MONO29 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 16 Nov 2023 13:47:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กางแผน ‘MONO’ หลัง AIS เข้าซื้อ 3BB และการดันรายได้ MONOMAX แซงช่อง MONO 29 https://positioningmag.com/1452160 Thu, 16 Nov 2023 10:56:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452160 อย่างที่หลายคนรู้ก็คือ เอไอเอส (AIS) ได้เข้าซื้อกิจการของ 3BB และนอกจากสมาชิกของ 3BB แล้ว อีกสิ่งที่พ่วงตามไปด้วยก็คือ คอนเทนต์จาก MONOMAX ที่ร่วมกันทำ 3BB GIGATV ดังนั้น ในวันที่ 3BB เปลี่ยนเจ้าของ และธุรกิจทีวีดิจิทัลที่เป็นขาลง บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ MONO จะเดินหน้าอย่างไรต่อไป

มั่นใจเอไอเอสช่วยดันลูกค้าเพิ่ม 20%

ปฐมพงศ์ สิรชัยรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ MONO เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นความร่วมมือของ MONOMAX กับ 3BB จนเกิดเป็น 3BB GIGATV ว่า 3BB อยากได้อาปู้ (ARPU) Average Revenue Per User หรือ รายได้เฉลี่ยของผู้ให้บริการต่อลูกค้าหนึ่งคนเพิ่ม เลยได้ MONOMAX เข้ามาพ่วงเพื่อหารายได้ร่วมกัน

ซึ่งจุดแข็งของ 3BB นั้นคือ ต่างจังหวัด โดยคิดเป็นถึง 70% ของลูกค้า ซึ่งคอนเทนต์ของ MONOMAX ตรงใจกับคนต่างจังหวัด เพราะเป็น พากย์ไทย 100% ไม่เหมือนคนเมืองหรือวัยรุ่นที่อ่านซับฯ ได้

“กลายเป็นว่า HBO ไม่ใช่คอนเทนต์นำอย่างที่ 3BB คิด แต่เป็น MONOMAX”

ปฐมพงศ์ เชื่อว่า การที่ 3BB กลายเป็นส่วนหนึ่งของเอไอเอส จะช่วยเพิ่มจำนวนสมาชิกได้ประมาณ 20% เพราะในปีหน้าบริการ MONOMAX จะบัลเดิลไปกับกล่อง AIS Play จากเดิมที่เริ่มทดลองให้บริการการร่วมกันเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2022 ส่งผลให้ลูกค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 5% ปัจจุบัน MONOMAX มีสมาชิกประมาณ 8.6 แสนราย

“ตอนที่เราอยู่กับ 3BB เราไม่เคยทำงานร่วมกับเอไอเอสเลย เพราะเขาถือว่าเราเป็นพันธมิตรกับคู่แข่ง” ปฐมพงศ์ กล่าว

ทีวีกลับมาไม่ได้แล้ว

ในยุคนี้ธุรกิจทีวีมีแต่จะถดถอยลง เพราะผู้บริโภคยุคใหม่ดูทีวีน้อยลง โดยมีการประเมินว่า การรับชมทั่วโลกจะลดลง 10% ทุกปี ขณะที่รายได้จาก โฆษณาลดลง 4-12% ทุกปี ในส่วนช่อง MONO 29 ยอดรับชมลดลงใกล้เคียงกันที่ 10% ทุกปี และนับตั้งแต่ปี 2023 คาดว่ารายได้โฆษณาลดลง 15-20% หรือเฉลี่ยลดลง 4% ต่อปี

กลับกัน การเติบโตของบริการสตรีมมิ่งยังสูงขึ้น โดยจากการประเมินของ กสทช. พบว่ามูลค่าตลาด OTT ในปี 2022 อยู่ที่ 14,600 ล้านบาท มีผู้ใช้บริการกว่า 22 ล้านครัวเรือน ที่ใช้บริการ เติบโต 26.15% และปีนี้คาดว่าจำนวนครัวเรือนจะเติบโต 36.19% ส่วนมูลค่าตลาดคาดว่าจะเติบโต 20% และภายในปี 2024-2025 จะเติบโตเฉลี่ย 33% ต่อปี ขณะที่การสมัครบริการ OTT แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่ 4-5 แอปต่อครัวเรือน ส่วนการสมัครแบบเสียค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 2-4 แอปต่อครัวเรือน

รายได้ MONO MAX จะแซง MONO 29 ในปีหน้า

ในช่วง 9 เดือนแรก บริษัทมีรายได้รวม 1,387 ล้านบาท แบ่งเป็นทีวีดิจิทัล 795 ล้านบาท ตามด้วยแพลตฟอร์ม MONOMAX มีรายได้ 400 ล้านบาท และอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ปฐมพงศ์ คาดว่า MONOMAX จะทำรายได้แซงหน้า MONO 29 ภายในไตรมาส 2 ปี 2024 โดยจุดแข็งของ MONOMAX คือ พากย์ไทย 100% และ คอนเทนต์จีน นอกจากนี้มีคอนเทนต์จาก อินเดีย บ้าง ส่วนใหญ่เป็นแนวแอ็คชั่น

“ทีวีมาชัวร์แล้ว คนอาจไม่ดูมากไปกว่านี้ แต่สตรีมมิ่งยังโตได้อีก ทีวีต้องลงทุนเยอะ ซับซ้อน แต่สตรีมมิ่งซับซ้อนน้อยกว่า โอกาสทำกำไรมากกว่า ซึ่งพฤติกกรรมผู้บริโภคต่างจาก 8 ปีก่อนที่เราพึ่งเริ่ม ตอนนั้นเขาจ่ายเงินยากมาก ตอนนี้เขายอมจ่าย แต่ตอนนี้ผู้เล่นมีหลายราย เราจะดึงเงินให้เขามาจ่ายอย่างไรคือความท้าทาย”

อัดงบคอนเทนต์ 1,200 ล้านบาท

การจะดันรายได้ของ MONOMAX และรักษารายได้ MONO 29 ก็คือ คอนเทนต์ โดยวางงบไว้ 1,200 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กัน คือ

  • ผลิตออริจินอลคอนเทนต์ (ปีละ 8-12 เรื่อง)
  • คอนเทนต์สำหรับ MONO29 (ภาพยนตร์ฮอลลีวูด 5-8 เรื่อง/เดือน)
  • คอนเทนต์สำหรับ MONOMAX (ปัจจุบันมี 3,000 เรื่อง)

โดยในส่วนของ MONO29 ช่วงไพรม์ไทม์ของช่อง (6 โมงเย็นถึง 4 ทุ่ม) จะยังฉายภาพยนตร์ฮอลลีวูด และปีหน้าจะโฟกัสที่รายการข่าวและวาไรตี้มากขึ้น นอกจากนี้ หลังจากที่ทดลองนำซีรีส์จีนที่ลงในแพลตฟอร์ม MONOMAX มาฉายในช่วงกลางวันก็ได้รับการตอบรับที่ดี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มยอดผู้ใช้งานใน MONOMAX อีกทางด้วย

สำหรับจำนวนสมาชิก MONOMAX ปีหน้า ปฐมพงศ์ คาดว่าจะทะลุ 1 ล้านราย และเพิ่มเป็น 2-2.85 ล้านรายภายในปี 2025

]]>
1452160
MONO เขย่าผังองค์กรครั้งใหญ่! เลย์ออฟพนักงานกว่า 200 คน หลังรายได้ไม่เข้าเป้า https://positioningmag.com/1261122 Fri, 17 Jan 2020 17:13:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261122 MONO เจ้าของช่องทีวีดิจิทัล MONO29 หรือ บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) เขย่าโครงสร้างองค์กร ปรับลดพนักงาน 200 คน ยอมรับรายได้พลาดเป้าหมายในปีนี้

ฝ่ายบริหารงานบุคคล MONO29 ได้เรียกพนักงานฝ่ายต่างๆ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ โดยต้องลดจำนวนคนรวมแล้วประมาณ 200 คน ถือว่าเป็นการปรับใหญ่ที่สุดครั้งแรกของ MONO ซึ่งปัจจุบันฝ่ายข่าวมีพนักงานอยู่ประมาณ 80 คน และฝ่ายอื่นๆ ที่ต้องปรับรวมถึงฝ่ายบันเทิง ฝ่ายบริการลูกค้า

ขณะเดียวกันมีการตั้งบรรณาธิการบริหารฝ่ายข่าวคนใหม่ เบญจวรรณ สมสิน จากช่อง 3 แทนบรรณาธิการคนเดิมซึ่งได้ออกไปก่อนหน้านี้ราวกลางเดือนมกราคม

สำหรับโครงสร้างธุรกิจ MONO ประกอบด้วย 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มธุรกิจสื่อ สื่อทีวี สื่อออนไลน์ บริการสมัครรับข้อมูลข่าวสาร สื่อวิทยุ และ กลุ่มธุรกิจการให้บริการคอนเทนต์ ประกอบด้วย ธุรกิจภาพยนตร์ ธุรกิจกีฬา ธุรกิจเพลง ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจเกม ธุรกิจคอมเมิร์ซ

ทั้งนี้ MONO รายงานผลประกอบการล่าสุดในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 งวด 3 เดือน รายได้สื่อโฆษณาทีวี ลดลง 32.56 ล้านบาท คิดเป็น 7.85% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และลดลง 123.40 ล้านบาท คิดเป็น 24.40% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีเดียวกัน

เนื่องจากไตรมาส 3 มี การแข่งขันที่รุนแรง เป็นผลจากช่องในอันดับ Top 5 มีเรตติ้งเติบโตขึ้นมาก อีกทั้งยังมีการจัดโปรโมชั่นเพื่อดึงเงินโฆษณาในช่วงเวลาดังกล่าว

ขณะที่รายได้จากการให้บริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ประจำไตรมาส 3 อยู่ที่ 18.62 ล้านบาท ลดลง 20.37 ล้านบาท คิดเป็น 52.24% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่มีแนวโน้มทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม รายได้บริการ Monomax มีทิศทางที่ดีขึ้น โดยเพิ่มขึ้น 3.62 ล้านบาท คิดเป็น 30.65% เมื่เทียบกับไตรมาสที่แล้วของปีเดียวกัน รายได้สปอนเซอร์ชิปเพิ่มขึ้น 34.74 ล้านบาท คิดเป็น 228.85% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 19.08 ล้านบาท คิดเป็น 61.87% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีเดียวกัน

สรุปผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ของปี62 บริษัทฯ มี EBITDA ลดลง 30.44% และขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 86.34% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีเดียวกัน ปัจจัยหลักเป็นผลจากรายได้การให้บริการสื่อโฆษณาลดลง

เมื่อรวม 9 เดือนของปี 2562 ขาดทุนสุทธิ 384.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่ขาดทุนสุทธิ 36.86 ล้านบาท โดย ราคาหุ้น MONO ปิดตลาดวันนี้ (17 ม.ค.) ปิดตลาดที่ 1.08 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง ด้วยมูลค่าซื้อขาย 3.63 แสนบาท

ก่อนหน้านี้ นายปฐมพงศ์ สิรชัยรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ระบุว่าบริษัทวางแผนในช่วง 3 ปี (ปี 2563-65) โดยตั้งเป้ารายได้จะปรับขึ้นไปแตะ 5 พันล้านบาทในปี 2565 แม้ว่าในปีนี้คาดว่ารายได้จะพลาดเป้าหมายที่วางไว้ในระดับ 3.5 พันล้านบาท

พร้อมทั้งคาดว่าจะสามารถล้างขาดทุนสะสมที่มี 1.58 พันล้านบาทภายใน 3 ปีนี้ โดยจะพลิกกลับมามีกำไรในปี 2563

Source

]]>
1261122
ศึกชิงเรตติ้งข่าว! “ทีวีดิจิทัล” เขย่าผังดึง “คนดัง” ลงจอ หวังแย่งผู้ชม-เค้กโฆษณาหลัง “ช่องข่าว” คืนไลเซ่นส์ https://positioningmag.com/1245062 Tue, 03 Sep 2019 11:58:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1245062 สมรภูมิทีวีดิจิทัลโค้งสุดท้ายของปี ศึกคอนเทนต์รอบใหม่ พุ่งเป้าไปที่รายการข่าวหลัง 7 ช่อง พ่ายเกมการแข่งขันลาจอก่อนจบอายุใบอนุญาต มีช่องข่าว 3 ช่อง สปริงนิวส์ ไบรท์ทีวี และวอยซ์ทีวี หากรวมไทยทีวีที่ออกจากตลาดไปก่อนตั้งแต่ปี 2558 เหลือช่องข่าว” 3 ช่อง จาก 7 ช่องที่ กสทช. ออกใบอนุญาตไว้ในปี 2557

ในมุมของโอกาสทำรายได้จาก “รายการข่าว” ที่โกยเรตติ้งในกลุ่มผู้นำ สามารถทำเม็ดเงินโฆษณาเป็นกอบเป็นกำไม่แพ้คอนเทนต์อื่นๆ เห็นได้จากยุคผู้ประกาศดัง “สรยุทธ สุทัศนะจินดา” ปั้นแบรนด์ “ครอบครัวข่าว” ให้ช่อง 3  ติดอันดับท็อปเรตติ้ง มาในยุคนี้ “พุทธอภิวรรณ องค์พระบารมี” สร้างชื่อเรตติ้ง “ทุบโต๊ะข่าว” ช่องอมรินทร์ทีวี ขึ้นมาติดอันดับช่องท็อปเท็นเช่นกัน

หากวิเคราะห์เม็ดเงินโฆษณาทีวี ปีละ 6 – 7 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 70% มาจากละครและวาไรตี้ ที่มีเรตติ้งสูงสุด ราคาโฆษณา rate card แตะระดับ 3 – 4 แสนบาทต่อนาที ขณะที่รายการข่าวมีสัดส่วนราว 20% ของเม็ดเงินโฆษณาทีวี หรือกว่า 1.2 – 1.4 หมื่นล้านบาทต่อปี ต้องถือว่าไม่น้อย ที่สำคัญต้นทุนต่ำกว่าละครและรายการวาไรตี้ จึงเป็นเรื่องปกติเมื่อทีวีดิจิทัล ที่เหลืออยู่จะหันมาโฟกัสคอนเทนต์ข่าวเพื่อปั้นเรตติ้งและเม็ดเงินโฆษณา ช่วงไตรมาสสุดท้ายนี้ จึงเห็นหลายช่องประกาศผังข่าวใหม่กันคึกคัก

9 MCOT” เขย่าผังข่าวเช้า

เป็น 1 ใน 7 ช่อง “ทีวีดิจิทัล” ที่ขอคืนใบอนุญาต ช่องเด็ก Mcot 14 Family มีคิวลาจอเที่ยงคืนวันที่ 15 ก.ย. 2562 เพื่อมาโฟกัสคอนเทนต์ช่องหลัก 9 Mcot HD

เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท กล่าวว่าตั้งแต่เดือน ก.ย. นี้ ช่อง 9 ได้ปรับผังรายการใหม่ มีสัดส่วนรายการบันเทิง 39% ข่าวและรายงานสถานการณ์ 37% สาระและความรู้ 8% กีฬา 8% และสาระบันเทิง 8% เป็นรายการที่สถานีผลิตเอง 64% ร่วมผลิตและแบ่งรายได้ 14% และเช่าเวลา 22%

โดยเริ่มทยอยปรับผังรายการตั้งแต่กลางเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา เริ่มด้วยการถ่ายทอดสดรายการมวยไทย “แม็กซ์ มวยไทย” รูปแบบ Sport Entertainment ซึ่งเป็นรายการมวยเรตติ้งสูง ที่ย้ายมาจากช่องสปริง 26 ออกอากาศ 5 วัน วันอาทิตย์-วันพฤหัสบดี เวลา 18.00 น.

อีกไฮไลต์การปรับผังเดือน ก.ย. นี้ คือกลุ่มรายการข่าวเช้า เน้นเนื้อหาวิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจระดับโลก ทั้งการค้าการลงทุน หุ้น ทั่วโลก และสัมภาษณ์กูรูผู้เชี่ยวชาญ เริ่มด้วยช่วงเช้ารายการ “เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand” โดย “ดนัย เอกมหาสวัสดิ์” และ “อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-09.30 น.

ส่วนช่วงค่ำ โดย 2 กูรูคนข่าว กับบทวิเคราะห์เจาะลึกข่าวในประเทศและรอบโลก โดยวีระ ธีรภัทร ในรายการ “ฟังหูไว้หู” และสุทธิชัย หยุ่น ในรายการ “กาแฟดำ”

“ช่อง 9 อสมท กำลังทยอยปรับเนื้อหาอีกหลังจากนี้ เพื่อวาง Positioning ที่ชัดเจน ให้เป็น top of mind ด้านคอนเทนต์และแพลตฟอร์ม ทั้งเทรดดิชันนอล มีเดียและโซเชียล มีเดียมากขึ้น”

“โมโน29” หวังผังข่าวติดท็อปเท็น

หลังจากใช้คอนเทนต์บันเทิง ภาพยนตร์-ซีรีส์ ต่างประเทศ ขึ้นมายึด เรตติ้งอันดับ 3 มาพักใหญ่ ก็ได้เวลา MONO29 ต้องเสริมความแข็งแรงให้คอนเทนต์ใหม่ๆ และก็มุ่งเป้ามาที่ “รายการข่าว” เช่นกัน

บรรณสิทธิ์ รักวงษ์ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง MONO29 ในเครือโมโนกรุ๊ป กล่าวว่า โมโนได้ปรับทัพคอนเทนต์ข่าวใหม่ โดยดึง ต๊ะ-พิภู พุ่มแก้วกล้า มาเป็นหัวเรือใหญ่ของทีมผู้ประกาศข่าว เพื่อนำเสนอรายการข่าวภายใต้คอนเซ็ปต์MONO29 NEWS สร้างสรรค์ มีสาระ เข้าใจง่าย”

“โจทย์สำคัญของเรา คือจะทำอย่างไรให้ผู้ชมรู้ว่าช่องโมโน 29 มีรายการข่าวเหมือนกับช่องอื่นๆ เพราะคอนเทนต์ส่วนอื่น ทั้งหนังและกีฬาบาสเกตบอลคนรู้อยู่แล้วว่าต้องดูที่ช่องโมโน”

การปรับทัพรายการข่าวและผู้ประกาศข่าวของสถานีในรอบ 5 ปี ได้ให้น้ำหนักกับรายการข่าวมากขึ้น ทั้งเนื้อหา รูปแบบการนำเสนอข่าวแบบบอกเล่าเข้าใจง่าย เพราะต้องการให้เป็นรายการข่าวแนวทางใหม่ๆ รวมทั้งปรับทีมผู้ประกาศข่าวใหม่ โดยมี ต๊ะ-พิภู พุ่มแก้วกล้า เป็นทัพหน้า เจาะฐานผู้ชมกลุ่มแมส เช่นเดียวกับคอนเทนต์อื่นๆ ของสถานี

หลังปรับผังข่าวใหม่ โมโน คาดหวัง ให้เรตติ้งรายการข่าวที่อยู่อันดับ 15 – 16 ก้าวขึ้นมาติดท็อปเท็น เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้

หนึ่งในรายการข่าวไฮไลต์ คือ “กระแสโลก World News” จันทร์-ศุกร์ เวลา 05.00 – 05.30 น. ที่มี สุผจญ กลิ่นสุวรรณ ในฐานะพิธีกรอิสระ รับหน้าที่เป็นผู้ประกาศร่วมกับ คริสโตเฟอร์ ไร้ท์ ด้วยเป้าหมายทำให้คนดูหันมาเสพข่าวต่างประเทศมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีรายการ “ข่าวเช้า Good Morning Thailand” วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 05.30-07.30 น. ดำเนินรายการโดย พิภู พุ่มแก้วกล้า, นนทกฤช กลมกล่อม, วรวิตา จันทร์หุ่น, เจษฎา มณีรัตน์ และ เลลาณี ทศพร นำเสนอความเคลื่อนไหวต่างๆ และสถานการณ์ที่น่าสนใจในรอบวัน เจาะลึกประเด็นดังและขยายมุมมองเชิงสร้างสรรค์

รายการ “เจาะข่าวเด็ด The Day News Update” จันทร์-ศุกร์ เวลา 15.20-15.45 น. ดำเนินรายการโดย นนทกฤช กลมกล่อม และ พบเอก พรพงเมตตา เจาะประเด็นเด่นรอบวัน สุดท้ายคือรายการ “ข่าวสั้น Motion News” เกาะติดข่าวรอบวัน ดำเนินรายการโดย ธนภัทร ศุภวรรณาวิวัฒน์ ออกอากาศทุกวัน วันละ 3 ช่วงเวลา คือ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 น., 11.55 น. และ 22.00 น. ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.30 น., 15.00 น., และ 22.30 น.

“ช่อง 3” ชิงพื้นที่ข่าวตั้งแต่เช้ามืด

ฟากผู้นำเรตติ้งกลุ่มบันเทิง “ช่อง 3” ขยับปรับโฉมรายการข่าวเช่นกัน โดยเดือน ก.ย. นี้ เริ่มรายการข่าวตั้งแต่เช้ามืด 04:00 น. เป็นต้นไป ด้วยรายการ “โลกยามเช้า” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 04.00-04.30 น. และ “ครอบครัวข่าว 3” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 04.30-05.30น.

โดย “โลกยามเช้า” จะนำเสนอข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศที่ทั่วโลกให้ความสนใจในแต่ละวัน เกาะติดสถานการณ์รอบโลก เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจและเข้าถึงครบทุกประเด็นทั้ง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโนโลยี รวมถึงแง่มุมวัฒนธรรม ความบันเทิง ดำเนินรายการโดย “ศมจรรย์ จรุงวัฒน์”

ต่อด้วยรายการ “ครอบครัวข่าว 3” โดย 4 พิธีกร นำทีมโดย เอ ดนยกฤตย์ แดงหวานปีสีห์ – นิธินาฏ ราชนิยม – ทนายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ และ คำรณ หว่างหวังศรี เป็นการสรุปข่าวใหม่และข่าวใหญ่ให้ผู้ชมไม่ตกข่าว รวมถึงประเด็นเหตุการณ์สำคัญในรอบวัน

จากนั้นต่อด้วยรายการข่าวหลัก เริ่มตั้งแต่ เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง เรื่องเล่าเช้านี้ แฟลชนิวส์ เที่ยงวันทันเหตุการณ์ เรื่องเด่นเย็นนี้ ข่าว 3 มิติ โลกยามเช้าสุดสัปดาห์ และเรื่องเล่าเสาร์ อาทิตย์

“ช่อง 5” จัดมาทั้งข่าวและวาไรตี้

สำหรับ ช่อง 5 สู้ศึกเรตติ้งโค้งสุดท้าย จัดรายการใหม่ลงผังเดือน ก.ย. 2562 ทั้งรายการข่าวและวาไรตี้ รายการ ไฮไลต์ฝั่งข่าว ยกให้ Halftime Report ผลิตรายการโดย JKN-CNBC ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.30-12.00 น. นำเสนอสถานการณ์การลงทุนและการซื้อขายหุ้นในตลาดโลก วิเคราะห์ผลกระทบรวมถึงข่าวสารที่เกี่ยวกับตลาดการลงทุนของไทย

ส่วนกลุ่มรายการข่าวเดิม มีทั้งข่าวเช้า ข่าวเที่ยง ทันข่าวต้นชั่วโมง ฮาร์ดคอร์ข่าว ข่าวภาคค่ำ และจับประเด็นข่าวร้อน  เพิ่มเติมเข้ามา คือ “กีฬานอกสนาม” ที่จะนำเสนอข่าวแวดวงกีฬา ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟูกีฬาพื้นบ้านไทย ดำเนินรายการโดย ณฐมน ใบบัว พิธีกรภาคสนาม ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ช่วงข่าวกีฬาภาคค่ำ

ส่วนวาไรตี้ รูปแบบซิทคอมสั้น “ชุมชนปรองดอง” เรื่องราว ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชน “ไอดินกลิ่นทุ่ง” ร่วมผลิตกับ ฟินนาเร่คิดส์ ครีเอทีฟ ตามด้วย ซีรีส์อินเดีย “อิทธิฤทธิ์เทพนาคา” และซีรีส์ “ลูกผู้ชายหัวใจทองคำ”

นี่แค่ผังรายการข่าวที่หลายช่องเริ่มขยับเพื่อช่วงชิงฐานผู้ชมจากช่องข่าวที่ “ลาจอ” คืนใบอนุญาต สำหรับ 15 ช่องทีวีดิจิทัลที่ขอไปต่อ ยังคงอยู่ในสมรภูมิแข่งขันดุเดือดและยังต้องเติมผังรายการใหม่เข้ามาสร้างเรตติ้ง เพื่อให้เป็นผู้รอดในอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล.

]]>
1245062
โฆษณายังไม่ฟื้น! รายได้ไตรมาส 2 “ช่อง 3-MONO” ขาดทุน “เวิร์คพอยท์” กำไรวูบ https://positioningmag.com/1242061 Mon, 12 Aug 2019 23:05:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242061 อุตสาหกรรมโฆษณาปีนี้เรียกว่ายังไม่ฟื้นนีลเส็น รายงานงบโฆษณาครึ่งปีแรก 2562 มีมูลค่ารวม 50,702 ล้านบาท ติดลบ 2% “สื่อทีวีที่ครองสัดส่วนสูงสุดมูลค่า 33,079 ล้านบาท ลดลง 0.58%

ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวชัดเจนหลังมีรัฐบาลใหม่ “ธุรกิจทีวี” ที่พึ่งพารายได้จากโฆษณาจึงอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก สะท้อนจากผลประกอบการ ไตรมาส 2 ของธุรกิจทีวีดิจิทัล ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ยังเผชิญปัญหาขาดทุนและกำไรลดลง 

“ช่อง 3” ไตรมาส 2 ขาดทุน 103 ล้าน

บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) หรือ BEC รายงานตลาดหลักทรัพย์ว่า ไตรมาส 2 ปี 2562 มีรายได้ 2,092 ล้านบาท ลดลง 22.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 3.4% จากไตรมาสแรกปีนี้ ทำให้ไตรมาส 2 ปีนี้ยังมีผล ขาดทุน103.6 ล้านบาท

โดยรายได้จากการขายเวลาโฆษณาของกลุ่ม BEC อยู่ที่ 1,814.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.6% จากไตรมาสแรก แต่ลดลง 23% จากไตรมาส 2 ปี 2561 รายได้ที่ลดลงมาจากนาทีขายโฆษณาลดลง จากภาวะการแข่งขันสูงและเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งรายได้หลักของ BEC มาจากการขายโฆษณาช่อง 3 สัดส่วน 86.7% ของรายได้รวม ขณะที่รายได้จากการให้ใช้ลิขสิทธิ์และบริการอื่นๆ เติบโต 19.9% จากไตรมาสแรก และมีสัดส่วน 11.8% ของรายได้รวม

หลังจาก อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้อำนวยการ กลุ่มบีอีซี เข้ามารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2562 วางเป้าหมายปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจของช่อง 3 ให้สอดรับการเปลี่ยนของอุตสาหกรรมสื่อในยุคดิจิทัล โดยวางแผนระยะสั้นเน้นการหารายได้จากธุรกิจหลักทีวีและออนไลน์ที่มีโอกาสเติบโตสูง รวมทั้งธุรกิจขายลิขสิทธิ์ไปต่างประเทศ (Global Content Licensing) และแผนระยะยาวมุ่งหารายได้จากธุรกิจต่อยอดธุรกิจเดิมและธุรกิจใหม่

MONO ขาดทุน แต่ทีวีดิจิทัลรายได้โต

สำหรับ บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ MONO รายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2562 มีรายได้ 613.74 ล้านบาท ลดลง 11.86% ขาดทุน 95.21 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนกำไร 13.66 ล้านบาท  ขณะที่ไตรมาสแรกปีนี้ ขาดทุน 112.36 ล้านบาท โดยรวมครึ่งปีแรกมีรายได้ 1,183 ล้านบาท ขาดทุน 207.56 ล้านบาท

แม้ภาพรวม โมโน “ขาดทุน” มาตั้งแต่ปี 2561 แต่รายได้สื่อโฆษณาทีวี ช่องทีวีดิจิทัล “โมโน 29” ไตรมาส 2 ปีนี้ อยู่ที่ 528.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.23% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน

ผลประกอบการขาดทุนของ โมโน มาจากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไตรมาส 2 ปีนี้ มีรายได้ 34.74 ล้านบาท ลดลง 63.79% โดยรายได้ที่ลดลงอย่างมากมาจาก ธุรกิจ Mobile Value Added Service (MVAS) ที่ให้บริการคอนเทนต์บันเทิง ดูดวง มีรายได้ 22.93 ล้านบาท ลดลง 73.55% ส่วนบริการ Monomax บริการดูหนังออนไลน์ ทำรายได้ 11.81 ล้านบาท เติบโต 27.55% และรายได้จากสปอนเซอร์ชิป 30.84 ล้านบาท เติบโต 67.70%

ดังนั้นช่วงไตรมาส 2 ถึงต้นไตรมาส 3 “โมโน” ได้ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในธุรกิจที่ผลประกอบการขาดทุน คือ ปิดธุรกิจนิตยสารและเกม รวมทั้งหยุดผลิตภาพยนตร์ในนามบริษัท T Moment ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับ “ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์” และลดขนาดธุรกิจ MVAS

“เวิร์คพอยท์” กำไร 72 ล้าน ลดลง 37%

บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการไตรมาส 2 ปีนี้ มีรายได้ 803 ล้านบาท ลดลง 4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน มีกำไร 72.56 ล้านบาท ลดลง 37% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มีกำไร 115.64 ล้านบาท

รายได้จากธุรกิจทีวี ช่องเวิร์คพอยท์และช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ รวมทั้งรายได้จากการให้เช่าช่วงเวลาช่องทีวีดิจิทัล รายได้จากการรับจ้างผลิตรายการ และการขายลิขสิทธิ์รายการไปยังต่างประเทศ ไตรมาส 2 ปี 2562 มีรายได้ 598 ล้านบาท ลดลง 20% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีรายได้ 746 ล้านบาท

การลดลงของรายได้ทีวี เนื่องจากภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อสูงขึ้น แต่ช่วงปลายไตรมาส 2 ช่องเวิร์คพอยท์ ปรับผังรายการใหม่ที่ได้รับความนิยมจากผู้ชม เช่น 10Fight10 รายการกล่องของขวัญ และรายการคู่เฟคคู่แฟน คาดว่าเรตติ้งเวิร์คพอยท์ จะขยับขึ้นช่วงครึ่งปีหลัง

ส่วนรายได้จากการรับจ้างจัดงานอีเวนต์ ไตรมาส 2 อยู่ที่ 83.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51.13 ล้านบาท หรือ 156% จากช่วงเดียวกันปีก่อน รายได้จากคอนเสิร์ตและละครเวทีอยู่ที่ 24.95 ล้านบาท ลดลง 16% ซึ่งช่วงครึ่งปีหลัง มีแผนจัดงานคอนเสิร์ตและละครเวทีเพิ่มขึ้น

สำหรับรายได้จากการขายสินค้าและบริการ แบ่งเป็นการขายสินค้า ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามแบรนด์ Let Me In Beauty และ Me Vio การขายสินค้า Studio Shop และสินค้าขายฝากทางรายการ 1346 Hello Shop ส่วนการบริการมาจากการให้เช่าพื้นที่โรงละคร และรายได้จากบริการจัดหานักแสดง ไตรมาส 2 รายได้ในกลุ่มนี้ อยู่ที่ 95.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 200% จากช่วงเดียวกันปีก่อน มาจากรายได้ขายสินค้า 1346 Hello Shop เป็นหลัก

]]>
1242061
คนไทยนิยมเสพหนัง ตปท. โมโน ฟันเรตติ้งเติบโตสูงสุด ปี 61 https://positioningmag.com/1206660 Fri, 04 Jan 2019 11:57:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1206660 เปิดเรตติ้งทีวีดิจิทัลประจำปี 2561 ผลปรากฏว่า ด้วยพลังหนังและซีรีส์ต่างประเทศ ทำให้ “โมโน” เป็นช่องที่มีเรตติ้งโตสูงสุดของปี ปักหลักมั่นคงในอันดับ 3 ตามติดด้วยไทยรัฐทีวี และกลุ่มช่องข่าว จากข่าวดังแห่งปี “13 หมูป่าติดถ้ำหลวง”

ปี 2561 เป็นปีแรกที่โมโนขึ้นมายืนอยู่ในอันดับ 3 แทนที่เวิร์คพอยท์ จากการพิสูจน์ว่า การพึ่งพิงหนังดังต่างประเทศ ก็สามารถดันเรตติ้งช่องขึ้นมายืนในอันดับต้นๆ ได้ ด้วยเรตติ้งเฉลี่ยของปี 0.853 เพิ่มขึ้น 0.151 จาก 0.702 ของปี 2560

Mission Impossible

โมโน ยังคงตอกย้ำจุดยืนของการเป็นช่องหนังและซีรีส์ต่างประเทศ จึงทุ่มทุนตุนหนังดังทั้งจากฝั่งฮอลลีวูด, จีน และเกาหลี จัดลงผังถึง 5-6  เรื่องต่อวัน และยังมีซีรีส์ดังจัดลงทุกช่วงของวัน ถึงวันละ 5 เรื่อง บางช่วงจัดชุดใหญ่ ด้วยหนังชุด ต่อเนื่องในทุกภาค เช่น แฮรี่ พอตเตอร์ หรือหนังบู๊ระห่ำอย่าง Mission Impossible เจาะตลาดผู้ชมในกลุ่มต่างจังหวัดได้เป็นส่วนใหญ่

ไทยรัฐทีวี สร้างชื่อเสียงความนิยมไว้จากข่าว “13 หมูป่าติดถ้ำหลวง” กลายเป็นช่องข่าวอันดับ 1 แซงหน้ากลุ่มช่องข่าว และช่องอมรินทร์ทีวี คู่แข่งด้านรายการข่าวในช่วงเวลาหลังข่าว 2 ทุ่ม ด้วยรายการข่าวหลักประจำวัน “ไทยรัฐนิวส์โชว์”

กรณีข่าว “หมูป่า” ยังช่วยดันเรตติ้งอีก 2 ช่องข่าว เนชั่นทีวี และไทยพีบีเอส เรตติ้งเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเนชั่นทีวีมีเรตติ้งเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จากเรตติ้งเฉลี่ย 0.075 ในปี 2560 มาอยู่ที่ 0.121 ในปี 2561 ในขณะที่อมรินทร์ทีวี ก็มีเรตติ้งขยับขึ้นจากรายการข่าวและการได้สิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2018

ช่องละครเด่น เรตติ้งลด เหตุแข่งขันสูง 

สำหรับช่องที่มีละครเป็นคอนเทนต์หลัก ทั้งช่อง 7, ช่อง 3, ช่องวัน และช่อง 8 ล้วนมีเรตติ้งเฉลี่ยช่องลดลงเมื่อเทียบกับปี 2560 ทั้งหมด แม้ว่าคอนเทนต์ละคร คือหัวใจสำคัญที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากผู้ชมทีวี แต่ด้วยการแข่งขันสูงจากทั้งละครต่างช่อง และคอนเทนต์ประเภทอื่น ทำให้เรตติ้งละครของแต่ละช่องมีความแกว่งตัวสูง มีทั้งได้รับความนิยมเรตติ้งสูง เป็น Talk of the town แต่ก็ได้เฉพาะบางเรื่อง ในขณะที่หลายเรื่องแป้ก

ช่อง 3 มีละครปรากฏการณ์ของปี “บุพเพสันนิวาส” เข้ามาช่วยพยุงเรตติ้งเฉลี่ยช่องให้ลดลงไม่มาก จาก 1.348 มาอยู่ที่ 1.331 ในขณะที่ช่องวัน มีละครดังแห่งปี “เมีย 2018” ทำเรตติ้งสูงสุดของช่อง แต่รายการประเภทอื่นๆ ในช่องยังไม่แรงพอ เรตติ้งจึงลดลงเล็กน้อยจาก 0.537 มาอยู่ที่ 0.527 ส่วนช่อง 8 เพิ่งมาได้ละคร “สาปกระสือ” ในช่วงครึ่งปีหลัง มาช่วยพยุงช่องหลังจากซีรีส์อินเดียขาลง เรตติ้งเฉลี่ยจึงลดลงจาก 0.569 มาอยู่ที่ 0.530

พ่อมดเจ้าเสน่ห์

ช่อง 7 ในฐานะแชมป์เรตติ้งมาทุกปี กลายเป็นช่องที่สูญเสียฐานผู้ชม เรตติ้งลดลงสูงสุดของปี 2561 โดยในปีนี้ ไม่มีละครเรื่องใดของช่อง 7 สามารถทำเรตติ้ง 2 หลัก เกิน 10 ได้เหมือนปีก่อนๆ ในช่วงไตรมาส 3 ของปี ยังเผชิญหน้ากับ วิกฤตละครไพรม์ไทม์เรตติ้งดิ่งลงหนัก โดยเฉพาะเรื่อง “พ่อมดเจ้าเสน่ห์” กลายเป็นละครที่มีเรตติ้งต่ำสุดของช่อง 7 ด้วยเรตติ้งเฉลี่ยเพียง 3.60 อีกทั้งบางตอนยังได้เรตติ้งต่ำกว่า 3 ด้วย

เรตติ้งเฉลี่ยของช่อง 7 ลดลงมากที่สุดในปี 2561 ลดลงถึง 0.287 จาก 2.114 มาอยู่ที่ 1.827

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางกลุ่มช่องละครนั้น ช่อง 3 SD ช่องที่ชัดเจนว่าเป็นช่องรีรันละครของช่อง 3 กลับกลายเป็นช่องที่ได้รับความนิยมสูงขึ้น จากชุดละครเก่าๆ ของช่อง 3 ด้วยเรตติ้งเฉลี่ย 0.309 เพิ่มจาก 0.279 ในปี 2560

สำหรับเวิร์คพอยท์ ยังคงเป็นช่องที่ต้องเดินหน้าหารายการใหม่ๆ ลงผังอย่างต่อเนื่อง ด้วยความหวังว่าจะมีรายการ “เปรี้ยง” รายการใหม่ที่สร้างความนิยมให้กับช่องได้สักที แต่ผลงานของปี 2561 ทั้งปี กลายเป็นว่า การได้สิทธิ์ถ่ายทอดสดรายการกีฬาใหญ่ 2 รายการ ทั้งเอเชียนเกมส์ และวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก เป็นคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของช่อง ทำให้เรตติ้งเฉลี่ยช่องตกลงมาก จากอันดับ 3 ในปี 2560 ด้วยเรตติ้งเฉลี่ย 1.001 หล่นฮวบมาอยู่ที่ 0.810 อยู่ในอันดับ 4

ส่วนช่องพลังดูด “พีพีทีวี” ที่เพิ่งมาเร่งเครื่องจากนโยบายดูดในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี เรตติ้งจึงขยับขึ้นไม่มาก จาก 0.162 มาอยู่ที่ 0.164 อยู่ในอันดับ 12 เช่นเดิม

ปี 2562 สมรภูมิการแข่งขันในวงการทีวีดิจิทัล ยังคงเดือดพล่าน ด้วยการประกาศทุ่มทุนของช่องเศรษฐี “พีพีทีวี” อย่างเต็มพลัง ชนิดที่ยากจะคาดเดาว่า ใครจะประสบความสำเร็จสูงสุด ใครจะเจ็บหนักสุด ในปีหมู ที่ไม่น่าจะหมูๆ.

]]>
1206660
ทีวี โฆษณาหด ไตรมาส 3/61 กำไรลดถ้วนหน้า อาร์เอสได้ Home Shopping ช่วย https://positioningmag.com/1198003 Sat, 17 Nov 2018 03:00:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1198003 สถานการณ์ของทีวีดิจิทัลเวลานี้ อยู่ในช่วง “ท้าทาย” อย่างมาก เมื่อรายได้จากค่าโฆษณาไตรมาส 3 ลดลงต่อเนื่อง ไม่เว้นแม้แต่ค่ายอาร์เอส ทีวีดิจิทัลช่อง 8 แต่อาศัยว่าธุรกิจ Home Shopping ยังเป็นรายได้หลักของบริษัท ทำให้บริษัทมีผลกำไรอยู่ที่ 106.6 ล้านบาท ลดลง 13.9%

อาร์เอสแจ้งผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2561 ว่า มีรายได้จากการขายและการให้บริการรวมของไตรมาส 3 ปีนี้อยู่ที่ 837.3 ล้านบาท ลดลง 15.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และลดลง 12.3% จากไตรมาส 2 ของปีนี้

ในส่วนของกำไร ก็ลดลงเช่นกัน โดยไตรมาส 3 ปีนี้ มีกำไรอยู่ที่ 106.6 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวของปีที่แล้ว 13.9% และลดลงถึง 36.1% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีนี้

อาร์เอสชี้แจงว่า สาเหตุที่รายได้และกำไรลดลง เป็นผลมาจากงบโฆษณาสื่อทีวีไตรมาส 3 ลดลงต่อเนื่องทุกเดือน โดยในเดือนกันยายนที่ผ่านมา งบโฆษณารวมลดลง 0.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 ซึ่งช่อง 8 ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ทำให้รายได้ส่วนนี้อยู่ที่ 300 ล้านบาท ลดลง 35.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จากค่าโฆษณาที่ 463.1 ล้านบาท

ในขณะที่รายได้จากธุรกิจขายสินค้าประเภท Home Shopping มีรายได้อยู่ที่ 495.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.7% จากปีก่อน แต่ลดลง 8.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เพราะได้รับผลกระทบจากข่าว การตรวจพบสินค้ามีสารปลอมปน สารต้องห้าม แต่อาร์เอสชี้แจงว่าจะเริ่มดีขึ้นหลังจากเดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป โดยรายได้จากการสินค้านี้ กลายเป็นสัดส่วนสำคัญถึง 54.9% ของรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจาก 42.8% ในปีก่อน และ 52.8% ในไตรมาส 2 ของปีนี้

กระแสละครไทย เรตติ้งมาแรงสุด แซงซีรีส์อินเดีย

อาร์เอสได้ชี้แจงว่าธุรกิจทีวีดิจิทัล ช่อง 8 ยังมีรายการหลักที่ได้รับความนิยมสูงมากขึ้นเรื่อยๆ คือละครไทย จากเนื้อหาหลัก คือ รายการขายสินค้า, ข่าว, ซีรีส์อินเดียและภาพยนตร์อินเดีย, มวย และละครไทย

ช่อง 8 เริ่มจัดละครไทยลงผังช่วงเย็นของวันทำงานเมื่อกลางปีนี้ ด้วยละคร “พยัคฆา” ส่งต่อมายัง “สาปกระสือ” ที่ออกอากาศตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน และเพิ่งจบไปเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

สำหรับ “สาปกระสือ” เป็นละครพีเรียด ดราม่า ลึกลับ ตามแบบฉบับของละครที่จับกลุ่มคนดูต่างจังหวัด ที่ผูกพันกับความเชื่อมาตั้งแต่ในอดีต เรื่องความลึกลับเกี่ยวกับกระสือ จึงสร้างความสนใจกับกลุ่มผู้ชมได้เร็วขึ้น

จากสรุปเรตติ้งเฉลี่ยทั้งเรื่อง มีเรตติ้งอยู่ที่ 2.136 เป็นผู้ชมในพื้นที่ต่างจังหวัดมากกว่ากรุงเทพฯ ตรงตามฐานผู้ชมของช่อง 8 โดยมีเรตติ้งสูงสุดในตอนจบ ได้สูงถึง 3.534

กลุ่มผู้ชมละครเรื่องนี้มากที่สุด เป็นกลุ่มผู้ชมอายุ 50+ และ อายุ 40-49 ปี แต่ที่น่าสนใจคือมีกลุ่มเด็กอายุ 4-9 ปี รับชมมาก รองลงมาด้วย เนื่องจากเป็นละครออกอากาศช่วงเย็น

“โมโน” พลิกขาดทุน 70 ล้าน 

ไตรมาส 3 ของปี 2561 นับเป็นไตรมาสแรกของปีนี้ ที่โมโนรายงานผลประกอบการขาดทุน หลังจากที่ทำกำไรอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 ด้วยผลกระทบจากรายได้โฆษณาที่กระจายตัว ในช่วงเทศกาลฟุตบอลโลก และกีฬาเอเชียนเกมส์ และรายได้ขาลงของธุรกิจให้บริการข้อมูลข่าวสารและบันเทิงผ่านมือถือ

ธุรกิจหลักของโมโน เทคโนโลยี มี 2 ส่วนคือ ธุรกิจสื่อ ที่มีทั้งทีวี ออนไลน์ วิทยุ และธุรกิจให้บริการคอนเทนต์ ทั้งภาพยนตร์ เพลง กีฬา เกม ท่องเที่ยว โดยรายได้หลักจะเป็นรายได้จากค่าโฆษณา ตามมาด้วยธุรกิจด้านการให้บริการข้อมูลข่าวสารผ่านมือถือ

จากผลประกอบการบริษัทโมโน เทคโนโลยี ไตรมาส 3 ปี 2561 ที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น ระบุว่า ไตรมาส 3 ของปี 2561 นั้น มีผลกระทบจากธุรกิจที่เป็นรายได้หลักทั้ง 2 ส่วน จนทำให้มีผลประกอบการขาดทุนเป็นครั้งแรกของปีนี้ โดยเฉพาะไตรมาส 3 ขาดทุนอยู่ที่ 69.99 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2560 ที่มีกำไรอยู่ที่ 70.69 ล้านบาท

ในขณะที่ผลประกอบการ 9 เดือนแรกของปี 2561 นั้น ก็ยังขาดทุนอยู่ที่ 36.86 ล้านบาท จากที่เคยกำไร 145.46 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปี 2560

ส่วนรายได้รวมในไตรมาส 3 ปี 2561 อยู่ที่  576.48 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้อยู่ที่ 711.30 ล้านบาท และรายได้รวมใน 9 เดือนปี 2561 ก็ลดลงเช่นกัน โดยลดลงจาก 2,051.19 ล้านบาทใน 9 เดือนแรกของปี 2560 มาอยู่ที่ 1,905.54 ล้านบาท

บอลโลก เอเชียนเกมส์ กระทบ

ช่องโมโน ครองเรตติ้งอยู่ในสถานะอันดับ 3 ของทีวีดิจิทัลทั้ง 25 ช่องในปัจจุบัน แต่ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา โมโนชี้แจงว่าได้รับผลกระทบจากมหกรรมฟุตบอลโลก และการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ที่ทำให้เรตติ้งของช่องในช่วงดังกล่าวตกลงมา โดยเฉพาะในช่วงเอเชียนเกมส์ ที่ถ่ายทอดสดโดยช่องเวิร์คพอยท์ ส่งผลให้เรตติ้งช่องโมโนตกลงมาอยู่ในอันดับ 4

โมโน ได้ชี้แจงว่า ปกติรายได้จากค่าโฆษณาจะเติบโตตาม TV rating ที่เพิ่มขึ้น แต่มหกรรมฟุตบอลโลกและเอเชียนเกมส์มีส่วนทำให้โฆษณาถูกกระจายออกไป รายได้จากค่าโฆษณาของช่องโมโนจึงได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน

โดยรายได้ค่าโฆษณาในไตรมาส 3 ปีนี้ อยู่ที่ 437.5 ล้านบาท ลดลง 9% จากช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่มีรายได้อยู่ที่ 478.63 ล้านบาท ส่วนรายได้โฆษณาใน 9 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 1,398.19 ล้านบาท นับว่าเพิ่มขึ้น 7.22% จากรายได้ช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่อยู่ที่ 1,304.05 ล้านบาท เนื่องจากไตรมาสก่อนหน้านี้รายได้จากค่าโฆษณายังเติบโต

ทั้งนี้ รายได้ที่ลดลงมาที่สุดคือ รายได้จากการให้บริการข้อมูลผ่านมือถือ โดยในไตรมาส 3 ปีนี้มีรายได้ 46.32 ล้านบาท ลดลง 71.84% จากรายได้ 164.51 ล้านบาท ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2560 ส่วนรายได้ในรอบ 9 เดือนของปีนี้อยู่ที่ 261.56 ล้านบาท ลดลง 54.35% จากรายได้ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีรายได้อยู่ที่  573.03 ล้านบาท

โมโนเองก็ระบุว่า ธุรกิจดังกล่าวมีแนวโน้มลดลง จึงได้พยายามหารายได้อื่นๆ เข้ามาชดเชยรายได้ในส่วนนี้.

]]>
1198003
ch7 ช่อง 7 ปาดเหงื่อ เรตติ้งละครไพรม์ไทม์ลดหนัก สะท้อนฐานคนดูยุคทีวีดิจิทัลปรับฐาน https://positioningmag.com/1194599 Fri, 26 Oct 2018 09:01:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1194599 ต้องนับเป็นช่วงท้าทายของช่อง 7 แชมป์เบอร์ 1 ครองเรตติ้งสูงสุด ต้องมาจอกับเรตติ้งละครช่วงเวลาไพรม์ไทม์ลดลงอย่างรวดเร็ว มาอยู่ในระดับ 3-4 จากชุดละครที่ออกอากาศในเดือนตุลาคมนี้ ถึง 2 เรื่องคือ “นางทิพย์” และ “พ่อมดเจ้าเสน่ห์”

ทั้ง “นางทิพย์” และ “พ่อมดเจ้าเสน่ห์” ต่างเป็นละครที่ช่อง 7 ตั้งความหวังไว้สูง โดยที่ “นางทิพย์” นั้น นำนางเอกของช่องถึง 3 คน ตั้งแต่ ฝนทิพย์-ปุ๊กลุ๊ก, มีน พีชญา และ มุก มุกดา ลงเล่นในเรื่องเดียวกันเป็นครั้งแรก ในขณะที่ “พ่อมดเจ้าเสน่ห์” คือละครแนวแฟนตาซี ภาคต่อ ภาคที่ 4 ของ ละครดัง “สาวน้อยในตะเกียงแก้ว” ที่ช่อง 7 เคยประสบความสำเร็จมาแล้วในอดีต

เรตติ้งละครทั้ง 2 เรื่อง นางทิพย์ และ พ่อมดเจ้าเสน่ห์ เปิดตัวตอนแรกได้ดีอยู่ที่ 4.914 และ 4.902 และเป็นเรตติ้งตอนที่ดีที่สุดของเรื่อง เพราะหลังจากนั้น ยิ่งออกอากาศเรตติ้งก็ยิ่งลดลงต่อเนื่อง จนตอนล่าสุดวันที่ 23 ตุลาคม นางทิพย์ มีเรตติ้งอยู่ที่ 3.507 ส่วน พ่อมดเจ้าเสน่ห์ มีเรตติ้งวันที่ 24 ตุลาคมอยู่ที่ 3.390 เท่านั้น

เมื่อเทียบกับเรตติ้งของรายการช่องอื่นๆ ที่ออกอากาศในช่วงเดียวกัน แม้ว่าละครทั้ง 2 เรื่องของช่อง 7 ยังคงเป็นแชมป์เรตติ้งในช่วงเวลาหลัง 2 ทุ่มเหมือนเดิมก็ตาม แต่​ตัวเลข “ความห่าง” กันนั้นย่นระยะเข้ามาใกล้กันมากขึ้น โดยวันที่ 23 ตุลาคม ละคร เนตรนาคิน” ช่องวัน ตอนจบ มีเรตติ้งอยู่ที่ 3.410 จี้ติดแบบหายใจรดต้นคอละคร “นางทิพย์” ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ตัวเลขเรตติ้งของละครช่อง 7 จะทิ้งห่างคู่แข่งในระดับเท่าตัวมาโดยตลอด

เมื่อดูตัวเลขแบบแยกพื้นที่ จะเห็นว่าเรตติ้งในพื้นที่ต่างจังหวัดที่เป็นฐานผู้ชมหลักของช่อง 7 ลดลงไปมาก โดยมีช่องอื่นๆ เข้ามาแย่งส่วนแบ่งในพื้นที่นี้ ทั้งละครคู่แข่งช่อง 3, ช่องวัน, หนังต่างประเทศช่องโมโน และรายการวาไรตี้ช่องเวิร์คพอยท์ เป็นผลจากการแข่งขันนำเสนอคอนเทนต์เรียกผู้ชมกันอย่างเต็มที่ของแต่ละช่อง ทำให้สามารถผู้ชมมีทางเลือกมากขึ้น จนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการเปิดทีวีแช่อยู่ที่ช่องใหญ่ๆ ตลอดวัน มาแสวงหาทางเลือกจากช่องใหม่ๆ มากขึ้น ฐานผู้ชมช่องใหญ่ที่เคยแข็งแกร่ง ก็ค่อยๆ สลายลงมากระจายอยู่ตามช่องใหม่ๆ

สถานการณ์นี้เกิดขึ้นกับช่อง 3 ด้วยเช่นกัน เห็นได้จากตัวเลขเรตติ้งของละครช่อง 3 ก็ปรับลดลงมาด้วยเช่นกัน เพียงแต่ไม่ลดลงอย่างฮวบฮาบเหมือนช่อง 7

ส่วนละครช่วงปลายสัปดาห์ ที่เป็นละครพีเรียดฟอร์มยักษ์ของช่อง “สายโลหิต” ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เรตติ้งสวิงขึ้นลง มีสูงสุดอยู่ที่ 5.415 และต่ำสุดอยู่ที่ 4.072 โดยที่ “สายโลหิต” กำลังจะจบลงในวันที่ 27 ตุลาคมนี้

หากดูจากสถิติเรตติ้งละครช่วงหลัง 2 ทุ่มของช่อง 7 ทั้งปีของปีนี้จะพบว่า ในปีนี้ยังไม่มีละครเรื่องใดของช่อง 7 มีเรตติ้ง 2 หลัก หรือเกิน 10 เลย โดยเรื่องที่มีเรตติ้งสูงสุดของปีนี้คือ “สัมปทานหัวใจ” ที่มี “เวียร์ ศุกลวัฒน์” แสดงนำ มีเรตติ้งตอนจบอยู่ที่ 9.480 และเรตติ้งเฉลี่ยทั้งเรื่องอยู่ที่ 7.627 ส่วนละครที่มีเรตติ้งสูงสุดของช่องในแต่ละสัปดาห์กลายเป็นละครเช้าวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ “สังข์ทอง” ทีมีเรตติ้งอยู่ในระดับ 7-8

การที่เรตติ้งลดลง นอกจากสาเหตุการแข่งขันแล้ว ส่วนใหญ่เป็นเพราะยอดคนดูออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งขายลิขสิทธิ์ละครไปลงช่องทาง LINE TV แต่ช่อง 7 ไม่ได้ขายสิทธิ์ให้ LINE TV เพราะฐานผู้ชมของช่อง 7 เป็นกลุ่มคนในต่างจังหวัด อีกทั้งช่อง 7 เน้นโปรโมตคนดูทางช่องทางออนไลน์ของตัวเองที่ Bagaboo TV เป็นหลัก เช่น การถ่ายทอดสดฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี เพื่อคัดเลือกทีมจากเอเชียไปแข่งขันชิงแชมป์โลก และช่อง 7 จัดลงช่องทางออนไลน์เท่านั้น

ทั้งนี้ตัวเลขคนดูช่องทางออนไลน์ของช่อง 7 สำหรับละคร เริ่มมีสูงมากขึ้นในล็อตละครชุดปัจจุบัน บางตอนมีตัวเลขคนดูในหลักหลายแสนคนแล้ว จาการทุ่มโปรโมตรายการที่ลงช่องทางออนไลน์อย่างเต็มที่

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเรตติ้งจากช่องทางทีวี ยังเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุด ดึงดูดโฆษณามาลง สร้างรายได้ให้กับช่องมากกว่า ช่องทางออนไลน์นั้นยังมีรายได้น้อยมาก

นอกจากนี้ ละครช่อง 7 โดนวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดคือ เรื่องคุณภาพงานถ่ายทำ โปรดักชั่น ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงให้เห็นมากขึ้น การอนุมัติละครมีความยากขึ้น จนมีกระแสข่าวว่า “กฤตย์ รัตนรักษ์” ผู้บริหารสูงสุดของช่อง 7 ต้องลงมาสั่งการงานอนุมัติละครเองผ่านตัวแทน

นับว่าเป็นสถานการณ์ที่พิสูจน์ผีมือช่องพี่ใหญ่ ผู้คร่ำหวอดในวงการทีวีไทยมาอย่างยาวนาน ว่าจะปรับตัวรับการแข่งขันที่มาเร็วเกินคาดได้อย่างไร

]]>
1194599
โมโน ส่ง “Harry Potter” โกยเรตติ้งไพรม์ไทม์ชิงเบอร์สาม เข้าใกล้บิ๊กช่อง 3 GMM25 ไต่อันดับ 12 ส่งซีรีส์เด็กใหม่ลง Netflix https://positioningmag.com/1187129 Mon, 10 Sep 2018 11:27:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1187129 จัดเต็มมาก เมื่อช่องโมโนจัดผังสู้ศึกไพรม์ไทม์ยิบตา ด้วยการส่งภาพยนตร์ชุด Harry Potter ทั้ง 7 ภาค เข้าผังตั้งแต่ 3-9 กันยายน ส่งเรตติ้งช่องคืนสู่อันดับ 3 เข้าใกล้ช่อง 3 เข้าไปทุกที

ช่วงสัปดาห์ระหว่างวันที่ 3-9 กันยายนที่ผ่านมา ช่องโมโน เจ้าพ่อหนังต่างประเทศ จัด Harry Potter ลงผัง หลังจากสัปดาห์ก่อนหน้านี้ต้องเพลี่ยงพล้ำให้เวิร์คพอยท์ ที่ได้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาเอเชียนเกมส์จนได้เรตติ้งทะยานขึ้นไปอยู่ในอันดับ 2 แทนที่ช่อง 3 เป็นการชั่วคราว จนเรตติ้งของโมโนหล่นไปอยู่อันดับ 4

การพลิกฟื้นสถานการณ์ของโมโน มาจากกลยุทธ์การจัดหนัง 7 ตอนลงยาวต่อเนื่องทั้งสัปดาห์มีผลแรงทำให้เรตติ้งเฉลี่ยของช่องโมโนเด้งขึ้นมาอยู่ที่ 1.079

 

เมื่อดูจากเรตติ้งเฉลี่ยของแต่ละภาคของ Harry Potter ที่โมโนจัดลงช่องแล้ว ได้เรตติ้งเฉลี่ยเกิน 2 จนถึงเกิน 4 ในแต่ละช่วง โดยเฉพาะวันพฤหัสที่ 6 .. Harry Potter ตอน  the Goblet of fire ได้เรตติ้งช่วงที่ 1 อยู่ที่ 4.181 และช่วงที่ 2/ 3.768 รวมได้เรตติ้งเฉลี่ยทั้งเรื่องอยู่ที่ 3.798 เป็นบทพิสูจน์ว่า คอนเทนต์ดีมีผลต่อความนิยมของผู้ชมได้เสมอ

ช่วงหลังมานี้ โมโนจัดหนังดังลงแต่ละช่วงเวลาถึง 6 เรื่องต่อวัน ตั้งแต่เวลา 8.30, 12.00, 15.30, ไพรม์ไทม์ 23.00 ., และหลังเที่ยงคืน โดยหนังดังฟอร์มใหญ่จะถูกจัดวางในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ของวัน ก่อนข่าว 2 ทุ่มและต่อเนื่องไปยังช่วงหลังข่าว 2 ทุ่ม ยกเว้นวันศุกร์ที่วางหนังยาวต่อเนื่องไปเลยในช่วงไพรม์ไทม์ นอกจากนี้ยังมีซีรีส์ต่างประเทศ ที่จัดลงถึง 4 ช่วงเวลาต่อวัน ตั้งแต่ช่วง 7.30, 11.00 14.00 และ 21.00 ซึ่งเรตติ้งจะขึ้นตามความนิยมของหนังและซีรีส์แต่ละเรื่อง แต่ก็ทำให้โมโนรักษาตำแหน่งเรตติ้งอันดับ 3 ประจำเดือนได้ตลอด ยกเว้นเดือนสิงหาคมที่โดนเวิร์คพอยท์แซงมาได้เดือนเดียวของปีนี้

*** GMM25 ไต่อันดับ 12 ส่งเด็กใหม่ลง Netflix

ทางด้านจีเอ็มเอ็ม25 หลังการจัดทัพทีมผู้บริหาร และจัดรายการลงผังใหม่ เรตติ้งค่อยๆ ไต่ระดับขึ้นมาในสัปดาห์ที่ผ่านมาขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 12 แล้ว เรตติ้งเฉลี่ย 0.132 รายการที่สร้างความนิยมของช่องจีเอ็มเอ็ม25 ช่วงนี้คือ

ละครเย็นในวันเสาร์อาทิตย์มนต์รักทรานซิสเตอร์ โดยในวันเสาร์ที่ 8 กันยายน ได้เรตติ้ง 0.436 และละครตลกช่วงหลังข่าวคุณพ่อจอมซ่าส์ในวันพุธที่ 5 กันยายน เรตติ้งเฉลี่ย 0.378

นอกจากนี้ยังมีซีรีส์ไทยสายดาร์กที่กำลังมาแรงเด็กใหม่ Girl From No Where ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ซีรีส์แนวลึกลับ ได้เค้าโครงเรื่องตัวละครหลักมาจากซีรีส์ญี่ปุ่น โดยซีรีส์ชุดนี้จีเอ็มเอ็มประกาศไว้ว่าจะมีทั้งหมด 13 ตอน ที่ลงจอช่วงดึกของทุกวันพุธ เป็นซีรีส์ที่กำลังสร้างกระแสในวงการออนไลน์ แจ้งเกิดทิชา อมาตยกุลที่มารับบทแนนโน๊ะ สาวน้อยเด็กใหม่ของทุกโรงเรียน ที่เข้ามาเปิดด้านมืดในใจของทุกคน

นอกจากนี้ยังเป็นซีรีส์ไทยเรื่องแรกของช่อง ที่ได้ร่วมมือกับ Netflix นำไปออกอากาศ Netflix หลังจากออนแอร์ครบ 13 ตอน โดยจะไม่อยู่บนแพลตฟอร์มทั้งยูทูป และไลน์ทีวี เพื่อเป็นการลองตลาดของซีรีส์แนวนี้ที่น่าจะเจาะกลุ่มตลาดอินเตอร์มากกว่า เนื่องจากเนื้อหาเรื่องค่อนข้างแรง เสียดสีเรื่องราวในสังคม ภายใต้พล็อตหลักของเรื่องที่ระบุไว้ว่าเด็กใหม่ 13 ข่าวฉาว ที่ทุกโรงเรียนอยากปิดให้มิดที่สุด

 ***เวิร์คพอยท์พีพีทีวี

สำหรับช่องที่เรตติ้งลงแรงของสัปดาห์นี้คือ เวิร์คพอยท์ และพีพีทีวี เรตติ้งเฉลี่ยลดลงหลังจากหมดช่วงกีฬาเอเชียนเกมส์ โดยเวิร์คพอยท์หล่นจากอันดับ 2 ในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่อันดับ 4 เหมือนเดิม ส่วนพีพีทีวี หล่นจากอันดับ 10 มาอยู่ที่อันดับ 13.

]]>
1187129
ตลาดโฆษณาหด ทีวีดิจิทัลซบหนัก เวิร์คพอยท์ – โมโน ไตรมาส 2 กำไรลดฮวบ https://positioningmag.com/1183010 Fri, 10 Aug 2018 14:00:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1183010 ผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 ของ 2 ช่องทีวีดิจิทัล ในกลุ่มของช่องใหม่ ทั้งเวิร์คพอยท์และโมโน กำไรลดลงหนัก โดยมีสาเหตุหลักมาจากตลาดโฆษณาในกิจการทีวีลดลง และการแข่งขันในตลาดรุนแรง ที่งบโฆษณาหันไปลงออนไลน์มากยิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจทีวีดิจิทัลมีแนวโน้มการเติบโตลดลง

เวิร์คพอยท์รายงานตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า รายได้ของไตรมาสที่ 2 ของปีนี้อยู่ที่ 841.30 ล้านบาท ลดลง 289.05 ล้านบาท หรือ – 26% จากงวดเดียวกันของปี 2560 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,130.35 ล้านบาท โดยรายได้ที่เกิดจากกิจการทีวี อยู่ที่ 746.71 ล้านบาท ลดลง 275.63 ล้านบาท หรือ -27% จากไตรมาสเดียวกันของปี 2560 ซึ่งรายได้จากกิจการทีวีนี้ส่วนใหญ่มาจากการลดลงของรายได้จากช่องเวิร์คพอยท์

ในขณะที่มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 485.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.66 ล้านบาท หรือ 9% จากปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากต้นทุนการผลิตรายการทีวีในช่วงไตรมาส 2 จากรายการ The Rapper, My Mom Cook หรือ เชฟไม่ทิ้งแถว และ Show me your son หรือลูกแม่หล่อมาก

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ระบุว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เวิร์คพอยท์มีรายได้และกำไรลดฮวบลงขนาดนี้เป็นเพราะตลาดโฆษณาลดลงมาก โดยรายได้จากโฆษณาลดลงถึง 27% ในขณะที่เรตติ้งเฉลี่ยของช่องเวิร์คพอยท์ จากข้อมูลเรตติ้งของนีลเส็นในการวัดการออกอากาศ 24 ชั่วโมงก็ลดลงเช่นกัน โดยในไตรมาส 2 ของปี 2561 ได้เรตติ้งเฉลี่ย 0.76 ในขณะที่ไตรมาส 2 ของปีที่แล้ว เรตติ้งเฉลี่ยของช่องอยู่ที่ 1.10 

ส่วนโมโนนั้น แตกต่างจากเวิร์คพอยท์ เนื่องจากโมโนมีเรตติ้งที่ดีขึ้น มาเป็นอันดับ 3 แทนที่เวิร์คพอยท์เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รายได้จากกิจการทีวีมีมากขึ้นสัมพันธ์กับตัวเลขเรตติ้งเฉลี่ยของช่องที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารายได้จากค่าโฆษณาเพิ่มขึ้น 8% แต่ก็ถือว่าเป็นการโตที่น้อยมาก เทียบกับรายได้จากโฆษณาในไตรมาสแรกของปีนี้ที่โต 26% 

ทำให้บรรดานักวิเคราะห์ต่างเชื่อว่า ตลาดรวมของโฆษณาทางทีวีจะยากลำบากมากยิ่งขึ้น เมื่อต้องแข่งกับช่องทางออนไลน์ และยิ่งทำให้ทีวีดิจิทัลไม่สามารถขึ้นราคาค่าโฆษณาได้ จากการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นนี้ จึงจะมีผลต่อรายได้ของกิจการทีวีแต่ละช่องในปีนี้อย่างแน่นอน

ทั้งนี้โมโนรายงานว่า มีรายได้รวมในไตรมาส 2 ปี 2561 696.33 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2560 ซึ่งมีรายได้รวมอยู่ที่ 692.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.69 ล้านบาท หรือ 0.53% โดยมีรายได้จากการให้บริการสื่อโฆษณาในไตรมาส 2 ปี 2561 อยู่ที่ 486.09 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2560 ที่ได้ 449.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36.91 ล้านบาท หรือ 8.22%

การเติบโตของรายได้จากการให้บริการสื่อโฆษณา มาจากรายได้ของธุรกิจทีวีดิจิทัลช่อง MONO29 ที่เพิ่มขึ้น สะท้อนมาจากเรตติ้งที่เพิ่มขึ้น จากตัวเลขเรตติ้งของนีลเส็นที่วัดจากการออกอากาศ 24 ชั่วโมง เรตติ้งของช่องโมโนในไตรมาส 2 ปี 2561 มีเรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 0.81 เมี่อเทียบกับ 0.68 ในไตรมาส 2 ของปี 2560

ส่วนกำไรสุทธิของโมโน ในไตรมาส 2 ปี 2561 อยู่ที่ 13.66 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2560 มีกำไรสุทธิ 51.63 ล้านบาท ลดลง 37.97 ล้านบาท หรือ 73.54% ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ตัดจำหน่ายสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และธุรกิจอื่น.

]]>
1183010
บอลโลกเริ่มแรง แมตช์ทีมเต็งเรตติ้งพุ่งแซงละคร ดันช่องอมรินทร์, ทรูโฟร์ยู และช่อง 5 ติดอันดับท็อป โมโนจัดหนัก Fast and Furious ภาค 1-7 สู้ศึก https://positioningmag.com/1175857 Mon, 25 Jun 2018 23:15:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1175857 การแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบแรก 32 ทีมชาติ จากทั้งหมด 8 กลุ่ม กำลังแข่งขันกันแบบพบกันหมด เพื่อหาทีมที่มีคะแนนดีที่สุด 2 ทีมในแต่ละสาย เข้าสู่รอบ 2 จำนวน 16 ทีมสุดท้าย ได้เข้าสู่ช่วงท้ายของรอบแรกแล้ว ความสนุกสนาน ตื่นเต้น เร้าใจ แถมมีประเด็นให้พูดถึงในผลการแข่งขันแต่ละแมตช์ตามมามากมาย ทำให้ความนิยมในการรับชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกใน 3 ช่องทีวีดิจิทัลสูงขึ้นเรื่อยๆ

*** เรตติ้งบอลโลกแมตช์ บราซิล แซง “บุพเพฯ

แมตช์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เรตติ้งดีสุดคือ การแข่งขันคู่ของบราซิล ชนะคอสตาริกาที่ถ่ายทอดสดในช่วงเย็นของวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน เรตติ้งสูงถึง 4.484 เฉือนเอาชนะทั้งละครและวาไรตี้ในช่วงเย็น โดยเฉพาะละครรีรัน บุพเพสันนิวาส ช่อง 3 ที่ได้เรตติ้ง 4.390 ได้เป็นครั้งแรก

โดยที่บุพเพสันนิวาส รีรัน ครองแชมป์เรตติ้งสูงสุดของช่วงเย็นต่อเนื่องมาตลอด โดยได้เรตติ้งเฉลี่ยอยู่ในระดับ 5-6 กว่าทุกวัน เช่น วันที่ 18-21 มิถุนายน อยู่ที่ 4.640, 6.341, 5.822 และ 5.537

*** โมโนจัดหนัก Fast and Furious ภาค 1- 7 ลงสู้บอลโลก

ช่องโมโน สู้ศึกฟุตบอลโลกครั้งนี้ด้วยการจัดหนัก ใส่ชุดภาพยนตร์ Fast & Furious ตั้งแต่ภาค 1 ลงผังยาวถึง Fast 7 เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน ในช่วงเวลาชนกับการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก โดยวันที่ 20 มิถุนายน จัด Fast 1 ลงผังเวลา 18.20 น. เรตติ้งอยู่ที่ 2.567 ต่อด้วย Fast 2 ในวันเดียวกัน เริ่มเวลา 20.28 น. เรตติ้งอยู่ที่ 2.552 ตรงกับแมตช์บอลโลก คู่โปรตุเกส ชนะ โมร็อกโก 1-0 แต่เรตติ้งฟุตบอลยังสูงกว่า อยู่ที่ 4.119

วันที่ 21 มิถุนายน โมโนจัดต่อเนื่อง Fast 3 เริ่มเวลา 20.15 น. เรตติ้ง 2.721 จบแล้วต่อด้วย Fast 4 ในวันเดียวกัน เรตติ้ง 2.674 เรตติ้งสูสีกับแมตช์ เดนมาร์ก 1:1 ออสเตรเลีย เรตติ้ง 2.944 วันต่อมา ศุกร์ที่ 22 มิถุนายน Fast 5 เรตติ้งพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 3.220

ส่วน Fast 6 ลงผังในวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน เรตติ้ง 4.068 แซงชนะบอลโลกแมตช์ เบลเยียมชนะตูนีเซีย 5-2 เรตติ้ง 3.390 และในวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน Fast 7 เรตติ้งทะยานไปอยู่ที่ 4.727 สูงกว่าแมตช์ที่ อังกฤษถลุงปานามา 6-1 เรตติ้ง 3.327

ทำให้เรตติ้งเฉลี่ยของช่องโมโนในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 3 เหนือเวิร์คพอยท์อีกครั้ง ตอบโจทย์ได้ว่า หากมีคอนเทนต์ที่ดี ยังไงก็ยังสามารถดึงดูดผู้ชม สร้างความนิยมได้เสมอ

*** อมรินทร์ อันดับ 5, True4u – 8 และช่อง 5 ขึ้นอันดับ 11

จากการวัดเรตติ้งเฉลี่ยของช่องทีวีดิจิทัล โดยนีลเส็น ประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 18-24 มิถุนายน จากฐานผู้ชมอายุ 4+ เวลา 24 ชั่วโมง ทั้งอมรินทร์ทีวี, True4u และช่อง 5 ที่เป็น 3 ช่องหลักได้ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกครั้งนี้ เรตติ้งพุ่งขึ้นสูงสุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนตั้งแต่มีทีวีดิจิทัลเป็นต้นมา

ช่องอมรินทร์ขึ้นมาจากอันดับที่ 7 เรตติ้งเฉลี่ย 0.413 ในสัปดาห์ที่แล้ว มาอยู่ที่อันดับ 6 เรตติ้ง 0.515 แซงหน้าช่องวัน ที่หล่นไปอยู่อันดับ 7 ตามมาติด ๆ ด้วยช่อง True4u จากอันดับ 10 เรตติ้งเฉลี่ย 0.241 ในสัปดาห์ที่แล้ว ขึ้นมาที่ 8 เรตติ้งเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 0.422 ในขณะที่ช่อง 5 จากอันดับ 13 เรตติ้งเฉลี่ย 0.138 ขึ้นมามากกว่าเท่าตัวอยู่ที่อันดับ 11 เรตติ้ง 0.311

อย่างไรก็ตาม การที่ทั้ง 3 ช่องถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกครั้งนี้ เนื่องจากเป็นเงื่อนไขพิเศษ ไม่มีรายได้จากค่าโฆษณาในการถ่ายทอดสด เนื่องจากจะโฆษณาได้เฉพาะ 9 บริษัทเอกชน สปอนเซอร์ที่ลงขันแถมร่วมกัน 1,400 ล้านบาท ในการไปซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกในครั้งนี้ แถมยังต้องยอมเสียเวลาของสถานีเพื่อถ่ายทอดสดด้วย สิ่งที่ทั้ง 3 ช่องได้รับคือสร้างการรับรู้และจดจำของผู้ชมมากขึ้น ที่หวังว่าอาจจะมีการต่อยอดสร้างฐานความนิยมได้มากขึ้นในอนาคต.

]]> 1175857