LOréal – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 05 Apr 2023 00:35:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 L’Oreal ปิดดีลซื้อแบรนด์สกินแคร์ Aesop มูลค่า 85,675 ล้านบาท จากบริษัทในประเทศบราซิล https://positioningmag.com/1426043 Tue, 04 Apr 2023 05:00:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426043 ลอรีอัล (L’Oreal) ประกาศซื้อแบรนด์สกินแคร์ชื่อดังที่มีต้นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลียอย่าง เอสอป (Aesop) ด้วยมูลค่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 85,675 ล้านบาท จากเนทูร่าแอนด์โค (Natura & Co) บริษัทเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สกินแคร์จากประเทศบราซิล

สื่อต่างประเทศหลายแห่งได้รายงานข่าวว่า L’Oreal ได้เข้าซื้อกิจการ Aesop จากเนทูร่าแอนด์โค (Natura & Co) ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สกินแคร์จากประเทศบราซิล ด้วยมูลค่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากบริษัทได้จ้างที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อจะหาผู้ที่สนใจในการลงทุนแบรนด์สกินแคร์ดังกล่าว

Nicolas Hieronimus ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ L’Oreal กล่าวว่าแบรนด์นี้เป็น “ส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างความเป็นเมือง ความนับถือตนเอง และความหรูหราที่ไม่อาจปฏิเสธได้” นอกจากนี้เขายังกล่าวว่าบริษัทจะช่วย Aesop ในการขยายธุรกิจเข้าประเทศจีนมากขึ้นกว่าเดิม

ก่อนหน้านี้ทาง Natura & Co ได้ประกาศหาผู้ที่สนใจที่จะเข้าซื้อหุ้นบางส่วน หรือกิจการทั้งหมดของ Aesop โดยมีผู้เข้าร่วมสู้ศึกการประมูลไม่ว่าจะเป็น L’Oreal บริษัทลงทุนในบริษัทนอกตลากหลักทรัพย์ (Private Equity) จากอังกฤษอย่าง Permira รวมถึงคู่แข่งจากประเทศจีนอย่าง Primavera Capital ที่สนใจซื้อกิจการหรือลงทุนในแบรนด์สกินแคร์ชื่อดัง

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ Natura & Co ต้องขายกิจการของ Aesop ออกมานั้นเนื่องจากบริษัทต้องนำเงินไปใช้หนี้ รวมถึงบริษัทประสบปัญหาในการขยายตลาดของแบรนด์สกินแคร์ชื่อดังนี้ทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบัน Aesop มีหน้าร้าน 400 สาขาอยู่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย

สำหรับ Aesop แบรนด์จากออสเตรเลียนี้ก่อตั้งในปี 1987 โดย Dennis Paphitis ซึ่งมีอาชีพช่างทำผม ผู้ซึ่งเริ่มผสมน้ำมันหอมระเหยลงในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในร้านทำผมของเขาที่กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ก่อนที่จะเปิดร้านขายผลิตภัณฑ์เป็นสาขาแรกในชั้นใต้ดินของที่จอดรถในปี 2003 ก่อนที่จะได้รับความโด่งดังจน Natura & Co ได้ซื้อกิจการแบรนด์ดังกล่าวในปี 2012 ด้วยมูลค่า 68 ล้านเหรียญออสเตรเลีย

รายได้รวมทั้งหมดของ Aesop ในปี 2022 ที่ผ่านมานั้นอยู่ที่ 537 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 18,392 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.5% ของรายได้รวมของ Natura & Co เท่านั้น ทำให้บริษัทเครื่องสำอางจากบราซิลรายนี้ตัดสินใจในการขายกิจการออกมาในที่สุด

ที่มา – BBC, Reuters, The Guardian

]]>
1426043
บิวตี้กลับมาบวก! “ลอรีอัล” ยอดขายไตรมาสแรกโต 10.2% ได้แรงหนุนจากจีน-ออนไลน์ https://positioningmag.com/1329711 Mon, 03 May 2021 14:02:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329711 ลอรีอัล กรุ๊ป ประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ปี 2564 โดยมียอดขายมูลค่า 7,610 ล้านยูโร เติบโต 10.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีการขยายตัว 47.2% โดยคิดเป็นสัดส่วน 26.8% ของยอดขาย

แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ ผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง และผลิตภัณฑ์เวชสำอางมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น โดยธุรกิจทุกแผนกดังกล่าวขยายตัวขึ้นในอัตราเลข 2 หลัก แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ขณะที่การขยายตัวของแผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูงขับเคลื่อนด้วยความสำเร็จจากแบรนด์สกินแคร์ต่างๆ โดยเฉพาะลังโคม คีลส์ และเฮเลน่า รูบินสไตน์ ส่วนผลิตภัณฑ์เวชสำอางยังคงต่อยอดการเติบโตที่แข็งแกร่งในปีที่แล้ว ขณะที่ผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคก็มีความเสถียรภาพ แต่ยังถูกฉุดรั้งจากกลุ่มผลิตภัณฑ์เมคอัพซึ่งยังคงซบเซาอยู่

ทุกภูมิภาคมียอดขายที่สูงขึ้น ยกเว้นยุโรปตะวันตกที่ยังได้รับผลกระทบจากมาตรการที่เกี่ยวพันกับวิกฤตด้านสุขภาพ โดยอเมริกาเหนือมีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมทั้งส่วนออนไลน์ และออฟไลน์ และทุกโซนในตลาดใหม่มียอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่า 10%

โดยเฉพาะในโซนเอเชียแปซิฟิก ที่กลับมาเติบโตได้เทียบเท่ากับอัตราการขยายตัวในช่วงระยะเวลาก่อนที่จะเกิดโรคระบาด ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงมาก โดยได้แรงสนับสนุนอย่างชัดเจนที่สุดจากตลาดจีนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ฌอง-ปอล แอกง ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลอรีอัล กล่าวว่า

“ในขณะที่สถานการณ COVID-19 มีพัฒนาการดีขึ้นอย่างมากเนื่องจากโครงการฉีดวัคซีนนั้น ด้วยพันธสัญญา และความมุ่งมั่นของทีมงานของลอรีอัลจากทั่วทุกมุมโลก เราจึงมีกำลังใจในการต่อสู้เพื่อเติบโตธุรกิจ เราเน้นให้ความสำคัญกับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ และการลงทุนในปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของแบรนด์ต่างๆ เราจึงเชื่อมั่นในความสามารถของบริษัทที่จะเติบโตอย่างโดดเด่นเหนือกว่าตลาด รวมทั้งการมียอดขายและผลกำไรที่เพิ่มขึ้นอีกปี”

ข้อมูลสรุปโดยแบ่งตามแผนกธุรกิจ

  • ผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพมียอดขายเพิ่มขึ้น 21.0%
  • ผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคมียอดขายลดลง 0.7%
  • ผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูงมียอดขายเพิ่มขึ้น 14.6%
  • ผลิตภัณฑ์เวชสำอางมียอดขายโตขึ้น 28.7%

ข้อมูลสรุปโดยแบ่งตามโซนภูมิภาค

  • โซนยุโรปตะวันตกมียอดขายลดลง 2.4%
  • โซนอเมริกาเหนือมียอดขายเพิ่มขึ้น 6.3%
  • โซนตลาดใหม่
    • เอเชียแปซิฟิกมียอดขายเพิ่มขึ้น 23.8%
    • จีนมียอดขายเพิ่มขึ้น 37.9%
    • ละตินอเมริกามียอดขายเพิ่มขึ้น 15.1%
    • ยุโรปตะวันออกมียอดขายเพิ่มขึ้น 10.7%
    • แอฟริกาและตะวันออกกลางมียอดขายเพิ่มขึ้น 12.7%
]]>
1329711
เหยียดผิวเป็นเหตุ สังเกตได้! “ลอรีอัล” ประกาศเลิกใช้คำว่า “Whitening” ในทุกผลิตภัณฑ์ https://positioningmag.com/1285509 Sat, 27 Jun 2020 17:09:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285509 ลอรีอัล ประกาศว่า จะถอดคำว่า “ทำให้ผิวขาว” (whitening) ออกจากผลิตภัณฑ์ ท่ามกลางกระแสประท้วงต่อต้านการเหยียดผิวทั่วโลก

“ลอรีอัล กรุ๊ป ตัดสินใจถอดคำว่าทำให้ผิวขาว สม่ำเสมอ กระจ่างใส ออกจากทุกผลิตภัณฑ์บำรุงผิว” บริษัทระบุในถ้อยแถลง

เช่นเดียวกับยูนิลีเวอร์ในอินเดียและบังกลาเทศที่จะเปลี่ยนชื่อครีมทำให้ผิวขาว “Fair & Lovely” ด้วยเช่นกัน

ยูนิลีเวอร์ ที่โกยรายได้ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์จากผลิตภัณฑ์ในอินเดียเมื่อปีที่แล้ว ระบุว่า พวกเขาจะเลิกใช้คำว่า “Fair” เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ เนื่องจากทางแบรนด์ “มีเจตนารมณ์ที่จะยกย่องทุกโทนสีผิว”

ในช่วงนี้หลายบริษัท รวมทั้ง ลอรีอัล ถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาว หลังจากการลุกฮือทั่วโลกของขบวนการ Black Lives Matter ภายหลังเหตุตำรวจผิวขาวสังหารชายผิวสีชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกานาม จอร์จ ฟลอยด์ ในสหรัฐฯ เมื่อเดือนที่แล้ว

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ระบุว่า พวกเขาจะเลิกขายผลิตภัณฑ์ Neutrogena และ Clean & Clear บางส่วน ที่ถูกโฆษณาว่าลดรอยด่างดำในเอเชียและตะวันออกกลาง

หลายบริษัทในสหรัฐฯ ระบุว่า พวกเขาจะเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของบริษัท เช่น Mars ที่ระบุว่ามีแผนจะพัฒนาแบรนด์ Uncle Ben’s ซึ่งใช้ภาพชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาเป็นโลโก้

Source

]]>
1285509
คนใส่แมสก์ แต่งหน้าน้อยลง! กระทบตลาดเครื่องสำอางหด 8% “ลอรีอัล กรุ๊ป” ยอดขายตก 4.8% https://positioningmag.com/1275002 Thu, 23 Apr 2020 09:03:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1275002
  • ลอรีอัล กรุ๊ป เผยผลประกอบการประจำไตรมาส 1 ปี 2563 ยอดขายมูลค่า 7,220 ล้านยูโร
  • ยอดขายลดลง -4.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
  • ธุรกิจในจีนฟื้นตัวอีกครั้ง ยอดขายเพิ่มขึ้น +6.4% ในไตรมาสแรก
  • ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ขยายตัว 52.6%
  • แผนกเวชสำอางคงยอดขายเติบโตในอัตราเลขสองหลัก
  • เครื่องสำอางอ่วม แต่เวชสำอางยังโต

    COVID-19 กระทบตลาดเครื่องสำอางเข้าอย่างจัง ผู้เล่นรายใหญ่ระดับโลก “ลอรีอัล กรุ๊ป” รายงานผลประกอบการประจำไตรมาส 1 ปี 2563 โดยมียอดขายลดลง -4.8% ในขณะที่ตลาดเครื่องสำอางปรับตัวลงไปแล้วประมาณ -8% โดย

    ผลประกอบการแต่ละแผนกธุรกิจมีความผันผวนต่างกัน แผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง (L’Oréal Luxe) และแผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ (Professional Products) ได้รับผลกระทบมากที่สุดเนื่องจากการปิดห้างสรรพสินค้า ร้านขายน้ำหอม และร้านทำผม ในหลายประเทศ

    แต่แผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค (Consumer Products) ยอดขายกระทบน้อยกว่า เพราะกิจกรรมในตลาดค้าปลีกสำหรับลูกค้ากลุ่มแมสก์ยังคงมีอยู่ ส่วนแผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอางยังคงยอดขายเติบโตขึ้นในอัตราเลข 2 หลัก เพราะช่องทางจำหน่ายในร้านขายเวชภัณฑ์ยังคงเปิดให้บริการอยู่

    ช่องทางอีคอมเมิร์ซซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการขยายตัวที่สำคัญสำหรับลอรีอัล กรุ๊ป โดยเติบโตในอัตรา +52.6% และทำยอดขายคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 20% ของยอดขายรวม ซึ่งวิกฤติในขณะนี้ทำให้ digital transformation เป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น ซึ่งลอรีอัลมีการพัฒนาที่ดีเป็นอย่างยิ่ง

    ล็อกดาวน์เป็นเหตุ

    ภูมิภาคต่างๆ ล้วนได้รับผลกระทบจากการปิดร้านค้า และการใช้มาตรการล็อกดาวน์ โดยเริ่มต้นที่จีนเป็นประเทศแรกตั้งแต่เดือน ม.ค. และหลังจากนั้นก็มีการใช้มาตรการนี้ในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปตะวันตกที่เริ่มมาตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค. และในอเมริกาเหนือตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค. สำหรับช่องทางค้าปลีกท่องเที่ยวนั้น ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการจำกัดการเดินทางที่เข้มงวดทั่วโลก อย่างไรก็ดี การใช้ผลิตภัณฑ์ความงามในจีนมีการฟื้นตัวที่น่าพึงพอใจ

    Photo : Shutterstock

    ฌอง-ปอล แอกง ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลอรีอัล กล่าวว่า

    “ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งพบครั้งแรกในจีน และแพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกนั้น ภารกิจสำคัญอันดับหนึ่งของลอรีอัล กรุ๊ป คือการสร้างความมั่นใจและการปกป้องพนักงานของบริษัท โดยมีการจัดทำโครงการด้านความช่วยเหลือต่างๆ ทั่วโลก สำหรับผู้บริโภค พาร์ตเนอร์ของบริษัท และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข”

    ในสภาวะที่สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงทุกวันและมาตรการล็อกดาวน์นั้น มีผลกระทบต่อเนื่องอย่างชัดเจนต่อการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและความงาม ซึ่งส่งผลต่อธุรกิจของบริษัทในช่วงไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ตลาดในจีนได้แสดงให้เห็นว่า ความต้องการผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและความงามของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ดังนั้น ตลาดจึงน่าจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วในทันทีที่มีการยกเลิกมาตรการปิดร้านค้า”

    สรุปยอดขายตามภูมิภาค

    1. ยอดขายในยุโรปตะวันตก ลดลง –7.7%
    2. ยอดขายในอเมริกาเหนือ ลดลง –4.8%
    3. ตลาดใหม่
      • ยอดขายในละตินอเมริกา เพิ่มขึ้น +0.8%
      • ยอดขายในยุโรปตะวันออก ลดลง –1.4%
      • ยอดขายในแอฟริกาและ ตะวันออกกลาง ลดลง –5.6%
      • ยอดขายในเอเชียแปซิฟิก ลดลง –3.7%

    จีนเริ่มปรับตัวดีขึ้น

    หลังจากที่เปิดต้นปีได้อย่างแข็งแกร่งก่อนช่วงเทศกาลตรุษจีน การใช้มาตรการล็อกดาวน์หลังการแพร่ระบาด ทำให้ร้านค้าจำนวนมากต้องปิดทำการ ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจในเดือน ก.พ. แต่เดือน มี.ค.ก็มีสัญญาณของการฟื้นตัว โดยลอรีอัลสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและทำยอดขายได้เพิ่มขึ้นในเดือน มี.ค. และทำยอดขายเป็นบวกในไตรมาสแรก

    บริษัทฯ ได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น การฟื้นตัวนี้เป็นผลมาจากการฟื้นฟูศักยภาพในการดำเนินงานอย่างรวดเร็วในเดือน ก.พ. การใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดเพื่อสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย รวมทั้งการปรับเปลี่ยนแผนดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อสนับสนุนกิจกรรมออนไลน์และ O+O (ออนไลน์+ออฟไลน์) การให้ความสำคัญกับเทศกาลวันสตรีที่ช่วยกระตุ้นให้ยอดขายฟื้นตัว

    ซึ่งในช่วงเทศกาลออนไลน์นี้ ลอรีอัล ประเทศจีน ได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมากด้วยแรงหนุนจากแบรนด์ ลอรีอัล ปารีส ลังโคม สกินซูติคอลส์ เฮเลนา รูบินสไตน์ 3CE และ เคเรสตาส

    สรุปภาพรวมในเอเชียแปซิฟิก

    ตลาดท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เนื่องจากนักช้อปชาวจีนไม่ได้เดินทางเข้ามาในภูมิภาค ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ยังคงเปิดประเทศอยู่ในช่วงต้นปี แต่ตั้งแต่เดือน มี.ค.เป็นต้นมา ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการล็อกดาวน์ที่ทำให้ธุรกิจในทุกตลาดปั่นป่วน

    อย่างไรก็ดี ยอดขายในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นในอัตราเลข 2 หลัก และยอดขายในออสเตรเลียก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ตลาดสกินแคร์เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวได้มากที่สุด โดยแผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอางมียอดขายเพิ่มขึ้นมากทั้งภูมิภาค โดยเฉพาะในจีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย แต่แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเนื่องจากการปิดร้านทำผมในตลาดทุกประเทศ ส่วนธุรกิจอีคอมเมิร์ซยังคงเติบโตในอัตราสูงกว่า 60% โดยเฉพาะในจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ไทย และอินโดนีเซีย

    กลุ่มสินค้าอุปโภค ยอดขายลดลง -3.6%

    วิกฤตครั้งนี้ส่งผลกระทบที่แตกต่างกันในวงกว้างต่อกลุ่มสินค้า ช่องทางจัดจำหน่าย ภูมิภาค และแบรนด์ ประเภทผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กลุ่มเมคอัพ ซึ่งส่งผลให้ยอดขาย เมย์เบลลีน นิวยอร์ก และ นิกซ์ โปรเฟสชั่นแนล เมคอัพ  ชะลอตัวลงชั่วคราวอย่างเห็นได้ชัด หลังจากที่เริ่มต้นได้เป็นอย่างดีเมื่อช่วงต้นปี

    Photo : Shutterstock

    สินค้าในกลุ่มดูแลผิวหน้าชะลอตัวลงเช่นกัน แต่สินค้ากลุ่มทำความสะอาดผิวหน้า สุขอนามัย ดูแลเส้นผม และทำสีผมด้วยตนเอง กลับขยายตัวเร็วขึ้นด้วยผลพวงจากแบรนด์ การ์นิเย่ สถานการณ์ปัจจุบันยังเอื้ออำนวยต่อการขายปลีกในร้านสะดวกซื้อ และเร่งช่องทางอีคอมเมิร์ซอย่างรวดเร็ว ซึ่งยอดขายในช่องทางอีคอมเมิร์ซของแผนกนี้เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสแรก

    กลุ่มความงามชั้นสูง ยอดขายลดลง -9.3%

    หลังจากที่เริ่มต้นด้วยความคึกคักมากในทุกภูมิภาค วิกฤต COVID-19 ส่งผลให้ต้องปิดร้านค้า และร้านจำหน่ายในสนามบินในตลาดหลัก ๆ ของเราทุกแห่ง โดยตลาดเอเชียเหนือ และช่องทางค้าปลีกท่องเที่ยวปิดทำการตั้งแต่เดือน ก.พ. ตลาดอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตกปิดทำการตั้งแต่เดือน มี.ค. ธุรกิจจึงตกต่ำลงอย่างมาก ทั้งนี้ อีคอมเมิร์ซยังคงขยายตัวสูงโดยเพิ่มขึ้น +57% ทั่วโลก

    กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ เมคอัพ ขณะที่สกินแคร์และน้ำหอมกลับปรับตัวได้มากกว่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ และการดูแลสุขอนามัยส่วนตัว ดังนั้น แบรนด์ใหญ่ ๆ ของเราที่มีสัดส่วนผลิตภัณฑ์สกินแคร์สูง เช่น คีลส์ ลังโคม จึงมียอดขายที่โตสวนทางกับตลาดอย่างเห็นได้ชัด

    การเปิดตัวน้ำหอมในปี 2562 ของเราก็ยังคงรักษาการเติบโตไว้ได้ เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์หลัก ๆ ของเรา และทำให้แบรนด์ระดับกูตูร์ของเรา อาทิ จิออร์จิโอ อาร์มานี่ อีฟส์ แซ็งต์ โลร็องต์ และ ราล์ฟ ลอเรน ยังคงเติบโตสวนทางตลาดอย่างมาก

    เวชสำอาง ยอดขายเพิ่มขึ้น +13.2%

    ยอดขาย 2 ใน 3 ของแผนกนี้ผ่านทางร้านเวชภัณฑ์ และร้านขายยา โดยช่องทางเหล่านี้ ยังคงเปิดให้บริการตลอดช่วงเวลาวิกฤต โดยแบรนด์ผิวหนังหลัก ๆ ของเรา โดยเฉพาะ เซราวี และ ลา โรช-โพเซย์ มีความในการตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัย และการดูแลผิวประจำวัน

    แผนกนี้เติบโตในทุกภูมิภาค มียอดขายเพิ่มในอัตราเลข 2 หลักในเอเชีย ด้วยแรงผลักดันมาจากจีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย แม้ว่าจะมีการปิดห้างสรรพสินค้า การเติบโตในจีนยังคงแข็งแกร่ง จากการใช้ช่องทางดิจิทัลของแบรนด์ และเติบโตอย่างโดดเด่นในอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นช่องทางจัดจำหน่ายอันดับหนึ่งของแผนกนี้

    แผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอางได้เริ่มแผนงาน เพื่อเร่งการขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้รวดเร็วขึ้น แบรนด์ ลา โรช-โพเซย์ เป็นแนวหน้าในการผลิตเจลล้างมือ และนำไปแจกจ่ายให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาล สถานบริบาลผู้สูงวัย และร้านเวชภัณฑ์ที่เป็นพันธมิตร 

    มาตรการของลอรีอัล กรุ๊ป ในสถานการณ์ COVID-19

    ภารกิจที่สำคัญที่สุดของ ลอรีอัล คือการปกป้องสุขภาพของพนักงานทั่วโลก พร้อมกับให้ความช่วยเหลือในภาคส่วนที่ต้องการ บริษัทฯ ได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ มากมายทางด้านสุขภาพ เงินเดือน และเศรษฐกิจ

    โดยโรงงานในเครือลอรีอัล กรุ๊ป ทั่วโลก ที่มีหน่วยงานที่ผ่านการรับรองในการดูแลแอลกอฮอล์ และวัตถุไวไฟ ได้ทำการผลิตเจลล้างมือ โดยมีโรงงาน 28 แห่ง ในยุโรป สหรัฐฯ ละตินอเมริกา เอเชีย และแอฟริกา ที่ทำการผลิตเจลแอลกอฮอล์ให้ได้จำนวน 2,400 ตัน หรือ 14 ล้านยูนิต ภายในปลายเดือนพ.ค.นี้ นอกจากนี้ยังมีการบริจาคครีมบำรุงมือให้บุคลากรทางการแพทย์ และเริ่มโครงการด้านสุขภาพอื่นๆ ในอีกหลายประเทศ

    ในส่วนมาตรการด้านเงินเดือนนั้น ลอรีอัลคงการจ้างพนักงานและคงเงินเดือนสำหรับพนักงานลอรีอัลทั่วโลก

    สำหรับมาตรการด้านเศรษฐกิจ และการให้ความช่วยเหลือ ลอรีอัล เลือกให้ความช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มแผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพที่เป็นร้านซาลอนรายย่อย ให้สามารถเลื่อนการชำระหนี้ได้ จากภาวะการขาดแคลนกระแสเงินสดที่ลูกค้าอาจกำลังเผชิญอยู่ จนกว่าธุรกิจของร้านซาลอนจะฟื้นคืนกลับมา

    ]]>
    1275002
    “ลอรีอัล” เปลี่ยนโรงงานในเครือผลิตเจลล้างมือ ช่วยหน่วยงานแพทย์ https://positioningmag.com/1270178 Thu, 26 Mar 2020 09:54:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1270178 ลอรีอัล กรุ๊ป ได้เปิดโครงการให้ความช่วยเหลือ เพื่อสนับสนุนการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนาในหลายภาคส่วน โดยเบื้องต้นได้เริ่มต้นการช่วยเหลือในภูมิภาคยุโรป ซึ่ง ณ ขณะนี้เป็นศูนย์กลางของภาวการณ์ระบาดครั้งใหญ่ของโรค COVID-19

    โครงการช่วยเหลือในส่วนต่างๆ ที่เริ่มดำเนินการก่อนในภูมิภาคยุโรป

    • การช่วยเหลือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

    โรงงานต่างๆ ในเครือลอรีอัล ได้เริ่มทำการผลิตเจลทำความสะอาดมือ ซึ่งจะเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อสนับสนุนความต้องการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในฝรั่งเศส และยุโรป

    • การช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพและเจ้าหน้าที่ร้านเวชภัณฑ์

    ลา โรซ โพ-เซย์ หนึ่งในแบรนด์ของลอรีอัล จะจัดหาเจลทำความสะอาดมือให้แก่พันธมิตรโรงพยาบาล ศูนย์ดูแลสุขภาพผู้ป่วย และร้านเวชภัณฑ์ โดยหน่วยงานเหล่านี้ นับเป็นด่านแรกที่ทำงานด้านการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคที่เพิ่มขึ้นในทุกวัน

    • การช่วยเหลือกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง

    มูลนิธิ ลอรีอัล จะบริจาคเงินจำนวน 1,000,000 ยูโร ให้กับองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร ที่ช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนและที่ทำงานด้านการสนับสนุนสุขอนามัยเพื่อป้องกันสถานการณ์นี้ เพื่อให้ผู้ต้องการความช่วยเหลือสามารถปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยได้ และให้การสนับสนุนชุดรักษาสุขอนามัย ที่ประกอบไปด้วย เจลอาบน้ำ แชมพู และเจลทำความสะอาดมือ แจกให้กับนักสังคมสงเคราะห์อาสาสมัคร และผู้ได้รับผลกระทบ

    ทั้งนี้ ลอรีอัล กำลังหารือถึงการช่วยเหลือในภาคส่วนต่างๆ ในภูมิภาคอื่นๆ รวมถึงเอเชียด้วยเช่นกัน

    ]]>
    1270178
    “ลอรีอัล” เปิดยอดขายปี 62 ทะลุ 2.9 หมื่นล้าน ทุบสถิติในรอบทศวรรษ “เวชสำอาง” โตสูงสุด https://positioningmag.com/1264065 Wed, 12 Feb 2020 09:23:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264065 ลอรีอัล กรุ๊ป เปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานปี 2562 โดยบริษัทมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น +8.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมียอดขายรวมมูลค่า 29,870 ล้านยูโร ซึ่งเป็นการเติบโตที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ปี 2550

    ฌอง-พอล แอกง (Jean-Paul Agon) ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลอรีอัล กล่าวว่า

    “ลอรีอัลสามารถส่งท้ายทศวรรษที่ผ่านมาได้อย่างยอดเยี่ยม ท่ามกลางตลาดความงามที่ยังคึกคักเป็นอย่างยิ่ง ยอดขายทุกแผนกเติบโตขึ้น ยอดขายแผนกผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง (L’Oréal Luxe) สูงกว่า 11,000 ล้านยูโร จากการเติบโตของ 4 แบรนด์ใหญ่ของลอรีอัล ได้แก่ ลังโคม, อีฟ แซงต์ โลร็องต์, จิออร์จิโอ อาร์มานี และคีลส์ ซึ่งสามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นในอัตราเลข 2 หลักได้ทุกแบรนด์”

    ส่วนแผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง (Active Cosmetics) ก็ทำยอดขายทั้งปีได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยยอดขาย ลา โรช-โพเซย์ ทะลุ 1,000 ล้านยูโร ขณะที่การขยายตัวของแผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค (Consumer Products) ก็ได้แรงหนุนจากแบรนด์ ลอรีอัล ปารีส ที่ทำผลงานยอดเยี่ยมตลอดทั้งปีได้ดีเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งยอดขายในแผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ (Professional Products) ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งไฮไลต์อยู่ที่การเติบโตในอัตราเลข 2 หลักของแบรนด์ เคเรสตาส

    ผลประกอบการที่แบ่งตามโซนภูมิภาคมีความแตกต่างกัน โดยกลุ่มตลาดใหม่มีอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี และตลาดเอเชียแปซิฟิกก้าวขึ้นมาเป็นภูมิภาคอันดับหนึ่ง ผลักดันด้วยยอดขายในจีนที่เติบโตช่วงปลายปี รวมทั้งยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นในเกาหลีใต้ อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในส่วนตลาดยุโรปตะวันออกสามารถรักษาอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งเอาไว้ได้ ในขณะที่ยุโรปตะวันตกก็สามารถหวนคืนสู่การขยายตัวได้อีกครั้งในปีที่แล้ว แต่อเมริกาเหนือได้รับผลกระทบจากผลประกอบการที่ย่ำแย่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เมคอัพ

    ช่องทางอี-คอมเมิร์ซ และค้าปลีกท่องเที่ยว ยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตที่ทรงพลัง ซึ่งมีส่วนสนับสนุนเป็นอย่างมากต่อความสำเร็จของกลุ่มบริษัท โดยอี-คอมเมิร์ซขยายตัวอย่างโดดเด่นในอัตรา +52.4% และมียอดขายคิดเป็นสัดส่วน 15.6% ของยอดขายรวม ขณะที่ช่องทางค้าปลีกท่องเที่ยวก็ยังมีการเติบโตที่แข็งแกร่ง และมียอดขายเพิ่มขึ้น +25.3%

    สรุปตัวเลขการเติบโตในแผนกต่างๆ

    แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพเติบโต +3.2% 

    ปีนี้เป็นปีที่สามารถกลับมามีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าตลาดได้อีกครั้ง ยอดขายโตเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงครึ่งปีหลัง ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผลักดันการเติบโตมากที่สุด ได้รับอานิสงส์จากการขยายตัวอย่างโดดเด่นของแบรนด์เคเรสตาส ที่เติบโตในอัตราเลขสองหลัก แผนกนี้ยังสร้างสถานะที่แข็งแกร่งขึ้นทั่วโลก จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ และเอเชียแปซิฟิก ขณะที่ยุโรปตะวันออกก็ยังรักษาการเติบโตไว้ได้

    แผนกผลิตภัณฑ์อุปโภคเติบโต +3.3%

    แบรนด์ลอรีอัล ปารีส มีอัตราการเติบโตสูงสุดตั้งแต่ปี 2550 จากการเปิดตัวครั้งสำคัญของ Rouge Signature ในกลุ่มเมคอัพ และ Revitalift Filler ที่มีส่วนผสมของไฮยาลูรอนนิค แอซิดในกลุ่มสกินแคร์ ซึ่งมีการเปิดตัวไปทั่วโลกในรูปแบบของแอมเพิลและเซรั่ม แบรนด์การ์นิเย่ ก็มีการเติบโตจากกลุ่มตลาดใหม่ รวมทั้งความสำเร็จที่เกิดขึ้นทั่วโลกของผลิตภัณฑ์แผ่นมาสก์หน้า (Tissue Mask) และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า Micellar Cleansing Water และการริเริ่มผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ อาทิ Garnier Organic และ Fructis Hair Food

    อย่างไรก็ดี ตลาดเมคอัพในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วได้ชะลอตัวลง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยากลำบากขึ้นเช่นนี้ เมย์เบลลีน นิวยอร์ก ก็ยังคงประสบความสำเร็จในการเปิดตัว Fit Me! และ Superstay Matte Ink รวมทั้งมีอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งในกลุ่มตลาดใหม่ ด้วยเช่นกัน

    ผลิตภัณฑ์ความงามขั้นสูงเติบโต +13.8%

    แผนกนี้เติบโตสูงกว่าตลาด และตอกย้ำความสำเร็จของผลิตภัณฑ์กลุ่มสกินแคร์และน้ำหอม โดย 4 แบรนด์หลักของแผนกนี้ล้วนมีอัตราการเติบโตในอัตราเลขสองหลัก แบรนด์ลังโคมได้แรงขับเคลื่อนอย่างชัดเจนจากผลประกอบการที่ยอดเยี่ยมในกลุ่มสกินแคร์ โดยเฉพาะสูตรใหม่ของ Génifique และ Absolue รวมทั้งความสำเร็จของน้ำหอมน้องใหม่ Idôle ส่วนแบรนด์ อีฟ แซงต์ โลร็องต์และ จิออร์จิโอ อาร์มานี ก็มียอดขายที่ดีมากในกลุ่มน้ำหอม หลังจากประสบความสำเร็จในการเปิดตัว Libre และการทำผลงานได้ยอดเยี่ยมของ Black Opium, Y และ Sì Passione รวมไปถึงความสำเร็จในกลุ่มผลิตภัณฑ์รองพื้น

    โดยรวมแล้ว ผลิตภัณฑ์ความงามขั้นสูงสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาด โดยเฉพาะในเอเชียแปซิฟิก และยุโรปตะวันตก แม้จะเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากกว่าในสหรัฐฯ ก็ตาม แผนกนี้ยังทำผลงานได้ดีในช่องทางค้าปลีกท่องเที่ยว ตลาดยุโรปตะวันออก และละตินอเมริกาด้วย ขณะเดียวกัน ช่องทางอี-คอมเมิร์ซของแผนกนี้ก็ยังคงขยายตัวเร็วขึ้น ซึ่งมีสัดส่วนยอดขายกว่า 20% จากยอดขายของแผนก

    แผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอางเติบโต +15.5%

    อัตราการเติบโตนี้เป็นการเติบโตสูงสุดในรอบ 20 ปีของแผนกผลิตภัณฑ์เวชสำอาง ยอดขายของแผนกนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยขยายตัวสองเท่าของตลาดผลิตภัณฑ์ผิวหนัง แบรนด์ ลา โรช-โพเซย์ มีการเติบโตในอัตราเลขสองหลัก ครองส่วนแบ่งตลาดในทุกภูมิภาค และทำยอดขายทะลุ 1 พันล้านยูโร ส่วนแบรนด์วิชี่ ก็เติบโตต่อเนื่อง โดยมียอดขายสูงเป็นพิเศษในยุโรปตะวันออก และละตินอเมริกา

    โดยกำลังเปิดตัว Liftactiv Peptide-C ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต่อต้านริ้วรอยที่เป็นนวัตกรรมในรูปแบบแอมเพิล ส่วนแบรนด์เซราวี ซึ่งมีการขยายตัวอย่างมากในสหรัฐ ก็ยังคงขยายตัวไปทั่วโลก ทั้งนี้ ทุกภูมิภาคมีส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตของแผนก โดยเฉพาะเอเชียและอเมริกาเหนือที่มีการขยายตัวแข็งแกร่ง

    ]]>
    1264065
    เพราะผู้หญิงไม่หยุดสวย ทำยอดขายลอรีอัล Q1 ปี 62 โตพุ่ง 7.7% https://positioningmag.com/1225774 Sun, 21 Apr 2019 11:00:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1225774 1225774 ลอรีอัลเปิดกลยุทธ์ดึงดูดคนทำงาน ฝ่ากระแสสตาร์ทอัพ-เอไอครองโลก! https://positioningmag.com/1174016 Wed, 13 Jun 2018 03:13:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1174016 เจโรม ทิกซิเย่ร์ รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคลและที่ปรึกษาประธานกรรมการ ลอรีอัล กรุ๊ป

    “นวัตกรรม” และ “คุณภาพ” โดยมี “ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง” คือจิตวิญญาณในการทำธุรกิจของลอรีอัลและทำให้ลอรีอัลเป็นแบรนด์ระดับโลกมาอย่างยาวนาน และแม้ว่า “ลอรีอัล” จะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ แต่ในการทำงานเน้นความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่นเดียวกับองค์กรขนาดเล็กหรือธุรกิจสตาร์ทอัพ สะท้อนให้เห็นได้จากการทำงานในแบรนด์ต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ธุรกิจของลอรีอัล ซึ่งการทำงานในแต่ละแบรนด์นั้น พนักงานต้องมีจิตวิญญาณเป็นเสมือนเจ้าของธุรกิจ ทำให้การทำงานมีความคล่องตัวและเข้าถึงแบรนด์นั้น ๆ มากขึ้น

    “คน” หรือ “บุคลากร” จึงเป็นหัวใจสำคัญของลอรีอัลมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันที่ดำเนินธุรกิจมานานนับร้อยปี โดยเฉพาะ“คุณภาพของคน” ดังนั้น “ลอรีอัล” จึงมีเป้าหมายในสรรหาพนักงานที่มีความสามารถ ไม่ว่าจะเพิ่งเรียนจบหรือมีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว พร้อมทั้งการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร และโอกาสในการเติบโตของพนักงาน เพื่อรองรับการเติบโตในธุรกิจของลอรีอัลที่มีอยู่ทั่วโลก

    อย่างไรก็ตาม “การสรรหา” ไม่ใช่ความท้าทายของลอรีอัลเท่าไรนัก เมื่อดูจากจำนวนผู้สมัครทั่วโลกที่มีมากถึงปีละ 1.3 ล้านคน ขณะที่เปิดรับได้เพียงไม่กี่พันคน ส่วนประเทศไทยมีผู้สมัครถึง 880 คน แต่เปิดรับได้เพียง 34 คน   

    แต่ “การรักษา” เป็นเรื่องท้าทายกว่า เนื่องจาก “คนรุ่นใหม่” ในยุคมิลเลเนียนต้องการเติบโตอย่างรวดเร็วและอยากจะไปในจุดที่เป็น “dream job” คือความอยากเป็นเจ้าของธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญ จากการมองธุรกิจสตาร์ทอัพที่กำลังตื่นตัวอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อเด็กรุ่นใหม่ทำงานในบริษัทได้สักระยะหนึ่งก็คิดว่าอยากจะไปทำธุรกิจของตนเอง ขณะที่บริษัทต้องดูแลพนักงานทั้งหมด ดังนั้น โครงสร้างองค์กรที่เป็นอยู่จึงอาจจะไม่สอดรับกับการเติบโตอย่างรวดเร็วตามที่เด็กรุ่นใหม่ต้องการ แต่ก็พบว่าเด็กรุ่นใหม่ที่ลาออกไปค่อนข้างมากต้องการกลับมาทำงานกับบริษัท เพราะรู้ว่าลอรีอัลเปิดโอกาสให้ใช้ความคิดและสามารถนำความคิดของเขาออกไปใช้ได้ หรือมีส่วนเป็นเจ้าของธุรกิจนั่นเอง

    นอกจากนี้ ลอรีอัลยังให้ความสำคัญในเรื่องของความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ โดยเฉพาะตลอด 15 ปีที่ผ่านมามีการเน้นพัฒนา เพราะความหลากหลายทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น และแม้ในอดีตผู้บริหารระดับสูงส่วนมากเป็นผู้ชาย แต่ปัจจุบันลอรีอัลมีผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้หญิงเพิ่มขึ้นมาก และยังมีตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาความหลากหลายในองค์กร ซึ่งสะท้อนถึงการให้ความสำคัญและความจำเป็นในการบริหารจัดการคนและองค์กรให้ทันยุค

    ในเรื่องเอไอ (artificial intelligence) มีการนำโปรแกรม chatbot ในชื่อ MYA (เมย่า) เป็นโปรแกรมตอบคำถามพื้นฐานโดยอัตโนมัติให้กับผู้มาสมัครงาน กับโปรแกรม seed link เพื่อช่วยในการคัดเลือกพนักงาน ทั้งสองโปรแกรมเป็นความร่วมมือกับบริษัทสตาร์ทอัพและอยู่ในขั้นทดลองในประเทศจีน ซึ่งหากสำเร็จจะนำไปใช้ทั่วโลก แต่การใช้เอไอสำหรับลอรีอัลยืนยันว่าไม่ได้มาทดแทนคนเอชอาร์ แต่ใช้เป็นเครื่องมือมาสนับสนุนการทำงาน เพื่อให้คนเอชอาร์ไปทำงานในส่วนที่เป็นกลยุทธ์มากขึ้น

    ไม่เพียงเท่านี้ “ลอรีอัล” มีการปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนไปของยุคสมัยและสามารถดึงดูดคนทำงานทุก ๆ กลุ่มมากยิ่งขึ้น ด้วยการให้ความสำคัญกับผลตอบแทนหรือรางวัลในการทำงาน เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในองค์กรและและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเช่นไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการคิดค้น “worldwide profit sharing program” โดยพนักงานทุกคนจะมีส่วนได้ส่วนเสียกับผลประกอบการของบริษัททั่วโลก ถ้าบริษัทได้ผลกำไรที่ดีพนักงานจะได้รับส่วนแบ่งผลกำไรด้วย ส่งผลให้การลาออกของพนักงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด

    นอกจากนี้ ยังมี “employee share ownership program” โดยพนักงานสามารถซื้อหุ้นของบริษัทซึ่งเพิ่งจะเปิดให้จองเมื่อต้นเดือนมิถุนายนนี้ คือพนักงานสามารถซื้อหุ้นได้ 25% ของรายได้ เช่น พนักงานมีรายได้ปีละ 1 ล้านบาท จะสามารถซื้อหุ้นได้ไม่เกิน 2.5 แสนบาท และมีส่วนลดและการแถมอีกด้วย เช่น หากหุ้นอยู่ที่ราคา 200 ยูโร พนักงานสามารถซื้อได้ในราคา 160 ยูโร ส่วนการแถมแบบขั้นบันได เช่น ซื้อหนึ่งถึงสองหุ้นแถมหนึ่งหุ้น ซื้อสามถึงสี่หุ้นแถมสองหุ้น ซื้อสิบหุ้นขึ้นไปแถมสี่หุ้น เป็นต้น ซึ่งปกติการซื้อหุ้นของลอรีอัลที่ฝรั่งเศสโดยตรงนั้นทำไม่ได้

    สำหรับ “share&care” เป็นโปรแกรมที่ต้องการให้พนักงานประจำรับผลประโยชน์และสิทธิต่าง ๆ จึงเน้นใน 4 เรื่อง ได้แก่ 1.เรื่องอุบัติเหตุหรือเสียชีวิตหากเกิดขึ้นจะได้รับเงินช่วยเหลือ 24 เดือนของรายได้ของพนักงานในขณะนั้น 2.การประกันสุขภาพ ซึ่งครอบคลุมความเจ็บป่วยต่าง ๆ โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 75% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด 3.เงินช่วยเหลือครอบครัว สำหรับพนักงานหญิงที่มีบุตรจะได้รับเงินช่วยเหลือ 14 สัปดาห์ หรือ 99 วัน ขณะที่กฎหมายไทยกำหนดให้นายจ้างจ่าย 45 วัน ส่วนที่เหลือลาได้โดยไม่ได้รับเงินตอบแทน สำหรับพนักงานชายปัจจุบันสามารถลาหยุดเพื่อดูแลบุตรได้ 3 วันซึ่งลอรีอัลมีแผนจะเพิ่มให้เป็น 10 วัน ในเร็ว ๆ นี้

    และ 4.คุณภาพชีวิตในการทำงาน เพราะต้องการให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน ล่าสุดจึงมีนโยบายให้ความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น คือสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ที่อยากจะทำในแบบ work from home หรือ work anywhere โดยไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน นอกจากนี้ยังพยายามให้พนักงานของบริษัทที่มีอยู่ทั่วโลกกว่า 8 หมื่นคน ได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการทำงาน และเป็นการอบรมที่ทันสมัย พร้อมกับการให้โอกาสการอบรมมากขึ้น เช่น สามารถอบรมผ่านผ่านช่องทางออนไลน์หรือสมาร์ทโฟน นอกเหนือจากการเข้ามาอบรมที่สำนักงาน

    นอกจากนี้ ที่ผ่านมา “ลอรีอัล” ยังมีการจัดจ้างบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำงานด้านดิจิทัลถึง 2,000 คน เพื่อพัฒนาองค์กรให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล เช่น ด้านอีคอมเมิร์ซที่เติบโตมากขึ้น และการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านออนไลน์เพิ่มขึ้น เป็นต้น ที่สำคัญอีกส่วนคือการพัฒนาพนักงานที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เช่น ด้านสกินแคร์ ด้านเมกอัพ ให้มีความเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มากขึ้น  

    เจโรม ทิกซิเย่ร์ รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคลและที่ปรึกษาประธานกรรมการ ลอรีอัล กรุ๊ป มองว่า การที่คนรุ่นใหม่เลือกทำงานกับลอรีอัล เพราะบริษัทมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีวิสัยทัศน์ระยะยาวจึงรู้ถึงทิศทางในอนาคต และการเป็นบริษัทใหญ่ที่มีแบรนด์มากมาย ทำให้พนักงานรู้สึกว่าทำงานในบริษัทใหญ่ระดับ แต่ขณะเดียวกันก็มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้เป็นเหมือนกับเป็นเจ้าของแบรนด์ จึงเป็นส่วนผสมที่ลงตัวสำหรับพนักงานที่ต้องการทำงานในบริษัทใหญ่ มีจิตวิญญาณ จรรยาบรรณที่เข้มแข็ง การทำงานเพื่อสังคม และการได้รับรางวัลตอบแทนที่ดี รวมทั้งได้ทำในสิ่งที่อยากทำโดยมีอำนาจในการตัดสินใจ

    ดูเหมือนว่าในวันนี้ “ลอรีอัล” จะสามารถตอบโจทย์ท้าทายได้อย่างสวยงาม.

    ]]>
    1174016
    “ลอรีอัล” ตั้งแม่ทัพ อัดงบดิจิทัล 30% ลุยบิวตี้ 1.5 แสนล้าน https://positioningmag.com/1119135 Mon, 13 Mar 2017 12:10:19 +0000 http://positioningmag.com/?p=1119135 ธุรกิจความงามยังคงเป็นธุรกิจดาวรุ่ง ที่ไม่ว่าจะเศรษฐกิจดีหรือไม่ดีตลาดก็ยังคงมีการเติบโต เพราะผู้บริโภคก็ยังคงต้องการสวย และดูดีอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ในปี 2559 ที่ผ่านมาภาพรวมตลาดความงามในประเทศไทยมีมูลค่า 154,000 ล้านบาท เติบโต 6.5%  นับเป็นตลาดที่ใหญ่สุดในอาเซียน

    จากรายงานของยูโรมอนิเตอร์ (Euromonitor) ยังพบว่า ตลาดความงามและกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่สามของโลก ซึ่งตลาดความงามในประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทยนั้น ถือเป็นประเทศที่ช่วยขับเคลื่อนอัตราการเติบโตให้กับภูมิภาคนี้ทั้งหมด

    แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะมีความผันผวนและไม่แน่นอน แต่ลอรีอัลไทยมั่นใจว่าจะสามารถคงการเติบโตสูงกว่าภาพรวมตลาดความงามได้ และยังย้ำเป้าหมายเดิมที่จะให้คนไทยทุกครัวเรือนต้องมีสินค้าในเครือลอรีอัลอย่างน้อย 1 ชิ้น

    ตลาดประเทศไทย นับเป็นตลาดที่สำคัญของลอรีอัล ในปีที่ผ่านมามียอดขายสินค้ารวม 123 ล้านชิ้น และมีสินค้าใหม่ออกเกือบ 800 รายการ ได้แก่ กลุ่มสกินแคร์ 86 รายการ เครื่องสำอาง 552 รายการ และผลิตภัณฑ์ผม 150 รายการ ในปีนี้คาดว่าจะออกสินค้าใหม่ไม่ต่ำกว่าเดิม

    ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคนี้ที่มีการใช้เทคโนโลยี ใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์ ทำให้ลอรีอัลต้องปรับตัวเพื่อเป็นองค์กรดิจิทัล เพื่อรุกการตลาดออนไลน์มากขึ้น โดยลอรีอัลทั่วโลกได้มีการใช้งบการตลาดสำหรับออนไลน์ในสัดส่วน 16%   

    สำหรับในไทย ปี 2559 ที่ผ่านมาลอรีอัล ประเทศไทย จะรุกด้านดิจิทัลมากขึ้น ด้วยการเพิ่มงบการตลาด ดิจิทัลเป็น 30% และล่าสุดยังได้แต่งตั้ง ดวงขวัญ สินสัตยกุล ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัลคนแรกในประเทศไทย เพื่อดูแลและวางแผนงานกลยุทธ์ด้านดิจิทัลโดยรวม มีทีมงานใหญ่กว่า 20 คน

    ในปี 2560 นี้ ลอรีอัลวางแผนรุกตลาดช่องทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งต้นปีนี้แบรนด์ลอรีอัลปารีส, เมย์เบลลีนนิวยอร์ก, ไบโอเธิร์ม, ลังโคม และคีลส์ ได้เปิดตัวบัญชีไลน์ เพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มผู้ที่สนใจความงาม รวมทั้งการทำคอนเทนต์บนเฟซบุ๊กของแบรนด์ต่างๆ ในเครือ และมีช่องของตนเองใน YouTube ทำเป็นคอนเทนต์เป็นรายการของตนเอง

    เริ่มจากแบรนด์เมย์เบลลีนนิวยอร์กได้สร้างช่องทางยูทูปเป็นครั้งแรกของแบรนด์เครื่องสำอางภายใต้คอนเซ็ปต์เมคอัพมายเวย์

    รวมถึงด้านอีคอมเมิร์ซที่ลอรีอัลเองก็เริ่มให้น้ำหนักมากขึ้น มีทั้งแพลตฟอร์มของตนเอง และพาร์ตเนอร์กับคู่ค้าเว็บไซต์อื่นอย่างลาซาด้า, ซาโลร่า, คอนวี และ 11 สตรีท ซึ่งปีที่แล้วลอรีอัลประเทศไทยเติบโตด้านอีคอมเมิร์ซมากกว่า 169%

    ขณะเดียวกัน ลอรีอัลจะให้น้ำหนักการใช้บิวตี้บล็อกเกอร์ หรือ Influencer กลายเป็นอาวุธหลักของลอรีอัลเช่นกัน การเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์อย่างเดียวไม่สามารถสื่อสารถึงผู้บริโภคได้เพียงพอแล้ว

    นาตาลี เกอร์ชไตน์ เคอโรวดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า

    ตลาดในประเทศไทยยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ลอรีอัลมีการเติบโตกว่าตลาดติดต่อกันมา 5 ปีแล้ว ในปีนี้ยังคงตั้งเป้าการเติบโตไม่ต่างจากปีที่แล้ว เน้นเรื่องของดิจิทัลมากขึ้น เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หาข้อมูลเยอะมากขึ้น รวมถึงเรื่องเทคโนโลยีที่มีการใช้มากขึ้น ทำให้ลอรีอัลก็ต้องปรับเพื่อเข้าหาผู้บริโภคมากขึ้น

    ปี 2560 ลอรีอัลได้วางกลยุทธ์ไว้ 4 ข้อด้วยกัน

    1. Consumer Centricity ให้ความสำคัญผู้บริโภค ให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง ยังคงมีนวัตกรรมสินค้าออกมา และมีการสื่อสารกับผู้บริโภคผ่านช่องทางต่างๆ มากขึ้น ทั้งแคมเปญโฆษณา และช่องทางดิจิทัล

    2. Connected Beauty เชื่อมโยงความงามกับโลกดิจิทัล ใช้อีคอมเมิร์ซเข้ามาเชื่อมต่อให้เข้าถึงผู้บริโภคง่ายขึ้น ในปี 59 ที่ผ่านมาช่องทางอีคอมเมิร์ซของลอรีอัล ประเทศไทยโต169% มีทั้งเว็บไซต์ของตัวเอง และทำกับคู่ค้า ซึ่งลอรีอัลทั่วโลกมีสัดส่วนอีคอมเมิร์ซ 4% รวมถึงปรับองค์กรให้ดิจิทัลขึ้น มีการแต่งตั้งผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัลในไทย เพื่อดูแลและวางแผนกลยุทธ์ด้านดิจิทัลโดยเฉพาะ

    3. Great Employer พัฒนาบุคลากร มีโปรแกรมฝึกอบรมพนักงานเพื่อพัฒนาศักยภาพตนเอง และมีการผลักดันพนักงานคนไทยสู่ขั้นผู้บริหาร เพื่อได้เข้าใจตลาดในประเทศได้ดีกว่าผู้บริหารต่างชาติ

    4. Great Citizen การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน การทำธุรกิจควบคู่กับการดูแลสังคม ทั้งการคิดค้นนวัตกรรมสินค้าใหม่ กระบวนการผลิต การให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และกิจกรรมพัฒนาสังคม

    ]]>
    1119135