวลาว่างไปกับการเล่นเกมและเข้าแอปพลิเคชันต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งเทนเซ็นต์นั้นเป็นเจ้าของเกมมือถือยอดนิยมหลายเกม รวมถึงเจ้าของแพลตฟอร์ม WeChat แอปส่งข้อความยอดนิยมของจีนที่มีผู้ใช้มากกว่าพันล้านคน นอกจากนี้บริษัทยังให้บริการส่งข้อความด่วนที่เรียกว่า ‘QQ’

ล่าสุด เทนเซ็นต์ก็ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ชื่อว่า ‘Moments’ ซึ่งผู้ใช้สามารถโพสต์รูปภาพ, วิดีโอและลิงก์ โดยเทนเซ็นต์สร้างรายได้จากขายพื้นที่โฆษณาใน Moments ส่งผลให้รายได้จากเครือข่ายสังคมคิดเป็น 23% ของรายได้รวม

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มูลค่าตลาดสูงกว่า Facebook แต่มันเคยเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2017 และมีช่วงเวลาสั้น ๆ ในปี 2018 แต่ในปี 2019 มูลค่าตลาด Facebook ก็อยู่ข้างหน้าเทนเซ็นต์ตลอดทั้งปีตามข้อมูลจาก S&P Global Market Intelligence

Source

]]>
1290029
กางแผน “JOOX” บุก “มิวสิกสตรีมมิ่ง” ไทย อยากโตต้องไปภูธร เพิ่มศิลปินเกาหลี หารายได้จาก “Coins” https://positioningmag.com/1212966 Fri, 08 Feb 2019 04:09:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1212966 คนไทย” ยืนหนึ่งไม่แพ้ชนชาติใดในโลก เรื่องการฟังเพลงผ่านสมาร์ทโฟน ผลสำรวจระบุ มีถึง 93% ในจำนวนนี้คนอายุกว่า 24 ปีถึง 96% นิยมฟังผ่านสมาร์ทโฟน แซงหน้าภาพรวมของโลกที่มีราว 75% เท่านั้น

พฤติกรรมเหล่านี้กลายเป็น ขุมทรัพย์ ที่เหล่ามิวสิกสตรีมมิ่งหลากหลายสัญชาติต่างกรีธาทัพเข้ามาทำสงคราม ที่คุ้นหน้าค่าตาพอนับได้อยู่ 3 ค่ายด้วยกันได้แก่ “JOOX” ในเครือเทนเซ็นต์ (Tencent) จากจีนแผ่นดินใหญ่ อาศัยจุดแข็งมิวสิกคอนเทนต์ใหม่ๆ และ MV มาดึงคนฟัง

“Spotify” มีประสบการในมิวสิกสตรีมมิ่งโลกกว่า 10 ปี ระบบการจัดเพลย์ลิสต์ เน้นความหลากหลาย และยังเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้และช่วยในการจัดเพลย์ลิสต์อัตโนมัติ ในขณะที่ “AppleMusic” ความง่ายในการเข้าถึงของผู้ใช้สินค้าในตระกูล iOS และคลังเพลงในมือมากกว่า 40 ล้านเพลง

แต่ละแบรนด์ก็มีจุดแข็งที่กินกันไม่ลง มีแนวโน้มแข่งขันที่รุนแรงได้ หาก กฤตธี มโนลีหกุลกรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหาร JOOX ประเทศไทย กลับฉายภาพที่สวนทางว่า

มิวสิกสตรีมมิ่งยังเป็น Blue Ocean การแข่งขันไม่ได้รุนแรงมากนัก เพราะการมีผู้เล่นหลายรายจะได้เข้ามา Educate คนไทยให้เลิกฟังเพลงจากการเสียบแฟลชไดรฟ์และซีดีเถื่อน มาฟังเพลงแบบถูกลิขสิทธิ์

ราคาคงไม่ลดเพราะลงแล้วขึ้นยาก

แม้จะมองว่าเป็น “Blue Ocean” แต่โจทย์ที่ท้าทายเหล่าผู้เล่นในสังเวียนมิวสิกสตรีมมิ่ง คือการที่คนไทยยังคุ้นชินของ ฟรีไม่พร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อฟังเพลง แม้แต่ละรายจะมีราคาเริ่มต้นเพียงเดือนละ 129 บาท เทียบเท่าราคาของกาแฟ 1 แก้วเท่านั้น

สะท้อนจากฐานผู้ใช้งาน JOOX ที่แอคทีฟราว 10 ล้านราย เท่ากับฮ่องกงที่เป็นตลาดหลัก ซึ่งมีไม่ถึง 10% ที่ยอมจ่ายเงินเพื่อเป็น VIP ฟังเพลงได้ทั้งหมดแบบไม่ติดโฆษณา แม้รายได้ปีที่ผ่านมาเติบโต 100% จะมาจากตรงนี้คิดเป็นสัดส่วน 50% ที่เหลือมาจาก Media Partner อีกราว 30 รายก็ตาม

กฤตธียืนยัน JOOX ไม่มีแผน ลดราคา เพื่อดึงคนฟังให้ยอมขยับเป็น VIP เพิ่ม เพราะหากลงแล้วจะกลับมา ขึ้นราคา อีกเป็นไปได้ ยาก วิธีที่ JOOX ทำจึงแบ่งแพ็กเกจออกให้เลือกหลากหลายทั้งรายวัน สัปดาห์ และรายเดือน รวมถึงการทำโปรโมชั่นต่างๆ ซึ่งวิธีนี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้ยอมเสียเงินเพิ่มมากขึ้น ในระหว่างการทำโปรโมชั่น

ส่วนแพ็กเกจแบบครอบครัว ซึ่งจะทำให้ราคาต่อแอคเคาท์เฉลี่ยแล้วถูกลง เหมือนรายอื่นๆ ทั้ง Spotify -AppleMusic ที่มีกันอยู่ ผู้บริหาร JOOX ให้ความเห็น อาจ เป็นไปได้ที่จะทำ แต่ยังไม่ยืนยันในตอนนี้

ศิลปินหน้าใหม่

ปี 2018 มียอดสตรีมกว่า 3 พันล้านครั้งบน JOOX เติบโตกว่า 50% โดยมิวสิกคอนเทนต์ใหม่ๆ และ MV เป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดผู้ฟัง ซึ่งตัวแปรที่ขาดไม่ได้คือศิลปินหน้าใหม่ จากหลากหลายแนวเพลง ถือว่าบทบาทสำคัญอย่างมากบนแพลตฟอร์มของ JOOX

นั้นเพราะหนึ่งในพฤติกรรมของคนฟัง ที่มาพร้อมกับการเติบโตของมิวสิกสตรีมมิ่ง คือการที่คนฟังรู้จักแต่เพลง ไม่ได้รู้จัก นักร้อง เพลงจึงต้องมีคุณภาพจริงๆ ไม่ใช่หน้าตา จึงกลายโอกาสแจ้งเกิดกับศิลปินหน้าใหม่ได้ง่ายขึ้น โดยปีที่ผ่านมามีการฟังเพลงกว่า 80 ล้านครั้ง

ทีมงานของ JOOX จะเสาะหาเพลงใหม่ๆ ฟังตามแพลตฟอร์ม หากชื่นชอบค่อยมาโหวตกัน แล้วค่อยติดต่อให้นำเพลงมาขึ้นใน JOOX ผ่าน “JOOX Spotlight” และเมื่อมีแนวโน้มความนิยมเพิ่มขึ้น ก็จะมีการให้ทุนไปทำเพลงเพิ่มหรือ MV ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มคอนเทนต์ของ JOOX เองด้วย

ฟากศิลปินหน้าใหม่ก็จะมีรายได้นับจากการฟังต่อ 1 วิว นอกจากนี้ยังได้จัดคอนเสิร์ตเพลงอีกราว 35 ครั้งเพื่อนำศิลปินหน้าใหม่ออกไปให้คนฟังได้รู้จัก เป็นการเพิ่มฐานแฟนเพลงไปในด้วย

ถึงเวลาลุยขุมทรัพย์ภูธร

เป้าหมายของ JOOX ปี 2019 ต้องการเพิ่มฐานผู้ใช้งานเป็น 12 ล้านราย ซึ่ง JOOX กำหนดไว้ 3 แนวรบ

แนวรบแรก เจาะกลุ่มต่างจังหวัดเพราะฐานผู้ใช้งานเวลานี้ 55% เป็นอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นตลาดที่คู่แข่งเยอะ JOOX จึงต้องหนีไปหาตลาดใหม่ๆ อย่างต่างจังหวัด ซึ่งจำนวนประชากรเยอะกว่ามาก

เพียงแต่การจะเข้าไปหาได้ จะต้องเน้นแนวเพลงยอมนิยมคือลูกทุ่งและเพื่อชีวิตอยู่ในอันดับ 4 ส่วนมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นในปี 2019 จึงจะให้ความสำคัญกับ ลูกทุ่งและเพื่อชีวิต ที่ต้องการขยายทั้งคนต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ โดยจะหาศิลปินลูกทุ่งที่เหมาะกับ แมส เพื่เข้ามาทำโครงการร่วมกับศิลปินเมนสตรีมมากขึ้น

โดยโปรโมตผ่านรายการ เอะอะมะทัวร์ มี ปิงปอง ธงชัย เป็นพิธีกร นำศิลปินลูกทุ่ง มาสัมภาษณ์ และเสริมเป็นคาราโอเกะให้เกิดความรู้สึกร่วม

“Coins” โมเดลหารายได้ใหม่

แนวรบที่สอง คือการเพิ่มฟีเจอร์ JOOX VDO Karaoke โดยวางแผนดึง Influencer ในด้านต่างๆ มาร้องอันคลิปและให้คนที่เป็นแฟนคลับ สามารถร้องคาราโอเกะคู่กันได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มลูกเล่นต่างๆ ด้านวิดีโอ

โดย JOOX คาดหวังให้เกิดเป็น community คนรักเสียงดนตรี โดยปีที่ผ่านมา ฟีเจอร์ Karaoke มียอดการร้อง 5 ล้านครั้ง และมีการแชร์เพลงที่ร้องแบบคาราโอเกะไปถึง 2.6 ล้านครั้ง

และแนวรบสุดท้ายการปรับปรุงเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน ซึ่งปลายปีที่ผ่านมาได้ปรับปรุงให้ดูง่าย เพราะผู้ใช้งานมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่

นอกจากนี้แล้วในภาพรวมยังคงมุ่งไปที่การโปรโมตและส่งเสริมผลงานศิลปินในหลากมิติ เน้นโมเดล Collaboration Project ในการสร้าง Exclusive Content ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการถ่ายทอดสด Live Concert จากเกาหลี ที่จะมีมากขึ้น

การ Live Concert เกาหลีทำให้ JOOX พบโมเดลการหารายได้ใหม่ โดยผู้ที่เข้ามาชมสามารถซื้อ Coins ราคาตั้งแต่ 35 – 1,750 บาท นำมาซื้อสติกเกอร์แบบพิเศษ เพื่อแสดงออกถึงความชื่นชอบในศิลปิน และการซัพพอร์ต.

]]>
1212966
จับตา JOOX ชวนฟังรายการผี ปักหลัก “ทีวี” เป็น second screen https://positioningmag.com/1158396 Fri, 23 Feb 2018 00:15:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1158396 JOOX บริการเพลงสตรีมมิ่งประกาศชัด จะไม่เป็นแค่แอปฯ ฟังเพลง แต่กำลังลุย 4 ทางหลักเพื่อผันตัวเองเป็นแพลตฟอร์มบันเทิง จัดทัพดึงเนื้อหารายการวิทยุมาสร้างสีสันผุดงานอีเวนต์ใช้คาราโอเกะจุดกระแสโซเชียลลุยโครงการหนุนนักร้องหน้าใหม่เพื่อเนื้อหา exclusive 

JOOX แอปพลิเคชั่นฟังเพลงออนไลน์ในเครือเทนเซ็นต์จากจีน ฉลองครบรอบ 2 ปีที่เปิดให้บริการในไทยไปหมาดๆ ด้วยการประกาศยอดคลิกฟังเพลงปีเดียว 2 พันล้านครั้ง

แต่ความน่าสนใจของ JOOX วันนี้ อยู่ที่ยุทธศาสตร์หลากหลาย เช่น คาราโอเกะซึ่งผู้บริหาร JOOX บอกว่า จะสร้างพฤติกรรมคาราโอเกะใหม่ให้คนไทยสนใจร้องเพลงเดียวกัน โดยคาราโอเกะเป็นเพียง 1 ใน 4 ภารกิจหลักที่ JOOX จะทำในปีนี้เพื่อไม่ให้ตัวเองเป็นแค่ที่ฟังเพลงอย่างเดียว

ภารกิจสร้างพฤติกรรมคาราโอเกะใหม่ของ JOOX ถูกประกาศโดยกฤตธี มโนลีหกุลกรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด และผู้บริหาร JOOX ประเทศไทย ที่ย้ำว่า JOOX ในอนาคตจะไม่ได้เป็นแหล่งฟังเพลงออนไลน์ แต่จะครบเครื่องเหมือนรายการวิทยุ 

สิ่งที่ JOOX ทำขณะนี้คือการดึงรายการผีมาสร้างสีสัน คู่ไปกับการจัดอีเวนต์ โครงการหนุนนักร้องหน้าใหม่เพื่อสร้างเนื้อหา exclusive และที่สำคัญคือคาราโอเกะที่จะเป็นไพ่เด็ดในการสร้างโซเชียลบน JOOX

ปีนี้ JOOX จะเริ่มทำคาราโอเกะ ให้เป็นเนื้อหาที่เน้นโซเชียลได้ JOOX จะแสดงให้เห็นว่าระบบคาราโอเกะไม่จำเป็นต้องมีเพลงมากมายมหาศาล แต่เราจะบอกว่าเพลงนี้เป็นเทรนด์ จงมาร้องกับเรากฤตธี อธิบายคาราโอเกะสำคัญอย่างไร คำตอบคือคาราโอเกะสามารถเชื่อมระหว่างคนนี้ไปอีกคนหนึ่ง ผู้ร้องคาราโอเกะบน JOOX สามารถแชร์เพลงที่ร้อง สามารถไลก์ ใครได้ใลก์มากก็จะมาอยู่บนชาร์จ นี่สิ่งที่เราพยายามโปรโมต

กฤตธี บอกว่า ฟีเจอร์ใหม่อย่างคาราโอเกะ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนเพิ่มคอนเทนต์สำหรับการฟังที่หลากหลายมากขึ้น โดยนับจากที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคม วันนี้มีผู้ใช้งานร้องราคาโอเกะกับ JOOX เกือบ 20 ล้านครั้งแล้ว คาดว่า JOOX จะโหมโปรโมตในช่วงไตรมาส 2-3 ร่วมกับแบรนด์ใหญ่อย่างช้าง

คาราโอเกะเป็นเพียง 1 ในหลายแผนของ JOOX ที่ต้องการสร้างคอนเทนต์ในรูปแบบเสียงที่หลากหลาย อย่างรายการผีหลอนศาสตร์ by The Shock” ก็จะมี ดีเจป๋องกพล ทองพลับ มาร่วมด้วย ขณะเดียวกัน JOOX ก็ต้องการเป็นพื้นที่สื่อกลางให้ศิลปิน และคนทำงานเพลงได้โปรโมตผลงาน พูดคุยกับแฟนเพลง และสร้างการเติบโตให้กับอุตสาหกรรม

ปี 2561 JOOX ตั้งเป้าเป็น Entertainment Platform สำหรับทุกคน โดยเพิ่มมิติของคอนเทนต์ให้มากขึ้น JOOX จะกลายเป็นมากกว่ามิวสิกแอปพลิเคชั่นที่ใช้ฟังเพลงอย่างเดียว

กฤตธี ระบุว่า JOOX เริ่มโปรโมตศิลปินหน้าใหม่ผ่านแคมเปญ “Spotlight Artist” และเป็นช่องทางให้ศิลปินกับแฟนเพลงได้พูดคุยกันอย่างใกล้ชิดแล้ว และกำลังทำ “Fan Space” ไลฟ์สตรีมมิ่งแบบส่วนตัวผ่าน JOOX Live 

Spotlight Artist ถือเป็นช่องทางสร้างเพลง exclusive ให้ JOOX จุดนี้ผู้บริหาร JOOX อธิบายว่า หน้าที่ของ JOOX คือจะฟังเพลงอินดี้เพื่อมองว่าเพลงใดมีโอกาสโต จากนั้น JOOX จะประสานงานเพื่อให้ศิลปินสร้างงานที่สามารถฟังได้เฉพาะบน JOOX โดยอัตราการฟังเพลงอินดี้บน JOOX ขณะนี้คิดเป็น 6-7% เทียบกับกับการฟังเพลงไทยทั้งหมด

เนื้อหาเพลง JOOX ไม่ได้เป็นเจ้าของ แต่เราทำสัญญาให้ผู้ถือลิขสิทธิ์เพลงแปลงเป็นข้อมูลดิจิทัล แล้วทำสัญญา 1 ปี ศิลปินยังส่งเพลงไปให้บริการที่แพลตฟอร์มอื่นได้ด้วย ทำให้ก่อนหน้านี้ หลายศิลปินไม่มีเนื้อหาเอ็กซ์คลูซีฟกับ JOOX เราจึงตั้งใจจะทำพื้นที่นี้ขึ้นมา

สำหรับ JOOX Live การถ่ายสดงานแสดงดนตรีบางงานจะถูกดึงมาถ่ายทอดทางโทรทัศน์ด้วย บางอีเวนต์ถูกถ่ายทอดทาง Workpoint คู่ไป จุดนี้ JOOX ย้ำว่าปีนี้จะเดินหน้าจัดงานอีเวนต์เพิ่มอีก โดยงานใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นคือ JOOX Thailand Music Awards ปี 2018 

เราไม่อยากบอกว่า JOOX จะลุยใช้ทีวีเป็นหน้าจอที่ 2 หรือ second screen แต่เรามองไว้หลายค่าย ไม่ได้ปิดกั้นเฉพาะความร่วมมือกับ Workpoint” แต่ก็ไม่เปิดเผยว่า JOOX จะร่วมมือกันใครเป็นรายต่อไป 

ทั้งหมดนี้ JOOX เชื่อว่าจะทำให้ระยะเวลาที่ผู้ใช้อยู่ในระบบ JOOX ยาวนานขึ้น โดยการศึกษาล่าสุด JOOX พบว่าผู้ใช้อยู่กับ JOOX ประมาณ 90 นาที (สถิติทั่วภูมิภาค) สัดส่วนนี้แม้จะโตขึ้นจากปีที่แล้ว แต่ก็ยังไม่เท่าคู่แข่งอย่าง Spotify ที่ทำสำรวจมาทั่วโลกพบว่า ผู้ใช้มักอยู่กับบริการสตรีมมิ่งเพลงมากกว่า 120 นาที ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ JOOX มองว่ากำลังรออยู่

วันนี้ใครฟัง JOOX?

ในยอดฟังเพลงปีเดียว 2 พันล้านครั้ง JOOX ระบุว่า รายได้ของธุรกิจเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัวหรือ 400% แต่ก็ถือว่ายังเล็กอยู่ โดยผู้ใช้ 70% เป็นกลุ่มอายุต่ำกว่า 34 ปี ถือว่ากลุ่มผู้ฟัง JOOX เป็นกลุ่มเด็กมัธยม นักศึกษา และคนเริ่มหางาน 

บริการ JOOX ถือเป็นมิติใหม่ที่ทำให้ผู้ใช้ฟังเพลงได้สะดวก และฟังเพลงได้มากขึ้น ผู้ใช้ JOOX ปัจจุบัน 48% อยู่ใน กทม. ผมมองว่าสัดส่วนผู้ใช้งานระหว่างต่างจังหวัด และ กทม.ไม่ต่างจากสัดส่วนการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งประเทศไทยอยู่ที่สัดส่วน 50-50 จุดนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอย่างโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือบางคนยังใช้ MP3 อยู่ หน้าที่ของเราคือทำอย่างไรให้รู้จัก JOOX”

ขณะนี้ ผู้บริหาร JOOX ยอมรับว่าจำนวน subscriber หรือฐานสมาชิกบริการ JOOX VIP ที่เสียค่าบริการยังน้อยอยู่ โดยอยู่ระดับต่ำกว่าประเทศอื่นในอาเซียน แต่ถึงอย่างนั้น รายได้หลัก JOOX ราว 50-50 ก็ยังมาจากผู้ใช้และโฆษณาในสัดส่วนใกล้เคียงกัน

ในส่วนฐานผู้ใช้อายุเกิน 34 ปี ผู้บริหาร JOOX ยอมรับว่าการเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ที่อายุมากขึ้นอาจต้องใช้เวลา ดังนั้น JOOX จึงให้ความสำคัญที่กลุ่มเด็กรุ่นใหม่ ซึ่งหากทำได้ กลุ่มนี้จะเติบโตมาแทนที่

สตรีมมิ่งไทยวันนี้แข่งกันที่ไหน?

กฤตธี ยืนยันว่า ตลาดสตรีมมิ่งวันนี้แข่งกันที่ความเป็นโลคอล” สำหรับประเทศไทยคือเพลงไทย โดยคู่แข่งไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ และกระแสอย่างเพลงเกาหลี หรือการแข่งขันราคาก็ไม่ใช่หัวใจหลักที่จะดึงลูกค้าได้ในระยะยาว

ในตลาดวันนี้แข่งขันราคากันก็จริง เราก็มีกับ AIS ที่ให้ลูกค้าสมัครใช้ JOOX ได้ในราคาพิเศษ และกำลังคุยกับ DTAC ด้วย แต่ในภาพรวมก็ต้องแข่งกันที่เซอร์วิส เราเป็นโลคอล ทั้งเนื้อหา เรามีเคป็อปชาร์ต แต่สุดท้าย คนไทยก็ฟังเพลงไทย จุดเด่นของพวกเรา ไม่ใช่มีอยู่แค่ค่ายใหญ่ แต่มีเพลงอินดี้ให้ฟังเยอะ วันนี้การฟังเพลง 70-80% บน JOOX เป็นการฟังเพลงไทยล้วนๆ

กฤตธี ยกตัวอย่าง เพลงเกาหลี ที่มีอัตราฟังสูงจริง แต่ก็คิดเป็น 7% ของภาพรวม ขณะที่เพลงลูกทุ่งยังไม่นิยมบน JOOX จุดนี้ JOOX ระบุว่ากำลังคิดหาทางอยู่ว่าจะทำให้เพลงลูกทุ่งแมสขึ้นได้อย่างไร

ตลาดเพลงสตรีมมิ่งไทย ถือว่ายังเล็กมากเมื่อเทียบระดับโลก ตอนนี้มีมูลค่าตลาดเพลงทั่วโลก 17 ล้านดอลล์ ราว 50% มาจากบริการสตรีมมิ่งกฤตธีระบุถามว่าคนที่นิยมฟังเพลงฟรี จะมีแนวโน้มมาใช้สตรีมมิ่งไหม? ผมคิดว่ามี 2 ปัจจัย คือพฤติกรรมคน แต่คือความสะดวก JOOX จึงพยายามทำให้มีช่องทางจ่ายเงินมากขึ้น วันนี้เรามีเซเว่นอีเลฟเว่น, แฟมิลี่มาร์ท และอีกหลายวอลเล็ต หน้าที่เราคือสร้างชาแนลใหม่ให้มีช่องทางจ่ายเงินที่สบายและสะดวก

JOOX ย้ำว่า การเป็นเบอร์ 1 ไม่จำเป็นต้องดูเฉพาะเรื่องรายได้ JOOX จึงต้องการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ขึ้นมา เพื่อผลักดันให้เกิดพฤติกรรมใหม่ในตลาด

นอกจากนี้ AI และ Cloud ก็เป็นส่วนธุรกิจที่ JOOX กำลังโฟกัส โดยจะนำมาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ของสนุก ที่ผ่านมา สนุกดูแล 2 ส่วนคือเนื้อหาและเว็บไซต์ แต่วันนี้มีให้บริการแอปพลิเคชั่นอื่นร่วมด้วย เป้าหมายคือการทำให้บริการของสนุกรู้จักกับผู้ใช้มากขึ้น.

บทสรุป JOOX ยุคใหม่ และสถิติที่น่าสนใจ

• ถ้าดูตัวเลขธุรกิจเพลงทั่วโลก รายได้ของธุรกิจเพลงลดลงเรื่อยๆ แต่ 2 ปีหลังสุด พบการเติบโตครั้งแรกในรอบ 17 ปี โดยปี 2016 รายได้วงการเพลงเพิ่มขึ้น 17.7% สะท้อนว่ารายได้จากการขายแผ่นซีดีลดลง สวนทางรายได้ดิจิทัลเพิ่มขึ้น ทำให้ปี 2016 ถือเป็นปีแรกที่เม็ดเงินวงการเพลงโลกเติบโต

• เทรนด์เอเชียเหมือนเทรนด์ทั่วโลก ตลาดสตรีมมิ่งโตกว่าดาวน์โหลด เพิ่มขึ้นจาก 12% มาเป็น 53% แสดงว่าเด็กรุ่นใหม่ไม่ดาวน์โหลดแล้ว กดแล้วฟังเพลงเลย ต่างจากก่อนนี้ที่แฟนเพลงคิดว่าต้องเป็นเจ้าของเพลง

• พฤติกรรมผู้บริโภควันนี้ฟังออนไลน์แบบสตรีมมิ่งมากขึ้นถึงเกือบ 100% แถมเป็นการฟังเพลงผ่านสมาร์ทโฟนสูงถึง 71% ในปีที่ผ่านมา

• ตลาดที่ JOOX อยู่ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ จำนวนผู้ใช้รวมทั้งหมด 64 ล้านคน ยอดดาวน์โหลดแอปเฉพาะในประเทศไทยคือ 50 ล้านครั้ง เพิ่มจาก 25 ล้านครั้งในปีก่อนหน้า ยอดกดฟังเพลงคือ 2 พันล้านเพลง

• 65% ของยูเซอร์ไทย สตรีมเพลงผ่าน JOOX แบบออนไลน์ ที่เหลือเป็นการฟังแบบออฟไลน์ โดย JOOX มี 200 เพลย์ลิสต์ในช่วงแรก วันนี้เพิ่มเป็น 6 ล้านเพลย์ลิสต์ สะท้อนว่าคนรุ่นใหม่ชอบสร้างรายการเพลงแล้วแชร์ให้คนอื่นฟังด้วย

JOOX ยืนยันตลาดเพลงสตรีมมิ่งไทยวันนี้แข่งกันที่เพลงไทยไม่ใช่ราคา และไม่ใช่เกาหลี

 2017 คือปีที่ 2 ที่ JOOX เริ่มจัดอีเวนต์ โดยพยายามเข้าหาคนบนออฟไลน์ โดยปลายปีที่ผ่านมา มีการจัดงานแสดงสดให้ศิลปินท็อป 100 ของ JOOX มาร่วมกันสร้างเสียงเพลง ถือเป็นมิติแรกที่ JOOX เริ่มขายตั๋ว และยอดขายทำได้ระดับดีงานนี้เองที่มีการถ่ายทอดทั้งบน JOOX และ Workpoint 

• JOOX ยังจัดอีเวนต์ที่ 18 จังหวัด 20 โรงเรียนมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าถึงนักเรียนนักศึกษาในหัวเมืองใหญ่ จุดนี้ JOOX พยายามสร้างคอมมูนิตี้ และมีการจัดงานการกุศลโดยร่วมมือกับ 50 ศิลปิน โดย JOOX เปลี่ยนวิวเป็นเงิน มอบให้เครือข่ายศิลปะดนตรีคนพิการ

• ปีนี้ JOOX จะออกไปต่างจังหวัดมากขึ้น และจะมีอีเวนต์ใหญ่ 21 มีนาคมนี้ เพื่อจะย้ำให้ศิลปินรู้ว่าทุกคนมีคุณค่ากับสังคม

• สุดท้ายแล้ว JOOX จะเน้นทำคอนเทนต์แนวใหม่ขึ้นมา แล้วนำไปวางบนแพลตฟอร์มอื่นด้วย JOOX เรียกสิ่งที่ทำนี้ว่า O2O คือการจะไปยังโลกออฟไลน์ด้วย โดย JOOX บอกว่าจะเผยแพร่ ทำให้ฟอร์แมตเนื้อหาของ JOOX ไปโชว์ที่รายการอื่น

• JOOX จะดึงรายการวิทยุมาไว้บน JOOX เช่นรายการผี ทำให้ JOOX เป็นมากกว่าการฟังเพลง แต่เป็นแพลตฟอร์ม ให้ศิลปินเชื่อมกับคนฟังได้ โดยศิลปินก็สามารถมาร้องเกะกับแฟนเพลงได้ เป็นอีโคซิสเต็มที่คลุมทั้งออนไลน์และออฟไลน์ได้แท้จริง

]]>
1158396
ไม่หยุดแค่ “สบายดีหรือเปล่า” กสิกรไทยมอบความประทับใจผ่านบทเพลง ด้วย 6 Playlist ใน Joox https://positioningmag.com/1138057 Wed, 30 Aug 2017 11:55:51 +0000 http://positioningmag.com/?p=1138057 ประทับใจกันทั้งประเทศ หลังจากที่ KBANK ย้อนวันวานของใครหลายคนให้กลับคืนมาอีกครั้ง ด้วยการปล่อยคลิปโฆษณาตัวนี้ออกมา ผ่านไปไม่ถึงสิบวัน ยอดวิวเฉพาะใน youtube ก็แตะหลัก 9 ล้านไปเป็นที่เรียบร้อย

ซึ่งคลิปนี้ได้นำเพลง “สบายดีหรือเปล่า” ของวง XYZ มาใช้เป็นตัวเชื่อมเรื่องราวระหว่างอดีตและปัจจุบันของคู่รักในเรื่องที่ผ่านหลายยุคของการสื่อสารตั้งแต่ เขียนจดหมาย, โทรศัพท์ไปที่บ้าน, ฝากข้อความทางเพจเจอร์, แชทคุยกันด้วย MSN, มือถือโนเกียยุครุ่งเรือง, Hi5 จนมาถึงเชื่อมต่อกันทาง Facebook ในปัจจุบัน

พอหลายคนได้ยินเพลงนี้ ความทรงจำดีๆ ครั้งเก่าก็โผล่ขึ้นมาโบกมือทักทาย ถึงขั้นที่บางคนต้องไปนั่งเสิร์ชเพลงฮิตยุคที่ตัวเองยังหนุ่มยังสาว มาฟังแก้เหงาเพลินๆ ผ่าน Youtube กันเลยทีเดียว

สำหรับคนที่กำลังอยากจะย้อนอดีตผ่านเสียงเพลง คุณไม่ต้องเสียเวลาเสิร์ชทีละเพลงให้เมื่อยมืออีกต่อแล้ว วันนี้ KBANK น่ารัก จัดเพลย์ลิสต์ไว้ใน JOOX มาให้ฟังกันถึง 6 ชุด ซึ่งแต่ละชุดนี่เหมือนจะบอกอายุคนฟังได้เลยว่ามีตั้งแต่ First Jobber จนถึง Baby Boomer แน่ๆ เรามาลองดูรายชื่อเพลงกันก่อน ว่าคุณทันเพลงไหนกันบ้าง : )

Playlist 1 วันนี้ที่ประทับใจ

Playlist 2 คิดถึงขาม้า

Playlist 3 ใจใจวัยเก๋า

Playlist 4 แผ่นเสียงเพียงฝัน

Playlist 5 ล้านตลับจับใจ

Playlist 6 ฟันเหล็กเด็กแนว

พอเห็นรายชื่อเพลงในลิสต์แล้ว ทำนองและเนื้อเพลงฮิตสมัยที่ตัวเองยังหนุ่มๆ ก็ผุดขึ้นมาในหัวโดยไม่รู้ตัว “อยู่ตรงนั้นเธอ Have Fun หรือเปล่า” ซึ่งเพลย์ลิสต์ทั้ง 6 ที่ทาง KBANK ได้รวบรวมมาให้ฟังนี้ พูดได้สองคำเลยว่า “เปิ๊ดสะก๊าด” และ “จ๊าบ” เอามากๆ

ความร่วมมือกับ JOOX ในครั้งนี้เป็นการต่อยอด “ความประทับใจ” จากแคมเปญ “สบายดีหรือเปล่า” ที่นำเสนอ Key Message ที่ว่า “โลกเปลี่ยนไป #ประทับใจเหมือนเดิม” เช่นเดียวกันกับ Tagline ของธนาคารกสิกรไทย “บริการทุกระดับประทับใจ” ที่ยึดถือคำนี้เป็นหัวใจในการบริการมาตั้งแต่ปี 2514 จนถึงปัจจุบัน

แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปไม่หยุด แต่ธนาคารกสิกรไทยก็จะยังคงพัฒนาตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อดูแลความสัมพันธ์และมอบความประทับใจให้ลูกค้าเสมอ ไม่ว่าจะในรูปแบบไหนก็ตาม ทั้งธนาคารสาขา หรือธนาคารบนมือถือ และเพื่อเป็นการบอกเล่าถึงความเชื่อนี้ให้ผู้คนได้รับรู้

เพราะธนาคารกสิกรไทยเชื่อว่าความสัมพันธ์ และความรู้สึกคือเรื่องสำคัญที่สุด ธนาคารกสิกรไทยจึงมุ่งมั่นที่จะ “บริการทุกระดับประทับใจ”  “โลกเปลี่ยนไป #ประทับใจเหมือนเดิม”

คลิกฟังเพลงย้อนอดีตจากเพลย์ลิสต์ทั้ง 6 ได้ที่ >>>

วันนี้ที่ประทับใจ https://goo.gl/Zu6kHJ

คิดถึงขาม้า https://goo.gl/noepvm

ใจใจวันเก๋า https://goo.gl/B5gH1B

แผ่นเสียงเพียงฝัน https://goo.gl/AkUq5V

ล้านตลับจับใจ https://goo.gl/NWSs5T

ฟันเหล็กเด็กแนว https://goo.gl/Ur41zZ

]]> 1138057 ศึกชิงมิวสิกสตรีมมิ่ง JOOX vs Apple Music vs Spotify  https://positioningmag.com/1137633 Sat, 26 Aug 2017 23:55:17 +0000 http://positioningmag.com/?p=1137633 ตลาดมิวสิกสตรีมมิ่งในไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง เมื่อ สปอติฟาย (Spotify) ได้ฤกษ์เปิดให้บริการในไทยอย่างเป็นทางการ เพราะต่อจากนี้ไปจะไม่ได้มีแค่บริการสุดฮิตที่มีมาก่อนหน้าอย่าง JOOX หรือ Apple Music เท่านั้น แต่จะมีอีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ในชื่อ Spotify เพิ่มเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ผู้ใช้ชาวไทยได้เลือกใช้งานกัน

แน่นอนว่าเมื่อมีตัวเลือกมากขึ้น ผู้บริโภคก็ยังอาจตัดสินใจไม่ได้ว่าสุดท้ายแล้วจะเหมาะสมกับบริการใด เลยเลือกจับบริการสุดฮิตในตลาดมิวสิกสตรีมมิ่งทั้ง 3 ตัวได้แก่ JOOX Apple Music และ Spotify มาถอดจุดขายข้อสังเกตกันทุกรายละเอียด โดยจะแบ่งเป็นหัวข้อตามประเด็นที่ผู้คนส่วนใหญ่กำลังสนใจและพูดถึงในปัจจุบัน

1. คอนเทนต์เพลง

JOOX – ถึงแม้จะเป็นผู้ให้บริการหน้าใหม่ เมื่อเทียบกับอีก 2 ผู้ให้บริการ แต่ JOOX เลือกใช้วิธีการให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย สามารถใช้งานได้ฟรีผ่านหน้าเว็บมิวสิก สนุกดอทคอม ทำให้ทุกคนสามารถกดฟังเพลงได้ทันทีโดยไม่ต้องล็อกอิน

โดยในประเทศไทย JOOX จะเน้นเพลงวัยรุ่นทั้งไทยและสากลในกระแสเป็นหลัก เพลงนอกกระแส ค่ายเล็ก โดยเฉพาะเพลงอินดี้ต่างประเทศที่ศิลปินมักออกทุนผลิตเพลงเองจะมีให้เลือกฟังจาก JOOX น้อยมาก

Apple Music – เพราะแอปเปิลเป็นผู้ให้บริการขายเพลงผ่านระบบ iTunes มาก่อน ทำให้ Apple Music มีเพลงในคลังทั้งไทยและสากลมากกว่า 40 ล้านเพลง จึงกลายเป็นจุดเด่นสำคัญไปโดยปริยาย พร้อมกับความง่ายในการเข้าถึงของผู้ใช้สินค้าในตระกูล iOS

โดยเฉพาะเพลงนอกกระแสจากค่ายเล็กใหญ่ทั้งไทยและเทศที่มักมีให้เลือกฟังผ่าน Apple Music มากกว่าบริการอื่น อีกทั้งในบ้านเรา Apple Music ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งแหล่งฟังเพลงออนไลน์สำหรับคนชอบฟังเพลงวัยรุ่นเกาหลี K-POP อีกด้วย

Spotify – น้องใหม่สุดในบ้านเรา แต่สำหรับระดับโลกถือว่า Spotify อยู่ในตลาดสตรีมมิ่งมาเกือบ 10 ปีแล้ว ด้านคอนเทนต์เพลงของผู้ให้บริการนี้จะคล้ายกับ Apple Music คือมีเพลงทั้งไทยและสากลทั้งในกระแสและนอกกระแสให้เลือกฟังเช่นเดียวกัน

แต่ปัจจุบันในตลาดไทยเพลงอาจน้อยกว่าทั้ง Apple Music และ JOOX โดยเฉพาะเกาหลี K-POP ที่ปัจจุบันยังไม่หลากหลาย ส่วนเพลงนอกกระแสต่างประเทศถือว่า Spotify เป็นผู้นำด้วยเครือข่ายขนาดใหญ่ จุดนี้อาจต้องรอดูอนาคตเพราะ Spotify เพิ่งเข้ามาทำตลาดในไทย ส่วนตลาดโลกก็เรียกได้ว่า Spotify เป็นอีกหนึ่งคลังเพลงออนไลน์ขนาดใหญ่ระดับ 30 ล้านเพลงขึ้นไป

Apple Music จะให้คุณภาพเสียง 256 Kbps AAC มาตรฐานเดียว

2. จุดขายเด่น

JOOX – เพราะเป็นการร่วมมือกับสนุกดอทคอมทำให้ JOOX มีจุดขายในเรื่องบริการด้านข่าวบันเทิง มีวิดีโอเล่นดนตรีสด เวอร์ชันพิเศษเฉพาะ JOOX และมีวิทยุเลือกจัดเพลงตามธีมต่างๆ รวมถึงมีเพลย์ลิสต์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากระบบของ Spotify เช่นวันนี้อยากออกกำลังก็สามารถเลือกเพลย์ลิสต์รวมเพลงที่เหมาะกับการออกกำลังกายได้ทันที

นอกจากนั้นคอนเทนต์ส่วนใหญ่บน JOOX จะสามารถเข้าใช้งานได้ฟรีแต่แลกกับมีการต้องฟังโฆษณา หรือจะเลือกเสียเงินก็จะได้รับคุณภาพเสียงที่สูงขึ้น และโหลดมาฟังแบบออฟไลน์บนสมาร์ทโฟนได้

Apple Music – มีจุดขายสำคัญในเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการช่วยผู้ใช้คัดเลือกและสร้างเพลย์ลิสต์โดยอ้างอิงจากแนวเพลงที่ชอบฟังให้แบบอัตโนมัติ รวมถึงมีระบบ Connected กับศิลปินที่เราชื่นชอบ เปรียบเสมือนศิลปินมีบล็อกส่วนตัวเขียนให้แฟนเพลงติดตามรวมถึงมีวิทยุออนไลน์ฟังเพลงแบบ Non Stop หรือจะเลือกฟังแบบมีผู้ดำเนินรายการก็ได้

Spotify – ฟีเจอร์เด่นที่ทำให้ Spotify มีชื่อเสียงมาถึงทุกวันนี้ก็คือระบบการจัดเพลย์ลิสต์เพลงที่หลากหลายครอบคลุมทุกอารมณ์ของคนฟังมากที่สุด รวมถึงมีระบบแจ้งเตือนเมื่อศิลปินที่เราติดตามออกเพลงใหม่ อีกทั้งคนที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย Spotify จะมีโหมดพิเศษที่ชื่อว่า ‘Running’ โดยโหมดนี้จะตรวจจับความเร็วในการวิ่งของเราและจัดลิสต์เพลงที่เหมาะสมแต่ละช่วงความเร็วให้โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการจัดเพลย์ลิสต์ร่วมกับระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวในโทรศัพท์

นอกจากนั้นปัญญาประดิษฐ์ใน Spotify ยังช่วยเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้และช่วยในการจัดเพลย์ลิสต์ให้เราอัตโนมัติ เช่น Discovery Weekly และสุดท้าย Spotify ยังรองรับอุปกรณ์ที่ใช้งานได้หลากหลายที่สุดตั้งแต่สมาร์ททีวี เครื่องเกมคอนโซน สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้สามารถฟังเพลงข้ามไปมาระหว่างอุปกรณ์แบบไร้รอยต่อ หรือถ้าฟังเพลงในคอมพิวเตอร์อยู่ก็สามารถกดเปลี่ยนเพลงจากสมาร์ทโฟนได้ทันที 

ปัญญาประดิษฐ์ใน Spotify จะเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้และจัดเพลย์ลิสต์ให้เราอัตโนมัติ

3. คุณภาพเสียง

JOOX – สำหรับการใช้งานฟรี คุณภาพเสียงจะอยู่ที่ 128 Kbps ส่วนถ้าสมัครใช้บริการรายเดือนแบบ VIP จะได้คุณภาพเสียงสูงถึง 192 Kbps และบางเพลงสามารถฟังแบบคุณภาพ HiFi 1,411Kbps ได้ด้วย

Apple Music – จะให้คุณภาพเสียง 256 Kbps AAC มาตรฐานเดียว

Spotify – รองรับการสตรีมมิ่งเพลงที่ความละเอียดสูงสุด 320 Kbps ทุกเพลง ส่วนค่าต่ำสุด 96 Kbps 

JOOX เลือกใช้วิธีการให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย สามารถใช้งานได้ฟรีผ่านหน้าเว็บมิวสิก สนุกดอทคอม ทำให้ทุกคนสามารถกดฟังเพลงได้ทันทีโดยไม่ต้องล็อกอิน

 4. ราคา

JOOX – การบอกรับสมาชิก (VIP) สามารถเลือกจ่ายเงินได้ 3 ช่องทางได้แก่ 1.บัตรเงินสด TrueMoney, 12Call, DTAC 2.ซื้อบัตรเงินสด JOOX VIP มีราคาเริ่มต้นที่ 20 บาทใช้ได้ 5 วันจนถึง 1,000 บาทใช้ได้ 328 วัน 3.จ่ายผ่านบัตรเครดิต เริ่มต้น 129 บาทต่อเดือน

Apple Music – เริ่มต้นแบบบุคคลอยู่ที่ 129 บาทต่อเดือน รายปี 1,300 บาท แบบครอบครัวได้สูงสุด 6 คนตกเดือนละ 199 บาท และสุดท้ายนักศึกษาเดือนละ 69 บาท

Spotify – บอกรับสมาชิก ค่าบริการแบบ Premium บุคคลตกเดือนละ 129 บาท รายปี 1,548 บาท แบบครอบครัวตกเดือนละ 199 บาท รองรับการจ่ายเงินผ่านเครือข่าย DTAC สามารถเลือกจ่ายเป็นรายวันเริ่มต้น 8 บาท รายสัปดาห์ 39 บาท รายเดือน 139 บาท และราย 3 เดือน 417 บาท


ที่มา : manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000087469

]]>
1137633
ใครจะไป ใครจะปัง ? เมื่อ Spotify ลุยตลาดมิวสิก สตรีมมิ่งในไทย ท้าชน JOOX-Apple Music https://positioningmag.com/1137285 Wed, 23 Aug 2017 23:55:16 +0000 http://positioningmag.com/?p=1137285 เข้ามาเปิดตัวอย่างเป็นทางการในไทยอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับบริการมิวสิก สตรีมมิ่งสัญชาติสวีเดน Spotify ที่ต้องเจอความท้ายทายในตลาดมิวสิก สตรีมมิ่งในไทย ที่มีผู้ให้บริการเข้ามาในตลาดตลอดเวลา แต่อำลาไปแล้ว KKBox ที่ยุติการทำตลาดในไทยเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา ส่วน Deezer เอง ดูจะแผ่วไป ไม่ออกตัวแรงเหมือนช่วงแรกที่เปิดตัว ยังคงมีผู้เล่นรายใหญ่ที่มีบทบาท JOOX , Apple Music 

คอเพลงในประเทศไทยต่างตื่นเต้นกับการมาของ Spotify พอสมควร หลังจากที่ได้ร่อนจดหมายเชิญสื่อมวลชน และมีการแชร์ต่อกันบนโลกออนไลน์ว่าจะมีการทำตลาดแบบเต็มรูปแบบ หลายคนก็ได้ให้ความสนใจ เพราะบางคนก็รู้จักกับ Spotify มาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว บางคนได้เปิด VPN ในมือถือเป็นประเทศอื่นเพื่อให้ได้ใช้บริการอีกด้วย

การมาของ Spotify ถูกคาดหมายว่าจะทำให้ JOOX และ Apple Music หายใจได้ไม่ทั่วท้อง ในขณะที่อุตสาหกรรมเพลงยิ้มร่า เพราะ Spotify คือตัวจริงที่จะช่วยให้ค่ายเพลงทั้งใหญ่น้อยสามารถลืมตาอ้าปากได้
จากการที่สร้างความนิยมจนมีผู้ใช้ 140 ล้านราย จ่ายค่าสมาชิก 60 ล้านรายทั่วโลก สร้างรายได้มากกว่า 5 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.66 แสนล้านบาท นับตั้งแต่เปิดตัวในปี พ.. 2551 โดยการเปิดตัวในประเทศไทยจะทำให้ Spotify ให้บริการรวมทั้งสิ้น 61 ตลาดทั่วโลก

ในทางกลับกัน ก็เป็นเรื่องท้าทายสำหรับ Spotify เช่นกัน เพราะ JOOX และ Apple Music ก็เป็นค่ายใหญ่ ทุนหนา และคลังเพลงจำนวนมากเช่นกัน แถมทำตลาดมาก่อน คนไทยคุ้นเคยกันอยู่แล้ว

ดังนั้น Spotify พยายามนำเสนอคือ “คลังเพลง” 30 ล้านเพลง พร้อมกับ 2 พันล้านเพลย์ลิสต์ และเพิ่มเพลงใหม่ 30,000 เพลงต่อวัน แต่ส่วนมากยังเป็นเพลงสากล ส่วนเพลงไทย และเพลงเกาหลีน้อย ซึ่งกรณีของประเทศไทย Spotify มีบริการเพลงทั้งที่มีค่ายและไม่มีค่าย โดยเบื้องต้นจะมีเพลงจากทางแกรมมี่มาร่วมด้วย แต่ยังไม่มีค่ายอาร์เอส

จุดเด่นสำคัญ ที่มองว่าจะสร้างแตกต่างจากบริการออนไลน์อื่นคือ Playlists ส่วนตัวหรือการจัดหาเพลงตามสไตล์และอารมณ์ของผู้ฟังเป็นรายบุคคล โดยการรวบรวมจากระบบ API ที่เก็บข้อมูลเพลงของผู้ใช้งานในทุกช่วงเวลามาวิเคราะห์ และคำนวณการฟังเพลงของแต่ละคน และนำมาจัดเป็น Playlists โดยจะปรับเปลี่ยน Playlist ใหม่ทุกๆ วันจันทร์

โดยก่อนหน้านี้ JOOX ก็ประสบความสำเร็จจากการจัด Category และ Playlist เพลงตามอารมณ์และโอกาสต่างๆ ให้กับผู้ฟังมาแล้ว แต่สิ่งที่แตกต่าง คือ Spotify เลือกใช้วิธีทำเป็น Playlist รายบุคคลซึ่งจะให้ความเป็นส่วนตัวมากกว่า

สำหรับโมเดลธุรกิจในการหารายได้ของ Spotify จะมีทั้งแบบฟังฟรี แต่มีโฆษณาคั่น และแบบจ่ายค่าสมาชิก ซึ่งค่าบริการเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนพูดถึง เพราะค่าบริการไม่แพงมากเมื่อเทียบกับผู้เล่นรายอื่น อยู่ที่ 129 บาท/เดือน และมีแพ็กเกจแบบครอบครัว 199 บาท/เดือน สามารถใช้ได้ 6 คน กลุ่มเพื่อนๆ สามารถรวมกลุ่มกันแล้วแชร์สมาชิกได้

เปิดโมเดล หารายได้ Spotify ในไทย

อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นความท้าทายของ Spotify ก็คือคนไทยส่วนใหญ่ยังนิยมฟังเพลงฟรีและไม่ผูกติดกับแพลตฟอร์มใดเป็นหลัก ดังนั้นแผนการปั้มรายได้ของ Spotify จึงต้องมาจากทั้ง 2 ทางหลัก คือ การขายค่าสมาชิกรายเดือนและขายพื้นที่โฆษณาให้กับแบรนด์สินค้า

คิดง่ายๆ ก็คือ สำหรับลูกค้าที่เสียค่าบริการรายเดือนก็จะไม่ต้องชมโฆษณา ก็จะมีรายได้จากค่าบริการรายเดือนโดยคิดราคาเริ่มต้นที่เดือนละ 129 บาทต่อสมาชิก1 คนต่อเดือน และมีแพ็กเกจแบบครอบครัว 199 บาท/เดือน สามารถใช้ได้ 6 คน กลุ่มเพื่อนๆ สามารถรวมกลุ่มกันแล้วแชร์สมาชิกได้

ผู้ฟังฟรีที่ไม่เสียค่าบริการ จะได้ฟังโฆษณาเสียง 6 ตัวต่อชั่วโมง มีความยาวรวมกับไม่เกิน 2-4 นาทีต่อชั่วโมงระหว่างเพลง ผู้ฟังจะเข้าถึงได้ 30 ล้านเพลงเหมือนกัน ฟังออฟไลน์ไม่ได้ ข้ามเพลงไม่ได้ กรณีมีสปอนเซอร์หรือแบรนด์ที่ซื้อโฆษณาใน Playlists ผู้ฟังสามารถฟังโฆษณาเพื่อฟังเพลงต่อได้ตามเวลาที่กำหนด เช่น หากไม่กดสคริปโฆษณาที่มีความยาว 25-30 วินาที จะได้ฟังเพลงยาวๆ ถึง 1 ชั่วโมงต่อโฆษณา 1 ครั้ง

ในการหารายได้จากโฆษณานั้น Spotify ดูจะอุ่นใจไม่น้อย เพราะได้ “มายด์แชร์” มีเดียเอเยนซี่รายใหญ่ เพราะการร่วมมือในระดับภูมิภาคเอเชียและในระดับโลก ก็ร่วมมือกับ WPP และ Group M ซึ่งเป็นบริษัทแม่ โดย 6 แบรนด์แรกที่จะโฆษณา คือ ยูนิลีเวอร์ ซึ่งมีแบรนด์แม็กนั่ม แชมพูเคลียร์และเรโซนา, เป๊ปซี่ , ไนกี้และมาสด้า เข้าร่วมเป็นแบรนด์กลุ่มแรกที่ลงโฆษณาบน Spotify ในประเทศไทย

ซี เยน อ็อง รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายขายระดับภูมิภาคของ Spotify ทวีปเอเชีย ระบุว่า สิ่งที่จะทำให้ Spotify น่าสนใจสำหรับแบรนด์ในการลงโฆษณา รองรับได้ทั้งเพลง ภาพเคลื่อนไหว บนหน้า “อุปกรณ์” หลากหลาย ผ่านแอปบนมือถือ, แท็บเล็ตและเดสก์ท็อป เช่น Brandner Display ก็อาจจะเหมาะกับฟังบนเดกส์ท็อป ส่วน Audio Advertising เหมาะสำหรับบนมือถือ และ Video Advertising เหมาะสำหรับแท็บเล็ต เป็นต้น

ส่วนคอนเทนต์โฆษณา แบรนด์ จะเลือกร่วมมือกับศิลปินค่ายเพลง ทำเพลงประกอบโฆษณาให้ หรือหากเป็นแบรนด์เครื่องดื่มชา อาจจะทำ Playlist เพลงที่ศิลปินชอบฟังในขณะดื่มชา

นอกจากนี้ ยังใช้ “ดาต้า” ให้เป็นประโยชน์ ผ่านการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ผ่านโปรแกรม API  ซึ่งจะเข้าถึงพฤติกรรมของผู้ฟังเพลงในทุกๆ ช่วงเวลา โดยข้อมูลจะถูกส่งให้กับแบรนด์ เพื่อเลือกโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย

ด้วยรูปแบบโฆษณา และเงื่อนไขในการให้คนฟังฟรี Spotify ถึงกับการันตีว่า 85% ของผู้ใช้งาน Spotify จะสามารถเห็น content โฆษณาของแบรนด์ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ โดยหากโฆษณาตัวไหนที่ผู้ใช้งานดูไม่จบ Spotify ก็จะไม่คิดค่าโฆษณา

ต้องรอดูกันต่อว่า Playlist ของใครจะขึ้นไปอยู่บนหน้าจอของคนฟังได้มากที่สุด ระหว่าง Spotify หรือ JOOX จากค่ายเทนเซ็นต์ จากจีน ที่บุกตลาดอย่างหนัก ด้วยโมเดลคล้ายกัน คือฟังฟรีแต่มีโฆษณาคั่น และแบบจ่ายค่าบริการราย มีคลังเพลงอยู่ 5 ล้านเพลง มีผู้ใช้ 25 ล้านดาวน์โหลด เป็นผู้ใช้แอคทีฟ 7-8 ล้านรายต่อดือน และแชร์เพลงเพื่อรับสิทธิ์วีไอพีในแต่ละวันด้วย รวมทั้งคู่แข่งอย่าง Apple Music ที่มีคลังมากกว่า 40 ล้านเพลง แต่ที่แน่ๆ สงคราม มิวสิก สตรีมมิ่ง เริ่มขึ้นแล้ว

]]>
1137285
“รบกวนแยกแยะ” ดราม่าแอดมิน JOOX บทเรียนกระทบแบรนด์ https://positioningmag.com/1120793 Thu, 30 Mar 2017 04:10:44 +0000 http://positioningmag.com/?p=1120793 ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาเกิดกระแสการแชร์บนโลกออนไลน์เกี่ยวกับบทสนทนาของแอดมินเพจหนึ่ง ก็คือเพจ JOOX แอปพลิเคชั่นสตรีมมิ่งเพลงจากเทนเซ็นต์ ที่ทำให้หลายคนไม่พอใจเพราะว่ามีการใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสม จึงเกิดการบอกต่อกันเต็มโลกทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก

โดยผู้ใช้รายหนึ่งได้สอบถามผ่านทวิตเตอร์ JOOX Thailand ถึงปัญหาการ สมัครสมาชิกแบบ VIP ไป แต่ JOOX ได้มีการเอาเพลงออก เนื่องจากลิขสิทธิ์ จึงต้องการขอเงินค่าสมัครคืน

ผมสมัคร VIP เพื่อฟังเพลง แต่พอสมัครเรียบร้อยไปนาน ทางแอปเอาเพลงออกเนื่องจากลิขสิทธิ์ ผมควรทำยังไงครับ ขอเงินคืนได้ไหมครับ

แต่แอดมินตอบกลับผู้ใช้รายนั้นไปว่ารบกวนแยกแยะนะคะ เพลงที่นำลงเนื่องจากทางค่ายต้นสังกัดให้นำลงค่ะ และบางเพลงก็จะนำมาลงใหม่ค่ะ ในกรณีที่สมัคร vip แล้ว จะไม่สามารถทำเรื่องขอคืนได้ค่ะ

ด้วยถ้อยคำที่แอดมินใช้ตอบปัญหากับผู้ใช้นอกจากจะถูกผู้ใช้รายนั้นติติงถึงการใช้ถ้อยคำในการตอบกลับ ยังมีผู้แสดงความคิดเห็นในออนไลน์จำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับข้อความที่แอดมินใช้ จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างแพร่หลาย

แต่แทนที่แอดมินส่งข้อความขอโทษไปตามปกติ กลับส่งข้อความตอบกลับผู้ใช้รายนั้นว่ากราบขออภัยในความไม่พอใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนะคะ จุกเลย พึ่งทานข้าวเที่ยงมา ไม่เป็นไรนะคะคนดี โอ๋เอ๋ ๆๆๆ

หลังจากข้อความนี้ สถานการณ์จึงกลับยิ่งแย่ลง ส่งผลให้แอดมินของ JOOX Thailand ถูกวิจารณ์จากออนไลน์ลุกลามหนักขึ้นกว่าเก่า ถึงความไม่เป็นมืออาชีพของแอดมินในการใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม มารยาทการใช้ภาษา แทนที่จะขอโทษ และตอบปัญหาอย่างถูกต้อง กลับใช้คำที่เหมือนพูดเล่น ซึ่งไม่ควรอย่างยิ่งเพราะแอดมินก็คือตัวแทนขององค์กร

ไม่ได้คอมเพลนเรื่องคำผิด แต่คอมเพลนเรื่องมารยาทในการใช้ภาษาค่ะ ยิ่งทำหน้าที่ตรงนี้เป็นเหมือนตัวแทนขององค์กร ควรระวังมากกว่านี้

แอดมินที่ทำงานเกี่ยวกะพวกแอป เว็บ บริการ จะมากัดคนเล่นแบบ admin the face ไม่ได้เหอะ คนเค้าอยากได้ support ไม่ใช่ให้มากวนตีน

จนกระทั่งทีมงานได้ทวิตข้อความขอโทษ ทางเราขอยอมรับผิดทุกประการ และสัญญาว่าจะนำคำติชมทั้งหมด ไปปรับปรุงและพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นค่ะ

แต่บางรายก็ยังมองว่าควรทำแถลงการณ์ขอโทษอย่างเป็นทางการและลงนามผู้บริหาร ไม่ควรแค่ทวิตขอโทษ เพราะปัญหาเกิดขึ้นกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรไปแล้ว

นับเป็นอีกหนึ่งในบทเรียนของแบรนด์ ที่ใช้ออนไลน์ในการใช้ถ้อยคำในการสื่อสารกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นเรื่องที่อ่อนไหว โดยเฉพาะ “แอดมิน” ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของแบรนด์ในการตอบปัญหา จึงควรมีการคัดเลือกและอบรมการใช้ถ้อยคำในตอบคำถามกับผู้บริโภค เพราะหากผิดพลาดนิดเดียว จะส่งผลให้เกิดปัญหาลุกลามกระทบกับแบรนด์ และแทนที่จะขอโทษและชี้แจง แต่กลับตอบโต้ ด้วยถ้อยคำไม่เหมาะสม ยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก

มีหลายแบรนด์ที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ เช่น แอดมินของ KFC ที่สื่อสารกับผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม จนเป็นตัวอย่างที่ทำให้หลายแบรนด์อยากทำตาม แต่หากเกินพอดี ก็ทำให้เกิดกระแสตีกลับเหมือนอย่างที่ JOOX ต้องเผชิญอยู่ในเวลานี้ 

]]>
1120793
เปิดกลยุทธ์! ต้องสตรองแค่ไหน ถึงอยู่ในตลาดมิวสิกสตรีมมิ่งได้ https://positioningmag.com/1114549 Thu, 26 Jan 2017 05:00:41 +0000 http://positioningmag.com/?p=1114549 ในปีที่ผ่านมาเทรนด์ของเรื่องมิวสิกสตรีมมิ่ง หรือการฟังเพลงผ่านแอปพลิเคชันได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เพราะด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาฟังเพลงผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ทำให้มีผู้เล่นในตลาดเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน มีรายใหญ่ๆ ที่เรียงตามช่วงเวลาที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ได้แก่ Deezer, KK Box, Apple Music, LINE Music และน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อต้นปี 2559 JOOX จากค่ายเทนเซ็นต์

แต่ด้วยตลาดที่มีการแข่งขันสูง ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายๆ ด้าน ทั้งพฤติกรรมการฟังเพลงของผู้บริโภคที่ชอบฟังเพลงแบบไม่เสียเงิน รวมถึงการสร้างตลาดให้ผู้บริโภคมาใช้บริการ จากปัจจัยในหลายๆ อย่างทำให้ในปีที่ผ่านมาก็มีผู้เล่นทยอยปิดตัวลงไป เพราะไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ จนในปัจจุบันเหลือผู้เล่นใหญ่ๆ เพียง 3 รายเท่านั้นก็คือ Apple Music, Deezer และ JOOX

ความน่าสนใจในตลาดนี้ที่ทำให้ผู้เล่นต่างตะลุมบอนทำตลาดกัน เพราะเป็นการจับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในปัจจุบันที่ชอบดูหนังและฟังเพลงมากที่สุด (รองจากการใช้โซเชียลมีเดีย) ยกตัวอย่างทางค่ายโอเปอเรเตอร์ต่างๆ ก็มีการทำการตลาดที่จะกระตุ้นในการใช้ดาต้าให้สูงขึ้น รวมถึงมีแพ็กเกจ หรือโปรสำหรับการฟังเพลงโดยเฉพาะ

ประกอบกับแนวโน้มของตลาดที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยล้อไปกับการเติบโตของการใช้อินเทอร์เน็ตและการใช้สมาร์ทโฟน ในปี 2559 ที่ผ่านมาพบว่ามีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคอายุ 16-44 ปี จำนวน 66% เป็นการเข้าถึงผ่านสมาร์ทโฟน 98% และเข้าผ่านคอมพิวเตอร์พีซี 27%

พบว่าคนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมการฟังเพลงผ่านแอปพลิเคชัน และเว็บไซต์ออนไลน์ 88% เป็นการฟังผ่านสมาร์ทโฟน 65% และฟังผ่านคอมพิวเตอร์พีซี 61%

และในปี 2560 นี้ ทาง McKinsey Report ได้คาดการณ์ว่าจะมีคนใช้มิวสิกสตรีมมิ่งในเอเชียสูงราว 64 ล้านคน เติบโต 13.5% ระหว่างช่วงปี 2557-2563

จะอยู่หรือจะไป ต้องอยู่ที่คอนเทนต์

การแข่งขันในตลาดสตรีมมิ่งในช่วงที่ผ่านมาเป็นสงครามในการแย่ง “ผู้ใช้” โมเดลหลักของแต่ละค่ายจะเป็นการจ่ายค่าบริการรายเดือนซึ่งแต่ละรายก็ไม่เท่ากัน ซึ่งปัจจัยตรงนี้เองค่อนข้างที่จะเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงผู้บริโภค ทำให้ช่วงมิวสิกสตรีมมิ่งยังไม่ค่อยบูมเท่าไหร่

โดยที่ผ่านมาแต่ละเจ้าก็มีฐานลูกค้าเป็นของตัวเองอยู่แล้ว อย่างดีแทคก็มีการทำตลาดของ Deezer และเอไอเอสทำตลาดของ KK Box ส่วน Apple Music ก็มีฐานลูกค้าจากผู้ใช้แอปเปิล และ LINE Music ก็อาศัยฐานลูกค้าจากคนใช้ไลน์ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าผู้บริโภคสะดวกจะใช้อันไหน หรือพอใจที่จะจ่ายเงินกับแอปไหนมากกว่ากัน

แต่เมื่อต้นปีที่แล้วตลาดมิวสิกสตรีมมิ่งกลับมาคึกคักเพราะมีผู้เล่นเข้ามาเพิ่ม ก็คือ JOOX โดยที่ได้เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยต่อจากฮ่องกง มาเลเซีย และอินโดนีเซีย และมีโมเดลธุรกิจแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ในตลาด

joox

กรณีศึกษาของ JOOX ที่เข้ามาเขย่าตลาดได้นั้น เริ่มต้นจาก JOOX ได้มองเห็นพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยแล้วว่า คนไทยยังไม่พร้อมที่จะ “จ่ายเงิน” กับการฟังเพลง เห็นได้จากพฤติกรรมที่ผ่านมาในการดาวน์โหลดเพลงที่ส่วนใหญ่เป็นการดาวน์โหลดผิดกฎหมาย แต่ JOOX ต้องการที่จะให้ผู้บริโภคฟังเพลงอย่างถูกลิขสิทธิ์ จึงใช้โมเดลในการให้ฟัง “ฟรี” เพื่อเป็นการเรียกฐานผู้ใช้

ส่วนโมเดลในการหารายได้ต่อไปจะเป็นในเรื่องของการหาพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจ ซึ่งกลยุทธ์นี้ก็ค่อนข้างได้ผลพอสมควร เพราะทำให้ JOOX  ติดตลาดสำหรับคนฟังสตรีมมิ่งด้วยจำนวน 25 ล้านดาวน์โหลด และได้ขึ้นแท่นเป็นแอปมิวสิกสตรีมมิ่งเบอร์หนึ่งในประเทศไทยไปแล้ว

นอกจากการฟังฟรีแล้ว JOOX ยังสร้างจุดแข็งให้แตกต่างจากแบรนด์อื่นด้วยการสร้าง “คอนเทนต์”  กฤตธี มโนลีหกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า “ตลาดมิวสิกสตรีมมิ่งคนที่จะอยู่หรือจะไป Key Success  อยู่ที่คอนเทนต์ล้วนๆ ซึ่งคอนเทนต์ต้องถูกจริตคนไทย”

การดีไซน์คอนเทนต์ของ JOOX จึงอยู่ในรูปแบบ “เพลย์ลิสต์” ที่รวบรวมเพลงที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลา อารมณ์ และกระแสต่างๆ แม้แต่ช่วงวันสำคัญทางศาสนาก็ยังมีบทสวดมนต์เลย เพราะคนไทยชอบคอนเทนต์ที่มีความกวนเล็กๆ จึงได้มีการจัดเพลงใส่เพลย์ลิสต์ก็ตั้งชื่อกวนๆ อย่างระยะทำใจ ฤดูที่ฉันเหงา ฝนพรำฮัมเพลง เป็นการทำคอนเทนต์มาตอบโจทย์

นอกจากเทรนด์เรื่องการฟังมิวสิกสตรีมมิ่งแล้ว เทรนด์เรื่องวิดีโอสตรีมมิ่งก็มาแรงไม่แพ้กัน ทำให้ JOOX ได้มีการปรับตัวในการเพิ่มคอนเทนต์ที่เป็นประเภทวิดีโอเข้าไป เช่น เพิ่มรายการ V station เป็นรายการแนะนำเพลง และมีช่วงรายการที่ถ่ายทอดสด เพื่อดึงดูดคนดู และช่วยให้ผู้บริโภคใช้เวลาอยู่กับแอปนานขึ้น และมีเอ็นเกจเมนต์มากขึ้น

สำหรับแผนธุรกิจของ JOOX ในปีนี้ หลังจากที่ได้ปูทางในการขยายฐานผู้ใช้ด้วยกลยุทธ์การฟังฟรี รวมถึงการใช้คอนเทนต์ในการมีส่วนช่วย แผนการตลาดในปีนี้ของ JOOX นั้นจะเริ่มขอมีตัวตนบนโลกออฟไลน์มากขึ้น จึงมีกิจกรรมที่เป็นคอนเสิร์ตขึ้นมาเพิ่มเติม เพื่อให้คนรู้จักมากขึ้น

joox2

กฤตธี ได้บอกว่า ในปีนี้ความท้าทายอยู่ที่ทำอย่างไรให้เกิดรายได้มากขึ้น จึงมีการจัดอีเวนต์และมีคอนเสิร์ต เพื่อเป็นการขยายฐานคนฟังไปกลุ่มใหม่ๆ ด้วยคอนเสิร์ตที่จะมีการจัดในปีนี้จะมีราว 20-30 ครั้ง จุดประสงค์หลักก็เพื่อต้องการขยายฐานคนฟังให้กว้างขึ้น ขยายไปยังต่างจังหวัด และต้องการให้คอนเสิร์ตสร้างเอ็นเกจเมนต์กับผู้บริโภครวมไปถึงการทำอีเวนต์จะเป็นช่องทางในการหารายได้เพิ่มขึ้นด้วย

คนฟัง JOOX เป็นใครบ้าง

ปัจจุบัน JOOX มีจำนวนผู้ใช้ 25 ล้านดาวน์โหลด ซึ่งเป็นผู้ใช้แอ็กทีฟ 7-8 ล้านราย ในปีนี้ตั้งเป้าผู้ใช้ 30 ล้านดาวน์โหลด และมีผู้ใช้แอ็กทีฟ 15 ล้านราย

ผู้ฟัง JOOX  จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน กลุ่มใหญ่ที่สุดเป็นกลุ่มคนอายุน้อยกว่า 18 ปี 65% จะนิยมฟัง JOOX ขณะที่ทำการบ้าน พร้อมกับใช้ไวไฟที่บ้านในการฟัง เพราะคนกลุ่มนี้ยังไม่มีรายได้ในการใช้จ่ายค่าแพ็กเกจอินเทอร์เน็ต กลุ่มที่ 2 อายุ 18-24 ปี 50% นิยมฟัง JOOX ขณะเดินทางไปไหนมาไหน เพราะได้ฟังเพลงฆ่าเวลา ส่วนกลุ่มที่ 3 อายุ 25-34 ปี คนกลุ่มนี้นิยมฟัง JOOX ตอนขับรถ

info_music_new

]]> 1114549