MARVEL – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 21 Dec 2022 13:27:16 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ส่องตลาด ‘ของเล่น’ ในยุคที่ ‘ผู้ใหญ่’ เป็นตัวหลักขับเคลื่อนตลาดให้เติบโต https://positioningmag.com/1413323 Wed, 21 Dec 2022 04:55:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413323 เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า เด็กหนวด หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Kidults (เกิดจากคำว่า kid บวกกับคำว่า adult) ที่เรียกผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นที่ยังซื้อ ของเล่นของสะสม ซึ่งภาพคนทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นของสำหรับเด็ก แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กหนวดนี่แหละเป็นกำลังหลักที่ทำให้ตลาดของเล่นยังเติบโต

เหล่า Kidults ซึ่งมักจะใช้จ่ายกับของเล่นมากขึ้นเนื่องจากพวกเขามีความชื่นชอบการ์ตูน ฮีโร่ และของสะสมที่ทำให้พวกเขานึกถึงวัยเด็ก พวกเขาซื้อสินค้า เช่น แอคชั่นฟิกเกอร์ ชุดเลโก้ และอื่น ๆ ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาผู้ผลิตของเล่นได้สร้างไลน์สินค้าสำหรับผู้บริโภคเหล่านี้โดยเฉพาะ เนื่องจากเห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ใหญ่ในยุคนี้

เมื่อผู้ใหญ่หันมาซื้อของเล่นกันมากขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ผลิตของเล่นมาก ๆ เพราะจากที่แค่ทำของเล่นมาขายเด็ก (ซึ่งคนซื้อก็คือผู้ปกครอง) กลายเป็นว่ากลับสามารถขายให้ผู้ใหญ่ถือเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้ออยู่แล้วได้อีกด้วย ดังนั้น ตลาดของเล่นจึงถูกขยายให้กว้างยิ่งขึ้น ทำให้เหล่า เด็กหนวดถือเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด

ตามข้อมูลจาก NPD Group พบว่า เด็กหนวดเหล่านี้คิดเป็นถึง 1 ใน 4 ของยอดขายของเล่นของสะสมในตลาดสหรัฐฯ หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3.1 แสนล้านบาท จากมูลค่าทั้งหมด 28,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลุ่ม Kidult ช่วยดันยอดขายของเล่นให้เติบโตถึง 37% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2020-2021)

“กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป มีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมของเล่นมาหลายปี แต่การใช้จ่ายได้เร่งตัวขึ้นหลังจากเกิดโรคระบาด ซึ่งนำไปสู่ผลกำไรที่สูงขึ้นของบริษัทผู้ผลิตของเล่น”

ย้อนไปในช่วงทศวรรษที่ 70 และ 80 ธุรกิจของเล่นเริ่มเปลี่ยนจากการผลิตคาแรกเตอร์ที่ออกแบบเองมาเป็นการผลิตสินค้าจากคาแรกเตอร์ของภาพยนตร์และการ์ตูน แต่ปัจจุบันเทรนด์ดังกล่าวกลับยิ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจากแฟรนไชส์ภาพยนตร์ชื่อดัง โดยเฉพาะเหล่าซูเปอร์ฮีโร่

ดังนั้น เด็กที่เติบโตมากับแฟรนไชส์ภาพยนตร์ดัง ๆ รวมถึงได้เห็นสินค้าลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ที่ในตอนนั้นอาจไม่มีโอกาสที่จะได้สัมผัส (พ่อ-แม่ไม่ได้ซื้อให้) ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจหากผู้ใหญ่ในวันนี้จะซื้อของเล่นเพื่อมาเติมเต็มความฝันในวัยเด็ก

“อย่างในปี 1977 ที่ภาพยนตร์เรื่อง Star Wars เปิดตัว จากนั้นเราจะเริ่มเห็นสินค้าลิขสิทธิ์มากขึ้น ซึ่งเราเฉลิมฉลองแฟนด้อมของเราด้วยของเล่นและของสะสม ซึ่งรวมถึงสินค้าที่ไม่ใช่ของเล่น เช่น ผ้าปูที่นอน ถ้วยชาม และเสื้อผ้า” James Zahn บรรณาธิการบริหารของ The Toy Book และบรรณาธิการอาวุโสของ The Toy Insider กล่าว

จึงไม่น่าแปลกใจหากผู้ผลิตของเล่น อาทิ Lego จะออกแบบสินค้าใหม่ ๆ ที่ล้อกับคอนเทนต์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็น Lego Star Wars หรือ Hasbro ก็ออกแอคชั่นฟิกเกอร์ Black Series ที่ผลิตคาแรกเตอร์จาก Star Wars ด้วยเช่นกัน ขณะที่ภาพยนตร์แฟรนไชส์ดัง ๆ ไม่ว่าจะเป็นซูเปอร์ฮีโร่จาก Marvel หรือ DC หลัง ๆ ก็ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเด็กเล็ก แต่จัดทำขึ้นสำหรับกลุ่มใหญ่ที่ยังอยากซื้อของเล่นของสะสม

Source

]]>
1413323
‘ดิสนีย์’ ประกาศอัดงบ 9 พันล้าน ปั้นคอนเทนต์ใหม่กว่า 100 เรื่อง โดย 80% จ่อลง ‘Disney+’ https://positioningmag.com/1310046 Fri, 11 Dec 2020 07:52:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1310046 เมื่อประมาณกลางปีที่ผ่านมา ‘ดิสนีย์ (Disney)’ ได้ประกาศถึงทิศทางบริษัทว่าจะเน้นไปที่บริการ ‘สตรีมมิ่ง’ หลังจากที่แทบจะเป็นกลุ่มเดียวที่เติบโตท่ามกลางผลกระทบจาก COVID-19 และล่าสุดภายในงานนำเสนอ Investor Day ดิสนีย์ได้เปิดตัวไลน์อัพคอนเทนต์ใหม่ ๆ กว่า 100 เรื่อง ทั้งภาพยนตร์ ซีรีส์และรายการต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับ แฟรนไชส์ เช่น Star Wars, Marvel, FX และ National Geographic

ในปี 2019 ดิสนีย์มีรายได้จากโรงภาพยนตร์ทั่วโลกราว 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยดิสนีย์มีภาพยนตร์ 7 เรื่องที่ทำรายได้ทะลุ 1 พันล้านเหรียญในปีนั้น แต่จากการระบาดของ COVID-19 ทำให้ภาพยนตร์หลายเรื่องของดิสนีย์ต้องเลื่อนฉายไปปีหน้า หรืออย่าง ‘มู่หลาน’ ก็ฉายพร้อมกับลงสตรีมมิ่ง ‘Disney+’ โดย Bob Chapek CEO ดิสนีย์ กล่าวย้ำว่า บริษัทจะเน้นที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง โดยประกาศเพิ่มการลงทุนในการผลิตคอนเทนต์และย้ำว่าจะทำกำไรได้ในปี 2024

สำหรับคอนเทนต์ใหม่ ๆ ที่จะสร้างส่วนใหญ่จะเป็นการสานต่อจักรวาลแฟรนไชส์สุดแกร่งอย่าง ‘Star Wars’ และ ‘Marvel’ โดยจะมีภาพยนตร์และซีรีส์รวมกันแฟรนไชส์ละประมาณ 10 เรื่อง/ปี นอกจากนี้จะมีภาพยนตร์ไลฟ์แอคชั่นของดิสนีย์อีก 15 เรื่อง แอนิเมชันดิสนีย์และซีรีส์ Pixar 15 เรื่อง

ปัจจุบัน Disney+ มีผู้ติดตาม 86.8 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 73 ล้านคนจากไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา โดยในโลกของ Star Wars Disney + จะเพิ่มซีรีส์ใหม่สองเรื่องนอกจาก ‘The Mandalorian ซีซั่น 3’  ได้แก่ ‘The Rangers of the New Republic’ และ ‘Ahsoka’ นอกจากนี้ยังมีซีรีส์ชื่อ ‘Lando’

“กลยุทธ์ด้านเนื้อหาของ Disney นั้นเกี่ยวกับความสมดุลและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค จากโครงการประมาณ 100 โครงการที่ Disney วางแผนสร้างไว้ประมาณ 80% จะลงที่ Disney + โดยตรง”

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแผนการสร้างคอนเทนต์จำนวนมหาศาลนี้ บริษัทมีแผนจะใช้จ่ายระหว่าง 8-9 พันล้านดอลลาร์ในปี 2567 และดิสนีย์จำเป็นต้องเพิ่มผู้ใช้ให้ได้ 230-260 ล้านคนภายในปี 2024 นอกจากนี้ดิสนีย์มีแผนจะเพิ่มค่าบริการเป็น 7.99 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์

ในส่วนของบริการสตรีมมิ่งอื่น ๆ อย่าง ‘Hulu’ ปัจจุบันมีสมาชิก 38.8 ล้านคน ส่วน Hulu + Live TV มีสมาชิกที่จ่ายเงิน 4 ล้านคน ซึ่งบริษัทได้ขึ้นราคาของแพลตฟอร์มเป็น 65 ดอลลาร์ จาก 55 ดอลลาร์ โดยดิสนีย์คาดว่า Hulu จะมีสมาชิกระหว่าง 50-60 ล้านคนภายในปี 2024 โดยคาดการณ์ว่า Hulu จะทำกำไรได้ในปีงบประมาณ 2023 ส่วน ‘ESPN +’ ที่เป็นแพลตฟอร์มดูกีฬามีสมาชิก 11.5 ล้านคน โดยดิสนีย์กำลังจะก้าวเขาเข้าสู่การพนันกีฬาเพื่อพยายามเข้าถึงผู้ชมที่อายุน้อยกว่า

สำหรับภาพยนตร์ที่เลื่อนฉายจากปี 2020 ไปปี 2021 อย่าง ‘Black Widow’ และ ‘Jungle Cruise’ ยังคงวางแผนที่จะฉายให้ได้ตามกำหนด ส่วนแอนิเมชัน ‘Raya and the Last Dragon’ จะฉายโรงและลงสตรีมมิ่งพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ภาพยนตร์ทุกเรื่องจะฉายโรงและลงสตรีมมิ่งพร้อมกันหมด

Source

]]>
1310046
มองอนาคตต่อไปของ ‘ดิสนีย์’ หลัง ‘ทรัพย์สิน’ กลายเป็น ‘หนี้สิน’ เพราะ ‘COVID-19’ https://positioningmag.com/1277233 Thu, 07 May 2020 08:34:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277233 ดูเหมือนว่าไม่มีบริษัทสื่อใดที่จะได้รับผลกระทบจากมาตรการ social distancing มากไปกว่า ดิสนีย์ (Disney) อีกแล้ว เพราะสวนสนุกที่คับคั่งไปด้วยผู้คน โรงภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยแฟน ๆ Marvel, Star Wars และบรรดาเจ้าหญิงดิสนีย์ที่โด่งดัง โรงแรมที่คึกคัก เรือสำราญและร้านค้าปลีก แหล่งทำเงินทั้งหมดของดิสนีย์ที่กล่าวมาทั้งหมดต้องปิดลงเพราะผลกระทบจาก COVID-19

(photo: Disney World)

ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ดิสนีย์ได้สร้างอาณาจักรที่แผ่ขยายออกไปและกลายเป็นศูนย์กลางที่มีผู้คนจำนวนมากในพื้นที่ ขณะที่ปี 2019 ถือเป็นหนึ่งปีที่ดีที่สุดของดิสนีย์ ทั้งการประสบความสำเร็จของภาพยนตร์ ‘Avengers: Endgame’ การเปิดตัวโซน ‘Star Wars’ ใหม่ในสวนสนุก แต่จากการระบาดใหญ่ในปี 2020 ทำให้ดิสนีย์ต้องสะดุด ผู้บริหารระดับสูงอย่าง Bob Iger ประธานกรรมการ และ Bob Chapek CEO คนใหม่ กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจและสุขภาพ แต่ในขณะที่พวกเขาจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทันทีคำถามระยะยาวสะท้อนให้เห็นว่าสินทรัพย์ของดิสนีย์ ซึ่งตอนนี้กลายเป็นหนี้สินอย่างกะทันหันเนื่องจากไวรัสไปเสียแล้ว

อ่าน >>> สู้ไม่ไหว! Disney World เตรียม “พักงาน” พนักงาน 43,000 คน หลังต้องปิดยาวไม่มีกำหนด

เพราะโรคระบาดได้ส่งผลกับดิสนีย์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนสนุกและรีสอร์ตที่ปิดตัวไปทั่วโลก, ภาพยนตร์ที่สำคัญอย่าง ‘มู่หลาน’ และ ‘Black Widow’ ก็เลื่อนฉาย ขณะที่ช่องกีฬาอย่าง ‘ESPN’ หนึ่งในเครือข่ายสื่อที่ใหญ่ที่ดิสนีย์ถือหุ้นถึง 80% ก็กำลังดิ้นรนเพื่อเติมเต็มเวลาออกอากาศเนื่องจากกีฬาไม่สามารถแข่งขันได้ ขณะที่ดิสนีย์เองมีพนักงานหลายพันคน ส่งผลให้ Standard & Poors ไปปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัท ซึ่งทำให้หุ้นลดลง 27%

โดยผลประกอบการในไตรมาสสองของปี ดิสนีย์ทำรายได้ 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 21% แต่กำไรเลดลง -91% เนื่องจากต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึง 44% เมื่อแยกเป็นรายธุรกิจ จะเห็นว่ากำไรลดลงในหลายส่วน ได้แก่

  • ธุรกิจสวนสนุกและการขายสินค้ามีรายได้ลดลง -10% กำไรลดลง -58%
  • ธุรกิจเครือข่ายมีเดีย เช่น Disney Chanel, ESPN รายได้เติบโต 28% กำไรเติบโต 7%
  • ธุรกิจสตูดิโอภาพยนตร์เติบโต 18% กำไรลดลง -8%
  • ส่วนธุรกิจสตรีมมิ่งและเครือข่ายโทรทัศน์ในต่างประเทศ เช่น Disney +, ESPN+ เติบโต +260% แต่ขาดทุนจากต้นทุนการทำงาน 111%

“สิ่งที่ทุกคนกังวลคือเราไม่รู้ว่าเมื่อไรจะกลับมาเป็นปกติ เรายังไม่รู้ด้วยว่าพฤติกรรมจะเปลี่ยนไปในอนาคตหรือไม่ คนจะลังเลที่จะไปสวนสาธารณะหรือไม่ ผู้คนจะต้องการนั่งในโรงภาพยนตร์ถัดจากคนแปลกหน้าเพราะกลัวว่าจะติดไวรัสหรือไม่? นั่นคือสิ่งที่ตลาดโต้เถียง และด้วยธุรกิจที่ไม่สามารถดำเนินงานได้ ดิสนีย์กำลังจะพังทลายลงในปี 2563 จากกระแสเงินสดและผลกำไรที่หายไป” Michael Nathanson นักวิเคราะห์สื่อและหุ้นส่วนผู้ก่อตั้งที่ MoffettNathanson กล่าว

(Photo by Carl Court/Getty Images)

ในขณะที่ปี 2020 ดูเหมือนว่าจะเป็นหายนะสำหรับดิสนีย์ แต่ยังพอมี แสงสว่าง เพราะอย่างไรก็ตาม ดิสนีย์ยังคงเป็นดิสนีย์ ยังเป็นแบรนด์ที่เป็นที่รักและมีแฟรนไชส์มากมายที่คู่แข่งหลายรายในอุตสาหกรรมยังต้องอิจฉา Matthew Ball อดีตผู้บริหารสตูดิโอ Amazon (AMZN) กล่าวว่า “บริษัทส่วนใหญ่ไม่มีทรัพย์สินทางปัญญา แต่ไม่ใช่ดิสนีย์ อีกทั้งดิสนีย์มักค้นหาวิธีสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในรูปแบบใหม่และผ่านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ทำให้ไม่มีใครเบื่อดิสนีย์ และก่อนหน้า COVID-19 ดิสนีย์ก็เป็นที่รักของผู้คน”

Suzanne Scott ผู้ช่วยศาสตราจารย์ของ Moody College of Communication แห่ง University of Texas ได้กล่าวว่า “แฟนของ Disney มีความภักดีต่อแบรนด์อย่างไม่น่าเชื่อ และวิกฤตินี้ไม่มีทางที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรไป ผู้คนจะอยากสัมผัสกับกิจกรรมและประสบการณ์เมื่อปลอดภัยที่จะรวมตัวกันอีกครั้ง”

คอนเทนต์อันหลากหลายของ Disney

ด้าน Robert Niles บรรณาธิการของ ThemeParkInsider.com เชื่อว่าสวนสนุกและรีสอร์ตของดิสนีย์จะต้องเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในแง่ของการเปิดใหม่ เพราะจากนี้ดิสนีย์ต้องวาง Position ตัวเองใหม่ ไม่ใช่แค่บริษัทบันเทิงหรือจุดหมายปลายทางสำหรับวันหยุด แต่ต้องเป็น แบรนด์ไลฟ์สไตล์ ซึ่งอาจใช้เวลาหลายปีและงบหลายพันล้านเพื่อไปให้ถึงจุดนั้น

“แฟน ๆ ของดิสนีย์หลายล้านคนกำลังนั่งอยู่ที่บ้านในขณะนี้ดู Disney + สวมใส่เสื้อผ้าแบรนด์ดิสนีย์ อ่านหนังสือของดิสนีย์ และฟังเพลงของดิสนีย์ แม้ว่าผู้คนจะต้องอยู่ห่างจากโรงละครและสวนสนุก แต่พวกเขาก็ไม่เคยห่างจากดิสนีย์ “

นอกจากนี้ ช่องทางวิดีโอสตรีมมิ่งอย่าง Disney+ ยังคงเติบโต โดยในเวลาเพียง 5 เดือนบริการ กลับมีสมาชิกที่ชำระเงินแล้วถึง 50 ล้านรายทั่วโลก จากที่เคยคาดว่าต้องใช้เวลาถึง 4 ปี แม้แต่ Reed Hastings ซีอีโอของ Netflix ก็กล่าวชื่นชมการเปิดตัว Disney +

Trip Miller นักลงทุนและหุ้นส่วนผู้จัดการของ Disney ที่ Hedge Fund พันธมิตร Gullane Capital เชื่อว่า Disney + มีความสำคัญต่อบริษัทในตอนนี้ และนั่นไม่ใช่เพียงเพราะเป็นอนาคตใหม่ของดิสนีย์ แต่เชื่อว่าแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งช่วยให้บริษัทอยู่ในความคิดและห้องนั่งเล่นของผู้บริโภค

“COVID-19 กระทบเกือบทุกองค์ประกอบของดิสนีย์ ยกเว้นเพียงอย่างเดียวคือบริการสตรีมมิ่งของ Hulu และ Disney + แต่ทั้ง 2 ส่วนยังไม่สามารถทำกำไรได้”

ด้วยคุณสมบัติด้านสินทรัพย์ทางปัญญาและความภักดีของผู้บริโภค น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดิสนีย์สามารถฟื้นตัวได้ แต่ไม่มีใครรู้ว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ในการกู้คืนความเสียหายทางการเงิน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ตอนนี้ดิสนีย์กำลังมุ่งหน้าไปสู่อนาคตที่ไม่รู้จัก ซึ่งเวทย์มนต์ของดิสนีย์ที่มีคงยังไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ในขณะนี้

Source

]]>
1277233
Disney เตรียมขาย “หน้ากากผ้า” คาแร็กเตอร์ตัวการ์ตูน พร้อมบริจาคกำไร 1 ล้านเหรียญให้การกุศล https://positioningmag.com/1276751 Mon, 04 May 2020 12:45:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276751 เป็นที่รู้กันว่า ‘Disney’ ไม่ได้มีดีแค่ตัวละครออริจินอลของตัวเองเท่านั้น แต่ยังถือลิขสิทธิ์ตัวละครดัง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Pixar, Marvel และ Star Wars ซึ่งจากการระบาดของไวรัส COVID-19 Disney ก็ได้จัดทำหน้ากากผ้าที่เป็นลวดลายตัวละครที่ดิสนีย์ถือสิทธิ์ พร้อมประกาศว่าจะบริจาคกำไรทั้งหมดให้กับองค์กรการกุศล

ดิสนีย์ เตรียมขายหน้ากากผ้าที่มาพร้อมลายจากคาแร็กเตอร์ชื่อดัง อาทิ Anna และ Elsa จาก Frozen, Woody และ Buzz Lightyear จาก Toy Story, The Avengers, R2D2 และ Baby Yoda จาก Star Wars โดยจะเริ่มจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ shopDisney ในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ ในราคาแพ็กละ 19.99 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 640 บาท มีจำนวน 4 ชิ้น โดยมีให้เลือกทั้งไซส์เด็กและผู้ใหญ่

“เราตระหนักดีว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับครอบครัวและการสวมหน้ากากทุกชนิดสามารถลดความเสียหายได้ ความหวังของเราคือหน้ากากผ้าของดิสนีย์ที่มีตัวละครที่เป็นที่รักที่สุดของเราจะมอบความสะดวกสบายให้กับครอบครัวแฟนๆ และชุมชนที่สำคัญสำหรับเรา” เอ็ดเวิร์ด พาร์ครอง ประธานอาวุโส ดิสนีย์สโตร์ กล่าว

สำหรับกำไรทั้งหมดสูงสุด 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดิสนีย์จะบริจาคให้กับองค์กรการกุศล MedShare รวมถึงเตรียมบริจาคหน้ากากหนึ่งล้านชิ้นให้กับชุมชนที่ด้อยโอกาสผ่านองค์กร MedShare ด้วยเช่นเดียวกัน

Source

]]>
1276751
ยุคนี้ต้องมาเป็น “ซีรีส์” ถึงจะเอาอยู่ ! มาร์เวล จับมือ เมเจอร์ ปล่อยหนัง 4 เรื่อง จับแฟนพันธ์ุแท้ให้อยู่หมัด https://positioningmag.com/1144775 Mon, 30 Oct 2017 16:04:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1144775 “มาร์เวล” (Marvel) ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ค่ายการ์ตูนคอมมิคส์ลำดับต้นๆ เพราะอยู่ในวงการมาถึง 78 ปี มีธุรกิจครอบคลุมทั้งซีรีส์ เกม ส่วนสนุก ตลอดจนผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก

ส่วนธุรกิจภาพยนตร์นั้น มาร์เวล มีอายุเพียงแค่ 10 ปี ผลิตภาพยนตร์มาแล้ว 17 เรื่อง โดยมีเหล่า “ซูปอร์ฮีโร่” เป็นตัวชูโรง ที่รู้จักกันดีคือ IRON MAN สร้างปรากฏการณ์ดังพลุแตกมาแล้ว ทำให้มาร์เวลสามารถทำรายได้ 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 4 แสนล้านบาท

สเต็ปต่อไปของมาร์เวลจึงต้องเข้มข้นขึ้น จากปกติมาร์เวลจะปล่อยภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ปีละ 1-2 เรื่องเท่านั้น ทว่าปีนี้มาร์เวลให้เป็นปีแห่งมาร์เวล หรือ “Year of Marvel” ด้วยการปล่อยหนังฟอร์มยักษ์ 4 เรื่อง ครอบคลุม ยิงยาวตั้งแต่ปี 2560-2561 ได้แก่  THOR: RAGNAROK ฉายเดือน พ.ย.นี้ ตามด้วย Black Panther ฉาย ก.พ. 61 Avengers: Infinity War ฉาย เม.ย. 61 และ Ant-Man and the Wasp ฉาย ก.ค. 61

พร้อมกับนำมาต่อยอดทำตลาด ด้วยการจับมือกับ โรงภาพยนตร์ “เมเจอร์”  ร่วมกันปล่อยแคมเปญการตลาด Year of Marvel at Major Cineplex ถือเป็น Strategic collaboration  โดยนำจุดแข็ง 2 ฝั่งมาผสานกัน

มาร์เวล นั้น ต้องการสร้างความผูกพัน (Engagement) กับผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากพบว่า แฟนหนังมาร์เวลขยายวงกว้างขึ้นมาก จากกลุ่มผู้ชายขยายมาเป็นกลุ่มผู้หญิง และ 60% ยังเป็นกลุ่ม (Young Adult) หรือวัยรุ่นจนถึงวัยทำงาน

ตลาดไทยถือเป็นตลาดสำคัญ เพราะมีทั้งคนรักหนังซูเปอร์ฮีโร่ และคนรักหนังมาร์เวลรวมตัวกันทำกิจกรรม จนเกิดเป็นคอมมูนิตี้ออนไลน์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์พูดคุยกัน

“เป็นเหตุผลหลักในการทำแคมเปญในครั้งนี้ โดยก่อนหน้านี้ทางดีสนีย์ ประเทศไทย ก็มีการเข้าไปสนับสนุนคอมมูนิตี้เหล่านั้นอย่างไม่เป็นทางการ ทำให้เราได้เรียนรู้ ได้เข้าใจกลุ่มแฟนๆ มาร์เวล มากขึ้น นำมาสู่การทำแคมเปญอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ สุภอร รัตนมงคลมาศ” กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่ ประจำประเทศไทย บริษัท เดอะ วอลท์ ดีสนีย์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

ส่วนทางด้านเมเจอร์ ถือเป็นการจัดกิจกรรมการตลาดแบบเอ็กซ์คลูซีฟ ให้กับกลุ่มลูกค้าเมมเบอร์ครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อเพิ่มเอนเกจเมนต์ (Engagement) กับลูกค้าให้มากขึ้น และสร้างประสบการณ์ Movie Experience ให้กับลูกค้า และยังเป็นการร่วมกันขยายฐานกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบหนังของมาร์เวลให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย  โดยเฉพาะสมาชิกบัตร M Generation ปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 4 ล้านคน ซึ่งมีทั้งลูกค้าทั่วไป, กลุ่มนักเรียน นักศึกษา, กลุ่มผู้สูงอายุ (Freedom) และกลุ่มเด็ก

โดยสมาชิกบัตร M Gen จะได้รับสิทธิ์ ซื้อ ‘การ์ดสะสม Year of Marvel M GEN’ ลายจากภาพยนตร์ดังของมาร์เวล 4 เรื่อง ซึ่งเมเจอร์ได้รับลิขสิทธิ์จากเดอะ วอลท์ ดีสนีย์ (ประเทศไทย) นำมาผลิตการ์ดสะสมลายภาพยนตร์เป็นซีรีส์ เรื่องละ 20,000 ใบ ในราคาพิเศษ รวมทั้งใช้คะแนนสะสมซื้อตุ๊กตาลิขสิทธิ์จากมาร์เวล ธอร์และฮัลค์ สมาชิกที่ชมทั้ง 4 เรื่อง ยังสามารถลุ้นชิงแพ็คเกจไปเที่ยวฮ่องกง ดีสนีย์แลนด์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ดีสนีย์ยังไปจับมือกับ “เอเชียบุ๊คส์” พันธมิตรระดับภูมิภาค iflix และพันธมิตรระดับโลกอย่าง Hasbro ให้สมาชิกบัตร M GEN เมื่อไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการเหล่านั้นจะได้รับ “ส่วนลดเพิ่ม” จากปกติด้วย ในช่วง 9 เดือนที่จัดแคมเปญ

“วิชัย กุลวัชชัย” ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป บอกว่า ตัวเลขผู้ชมหนังในโรงภาพยนต์เมเจอร์ แต่ละปีมีเป็นล้านคน เพราะจากฐานบัตร M GEN มีกว่า 4 ล้านคน แต่สถิติของ “แฟนพันธุ์แท้” ที่ชมหนังของมาร์เวลทุกเรื่องจะมีประมาณ 2 แสนคน กิจกรรมครั้งนี้จะช่วยเพิ่มฐานสมาชิกเพิ่ม 20% โดยหนัง 4 เรื่องนี้ คาดว่าจะทำรายได้รวมกว่า 1,000 ล้านบาท

นับเป็นการทำตลาดครบวงจร เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (CRM) นอกจากจะทำให้เราขยายฐานลูกค้า และยังได้ข้อมูลพื้นฐาน (Database) ที่แบรนด์สามารถนำไปใช้ตอบสนองความต้องการของสมาชิก ในเรื่องสิทธิประโยชน์ ได้เรียนรู้ Insight “พฤติกรรมผู้บริโภค” ลึกและลึกยิ่งขึ้น

โดยข้อมูลที่เมเจอร์จะได้รับจากฐานสมาชิก M Gen นั้นทำให้รู้ตั้งแต่ ลูกค้าเป็นใคร (Who) ต้องการดูหนังเรื่องอะไรแบบไหน (What) ต้องการดูหนังเมื่อใด (When) ดูหนังที่เมเจอร์สาขาไหน (Where) ใครมีอิทธิพลทำให้ดู (Whom) และทำไมถึงดูเรื่องนี้ ทำไมดูที่เมเจอร์ (Why) และพฤติกรรมดูหนังอย่างไร (How)

ทั้งหมดนี้ คือฐานข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวางกลยุทธ์ปล่อยหมัดน็อคกลุ่มเป้าหมายให้อยู่หมัดยิ่งขึ้น

กลยุทธ์ win win ของเมเจอร์ ที่จะรู้ใจลูกค้า ส่วน “มาร์เวล” ได้ขยายฐานและสร้างความผูกพันกับแฟนพันธุ์แท้ เพื่อไปสู่ผลลัพธ์สุดท้าย รับยุคที่แบรนด์ต้อง “รบกับความต้องการของผู้บริโภค” อย่างแท้จริง.

]]>
1144775