Minor – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 20 Jan 2023 00:30:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Minor คาดรายได้หลังจากนี้โตแตะ 2 หลัก มองนักท่องเที่ยวจีน 6-9 เดือนหลังจากนี้ถึงกลับมาคึกคัก https://positioningmag.com/1416012 Thu, 19 Jan 2023 18:48:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416012 บมจ. ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้กล่าวถึงภาพรวมของธุรกิจในเครือของปี 2022 นั้นกลับมาเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง แม้ว่าจะมีปัจจัยที่ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาวะเศรษฐกิจ การเปิดประเทศ ไปจนถึงอัตราดอกเบี้ย ขณะเดียวกันก็มั่นใจว่าในปี 2023 นี้กลุ่มบริษัทนั้นกลับมามีรายได้เติบโตตามเป้าหมายที่ตัวเลข 2 หลัก แต่ก็มองถึงนักท่องเที่ยวจีนที่ต้องใช้เวลากว่าจะกลับมาคึกคักอีกรอบ

ดิลลิป ราชากาเรีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงภาพรวมของบริษัทว่า การฟื้นตัวของบริษัทหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถือว่าแข็งแกร่งมาก จากปัจจัยหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหลายประเทศมีการฉีดวัคซีน รวมถึงเขามองว่าความรุนแรงของโควิดลดลง หลายพื้นที่ไม่มีการใส่หน้ากากอนามัยแล้ว

แม้ว่าจะพบกับอุปสรรคจากเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ยในยุโรป แต่ตัวเลขต่างๆ ของบริษัทดีกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ ตลาดหลายที่บริษัทดำเนินการนั้นแข็งแกร่ง แน่นอนว่าไทยเป็นประเทศปลายทาง 1 ใน 5 นักท่องเที่ยวสนใจเข้ามา แม้ว่านักท่องเที่ยวจีนยังไม่เข้ามา

ขณะเดียวกันสายการบินตอนนี้เที่ยวบินเต็ม แถมมีจำนวนจำกัด ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 

สำหรับผลประกอบการ Q3 ของปี 2022 ที่ผ่านไปนั้น เขามองว่าจะเป็นมาตรฐานของไตรมาส 4 และหลังจากนี้ ขณะเดียวกันบริษัทก็จะเพิ่มราคาห้องพักขึ้นมาเพื่อรับมือกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และเรตค่าห้องพักของโรงแรมนั้นเพิ่มขึ้นมากว่าช่วงก่อนโควิดไปแล้วกว่า 20% ในหลายๆ ที่ เช่น มัลดีฟ ออสเตรเลีย ฯลฯ หรือแม้แต่ประเทศไทย

โดย Positioning จะพาไปดูถึงภาพรวมในปี 2022 ที่ผ่านมา รวมถึงกลยุทธ์บริษัทในปี 2023 ว่ามีอะไรบ้าง

กลุ่มโรงแรม

หัวเรือใหญ่ของกลุ่ม Minor ได้กล่าวว่าในปี 2022 ที่ผ่านมาบริษัทนั้นถือเป็นผู้เล่นในกลุ่มโรงแรมทั่วโลกใหญ่ติด 1 ใน 10 และบริษัทในตอนนี้ได้มีการกระจายการลงทุนทั่วโลก ขณะเดียวกันหลายคนสงสัยการฟื้นตัวของยุโรป จากสภาวะเศรษฐกิจต่างๆ แต่เขาชี้ว่าธุรกิจโรงแรมในยุโรปฟื้นตัวแรงแข็งแกร่ง

ขณะที่ธุรกิจที่อื่นๆ อย่าง มัลดีฟ ตะวันออกกลางก็ฟื้นตัวได้แข็งแกร่งเช่นกัน ซึ่งโรงแรมในตะวันออกกลางนั้นได้ประโยชน์จากสายการบิน ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวอินเดีย รัสเซีย ส่วนที่ออสเตรเลียก็แข็งแกร่งมาก เขาชี้ว่าดีที่สุดนับตั้งแต่การซื้อกิจการ

สำหรับในประเทศไทย โรงแรมที่ภูเก็ตเติบโตแข็งแกร่งมาก เพราะนักท่องเที่ยวอินเดีย รัสเซีย และชาวยุโรปมาเที่ยว เขาชี้ว่าเวลานี้ภูเก็ตนั้นเหมือนเป็นฮับการท่องเที่ยว ขณะที่ภาพรวมนั้นภูเก็ตถือว่ามีความต้องการสูงจากนักท่องเที่ยวมาก เป็นผลส่วนหนึ่งมาจากนโยบายภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์

แม้ว่าก่อนหน้านี้ประเทศจีนจะยังไม่เปิดประเทศ แต่เขาชี้ว่าธุรกิจโรงแรมก็ฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งแล้ว หลายประเทศเปิดมากขึ้น สายการบินก็จะเปิดเที่ยวบินมากขึ้น ส่งผลดีต่อบริษัทมากขึ้น

ผู้บริหารของ Minor กล่าวว่ากลุ่มโรงแรมในทวีปยุโรป เช่น NH Hotels ฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง – ภาพจาก Shutterstock

กลุ่มธุรกิจอาหาร

ดิลลิปได้กล่าวว่า กลุ่มธุรกิจอาหารนั้นมีกำไรตั้งแต่พฤษภาคมที่ผ่านมา ในไตรมาส 3 ของปี 2022 นั้นมีนรายได้เติบโตมากถึง 30% ขณะที่กำไรเติบมากกว่าปีที่แล้วถึง 4 เท่า เขาชี้ว่าธุรกิจอาหารในไทยและออสเตรเลียเป็นตัวขับเคลื่อน

แม้ว่าในประเทศจีนจะล็อกดาวน์ก็ตาม แต่เขามองว่าเทรนด์ธุรกิจนั้นจีนจะฟื้นตัวเหมือนกับช่วงการแพร่ระบาดของโควิด และจีนคลายล็อกดาวน์ในช่วงปี 2020 เขายังได้ย้ำว่าแม้ว่าตอนนี้จะไม่มีรายได้จากจีน ก็มีไทย ออสเตรเลีย รวมถึงสิงคโปร์ ที่ทำรายได้เติบโตตลอด

นอกจากนี้บริษัทปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เช่น หันมาทำ Craft Bar ของ Swensen’s รวมถึงปรับโฉมแบรนด์ และการลดต้นทุน ทำให้กำไรกลับมาอีกครั้งได้

กลุ่มธุรกิจ Lifestyle

กลุ่มนี้รายได้กับกำไรอาจส่งผลกับบริษัทน้อย แต่เขาชี้ว่าบริษัทให้ความสำคัญอยู่เช่นกัน โดยใช้กลยุทธ์การลดต้นทุน ใช้ช่องทาง E-commerce มากขึ้น ปิดตัวแบรนด์บางตัว และปรับปรุงโครงสร้างของกลุ่ม ส่งผลทำให้มีกำไรมากขึ้นในปีที่ผ่านมา

กลยุทธ์บริษัทปี 2023

สำหรับกลยุทธ์ในปี 2023 ดิลลิปได้กล่าวว่ามีโรงแรมที่จะกำลังเปิดหลังจากนี้อีกจำนวนมากถึง 70 โรงในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะลงทุนเองหรือบริษัทได้เข้าไปบริหาร ขณะเดียวกันเขาก็รอดูนักท่องเที่ยวจีนกลับมาอีกครั้ง ซึ่งเป็นโอกาสของการเติบโต

นอกจากนี้บริษัทยังได้ผลักดัน Loyalty Program ซึ่งตอนนี้มีสมาชิก 22 ล้านคนทั่วโลกที่รวมโรงแรมในเครือของบริษัทไว้มากกว่าเครือโรงแรมคู่แข่งอีกด้วย

ขณะที่กลุ่มธุรกิจอาหารนั้น บริษัทได้เปิดร้าอาหารใหม่ทั้งในยุโรป ตะวันออกกลางอย่าง ซาอุดิอาระเบีย เขาชี้ถึงเทรนด์การกลับมากินอาหารในร้านมากขึ้น ขณะเดียวกันแบรนด์ก็ต้องสร้างความตื่นเต้นให้กับตลาด อย่างการทำเมนูใหม่ๆ รวมถึงเปิดร้านอาหารที่ตอบโจทย์ความคาดหวังของลูกค้า เช่น เปิดร้านบอนชอนนอกกรุงเทพมากขึ้น ร้านชานม Gaga ขยายสาขาเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะทั้งในประเทศและนอกประเทศมากขึ้น เช่น ยุโรป ตะวันออกกลาง

หัวเรือใหญ่ของกลุ่ม Minor คาดว่ารายได้จะโตไม่ต่ำกว่า 2022 ราวๆ 20% บริษัทจะได้ผลดีจากนักท่องเที่ยวจีน หรือรายได้จากกลุ่มอาหารในประเทศจีน นอกจากนี้เขายังมองว่ารายได้และกำไรจะแข็งแกร่ง จากการรีดประสิทธิภาพของบริษัทในช่วงที่ผ่านมา และชี้ว่าปี 2023 จะทำให้ธุรกิจแข็งแกร่งมากกว่าเดิม

สิ่งที่ทำให้บริษัทเติบโต

กลยุทธ์ที่ทำให้บริษัทเติบโตได้นั้น ดิลลิปชี้ว่า ต้องมีแบรนด์ที่เป็นผู้ชนะอยู่ในพอร์ตโฟลิโอของบริษัทในหลายธุรกิจ รวมถึงจะต้องตอบโจทย์ลูกค้า ดูความต้องการของลูกค้าว่าต้องการอะไร ขณะที่คนที่ทำงานในบริษัทจะต้องเน้นในเรื่องการทำงานเป็นทีม และรวมถึงทำธุรกิจด้วยความยั่งยืน เนื่องจากบริษัทติดในดัชนีหลายตัว เช่น DJSI หรือ MSCI รวมถึง FTSE For good และยังต้องความโปร่งใสให้กับนักลงทุน มีความสม่ำเสมอด้วย

นอกจากนี้เขายังเล่าเรื่องของการปรับตัว โดยบริษัทนั้นไม่ได้นั่งเฉยๆ แต่หาโอกาสใหม่ๆ เช่น ซื้อโรงแรมในยุโรป แต่ก็รู้ว่าต้องเก็บกระแสเงินสด เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด ทำให้พนักงานมี Productivity การวางแผนด้าน Supply Chain รวมถึงเรื่องการเงินของบริษัทที่ต้องบริหารอย่างชาญฉลาด

นอกจากนี้เขายังเน้นว่าแม้ว่าบริษัทจะขยายธุรกิจ แต่ดูเรื่องงบดุลของบริษัทด้วย ซึ่งเป็นบทเรียนจากช่วงโควิด-19 ที่บริษัทจะต้องมีกระแสเงินสดไว้

สำหรับมุมมองที่มีต่อนักท่องเที่ยวจีนนั้น เขามองว่าต้องใช้เวลาสักพัก โดยเฉพาะเรื่องของสายการบิน รวมถึงการเคลียร์วีซ่า 6-9 เดือนถึงจะเห็นความคึกคัก รวมถึงคนจีนน่าจะเที่ยวในประเทศอย่างการเยี่ยมเยือนญาติพี่น้องก่อน ขณะปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทางบริษัทได้เปิดโรงเรียนด้านการโรงแรม AIHM กับสถาบันในสวิตเซอร์แลนด์ นั่นจะทำให้คนทำงานด้านนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้น บุคลากรสามารถทำงานได้ทั่วโลก

]]>
1416012
“สเวนเซ่นส์” ขายเหมา “ลูกชุบมะม่วง” แบบโอเวอร์โหลด 50 ลูก ระบายสต็อกช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1273152 Mon, 13 Apr 2020 17:24:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273152 สเวนเซ่นส์เอาใจคอลูกชุบมะม่วงจากเมนูไอศกรีมข้าวเหนียวมะม่วง ขายแบบเหมาๆ 50 ลูก 299 บาท เป็นอีกกลยุทธ์ในการระบายสต็อกช่วงไวรัส COVID-19

ยุคนี้ต้องโอเวอร์โหลด เร่งระบายสต็อกสินค้า

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้หลายธุรกิจต้องหยุดชะงัก แน่นอนว่าร้านอาหารต้งอมีการปิดให้บริการในส่วนของการทานในร้าน แต่สามารถให้บริการในส่วนของซื้อกลับบ้านและเดลิเวอรี่ได้ แต่ก็ไม่สามารถทดแทนกันได้ทั้งหมดเสียทีเดียว

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับร้านอาหารหลายแห่งก็คือมีสต็อกวัตถุดิบค่อนข้างมาก ถ้าในสถานการณ์ปกติคงมีการจำหน่ายได้ทัน แต่เมื่อทุกอย่างเริ่มชะลอลงอย่างในช่วงตอนนี้ ทำให้สต็อกสินค้าเหลือมากมาย

ร้านอาหารจึงเริ่มที่จะจำหน่ายวัตถุดิบแยก แม้แต่ร้านไอศกรีมอย่าง “สเวนเซ่นส์” ก็ขอจำหน่ายท็อปปิ้งแยกเช่นกัน ได้นำ “ลูกชุบมะม่วง” มาจำหน่ายแบบโอเวอร์โหลดจำนวน 50 ลูก ราคา 299 บาท

ราคานี้เป็นราคาที่ลด 70% จากราคาปกติ 1,000 บาท แต่เดิมท็อปปิ้งลูกชุบจะจำหน่ายในราคาปกติลูกละ 20 บาทเลยทีเดียว

ซึ่งลูกชุบมะม่วงเป็นหนึ่งในไอเท็มสำคัญของเมนูตระกูล “มะม่วงอกร่องทองซันเด” เป็นลูกชุบอบควันเทียนรูปมะม่วงที่สั่งทางร้าน “ขนมไทยเก้าพี่น้อง” ผลิตส่งเป็นประจำทุกปีนับล้านลูก เพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาลมะม่วงที่จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมของทุกปี

และถ้าเกิดว่าปีไหนที่ลูกชุบมะม่วงหมดสต็อก ก็จะไม่มีการผลิตเพิ่ม จะเปลี่ยนเป็นท็อปปิ้งอื่นแทน จากประสบการณ์ส่วนตัวที่พบ ในปีก่อนผู้เขียนเคยไปทานเมนูนี้ แล้วสต็อกลูกชุมมะม่วงได้หมดเกลี้ยงแล้ว ทางร้านได้ใส่เชอร์รี่มาให้แทน

สเวนเซ่นส์ได้เริ่มขายเมนูลูกชุบมะม่วง ซูเปอร์ โอเวอร์โหลด ตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย. 63 ที่ผ่านมา แต่จะขายผ่านทาง Food Aggregator หรือผู้ให้บริการ Food Delivery เท่านั้น ยังไม่มีจำหน่ายผ่านแอปพลิเคชัน 1112 Delivery

ลูกชุบมะม่วงมี 2 ขนาดด้วยกัน ขนาด 50 ลูก ราคา 299 บาท และขนาด 8 ลูก ราคา 50 บาท นอกจากนี้ยังมีจำหน่ายท็อปปิ้งอื่นๆ แบบโอเวอร์โหลดเช่นกัน ได้แก่ คิดส์แฟน, อัลมอนด์, ถั่ว, แยมสตรอเบอร์รี่ และอื่นๆ

ร้านในเครือไมนเอร์ฯ ขายวัตถุดิบแยก

จริงๆ แล้วนอกจากร้านสเวนเซ่นส์ ยังมีแบรนด์อื่นๆ ในเครือของ “ไมเนอร์ฟู้ด” ที่นำวัตถุดิบอาหารมาจำหน่ายแยก เพื่อเร่งระบายสต็อกให้เร็วที่สุด เพียงแต่ว่าเริ่มจำหน่ายให้พนักงานภายในเท่านั้น

มีทั้งสเต็ก ผัก กระเทียมดองต่างๆ จากร้าน Sizzler หรือจะเป็นฮอตด็อกจาก Dairy Queen

เหตุผลที่ทางไมเนอร์เลือกที่จำหน่ายให้กับพนักงานภายในเท่านั้น เพราะวัตถุดิบที่นำมาขายในราคาถูกช่วงนี้ ส่วนใหญ่จะหมดอายุในช่วงเดือนมิถุนายน กลัวว่าถ้านำมาจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปจะดูไม่ดีเท่าไหร่นั่นเอง

]]>
1273152
ทำไม “ไมเนอร์” ต้องชิงบริหารพื้นที่พาณิชย์สุวรรณภูมิ แจงปมโดนตัดสิทธิ์ จี้ ทอท.ทบทวนใหม่ https://positioningmag.com/1231716 Mon, 27 May 2019 12:56:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1231716 ค่ายไมเนอร์ เจ้าของธุรกิจอาหารและโรงแรม ปรากฏรายชื่อเป็นหนึ่งในผู้ที่เสนอตัวเข้ามชิงสัมปทานดิวตี้ฟรี และสิทธิ์บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิ หลังจาก “คิงเพาเวอร์” เป็นผู้ถือสิทธิ์บริหารดิวตี้ฟรีมายาวนาน 30 ปี

แต่ยังไม่ทัน บมจ. การท่าอากาศยานไทย (ทอท.) หรือ AOT จะเปิดซองผู้เสนอราคาสูงสุด ในวันศุกร์นี้ (31 พ.ค.) ชื่อของ “ไมเนอร์” ต้องหายไปจากรายชื่อผู้เสนอราคาแล้ว

การประมูลครั้งสำคัญนี้ ทอท. เปิดให้เอกชนซื้อซองเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2562 และเปิดให้ “ยื่นซอง” โครงการบริหารจัดการพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2562 เพื่อเข้ารับสัญญาสัมปทานครั้งใหม่ระหว่างวันที่ 27 ก.ย. 2563 – 23 มี.ค. 2574 อายุ 10 ปี 6 เดือน

โดยแบ่งการประมูลเป็น 2 สัญญา คือ 1. สิทธิบริหารพื้นที่จำหน่ายสินค้าปลอดภาษีอากร (ดิวตี้ฟรี) สุวรรณภูมิ สัญญานี้มีเอกชนซื้อซอง ทีโออาร์ 5 ราย คือ 1. บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด 2. บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท โฮเต็ล ล็อตเต้ จำกัด 3. บริษัท รอยัลออคิด เชอราตัน (ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป และ WDFG UK 4. บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด และ 5. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT ในกลุ่มนี้ มี 2 บริษัท คือ เซ็นทรัลและไมเนอร์ ไม่ยื่นซองเอกสารเทคนิค จึงเหลือผู้ชิงประมูล 3 ราย

สัญญาที่ 2. สิทธิบริหารจัดการพื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ (Commercial area) สนามบินสุวรรณภูมิ มีเอกชนซื้อซอง ทีโออาร์ 4 ราย 1. บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด 2. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด

การเปิดให้เอกชน “ยื่นซอง” เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา ในสัญญานี้ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ไม่ยื่นซองประมูล ส่วน ไมเนอร์ ถูก ทอท. ตัดสิทธิ์เข้าร่วมประมูล ด้วยเหตุผลผิดเงื่อนไขตามทีโออาร์ ข้อ 3 และ ข้อ 5 จากการอ้างอิงเอกสารประสบการณ์ของบริษัทลูก ทำให้สัญญาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์เหลือผู้ผ่านเกณฑ์เข้าชิงเพียง 2 ราย คือ คิงเพาเวอร์ และ เซ็นทรัลพัฒนา

กรอบเวลาหลังจากนี้ คือวันที่ 29 – 30 พ.ค. นี้ ทอท. กำหนดให้ผู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติมานำเสนอแผนบริหารโครงการ จากนั้นวันศุกร์ 31 พ.ค. นี้ จะเปิดซองราคาและประกาศผลผู้ชนะทั้ง 2 สัญญา

ไมเนอร์แจงปมตัดสิทธิ์คุณสมบัติ

หลังจาก “ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล” ถูกตัดสิทธิ์คุณสมบัติเข้าร่วมประมูลในวันที่ 22 พ.ค. จากนั้น วันที่ศุกร์ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้ส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

แจกแจงประเด็นที่ ทอท. ชี้ว่าผิดเงื่อนไขการประมูล ที่ระบุว่า ไมเนอร์ ขาดประสบการณ์ในการดำเนินงาน ตามเงื่อนไข คือ การบริหารพื้นที่ศูนย์การค้าขนาด 10,000 ตารางเมตรขึ้นไปต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี และมีประสบการณ์บริหารธุรกิจค้าปลีก จำหน่ายสินค้า อาหารและเครื่องดื่มในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า พื้นที่ขนาด 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ดำเนินการต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี เป็นเพราะนำเสนอประสบการณ์ โดยอ้างอิงการทำงานของบริษัทลูก ที่ดำเนินธุรกิจโรงแรม ค้าปลีก และร้านอาหาร

ชัยพัฒน์ ไพฑูรย์

ชัยพัฒน์ ไพฑูรย์ รองประธานเจ้าหน้าที่การเงินส่วนกลางและวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไมเนอร์ “ไม่เห็นด้วย” กับ ทอท. ในการตัดสิทธิ์ไมเนอร์ ที่มีประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจด้านอาหาร เครื่องดื่มและการค้าปลีกในประเทศไทยตามข้อกำหนดของเอกสารการยื่นข้อเสนอ

“ไมเนอร์” เป็นผู้ประกอบการในธุรกิจด้านอาหารและค้าปลีกในประเทศไทย ซึ่งดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง ผ่านบริษัทลูกที่ไมเนอร์ เป็นเจ้าของและเป็นผู้ถือหุ้นหลัก 80 – 90%

  1. บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ผู้ดำเนินธุรกิจประเภทร้านอาหาร
  2. บริษัท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ผู้ดำเนินธุรกิจประเภทจัดจำหน่ายสินค้าด้านแฟชั่น และไลฟ์สไตล์
  3. บริษัท รอยัล การ์เด้น พลาซ่า จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจ ศูนย์การค้า รอยัล การ์เด้น พลาซ่า พัทยา และ ศูนย์การค้า เทอร์เทิล วิลเลจ พลาซ่า
  4. บริษัท เจ้าพระยา รีซอร์ท จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจ ศูนย์การค้า ริเวอร์ไซด์ พลาซ่า

“ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล” เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้ซื้อซองและยื่นซองประมูล อีกทั้งเป็น “เจ้าของ” ที่มีอำนาจในการบริหารและกำหนดทิศทางการดำเนินงานของ 4 บริษัทลูกที่มีประสบการณ์ตามเงื่อนไขเข้าประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิตามที่ ทอท. กำหนด

การที่ ทอท. ปฏิเสธไม่รับข้อเสนอของไมเนอร์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติจึงไม่ถูกต้อง จึงขอให้ ทอท. พิจารณาทบทวนการตัดสินของ ทอท. อย่างเร่งด่วนอีกครั้ง เพื่อความเป็นธรรมการประมูลครั้งนี้

หลังจากยื่นหนังสือให้ ทอท. ทบทวน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะนี้ยังรอผลตอบกลับจาก ทอท. แต่ก็เหลือเวลาอีกไม่มาก เพราะตามกำหนดผู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติจะต้องเสนอแผนบริหารพื้นที่ในวันที่ 29 – 30 พ.ค. นี้

ชิงพื้นที่เชิงพาณิชย์หนุนธุรกิจหลัก

ปัจจัยที่ทำให้ “ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล” สนใจเข้าร่วมประมูลบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิ ชัยพัฒน์ อธิบายว่าต้องการพัฒนาพื้นที่สุวรรณภูมิให้เป็นสนามบินที่ติดอันดับโลก เพื่อเป็น “ประตู” ดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าสู่ประเทศไทยให้ได้จำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์และธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวได้ประโยชน์ทั้งหมด รวมทั้งธุรกิจของกลุ่มไมเนอร์

ปัจจุบัน ไมเนอร์มีธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท อยู่ใน 64 ประเทศ ใน 5 ทวีป รู้ข้อมูลพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวต่างชาติดีว่าต้องการรับบริการประเภทใด เพื่อที่จะนำมาพัฒนาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่สุวรรณภูมิ

หวังดันรายได้ไมเนอร์โตแกร่ง

“ไมเนอร์ กรุ๊ป” เป็นผู้ดำเนินธุรกิจโรงแรม อาหาร และไลฟ์สไตล์ ที่มีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง ภายใต้แผนระยะยาวช่วง 5 ปีต่อจากนี้ ตั้งเป้าเติบโต 15 – 20% การเข้าประมูลบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิ ถือเป็นการขยายธุรกิจใหม่ ที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของไมเนอร์ ให้แข็งแกร่งมากขึ้นและเติบโตได้สูงกว่าเป้าหมายแผน 5 ปีที่บริษัทวางไว้

สำหรับผลประกอบการ “ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล” ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาทำรายได้เติบโตต่อเนื่อง

  • ปี 2562 ไตรมาสแรก รายได้ 29,029 ล้านบาท กำไร 583 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 79,328 ล้านบาท กำไร 5,444 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 58,643 ล้านบาท กำไร 5,415 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 56,972 ล้านบาท กำไร 6,590 ล้านบาท
  • ปี 2558 รายได้ 48,149 ล้านบาท กำไร 7,040 ล้านบาท
]]>
1231716
The Pizza Company ใจกล้าหน้าใหม่ “หมูแดงฮ่องกง-ไก่เซี่ยงไฮ้” https://positioningmag.com/1207201 Tue, 08 Jan 2019 23:07:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1207201 จากพิซซ่าแป้งดำมาถึงพิซซ่าหน้าทุเรียน ถัดมาปลายปี ยังมีพิซซ่าหน้ามาชเมลโล่ ราดช็อกโกแลตโรยบราวนี่พร้อมอัลมอนด์ ล่าสุดคือหน้าหมูแดงฮ่องกงและไก่เซี่ยงไฮ้ ที่ The Pizza Company เรียกว่า “พิซซ่าจักรพรรดิ” ถามว่า The Pizza Company กำลังเล่นเกมอะไร คำตอบคือ เกมกระตุ้นเซ็กเมนต์คนชอบลอง

The Pizza Company ไม่ปิดบังใครเรื่องเกมนี้เพราะต้นสังกัดอย่าง Minor มั่นใจในการเปิดเมนูใหม่ หรือที่เรียกแบบหรูหราว่า “นวัตกรรม” เห็นได้ชัดจากตัวเลขปี 2561 ที่พิสูจน์ได้ดีถึงฤทธิ์เดชของนวัตกรรมอย่าง Cheesy Lava Pizza, Black Volcano Pizza และ Durian Pizza

Minor มีรายได้จากธุรกิจร้านอาหารเพิ่มขึ้นทุกปีตลอด 5 ปี

  • ปี 2556 ทำได้ 15,343 ล้านบาท
  • ปี 2557 ทำได้ 16,754 ล้านบาท
  • ปี 2558 ทำได้ 18,626 ล้านบาท
  • ปี 2559 ทำได้ 23,022 ล้านบาท
  • ปี 2560 ทำได้ 23,582 ล้านบาท

หากมองเป็นรายไตรมาส Minor มีรายได้ธุรกิจร้านอาหารไตรมาส 3 ปี 2561 มากกว่า 5,836 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาส 3 ปี 2560 ที่ทำได้ 5,693 ล้านบาท ดีกว่ากว่าอัตราเติบโต 1% ที่เคยทำได้เมื่อไตรมาส 1 ปี 2561 รายได้ที่เพิ่มขึ้นแสดงว่า Minor มาถูกทาง จุดนี้ Minor ยกเครดิตให้ The Pizza Company ว่าเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จ เพราะ The Pizza Company เป็นแบรนด์หลักที่ทำรายได้ใหญ่ที่สุดในกลุ่มธุรกิจอาหารของ Minor โดย The Pizza Company เป็นแหล่งรายได้ 20% ของหน่วยธุรกิจอาหาร Minor

ขณะที่ Swensen’s ทำได้ 10%, Sizzler ทำได้ 11%, Burger King ทำได้ 7% และ Dairy Queen ทำได้ 5% (ข้อมูลต้นปี 2018)

กลยุทธ์ที่ Minor เดินบนแบรนด์เหล่านี้ล้วนต่างกันไป

The Pizza Company กับ Swensen’s นั้นถูกจัดกลยุทธ์ในทางเดียวกัน นั่นคือการพัฒนาเมนูใหม่อยู่เสมอ ขณะที่ Sizzler เน้นเรื่องการพัฒนาร้าน ให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีขึ้น Dairy Queen เน้นเรื่องการจับมือกับพันธมิตร ด้าน Burger King เน้นเรื่องงดพลาสติก ซึ่งจะเห็นว่าลูกค้าเริ่มไม่ได้รับหลอดหากไม่ได้ขอ

ทั้งหมดนี้ Minor ยอมรับว่ารายได้จากกิจการร้านอาหารในประเทศไทย คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 64% ของรายได้ร้านอาหารทั้งหมดในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2561

โดย The Pizza Company คือ 1 ใน 3 แบรนด์ที่บริษัทจะขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง อีก 2 แบรนด์คือ Sizzler และ Burger King ที่เชื่อว่าการขยายจำนวนสาขาจะส่งผลให้ยอดขายรวมของธุรกิจอาหารของ Minor โตขึ้นอีก

ถึงวันนี้ The Pizza Company เปิดทำการผ่านร้านมากกว่า 500 สาขา (ข้อมูลไตรมาส 3 ปี 2561) เรียกว่า The Pizza Company คือแบรนด์ที่ Minor เทเงินเปิดสาขามากที่สุดในปี 2561 ที่ผ่านมา เบ็ดเสร็จเทียบแล้วเพิ่มขึ้นกว่า 71 สาขา ร้อนแรงกว่า Swensen’s ที่ปิดไป 3 สาขา เหลือ 322 สาขา

สำหรับแคมเปญ “พิซซ่าจักรพรรดิ” The Pizza Company การันตีว่าเป็นพิซซ่าตำรับจีน ที่เป็นรูปดอกไม้เพราะต้องการสื่อถึงดอกไม้แห่งความสุข มีให้เลือก 2 หน้าคือ หมูแดงฮ่องกงพร้อมขอบหมูแดง และไก่เซี่ยงไฮ้สไตล์ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์พร้อมขอบไก่นุ่มชุ่มซอส

แน่นอนว่านี่ไม่ใช่สีสันเดียวของปีจาก The Pizza Company เพราะร้านพิซซ่าขยับมาขาย “ข้าวหอมน้ำตกไก่ป๊อป” และ “ข้าวหอมยำไก่ป๊อป” แล้ว แถมยังมีข้าวหอมไก่ป๊อปซอสเกาหลี ข้าวหอมไก่ป๊อปสไปซี่เกาหลี และข้าวหอมไก่ป๊อปเทอริยากิด้วย

ไม่เรียกว่า The Pizza Company ใจกล้า ก็ไม่รู้จะเรียกอะไรดี.


ที่มา : 

]]> 1207201