KOL – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 21 May 2024 08:18:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถอดแนวคิด Creator Marketing สูตรสำเร็จการตลาดยุคใหม่ ติดสปีดได้ไกลถึงตลาดโลก https://positioningmag.com/1474453 Tue, 21 May 2024 09:34:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1474453

ต้องบอกว่าในยุคปัจจุบันนี้มีแพลตฟอร์มใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย อีกทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หลายคนสามารถเป็นสื่อ หรือเป็นคนผลิตคอนเทนต์เองได้ Content Creator จึงได้จัดว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สามารถหารายได้ และกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในตอนนี้

มีการสำรวจว่า ในประเทศไทยมี Content Creator อยู่ราวๆ 2 ล้านคนเลยทีเดียว มีทั้ง Influencer คนมีชื่อเสียง คนที่มีอิทธิพลต่อบุคคลทั่วไป, KOL หรือจะเป็น Micro Influencer และ Nano Influencer ยิ่งในทุกวันนี้ทุกคนมีโซเชียลมีเดีย ทุกคนสามารถสร้างคอนเทนต์ได้ง่ายขึ้น

หลายปีที่ผ่านมานี้เราได้เห็นการมาของแพลตฟอร์ม TikTok เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ซึ่งแตกต่างจากโซเชียลมีเดียอื่นๆ อย่างเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรมที่เน้นติดตามคนรู้จัก คนที่สนใจ แต่ TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นความบันเทิงเป็นหลัก มีคอนเทนต์หลากหลาย ร้อง เล่น เต้น แสดง เรียกได้ว่าได้เห็น “ดาวติ๊กต็อก” เกิดขึ้นมากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

แต่การที่จะเป็น Content Creator มีความยากง่ายแค่ไหน โอกาสที่จะแจ้งเกิด และหารายได้เป็นอย่างไร ทาง AIS ได้รวมทุกข้อสงสัย พร้อมฟังประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟจาก Content Creator ระดับตัวท็อปของประเทศมาเผยแรงบันดาลใจ สูตรเด็ด เคล็ดลับ สร้างครีเอเตอร์สู่อาชีพที่สามารถต่อยอดให้เติบโตได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืน ภายในงาน Global Creator

Culture Summit งานนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ ชั้น 6 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

งานนี้ AIS ได้จับมือร่วมกับพันธมิตร อีกทั้งยังเล่นใหญ่เชิญกูรูระดับโลก Professor David Craig นักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำจากสหรัฐอเมริกามาร่วมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ Content Creator ไทย พร้อมกับได้เชิญสุดยอด Content Creator คนไทย ได้แก่ ศรัณย์ แบ่งกุศลจิต (Uppercuz Creative), อติชาญ เชิงชวโน (อู๋ Spin 9), วุฒิพงษ์ ลิขิตชีวัน (อาตี๋รีวิว) และธรรมชาติ โยธาจุล (Thammachad) มาร่วมแชร์ประสบการณ์ และเคล็ดลับการเป็น Content Creator ให้ประสบความสำเร็จCulture Summit งานนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ ชั้น 6 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

งานนี้ AIS ได้จับมือร่วมกับพันธมิตร อีกทั้งยังเล่นใหญ่เชิญกูรูระดับโลก Professor David Craig นักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำจากสหรัฐอเมริกามาร่วมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ Content Creator ไทย พร้อมกับได้เชิญสุดยอด Content Creator คนไทย ได้แก่ ศรัณย์ แบ่งกุศลจิต (Uppercuz Creative), อติชาญ เชิงชวโน (อู๋ Spin 9), วุฒิพงษ์ ลิขิตชีวัน (อาตี๋รีวิว) และธรรมชาติ โยธาจุล (Thammachad) มาร่วมแชร์ประสบการณ์ และเคล็ดลับการเป็น Content Creator ให้ประสบความสำเร็จ

ด้าน Professor David Craig กล่าวว่า “วันนี้ครีเอเตอร์ คือ กลุ่มผู้ทรงอิทธิพล ที่เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก เพราะมีศักยภาพเป็นได้ทั้ง “แบรนด์” ด้วยตัวเอง, เป็นผู้สร้างชุมชนออนไลน์, สร้างรายได้แบบ O2O ทั้งจากพื้นที่ตัวเอง-แพลตฟอร์ม-ช่องทางอื่น และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่อุตสาหกรรมแวดล้อมอื่นๆ ได้อีกด้วย อาทิ มีพลังขับเคลื่อนการพัฒนาบริการและฟีเจอร์ต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือ ที่มีความสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

นี่คือสิ่งยืนยันที่ว่า ครีเอเตอร์คือศูนย์กลางการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจของแพลตฟอร์ม และอีโคซิสเท็มที่เกี่ยวข้อง คิดเป็นมูลค่าถึงประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วโลก ดังตัวอย่างจาก วัฒนธรรมหว่างหง (Wanghong Culture) หรือเน็ตไอดอล ผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ของจีน ที่สร้างโซเชียลคอมเมิร์ซให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะที่จีน ไม่ว่าใคร แม้แต่แรงงานเกษตรกร ก็สามารถเป็นอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังได้ เพราะได้รับการสนับสนุนให้เป็นหว่างหงครีเอเตอร์ ดังนั้นการเดินทางมาแลกเปลี่ยนและทำงานวิจัยในครั้งนี้ของผม จึงเชื่อว่าจะได้แนวทางชัดเจน ที่ทำให้เราสามารถสร้างเศรษฐกิจจากวัฒนธรรมครีเอเตอร์ระดับโลก และสามารถกำหนดอนาคตและทิศทางของเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน”

พร้อมกันนี้ภายในยังได้เชิญกูรูด้าน Content Creator ซึ่งเป็นหนึ่งในอีโคซิสเท็มในการขับเคลื่อน Creator Culture ของไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดมาร่วมแลกเปลี่ยนบนเวทีนี้อีกด้วย Positioning ขอสรุปประเด็นเด็ดที่เหล่า Content Creator ไม่ควรพลาดดังนี้

ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ CEO YDM Thailand กลุ่มบริษัทด้านดิจิทัลมาร์เก็ต แชร์ข้อมูลในหัวข้อ “กลยุทธ์ Creator Marketing สูตรสำเร็จใหม่ของธุรกิจยุคดิจิทัล”

YDM Thailand เป็นเอเจนซี่ไทยที่ดูแลด้านดิจิทัล มาร์เก้ตติ้ง และดูแลเกี่ยวกับ Content Creator ให้กับแบรนด์ต่างๆ จากข้อมูลผลสำรวจพบว่าประเทศไทยมี Content Creator มากกว่า 2 ล้านคน ตอนนี้มีแพลตฟอร์มที่หลากหลาย มีการแยกย่อยเยอะหลายเซ็กเมนต์ บางคนเป็นบล็อกเกอร์สายอาหารก็มีแยกย่อยหลายแขนงลงไปอีก เช่น รีวิวคาเฟ่อย่างเดียว รีวิวอาหารญี่ปุ่นอย่างเดียว เพราะฉะนั้นในการวางกลยุทธ์ให้กับแบรนด์จะมีการผสมผสาน Content Creator หลายระดับทั้งคนตัวเล็ก กลาง และตัวท็อป ซึ่งอยู่ที่โจทย์ของลูกค้าว่าต้องการอะไร บางแคมเปญใช้ Content Creator ถึง 50 คนก็มี

4 ขั้นตอนในการเลือก Content Creator ให้เหมาะสมกับแบรนด์

  1. เข้าใจตัวเองก่อนว่าตอบโจทย์อะไร : บางแบรนด์เป็นแบรนด์ขนาดใหญ่ ต้องการแบรนด์เลิฟ ก็เลือก KOL ที่มีแฟนคลับสนับสนุนเขา สมมติว่าทำอาหารเสริมแบรนด์หนึ่ง สามารถทำโฆษณาทางโทรทัศน์ได้แค่ 15-30 วินาทีก็ต้องหาครีเอเตอร์ทำคอนเทนต์ให้ความรู้เพิ่ม บวกกับทำ SEO เสริม หรือถ้าอยากขายของเลือกครีเอเตอร์สายรีวิวเลย เน้นขายของอย่างเดียวเลย
  1. เข้าใจ Content Creator : เป็นเรื่องสำคัญมาก บางทีแบรนด์คิดว่าตัวเองมีเงิน มีของที่อยากจะพูดแล้วยัดเยียดสิ่งที่ตัวเองอยากพูด ต้องรู้ก่อนว่า Content Creator แต่ละคนคือใคร เพราะมีทั้ง Influencer คือ ผู้มีอิทธิพล, KOL คือ ความคิดของเขามีอิทธิพล มีความน่าเชื่อถือ พูดอะไรไปคนฟังเขา แต่สำหรับ Content Creator บางคนอาจจะไม่ได้ดังมาก แต่จุดแข็งคือการสร้างคอนเทนต์
  2. การใช้เทคโนโลยีเลือก : ในการเลือก Content Creator แต่ละครั้ง ไม่ได้เลือกแค่คนดังๆ ท็อปๆ เท่านั้น คนกลางๆ เล็กๆ ก็เลือก ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากขึ้น มีการเลือกจากข้อมูล จากเทคโนโลยี เพราะระบบมีการเก็บข้อมูลของ KOL ทุกคน เก็บผู้ติดตาม เอ็นเกจเมนต์ ดูว่ารีวิวแบรนด์อะไร รีวิวคู่แข่งหรือเปล่า
  3. การวัดผล : สามารถดึงข้อมูล ดึงการวัดผลได้ทุกเรื่อง เอ็นเกจเมนต์ ตัวเลขต่างๆ แล้วเอามาแมทช์กับยอดขายของสินค้าได้

นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจากทางแพลตฟอร์ม โดย กวิน ภาณุสิทธิกร Head of Seller Management Thailand, TikTok Shop มาร่วมแชร์ข้อมูลในหัวข้อ “จาก Seller สู่ Creator สร้างรายได้จาก TikTok”

TikTok เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่มาแรงที่สุดแห่งยุค เพราะหลายๆ เรื่องราวที่เป็นไวรัลในสังคม ส่วนใหญ่ล้วนเกิดจาก TikTok ด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่เน้นความบันเทิงเป็นหลัก ใครๆ ก็สามารถสร้างวิดีโอได้ง่ายๆ ทำให้กลายเป็นที่นิยมไปโดยปริยาย

โดยที่ TikTok ทำตลาดในประเทศไทยได้ 7 ปี แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้มีอีกหนึ่งฟีเจอร์เกิดขึ้น นั่นก็คือ TikTok Shop เรียกว่า ได้สร้างความสั่นสะเทือนวงการอีคอมเมิร์ซอยู่ไม่น้อย กลายเป็นว่ากระแสของ Live Commerce กลายเป็นช่องทาการขายใหม่ของแบรนด์ ซึ่งการขายของใน TikTok Shop มีความยากง่ายแค่ไหน สร้างโอกาสอย่างไร และแตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นๆ อย่างไรบ้าง มีจุดแข็งอยู่ 4 ข้อด้วยกัน

  1. Decentralize (ให้ลูกค้าตัดสินใจ) มากกว่า Social Signal (ตัวชี้วัดด้านโซเชียล)

ในทุกๆ วันที่เข้าในแอปพลิเคชั่น TikTok จะพบว่า คอนเทนต์จะแตกต่างกัน ไม่เหมือนเดิม ไม่เหมือนโซเชียลมีเดียอื่นๆ ที่เน้นติดตามพื่อน ครอบครัว คนรู้จัก ซึ่งแอปฯ พยายามหาคอนเทนต์ให้โดนใจผู้ใช้มากที่สุด ข้อดีของแพลตฟอร์มนี้ก็คือ ถ้าเป็นครีเอเตอร์จะแจ้งเกิดง่าย ทำให้มีดาวติ๊กต็อกเกิดขึ้นเยอะ แต่ต้องอัพเดตตัวเองตลอดเวลา ถ้าเป็นเจ้าของแบรนด์ ก็เป็นโอกาสมากๆ สามารถหาคนที่เป็นพันธมิตรช่วยขายเพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่ไม่เคยเข้าถึงได้

  1. Entertainment (ความบันเทิง) มากกว่า Social Media

ผู้ใช้ไม่ได้ตั้งใจเข้าแอปฯ เพื่อไปดูความเคลื่อนไหวของเพื่อน หรือครอบครัว แต่เข้าไปเพื่อหาความบันเทิงใหม่ๆ คล้ายๆ กับการดูทีวี หรือเรียลลิตี้โชว์

  1. Shoppertainment (การขายผ่านความบันเทิง) มากกว่า eCommerce

พฤติกรรมผู้ใช้เปลี่ยนไป มีทั้งที่ตั้งใจเข้ามาซื้อของ และไม่ตั้งใจ หลายคนชอบดูไลฟ์สตรีมในการขายของ หรือดูคนดังต่างๆ ขายของ มีความสนุก ความบันเทิง มากกว่ากดใส่ตะกร้าตามเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ

  1. Localization มากกว่า Global-One-Size-Fit-All

TikTok มีความพยายามในการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ ให้เข้ากับตลาดท้องถิ่นในประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากพฤติกรรมผู้ใช้ในประเทศนั้นๆ ไม่ได้นำเอานโยบายในระดับโกบอลมาปรับใช้กับทุกตลาด ทำให้มีความเข้าถึงผู้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น

 

ปัจจุบันการขายของบน TikTok มี 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ 1. ไลฟ์สตรีม 2. วิดีโอสั้น 3. แท็บร้านค้า และ 4. โปรแกรมพันธมิตร ขายผ่านครีเอเตอร์ โดยที่ร้านค้าที่เปิดโปรแกรมพันธมิตรขายผ่านครีเอเตอร์ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายได้มากกว่า มีข้อมูลว่า กลุ่มที่เปิดโปรแกรมโอกาสที่จะขายสินค้าออกชิ้นแรกสูงกว่า 60% ยกตัวอย่างร้าน Mr. K ร้านขายกิมจิ สินค้าปรุงอาหารเกาหลี อาหารญี่ปุ่น เปิดให้บริการมา 2 ปี ปัจจุบันมียอดขายเกิน 20 ล้านบาท รายได้ส่วนใหญ่มาจากครีเอเตอร์ถึง 80%

สำหรับงาน Global Creator Culture Summit ได้ปิดฉากลงด้วยความประทับใจไปแล้วเรียบร้อย AIS ในฐานะแม่งาน และในฐานะผู้พัฒนา Digital Infrastructure ของประเทศ นอกเหนือจากเป้าหมายในการส่งมอบประสบการณ์และเทคโนโลยีเพื่อลูกค้าและคนไทยแล้ว ยังพร้อมสนับสนุนด้วยเครื่องมือต่างๆ ตลอดจน เชื่อมโยง องค์ความรู้ ทักษะ ให้แก่ผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ตามแนวคิด Ecosystem Economy หรือ เศรษฐกิจแบบร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม Content Creator ที่ถือเป็นผู้ประกอบการซึ่งมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และยังเป็นศูนย์กลางความเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกในทุกแง่มุม ซึ่งจะช่วยสร้างการเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

]]>
1474453
เจาะเทรนด์ ‘Influencer Marketing’ 2023 หมดยุคเบอร์ใหญ่เน้นใช้ตัวเล็กมุ่ง ‘ขาย’ เป็นหลัก https://positioningmag.com/1422145 Tue, 07 Mar 2023 10:09:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422145 ปี 2023 ถือเป็นปีที่นักการตลาดและแบรนด์หลายคนมองว่าเป็นปีสำหรับการ ‘Recover’ หลังจากต้องเจอกับโควิดตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ปีนี้เป็นปีที่ทุกแบรนด์มุ่งหาแต่ ยอดขาย เป็นหลัก ส่งผลให้ Landscape การใช้งาน Influencer Marketing เปลี่ยนไป เน้นใช้ระดับ Micro-Nano มุ่งเพิ่มยอดขายเป็นหลัก

เม็ดเงินใน Influencer เติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ

ภาพรวมของ โฆษณาดิจิทัล ในปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มอย่าง Facebook ของ Meta ยังคงเป็นที่ 1 แต่จะเห็นส่วนแบ่งที่ลดลงจากเดิม 40% เหลือ 33% ส่วนอันดับ 2 อย่าง YouTube ลดลงจาก 20% เหลือ 15% ขณะที่ Online Video อื่น ๆ โดยเฉพาะแพลตฟอร์ม OTT เติบโตขึ้น และที่น่าสนใจก็คือ เม็ดเงินใน Influencer หรือ KOLs ต่าง ๆ อยู่อันดับ 4 มีมูลค่า 2,280 ล้านบาท

“ตอนนี้แพลตฟอร์ม Facebook, YouTube ยังเป็นผู้นำแต่สัดส่วนลดลงเรื่อย ๆ ขณะที่ TikTok ร้อนแรงจริง แต่เม็ดเงินโฆษณาที่ลงตรงกับแพลตฟอร์มยังน้อย มีมูลค่าเพียง 800 กว่าล้านบาท เพราะแบรนด์หรือนักการตลาดใช้เงินไปกับ Influencer โดยตรง” ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ เอ็มไอ กรุ๊ป กล่าว

การใช้งาน Influencers กลับหัวจากล่างขึ้นบน

แนวโน้มการทำอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งจากนี้ คือ สร้างยอดขาย ขณะที่แบรนด์เริ่มเรียนรู้แล้วว่า ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียจะเชื่อใน Influencers ระดับ Micro-Nano หรือ KOCs (Key opinion consumer) มากกว่า เพราะมองว่าเป็นผู้ใช้จริงมากกว่า ดารา หรือเซเลบเบอร์ใหญ่ ทำให้ในมุมที่แบรนด์ต้องการจะขายของ แบรนด์จึงใช้ Micro-Nano มากกว่า โดยเฉพาะใน Affiliate Marketing

ที่น่าสนใจคือ มีความเป็นไปได้ที่การใช้ Influencers ระดับ Micro-Nano จะใช้เงินน้อยกว่า แต่อาจฟันธงไม่ได้ เพราะแน่นอนว่าค่าจ้างอาจถูกกว่าแต่ เน้นปริมาณ นอกจากนี้ ข้อตกลงยังมีหลายรูปแบบ เช่น คิดเป็นค่าคอมมิชชั่นจากยอดขาย ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม แม้นักการตลาดและแบรนด์จะโฟกัสไปที่ Micro-Nano มากขึ้น แต่เชื่อว่าเม็ดเงินปีนี้จะเติบโตได้ 5% และจำนวน Influencers ระดับ Micro-Nano จะยิ่งเติบโต

“ตอนนี้อีคอมเมิร์ซไทยแข็งแรง หลายแพลตฟอร์มโซเชียลฯ ก็มุ่งเน้นไปที่การขายของ และแบรนด์ก็ต้องการเพิ่มยอดขาย ทำให้ Influencers ระดับ Micro-Nano ถูกใช้งานเพราะเขามองว่าได้ผลกว่า โดยเฉพาะกับสินค้าที่ต้องทำให้เชื่อ เช่น สกิลแคร์, อาหารเสริม ส่วนดาราหรือคนดังไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ผู้บริโภคเขามองว่าไม่ได้ใช้จริง ดังนั้น ดาราอาจเหมาะกับการสร้างอะแวร์เนสมากกว่า”

ไม่มี one for all แต่เป็น one for one 

ในวันที่พฤติกรรมผู้บริโภคไม่สามารถคาดเดาได้ในโลกดิจิทัล ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการที่มีให้อย่างมหาศาลบนอินเทอร์เน็ตด้วยช่องทางที่หลากหลายและสามารถเสพข้อมูลแบบกระโดดข้ามไปมาระหว่าง Platform ได้อย่างอิสระ ทำให้การวางแผนการตลาดจึงไม่มีแบบ one for all แต่เป็น one for one ด้วยสารหนึ่งสารที่โดนใจ ในเวลาหนึ่งที่เหมาะสม หรือ ถูกคน-ถูกใจ-ถูกที่-ถูกเวลา

ดังนั้น คอนเทนต์ไม่ปังจริง อย่าคิดสื่อสารกับ mass ด้วยคอนเทนต์เดียวกัน เพราะผู้รับสารในยุค digital-led society เป็นกลุ่มย่อยมากขึ้น (Segmented World and Fragmented World) หากผู้รับสารไม่รู้สึกร่วม นอกจากจะการสื่อสารจะไม่เกิดผลอาจก่อให้เกิดผลเชิงลบ ดังนั้น ต้องลำดับความสำคัญทางธุรกิจของกลุ่มเป้าหมายย่อยและต้องเข้าใจและเข้าถึง Insight ของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งโดยเฉลี่ยในปัจจุบันแต่ละสินค้าและบริการจะมีประมาณ 6 กลุ่มย่อย

KOLs และ KOCs ย่อย ๆ กลายเป็นเครื่องมือหลักในการสื่อสารการตลาดปีนี้ เพราะวัดผลการขายได้เลยและเข้าถึงกลุ่มย่อยได้ชัดเจน แต่แน่นอนว่าสักวันจะมีจุดอิ่มตัว ผู้บริโภคเริ่มไม่เชื่อ แต่คงไม่ใช่เร็ว ๆ นี้ ดังนั้น นักการตลาดก็ต้องหาทางใหม่ ๆ เช่น คอนเทนต์ที่ฉีกไป สุดท้ายก็จะกลับมาที่ครีเอทิวิตี้อยู่ดี” ภวัต เรืองเดชวรชัย ทิ้งท้าย

]]>
1422145
กางโผ Top 25 Creators ยอดนิยมแห่งปี 2019 “กับข้าวกับปลาโอ” คว้าแชมป์เอ็นเกจเมนต์สูงสุด https://positioningmag.com/1261932 Sun, 26 Jan 2020 18:57:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261932 Socializta ร่วมกับ Positioning Online ได้จัดอันดับ Creators ยอดนิยมมากที่สุดบนเฟซบุ๊ก 25 อันดับ รวมถึง “สำนักข่าว” ยอดนิยมอีก 25 อันดับด้วยเช่นกัน โดยวัดผลจากยอดเอ็นเกจเมนต์ตลอดทั้งปี เป็นการเก็บข้อมูลของ Socializta โดยเฉพาะ

Top 25 Creators ยอดนิยมแห่งปี 2019

Creators ในที่นี้รวมถึงคน หรือบริษัทที่สร้างเพจหรือทำคอนเทนต์ในการนำเสนอที่แตกต่างกันออกไป อาจจะมีทั้งการใช้คนนำเสนอ หรือการบอกเล่าความชอบส่วนตัวออกมาเป็นตัวหนังสือ หรือรูปภาพ

จากการจัดอันดับเพจบนเฟซบุ๊กพบว่า 5 อันดับแรกมีความหลากหลายมาก มีทั้งเพจอาหาร, ดารา และ Influencer สายต่างๆ โดยที่อันดับ 1 ได้แก่ “กับข้าวกับปลาโอ” มียอดไลค์เพจอยู่ 5.8 ล้านไลค์ แต่มีผู้ติดตามอยู่ 7.9 ล้านราย รองลงมาคือ “เนย โชติกา” และ “Opal Panisara Official” เป็นดารา

Top 25 Publishers ยอดนิยมแห่งปี 2019

Publishers ในที่นี้หมายรวมถึง บริษัทมีเดียที่มี Facebook เพจ และทำคอนเทนต์ที่นำเสนอในหลากหลาย และแตกต่างกันออกไป เรียกง่ายๆ ว่าสำนักข่าวก็ได้ โดย Publishers ยอดนิยมประจำปี 2019 ได้แก่ “ไทยรัฐออนไลน์” รองลงมาคือ “เวิร์คพอยท์”  และ “ข่าวสด”

การหาเอ็นเกจเมนต์

การจัดอันดับในครัง้นี้วัดผลจากเอ็นเกจเมนต์เป็นหลัก โดยการวิเคราะห์จากโพสต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด 1,000 อันดับในแต่ละไตรมาสของปี หรือรวมทุกไตรมาสกว่า 4,000 โพสท์จากปี 2019 ที่สร้างเอนเกจเมนต์รวมกว่า 628.4 ล้านครั้ง มียอดไลก์รวมกันถึง 517.9 ล้านไลค์ กับอีก 18.8 ล้านคอมเมนต์ แล้วตัดในส่วนที่ไม่อยู่ในข่ายของ influencer/KOL ออก จนได้มาเป็น Top 25 creators และ Top 25 publishers ประจำปี 2019

Influencer Marketing ยังได้ผลอยู่

Influencer Marketing เป็นแนวทางการทำการตลาดที่นับวันยิ่งขยายและเติบโตขึ้นโดยเฉพาะฟากฝั่งเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้อ้างอิงจากคนที่ทำงานในแวดวงมีเดียเอเจนซี่ ประมาณการตัวเลขว่ากว่า 30% ของงบโฆษณาที่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภค บริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ถูกแบ่งไปที่การทำ Influencer Marketing

มูดิท สวารูพ CEO ของ Socializta กล่าวว่า

“นักการตลาดทั้งคนที่ดูแลแบรนด์ใหญ่ๆ ระดับโลก หรือสินค้าแบรนด์ไทย ให้ความไว้วางใจ Socializta ในการทำแคมเปญที่เกี่ยวกับ Influencer Marketing เพราะเรามีดาต้าเบสของครีเอเตอร์กว่า 250,000 โปรไฟล์เฉพาะในประเทศไทย และกว่า 10 ล้านโปรไฟล์ของครีเอเตอร์จากทั่วโลก เรามีเครื่องมือที่สามารถค้นหาครีเอเตอร์ที่ถือได้ว่าเป็นคนหรือเพจที่ดีที่สุด แต่แน่นอนว่าแค่เครื่องมือในการค้นหาคนที่ใช่และเหมาะอาจไม่พอ ทีมของเรายังมีสัมพันธ์ที่ดีกับครีเอเตอร์ /อินฟลูเอนเซอร์นับพันๆ คน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แคมเปญของลูกค้าประสบความสำเร็จและได้ประโยชน์สูงสุด”

เมื่อพูดถึงดาต้าที่ใช้ในการทำรีพอร์ตครั้งนี้ มูดิทกล่าวว่า “การทำข้อมูลครั้งนี้ เราดึงมาจากพาร์ตเนอร์อย่างเป็นทางการของ Youtube, Facebook และอินสตาแกรม จึงเป็นรีพอร์ตที่เชื่อถือได้ เราเน้นไปที่การนำเสนอที่แยกเป็นหมวดหมู่ชัดเจน คือ ครีเอเตอร์ และพับบลิชเชอร์บน Facebook โดยนำข้อมูลของหลายล้านโพสต์ที่เกิดขึ้นบน Facebook เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา ก่อนจะเลือกให้เหลือ 1,000 โพสต์ในแต่ละไตรมาส โดยวัดจากโพสต์ที่สร้างเอ็นเกจเมนต์สูงสุด

สำหับผู้อ่านที่สนใจข้อมูลด้าน Influencer ทาง Socializta ยังคงร่วมมือกับ Positioning Online วางแผนที่จะทำการศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลของ Top Influencers/KOL ที่กำลังทำผลงานดีที่สุด ทั้งบน Facebook, Youtube และ Instagram เป็นประจำทุกเดือน ตลอดปี 2020 นี้

]]>
1261932
ใช้ KOL อย่างไรให้ได้ผลในตลาดจีน ตัวอย่างจาก 5 Case study สุดปังในปี 2018 https://positioningmag.com/1217016 Fri, 01 Mar 2019 00:57:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1217016 KOL หรือ Key Opinion Leader เป็นเครื่องมือที่ทรงอิทธิพลมากอย่างหนึ่งในการทำตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย สำหรับแบรนด์ที่ต้องการเจาะตลาดจีน ซึ่งมีทั้งความคล้ายและแตกต่างจากการทำอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้ง (Influencer Marketing) ที่นิยมในไทย แต่เทคนิคอะไรที่ทำแล้วเห็นผลสำเร็จจับต้องได้ ยุคนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะลองเรียนรู้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะแบรนด์ไทยที่สนใจกำลังมุ่งสู่ตลาดจีน ต้องไม่พลาดที่จะเรียนรู้จาก 5 กรณีศึกษาที่ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากของแบรนด์ในการใช้กลยุทธ์ KOL ในปี 2018 ที่ผ่านมา

I. ข้อได้เปรียบของแบรนด์สุดหรู KOL เข้าคิวรอให้ใช้งานฟรี 

KOL (Key Opinion Leader) หรือ Influencer Marketing คือบุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิดบนโลกออนไลน์ที่สามารถโน้มน้าวคนหมู่มากได้ แต่เป็นที่รู้กันว่า KOL ในจีน ไม่ชอบโพสต์ผลิตภัณฑ์ฟรี แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่ว่า หากเป็นแบรนด์มีชื่อเสียงที่แข็งแกร่ง KOL ก็พร้อมทำงานร่วมกับแบรนด์นั้น เพราะมองเห็นประโยชน์ที่สามารถเชื่อมแบรนด์เข้ากับภาพลักษณ์ของตัวเอง ทั้งการยกระดับภาพลักษณ์และสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับตัวเองได้   

ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2018 ParkLu (แพลตฟอร์มผู้ให้บริการด้านอินฟลูเอนเซอร์) ซึ่งทำงานร่วมกับแบรนด์เครื่องสำอางหรูจากฝรั่งเศส โดยตั้งเป้าหมายว่าจะสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ พร้อมกับเปิดตัวผลิตภัณฑ์รุ่นลิมิเต็ดในตลาดจีนผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Weibo, WeChat และ Little Red Book โดยเน้นการสื่อสารช่วงเวลาวันหยุด

ทุกครั้งที่แบรนด์โพสต์แคมเปญการตลาด จะมี KOLมากกว่า 300 คน ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วม แม้ว่าจะไม่มีการจ่ายเงินให้ก็ตาม สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะ

  1. เป็นแบรนด์เครื่องสำอางหรูและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้ว
  2. ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการโพสต์ซึ่งต้องส่งให้ KOL มีราคาค่อนข้างสูงประมาณ $146 – $ 292 (หรือ 1,000-2,000 หยวน)

ด้วยเหตุนี้ทำให้แบรนด์มีโอกาสเลือกเฟ้น KOL ที่ตรงกับความต้องการได้จริง เพราะต้องการใช้งานเพียง 50 คน แถมยังเปิดกว้างไม่จำกัดว่าจะเป็น KOl ด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้ง KOL ด้านความงาม ไลฟ์สไตล์ และการท่องเที่ยว KOL ซึ่งมีไลฟ์สไตล์เกี่ยวพันกับการใช้เครื่องสำอางทั้งสิ้น

โดย KOL ส่วนใหญ่ที่แบรนด์เลือก จะเป็น KOL ระดับกลาง อย่างไรก็ตาม แบรนด์จะเลือก KOL ระดับท็อปคลาสและไมโครไว้บางส่วน จุดประสงค์คือต้องการเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางขึ้น ทั้งนี้ในแต่ละแคมเปญแบรนด์จะใช้วิธีคัดเลือก KOLs ใหม่เกือบทั้งหมด

ผลลัพธ์ของแคมเปญ :

แต่แบรนด์นี้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากกว่า 138 ล้านราย และสร้างมูลค่าทางสื่อกว่า 8 ล้านดอลลาร์ ภายในหกเดือน โดยแทบไม่มีการใช้จ่ายใดๆ กับ KOL

II. Pechoin: ใช้ KOL ฟื้นฟูแบรนด์อายุเกือบ 100 ให้กลับมาครองใจวัยรุ่นจีน

ในช่วง 11.11 Shopping Festival ของปี 2018 ที่ผ่านมา Pechoin (百雀羚 อ่านว่า ไป่เชวี่ยหลิง) แบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวของประเทศจีน ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มียอดขายสูงสุดในประเทศจีนที่มียอดขายสูงพอๆ กับแบรนด์จากตะวันตกในระดับโลก ที่กลับกลายมาเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในช่วง 11.11 ปีที่ผ่านมา

ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ตัวแบรนด์ค่อนข้างเก่าแก่เพราะก่อตั้งมานานตั้งแต่ปี 1931 ทำให้ภาพลักษณ์ดูเชย และไม่ทันสมัย ส่งผลให้วัยรุ่นไม่นิยมซื้อใช้ บริษัทตัดสินใจรีแบรนด์ในปี 2017 เพียงระยะเวลา 1 ปี ก็สามารถทำให้แบรนด์กับมาสู่ความสนใจในหมู่วัยรุ่นหญิงชาวจีนอีกครั้ง

วิธีการคือ Pechoin ทำงานร่วมกับ KOL ในช่วงเวลา 11.11 Pechoin โดยเลือก KOL เหล่านี้ (ตามภาพ) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสามารถในด้าน “zhongcao” ( จ๋งเฉ่า) คำนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักการตลาดจีนในปี 2018 ซึ่งหมายถึงการปลูกฝังแนวคิดในใจของลูกค้า

KOL ทั้งสี่คนนี้สร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพสูงแบ่งปันประสบการณ์จริงโดยใช้ผลิตภัณฑ์ Pechoin และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ชมทดลองผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น @C SEASON แชร์โพสต์บน Weibo ที่แบ่งปันประสบการณ์ของเธอในการทดสอบมาส์ก และบอกถึงผลลัพธ์หลังการใช้ ซึ่งโพสต์ของเธอเพียงคนเดียวมีคนอ่านมากกว่า 1.7 ล้านครั้งและมีการแสดงความคิดเห็นถึง 1,000 ความคิดเห็นและมีแฟน ๆ หลายคนตั้งใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์นี้ตามด้วย

ผลลัพธ์ของแคมเปญ :

ในช่วงสัปดาห์ของเทศกาลเซลล์วันคนโสด (11.11) ยังมี KOL ทั้งหมด 127 คนพูดถึง Pechoin ทำให้มีผู้ติดตามถึง 143 ล้านคน และสร้าง engagement มากกว่า 160,000 ครั้ง ผ่าน Weitao, Weibo, WeChat, Little Red Book และ Douyin

ParkLu ชอบอะไรเกี่ยวกับกรณีศึกษานี้ :

การทำงานกับ KOL ทำให้ Pechoin สามารถเปลี่ยนภาพลักษณ์แบรนด์ของพวกเขาด้วยการดึงดูดวัยรุ่นให้มาใช้ผลิตภัณฑ์ได้ และเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับแบรนด์อื่นๆ ที่ต้องการรีแบรนด์ของตัวเอง ด้วยการปรับภาพลักษณ์และสร้างค่านิยมใหม่ ทั้งยังทำให้ผู้บริโภคชาวจีนมั่นใจในแบรนด์ท้องถิ่นเพิ่มขึ้น

3. Nars: มาด้วยกลยุทธ์ผ่าน Weitao KOL

ในเดือนสิงหาคมของปีนี้ แบรนด์เครื่องสำอาง Nars เปิดตัวร้านใน Tmall อย่างเป็นทางการ ซึ่งหลังจากเปิดตัวร้านค้าแล้ว Nars ก็เริ่มไลฟ์บน Taobao Live พร้อมช่างแต่งหน้ามืออาชีพ

Nars จับมือกับ KOL ตัวท็อปบน Weitao (แพลตฟอร์มใหม่ของ Taobao) เช่น @ -Hani 月哥小海盗, @YunyUnyuN_ 你芸, @Janicekidd, @ 肉芸子ที่โปรโมตแบรนด์ด้วยการลงบทความ

นอกจากนี้ยังมีบล็อกเกอร์วิดีโออย่างเช่น @鱼酱的美心得 and @甜颜 จะมาคอยสอนวิธีการแต่งหน้า

อีกทั้ง Nars ยังทำงานร่วมกับหนึ่งใน 10 ของบิวตี้บล็อคเกอร์ @ 逢丁吉吉 โดยบอกแฟนๆ ว่าเธอจะเข้าร่วมในเทศกาลความงามช่วงวันวาเลนไทน์จีนของ Nars

ผลลัพธ์ของแคมเปญ :

Weitao KOL ทั้งหมดนั้นลิ้งค์กับร้าน Nars ใน Tmall ทำให้ภายในหนึ่งเดือนหลังการเปิดตัวที่ Tmall มีผู้ติดตามมากกว่า 486,000 คน

ParkLu ชอบอะไรเกี่ยวกับกรณีศึกษานี้ :

Weitao เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ถูกมองข้ามมากที่สุดในประเทศจีน ทั้งที่ Weitao อยู่ใกล้กับจุดของการทำธุรกรรมและผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับ Weitao เพราะต้องการซื้อของโดยเฉพาะ บทวิเคราะห์ของ ParkLu บอกว่า รู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นแบรนด์ใหญ่ที่ให้ความสำคัญตรงนี้เป็นอันดับแรกและ Weitao KOL ก็สามารถให้ผลลัพธ์อย่างดี

4. Semir : KOL ที่มีขนาดใหญ่กว่าไม่ได้หมายความว่าจะดีกว่าเสมอไป

การทำงานกับ KOL ตัวท็อปจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับแบรนด์ที่เพิ่งเริ่มต้นและต้องการสร้างชื่อเสียงวงกว้างในประเทศจีน แต่สำหรับแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักแล้ว การทำงานกับผู้มีอิทธิพลระดับกลางหรือไมโครอินฟลูเอนเซอร์จะเหมาะสมกว่าเพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน

แบรนด์แฟชั่นของจีน Semir แสดงให้เห็นในปี 2018 ที่ผ่านมา จากแคมเปญช่วงฤดูใบไม้ผลิ “What to Wear Tomorrow” เพราะแทนที่จะค้นหาใน Weibo และ WeChat KOLs ที่ได้รับความนิยมแล้ว Semir ใช้วิธี หาคนที่สามารถเป็นตัวแทนของแบรนด์ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งแบรนด์ได้ทำงานร่วมกับ Ting Wu ผู้เป็นบรรณาธิการด้านการจัดแต่งทรงผมของนิตยสารแฟชั่นชั้นนำของจีน YOHO! GIRL ซึ่งได้กลายเป็น The Face ของแคมเปญนี้

เนื้อหาของ YOHO! GIRL นั้น เน้นไปที่วัยรุ่นหญิงชาวจีนที่ทันสมัย พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ รักอิสระ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ Semir ต้องการ ซึ่งแบรนด์เชื่อว่าไม่มีใครจะเหมาะสมเท่า Ting อีกแล้ว

ผลลัพธ์ของแคมเปญ :

Ting โพสต์ 2 โพสต์ในบัญชีทางการของ Semir ซึ่งมียอด engagementsกว่า 3 พันครั้ง และ hashtag # 明天穿什么 (พรุ่งนี้ใส่อะไรดี) แฮชแท็กของแคมเปญได้รับการติดตามกว่า 530 ล้านครั้งและถูกพูดถึงกว่า 119,000 ครั้ง

ParkLu ชอบอะไรเกี่ยวกับกรณีศึกษานี้ :

Semir ทำการบ้านมาดีเพราะหา KOL ที่สามารถเข้าถึงแฟน ๆ ด้วยการเสนอเรื่องราวของแบรนด์ และทุ่มเทไปที่เป้าหมายมากกว่าที่ต้องการดึงดูดความสนใจคนจำนวนมากเพียงอย่างเดียว และก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญ Semir ยังได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในด้านสื่อการตลาดของจีนในปี 2018 อีกด้วย

5. Coca-Cola: การสร้างห้องเสียงสะท้อน O2O

เพื่อให้ Coca-Cola Plus เป็นเครื่องดื่มอินเทรนด์สำหรับเยาวชนจีนรุ่นใหม่ โค้กเปิดตัวที่ครอบคลุมไม่ว่าจะออนไลน์หรือออฟไลน์ เพื่อสื่อว่าทุกคนล้วนต้องดื่มโคคา – โคลาพลัส

โดยโค้กจับมือมือร่วมกับผู้มีอิทธิพลในจีนที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นดาราชายสุดเซ็กซี่และ KOL ชั้นนำไปจนถึงร้านอาหารสุดเก๋และกิจกรรมยอดนิยม ทำให้โค้กกลายอยู่ในทุกๆ ที่ที่คนหนุ่มสาวให้ความสนใจ ยิ่งไปกว่านั้นการอัดงบโปรโมตทำให้เกิดกระแสสังคมออนไลน์อย่างยิ่งใหญ่อีกด้วย

ผลลัพธ์ของแคมเปญ :

แฮชแท็กของแคมเปญ #无负担尽享大餐ใน Weibo มีการติดตามถึง 20.95 ล้านครั้งและ 300,000 ความคิดเห็น การแสดงผลและยอด engagement ผ่านทุกแพลตฟอร์มในโซเชียลมีเดียมากกว่า 200 ล้านและ 2.5 ล้านตามลำดับ

ParkLu ชอบอะไรเกี่ยวกับกรณีศึกษานี้ :

บางแบรนด์อาจคิดว่ามันน่าแปลกที่โค้กไม่ต้องการให้ KOL รวมลิงก์ของผลิตภัณฑ์ใด ๆ ลงในโพสต์ เพราะความจริงแล้วพวกเขาต้องการเน้นไปที่การสร้างความสัมพันธ์กับแบรนด์ รวมไปถึงยอดขายออฟไลน์โดยมีการทำงานร่วมกับร้านอาหารยอดนิยมเพื่อโปรโมตเครื่องดื่มใหม่ การผนึกกำลังด้านออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน มีผลทำให้แคมเปญโดดเด่นและถูกพูดถึงในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

ทุกตลาดมีลักษณะเฉพาะของตัวเองตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน แต่เชื่อว่าจากกรณีศึกษาการใช้ KOL ของแบรนด์ดังในตลาดจีนที่ยกมาทั้ง 5 เรื่องนี้ มีหลายมุมที่สามารถศึกษานำมาปรับใช้กับตลาดไทยได้ไม่ยากเช่นกัน.

ที่มา : https://jingdaily.com/5-kol-marketing-case/

]]>
1217016
พาไปดู KOL สายเทคโนโลยีจีน เปลี่ยนตัวเองไปสู่ CEO ได้อย่างไร https://positioningmag.com/1214963 Mon, 18 Feb 2019 11:57:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1214963 ยุคนี้หลายเรื่องที่เราเรียนรู้ได้จากจีน เพราะจากประเทศที่ล้าหลังการได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ และที่แน่ๆ มีความสำเร็จจากกรณีศึกษาของคนจีนยุคใหม่ที่น่าสนใจ ให้นำมาเป็นตัวอย่างของการพัฒนาด้านดิจิทัลได้มากมายสำหรับตลาดไทย เหมือนเช่นกรณีศึกษาเรื่อง “จาก KOL พวกเขาเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็น CEO ได้อย่างไร!”

แล้วถ้าจะถามถึงเหตุผลหลักที่ต้องศึกษาจากจีน คำตอบที่เชื่อว่าทุกคนพยักหน้าตามไม่ยาก ก็เพราะว่า จีนเป็นตลาดเทคโนโลยีที่สำคัญ อีกทั้งอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในประเทศจีนกำลังเบ่งบานเพราะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดที่ KOL ด้านเทคโนโลยีจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ KOL ด้านเทคโนโลยีของจีน เป็นกลุ่มที่ทรงพลังเป็นอย่างมากตามไปด้วย ในฐานะกลุ่มผู้นำทางความคิดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของชาวจีน

โดยเฉพาะในเมืองที่เป็นเมืองเศรษฐกิจหลักด้านเทคโนโลยีอย่างเซินเจิ้นและนานกิง ซึ่งกำลังกลายเป็นเมืองที่สมบูรณ์แบบในแง่ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพไอที ที่เป็นแหล่งกำเนิดของ KOL กลุ่มนี้จำนวนมาก

สำหรับ KOL หรือ Key-Opinion-Leaders (KOL) หรือที่ประเทศไทยจะคุ้นเคยว่า Influencer มากกว่า นั้น จึงได้รับการยอมรับว่าเป็น เครื่องมืออันทรงพลังสำหรับ บริษัท ต่างๆเพื่อใช้ในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ ซึ่งแบรนด์ผลิตภัณท์ด้านเทคโนโลยี เลือกที่จะโปรโมตผ่าน KOL เหล่านี้ ซึ่งมีหลายรูปแบบและค่อนข้างซับซ้อน

โดย บรรดา KOL ด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ จะเน้นไปที่การแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มแตกต่างกันในท้องตลาดและความรู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับอุตสาหกรรม แต่ประเด็นที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในโลกของ KOL กลุ่มนี้คือ การที่มี KOL ชั้นนำหลายราย สามารถเปลี่ยนตัวเองจากผู้นำทางความคิดให้กลายมาเป็น ซีอีโอของ บริษัท สตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จอีกด้วย

ตามไปดูกันว่า เขาเหล่านี้เป็นใคร ทำอะไร อย่างไร จึงสามารถเปลี่ยนสถานะของตัวเองได้ขนาดนี้ 

1. 永浩 (Mr. Luo) – Smartisan

Smartisan เป็นหนึ่งในเคสที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดที่ KOL เทคโนโลยีกลายมาเป็น CEO ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2012  Smartisan มีพนักงานมากกว่า 600 คนในทีม ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นดั้งเดิมออกสู่ท้องตลาดตั้งแต่ Smartisan T1 ถึง Nut R1 และ TNT ทำให้มีการพูดคุยกันอย่างแพร่หลายในชุมชนออนไลน์ของจีน

Mr. Luo มีผู้ติดตามมากกว่า 14,000,000 คนใน Weibo บุคลิกที่แตกต่างของเขามักดึงดูดความสนใจของสาธารณชนและทำให้เกิดเทรนด์ต่างๆ ในขณะเดียวกันผู้คนจำนวนมากต่างคิดว่าเขาเป็นคนตรงไปตรงมาและน่าสนใจ

เขาได้เข้าร่วมการแถลงข่าวการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ล่าสุดที่สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง และวลี “ 理解万 กลายเป็นหัวข้อร้อนแรงใน Weibo ถึงแม้ว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นจะเป็นที่ถกเถียงกัน แต่นายหลัวประสบความสำเร็จอย่างมากในการผลักดัน Smartisan ให้เป็นแบรนด์ใหม่ที่ได้รับสนใจในจีน

ในประเทศจีน KOL ส่วนใหญ่มีบัญชีในหลายแพลตฟอร์มเช่น Weibo, WeChat และ Zhihu KOL นั้นสามารถสร้างอิทธิพลอย่างมากในเกือบทุกแห่ง และเขาก็ใช้ประโยชน์จากตรงนี้ได้ดี  ในปี2012  Mr. Luo โพสต์บล็อกบน Weibo เกี่ยวกับการจัดตั้ง บริษัท เทคโนโลยีของเขาเอง และเริ่มสร้างฐานลูกค้าในช่วงแรกของธุรกิจด้วยการผลักดันนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้ขยายธุรกิจ Smartisan ในประเทศจีนและใช้พลังในฐานะ KOL พัฒนา บริษัท

2. 王自如 (Shawn Wang) – ZEALER

ZEALER เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประเทศจีนที่ผลิตวิดีโอคุณภาพสูงเกี่ยวกับเทคโนโลยี ,บริการด้านไอทีและบ้านอัจฉริยะ Mr. Wang ผู้ก่อตั้งและซีอีโอก็เป็นเทคโนโลยี KOL ด้วยเช่นกัน

ก่อตั้งขึ้นในปี 2012 ZEALER มียอดผู้ชมทางวิดีโอกว่า 1 พันล้านครั้งในปี 2017 มีการเผยแพร่กว่า 40 ช่องทางที่แตกต่างกัน บนเว็บไซต์ ZEALER นั้นมียอดผู้ชมมากกว่า  500 ล้านครั้งกล่าวคือ 20% มาจากอุตสาหกรรมวิดีโอดั้งเดิมของจีน นายหวังได้นำทีมไปสู่ความสำเร็จในอุตสาหกรรมรวมไปถึงวิเคราะห์เทคโนโลยีต่างๆ Mr. Wang ตระหนักดีว่า KOL สามารถนำความแตกต่างมาสู่ธุรกิจของเขาได้อย่างไร ในปี 2010 เขาได้ตั้งค่าบัญชี Weibo เป็น王自如 ZEALER และเริ่มโพสต์เนื้อหาและผลิตวิดีโอเทคโนโลยีที่ดึงดูดผู้ติดตามกว่า 1,000,000 คน ไม่เพียงแค่มียอดผู้ชมสูง แต่ก็สื่อสารกับแฟนๆ สม่ำเสมอกว่า KOL เทคโนโลยีอื่น ๆ ด้วยข้อมูล 27,000 รายการ เขาเป็นที่รู้จักในฐานะหมายเลข 1 ของทรัพย์สินทางปัญญา (IP) ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของจีนซึ่งส่งผลต่อคุณค่าของแบรนด์ ZEALER ได้ในที่สุด

ผู้มีอิทธิพลด้านเทคโนโลยีสูงสุด 5 อันดับแรก (KOL) บน Weibo

Weibo เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่สำคัญในประเทศจีน คล้ายกับ Twitter แต่ก็มีความแตกต่างกันในลักษณะของวิธีการทำมาร์เก็ตติ้ง

ฟังก์ชั่นแบบไมโครบล็อกสนับสนุนให้ผู้ใช้สร้างคอนเท้นต์และเอื้อต่อการสร้าง KOLs ที่มีลักษณะหลากหลายในระยะยาว ผู้ใช้ Weibo มีแนวโน้มที่จะเชื่อใจบุคคลที่มีบุคลิกแตกต่างกันบนแพลตฟอร์ม และด้วยคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้ KOL จึงมีประสิทธิภาพและทรงพลังมากใน Weibo

1. 科技美学

Chins KOL,  KOLด้านเทคโนโลยีจีน,  KOl ด้านมาร์เกตติ้งของจีน, เทคโนโลยี

มีผู้ติดตามกว่า 823,000 คนบน Weibo 科技美学 ถือว่าเป็นบุคคลทรงอิทธิพลอย่างมากในสาขานี้ มีความรู้ด้านเทคนิคในแบบมืออาชีพที่เชื่อถือได้และมีพลังโน้มน้าวความคิดของคนหมู่มากที่สนใจด้านนี้

เขามักจะคาดการณ์แนวโน้มของตลาดเทคโนโลยีในอนาคต  และมีส่วนร่วมกับแฟน ๆ ในการอภิปรายเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี พร้อมทั้งจัดหาพอร์ทัลเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

ความสนใจหลัก: ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมการเปิดตัวผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีต่างๆเพิ่มหัวข้อสำหรับผู้ติดตามเพื่อหารือและรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกัน

ลักษณะ : จัดทำเนื้อหา + สรุปรวมคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ + นำความคิดเห็นของผู้บริโภคมาจัดหมวดหมู่

2. 大米评测

KOL จีน,  KOl ด้านมาร์เกตติ้งของจีน, KOLด้านเทคโนโลยีจีน, เทคโนโลยี

มีแฟนๆ ที่ติดตาม มากกว่า 757,000 คนบน Weibo เขามีอิทธิพลในกลุ่มเพื่อนที่สนใจเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น  คอนเท้นต์ของเขาจะมียอดเข้าชมกว่า 1,000,000 ครั้งโดยมีการโต้ตอบกับแฟน ๆ ประมาณ 18,000 คน

เช่นเดียวกับตามชื่อบัญชีของเขาในภาษาจีน ที่หมายความว่าจะให้การประเมินอย่างเป็นกลางในมุมมองของผู้ใช้ทั่วไป  และค่อนข้างจะมีภาพลักษณ์ที่เข้าถึงได้ 

ความสนใจหลัก: แบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวในการใช้โทรศัพท์รุ่นต่างๆวิเคราะห์แนวโน้มปัจจุบันในตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และแนะนำผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีใหม่ ๆ

ลักษณะ : มีปฏิสัมพันธ์กับแฟน ๆ อย่างต่อเนื่อง + การวิเคราะห์ภาพที่น่าเชื่อถือและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

3. V

KOL จีน, KOl ด้านมาร์เกตติ้งของจีน,KOLด้านเทคโนโลยีจีน, เทคโนโลยี

มีผู้ติดตามมากกว่า 527,000 คน เป็นหนึ่งใน KOL เทคโนโลยีที่ทรงพลังบน Weibo มีผู้เข้าชมคอนเท้นต์ของเขาในแต่ละวันมากกว่า 1,000,000 ครั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับ 大米评测 แล้วเขามีปฏิสัมพันธ์กับแฟน ๆ น้อยกว่า

V ค่อนข้างโพสต์ถี่ บางครั้งอาจมีมากถึง 28 บล็อกต่อวัน เขาเป็นผู้ให้ข้อมูลและเป็นมืออาชีพที่รู้ลึกและกว้างขวางในสหสาขาวิชา  มักจะอัพเดทข่าวเกี่ยวกับแนวโน้มตลาดเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้กับผู้ติดตามด้วย

ความสนใจหลัก: วิเคราะห์การพัฒนาที่เป็นไปได้ในอนาคตของบริการด้านไอทีและให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่หลากหลาย ไม่จำกัดเพียงแค่รุ่นโทรศัพท์ AI และคอมพิวเตอร์ เท่านั้น

ลักษณะ : เนื้อหาสมบูรณ์แบบ + ครอบคลุมสาขาของเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน + การอัพเดทอย่างต่อเนื่อง

4. 

KOL จีน, KOl ด้านมาร์เกตติ้งของจีน,KOLด้านเทคโนโลยีจีน, เทคโนโลยี

แม้ว่าเขาจะมีแฟน ๆ มากกว่า 415,000 คนใน Weibo แต่นั้นโด่งดัง ใน WeChat เป็นอันดับ 1 และมีโลยัลตี้แฟนของตัวเองโดยเฉพาะ

ชื่อบัญชีภาษาจีนมีความหมายว่าการวิพากษ์วิจารณ์ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันซึ่งบ่งบอกถึงลักษณะของ KOL คนนี้ว่าใส่ใจและตรงไปตรงมา   มักจะเขียนบทความยาว ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีล่าสุดเป็นประจำ ผู้ติดตามสามารถเข้าใจข้อมูลเชิงลึกและได้ไอเดียจากการวิเคราะห์อย่างละเอียดที่เป็นมืออาชีพของเขา

ความสนใจหลัก: โพสต์บทความเพื่อรีวิวผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีต่างๆและให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

ลักษณะ : ผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ + มีความรู้มากมายในสาขาเทคโนโลยีที่หลากหลาย + มีการโต้ตอบและมีภาพลักษณ์ที่สนุกสนาน

5. 小白 MTX

เขามีผู้ติดตามกว่า 320,000 คนบน Weibo ซึ่งผู้เข้าชมเข้าไปอ่านคอนเท้นต์โดยเฉลี่ย 1,000,000 ครั้ง  มีปฎิสัมพันธ์กับแฟนๆ มากและยังคงอัพเดตโพสต์ได้อย่างสม่ำเสมอ มีทีมของตัวเองในชื่อว่า 小白测评เพื่อใช้ประเมินผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่แตกต่างคล้ายๆ กับ大米评测

小白 MTX มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการประชุมเทคโนโลยี  นำเสนอรูปภาพและข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่วางจำหน่าย เขายังตอบคำถามของแฟน ๆ และแนะนำการซื้อเทคโนโลยี

ความสนใจหลัก: เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีและให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดใหม่

ลักษณะ : มีส่วนร่วมเต็มที่ในกิจกรรมเทคโนโลยี + ให้คำแนะนำที่เกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี

ผู้มีอิทธิพลด้านเทคโนโลยีสูงสุด 3 อันดับแรก (KOL) บน Zhihu

Zhihu เป็น Quora ของจีนที่ผู้คนสามารถถามและตอบ  เนื่องจากความเชี่ยวชาญของ KOLs เหล่านี้คือเทคโนโลยี  ผู้ใช้จะมีความเชื่อใจและเชื่อถือคำตอบที่ได้เพราะมาจากมืออาชีพด้านนี้จริงๆ  ดังนั้นหากคุณต้องการโปรโมตในประเทศจีน KOL ด้านเทคโนโลยีสามารถสร้างความไว้วางใจในกลุ่มลูกค้าชาวจีนผ่าน Zhihu ที่เป็นแพลตฟอร์มถามตอบนี้ ได้

1. ifanr (范儿)

บนแพลตฟอร์ม Zhihu นี้ ifanr มีผู้ติดตามมากกว่า 91,217 คน ในฐานะที่เป็น บริษัท เทคโนโลยีรุ่นใหม่ ifanr สามารถเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์และผู้บริโภคเข้ากับแนวทางที่น่าสนใจ พวกเขามีเว็บไซต์ของตัวเองและแบรนด์ย่อยอื่น ๆ ด้วย

แอคเค้าต์นี้จะตอบคำถามต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่นโทรศัพท์ Nokia รุ่นใหม่จะคุ้มค่ากับเงินที่จะเสียไปไหมและความแตกต่างระหว่าง Android และ Apple นั้นเป็นอย่างไร

คำตอบจาก ifanr ที่มีคนชอบและสนับสนุน เห็นด้วยมากจะถูกจัดเป็นคำตอบยอดนิยม  สิ่งนี้พิสูจน์ให้เห็นถึงอิทธิพลที่แข็งแกร่งที่ KOL ด้านเทคโนโลยีสามารถมอบให้กับผู้ใช้ได้ ข้อมูลบนแพลตฟอร์มมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเมื่อต้องการหาซื้อผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยี

2. Luckystar (幸运星)

มีผู้ติดตามกว่า 139,560 คน คอยตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอยู่เสมอ Luckystar กำลังทำงานในอุตสาหกรรมไอทีซึ่งแบคกราวด์ตรงนี้ทำให้เพิ่มความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

Luckystar ได้ตอบคำถามกว่า 400 คำถามบน Zhihu ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีเช่นแท็บเล็ตประเภทใดที่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานเพศหญิง คำตอบของเขามีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก

3. Qdaily (好奇心日)

Qdaily มีผู้ติดตาม 49,587 คนบน Zhihu โดยจะเลือกข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน จะมาอัพเดทและพูดคุยกับแฟน ๆ อย่างต่อเนื่องมีภาพลักษณ์ที่สนใจและเป็นวัยรุ่น  คำตอบที่Qdaily ตอบนั้นรวมไปถึงผลกระทบของกลยุทธ์การขยายตัวของ Tesla ,วิธีการประเมินคุณลักษณะของ Android P และการพัฒนาในอนาคตของ Apple และอื่น ๆ

ที่มา : https://www.dragonsocial.net/blog/china-tech-kol/

]]>
1214963
แบบไหนปังกว่ากัน ? ในยุคที่ลูกค้ารู้ทันโฆษณา “อินฟลูเอนเซอร์ ต้องหลบให้ เคโอแอล มาร์เก็ตติ้ง https://positioningmag.com/1149718 Sat, 09 Dec 2017 08:43:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1149718 เซเลบริตี้ ดารา นักร้อง นักกีฬา ที่มีชื่อเสียง ตามแนว กลยุทธ์ Influencer Marketing อาจไม่เพียงพอแล้วในการโปรโมทสินค้า ในยุคที่ “แบรนด์”ต้องบริหารงบโฆษณาให้คุ้มค่า  และที่สำคัญผู้บริโภคในยุคนี้คนเข้าถึงโซเชียลมีเดีย จนมีข้อมูลตามทันแบรนด์ทุกมิติ 

คำตอบที่มาแรงในเวลานี้ คือ ต้องมีการบริหารจัดการให้อินฟลูเอนเซอร์  สามารถกลายเป็น KOL หรือ Key Opinion Leader  ให้ได้ นับเป็นขั้นกว่าของการสร้าง อิทธิพล ที่จะมีต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้าได้ ซึ่งที่ต่างประเทศได้ใช้วิธีการนี้อย่างแพร่หลาย

งานนี้ บริษัท เค โอ แอล แมนเนจเมนท์ จำกัด จึงขอปักธงใช้ชื่อนี้ ประกาศพร้อมให้บริการบรรดาสินค้าแบรนด์ต่าง  ๆ และคนที่อยากเป็น เคโอแอล หรือที่เป็นอยู่แล้ว ทั้งเซเลบฯ คนดังกลุ่มต่าง ๆ หรือคนไม่ดังมาก แต่พูดแล้วคนเชื่อและซื้อตามที่บอก ให้เข้ามาสังกัด เพื่อร่วมงานตามเทรนด์นี่

บริษัท เค โอ แอล แมนเนจเมนท์  จึงลงตัวระหว่าง ชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต ซูเปอร์สตาร์ ที่มีดารา คนดัง มากคอนเนคชั่น กับ อาลี ซีอานี ผู้บริหารนิตยสารดัง L’Officiel ที่มีประสบการณ์การบริหารงานกับอินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้บริการแบรนด์ต่าง ๆ มาแล้ว 4-5 ปี โดยชมพู่ และอาลี เคยร่วมงานกันมาตั้งแต่งานแฟชั่นวีคส์และแคมเปญลอรีอัล ที่เมืองคานส์

อาลี บอกว่า ธุรกิจ เคโอแอล มีการเติบโตมากในเกาหลี และจีน แต่ยังไม่แพร่หลายในไทย บริษัทจึงหวังว่าจะสร้างการตลาดแนวใหม่ในไทยได้ ด้วยยอดรายได้ปีหน้าคาดว่าจะทำได้ 200 ล้านบาท จากยอดโฆษณาสื่อออนไลน์ อินฟลูเอนเซอร์ ที่มีประมาณ 1,730 ล้านบาท ส่วนใหญ่ผ่านยูทูป อิสตาแกรม และเฟซบุ๊ก

***ตัวจริง “เคโอแอล” ทำให้เชื่อและซื้อ 

ในยุคที่ผู้บริโภคเข้าถึง และรู้ทัน ที่อินฟลูเอนเซอร์แบบเดิม ๆ น่าจะต้องทบทวน  เช่น การรีวิว หรือ ถ่ายรูปถือพรีเซนต์สินค้านั้น โดยไม่ได้เกิดจากการใช้จริง ทำให้ที่ผ่านมากลยุทธ์การใช้อินฟลูเอนเซอร์แบบเดิมไม่ได้ผล โดยวัดจากยอดของการเข้าถึง และ การปฏิสัมพันธ์แต่ละโพสต์ในโซเชียลมีเดียที่ไม่สูงนัก

ชมพู่ ยกตัวอย่างประสบการณ์ตรงว่า บางครั้งเมื่อโพสต์เกี่ยวสินค้าที่แบรนด์ต้องการเพียงฝ่ายเดียว ยอดกดไลค์ได้ไม่มาก แต่บางโพสต์ที่แม้ภาพจะเบลอ แต่ มีความ เรียล กว่า ก็ได้ยอดไลค์จำนวนมาก และพื้นฐานอย่างหนึ่งคือ หากเคโอแอลต้องพรีเซนต์สินค้าใดสินค้าหนึ่ง คนนั้นก็ต้องชอบหรือใช้สินค้านั้น บอกเล่าทางโซเชียลมีเดียด้วยตัวเอง

เคโอแอลของบริษัทขณะนี้ มี กาละแมร์ พัชรศรี เบญจมาศ , แต้ว ณฐพร เตมีรักษ์ , มินต์ ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทอง ,หลุยส์ สก๊อต, แพทริเซีย ธัญชนก กู๊ด, พลอย ชวพร เลาหพงศ์ชนะ, ก็อต จิรายุ ตันตระกูล และกำลังจะมีนักฟุตบอล โดยมองว่า จะเป็นเคโอแอลที่เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย

มินต์ ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทอง

อาลี กล่าวว่านอกจากนี้เคโอแอลอาจไม่ใช่คนดังมากก็ได้ มีคนตามจำนวนไม่มาก แต่พูดหรือนำความคิดของสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการได้ ซึ่งหน้าที่ของบริษัทคือการร่วมสร้างคอนเทนท์ที่เหมาะสมในการสื่อสาร

   จะเห็นได้ว่า เคโอแอลในสังกัดขณะนี้ เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ ส่งผลต่อความคิดของผู้บริโภค ผ่านวิธีการสื่อสารที่แบรนด์ต้องการ ที่ตอบโจทย์สินค้าตามไลฟ์สไตล์ของเคโอแดล คือ กลุ่มบันเทิง ไลฟ์สไตล์ แฟชั่น  สุขภาพ และธุรกิจ โดยย้ำได้ว่าเป็นตัวจริง ทำจริงในแต่ละไลฟ์สไตล์นั้น ไม่มีการสร้างภาพลวงว่าเป็น เพียงเพื่อสินค้าเท่านั้น

ทั้งนี้รายได้ของคนที่มาเป็นเคโอแอลนั้น ทางบริษัทก็รับจากแบรนด์ และถ้ามีผู้จัดการส่วนตัว ก็จ่ายผู้จัดการ ซึ่งขึ้นกับดาราคนนั้นในการตกลงกับผู้จัดการ โดยการรับงานนั้นไม่ได้ผูกมัดว่าต้องรับจากบริษัทเคโอแอลเท่านั้น

อาลี กล่าวว่าจุดเด่นของเคโอแอล คือคุยกับแบรนด์มานาน รู้ภาษาของแบรนด์ รู้ว่าแบรนด์ต้องการอะไร  และรู้ว่าต้องสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายผ่านโซเชียลมีเดียอย่างไร

แม้ความเชี่ยวชาญนี้จะมีกลุ่มดิจิตอลเอเจนซี่ ทำอยู่ แต่สิ่งที่บริษัทเคโอแอลมีจุดแข็งกว่าคือการสร้างคอนเทนท์ และประสบการณ์ของชมพู่ในการถ่ายทอด และเข้าใจนักแสดง ดารา รู้ว่าต้องสื่อสารจากบริษัทถึงพวกเขาอย่างไร และวิธีการท่ีชมพู่ใช้โซเชียลมีเดีย ที่ประสบความสำเร็จ

**ธุรกิจซับซ้อน แบรนด์ระวังใช้เงิน ผู้บริโภครู้ทัน 

ในยุคที่ผู้คนเข้าถึงข้อมูล และพลังของโซเชียลมีเดีย ทำให้ผู้บริโภครู้ทัน และรู้ได้ทันทีหากแบรนด์หลอกลวง นั่นคือเหตุผลที่ “อาลี” สรุปว่าได้ว่านี่คือโอกาสทางธุรกิจของเคโอแอล ที่คาดว่าปีหน้าปีหน้าจะทำรายได้ถึง 200 ล้านบาท จากปัจจุบันมีเคโอแอลในสังกัดแล้ว 20 คน และปีหน้าจะเพิ่มขึ้น 1-2 คนแน่นอน

การที่แบรนด์ต้องการใช้เงินคุ้มค่ามากขึ้น จึงไม่ได้คิดเพียงแค่ว่าลงโฆษณาในสื่อต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเห็นโฆษณา แต่ 90 เปอร์เซ็นต์ เจ้าของสินค้าต้องการได้ยอดขาย ซึ่งเคโอแอลจะทำให้เกิดยอดขายได้มากกว่า เพราะการวางกลยุทธ์การเลือกเคโอแอลที่ถูกคน และการวางแผนการสื่อสารทางโซเชียลมีเดียที่ดี

วรวิทย์ ศิริพากย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูริ

“วรวิทย์ ศิริพากย์“ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปุริ จำกัด เจ้าของแบรนด์ปัญญ์ปุริ กล่าวเคโอแอลเป็นกลยุทธ์ที่ใช้กันได้ผล แบรนด์ปัญญ์ปุริก็มีการใช้ในการทำตลาดต่างประเทศ

ทุกธุรกิจขณะนี้ต้องใช้งบให้คุ้มค่า สื่อมีความเปลี่ยนแปลง ธุรกิจมีการปรับเปลี่ยนการใช้งบ โฆษณาในสื่อเดิม จึงไม่ใช่คำตอบเดียวในเวลานี้ แต่การใช้งบที่คุ้มค่าและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ คือคำตอบที่ใช่ที่สุดในการทำธุรกิจปัจจุบัน

การวัดผลทำได้หลายรูปแบบว่า เคโอแอลคนนั้น ๆ ให้ผลตามเป้าหมายหรือไม่ เช่น ระหว่างการพรีเซนต์สินค้า เคโอแอลแจกโค้ดหรือรหัสส่วนลดเพื่อให้แฟนคลับลองไปซื้อหรือใช้บริการสินค้านั้น ๆ ทางแบรนด์ก็จะวัดได้ว่าโค้ดนั้นมาจากเคโอแอลคนไหน

ความลงตัวที่โซเชียลมีเดียมีเครื่องมือวัดผลได้ง่ายขึ้น ทำให้การทำตลาดต้องละเอียดและเข้าใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยพื้นฐานจากความเชื่อถือ จากคนที่น่าเชื่อถือ ผู้บริโภควางใจ เมื่อมาบอกว่าอะไรดี อะไรน่าซื้อ น่าใช้ เวลานี้ เคโอแอล จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่กำลังมาแรง.

]]>
1149718