Mirrorless – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 25 Feb 2019 02:57:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Canon ปรับเกมรับมือตลาดกล้องแข่งโหด ส่ง “EOS RP” รุ่นเล็กอุดช่อง mirrorless ฟูลเฟรม https://positioningmag.com/1216040 Sun, 24 Feb 2019 09:57:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1216040 สมาร์ทโฟนทำให้ชาวดิจิทัลถ่ายรูปสวยโดนใจได้ง่ายด้วยการแตะหน้าจอไม่กี่ครั้ง ภาวะนี้ทำให้ผู้เล่นในตลาดกล้องต้องหาทางรอดไม่ให้ถูกกลืนหายไป Canon เป็นหนึ่งในผู้เล่นกลุ่มนี้ บนความเชื่อว่ายังมีโอกาสงามรออยู่เสมอในตลาดกล้องทั่วโลก

ก่อนหน้านี้ Canon ฉลองอายุ 30 ขวบสินค้ากลุ่ม EOS ด้วยยอดขายเกิน 90 ล้านเครื่องสำหรับสินค้าตระกูลเดียว แต่หากมองในมุมกล้อง DSLR เจ้าพ่ออย่าง Canon ถือว่ามาช้ากว่าใคร จุดนี้ Canon ยอมรับว่าเป็นเพราะปรัชญาของบริษัทที่เน้นหยั่งเสียงความต้องการของผู้บริโภคแบบระยะยาว ทำให้ต้องมองถึงฟูลไลน์ของทั้งไลน์สินค้า ทำให้ DSLR ของ Canon ลงตลาดช้ากว่าค่ายอื่น

แต่แม้จะมาช้า Canon ก็เป็นแชมป์ในตลาด DSLR ไทยต่อเนื่อง 12 ปี คาดว่าจะเป็นแชมป์ต่อไปอีกในปี 2018-2019

ทั้งหมดนี้ นิฐิวัฒน์ วัจนวรานันท์ หัวหน้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ คอนซูเมอร์ อิมเมจจิ้ง (Imaging Consumer Product) บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ย้ำว่า การเปิดตัวสินค้าใหม่ของ Canon จะไม่ดูเฉพาะแค่กล้องหรือเลนส์ แต่จะมองถึงแอคเซสซอรี่อื่นที่จะตามมาด้วย ดังนั้นแม้วันนี้ Canon จะหันมาเอาจริงเอาจังกับสินค้ากลุ่ม mirrorless มากขึ้น แต่ Canon ก็จะไม่ทิ้งตลาดเดิม ด้วยการออกสินค้ากลุ่มตัวแปลงหรืออะแดปเตอร์ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มผู้ใช้ EOS เดิม

“Canon กำลังสร้างอีโคซิสเต็มส์ในกลุ่มคนใช้แคนนอน ลูกค้าที่ซื้อ DSLR จะใช้อุปกรณ์เสริมของ EOS ได้ด้วยผู้บริหารระบุ  “ถามว่า Canon เอาจริงเอาจังกับ mirrorless แค่ไหน เรื่องนี้ต้องย้อนถึงคำให้สัมภาษณ์ของท่านประธาน Canon ที่ญี่ปุ่น ว่าตลาดกล้องจะหด 50% ในช่วง 3-4 ปีนี้จะเห็นว่ากลุ่มที่ลดลงคือกลุ่มเริ่มต้น สมาร์ทโฟนเข้ามาแทนตลาดนี้ ลดลงอย่างน่าใจหาย

ผู้บริหาร Canon มั่นใจว่าตลาดกล้องอีก 50% ที่เหลืออยู่คือตลาดที่แน่น กลุ่มนี้คือกลุ่มฟูลเฟรมที่มีขนาดเซ็นเซอร์ใหญ่ แนวโน้มนี้ทำให้ชัดเจนว่ากล้องที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาดเล็กจะไม่ได้รับความนิยมแน่นอน

ดังนั้น Canon จะไปที่ฟูลเฟรม แต่เราจะมีทั้ง mirrorless และ DSLR เรามองว่าแต่ละระดับราคาควรจะมีทั้ง EOS และ DSLR เพื่อเป็นทางเลือก ลองไปดูได้เลย เพราะ Canon จะวางไว้คู่กันทั้งหมด

ภาวะนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้ Canon ออกกล้อง mirrorless ฟูลเฟรมในวันนี้ นั่นคือ EOS RP อาวุธใหม่นี้เป็นสิ่งที่ Canon เตรียมมาเพราะเห็นความต้องการของลูกค้าที่ต้องการฟูลเฟรม mirrorless โดย EOS RP เป็นรุ่นที่ 2 ของ Canon ในตระกูลกล้อง mirrorless ที่ใช้เซ็นเซอร์ฟูลเฟรมและสามารถใช้เลนส์ได้อิสระเหมือน EOS R รุ่นแรกที่มีราคาหลัก 6 หมื่นบาทขึ้นไป

EOS RP อุดช่องโหว่

EOS RP ถูกวางจุดยืนเป็น mirrorless ฟูลเฟรมรุ่นเล็กที่ Canon ส่งมาตอบตลาดด้วยราคา 48,900 บาท สามารถใช้เลนส์ตระกูล RF เหมือน EOS R และใช้ร่วมกับเลนส์เมาท์ EF, EF-S, MP-E และ TS-E ได้ผ่านอะแดปเตอร์ คาดว่าราคานี้จะโดนใจตากล้องผู้เริ่มต้นที่จะเริ่มขยับขยายขึ้นมาสู่ mirrorless แต่ยังไม่อยากจะขยับขึ้นไปถึงระดับ EOS R

รักพงษ์ ชลัษเฐียร ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ของ Canon กล่าวในงานเปิดตัว EOS RP ว่า เหตุผลที่ทำให้ EOS RP ถูกแจ้งเกิดเป็นเพราะ Canon มุ่งมั่นเรื่องคุณภาพการโฟกัสของกล้อง เนื่องจากช่างภาพทั่วโลกให้ความสำคัญกับโฟกัส ทำให้ Canon มุ่งมั่นตั้งใจพัฒนาระบบโฟกัส Dual Pixel โดยมีการพัฒนาระบบจับตาหรือ eye detection ที่ปรับใหม่ให้รองรับภาพมุมกว้างมากขึ้น 

EOS RP มีความละเอียด 26.2 ล้านพิกเซล สูงสุดเมื่อเทียบกับกล้อง mirrorless ฟูลเฟรมรุ่นอื่นในตลาด น้ำหนักเบาไม่เกินขวดน้ำดื่มขนาด 500 มล โดยที่มีฟังก์ชันด้านวิดีโอครบ 

ราคาที่ลดลง แต่เราไม่ลดอะไรลงตามไปด้วย Canon ผลิตบอร์ดเซ็นเซอร์เอง ผลิตเลนส์เอง เราไม่ต้องเอาจากใคร แต่เราจะรู้วิธีการจัดการกับวัตถุดิบเราว่าทำอย่างไรให้ดี รวมถึงจุดเด่นของรุ่น R ก็ถูกรวมมาใน RP ด้วย คือกล้องสามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ที่อยูู่ในเลนส์ กล้องจะรู้ว่าเลนส์ที่ใช้อยู่ต้องปรับอะไรให้เข้ากันจึงจะสมบูรณ์แบบที่สุด นี่คือความเก่ง

ดูเหมือนว่า EOS RP หวังตอบโจทย์กลุ่มคนใช้กล้อง mirrorless เพื่อถ่ายวิดีโอ เพราะหนึ่งในจุดขายหลักของ EOS RP อยู่ที่การช่วยให้ผู้ถ่ายวิดีโอสามารถภาพจับหน้าบุคคลได้อัตโนมัติ ทำให้เมื่อถ่ายวิดีโอ ภาพคนจะอยู่ในโฟกัสตลอด แม้นางแบบจะขยับตัว กล้องก็จะโฟกัสที่ตา เรียกว่าโฟกัสได้แม้อยู่ในสถาการณ์ที่ไม่มีความนิ่งเลย

นอกจาก DNA ของ Canon เรื่องปุ่มหมุนหรือ Dial ยังคงจัดเต็มมาใน EOS RP ยังมีการสาธิตการทำงานของซอฟต์แวร์ซ้อนภาพสูงสุด 999 ช็อต เพื่อให้ได้ภาพที่ชัดทั้งระนาบ คุณสมบัตินี้เหมาะกับงานถ่ายภาพสินค้าขนาดเล็กเช่นนาฬิกา หรือเครื่องประดับ ทำให้การทำภาพลักษณะนี้ทำได้ง่ายขึ้นแบบไม่ต้องจ้างมืออาชีพ

อีกจุดน่าสนใจคือการมีแอปพลิเคชั่นให้ช่างภาพส่งภาพผ่านบลูทูธด้วยสมาร์ทโฟน โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเปิดกล้องหรือหยิบกล้องออกจากกระเป๋าเดินทาง ทั้งหมดนี้ผู้บริหารย้ำว่ากลุ่มเป้าหมายของ Canon ไม่ได้เน้นเฉพาะกลุ่มครีเอเตอร์หรือพ่อค้าแม่ขายบนออนไลน์ แต่ทุกอย่างพัฒนาขึ้นเพื่อให้กล้องตัวนี้ใช้งานง่าย ซึ่งเหมาะกับทุกคนไม่เฉพาะครีเอเตอร์ นักเดินทาง หรือคนที่ชอบแชร์

ได้หน้าไม่ลืมหลัง

“Canon เราจะทำทั้ง DSLR และ mirrorless เราจะมีกลุ่มกลาง มีฟูลเฟรม สิ่งที่เรามองคือฟูลเฟรมโตอย่างมาก ถ้ามองลักษณะการบริโภค Entry ลดลงแต่ตลาดกลางและสูงนั้นโตมาก เราจึงมีทั้ง R และ RP ถ้าถามว่าอนาคตฟูลเฟรมจะเป็นอย่างไร Canon ก็จะมองทั้ง 2 ค่าย ตรงนี้ถือว่าน่าแปลกใจเพราะตอนแรก เรามองว่า DSLR จะด้อยลงเมื่อออกฟูลเฟรม แต่พบว่าไม่กระทบเลย ถือว่าน้อยมาก การที่ตลาด DSLR ไม่ลดลงเลยแปลว่าลูกค้ายังมองหา ถือว่าเหนือความคาดหมาย นิฐิวัฒน์ระบุ

นิฐิวัฒน์ย้ำว่า Canon ไม่ได้รับกระทบจากตลาดกล้องคอมแพกต์ที่หดหายไป โดยบอกว่า Canon เป็นบริษัทเดียวที่มีสัดส่วนกล้องคอมแพกต์อยู่ที่ 10-15% เท่านั้น เมื่อกล้องกลุ่มกลางหรือมิดเรนจ์ ขยายตัวจึงเป็นประโยชน์กับ Canon เบื้องต้นประเมินว่าการเติบโตของมิดเรนจ์นั้นเกิน 2 เท่า

กลุ่มที่มาใช้กล้องระดับกลางเพิ่มขึ้นเป็นลูกค้ากลุ่มใหม่ แต่ฟูลเฟรมคือกลุ่มลูกค้าฐานเดิมบวกลูกค้าใหม่ สำหรับ EOS เป็นกล้องราคาสูง กลุ่มเป้าหมายหลักคือมืออาชีพซึ่งเราครองตลาดอยู่ จึงเป็นข้อได้เปรียบ เราจะใช้ความได้เปรียบนี้ในการทำตลาด การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่จึงจะไม่ทิ้งลูกค้าเดิม บางคนถ่ายภาพเป็นอาชีพ บางคนเป็นงานอดิเรก เลนส์ก็ใช้ได้นาน การออกแบบพร้อมอะแดปเตอร์จะช่วยเรา

Canon ยังมองว่าสมาร์ทโฟนช่วยสร้างวัฒนธรรมการถ่ายภาพ เพราะก่อนนี้ 7-8 ปีที่แล้ว ประชากรโลกเพียงครึ่งเดียวที่มีกล้องใช้งาน สัดส่วนคือ 0.5 ตัวต่อครัวเรือน วันนี้ Canon ได้เห็นการถ่ายภาพที่แพร่หลายมากขึ้น ซึ่งพัฒนาจากคนที่ชอบถ่ายภาพทางมือถือ แล้วพัฒนามาเป็นงานอดิเรก

สำหรับปีนี้ Canon ย้ำว่าแผนการลงทุนในไทยจะเน้นที่การเพิ่มความแข็งแกร่งในตลาดมิดเรนจ์ถึงฟูลเฟรม กลุ่มเป้าหมายจะเน้นที่กลุ่มถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก คาดว่าจะมีเวิร์กช็อปเทรนนิ่งบ่อยขึ้น รวมถึงการเจาะกลุ่มนักศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทผ่านสื่อออนไลน์ โดยลูกค้ากลุ่มมือโปรและกลุ่มอดิเรกจะเจาะเข้าคอมมูนิตี้ เบื้องต้นไม่เปิดตัวเลขงบลงทุนไทยปีนี้

ความท้าทายของปีนี้คือการแข่งขัน ตลาดรวมลดลง ทำให้แบรนด์ระดับ entry ต้องยกตัวเองขึ้นมา กลุ่มกลางก็จะทำราคาหนักขึ้น โปรโมชั่นจะรุนแรงมาก ขณะเดียวกันเศรษฐกิจที่ไม่ดีจะทำให้การใช้จ่ายลดลงชัดเจน ดังนั้นโจทย์ของเราคือมีดีมานด์อยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้เกิดการซื้อ ซึ่งจุดที่จะทำได้คือนวัตกรรม

ทั้งหมดนี้คือแผนของ Canon ในการรับมือภาวะแข่งโหดในตลาดกล้องทั่วโลก.

]]>
1216040
เมื่อ “NiKon” ต้องลุยตลาดกล้อง Mirrorless สลัดภาพแบรนด์แก่ เข้าถึงยาก https://positioningmag.com/1189204 Mon, 24 Sep 2018 04:46:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1189204 เรื่อง : Thanatkit

เป็นแบรนด์กล้องเก่าแก่ มีอายุถึง 101 ปี ได้เวลาที่นิคอนจะต้องปรับกลยุทธ์เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ ไม่อาจเมินเฉยต่อตลาดกล้องมิลเลอร์เลส” ได้อีกต่อไป

ตลาดกล้องเมืองไทยในมุมมองของนิคอนนั้น มีคาแร็กเตอร์ไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยเซ็กเมนต์มิลเลอร์เลสเติบโตมากกว่ากลุ่มอื่นถึง 2 เท่า

เนื่องจากคาแร็กเตอร์ตอบโจทย์กลุ่มคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะผู้หญิง ที่ชอบถ่ายรูปแล้วอัพลงโซเชียลมีเดียจึงชอบกล้องมิลเลอร์เลสที่คล่องตัวมากกว่า แต่ในต่างประเทศโซเชียลมีเดียไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก คนที่ซื้อกลุ่มจึงเป็นกลุ่มที่สนใจเรื่องการถ่ายรูปจึงมองสเป็กและจุดประสงค์ในการใช้งานเป็นหลัก

ในเมืองไทยมิลเลอร์เลสกลายเป็นเซ็กเมนต์ที่กินรวบตลาดกว่า 60% เหนือดีเอสแอลอาร์ที่เหลือสัดส่วนเพียง 30% อีก 10% เป็นที่ยืนของคอมแพกต์ซึ่งต่างจากเมืองนอกที่ 2 เซ็กเมนต์แรกมีสัดส่วนไม่หนีห่างกันมาก

แต่เดิมนั้นนิคอน ถือเป็น 1 ใน 2 แบรนด์ที่ตีคู่มากับแคนนอน ในยุคที่ดีเอสแอลอาร์กินพื้นที่ส่วนใหญ่ในตลาด ส่วนมิลเลอร์เลสเพิ่งมาบูมในช่วง 5-6 ปีนี้เอง

นิคอนได้จับตาดูความเปลี่ยนแปลงของตลาดในช่วง 3 ปีมานี้อย่างใกล้ชิด โดยมองว่า มิลเลอร์เลสได้ผ่านจุดที่พีคที่สุดไปแล้ว เริ่มมีสัดส่วนที่เล็กลงไป ส่วนดีเอสแอลอาร์มีมากขึ้น หากผ่านช่วงนี้ไป ในที่สุดสิ่งที่เหลืออยู่จะเป็นดีมานด์ที่แท้จริงของตลาด

ขณะเดียวกันนิคอนไม่ได้ปฏิเสธเรื่องมิลเลอร์เลสโต แต่ในระยะใกล้ยังไม่สามารถทดแทนกันได้ทั้งหมดเนื่องจากกลุ่มมืออาชีพยังเชื่อมันในดีเอสแอลอาร์อยู่ ด้วยรูปแบบการใช้งาน ที่ต้องการความทนทานและไว้ใจได้ แต่การที่มิลเลอร์เลสเป็นอุปกรณ์ที่เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด บางสถานการณ์อาจจะไม่ตอบโจทย์ได้

อย่างไรก็ตาม การที่กลุ่มแบรนด์รองอย่างฟูจิ ฟิล์ม, โอลิมปัส, พานาโซนิค และ โซนี่เร่งทำตลาดในเซ็กเมนต์มิลเลอร์เลสจนเบียดขึ้นมาหายใจรดต้นคอ และในที่สุดก็สามารถเบียดนิคอนให้หล่นมาเป็นเบอร์ 4 ในเมืองไทย

กลายเป็นแรงกดดันมากที่สุดของนิคอนในเวลานี้ที่ต้องการพลิกกลับขึ้นมาเป็นเบอร์ 1” ให้ได้ ถึงจะบอกว่า เบอร์ 1-4 มีส่วนแบ่งตลาดที่ไม่ห่างกันมาก ราว 1-3% ก็ตาม

เพื่อไปให้ถึงจุดหมายนิคอนจึงต้องลงตลาดทั้งมิลเลอร์เลสด้วย แต่ก็ยังไม่ทิ้งดีเอสแอลอาร์ โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่กำลังจับจ่ายใช้สอยสูง และกลุ่มนี้ไม่ได้ซื้อแค่กล้องอย่างเดียว ยังมีโอกาสต่อยอดไปอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เลนส์และแอคเซสเซอรี่ที่นิคอนผลิตอยู่ด้วย

การลงตลาดมิลเลอร์เลสจึงทำให้กลุ่มเป้าหมายกว้างขึ้น ไม่ใช่กลุ่มมืออาชีพที่เคยเป็นหลัก แต่รวมไปถึงกลุ่มที่มีการถ่ายรูปเป็นงานอดิเรกหรือรักการถ่ายรูป ซึ่งกมีกำลังในการจับจ่ายเช่นเดียวกัน ที่สำคัญผู้บริโภคกลุ่มนี้ในเมืองไทยมีขนาดใหญ่ที่สุด

เซ็กเมนต์ที่นิคอนกำลังให้ความสนใจมากที่สุดคือกล้องมิลเลอร์เลสฟูลเพรม (Full-frame Sensor) ที่แม้จะมีสัดส่วนเพียง 30% ของตลาดรวมมิลเลอร์เลส หากมีอัตราเติบโตมากถึงปีละ 30% ซึ่งมาจาการที่กลุ่มมืออาชีพ และมือสมัครเล่นที่กำลังพัฒนาขึ้นมาเป็นมืออาชีพ หันมาซื้อกล้องประเภทนี้มากขึ้น

อีกทั้งราคาเฉลี่ยในตลาดก็ลดลง เพราะมีสินค้าใหม่เข้ามาทดแทนฐานตลาดจึงใหญ่ขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีราคาตั้งแต่ 30,000 – 130,000 บาท โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 60,000 – 80,000 บาท

ล่าสุดนิคอนได้เปิดตัวกล้องมิลเลอร์เลสฟูลเพรมตัวแรกZ Series” จำนวน 2 รุ่น ได้แก่ NIKON Z6  ราคาเฉพาะตัวกล้อง 69,900 บาท พร้อมเลนส์ 75,990 – 91,990 บาท โดยยังไม่มีกำหนดวางขาย

และ NIKON Z7 เฉพาะตัวกล้องราคา 119,900 บาท พร้อมเลนส์ 125,990 – 147,990 บาท กำหนดวางขาย 27 กันยายน 2017 นอกจากนี้ยังมีเลนส์อีก 3 ตัว ราคา 22,220 – 36,990 บาท กับ Adapter FTZ ราคา 10,900 บาท วางขายพร้อมกันอีกด้วย

โทรุ มัทสึบาระ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท นิคอน เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าบอกเลยว่าเราไม่ได้มาช้า เนื่องจากนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะกล้องเป็นระบบใหม่ทั้งหมดเลย ตั้งแต่เปิดตัวเมื่อเดือนก่อนผลตอบรับดีมากๆ ถึงเราไม่ใช่รายแรกในตลาดที่ทำ แต่มั่นใจว่าพัฒนาให้เกิดความสมบูรณ์มากกว่ารุ่นอื่นๆ ในตลาดแน่นอน

นอกเหนือจากสินค้าใหม่แล้ว นิคอนได้วางแผนการตลาดด้วยการสัมมนาเวิร์คช็อปทุกอาทิตย์และกิจกรรมทางการตลาดอื่นๆ ที่จัดขึ้นในหลายพื้นที่

อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญในปีนี้คือการเปิด “Nikon Experience Hub” แห่งแรกในเมืองไทย และแห่งที่ 4 ในเอเชีย ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อจัดจำหน่ายและให้บริการหลังการขาย ตั้งเป้ามียอดทราฟฟิกวันธรรมดา 500 คน วันหยุด 1,000 คน

พร้อมกันนี้ได้วางแผนขยาย Nikon Experience Hub แต่มีขนาดเล็กลง ใช้ชื่อว่า Nikon Experience Zone ในร้านที่มีทราฟฟิกจำนวนมาก ตั้งเป้าเริ่ม 6 สาขาในกรุงเทพฯ ก่อน ใช้เงินลงทุนสาขาละ 2-3 ล้านบาท ที่นิคอนรับผิดชอบเอง

ความท้าทายที่สุดของนิคอนในขณะนี้คือ การเปลี่ยนภาพลักษณ์ในสายตาผู้บริโภค เดิมมองว่านิคอนเป็นชายสูงอายุ ที่ถ่ายรูปเก่ง แค่พูดไม่รู้เรื่อง คนรุ่นใหม่จึงเข้ามาหาแบรนด์ได้ยาก ซึ่งกลยุทธ์การตลาดที่ทำทั้งหมดก็เพื่อปรับภาพลักษณ์ให้เด็กลง เหลือสักอายุ 25 จะเป็นชายหรือหญิงแล้วแต่มุมมอง แต่ยังคงคุณภาพในเรื่องของการถ่ายรูป หากพูดคุยได้ง่ายขึ้น

]]>
1189204