สำหรับต้นเเบบสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเเห่งอนาคตของ Hyundai นี้ มีชื่อว่า ‘E-pit’ ได้รับเเรงบันดาลใจจากจุด ‘Pit stop’ ในการแข่งขันรถ Formula 1 ที่เหล่าทีมงานของเเต่ละทีม สามารถซ่อมเเซม เปลี่ยนยางหรือปรับปรุงรถ ได้ภายในไม่กี่นาที สะท้อนให้เห็นความรวดเร็วเเละมีประสิทธิภาพ
Hyundai จึงนำเเนวคิดนี้มาใช้กับจุดชาร์จ ‘E-pit’ เพื่อให้เจ้าของรถยนต์ยี่ห้อ Hyundai และ Kia สามารถทำการชาร์จรถไฟฟ้าได้อย่างทันใจ เเละชำระเงินค่าบริการเเบบดิจิทัลผ่านสมาร์ทโฟนได้
การชาร์จเเบบ ‘เร็วพิเศษ 800V’ นั้นจะสามารถชาร์จแบตได้ 80% ในเวลา 18 นาที และหากใช้เวลาชาร์จเพียง 5 นาที ก็สามารถวิ่งรถได้ไกลราว 100 กิโลเมตร ส่วนการชาร์จเเบบปกตินั้นจะสามารถชาร์จแบตได้ 80% ในเวลาประมาณ 40 นาที
สถานีชาร์จแห่งใหม่นี้ สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของผู้บริโภคที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดย Hyundai และ Kia มีเเผนจะเปิดตัว EV รุ่นใหม่ที่รองรับการชาร์จแบบ 800V อย่างรุ่น Ioniq 5 และ EV6 ในเร็วๆ นี้
Hyundai ตั้งเป้าที่จะติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ‘E-pit’ ในเกาหลีใต้ให้ได้ 20 เเห่ง (ที่ชาร์จในสถานีรวม 120 เครื่อง) ภายในปีนี้ เเบ่งเป็นตามจุดพักรถบนทางหลวง จำนวน 12 แห่ง และอีก 8 แห่งในเขตเมืองต่างๆ พร้อมการดีไซน์ที่สวยงามเเละทันสมัย เพื่อให้เป็นจุดพักรถเเละพักผ่อนไปในตัว
]]>
CNBC รายงานโดยอ้าง ‘เเหล่งข่าววงใน’ ถึงความคืบหน้าของ ‘Apple Car’ รถยนต์สุดล้ำที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาว่า Apple ใกล้จะสรุปข้อตกลงกับ Hyundai Motors ผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่ของเกาหลีใต้
การผลิตรถยนต์ดังกล่าว อาจมีขึ้นในโรงงานของ KIA หนึ่งในบริษัทลูกของ Hyundai ที่เมือง West Point ในรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา มีรายงานว่า ‘Apple Car’ จะเริ่้มผลิตได้ในปี 2024 หรืออาจจะเร็วกว่านั้น โดยหุ้นของ Apple เพิ่มขึ้นมากกว่า 2% หลังจากกระเเสข่าวนี้เผยเเพร่ออกไป
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวยังไม่ยืนยันว่าในท้ายที่สุดเเล้ว Apple อาจตัดสินใจเป็นพันธมิตรกับผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น หรือพัฒนาแยกกันควบคู่ไปกับการทำงานร่วมกับ Hyundai ก็ได้
โฆษกของ Apple และ Hyundai-Kia ต่างปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นต่อกระเเสข่าวนี้ ซึ่งหากข้อตกลงนี้เกิดขึ้น Hyundai-Kia จะเป็นผู้ผลิตรถยนต์เกาหลีใต้รายแรกที่ได้ทำข้อตกลงกับ Apple เเละอาจมีการเซ็นสัญญามูลค่า 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
แหล่งข่าวของ CNBC ย้ำว่า Apple ต้องการสร้าง Apple Car รถยนต์ไฟฟ้าที่มีระบบ ‘ขับเคลื่อนอัตโนมัติ’ ในอเมริกาเหนือ โดยมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่เปิดกว้าง ยอมอนุญาตให้ Apple เข้ามาควบคุมกระบวนการผลิตทั้งระบบซอฟต์แวร์ฮาร์ดแวร์และแบตเตอรี่
“ดังนั้น Apple Car จะไม่ใช่รถของ Kia ที่มีซอฟต์แวร์ของ Apple แต่จะเป็นรถของ Apple ที่มีโรงงานช่วยผลิตให้เท่านั้น”
สำหรับ Apple การตัดสินใจสร้างรถยนต์ของตัวเองขึ้นมา นับว่าเป็นโอกาสครั้งใหญ่ที่จะเจาะตลาดยานยนต์โลกที่มีมูลค่าสูง 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
Katie Huberty นักวิเคราะห์ของ Morgan Stanley ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันตลาดสมาร์ทโฟนมีมูลค่าราว 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเเบรนด์ของ Apple เป็นเจ้าใหญ่ที่มีส่วนแบ่งอยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของตลาดนี้
“เเต่หาก Apple เข้าตีตลาดตลาดรถยนต์ ที่มีมูลค่า 10 ล้านล้านดอลลาร์ได้สำเร็จเพียง 2% ก็จะสามารถขยายธุรกิจให้มีขนาดใหญ่เท่ากับธุรกิจ iPhone ได้เท่าตัวเลยทีเดียว”
ด้านประธาน Hyundai-Kia มองว่า Apple Car จะเป็นอนาคตของบริษัท เพราะจะเป็นรถยนต์ที่มีระบบอัตโนมัติแบบสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้บริษัทพัฒนารถขับเคลื่อนอัตโนมัติของตัวเองได้เร็วขึ้น
โดย Hyundai-Kia จะเร่งพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติเเละรถยนต์ไฟฟ้าของตนเอง ‘ควบคู่กัน’ ไปเนื่องจากปัจจุบัน Hyundai ก็ร่วมทุนกับ Aptiv เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์อัตโนมัติและหุ่นยนต์อยู่แล้วรวมถึงโอกาสการขยายตลาดในอเมริกาเหนือด้วย
ต้องจับตาดูว่า ‘Apple Car’ จะเป็นไปในทิศทางใด…
ที่มา : CNBC , Engadget, businessinsider
]]>(หมายเหตุ : เรียงตามลำดับตัวอักษร)
ค่ายรถยนต์เยอรมัน BMW เพิ่งปรับปรุงโลโก้ใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2020 โดยแตกต่างจากเดิมไม่มาก ส่วนกลางของโลโก้ยังเป็นสีขาวและสีฟ้าสื่อถึงรัฐบาวาเรีย ถิ่นกำเนิดของแบรนด์
แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือตัวอักษร BMW สีขาวจะไม่มีการตัดขอบเงาดำ และบริเวณสีดำในวงกลมรอบนอกจะถูกตัดออกไปเหลือเพียงขอบสีขาวล้อมรอบ ทำให้เมื่อโลโก้นี้ประดับลงบนรถยนต์ ตัวสีรถจะเข้ามาเติมเต็มช่องว่างที่สีดำของโลโก้ได้หายไปแล้วนั่นเอง ภาพรวมโลโก้ใหม่จึงมีความทันสมัยและมินิมอลมากขึ้น
โลโก้ที่ปรับใหม่นี้มาพร้อมกับรถยนต์ไฟฟ้าเจาะกลุ่มผู้บริหาร BMW i4 รถยนต์โปรโตไทป์ที่จะมาท้าชนกับ Tesla Model 3 โดยเฉพาะ
ข้ามฟากมาที่ค่ายรถยนต์เกาหลีใต้ สำนักข่าว Financial Express รายงานว่าบริษัท KIA มีการยื่นดีไซน์โลโก้ใหม่จดทะเบียนกับศูนย์บริการข้อมูลสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาแห่งเกาหลีใต้ (KIPRIS) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2019
โลโก้ใหม่นี้มีการเชื่อมตัวอักษร KIA เชื่อมต่อกันเป็นชุดเดียว ลาดเอียงทางขวาเล็กน้อย ใช้ลายเส้นคล้ายกับวาดด้วยปากกาหัวตัด ทำให้มีความโฉบเฉี่ยวทันสมัยยิ่งขึ้น
จากรายงานข่าวพบว่าทางบริษัทได้ยื่นจดไป 2 แบบคือแบบสีดำและแบบสีแดง โดยเป็นโลโก้แบบเดียวกับที่บริษัทเคยใช้มาแล้วเมื่อนำเสนอคอนเซ็ปต์คาร์รุ่น Imagine ในงาน Geneva Motor Show จึงเป็นไปได้ว่า โลโก้ใหม่อาจจะถูกใช้สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริด
ทั้งนี้ หากดีไซน์ใหม่ถูกนำมาใช้งานจริง หน้าตาของโลโก้จะแตกต่างจากเดิมมากพอสมควร เพราะโลโก้เดิม ตัวอักษร KIA จะไม่ติดกันและเป็นตัวตรงไม่เอียงลาด พร้อมกับมีรูปวงรีล้อมรอบตัวอักษรไว้ด้วย
ด้านค่ายรถยนต์สปอร์ตก็มีการปรับโลโก้รับยุครถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน Lotus ค่ายรถสัญชาติอังกฤษที่ปัจจุบัน Geely บริษัทจีนซื้อไปบริหาร มีการปรับโลโก้ใหม่เมื่อเดือนสิงหาคม 2019
Lotus เป็นแบรนด์ที่มีประวัติยาวนานถึง 71 ปี ก่อตั้งโดย แอนโธนี คอลิน บรูซ แชปแมน ผู้ล่วงลับ มาถึงยุคนี้ บริษัทสปอร์ตสคาร์ชื่อดังกำลังก้าวเข้าสู่ยุคไฮเปอร์คาร์ที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์ ประเดิมด้วยรุ่น Evija ที่มีขุมพลังถึง 2,000 แรงม้า แบรนด์จึงปรับโลโก้ให้เข้ากับยุคใหม่นี้ด้วย
โลโก้ Lotus จะยังคงเป็นสามเหลี่ยมรูปพัดสีเขียวด้านในวงกลมสีเหลือง แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือตัวอักษรทั้งหมด ทั้งคำว่า Lotus และ ACBC (ตัวย่อของชื่อสกุลผู้ก่อตั้งแบรนด์) จะเปลี่ยนฟอนต์เป็นแบบ sans serif ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ไม่มีขา จากเดิมเป็นอักษรมีขา คำว่า Lotus จะไม่โค้งตามรูปพัดแต่กลายเป็นแนวตรง ทุกส่วนของโลโก้จะไม่มีการตัดขอบสีเงินแล้ว ทำให้ภาพรวมกลายเป็นโลโก้ที่ทันสมัยและเรียบง่ายมากขึ้น
ค่ายรถล่าสุดที่ปรับปรุงโลโก้เมื่อเดือนกรกฎาคมนี้เอง Nissan มีการปรับโลโก้เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีเพื่อต้อนรับการใช้งานบนรถยนต์รุ่น Nissan Ariya (นิสสัน อริยะ) ซึ่งเป็นรถยนต์ครอสโอเวอร์ไฟฟ้ารุ่นแรกของแบรนด์
หน้าตาโลโก้ใหม่จะคล้ายคลึงเดิมคือมีวงกลมด้านนอกคาดคำว่า Nissan ตรงกลาง เพราะวงกลมคือสัญลักษณ์สื่อถึงพระอาทิตย์ แต่สิ่งใหม่คือการประดับไฟ LED 20 ดวงที่สื่อถึงการเปลี่ยนแปลงในรอบ 20 ปี เมื่อรถยนต์ติดเครื่อง ไฟในคำว่า Nissan และขอบด้านในของพระอาทิตย์จะส่องสว่างขึ้น
เฉพาะส่วนที่มีการส่องสว่างจาก LED ยังจะเป็นภาพโลโก้แบบ 2D ที่นำไปใช้เป็นโลโก้ศูนย์ดีลเลอร์ ภาพการตลาด หัวจดหมาย นามบัตร และเอกสารต่างๆ ของบริษัท เป็นการเปลี่ยนให้โลโก้มีความมินิมอลมากขึ้น เหมาะกับยุคใหม่
ปิดท้ายค่าย Volkswagen ก็เปลี่ยนโลโก้แล้วตั้งแต่เดือนกันยายน 2019 เพื่อเริ่มต้นยุคใหม่ ยุคแห่งรถยนต์ไฟฟ้า โดยมีรถยนต์รุ่น ID.3 เป็นรุ่นแรกที่ใช้โลโก้ใหม่นี้
โลโก้ใหม่ Volkswagen คือการปรับให้เรียบง่ายและเบสิกที่สุด จากเดิมเป็นโลโก้นูนและตัดขอบเงาสีเงิน กลายเป็นแบบเรียบและไม่เล่นเงา เหลือไว้เฉพาะส่วนสำคัญที่สื่อถึงแบรนด์ ได้แก่ตัว V W และวงกลมรอบนอก โดยลายเส้นจะบางลงกว่าเดิม และสีจะปรับเล็กน้อยจากเดิมเป็นสีน้ำเงินอมฟ้ากลายเป็นสีน้ำเงินเข้มแบบน้ำหมึก
นักออกแบบบอกว่า โลโก้ใหม่ที่เรียบง่ายขึ้นเป็นสิ่งสะท้อนถึงการก้าวสู่ “ยุคอิเล็คทริค-ดิจิทัล” จากที่ไม่เคยเปลี่ยนโลโก้มานานถึง 19 ปี
Source: Dailymail.co.uk, Financial Express, Motor Authority, Dezeen
]]>สำหรับบริษัทผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยีมีชื่อว่า ซาวด์ฮาวด์ (SoundHound) บริษัทสัญชาติเดียวกัน ที่ปัจจุบันหันมาสร้างเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยต้องการให้มันสามารถทำงานได้ไม่ต่างจากผู้ช่วยอเล็กซ่า (Alexa) ของแอมะซอน (Amazon) หรือแม้แต่ Google Assistant เลยทีเดียว
ผู้ช่วยดิจิทัลตัวนี้จะเข้ามามีบทบาทในด้านการให้คำแนะนำเส้นทางกับคนขับ อิงจากงานที่นัดหมายไว้ในปฏิทิน หรือตามสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คนขับเป็นผู้กำหนด นอกจากนั้น ยังสามารถควบคุมรถจากระยะไกล และควบคุมบ้านอัจฉริยะได้โดยใช้คำสั่งเสียงด้วย
ส่วนงานอื่น ๆ ที่ไม่ยากนัก เช่น ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศ หรือข่าวสารต่าง ๆ ปัญญาประดิษฐ์ตัวนี้ก็สามารถทำได้เช่นกัน
สำหรับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของผู้ช่วยดิจิทัลดังกล่าวจะมีขึ้นในงาน CES ที่สหรัฐอเมริกาในอีกไม่กี่วันนี้ ส่วนการทดสอบวิ่งจริงบนถนนจริงจะเริ่มในปี 2018
การทำเช่นนี้ จึงทำให้ค่ายฮุนได และเกีย กลายเป็นอีกหนึ่งบริษัทแห่งอนาคตที่มองเรื่องปัญญาประดิษฐ์ในรถว่าจะสร้างความท้าทายให้กับตลาด ไม่ต่างจากคู่แข่งอย่างโตโยต้า ฮอนด้า และนิสสันที่เริ่มกันไปแล้วก่อนหน้านี้
]]>