Letter – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 11 Jun 2012 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “บิลช็อก” ไม่ “ช็อก” ได้มั้ย https://positioningmag.com/14772 Mon, 11 Jun 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14772

ปัญหา “บิลช็อก” ไม่ได้ทำให้ผู้บริโภคเท่านั้นที่ต้อง “ช็อก” เมื่อเจอกับการเรียกเก็บค่าบริการสูงจนน่าตกใจ หลังจากพกสมาร์ทโฟนไปใช้ต่างประเทศ ทั้งๆ ที่ขอเปิดใช้บริการ “ดาต้าโรมมิ่ง” แบบเหมาจ่าย หรือ Unlimited จากโอเปอเรเตอร์ไว้แล้ว แต่ก็ยังโดนเก็บค่าบริการมหาโหด เป็นเงินหลายหมื่นบาท บางรายสูงเป็นแสน สองแสนบาทก็เคยเจอมาแล้ว

เรื่องนี้เลยเป็นปมปัญหา ที่ “โอเปอเรเตอร์มือถือ” ต้องรีบแก้ไขก่อนบานปลาย เพราะไม่เป็นผลดีกับทั้งผู้ใช้บริการและโอเปอเรเตอร์เอง เมื่อลูกค้าเจอ “บิลช็อก” มากๆ เข้าก็ไม่กล้าใช้บริการ โอเปอเรเตอร์ย่อมได้ผลกระทบทั้งความน่าเชื่อถือ และรายได้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  

ต้นตอปัญหา “บิลช็อก” เริ่มตั้งแต่สมาร์ทโฟนเป็นที่นิยม สิ่งที่ตามมาคือ ความต้องการใช้บริการ “แพ็กเกจดาต้า” เพราะลูกค้าต้องการออนไลน์ตลอดเวลา ไม่ว่าจะใช้งานในไทย หรือบินไปต่างประเทศ ทำให้โอเปอเรเตอร์ต้องออกแพ็กเกจ “ดาต้าโรมมิ่ง” ออกมารองรับ

แต่ด้วยคุณสมบัติของเครื่องสมาร์ทโฟนทีมักจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบอัตโนมัติ เพื่อให้อัพเดตข้อมูลได้ตลอดเวลา ก็เลยเกิดปัญหา “ดาต้าโรมมิ่งรั่ว” ขึ้น เช่น กรณีของดาต้าโรมมิ่งในต่างประเทศ ถ้าสมาร์ทโฟนไปเชื่อมกับเครือข่ายที่อยู่ในแพ็กเกจของโอเปอเรเตอร์ก็ไม่มีปัญหา 

ปัญหาอยู่ที่ว่าเครื่องเกิดไปเชื่อมกับเครือข่ายโอเปอเรเตอร์นอกแพ็กเกจ ค่าบริการก็เลยพุ่งกระฉูดทันที แม้จะเป็นแพ็กเกจ “อันลิมิเต็ด” ก็ตาม เพราะอยู่นอกข้อตกลงระหว่างโอเปอเรเตอร์  

เช่น  กรณีของเอไอเอส โอเปอเรเตอร์ที่อยู่ในแพ็กเกจของเอไอเอสในประเทศญี่ปุ่น คือ softbank หากเครื่องไปใช้นอกเครือข่ายของ softbank เช่น ไปใช้ของ NTT Docomo หรือ  Au by KDDI ก็อาจเกิดปัญหา “บิลช็อก” ตามมา 

ปัญหานี้ ผู้บริหารเอไอเอสบอกว่า ไม่ใช่บ้านเราเท่านั้น แม้แต่โอเปอเรเตอร์ต่างประเทศก็กำลังปวดหัว หลายรายจึงต้องพยายามหามาตรการต่างๆ ออกมาแก้ไข ส่วนใหญ่ใช้วิธีให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น เพื่อรับการแจ้งข้อมูลปริมาณการใช้งาน “ดาต้าโรมมิ่ง” เป็นระยะ 

เช่นเดียวกับโอเปอเรเตอร์มือถือไทยต้องหาทางแก้ปัญหา เอไอเอสเองพัฒนาบริการต่างๆ และปัญหามาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว มีทั้งแจ้งข้อมูลปริมาณการใช้ดาต้าโรมมิ่งผ่านทางSMSว่าใช้ไปปริมาณเท่าไหร่แล้ว ต่อมาก็ใช้วิธีออกแพ็กเกจ “ดาต้าโรมมิ่ง” ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะแบบไม่จำกัด หรือUnlimited Plan

รวมถึงการไปตั้งบูธที่สุวรรณภูมิ ให้คำแนะนำ พร้อมกับพัฒนาระบบ Single-Code Roaming Menu เพื่อให้ผู้ใช้บริการจัดการกับการใช้งาน Roaming ได้ด้วยตัวเองขณะที่อยู่ในต่างประเทศ 

จนกระทั่งล่าสุดเอไอเอสได้พัฒนาระบบบริการAIS Worry-Free Data Roamingขึ้นมา และครั้งนี้ถึงกับต้องจัดเต็มพาผู้สื่อข่าวกว่า 30 ชีวิต พร้อมกับผู้บริหาร บินไปทดสอบบริการนี้ถึงประเทศญี่ปุ่น เพราะเป็นหนึ่งในประเทศยอดนิยมที่คนไทยนิยมมาท่องเที่ยวมากที่สุด และมีการใช้บริการดาต้าโรมมิ่งมากเช่นกัน และที่สำคัญผู้บริหารเอไอเอสเชื่อว่าครั้งนี้แก้ปัญหาได้อยู่หมัดกว่าเดิม 

สมชัย เลิศสุทธิวงศ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด (CMO) บอกว่า ระบบนี้เอไอเอสพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าใช้บริการดาต้าโรมมิ่ง สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ตามแพ็กเกจที่สมัครใช้งาน 

ระบบจะมี 3 ฟีเจอร์หลัก

1.ส่ง SMS แจ้งเตือนให้ลูกค้าปริมาณการใช้ดาต้าโรมมิ่งเหลือไม่ถึง 1 เมกะบิต

2.กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้แพ็กเกจ Unlimited Data Roaming ระบบจะบล็อกทันทีเมื่อมีการจับสัญญาณของเครือข่ายที่ไม่ตรงกับเงื่อนไขของแพ็กเกจ

3.ให้ลูกค้าตรวจสอบการใช้งานดาต้าโรมมิ่ง หรือที่คงเหลือได้ฟรี 

บริการนี้รองรับระบบปฏิบัติการทุกประเภท ทั้งไอโอเอส, แอนดรอยด์, ซิมเบียน เริ่มใช้กับลูกค้าในระบบพรีเพด หรือรายเดือน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 3 ล้านรายก่อน จากนั้นจะพัฒนาไปยังระบบพรีเพด หรือบัตรเติมเงิน 

ไฮไลต์ของบริการนี้ คือ การมีระบบที่คอยจัดการให้อัตโนมัติและเรียลไทม์ ไม่ใช่แค่แจ้งเตือน แต่ถ้าสมาร์ทโฟนเกิดไปใช้งานดาต้าโรมมิ่งนอกเครือข่ายแพ็กเกจระบบจะบล็อกทันที โดยลูกค้าไม่ต้องดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น หรือสมัครใช้งาน เหมือนของโอเปอเรเตอร์อื่นๆ ที่พยายามแก้ปัญหามาก่อนหน้านี้  

 วีรชัย พัชโรภาสวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานบริการระหว่างประเทศ เอไอเอส เล่าว่า การลงทุนของบริการนี้ เป็นเรื่องการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์เป็นหลัก โดยแบ่งเป็น 2 เฟส เฟสแรก เป็นเรื่องการ “บล็อก” การใช้งานดาต้าโรมมิ่งแบบอัตโนมัติ เมื่อการใช้งานไม่ตรงตามเงื่อนไขของแพ็กเกจ โดยเฉพาะแบบ Unlimited และการแจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อใช้งานใกล้หมดแพ็กเกจ 

“ส่วนเฟสต่อไป จะพัฒนาให้ครอบคลุมการใช้งานดาต้าโรมมิ่งแบบที่ไม่มีแพ็กเกจ ทั้งหมด จะเริ่มให้บริการในปลายเดือนพฤษภาคมนี้ โดยจะบล็อกการใช้งานดาต้าโรมมิ่งอัตโนมัติเป็นหลัก และจะขยายผลไปยังอุปกรณ์ Tabletต่างๆ ต่อไป”

 ผู้บริหารของเอไอเอสยืนยันว่า เวลานี้เอไอเอสเปิดให้บริการดาต้าโรมมิ่งแล้วทั่วโลก ซึ่งทุกแห่งรองรับบริการ “Worry Free Data Roaming” ได้ทั้งหมดแล้ว 

ที่เอไอเอสต้องออกแรงมากเป็นพิเศษ เพราะเวลานี้ตลาดดาต้าโรมมิ่งกำลังขยายตัวไปพร้อมกับการเติบโตของสมาร์ทโฟน ไม่ใช่แค่นักธุรกิจเท่านั้นที่ต้องการใช้บริการดาต้าโรมมิ่ง  คนรุ่นใหม่ก็ใช้มาก ยิ่งกระแสนิยมท่องเที่ยวต่างประเทศ เพราะมี “โลว์คอสต์แอร์ไลน์” กระตุ้นการท่องเที่ยว บวกกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ต้องการออนไลน์ตลอดเวลา เมื่อมีสมาร์ทโฟนก็ยิ่งทำให้การเข้าถึงแอพพลิเคชั่นสะดวกขึ้น ไปเที่ยวที่ไหนก็อัพรูป ข้อความขึ้นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือไม่ก็แชตผ่าน Whatsapp หรือ Line  

นอกจากนี้ รายได้ของบริการดาต้าโรมมิ่งแม้ยังไม่มากแต่ก็ไม่น้อย อย่างปีที่แล้ว 2554 ทำรายได้ 3,500ล้านบาท ที่สำคัญเติบโตขึ้นทุกปี โดยปีนี้เอไอเอสคาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20-25%  

บริการ Worry Free Data Roaming จึงเป็นความหวังของเอไอเอสว่า ว่าจะดับไฟ ปัญหา “บิลช็อก” สร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้ได้ โดยเฉพาะคำยืนยันจากผู้บริหารเอไอเอสว่า หลังจากบริการนี้เริ่มใช้ตัวเลขของบิลช็อกลดลงอย่างชัดเจน

“เชื่อว่าเมื่อเปิดบริการครบทั้งหมดแล้ว ความกังวลเรื่องบิลช็อก ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาสำหรับเอไอเอสอีกต่อไป แต่การแก้ปัญหาก็ต้องร่วมมือกันทั้งโอเปอเรเตอร์และตัวผู้ใช้บริการเอง ผู้ให้บริการก็ต้องให้ข้อมูลที่จำเป็น และพัฒนาระบบต่างๆ ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานดาต้าโรมมิ่งได้โดยไม่เกิดปัญหา และตัวผู้ใช้บริการเองก็จำเป็นที่จะต้องเข้าใจในตัวบริการดาต้าโรมมิ่ง และการตั้งค่าอุปกรณ์โทรศัพท์ที่ใช้งานอย่างชัดเจนด้วยเช่นกัน”

นี่คือสิ่งที่ผู้บริหารเอไอเอสคาดหวังว่า ปัญหา “บิลช็อก” จะคลี่คลายไปในที่สุด 

]]>
14772
HTC ยิงชัตเตอร์สะกดลูกค้า https://positioningmag.com/14700 Sun, 06 May 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14700

 

“เหมือนจะแพ้ แต่ยังไม่แพ้” สำหรับ “เอชทีซี” ที่พยายามจนมีที่ยืนในตลาดสมาร์ทโฟน เพราะมาด้วยกลยุทธ์ที่บอกได้ว่า “โฟกัส” ชัด วันนี้แม้ยังไม่ใช่เบอร์ 1 แต่อย่างน้อยก็หนีจากเส้นตายมาได้แล้ว

เอชทีซี โนเกีย และแบล็คเบอร์รี่ (บีบี) แล้ว ถือเป็นแบรนด์มือถือที่มีชะตากรรมคล้ายๆ กัน ตรงที่เคยมีช่วงขาขึ้นและขาลง โดยเอชทีซีสไลด์ลงเมื่อปี 2010 พร้อมๆ กับโนเกีย และตามมาด้วยบีบี แต่เอชทีซีต่างกับทั้งสองแบรนด์ตรงที่กลับมาได้ดีในปี 2011 ส่วนอีกสองแบรนด์นั้นยังไม่มีข่าวดี

ทั้งนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2012 ไอดีซีได้รายงานผลยอดขายสมาร์ทโฟนของปี 2011 ที่ทำได้ทั่วโลก 491.4 ล้านเครื่อง หรือเติบโตรวม 61.3% เมื่อเทียบกับปี 2010 โดยเอชทีซีทำยอดขายเพิ่มขึ้น 100.5% ส่วนโนเกียตก 22.8% และบีบีเพิ่มแค่ 4.7%  

ผลมาจากปี 2011 เอชทีซีปรับ Brand Positioning ให้เป็นสมาร์ทโฟนสำหรับไลฟ์สไตล์มากขึ้น จากเดิมเน้นความเป็นสมาร์ทโฟนสำหรับกลุ่มเทคโนโลยี กลุ่ม Geek โดยกลับไปสู่รากของการตลาดอย่างตัว P Product ที่ใส่สิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ เช่น พัฒนาสมาร์ทโฟนบางรุ่นให้ความพิเศษโดยเฉพาะกลุ่มไฮเอนด์ให้กลายเป็นเครื่องเสียงชั้นดีด้วยหูฟัง Beats Audio ส่วนกลุ่มระดับกลางเน้นที่ราคาระดับเกือบหมื่นบาท

นอกเหนือจากการปรับโครงสร้างองค์กรโดยกลับมาเน้นตลาดที่ยังมีโอกาสเติบโตอย่างเอเชียที่มีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ เป็นหลัก ระดมทั้งทุนและคนบุกตลาดอย่างเต็มที่

แต่โจทย์ของเอชทีซียังมีอีกว่าจะไปต่อได้อย่างไรในปี 2012 นี้

 

ได้เวลารัวกล้องจับ Untapped Market

“นี่คือความเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงของโลกสมาร์ทโฟน” เป็นคำกล่าวที่ “เลนนาร์ด ฮูร์นิค” ประธานเอชทีซี  ประจำภาคพื้นเอเชียใต้ บอกหลังจากสาธิตคุณสมบัติเด่นของงานเปิดตัวเอชทีซี One X ท่ามกลางสื่อมวลชนไทยที่เดินทางไปงานเปิดตัวที่ประเทศสิงคโปร์ เขาเริ่มตั้งแต่การสาธิตคุณสมบัติกล้องของเครื่องเอชทีซี One Xที่สามารถถ่ายภาพได้ 99 ภาพ โดยกดชัตเตอร์ไว้ 2 วินาที ถ่ายวิดีโอพร้อมกับการได้ช็อตภาพนิ่ง แบบที่เรียกว่า VDO Pic  ไม่เพียงเท่านั้นยังทำ One X ตกพื้น เคาะมันลงกับโต๊ะ เพื่อแสดงความทนทานของวัสดุ

เล่าด้วยการโชว์นี้คือสิ่งที่เอชทีซีพยายามที่จะบอกว่า ในที่สุดแล้วโปรดักต์ที่แตกต่างในช่วงที่ตลาดต้องการแต่ยังไม่มีใครทำได้อย่าง Untapped Market คือยุทธศาสตร์ของเอชทีซี เป็นอีกก้าวหนึ่งที่ “เลนนาร์ด” บอกว่าได้จับพฤติกรรมคนใช้สมาร์ทโฟนปัจจุบันที่พบว่าอันดับ แรกนิยมใช้เฟซบุ๊ก สองคือโทร และสาม คือการถ่ายภาพ เพราะฉะนั้นการเน้นจุดขายเรื่องกล้องคือการมาถูกทางของเอชทีซีอย่างแน่นอน

สำหรับกลยทุธ์การตลาด “เลนนาร์ด” เชื่อว่าเมื่อลูกค้าเชื่อในตัวสินค้า ก็จะเกิดการบอกต่อที่ไม่ใช่แค่บอกเท่านั้น แต่ยังให้น้ำหนักในระดับการแนะนำที่จะทำให้ลูกค้าเชื่อในสินค้ามากขึ้น (Product Recommend) แน่นอนว่าแคมเปญการตลาดก็ต้องมี โดยเน้นไปที่การใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดีย และที่สำคัญคือการร่วมมือกับผู้ให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่เอชทีซีทำอย่างต่อเนื่อง

ณ วันนี้ “เลนนาร์ด” ย้ำชัดๆ อีกครั้งว่า เอชทีซีวาง Positioning ของตัวเองเป็นสมาร์ทโฟนที่เจาะตลาดในกลุ่มระดับกลางถึงบนเป็นหลัก ที่สำเร็จมาแล้วในปีที่ผ่านมา จนมียอดขายเติบโต 69.7% โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประเทศไทยเป็นตลาดสำคัญ และอยู่ในสถานการณ์ที่ดีขึ้น ดังนั้นเอชทีซีจึงมีแผนขยายการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง 

 

“ผู้บอกต่อ” ช่วยสร้างแบรนด์

แม้โปรดักต์จะต่างจากตลาดในเวลานี้ แต่ใครเล่าจะปฏิเสธเจ้าตลาดสมาร์ทโฟนอย่าง “ไอโฟน” ที่แบรนด์แข็งแรงจนมีสาวกอยู่ทั่วโลก 

“ซาร่า พาซ” ผู้อำนวยการอาวุโสการตลาดประจำเอเชียใต้ เอชทีซี บอกว่า 3 ปีที่แล้วแบรนด์เอชทีซีถือว่ายังเด็ก แต่ตอนนี้แข็งแรงกว่าเดิมจนเป็นท็อปแบรนด์  และแน่นอนว่านโยบายในระดับโลกก็มีความหวังอยากขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในตลาด 

สำหรับซีรี่ส์ One โดยเฉพาะ One X  แล้ว เป็นความมั่นใจล่าสุด เหมือนอย่างที่มีการตั้งชื่อซีรี่ส์นี้ว่า One ที่มีหลายความหมาย โดยเฉพาะการสะท้อนถึงคอนเซ็ปต์การทำตลาดที่ต้องการให้ผู้คนบอกต่อแบรนด์เอชทีซีจากคนหนึ่งไปสู่เพื่อนๆ ที่เป็นกลยุทธ์ที่ “ซาร่า” เชื่อว่าจะทำให้แบรนด์เอชทีซีแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ 

ทำไมคนที่ใช้ถึงแนะนำเอชทีซีต่อให้เพื่อน?  คำตอบของ “ซาร่า” นั้นสะท้อนถึงการทำตลาดแบบจับอินไซท์ของผู้บริโภคมาพูด คือผู้บริโภคปัจจุบันมีความเป็นตัวของตัวเอง แต่ละคนเป็นแบบตัวของตัวเอง แต่ถ้ามีสิ่งที่ดีก็พร้อมบอกต่อเพื่อน นี่คือเหตุผลที่เอชทีซีต้องนำ One X มาพูดในตลาดให้เสียงดัง ทำแคมเปญตลาดอย่างเต็มที่เพื่อช่วยพาอีก 2 รุ่นในซีรี่ส์ One คือ V และ S สู่ตลาดได้สำเร็จ  

 

จับให้อยู่ด้วย Retail Marketing  

“50% ของลูกค้าที่เตรียมซื้อสมาร์ทโฟน อาจเปลี่ยนใจซื้อแบรนด์ที่จุดขายเชียร์แทนที่แบรนด์ที่เตรียมมาในใจ” นี่คือสิ่งที่ทำให้ธุรกิจสมาร์ทโฟนต้องเร่งสร้างช็อป โดยเฉพาะพื้นที่ให้ลูกค้าได้ลองจับและใช้เครื่องอย่างเต็มที่ 

“พรรณประวีร์ กิวานนท์” ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ เอชทีซี ไทยแลนด์ บอกว่าทิศทางของเอชทีซีจึงเน้นรีเทลช็อปมากขึ้น โดยเตรียมเปิดเอชทีซีช็อปอีก 6 ช็อป จากปัจจุบันมี 8 ช็อป เพื่อให้ลูกค้าลองใช้  

เอชทีซีได้ประสบการณ์แล้วว่า แม้จะทำแคมเปญจนลูกค้ารู้จักอย่างดีแต่ถ้ารีเทลไม่แข็งแรงก็อดได้ยอดขาย เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับรุ่น Cha cha ที่ทำแคมเปญเต็มที่ทั้งทีวีซี อีเวนต์ ที่มี นท เดอะสตาร์ เป็นพรีเซนเตอร์ ด้วยงบหลายสิบล้านบาทมาแล้ว

สำหรับ One X แล้ว “พรรณประวีร์” บอกว่าได้เดินตามแคมเปญของบริษัทแม่ คือการใช้เซเลบริตี้ที่ไม่ใช่ดังในระดับแมส แต่ได้กลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ชัดเจน เพราะหากเป็นเซเลบฯ ที่ดังมากจะเหมือนไม่เป็นจริง และมีการทำกิจกรรมก่อนเปิดตัวในโซเชี่ยลมีเดีย อย่างการแจกเครื่อง 

สำหรับการบวนการสื่อสาร นอกจากทีวีซีแล้ว ยังมีสื่อนอกบ้าน ที่เน้นสื่อรถไฟฟ้าในเส้นทางที่นำไปสู่ ณ จุดขาย ด้วยงบการตลาดรวม 30-40 ล้านบาท จัดเป็นงบก้อนใหญ่สุดของงบตลอดทั้งปี 2012 ที่ตั้งไว้รวมประมาณ 200 ล้านบาท

ความพยายามของเอชทีซีสำหรับ One X ถือว่าได้ทุ่มพลังอย่างหนัก เพราะนี่คือโอกาสที่เอชทีซีจะอาศัย “ความต่าง” ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ความท้าทายอยู่แค่ว่า เวลาของเอชทีซีจะ นานแค่ไหน เพราะสนามนี้ต้องอย่าลืมว่าคู่แข่งไม่เคยหยุดนิ่ง ที่ผ่านมาเอชทีซีจึงเหมือนจะแพ้ แต่ยังไม่แพ้ แต่โอกาสชนะก็ยังต้องการเวลาอีกสักพัก

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

HTC One X Positioning สมาร์ทโฟนไฮเอนด์
กลุ่มที่ชอบถ่ายภาพ Pre Launch ประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนเปิดตัว
โดยจัดแคมเปญแจกเครื่องผ่านเฟซบุ๊ก 10 เครื่อง จนทำให้มีแฟนเพจใน MyHTC
เพิ่มขึ้น ประมาณ 3 หมื่นคนใน 1 สัปดาห์

Launch ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 30
เมษายน ที่สิงคโปร์ ในไทย 2 เมษายน
โดยมีเซเลบริตี้มาบอกเล่าประสบการณ์การใช้เครื่อง คือ อนันดา
เอเวอริ่งแฮม, โอ๋ ฟูตอง, ลูกน้ำ สุคนธ์ สีมารัตนกุล และ รักกิจ ควรหาเวช Marketing
Strategy Product recommend
โดยเริ่มจากเซเลบฯไปยังกลุ่มเพื่อน และ Experience Marketing ณ จุดขาย Communication

งบ 30-40 ล้านบาท ผ่านรีเทล
ทีวีซี สื่อกลางแจ้ง และโซเชี่ยลมีเดีย Product
Detail ชิปควอดคอร์ ความเร็วประมวลผล 1.5
GHz หน้าจอ 4.7 นิ้ว โอเอส แอนดรอยด์ 4.0 UI Sense 4.0 กล้อง 8 ล้านพิกเซล
วิดีโอพิค และระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง 99 ภาพ ความเร็ว 4 เฟรมต่อวินาที
ระบบเสียงภายใน Beats Audio ราคาเปิดตัว 21,900 บาท
วัสดุทนกับการตกกระแทกไม่มีรอยขีดข่วน เครื่องกันน้ำ

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

สถานะแบรนด์
HTC ในไทย Brand
Awareness 78% Brand
Consideration 58% Brand
Preference 29% Brand
Ownership 24% ที่มา :
เอชทีซี

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ผลสำรวจเรื่องความพึงพอใจในการใช้งานสมาร์ทโฟน

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>อันดับ

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>อันดับ/แบรนด์

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>คะแนน
1. แอปเปิล 839 2. เอชทีซี 798 3. ซัมซุง 769 4. โมโตโรล่า 758 5. แอลจี 733 6. แบล็คเบอร์รี่ 733 7. โนเกีย 702 8. ปาล์ม 697 style=”font-weight: bold;”>ที่มา : ผลวิจัยความพึงพอใจของลูกค้า
จาก J.D.Power ในมุมของคุณภาพ ดีไซน์ ความยากง่ายในการใช้งงาน สำรวจ 7,080
คน เมื่อกรกฎาคม-ธันวาคม 2011 โดยมีคะแนนเต็ม 1,000 คะแนน
ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 774 คะแนน

]]>
14700
Customer Account Centric แผนทรูฯ ต่อภาพให้สมบูรณ์ https://positioningmag.com/14376 Sat, 31 Dec 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14376

สำหรับกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีภาพที่หากเป็นจิ๊กซอว์แล้วถือว่ามีตัวต่อครบ เพราะมีธุรกิจครบวงจร ต่างจากบีทีที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ และ3 ของฮัทชิสัน 3G UK ที่จำกัดอยู่เฉพาะโทรศัพท์มือถือ แต่ ณ วันนี้ทรูฯก็ยังต่อภาพไม่แล้วเสร็จ

กลุ่มทรูฯ มีธุรกิจที่ครบตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์พื้นฐานที่ต่อยอดมาจนถึงบรอดแบรนด์ Wi-Fi และเคเบิลทีวี สิ่งที่ยังขาดสำหรับกลุ่มทรูฯ คือการทำแพ็กเกจที่ตอบสนองผู้บริโภคได้อย่างสมบูรณ์

นี่คือโจทย์ที่ทำให้กลุ่มทรูฯ ต้องวางแผนธุรกิจในปีหน้าที่เน้นความเป็น Customer Account Centric ซึ่งนอกเหนือจากการทำแพ็กเกจแต่ละบริการเพื่อตอบสนองลูกค้าแล้ว “ศุภชัย เจียรวนนท์” ซีอีโอกลุ่มทรูบอกว่า การทำระบบบัญชีเดียวของลูกค้าให้สมบูรณ์ เพื่อให้รู้ได้ทันทีว่าลูกค้า 1 คนใช้บริการอะไรอยู่บ้าง จะทำให้แก้ปัญหาลูกค้าได้อย่างถูกต้อง สามารถรู้ความต้องการของลูกค้า และนำเสนอผลิตภัณฑ์ได้ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง และในที่สุดจะทำให้ลูกค้า 1 คนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทรูฯ มากขึ้นจากปัจจุบันเฉลี่ย 1 คนใช้ 2 ผลิตภัณฑ์ เป็น 3-4 ผลิตภัณฑ์ในอนาคต

สิ่งที่เห็นจาก 3 ในความพยายามพัฒนาเครือข่ายมือถือให้เร็วขึ้น การนำเสนอผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า ไม่ต่างจากสิ่งที่กลุ่มทรูมูฟกำลังเดิน ไป ตั้งแต่ความพยายามมีเครือข่าย 3G ในปัจจุบัน กับนำเสนอุปกรณ์ต่างๆ อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตให้ลูกค้า หากจะมีเพิ่มเติมคือแพ็กเกจราคาที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

สำหรับบีทีที่มี BT Vision คล้ายกับทรูวิชั่นส์ มี Wi-Fi ทั่วประเทศถึง 3 ล้านจุดทั่วประเทศ  เทียบกับทรูออนไลน์แล้วยังมีเพียง 1 แสนจุด ซึ่ง “ศุภชัย” ยอมรับว่ายังถือว่าห่างไกลจากบีทีที่รวมพันธมิตรแล้วมี 3 ล้านจุด แต่ทั้งหมดก็เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มทรูฯ ได้เดินทางมาสู่ความพร้อมในธุรกิจนี้แล้วอย่างเต็มที่

 

เกี่ยวกับ 4G

LTE หรือ Long Term Evolution หรือที่รู้จักกันในระบบสื่อสารเคลื่อนที่ 4G ปัจจุบันมีบริษัทที่มีเปิดให้บริการทั่วโลก 20 บริษัท เช่น ในญี่ปุ่น แคนาดา อังกฤษ และบางประเทศในสแกนดิเนเวีย และมีอีกประมาณ 200 บริษัทใน 80 ประเทศประกาศสนใจลงทุน และมีแบรนด์เครื่องสมาร์ทโฟนที่เปิดตัวรองรับแล้ว เช่น เอชทีซี EVO 4G โมโตโรล่า Atrix

ความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลของระบบ 4G อยู่ที่ 100 Mbps. ขณะที่ 3G อยู่ที่ 42 Mbps. 4G จึงมารองรับความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่ เช่นการใช้งานมัลติมีเดีย ดูหนังที่ไม่ใช่หนังธรรมดา แต่ถึงขั้น HD และ 3 มิติได้อย่างสนุกสนาน

]]>
14376
3 เทรนด์เปลี่ยนโลกสื่อสาร https://positioningmag.com/14375 Sat, 31 Dec 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14375

หลายประเทศในโลกกำลังทดลองระบบโทรศัพท์มือถือ 4G รวมทั้งที่ประเทศอังกฤษ ที่ได้ผ่านจุดของการทำให้ 3G และ Wi-Fi ครอบคลุมอย่างทั่วถึงไปแล้ว  4G จึงถูกขับเคลื่อนเข้ามาอย่างรวดเร็ว และกำลังเป็นความเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในโลกของการสื่อสารที่มีผลต่อไลฟ์สไตล์ของผู้คน 

แม้ประเทศไทยกำลังอยู่ในจุดเริ่มต้นแค่ 3G แต่ความต้องการของผู้บริโภคคนไทยไปถึง 4G เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แน่นอนว่าคือความกดดันให้ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวและไล่ตามให้ทันกับความต้องการของลูกค้า

นี่คือแนวโน้มที่กำลังเป็น นอกเหนือจากการยืนยันในทิศทางธุรกิจที่ใช่ ที่กลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กำลังมุ่งไป หลังจากทีมผู้บริหารรับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์การปรับตัวทางธุรกิจสื่อสารในประเทศอังกฤษ จากบริษัทบริติช เทเลคอม หรือบีที และฮัทชิสัน 3G เจ้าของแบรนด์ “3” เมื่อช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา

เริ่มจากการมองเทรนด์ของธุรกิจสื่อสารกันก่อน ที่บริษัท Analysys Mason จากประเทศอังกฤษ บริษัทวิจัยข้อมูลด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีและมีเดีย หนึ่งในที่ปรึกษาของกลุ่มทรูฯ ได้บ่งบอกไว้ว่าความเปลี่ยนแปลงในธุรกิจสื่อสารในอนาคตจะมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

 

4G มาแล้ว สมาร์ทโฟนต้องสว่าง บาง เร็ว 

โลกในอนาคตจะเต็มไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ และนวัตกรรม อย่างอุปกรณ์มือถืออย่างสมาร์ทโฟน ที่จอต้องสว่างสดใส ประมวลผลเร็ว และบางเบา ส่วนนวัตกรรมอื่นๆ เช่น แอพพลิเคชั่นสโตร์จะมีแอพฯหลากหลาย จำนวนมาก

ส่วนเครือข่ายมีการพัฒนาความเร็วและการใช้คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันมีการพูดถึง LTE (Long Term Evolution พูดกันถึง 4G ที่มีความเร็ว 100 Mbps ส่วน 3G อยู่ที่สูงสุด 42 Mbps.) และ 5G ที่กำลังกำหนดมาตรฐานกันอยู่

4G คือเป้าหมายที่บริษัทโทรศัพท์มือถือทั่วโลกต้องไป เพื่อหนีเทคโนโลยีอื่นที่กำลังเบียดมาอย่างเร็ว โดยเฉพาะ Wi-Fi ที่ค่ายมือถืออย่างเช่นแบรนด์ “3” ของอังกฤษ มั่นใจว่าความเร็วของมือถือที่เร็วขึ้นในระบบ 4G จะตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ได้ นอกเหนือจากการพยายามทำให้ผู้บริโภคเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย อย่างเช่นสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต และล่าสุดกับอุปกรณ์สื่อสัญญาณ Mi-Fi Portbale ที่เชื่อมสัญญาณ Wi-Fi กับไอแพด โน้ตบุ๊ก และเครื่องเล่นเกมต่างๆ   

 

ผู้บริโภค Always on นาน และบ่อยขึ้น 

ผู้บริโภคนับจากนี้จะตอบรับอย่างรวดเร็วกับอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถเข้าถึงบริการสื่อสารข้อมูลและคอนเทนท์ต่างๆ ได้ จะทำให้เกิดภาพผู้บริโภคดังนี้

– อุปกรณ์ฉลาดจะเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคสื่อสารได้อย่างสะดวกทุกที่ ทุกเวลา 

– ผู้บริโภคจะทำสิ่งต่างๆ มากขึ้นบนมือถือ ทั้งการเข้าอินเทอร์เน็ต ส่งข้อความผ่านเครือข่ายมือถือ จากเดิมใช้ผ่านเครือข่ายมีสายเกือบ 100% และแนวโน้มความเร็วในการส่งผ่านเครือข่ายมือถือก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ที่ขณะนี้มีความเร็วสูงสุดที่ ออสเตรีย A1 ความเร็วที่ประมาณ 150 เมกะบิตต่อวินาที

– การใช้ข้อมูลผ่านมือถือจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อชีวิตผู้คน ใน 5 ปีข้างหน้าจะอยู่บนหน้าจอมือถือกันนานขึ้น 2.5 เท่าจากปัจจุบัน การใช้มือถือเพื่อการโทรกับการเข้าอินเทอร์เน็ตนั้นจะนานพอๆ กัน ยังไม่นับการส่งข้อความ เล่นเกม ดูวิดีโอ อ่านหนังสือ ที่จะรวมๆ แล้วเป็นกิจกรรม 90% ของกิจกรรมบนมือถือทั้งหมด

 

แชร์เครือข่าย ซิมเดียวตอบโจทย์

รูปแบบธุรกิจจะเปลี่ยนไป โดยผู้ให้บริการจะมีโมเดลใหม่ๆ เพื่อตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภค เช่น จากการโทรและเอสเอ็มเอสลดลงทำให้รายได้ส่วนนี้ลดลง ดังนั้นผู้ให้บริการจะมีแพ็กเกจค่าบริการดาต้าหลากหลายเพื่อดึงผู้บริโภคมากขึ้น และผู้ให้บริการจะตกลงร่วมมือกันมากขึ้นในการใช้เครือข่ายร่วมกัน 

ส่วนแพ็กเกจค่าบริการและการใช้ซิม แนวโน้มที่ผู้บริโภคชอบคือ “มัลติซิม” ที่ซิมเดียว แพ็กเกจราคาเดียว สามารถใช้กับอุปกรณ์ที่หลากหลายได้ ส่วนซิมแยกนั้นไม่เป็นที่ถูกใจผู้บริโภคอีกต่อไป 

 

โมเดลบีที Wi-Fi+TV+โทรสู้ 4G

จากเทรนด์นี้ กรณีตัวอย่างของ “บริติช เทเลคอม” หรือบีที คือบริษัทสื่อสารรายใหญ่ที่สุดของอังกฤษ ที่มีการปรับตัวอย่างชัดเจน แม้จะมีฐานจากความเป็นบริษัทของรัฐบาล และเติบโตจากธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐาน โดยไม่มีสิทธิลงทุนโทรศัพท์มือถือ แต่เมื่อธุรกิจมือถือเติบโตและผู้บริโภคต้องการอย่างไม่มีวันสิ้นสุด ทำให้คนเริ่มทิ้งโทรศัพท์บ้าน บีทีจึงไม่มีทางเลือกนอกจากปรับตัว

บีที เคยปรับตัวโดยให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์หรือเครือข่ายบรอดแบนด์ แต่เมื่อค่ายมือถือให้บริการ 3G ทำให้คนใช้อินเทอร์เน็ต สื่อสารข้อมูลผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ มากขึ้น บรอดแบนด์ของบีทีจึงเจอโจทย์ใหญ่อีกครั้ง และยากที่จะอยู่รอดยิ่งขึ้นหาก 4G เกิดขึ้น

ช่วงขยับแรงของบีทีคือเมื่อเดือนมิถุนายน 2010 ที่กลุ่มธุรกิจ บีทีรีเทลเปิดให้ใช้บริการ Wi-Fi แบบไม่จำกัดในแพ็กเกจบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต เจาะกลุ่มเป้าหมายคนใช้โมบายล์ดาต้า ทั้งผู้ใช้สมาร์ทโฟน ไอพอด แท็บเล็ต และโน้ตบุ๊ก โดยเฉพาะลูกค้าใหม่ที่บีทีเรียกว่า “เจนเนอเรชั่นไอแพด” ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่กลุ่มนี้จะนิยมใช้งานแท็บเล็ตผ่าน Wi-Fi มากกว่าเพราะค่าบริการถูกกว่า เมื่อเทียบกับ 3G โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีทางเลือกฟรี Wi-Fi ด้วย

การมีเครือข่าย Wi-Fi ให้ครอบคลุมมากที่สุดนั้น บีทีใช้วิธีการเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการ Wi-Fi รายอื่นๆ เช่น FON จนช่วงต้นปี 2011 มีเครือข่าย Wi-Fi 2.6 ล้านจุด และปัจจุบันมี 3 ล้านจุด

นอกจากนี้บีทียังหายุทธศาสตร์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเครือข่ายบรอดแบนด์ ด้วยสูตรของ “ทริปเปิลเพลย์”  คือให้บริการทีวีระบบบอกรับเป็นสมาชิกภายใต้แบรนด์ BT Vision ที่บีทีเพิ่งประกาศรีแบรนด์ พ่วงบริการบรอดแบนด์ Wi-Fi และโทร เช่น แพ็กเกจ TV Essential+บรอดแบนด์ และโทรแบบไม่จำกัด ค่าบริการเดือนละ 32 ปอนด์ หรือประมาณ 1,600 บาท ได้ดูทีวีตามแพ็กเกจพื้นฐานแบบบอกรับเป็นสมาชิก เช่น 70 ช่อง มีช่องรายการจากสกายทีวี มีทีวีออนดีมาน์ บรอดแบนด์แบบซูเปอร์ไฮสปีดความเร็วมากกว่า 40 Mbps  Wi-Fi ฟรี และโทรไม่อั้น จนล่าสุดบีที มีผลประกอบการที่ดีขึ้น โดยมี Wi-Fi เป็นความหวังที่สดใส

การปรับตัวของบีทีทำให้ค่ายมือถือไม่อาจหยุดนิ่งได้เช่นกัน ดังนั้นค่ายมือถือหลายรายจึงได้เริ่มทดสอบทางเทคนิคกับระบบ 4G ที่ทำความเร็วทิ้งห่างออกไปอีก และรอให้รัฐบาลเปิดประมูลเพื่อลงทุนเครือข่าย ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในปีหน้า และเปิดให้บริการได้ทั่วประเทศในปี 2015  

ความพยายามปรับตัวของผู้เล่นในธุรกิจนี้ที่อังกฤษ ทำให้เห็นชัดเจนว่าแม้จะมีอุปสรรค และมีการแข่งขันที่เข้มข้น แต่การพยายามหาโอกาส ก็จะเจอตลาดใหม่ๆ ได้ในที่สุด เพราะตลาดนี้ลูกค้าพร้อมที่จะรับเทคโนโลยีที่ดีกว่า เร็ว ง่าย และใช่ในสิ่งต้องการเสมอ

]]>
14375
TrueGS Home Shopping โอ้ พระเจ้า! คิมกำลังมาแทนจอร์จ https://positioningmag.com/14305 Wed, 30 Nov 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14305

โอ้ พระเจ้า! จอร์จ มันยอดมาก ประโยคที่ถูกนำมาหยอกล้อและใช้งานกันแพร่หลาย และเป็นที่รับรู้กันว่า กำลังสื่อถึงความหมายว่า สิ่งเหล่านั้นสุดยอด เป็นเลิศประมาณนั้น

ประโยคนี้หยิบยืมมาจากรายการโฮมช้อปปิ้งทางโทรทัศน์ ถ้าถามว่าแพร่หลายหรือไม่ ก็ต้องยอมรับว่าคนสนใจดูมาก แต่ด้วยการฉายวนซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า ทำคนดูจดจำได้ แต่ซื้อสินค้าหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

รายการโฮมช้อปปิ้งที่ดูกันในบ้านเรา ส่วนใหญ่เป็นรายการที่ผลิตในสหรัฐฯ หรือฝั่งยุโรป ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกตลาดด้านนี้ จนภายหลังมีรายการลักษณะเดียวกันจากเอเชีย มีทั้งจากจีน ฮ่องกง และเกาหลี

บริษัททรูวิชั่นส์ ผู้ให้บริการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก หรือเคเบิลทีวีรายใหญ่ ก็มีช่องรายการโฮมช้อปปิ้งแบบนี้มาฉายให้ดูอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกับฟรีทีวีทั่วไป

ทรูวิชั่นส์ไปเจอความใหม่ในรูปแบบการนำเสนอรายการโฮมช้อปปิ้งของเกาหลี จนสุดท้ายเจรจาร่วมทุนกันเรียบร้อยกับกลุ่ม GS Shop ของเกาหลี ตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อทำช่องโฮมช้อปปิ้ง สไตล์เกาหลี ตามเทรนด์ยอดนิยม ในช่อง 11 ของ UBC 

ไพบูลย์ ผู้พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัททรู จีเอส จำกัด บอกว่า การเจรจาร่วมทุนกับจีเอสมีการคุยกันมาตั้งแต่  7 ปีที่แล้ว แต่ไม่ได้ดำเนินการต่อ จนถึงเวลานี้ เป็นช่วงที่เหมาะสม ซึ่งทางจีเอสกำลังขยายตลาดในเอเชียมากขึ้น อีกทั้งตลาดโฮมช้อปปิ้งในบ้านเราก็ขยายตัว

เขาบอกว่า ตั้งความหวังไว้ว่าตั้งแต่เปิดช่องโฮมช้อปปิ้งตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงธันวาคม จะมีรายได้ 100 ล้านบาท และในปี 2555 คาดว่าจะสร้างรายได้ 800 ล้านบาท 

จะอธิบายรูปแบบของช่องโฮม ช้อปปิ้งของเกาหลี ด้วยการเปิดเทปรายการก็คงไม่ลึกซึ้ง และไม่ได้ความแปลกตา  ทรูวิชั่นส์เลยพาไปดูและรู้จักกับ จีเอส โฮมช้อปปิ้ง ที่เกาหลี  เพื่อให้ดูระบบการทำงาน และความแตกต่างของรายการประเภทนี้

จีเอส ช้อป เป็นบริษัทในเครือของ LG ที่เดิมทำธุรกิจเรื่องพลังงาน โดยเน้นหนักในเรื่องของน้ำมัน มีธุรกิจปั๊มน้ำมันกระจายอยู่ทั่วเกาหลีและเป็น 1 ใน 3 รายใหญ่ของเกาหลี  

นอกจากนี้ยังมีร้านสะดวกซื้อ GS 25, GS Supermarket Watson  กระจายอยู่ทั่วกรุงโซล เหมือนกับร้าน 7-11 ของซีพีในกรุงเทพฯ  

จีเอส โฮมช้อปปิ้ง เป็นผู้ขายสินค้าในรูปแบบโฮมช้อปปิ้งอันดับหนึ่งของเกาหลี และกำลังขยายออกไปต่างประเทศเช่นจีน อินเดีย และไทย

การผลิตรายการของจีเอสเน้นที่รายการสด โดยออกอากาศสดวันละ 20 ชั่วโมง ที่เหลือ 4 ชั่วโมงเป็นเทป และช่วงเวลาการเปลี่ยนฉาก มีสตูดิโอขนาดใหญ่ 3 ห้อง ใช้เวลาการเปลี่ยนฉากแต่ละช่วงรายการเพียง 1 ชั่วโมง

การขายสินค้าผ่นหน้าจอโทรทัศน์ของเกาหลีนิยมรายการสด เพราะรูปแบบที่ผลิตคือการทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในรายการ

เช่นการขายรองเท้าส้นสูง จะมีพิธีกรที่เป็นกูรูด้านรองเท้า ก็จะมาบรรยายสรรพคุณรองเท้าว่าสุดยอดขนาดไหน และมีคำแนะนำว่ารองเท้าที่กำลังเสนอขายนั้น เข้ากับสไตล์การแต่งตัวแบบไหน ใส่กับอะไรถึงสวย พร้อมๆ กับมีนางแบบขาสวย ยืนโฟสท่าให้เห็นเป็นระยะ

ผู้ชมที่สนใจจะมีส่วนร่วมด้วยการส่ง SMS เข้ามาในรายการ  ซึ่งคำถามจะขึ้นหน้าจอให้ผู้ชม และพิธีกรได้เห็นพร้อมกัน และพิธีกรก็จะตอบคำถามที่ส่งเข้มาอย่างละเอียด  แบบว่าเป็นที่ปรึกษาด้านการแต่งตัวให้กับผู้ซื้อโดยตรง

SMS ที่เข้ามาจึงเป็นการส่งข้อความที่สนใจจริงๆ ของผู้ซื้อ จะไม่มีข้อความประเภท

ลำปาง หนาวมาก หรือ วันนี้พิธีกรยิ้มน้อยไป หรือนางแบบขาสวย ที่นั่นเขาไม่นิยม หรือไม่ก็ถูกทีมงานตัดออกไปก็ได้ 

ความแปลกใหม่ที่ถูกนำมาใส่เข้าไปในรายการก็คือ ยอดการสั่งซื้อ จะมีแถบด้านล่างของจอที่แสดงผลการตอบรับของผู้ชมว่ามีกี่รายที่สนใจสินค้าที่กำลังขายอยู่ และการสั่งซื้อเป็นอย่างไร

นี่เป็นเหตุผลที่ต้องทำเป็นรายการสด เพราะสามารถให้พิธีกรช่วยเชียร์สินค้าได้ตรงเป้าหมายมากขึ้น หากเห็นสินค้ายอดขายไม่วิ่ง ก็ต้องเร่งปฏิกิริยา หรือใส่ลูกเล่นเพิ่มเข้าไปให้หนัก และอาจจะเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคที่ลังเล ตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น เมื่อเห็นยอดซื้อที่โชว์อยู่บนหน้าจอ

สินค้าที่ถูกนำมาเสนอขายในรายการ ไม่เน้นสินค้าเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างแว่นดา อีเกิลอายส์ หรือพวกแอปโดมิไนเซอร์ แต่เป็นสินค้าในชีวิตประจำวัน เสื้อผ้า เครื่องแต่งการ เครื่องสำอาง เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป และแม้แต่อาหารก็มีมาขาย ถ่ายทำรายการออกมาได้ชวนน้ำลายไหลเป็นอย่างมาก 

การขายสินค้าของที่นี่พัฒนาไปถึงขั้นขายประกันผ่านหน้าจอ และล่าสุดก็มีการทดลองขายที่พักอาศัยอย่างคอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ 

การออกอากาศของช่อง จีเอส โฮมช้อปปิ้งที่เกาหลีเป็นฟรีทีวี 3 ช่อง และเป็น IPTV อีก 2 ช่อง เรียกว่าขายกันตั้งแต่ลืมตาตื่น จนหลับตานอนเลยทีเดียว 

นอกจากนี้ยังขายผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต และแค็ตตาล็อก ในอนาคตกำลังพัฒนาขายสินค้าผ่าน Smart Phone ตามกระแสใหม่ที่เกิดขึ้นด้วย 

เมื่อสินค้าขายได้ ระบบการจัดส่งก็ต้องพัฒนาตามไปด้วย ช่องนี้รับประกันส่งให้ถึงบ้านภายใน 2 วัน และฟรี 

จีเอสโฮมช้อปปิ้งวางระบบคลังสินค้าและจัดส่งอย่างเป็นระเบียบ โดยคลังสินค้ขนาดใหญ่อยู่ที่เมืองอินชอน เป็นคลังสินค้าจากคู่ค้าต่างๆ และการนำส่งถึงบ้านผู้ซื้อ หน้าตาของคลังสินค้าเป็นโกดังขนาดใหญ่มีพื้นที่เก็บสินค้า จัดแพคลงกล่อง คัดแยกก่อนส่งไปแต่ละพื้นที่ตามคำสั่งซื้อ 

หากโฮมช้อปปิ้ง จะไม่มี Call Center คอยรับคำสั่งซื้อ หรือตอบปัญหาก็ถือว่าไม่ครบวงจร จีเอส ช้อป มีพนักงานคอลล์เซ็นเตอร์จำนวน 1,000 คน ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด 

คอลเซ็นเตอร์นี้ทำหน้าที่ทุกอย่างตั้งแต่ตอบคำถาม ขานสินค้า แก้ปัญหา รับคำชม และคำด่า 

อาคารคอลเซ็นเตอร์ ตั้งอยู่ในกรุงโซล พนักงานจะนั่งตามล็อกของตัวเอง ด้านหน้าคือหน้าจอคอมพิวเตอร์ สวมหูฟัง ปากก็พูดตลอดเวลา

ที่นี่เป็นคอลเซ็นเตอร์ที่ไม่ได้ยินเสียงกริ่งโทรศัพท์ดังสักครั้งเดียว แต่พนักงานทุกคนทำงานตลอดเวลา และเป็นการพูดอธิบายความ ขายสินค้าที่เงียบมาก มีเสียงพูดค่อยๆ เบาๆ เหมือนกับว่าพื้นที่ตรงนั้นมีคนอยู่ไม่ถึง 10 คน แต่ในความเป็นจริงพนักงานแต่ละชั้นไม่น้อยกว่า 200 คน 

สิ่งที่ทรูวิชั่นส์ต้องการให้เห็นก็คือ การทำรายการสไตล์เกาหลีจะเกิดขึ้นใน UBC เพราะได้ส่งทีมงานตั้งแต่โปรดิวเซอร์ ผู้ควบคุมรายการ ช่างภาพ พิธีกร มาอบรวม และเรียนที่สตูดิโอของจีเอส โฮมช้อปปิ้ง และช่วงแรกของการออกอากาศทางเกาหลีจะไปช่วยดูแลให้ด้วย

ทรูซื้อ Know-how ของเกาหลีมาต่อยอดในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่แล้ว เช่นช่องสัญญาณ ระบบการจัดส่ง ผ่าน 7-11 คลังสินค้า คอลเซ็นเตอร์ และสินค้าเครือซีพี แต่ขาดการนำเสนอที่น่าสนใจเท่านั้น 

ต่อไป จอร์จ  ก็คงถูกอารยะธรรม K-Pop กลืนหายไป 

ประโยคที่จะใช้ต่อไปอาจต้องพูดดังๆ ว่า

“โอ้ พระเจ้า ! คิม มันยอดมาก” 

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ส่วนแบ่งช่องโฮมช้อปปิ้งในเกาหลีปี
2010

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>บริษัท

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ยอดขาย
(พันล้านวอน)

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ส่วนแบ่งตลาด
(%)
GS Shop 7,992 27.4 CJO Shopping 7,110 24.3 Hyundai Home
Shopping 5,765 19.7 Lotte Home
Shopping 5,498 18.8 NS Home
Shopping 2,854 9.8

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

สินค้าที่ขายผ่าน
GS Shop ปี 2010

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ประเภท

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>สัดส่วน
(%)

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>โฮมช้อปปิ้ง
(%)

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”> อินเทอร์เน็ต
(%)

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”> แค็ตตาล็อก
(%)
เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

20 19 27 5 เครื่องครัว 14 15 11 17 เครื่องสำอาง 12 4 12 16 เสื้อผ้า 11 8 7 10 เฟอร์นิเจอร์ 8 7 8 7 เครื่องประดับ 7 5 2 7 การศึกษา 5 3 3 5 ประกัน 4 2 5 2 ชุดชั้นใน 4 5 6 2 เครื่องนอน 3 15 10 6 บริการต่างๆ 3 11 8 25

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

กลุ่มลูกค้าหลักที่ซื้อสินค้าผ่านช่องทาง
GS Shop ปี 1996-2010

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ช่องทางการซื้อ

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”> เพศ

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”> ระดับอายุ
(ปี)
โฮมช้อปปิ้ง หญิง 30-40 อินเตอร์เน็ต หญิง 20-30 แค็ตตาล็อก หญิง  40-50

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ผู้ถือหุ้นบริษัททรูจีเอส

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>บริษัท

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>สัดส่วน
(%)
ทรูวิชั่นส์ 45 จีเอส ช้อป
เกาหลี 35 เดอะมอลล์
กรุ๊ป 10 ซีพี
ออลล์  10 ***
ทุนจดทะเบียน
240 ล้านบาท

]]>
14305
Canon Expo จุดเริ่มต้น Asia Model https://positioningmag.com/13924 Sun, 10 Jul 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13924

ภาพถ่าย 1 ใบ ไม่ได้มีความหมายเฉพาะภาพที่ปรากฏให้เห็นเพียงอย่างเดียว สิ่งที่ไม่ได้เห็นในภาพยังคงมีเรื่องราวอยู่เช่นกัน

งาน Canon Expo ของผู้ผลิตกล้องถ่ายภาพรายใหญ่เช่นแคนนอน คือภาพถ่ายใบใหญ่ที่มีความหมายทั้งทางตรง และนัยรวมกันอยู่ในภาพถ่ายใบเดียว

การเลือกประเทศจีนเพื่อจัดงานแคนนอน เอ็กซ์โปร์ คือการสะท้อนให้เห็นภาพถึงการเติบโตของตลาดกล้องถ่ายภาพในเอเชียที่มีศักยภาพมากพอที่จะแซงหน้าภูมิภาคอื่นๆ ที่เคยเป็นตลาดของกล้องถ่ายภาพมาก่อน และน่าจะเป็นตลาดที่เติบโตและมีกำลังซื้อมากที่สุดในยุคนี้

การเดินสายจัดงาน แคนนอนเอ็กซ์โป เริ่มต้นที่นิวยอร์ก ปารีส โตเกียว และเซี่ยงไฮ้ โดยการเดินสายจัดงานนี้ ไม่เคยมีการจัดงานในเอเชียมาก่อน และนี่คือครั้งแรกที่จัดในเอเชีย

แคนนอน เอ็กซ์โป จัดที่เมืองเซี่ยงไฮ้ สถานที่จัดงานเวิลด์ เอ็กซ์โป ครั้งล่าสุดที่เพิ่งผ่านพ้นไป โดยตัวงานหลักจัดที่ Shanghai International Convention Center ซึ่งเป็นสถานที่รวมความเป็นมา และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของแคนนอนตั้งแต่เริ่มต้นมาไว้ด้วยกัน รวมกับเทคโนโลยี่ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น มาแสดงด้วย

แคนนอนเชิญสื่อมวลชนในเอเชียประกอบด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนิเซีย เวียดนาม และไทย ประเทศละ 6 ฉบับ ยกเว้นมาเลเซียที่เชิญมา 12 ฉบับ ส่วนนี้ไม่รวมสื่อมวลชนของจีนเองที่ได้รับเชิญมาร่วมงานด้วย

นอกจากนี้ยังมีตัวแทนจำหน่าย พันธมิตร ดีลเลอร์ ที่จำหน่ายกล้องแคนนอนของแต่ละประเทศในเอเชียที่ได้รับเชิญมาร่วมงานนี้ด้วย ซึ่งในส่วนของบ้านเราเอง ตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ๆ ก็เดินทางไปร่วมงานด้วยเช่นกัน

แต่ละประเทศเดินทางออกจากประเทศของตัวเอง แล้วไปพบเจอกันที่เซี่ยงไฮ้ ก่อนที่จะเข้าร่วมงานแคนนอนเอ็กซ์โปพร้อมกัน

ในเซี่ยงไฮ้ตั้งแต่ออกจากสนามบิน จะเห็นป้ายงานแคนนอนเอ็กซ์โป รวมถึงเห็นหน้า แจคกี้ ชาน หรือ เฉินหลง แบรนด์แอมบาสเดอร์ของแคนนอน อยู่บนป้ายชื่องานเป็นระยะ

แคนนอนให้ความสำคัญกับงานแคนนอน เอ็กซ์โป ในระดับสูงมาก เพราะถือเป็นงานแรกที่จัดในเอเชีย ที่แคนนอนประเมินและกำหนดทิศทางแล้วว่า ตลาดเอเชียจะเป็นเป้าหมายหลักที่ต้องบุก และเก็บเกี่ยวให้ได้มากที่สุด

งานวันแรกคือการเปิดงานอย่างเป็นทางการ โดยมี Fujio Mitarai Chairman&CEO Canon Inc. มาเป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงในภูมิภาคเอเชียของแคนนอน และ แจ็คกี้ ชาน แบรนด์แอมบาสเดอร์ของแคนนอนก็มาร่วมด้วย

ผู้มาร่วมงานให้ความสนใจเฉินหลงมากกว่าประธานแคนนอนเสียอีก ซึ่งตามสไตล์ของดาราดัง เฉินหลงก็มีมุกเล็กๆ น้อยบนเวที ด้วยการควักกล้องดิจิตอลแคมแพค ขึ้นมาถ่ายรูป บนเวที แน่นอนว่ากล้องตัวนี้ต้องแบรนด์ Canon

หลังจากเปิดงานเรียบร้อย ขบวนที่ใหญ่ที่สุดก็คือกลุ่มที่ติดตามเฉินหลง ทั้งนักข่าว ช่างภาพ ทีมงาน เดินตามกันขบวนใหญ่ แต่เมื่อเจอกับกลยุทธ์ของเฉินหลงเข้าก็แทบหลุดเหมือนกัน

เฉินหลง คิดว่าตัวเองถ่ายภาพยนตร์เรื่องวิ่งสู้ฟัด ภาคพิเศษ เพราะตลอดการเดินชมบูธแคนนอนในงาน เฉินหลงเดินได้รวดเร็วมาก และไม่ได้หยุดนิ่งให้ถ่ายภาพแบบสงบๆ แม้แต่น้อย

เดินๆ วิ่งๆ อยู่ตลอดเวลา แต่ความเป็นมืออาชีพของเฉินหลงก็คือ เมื่อทำหน้าที่

แบรนด์แอมบาสเดอร์แล้วก็ต้องทำหน้าที่ถ่ายคู่กับสินค้าแคนนอนบ้าง

เขาก็พร้อมที่จะหยุดถ่ายภาพกับสินค้าแคนนอน เอื้อมมือไปจับ พลิกมาให้เห็นแบรนด์ แล้วก็วาง ขั้นตอนทั้งหมดนี้ใช้เวลา 5 วินาที ชั่วเพียงอึดใจ ไม่มีการเทคหรือถ่ายใหม่

มีเพียงวูบเดียว แล้วเฉินหลงก็ออกเดินแกมวิ่งต่อไป

แคนนอนแบ่งจัดงานในอาคารนี้ตั้งแต่ชั้นที่ 1 ซึ่งเป็นส่วนของทางเข้างาน ซึ่งผู้ที่เข้าชมงานนี้มีทั้งที่ลงทะเบียนล่วงหน้า และมาลงทะเบียนหน้างาน สิ่งที่แตกต่างระหว่างผู้ชม 2 กลุ่มนี้คือ เอกสาร และของที่ระลึกจะแตกต่างกันไป

ในชั้นที่ 1 นี้ ยังจัดเป็นโซนของส่วนงานพิมพ์ สินค้าและเทคโนโยลีใหม่ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา ยังไม่ไดออกมาจำหน่ายจริง ซึ่งมีตั้งแต่มอนิเตอร์ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล และภาพยนตร์ 4K ที่มีรายละเอียดมากว่าระบบ 3 มิติ และชมได้โดยไม่ต้องใส่แว่นตา

กล้อง Mutipurpose หน้าตาล้ำสมัย แต่ตัวใหญ่มาก ที่สามารถถ่ายภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ที่มีคุณภาพระดับสูง

นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อาจจะถูกนำมาบรรจุไว้ในผลิตภัณฑ์ของแคนนอนในอนาคตก็ได้ และบางตัวก็ถูกใช้แสดงในงานเวิลด์ เอ็กซ์โป ในบูธของแคนนอนก็นำกลับมาให้ได้เห็นอีกครั้งหนึ่ง

ชั้นที่ 3 เป็นโรงภาพยนตร์ ฉายภาพยนตร์ที่ถ่ายจากกล้อง Canon DV ซึ่งมีผู้กำกับชื่อดังของจีนคือ Jiang Wen ในเรื่อง The Match ฉายให้ดูกัน พร้อมกับมีเวิร์คช็อป และสัมมนาเกี่ยวกับการถ่ายภาพด้วย

ชั้นที่ 7 คือการรวมทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับเทคโนโลยีการถ่ายภาพของแคนนอนตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน สินค้าเกี่ยวกับการถ่ายภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวของแคนนอนถูก บรรจุอยู่ในชั้นนี้ ผู้ที่เป็นสาวกแคนนอนเห็นแล้วคงตัดใจเดินจากไปได้ยาก

สินค้ากล้องและอุปกรณ์ต่างๆ หยิบจับ สัมผัส ทดลองได้ เลนส์แคนนอนคุณภาพสูงในรุ่น L กระบอกอวบๆ สีขาว วางเรียงเป็นแถวให้ได้ทดลองส่อง ทดลองจับกันดู

ทุกบูธของสินค้าแคนนอน ก็จะปรากฏถาพและเสียงของเฉินหลงขึ้นมาในจอด้านหน้าของบูธ เพื่อทักทายและขอบคุณที่มาร่วมงาน ใช้ได้คุ้มค่าสำหรับแบรนด์แอมบาสเดอร์

ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่อยู่ในงานแคนนอน เอ็กซ์โป อาจจะเห็นถึงสินค้า เทคโนโลยีใหม่ๆ ของกล้องถ่ายภาพ แต่อีกด้านหนึ่งก็ทำให้เห็นว่า แคนนอนเอาจริงกับตลาดจีนและเอเชียอย่างไร

Hideki Ozawa Managing Director of Canon Inc. และ President, Canon Asia Marketing Group พร้อมกับควบตำแหน่ง CEO, Canon China ซึ่งถือว่าเป็นแม่งานในการจัดงานนี้ บอกอย่างชัดเจนถึงจุดยืนของแคนนอนในตลาดจีน เอเชียว่า บริษัทมีฝ่ายขายทั้งหมด 8 บริษัท มีสินค้า 8 ตัว ที่เรียกว่าเป็น “กลยุทธ์เอเชีย” สิ่งที่แคนนอนจะทำ คือ พยายามมองหาช่องทางและโอกาสจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจและตลาดในเอเชีย โดยตลาดและเศรษฐกิจเอเชียนั้นนับว่ากำลังเติบโตเร็วกว่ายุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น

ด้วยขนาดของตลาดที่มีขนาดใหญ่ กำลังซื้อที่มีมากขึ้น เขาเน้นถึงราคาที่เหมาะสมที่ผู้บริโภคสามารถซื้อได้ ราคาเหมาะสมไม่ได้หมายความว่าราคาถูก แต่การตั้งราคาอยู่ในระดับที่ลูกค้าสามารถซื้อได้โดยไม่มีปัญหา

“สินค้าของเราได้รับการออกแบบให้ตอบสนองความชอบและความต้องการของคนเอเชีย โดยเรามีสินค้าบางรุ่นที่จำหน่ายเฉพาะในเอเชีย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เราก็ยังมีความต้องการที่จะเข้าถึงผู้คนในเอเชียอีก 4.1 ล้านคน สิ่งนี้ทั้งหมดคือกลยุทธ์ในทวีปเอชียของเรา”

สิ่งที่ Hideki Ozawa อธิบายคือการสร้าง Asia Model ของสินค้าแคนนอนเช่นกล้องถ่ายภาพ ที่ตอบสนองการใช้งานของคนเอเชียตลาดหลักของแคนนอนในขณะนี้ และตลาดที่หวังมากที่สุดก็คือตลาดจีน ด้วยประชากร และการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบนี้ ยอดขายเพียง 10% ของประชากรจีน ก็ท่วมท้นแล้ว

ผู้บริหารระดับสูงของแคนนอนที่มางานนี้ ประสานเป็นเสียงเดียวกันถนนทุกสายกำลังมุ่งมาที่เอเชีย โดยมีจีนเป็นเป้าหมายหลัก และงานหนักของแคนนอนจากนี้ไปคือการสร้างแบรนด์แคนนอนให้เป็นที่รู้จักในจีนมากขึ้น และต้องเป็นการรู้จักแบรนด์ในฐานะที่เป็นชื่อ Canon ด้วย ไม่ใช่ชื่อในภาษาจีน

เป้าหมายสำคัญของแคนนอนคือ ตั้งเป้ายอดขายในปี 2015 ไว้ที่ 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ และรายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายในเอเชีย

ดูจากการวางเป้าหมาย และการทำงานแล้ว เป้าหมายที่แคนนอนวางไว้ไม่ใช่เรื่องไกลเกินเอื้อม ด้วยความหลากหลายของไลน์สินค้า การเพิ่มการพัฒนาในสินค้ากลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องทั้งเครื่องพิมพ์ เครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งหลายๆ คนไม่รู้มาก่อนว่าแคนนอนอยู่ในธุรกิจกลุ่มนี้ด้วย

ภาพที่ชัดเจนที่สุดของแคนนอนในช่วงจากนี้ไป คือการโฟกัสตลาดเอเชียอย่างเข้มข้น และรุกในทุกตลาดที่แคนนอนมีสินค้าอยู่ พร้อมๆ กับพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับตลาดเอเชีย โดยใช้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่สินค้าเป็นตัวกำหนด

นโยบายที่ถูกกำหนดมาจากบริษัทแม่ จะถูกกระจายไปตามแคนนอนในแต่ละประเทศ เพื่อนำไปปฏิบัติ แต่รายละเอียดจะเป็นการกำหนดทิศทางของแต่ละแห่ง โดยยึดแนวทางหลักที่ได้ประกาศออกมาในงานนี้

แคนนอน เอ็กซ์โปร์ นอกจากเป็นการบ่งบอกเรื่องราวตัวตนของแคนนอนที่เห็นกันอยู่ทั่วไปแล้ว ยังเป็นบอกถึงภาพที่อยู่ด้านหลังว่ามีความหมายอย่างไร และแคนนอนจะเดินไปสู่จุดไหน

ประมาณการยอดขาย Canon ในเอเชีย
ประเทศ มูลค่า เป้าหมาย(พันล้าน) ปี
Canon China US$ 10 2016
Canon Hong Kong HK$ 10 2016
Canon Philippine PESO 10 2016
Canon Thailand BAHT 10 2012
Canon Taiwan NT$ 10 2014
Canon Singapore SIN$ 1 2016
Canon India US$ 1 2015
Canon Malaysia RM$ 1 2012
    CAMG Action Plan

  1. Improve the sales and service power & structure
  2. Implement the Differentiated marketing
  3. Strengthen Customer Delight
  4. Further develop emerging countries ( VICTI)
  5. Develop emerging products
  6. Enhance the relationship with business partners
  7. Enhance Canon Branding Awareness&Image
  8. Corparate and Social Reponsibility (CSR-HSR)
การจัดงาน Canon Expo ในประเทศต่างๆ
เมือง เวลา ปี
New York September 2010
Paris October 2010
Tokyo november 2010
Shanghai May 2011
กำหนดจัดงาน 5 ปีครั้ง เริ่มที่สหรัฐเป็นแห่งแรก
]]>
13924
“ส่งออกนิวเคลียร์” วาระแห่งชาติ https://positioningmag.com/13606 Wed, 30 Mar 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13606

ในอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าระดับโลก สินค้าที่กำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือดคือเทคโนโลยีและอุปกรณ์สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ประเทศเจ้าของเทคโนโลยีต้องทำตลาดทั้งระดับรัฐต่อรัฐ และระหว่างเอกชนกับเอกชน

เหมือนอย่างเมื่อครั้งที่ผู้แทนการค้าของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งตัวแทนของบริษัทเวสติ้งเฮาส์เข้าพบ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรีของไทย “เวสติ้ง” ได้แสดงความพร้อมจำหน่ายอุปกรณ์และเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้ไทย หลังจากทำตลาดได้แล้วในจีน หรือกรณีในเวทีการประชุมอาเซียนที่นายกรัฐมนตรีเวียดนาม และญี่ปุ่นพบกันก็ได้พูดถึงโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ร่วมกัน

มหาอำนาจทางพลังงานในด้านนิวเคลียร์ต่างมองเห็นโอกาสของธุรกิจนี้ในการส่งออกมายังประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะเชื้อเพลิงที่ใช้เริ่มจำกัดไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าทั่วโลกมีมากขึ้น

ประเทศที่เป็นต้นตำรับของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นต้องยกให้กับฝรั่งเศส ฟินแลนด์ และรัสเซีย
เพราะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาแล้วหลายทศวรรษ ในเอเชียมีญี่ปุ่น และที่กำลังมาแรงคือเกาหลีและ จีน

ขณะที่ประเทศในแถบเอเชียต่างมีแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเฉพาะใกล้ไทยอย่างมาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงเป็นวาระแห่งชาติของทั้งประเทศมหาอำนาจ และประเทศที่พร้อมจับมือกับพี่ใหญ่ของโลก ด้วยเม็ดเงินมหาศาลในการก่อสร้างไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท

]]>
13606
พรีเซนต์ดี ก็เคลียร์ได้กว่าครึ่ง https://positioningmag.com/13605 Wed, 30 Mar 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13605

จุดเด่นการนำเสนอสินค้าอยู่ที่การพรีเซนต์ ในกรณีนี้ญี่ปุ่นสามารถลดโทนความตึงเครียดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ “เกนไก” ที่เต็มไปด้วยข้อมูลทางด้านเทคนิค ข้อมูลข้อถกเถียงเรื่องผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบได้ด้วยรูปแบบ และองค์ประกอบที่แนบเนียน

จากอาคารขาวฟ้า เมื่อเดินเข้าไปจะพบพนักงานทำหน้าที่ต้อนรับผู้มาเยือนศูนย์ประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกนไกตั้งแต่ทางเข้าที่เป็นห้องโถงโปร่งโล่ง มีตุ๊กตาจำลองรูปทรงมาจากถังบรรจุแกนเครื่องปฎิกรณ์ และหลายคนเข้าไปถ่ายรูปคู่ ราวกับเป็นศูนย์การแสดงความบันเทิงมากกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ด้านในยังพิพิธภัณฑ์ มีส่วนของหุ่นจำลองเตาปฎิกรณ์เท่าของจริง แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และการทำงานของเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ มีชั้นที่มองเห็นบริเวณกว้างของโรงไฟฟ้า และโชว์เรือนกระจกของพืชเมืองร้อนที่แสดงถึงระบบปรับอากาศที่ใช้ประโยชน์จากไอน้ำของโรงไฟฟ้า
ครบสูตรของความเป็นญี่ปุ่นด้วยบริการตรายางประทับเป็นที่ระลึกที่ดีไซน์ย้ำตัวตนของที่แห่งนี้ว่าเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

อย่างไรก็ตาม การพรีเซนต์คือเปลือกนอกที่ดึงความสนใจผู้มาเยือนเท่านั้น เบื้องหลังของ Show Caseนี้ยังมีเรื่องของยุทธศาสตร์สไตล์ญี่ปุ่น ที่นำมาสู่การมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วประเทศ แม้บางแห่งจะมีผู้ต่อต้านอยู่ แต่ดูเหมือนว่าเสียงนั้นจะเบา และรัฐบาลญี่ปุ่นก็เดินหน้าเต็มที่ เพราะไม่เพียงแต่เป็นพลังงานใช้ในประเทศเท่านั้น แต่คืออนาคตของสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ

]]>
13605
โมเดล 3T สไตล์ญี่ปุ่น กลยุทธ์เพื่อ “นิวเคลียร์” https://positioningmag.com/13596 Wed, 30 Mar 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13596

อาคารขนาดกลางสีฟ้าขาว ลวดลายดูสดใส มีเรื่องราวให้ผู้คนได้ค้นหาอยู่ภายในด้วยห้องจัดนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม รวมไปถึงหุ่นตุ๊กตาน่ารัก ที่ไม่เพียงเด็กอยากถ่ายรูปด้วย แต่ผู้ใหญ่หลายคนก็อดใจไว้ไม่ได้

ที่นี่ไม่ใช่สวนสนุก หรือศูนย์เรียนรู้ แต่ด้านหลังของอาคารแห่งนี้ คือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ “เกนไก” ของบริษัทไฟฟ้าคิวชิว จังหวัดซางะ ประเทศญี่ปุ่น

แต่ละวัน “เกนไก” จะมีผู้มาเยือนเฉลี่ยประมาณ 500 คน ในปี 2009 มีเกือบ 200,000 คน ทั้งตัวแทนรัฐบาล และนักท่องเที่ยว ที่มาดูงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นอกจากแผนกต้อนรับในชุดฟอร์มสดใสสีชมพูแล้ว เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคของ “เกนไก” ในชุดป้องกันรังสีก็ต้องนำทัวร์รอบ ๆ โรงไฟฟ้า

ไม่ต่างจากโรงไฟฟ้าประเภทอื่นของญี่ปุ่น ทั้งถ่านหินลิกไนต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลม ที่มีแขกมาเยือนตลอดเวลา เป็น How to ให้หลาย ๆ ประเทศศึกษา และที่สำคัญเป็น Show Case ให้ประเทศคู่ค้าสนใจสั่งซื้ออุปกรณ์และการก่อสร้างโรงไฟฟ้า จนถือเป็นสินค้าส่งออกมูลค่าสูงที่สำคัญของญี่ปุ่น ซึ่งรวมทั้งประเทศไทย ที่ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายของญี่ปุ่น

จากประสบการณ์ในสายพลังงานมานานกว่า 40 ปีของ “สุพิณ ปัญญามาก” อดีตผู้บริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารสาธารณะ สำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์บอกว่า ประเทศญี่ปุ่นสามารถสร้าง Positioning ตัวเองได้ชัดเจนในการเป็นผู้ส่งออกสินค้าพลังงาน และหลายประเทศใช้เป็นตัวอย่าง รวมทั้งประเทศไทย จาก 2 องค์ประกอบหลักคือ

1.เป็นประเทศที่สามารถกระจายการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าได้เหมาะสม เช่น ถ่านหิน ลิกไนต์ พลังน้ำ ลม นิวเคลียร์ เฉลี่ยประเภทละ 25% ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงเมื่อเชื้อเพลิงใดขาดแคลน แม้บางอย่างจะมีความเสี่ยงอย่างนิวเคลียร์ แต่ญี่ปุ่นก็ไม่มีทางเลือกด้วยทรัพยากรอื่นมีจำกัด และเป็นเมืองหนาวที่จำเป็นต้องมีพลังงานเพียงพอ หรือแม้แต่พลังงานลมที่ผลได้ไม่คุ้ม แต่ญี่ปุ่นก็หวังในเรื่องของการขายเทคโนโลยีมากกว่า

2.การจัดการในการสร้างความยอมรับ โดยเฉพาะกับชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า ที่แม้จะไม่ได้รับการยอมรับ 100% แต่ก็ถือเป็นประเทศที่มีวิธีที่น่าสนใจ

ญี่ปุ่นได้ใช้ 3T คือ Truth คือการให้ข้อมูลความจริง Transparency ความโปร่งใสของการก่อสร้าง ความมีส่วนร่วมของชุมชน และ Trust ความเชื่อมั่นต่อการบริหารจัดการในความปลอดภัย

เจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกนไก เล่าว่านอกจาก 3T แล้วรัฐบาลท้องถิ่นต้องพูดคุยกับชุมชนโดยรอบ และนำรายได้จากการขายไฟฟ้าส่วนหนึ่งสมทบกองทุนความเสี่ยงในการประมง และช่วยเหลือประชาชน นอกเหนือจากนี้โรงไฟฟ้าเองยังจัดสร้างอาคารเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่โดยรอบโรงไฟฟ้ารัศมีประมาณ 5 กิโลเมตรมาใช้ประโยชน์ มีการปรับปรุงโรงเรียนโดยรอบ

แม้ระบบการจัดการ 3T จะทำอย่างเป็นระบบ แต่ทั้งหมดใช้เวลาหลายปีกว่าจะสามารถสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้

บทเรียนของญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่ “สุพิณ” บอกว่า ประเทศไทยสามารถนำมาปรับใช้ โดยเฉพาะระบบการบริหารชุมชนรอบพื้นที่ ซึ่งกลยุทธ์การพีอาร์กับชุมชนในพื้นที่นี้ ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องเข้าไปสร้างโรงงานในพื้นที่ที่จะมีผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ

สำหรับประเทศไทยแนวคิดเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เริ่มมาตั้งแต่ปี 2509 มีการล้มและฟื้นแผนแล้วหลายครั้ง และล่าสุดรอคณะรัฐมนตรีอนุมัติเลือกพื้นที่ก่อสร้าง 3 ในจำนวน 5 จังหวัด คือจ.ตราด จ.สุราษฎร์ธานี ใน 2 อำเภอคือท่าชนะ และไชยา จ.ชุมพร จ.นครสวรรค์ ท่าตะโก และจ.อุบลราชธานี ด้วย

หลายปีที่ผ่านมาทีมงานของ “สุพิณ” จึงพยายามเล่าข้อมูลผ่านสื่อถึงข้อดีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และการเข้าถึงผู้นำของกลุ่มสังคมต่างๆ ตั้งแต่ผู้นำชุมชน สื่อ โดยเฉพาะวิทยุชุมชน ไปจนถึงพระสงฆ์ รวมไปถึงการทำโพลผ่านรายการ เรื่องเล่า เสาร์-อาทิตย์ ของ “สรยุทธ สุทัศนะจินดา”

“สุพิณ” บอกว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังมีภาพที่เป็นบาดแผลลึกโดยเฉพาะเมื่อปี 2529 ที่เชอร์โนบิล สหภาพโซเวียต หรือยูเครนในปัจจุบัน เป็นเหตุการณ์ที่ยากจะลืม เพราะมีผู้เสียชีวิตทันที 31 คน และบาดเจ็บจากกัมมันตภาพรังสี 203 คน ต้องอพยพผู้คนจากพื้นที่รัศมี 30 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีเรื่องความรู้สึกไม่ไว้วางใจมาตรฐานแบบไทยๆ ว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ในการดูแลโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดังนั้นเรื่องนี้สำหรับเมืองไทยจึงไม่ใช่เรื่องง่าย และคงต้องใช้เวลาอีกนาน

แหล่งพลังงานของการผลิตไฟฟ้า
ไทย
ก๊าซธรรมชาติ 70.91%
ถ่านหินลิกไนต์ 11%
พลังงานทดแทน 1.8%
น้ำมันเตา 0.32%
พลังน้ำ 4.2%
ซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน (ลาวและมาเลเซีย) 3.87%
ญี่ปุ่น
ถ่านหินลิกไนต์ 25%
พลังน้ำ 25%
ก๊าซธรรมชาติ 25%
นิวเคลียร์ 25%
]]>
13596
Pepsi – เสริมสุข แมวสีอะไรก็จับหนูได้ https://positioningmag.com/13524 Thu, 03 Mar 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13524

Press Trip ประจำปีของเป๊ปซี่-เสริมสุขเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ถูกจับตาเป็นพิเศษว่า งานนี้จะพิสูจน์ให้เห็นถึงเบื้องลึก เบื้องหลัง การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ระหว่าง บริษัทเสริมสุข กับ บริษัทเป๊ปซี่ หลังจากที่มีเรื่องการซื้อขายหุ้นเข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่ปลายปี 2553

สิ่งที่จับตามองก็คือ งานนี้ผู้บริหารทั้ง 2 ฝ่ายจะส่งใครไปร่วมงาน และคีย์แมนหลักๆ จะเข้าร่วมงานด้วยหรือไม่ และแต่ละฝ่ายจะกำหนดท่าที การแสดงออกต่อกันอย่างไร เป็นข้อข้องใจที่คนส่วนใหญ่ต้องการทราบคำตอบ แต่หลายคนก็เริ่มคาดการณ์ได้ว่าสายสัมพันธ์ของ Bottler ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานของเป๊ปซี่ จะลงเอยในรูปแบบใด ทริปนี้จึงกลายเป็นงานที่เงียบเหงาที่สุดที่ทั้ง 2 บริษัทเคยร่วมกันจัดมาอย่างน้อยๆ ก็ในรอบ 5 ปี

สื่อมวลชนที่ร่วมเดินทางในทริปนี้ ต่างหวังว่าจะได้พบปะ พูดคุยกับ สมชาย บูลสุข ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ที่เสียมเรียบ เพราะก่อนออกเดินทางมีการตรวจสอบกับทางเสริมสุขก็ได้รับคำตอบสั้นๆ ได้ใจความ และหลายความหมายว่า “นายจองตั๋วไว้แล้ว” แต่ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติม

แม้แต่กำหนดการที่ส่งมาเพื่อให้ทราบว่ามีผู้บริหารรายไหนร่วมเดินทางไปด้วยนั้น ยังใส่แค่ “เป๊ปซี่” แต่ไม่ใส่ชื่อผู้บริหาร

ตำแหน่งที่เว้นว่าง กับตั๋วที่นายจอง ก็มีคำเฉลยเมื่อออกเดินทาง เพราะทางเสริมสุขแจ้งอย่างเป็นทางการชัดเจนว่า ทริปนี้ไม่มี สมชาย บูลสุข ร่วมด้วยอย่างแน่นอน

สรุปว่าทริปนี้ทางฝ่ายเสริมสุขประกอบด้วย ปริญญา เพิ่มพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและปฏิบัติการขาย นภ วงศ์พานิช ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ปรางณี ไชยพิเดช ผู้จัดการฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์

ฝ่ายผู้บริหารบริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบด้วย เจษฎากร ธราธิป ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์อัดลม และงานนี้ยังเป็นการเปิดตัว มุสตาฟา มุสสา รองประธานฝ่ายการตลาด เอเชียเหนือและใต้ บริษัท เป๊ปซี่โค เพราะหลังจากที่รับตำแหน่ง ยังไม่เคยปรากฏตัวกับสื่อ หรือมีวาทะอย่างเป็นทางการเสียที ทั้งๆ ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่กรุงเทพฯ

นอกจากนี้ ยังมี เอริค หรือ ปริญญา กิจจาธนพันธ์ ซึ่งเป็นคนทำ Tender Offer ในครั้งแรก และขณะนี้ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็น Regional Vice President – จีนตอนใต้ ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน

การส่งผู้บริหารระดับคุมภูมิภาคแบบนี้ ทางเป๊ปซี่ โค คงต้องการย้ำว่าความสัมพันธ์ยังคงเดิม แนบแน่นไม่แปรเปลี่ยน

แต่ที่น่าสังเกต คือJagrut Kotecha Country Head คนใหม่ของเป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง ที่เคยเป็นผู้จัดการทั่วไปของเป๊ปซี่ โค ที่มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน และแปซิฟิก ไม่ได้เดินทางมาร่วมทริปนี้ เช่นเดียวกับ สมชาย บูลสุข

ก็หมายความว่า ระดับนโยบายไม่ไป ปล่อยให้ระดับปฏิบัติการว่ากันไปตามขั้นตอน

The show must go on

การกำหนดมาที่เสียมเรียบ กัมพูชา ทางเป๊ปซี่ โค บอกว่า ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อะไรพิเศษ หรือมีนัยสำคัญ เพียงต้องการให้สื่อมวลชนสายธุรกิจการตลาดได้สัมผัสประสบการณ์กับเมืองประวัติศาสตร์ที่มีอารยธรรมเก่าแก่ และเข้มข้นที่สุดของกัมพูชา โดยมีนครวัด นครธมเป็นจุดขายสำคัญ

การต้อนรับดูแล และให้ข้อมูลต่างๆ ตกเป็นของฝ่ายเสริมสุข คือ ปริญญา เพิ่มพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและปฏิบัติการขาย เพราะรับหน้าที่มอบหมายมาจากสมชาย ให้ดำเนินการทริปนี้ให้ดีที่สุด

เขากลายเป็นพี่ใหญ่ของทริปนี้ คอยจัดแจงถ่ายภาพทีมผู้บริการเป๊ปซี่-เสริมสุข รวมถึงสื่อมวลชน ภาพสวยๆ จากทริปนี้ส่วนใหญ่จึงมาจากฝีมือของเขา

การแถลงข่าวอย่างไม่เป็นทางการก็เกิดขึ้นในโรงแรมที่พัก ไม่ได้มีการจัดเตรียมอะไรเป็นพิเศษ นั่งล้อมวง จัดเก้าอี้ให้ผู้บริหารได้ตอบคำถามต่างๆ ไม่มีแม้แต่แบ็กดร็อป หรือสื่อความหมายถึงทริปนี้แม้แต่น้อย

มี LOGO เป๊ปซี่ดีไซน์กัมพูชา เพียงชิ้นเดียวที่บ่งบอกความเป็นงานของเป๊ปซี่เท่านั้นและมีปริญญา ซึ่งร่วมงานกับสมชายมาอย่างยาวนานถึง 32 ปี เป็นคนบอกเล่าความในใจที่สมชายฝากมาจากกรุงเทพฯ

“เป็นปีที่คุณสมชายเหนื่อยที่สุด ไม่ว่าจะมีปัญหารุมเร้าอย่างไร แต่ก็สั่งกำชับกับทุกคนว่า การทำงานของเสริมสุขกับเป๊ปซี่ในอนาคตต้องเหมือนเดิม อย่าเอาปัญหานโยบายมาเป็นปัญหาส่วนตัว เพราะว่าไม่ใช่ปัญหาของคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่ปัญหาของผม หรือของมุสตาฟา แต่เราทำงานกันเป็นทีม และขอบคุณที่ทุกคนเป็นห่วง” ปริญญาถ่ายทอดคำพูดของสมชาย

“ทุกวันนี้คุณสมชายแฮปปี้มาก เพราะทำงานแบบมืออาชีพ จากเดิมสวมหมวก 3 ใบ คือ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น และกรรมการ ตอนนี้เหลือแค่ 2 ใบ คือถอดหมวกผู้ถือหุ้นออก มีกรณีเดียวที่จะยุติบทบาทลงคือการลาออกเองเท่านั้น”

ปริญญาทิ้งประโยคเด็ด และต่อไปจะกลายเป็นประโยคประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกไว้ในเรื่องราวเสริมสุข-เป๊ปซี่ ของสมชายไว้ให้ครุ่นคิดกันต่อไปว่า

“คุณสมชายได้เรียนรู้ความหมายของคำว่าเพื่อนมากขึ้น ยามที่มีทุกข์คนที่เดินออกจากเขาไปไม่ใช่เพื่อน แต่คนที่อยู่กับเขาคือเพื่อน”

ส่วนทางฝ่ายผู้บริหารเป๊ปซี่ที่ร่วมงาน ไม่ได้มีคอมเมนต์ใดๆ เกี่ยวกับกรณีพิพาทดังกล่าว เพียงแต่บอกว่ารับผิดชอบเฉพาะด้านการตลาดเท่านั้น และก็ให้ความเห็นเฉพาะดานการตลาดจริงๆ ไม่ได้ข้องแวะ หรือหลุดรอดมาในเรื่องพิพาทแม้แต่น้อย

ทางผู้บริหารเป๊ปซี่ โค บอกกับผู้ร่วมเดินทางในทริปนี้ด้วยว่า หลังการแถลงข่าวเสร็จ ผู้บริหารเป๊ปซี่ทั้งมุสตาฟาและเจษฎาธร ต้องขอตัวเดินทางกลับก่อน เนื่องจากติดภารกิจส่วนตัว ไม่ได้อยู่ร่วมทริปนี้จะเสร็จสิ้น ส่วนวันสุดท้ายจึงคงเหลือแต่ทีมผู้บริหารเสริมสุขเท่านั้น

เสริมสุขฟันธง ไม่ใช่กลุ่มไทยเบฟ ฯ

สิ่งหนึ่งที่ทุกคนรอคำตอบ และคำยืนยันจากฝ่ายเสริมสุขก็คือ ใครคือผู้ซื้อตัวจริง เพราะมีการเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ของกลุ่มผู้ซื้อหุ้นแล้ว ค่อนข้างแน่นอนว่า เบื้องหลัง บริษัท เอสเอส เนชั่นแนล โลจิสติกส์ จำกัด (SSNL) ที่สมชายและครอบครัวขายหุ้นที่มีทั้งหมดในเสริมสุขให้นั้น คือ เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของเบียร์ช้าง แต่ปริญญาบอกว่า

“ส่วนตัวแล้วไม่เชื่อว่าเป็นค่ายไทยเบฟฯ เพราะถ้าเป็นกลุ่มนี้จากประวัติที่ผ่านมาจะเห็นว่าไม่เคยซื้ออะไรแค่ 40% เขาจะชอบเทกโอเวอร์ แต่ที่รู้แน่ๆ คือเป็นบริษัทคนไทย”

เบื้องต้นปริญญาบอกเพียงว่า ผู้ถือหุ้นรายใหม่ยืนยันให้ผู้บริหารเสริมสุขโดยเฉพาะสมชายบริหารบริษัทใหม่นี้ต่อไป ขณะที่ ฐิติวุฒิ์ บุลสุข ก็จะยังคงทำหน้าที่เป็นผู้จัดการโรงงานปทุมธานีต่อไปเช่นเดิม

มรสุมหนักแต่ยัง Super Growth ได้

สำหรับแผนธุรกิจในช่วงต่อไป ปริญญาบอกว่า เป้าหมายในปี 2554 จะเป็นปีที่เป๊ปซี่-เสริมสุขเหนื่อยหนักอีกปี เพราะต้องการเติบโตแบบ Super Growth

“ปี 2554 ตั้งเป้าโต 9% เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมาซึ่งเติบโตมากที่สุดในรอบ 6 ปี และเติบโตมากกว่าตลาดที่โตเพียง 6% ทั้งๆ ที่ปี 2553 ไม่ใช่ปีที่ราบรื่น คือต้องมี Super Power, Super Program คือ แคมเปญต้องแรงขึ้น ออกแรงมากขึ้น ปีที่แล้วยากกว่าปีนี้เยอะ เรายังทำได้ แม้จะไม่ง่าย แต่เราก็มั่นใจ เพราะเราเห็นแผนของเป๊ปซี่แล้ว แต่คาดว่าตลาดปีนี้ไม่น่าจะดีเท่าปีที่แล้ว ตลาดรวมน่าจะโต 4-5% เพราะปีที่ผ่านมาอากาศช่วย เศรษฐกิจดีขึ้น แต่ปีนี้เท่าที่ดูอาจจะดีขึ้น แต่อากาศไม่แน่ใจ”

ผลงานชิ้นเอกในปีที่ผ่านมา คือ ผลจากแคมเปญฟุตบอลโลก 2010 โดยจากการสำรวจของ Millward Brown บริษัทวิจัยการตลาดวัด Brand Tracking ให้กับเป๊ปซี่ พบว่า Top of Mind ของผู้บริโภค เป๊ปซี่เป็นที่ 1 ด้วยคะแนน 45% อันดับ 2 ที่ตามมาได้ 34% ถ้าถามถึงแบรนด์ที่เป็น Top of Mind ที่มีกิจกรรมโดนใจวัยรุ่น คำตอบคือ เป๊ปซี่ 67%

ส่วนผู้บริหารเป๊ปซี่ โค มุสตาฟาหยอดคำหวานว่า “ทำงานที่เป๊ปซี่มา 17 ปี แคมเปญฟุตบอลโลก 2010 ของเป๊ปซี่ ไทย เทรดดิ้ง และเสริมสุข เป็น Integreted Campaign ระหว่าง Global กับ Local ที่ดีที่สุด”

ทั้งนี้ไทยเองถือว่าเป็นประเทศที่มีความสำคัญมากของเป๊ปซี่ในภูมิภาคนี้ และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์แคมเปญต่างๆ มาโดยตลอด

ที่ผ่านมา เป๊ปซี่-เสริมสุข ประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี เป๊ปซี่ถือเป็นเจ้าแม่การตลาดที่เด็ดดวง เสริมสุขเป็น Distributor ชั้นนำของเมืองไทย มีคลังสินค้า 47 แห่งทั่วประเทศ รถจำหน่ายสินค้า 1,400 คัน ครอบคลุม 300,000 ร้านค้า และช่องทางของDistributor เป็นหัวใจสำคัญที่ผลักดันให้เป๊ปซี่ขึ้นหิ้งเบอร์ 1 มาอย่างยาวนานในไทย และหากเป็นไปตามที่สมชายยืนยัน จะยังคงได้เห็นพลังทางการตลาดและการขายที่แข็งแกร่งจากพันธมิตรคู่นี้ต่อไปในอนาคต

ปิดฉาก เก็บของวันที่ 15 กุมภาพันธ์

ตลอดระยะเวลาหลายสิบปี ทั้ง 2 บริษัทผ่านร้อนผ่านหนาว ประสบทั้งความสำเร็จและล้มเหลวร่วมกันมา แน่นอนว่านี่ไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงครั้งแรกที่ร่วมฝ่าฟันมาด้วยกัน แต่ครั้งนี้คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุด ถึงขั้นลบชื่อบริษัท เสริมสุข ออกไปจากวงการ ให้เหลือไว้เพียงตำนานที่ให้บอกเล่าสืบต่อกันไปเท่านั้น

ส่วนร่างใหม่ที่เกิดขึ้น จะเป็นการเขียนบันทึกในแวดวงการตลาดหน้าใหม่ แต่จะมีใครร่วมเขียนด้วยนั้น มีกำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่า จะได้คำตอบหลังการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2554 ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 นี้

สายใยเป๊ปซี่-เสริมสุขกับข้อเสนอทางการค้าที่มิอาจฝืนทน

ข้อเสนอทางการค้าจากเป๊ปซี่ (Commercial Terms)

  1. ปรับเปลี่ยนสูตรการคำนวณราคาค่าหัวน้ำเชื้อ ซึ่งเป็นผลให้ค่าหัวน้ำเชื้อลดลงประมาณร้อยละ 5 ต่อปี จากราคาภายใต้สัญญา Exclusive Bottling Appointment (EBA) ปัจจุบัน (เสริมสุขยื่นข้อเสนอกำหนดสูตรการคิดราคาค่าหัวน้ำเชื้อ ซึ่งเป็นผลให้ค่าหัวน้ำเชื้อลดลงประมาณร้อยละ 9 ต่อปี จากราคาภายใต้สัญญา EBA ปัจจุบัน)
  2. มีการกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการให้เงินสนับสนุนด้านการส่งเสริมการขาย โดยจะอิงกับปริมาณการขายเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน
  3. เพิ่มงบประมาณทางการตลาดสำหรับการขายเฉพาะช่องทาง ซึ่งทำให้บริษัทฯ มีภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวเพิ่มขึ้น
  4. ปรับลดเงินสนับสนุนที่ให้กับผลิตภัณฑ์บางประเภท

นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้เสริมสุขเพิ่มกำลังการผลิต รวมถึงการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงซึ่งเป็นบุคคลที่เป๊ปซี่เสนอ ซึ่งเป็นเรื่องที่เสริมสุขไม่อาจยอมรับได้ อีกทั้งข้อเสนออื่นๆ จากเป๊ปซี่ที่นับว่าเข้มงวดเอาการ

ขณะที่แหล่งข่าวในวงการน้ำดำรายอื่นจะบอกว่า อย่างไรก็ตาม เป๊ปซี่ก็ต้องเลือกที่จะปิดดีลเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจให้เป็นเหมือนกันทั่วโลกให้ได้

]]>
13524