Millennials – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 18 May 2023 07:27:46 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผลสำรวจพบ Gen Z ทั่วโลกกว่า 46% ทำงานเสริมนอกจากงานหลัก เพราะกังวลเรื่องเงิน! https://positioningmag.com/1430910 Thu, 18 May 2023 07:27:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430910 ความแน่นอนคือควาไม่แน่นอน แม้ว่าสถานการณ์โลกจะกลับมาสู่ภาวะปกติ แต่เพราะผลกระทบจาก COVID-19 และปัจจัยอื่น ๆ อย่างเรื่องสงคราม ก็ทำให้คนหนุ่มสาวจะมาใช้ชีวิต Slow Life ไม่ได้ โดยผลสำรวจพบว่า คน Gen Z และ Millennial ทั่วโลกเกือบครึ่งต่างทำ งานที่สอง เนื่องจากความกังวลเรื่องเงิน

จากผลสำรวจของ Deloitte ที่รวบรวมจาก Gen Z จำนวน 14,483 คน และ Millennials จำนวน 8,373 คน จาก 44 ประเทศทั่วโลก พบว่า 46% ของคน Gen Z มีงานประจำหรืองาน Part-Time นอกเหนือจากงานหลัก โดยเพิ่มขึ้น 3% จากปีที่ผ่านมา ส่วนคน Millennials มีจำนวน 37% ที่ทำงานเสริม เพิ่มขึ้น 4%

โดยงานรองที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ ารขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ เช่น บริการส่งอาหารหรือเรียกรถรับจ้าง ร้านศิลปะ หรือสร้างเนื้อหาบนโซเชียลมีเดียในฐานะ influencers

โดย 25% ของคน Gen Z และ 28% ของคน Millennials กล่าวว่า แรงจูงใจหลักในการทำงานเสริมของพวกเขาคือ การได้รับทักษะและสร้างความสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม ความกังวลเรื่องเงินนั้นสำคัญที่สุด โดย Gen Z 38% มองว่าการทำงานที่สองเพราะต้องการหาเงินเพิ่ม ส่วนคน Millennials คิดเป็น 46% 

“งานเสริมกำลังเพิ่มขึ้นสำหรับ Gen Z และ Millennials เนื่องจากพวกเขามีความกังวลเรื่องเงิน ซึ่งถือเป็นเหตุผลหลัก แต่ก็มีบางส่วนที่มองว่ามันเป็นการหารายได้จากงานอดิเรก และเป็นการพัฒนาทักษะที่จะปูทางไปสู่อาชีพใหม่” Michele Parmelee รองซีอีโอของ Deloitte Global และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล กล่าว

ข้อมูลจากการสำรวจของ Deloitte แสดงให้เห็นว่า ค่าครองชีพเป็นสิ่งที่คน Millenials และ Gen Z กังวลมากที่สุดในขณะนี้ โดยเขามองว่าเขามีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นประมาณ 4.9% ต่อปี ส่วนในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น 10.1%

“คนรุ่นเหล่านี้มีภาวะความไม่มั่นคงทางการเงิน และความกังวลด้านเศรษฐกิจกำลังขัดขวางความสามารถของคน Gen Z ส่วนคน Millennials ก็ต้องเลื่อนการตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ ในชีวิตออกไป เพราะเรื่องเงิน”

แม้จะมีความกังวลเหล่านี้ แต่อาจมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ โดย 44% ของคน Gen Z และ 35% ของคน Millenials มองโลกในแง่ดีว่าสถานการณ์ทางการเงินของพวกเขาจะดีขึ้นในไม่ช้า

Source

]]>
1430910
เปิดพฤติกรรมชาว Millennials ดาวเด่นที่จะเป็นผู้บริโภคหลักในตลาดท่องเที่ยว https://positioningmag.com/1248732 Sun, 06 Oct 2019 09:26:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1248732 กลุ่ม Millennials เป็นปัจจัยหลักกระตุ้นการท่องเที่ยว และธุรกิจ Hostel เลยก็ว่าได้ หากกล่าวถึงที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวในอดีตอาจนึกถึงแค่โรงแรม ที่เพียบพร้อมไปด้วยการบริการ สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และราคาที่ค่อนข้างสูง แต่ภายใน 10 ปีผ่านมาที่พักประเภท Hostel ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทที่สำคัญของการท่องเที่ยวไทยมากขึ้น เพื่อรองรับโครงสร้างนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป

ในปี 2561 ประเทศไทยรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 38.3 ล้านคน หนึ่งในปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากนักท่องเที่ยวในช่วงอายุ 25 – 34 ปี จากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คิดเป็นกว่า 28% ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งหมดที่เข้ามายังประเทศไทย มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ 12.5% ตั้งแต่ปี 2555 – 2560 ขณะที่กลุ่มอายุอื่นอยู่ที่ 9%

นิยามของ Millennials หรือผู้ที่เกิดช่วงปี พ.ศ. 2524 – 2539 กำลังกลายเป็นผู้บริโภคหลักในหลากหลายอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว พฤติกรรมสำคัญของกลุ่มนี้คือ การนำ “การท่องเที่ยว” มาเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักในการใช้ชีวิต ทั้งยังให้ความสำคัญกับการสร้างความสมดุลระหว่างการทำงานและการพักผ่อน

รวมถึงมีพฤติกรรมการเลือกเข้าพัก Hostel มากกว่ากลุ่มอื่น จากการสำรวจโดย Hostelworld group ผู้ให้บริการจอง Hostel ออนไลน์อันดับ 1 ระบุว่า ผู้เข้าพัก Hostel มากกว่า 70% เป็นชาว Millennials ซึ่งคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการ ของชาว Millennials ที่สนับสนุนให้ธุรกิจอย่าง Hostel เติบโต ได้แก่

1. นิยมท่องเที่ยวตามชุมชน

เพื่อมองหาประสบการณ์ที่แปลกใหม่ แสวงหาความท้าทาย จากการศึกษาโดย Amadeus ซึ่งเป็นผู้นำการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเดินทางและการท่องเที่ยวระดับโลก ทำการวิจัยนักท่องเที่ยวในเอเชียแปซิฟิกกว่า 7,000 คนใน 14 ประเทศระบุว่า

ชาว Millennials ให้ความสำคัญกับคำแนะนำเกี่ยวกับประสบการณ์ที่แปลกใหม่ตามชุมชน มากกว่าคำแนะนำเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ทั้งนี้โรงแรมส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ตาม Prime Location ต่างๆ มากกว่าตามพื้นที่ตามชุมชน แตกต่างจาก Hostel ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ ที่นำที่พัก / บ้าน / ตึกแถว มาปรับปรุงเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวตามชุมชนได้เป็นอย่างดี

2. ไม่ชอบเที่ยวกับคนหมู่มาก

ชาว Millennials ชอบท่องเที่ยวคนเดียว (Solo traveler) มากกว่าการท่องเที่ยวกับกรุ๊ปทัวร์ จากการวิจัยโดย Princeton Survey Research Association พบว่า 58% ของนักท่องเที่ยวชาว Millennials ทั่วโลกชอบที่จะท่องเที่ยวคนเดียว ขณะที่นักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นอยู่ที่ราว 47% อย่างไรก็ตาม ชาว Millennials ยังคงเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย ความสะดวกสบายในการเดินทาง จึงทำให้ยังมีการจับกลุ่มท่องเที่ยวกับ Solo traveler คนอื่นๆ ตาม Hostel

3. ชาว Millennials ชอบเที่ยวบ่อย

จากการสำรวจโดย Expedia Media Solution พบว่า คนรุ่น Millennials เดินทางไปเที่ยวบ่อยที่สุดอยู่ที่ประมาณ 6 ครั้งต่อปี ขณะที่ชาว Baby boomers เดินทางท่องเที่ยวประมาณ 4 ครั้งต่อปี ด้วยความที่ชาว Millennials ชื่นชอบการท่องเที่ยวบ่อยๆ เพื่อต้องการเติมเต็มให้กับชีวิต ผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน

ซึ่งจากการศึกษาโดย TripAdvisor พบว่า ชาว Millennials ใช้จ่ายในค่าที่พัก น้อยกว่าครึ่งของชาว Baby Boomers จากการเลือกสรรที่พักให้อยู่ในงบที่จำกัด Hostel จึงนับเป็นตัวเลือกสำคัญของที่พักราคาถูก ตอบสนองความต้องการของชาว Millennials ที่เดินทางท่องเที่ยวบ่อย แต่มีงบจำกัด ทั้งนี้ช่วงราคาที่พักต่อเตียง/ต่อห้องของ Hostel นั้นต่ำกว่าช่วงราคาที่พักประเภทอื่นส่วนใหญ่.

]]>
1248732
ผู้ประกอบการ Hostel ต้องปรับตัวอย่างไร ให้โดนใจชาว Millennials https://positioningmag.com/1248729 Sun, 06 Oct 2019 02:25:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1248729 Hostel ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการท่องเที่ยวของปัจจุบัน โดยปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากพฤติกรรมการท่องเที่ยวของชาว Millennials ที่แตกต่างจากเจนอื่นๆ

แต่แล้วผู้ประกอบการ Hostel ยังต้องเผชิญกับความท้าทายหลายมิติที่ต้องปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันที่สูง ช่วงราคาห้องพักต่อคืนที่ต่ำ และจำนวนเตียงที่ขายได้น้อย จึงทำให้ยากแก่การปรับตัว ดังนั้นการมีกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน และให้ความสำคัญกับประสบการณ์การเข้าพัก ควบคู่ไปกับการกระตุ้นให้เกิดการบอกเล่าความประทับใจ จะสามารถทำให้ดำเนินธุรกิจ Hostel ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Hostel ที่กรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี-เชียงใหม่ นิยมมากสุด

ชาว Millennials มีส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นให้ธุรกิจ Hostel เติบโต และได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมาก ทั้งนี้ EIC ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลบน TripAdvisor พบว่า 9 จังหวัดที่มีจำนวน Hostel มากที่สุดประกอบด้วย กรุงเทพฯ, สุราษฎร์ธานี, เชียงใหม่, กระบี่, ภูเก็ต, ชลบุรี, เชียงราย, ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) และแม่ฮ่องสอน ตามลำดับ

โดยจังหวัดที่มีสัดส่วน Hostel ต่อจำนวนที่พักทั้งหมดมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ คิดเป็นอย่างน้อย 17% จากที่พักทั้งหมดกว่า 3,000 แห่ง รองลงมาคือ เชียงใหม่ 12% และสุราษฎร์ธานี 9% ตามลำดับ

ซึ่งการเข้ามาลงทุนทำธุรกิจ Hostel ตามหัวเมืองท่องเที่ยวต่างๆ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบการเดิมที่ถูกผู้ประกอบการใหม่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด นอกจากการเข้ามาในรูปแบบ Independent Hostel แล้วยังมี Hostel Chain ต่างๆ เข้ามาด้วยเช่น Mad Monkey hostel, Slumber Party Hostels และอื่นๆ

3 วิธีเอาใจนักท่องเที่ยวชาว Millennials

ผู้ประกอบการ Hostel ควรทำอย่างไรเพื่ออยู่รอดจากการแข่งขันที่สูงขึ้น การปรับตัวของธุรกิจ Hostel อาจไม่แตกต่างกันมากนักกับธุรกิจโรงแรม แต่ด้วยขนาดของ Hostel ที่มีจำนวนเตียงค่อนข้างน้อยเหมาะสำหรับลูกค้าประเภท F.I.T (Free Independent Travelers : นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าพักลำพัง หรือนักท่องเที่ยวกลุ่มเล็ก ๆ) และรับลูกค้าประเภทกรุ๊ปทัวร์ได้ยาก นอกจากนี้ผู้เข้าพักค่อนข้างอ่อนไหวต่อราคา การปรับตัวจึงเป็นไปอย่างจำกัด ทั้งทางด้านงบประมาณในการดำเนินกิจการและการทำตลาด ดังนั้นสิ่งที่ EIC มองว่าผู้ประกอบการ Hostel สามารถทำได้คือ

ต้องมีกลุ่มลูกค้าชัดเจน

ต้องมีกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน สำหรับ Hostel ที่มีจำนวนห้องและงบประมาณในการดำเนินกิจการที่จำกัด จึงทำให้การทำการตลาดของ Hostel นั้นทำได้ในวงแคบ การมีกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนจะสามารถทำให้ Hostel สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจได้

กลุ่มลูกค้ามักมีความต้องการที่ต่างกัน เช่น นักท่องเที่ยวเชิงธุรกิจมักมองหาที่พักที่สงบ เหมาะแก่การพักผ่อน มีโต๊ะทำงาน มีที่จอดรถและ Wi-Fi ขณะที่นักท่องเที่ยว Backpacker ต้องการพื้นที่พูดคุยกับผู้เข้าพักอื่น เช่น มี Mini bar สำหรับการแบ่งปันเรื่องราวการเดินทาง บางกลุ่มชอบ Party ชอบการทำกิจกรรม บางกลุ่มชอบห้องพักที่ได้รับการตกแต่งที่สวยงาม ทันสมัย เป็นต้น

เมื่อ Hostel สามารถหาจุดยืนที่ชัดเจนและเข้าใจความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มแล้ว ผู้ประกอบการจะสามารถวางแผนการตลาด และเจาะกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุดในงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด

สร้างประสบการณ์ให้ผู้เข้าพักได้

ประสบการณ์การเข้าพักของนักท่องเที่ยวคือปัจจัยหลักของธุรกิจ Hostel ผู้เข้าพัก Hostel มักไม่ได้ให้ความสำคัญกับข้าวของเครื่องใช้ที่ครบครันเท่ากับผู้เข้าพักโรงแรม แต่มักมองหาประสบการณ์การเข้าพักมากกว่า ดังนั้นการสื่อสารกับผู้เข้าพักจึงนับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุด

การสื่อสารสามารถทำได้ผ่านพนักงาน ซึ่งต้องสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวความคิด วัฒนธรรม พื้นฐานสังคมได้อย่างดี รวมถึงการบริการที่เป็นกันเอง ความเอาใจใส่ และความเข้าใจถึงความต้องการของผู้เข้าพัก นอกจากนี้การสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับชุมชน โดยสื่อสารผ่าน การตกแต่ง การบอกเล่า หรือการทำให้สิ่งแวดล้อมมีความเป็นชุมชน เช่น การจัดกิจกรรม หรือ Workshop ต่างๆ ร่วมกับชุมชน เป็นต้น

เมื่อผู้เข้าพักพึงพอใจ ทำยังไงให้บอกต่อ ผู้ประกอบการ Hostel ควรกระตุ้นให้ผู้เข้าพักบอกต่อความรู้สึกดีๆ และประสบการณ์ระหว่างเข้าพัก จากการรวบรวมข้อมูลและวิจัยโดย SiteMinder ผู้ให้บริการ Cloud platform และระบบการจัดการแก่ที่พัก พบว่าเมื่อที่พักขอร้องให้ช่วยแสดงความคิดเห็น ผู้เข้าพักกว่า 80% ยินดีที่จะเขียนรีวิวให้กับที่พัก หากที่พักไม่ขอร้องจะมีเพียง 22% เท่านั้นที่จะแสดงความคิดเห็นหลังการเข้าพักด้วยตนเอง

ซึ่งการบอกต่อประสบการณ์นั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการบอกเล่ากับนักท่องเที่ยวอื่น การเขียนรีวิวบน เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ของนักท่องเที่ยวเอง ซึ่งค่อนข้างแตกต่างจากธุรกิจโรงแรมที่มุ่งเน้นการรีวิวบนแพลตฟอร์ม OTAs (Online Travel Agents) เนื่องจากกลุ่มลูกค้าค่อนข้างกระจาย ไม่เฉพาะกลุ่ม กลับกันธรรมชาติของผู้เข้าพัก Hostel มักสอบถามจากผู้มีประสบการณ์การเดินทาง การพูดคุยหรืออ่านรีวิวในกลุ่มที่มีความชื่นชอบคล้าย ๆ กันมากกว่า

ดังนั้น Hostel ควรขอร้องผู้เข้าพักให้ช่วยแสดงความคิดเห็นบน เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และช่องทางอื่นๆ บนแพลตฟอร์มของนักท่องเที่ยวเอง เพื่อช่วยกระจายประสบการณ์ระหว่างการเข้าพัก เป็นการทำการตลาดแบบปากต่อปาก หรือที่เรียกว่า “Word of Mouth” แก่ Hostel ของตน

ต้องเพิ่มยอดจองโดยตรงให้ได้

นอกจากนี้การเพิ่มยอดจอง Direct booking หรือการจองโดยตรงกับทาง Hostel ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อผ่านทางไลน์ เฟซบุ๊กแชท โทรศัพท์ อีเมล เว็บไซต์ของโรงแรม และอื่นๆ นับเป็นช่องทางการจองโดยไม่ผ่านตัวกลาง ทำให้ที่พักไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายด้าน Commission ที่ค่อนข้างสูงให้กับ OTAs เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายมีค่าใช้จ่ายไม่มากนักเพียงทำให้การจองนั้นสามารถจ่ายเงินได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญกับความท้าทายทางด้านการเพิ่มยอดจองจาก Direct booking ที่ต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจในการทำตลาดบน Social media ซึ่งแตกต่างจากการทำการตลาดจากการจองผ่าน OTAs ที่อาศัยเพียงค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดและการจ่ายค่า Commission ที่สูงขึ้น

อาจสรุปได้ว่า ธุรกิจ Hostel นั้นจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความชำนาญทั้งทางด้านการตลาด ด้านการท่องเที่ยว การเดินทาง สภาวะทางสังคมและความแตกต่างทางวัฒนธรรม ซึ่งอาศัยประสบการณ์ในการสะสมความรู้เพื่อให้เข้าใจธุรกิจ Hostel ได้อย่างลึกซึ้ง.

]]>
1248729
รู้มั้ย ลูกค้าของคุณอายุเท่าไหร่? https://positioningmag.com/1236245 Wed, 26 Jun 2019 00:55:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1236245

สังเกตกันมั้ยครับ ว่าหลังๆ มานี้กลุ่ม Millennials หรือกลุ่ม Generation Z ถูกพูดถึงอย่างมากในวงการธุรกิจและการตลาดของบ้านเรา เหมือนกับว่าไม่ว่าแบรนด์คุณจะเป็นใครก็ต้องจับกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ให้ได้ 

จริงอยู่ว่ามีการพูดถึงลูกค้ากลุ่มสูงวัยอยู่บ้างแต่ก็มักจะเป็นแค่เฉพาะกับสินค้าหรือบริการที่เจาะเป้าหมายไปที่คนกลุ่มสูงวัยโดยเฉพาะ เช่น ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ หรือคอนโดสำหรับผู้สูงวัย แต่หากเป็นสินค้าทั่วๆ ไปแล้วก็ดูเหมือนว่ากลุ่มวัยรุ่นจะเป็นกลุ่มที่ได้รับความสนใจมากกว่าอย่างชัดเจน เคยสงสัยกันมั้ยครับว่าจริงๆ แล้วกลุ่มวัยรุ่นนั้นสำคัญแค่ไหนกันแน่?

ถ้าถามถึงกลุ่มลูกค้าหลักของแบรนด์อย่าง เป๊ปซี่ โค้ก หรือเลย์ เชื่อว่าคนส่วนมากคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นกลุ่มเด็กวัยรุ่น อย่างมัธยม และมหาลัยเป็นแน่ แต่ทราบกันมั้ยครับว่าในความเป็นจริงนั้นไม่ใช่นะครับ 

ที่มา : Kantar

หากเราดูภาพรวมระดับโลกเราจะพบว่าจริงๆ แล้วกลุ่มลูกค้าหลักของโค้กไม่ใช่เด็กๆ อย่างที่เราเข้าใจมาโดยตลอด แต่กลับเป็นลูกค้าวัย 35 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะคนกลุ่มวัย 35-50 ปี… จริงๆ แล้วไม่ใช่เพียงแค่โค้กนะครับที่ลูกค้ากลุ่มหลักไม่ใช่วัยรุ่นอย่างที่เราเข้าใจกันมาโดยตลอด 

หากดูภาพรวมในตลาดโลกลูกค้ากลุ่มหลักของแบรนด์อย่าง เลย์ และ เป๊ปซี่ ก็เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่เรียกได้ว่าไม่ใช่เด็กวัยรุ่นด้วยกันทั้งสิ้น โดย 47% ของลูกค้าเลย์หรือราวครึ่งหนึ่งของจำนวนลูกค้าทั้งหมดมีอายุในช่วง 35-50 ปี และราว 36% ของลูกค้าแป๊ปซี่มีอายุมากกว่า 50 ปี ไม่น่าเชื่อใช่มั้ยครับว่าทั้งๆ ที่ภาพลักษณ์ของแบรนด์เหล่านี้เป็นแบรนด์สำหรับคนรุ่นใหม่ แต่ลูกค้าหลักกลับเป็นกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่านั้นมาก 

หากแบรนด์ที่ดูเจาะคนกลุ่มเด็กเหล่านี้ยังมีลูกค้าเป็นกลุ่มสูงวัยกว่าที่เราคิด แล้วถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ทั่วๆ ไปที่ไม่ได้เจาะกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะเจาะจงล่ะครับ คิดว่าสัดส่วนจะเป็นอย่างไร?

ที่มา: Kantar

เกริ่นมาขนาดนี้แล้วก็คงไม่แปลกใจกันแล้วใช่มั้ยครับ ว่าถ้าเป็นสินค้าทั่วไปอย่างกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มลูกค้าหลักจะยิ่งเป็นกลุ่มที่สูงวัยมากยิ่งขึ้น โดยถ้าดูจากภาพรวมตลาดโลกโดยดูจาก Global Brand ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคแล้วจะพบว่า โดยเฉลี่ยกลุ่มลูกค้าหลักที่มีความสำคัญมากที่สุดโดยวัดจากจำนวนผู้ซื้อ และความถี่ในการซื้อ จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป โดยในหลายประเทศ อาทิเช่น อังกฤษ อาร์เจนตินา สเปน ฝรั่งเศส และเวียดนาม กลุ่มลูกค้าหลักจะมีอายุมากกว่า 50 ปีด้วยซ้ำ

ที่มา: Kantar

ที่พูดมาทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพื่อบอกว่ากลุ่มลูกค้าวัยรุ่นไม่สำคัญนะครับ อย่างที่เราทราบกันว่าเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า จริงๆ ไม่ต้องในวันหน้า ในวันนี้ตลาดอย่างสินค้าอุปโภคบริโภคที่ผู้ซื้อหลักมักจะค่อนไปทางกลุ่มคนมีอายุ 

แต่ในอินโดนีเซียกลุ่มลูกค้าที่อายุต่ำกว่า 35 ปี กลับกลายเป็นกลุ่มหลักของตลาดโดยนับเป็นสัดส่วนกว่า 37% หรือถึงแม้ว่าค่าเฉลี่ยโลก ลูกค้าของโค้กจะมีอายุเฉลี่ยที่ 35-50 ปี แต่ในประเทศอย่าง ฝรั่งเศส สเปน และ อังกฤษ ลูกค้ากลุ่มหลักของโค้กกลับเป็นกลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี 

กลุ่มเด็กมีความสำคัญนะครับเพราะเป็นกลุ่มที่ยังไม่มีความคุ้นเคย เข้าใจตลาด หรือมีความชอบที่ชัดเจน โดยเฉลี่ยแล้วหากแบรนด์สามารถทำให้ผู้บริโภคสนใจได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ก็มักจะสามารถสร้างความภักดีและทำให้คนกลุ่มนี้อยู่กับธุรกิจไปได้นานกว่า

ลูกค้าทุกกลุ่มมีความสำคัญนะครับ สิ่งที่จำเป็นสำหรับคนทำธุรกิจคือความรู้และความเข้าใจว่าลูกค้าที่มีความสำคัญของเราในปัจจุบันคือใคร แล้วกลุ่มไหนที่จะกลายเป็นลูกค้าที่มีความสำคัญในอนาคต รวมไปถึงความสามารถในการวิเคราะห์ได้ว่าเราพลาดในการจับลูกค้ากลุ่มไหน หรือเราพึ่งลูกค้ากลุ่มไหนมากเกินไปหรือเปล่า

การเชื่อตามแต่เทรนด์ของตลาดโดยขาดความเข้าใจสินค้าและกลุ่มลูกค้าของตัวเองไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะในหลายๆ ครั้งเทรนด์เหล่านั้นก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับรูปแบบสินค้าและบริการของเรา ซึ่งอาจทำให้ความเข้าใจในตลาดของเราคลาดเคลื่อนไปด้วยซ้ำ พูดมาถึงตอนนี้ แล้วทราบกันมั้ยครับว่าลูกค้าของคุณอายุเท่าไหร่ครับ?

]]>
1236245