Movie – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 28 May 2024 08:07:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 CEO ของ Sony เผยทิศทางบริษัทเน้นธุรกิจความบันเทิงเป็นหลัก ไม่เน้นธุรกิจผลิตสินค้าประเภทอุปกรณ์แบบเดิมๆ อีกต่อไป https://positioningmag.com/1475333 Tue, 28 May 2024 07:47:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1475333 CEO ของ ‘โซนี่’ ได้ประกาศถึงทิศทางของบริษัทหลังจากนี้โดยจะเน้นไปยังธุรกิจด้านความบันเทิงเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น เพลง ภาพยนตร์ อนิเมะ รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันธุรกิจข้างต้นสร้างรายได้ให้บริษัทมากกว่า 60% ของรายได้รวมบริษัทในปีล่าสุด

ในอดีตเราอาจเคยได้ยินชื่อสินค้าของ Sony หลากหลายชนิด อย่างไรก็ดีในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา บริษัทได้ปรับเปลี่ยนธุรกิจมาเน้นความบันเทิงมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันผู้บริหารสูงสุดของบริษัทญี่ปุ่นรายนี้ก็ได้ยืนยันทิศทางของบริษัทว่าจะยังเดินหน้าในเรื่องของความบันเทิงต่อ

Kenichiro Yoshida ซึ่งเป็น CEO ของ Sony ได้ประกาศถึงทิศทางบริษัทในอนาคตว่าจะเน้นไปยังอุตสาหกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมบันเทิง ไม่ว่าจะเป็น เกม ภาพยนตร์ เพลง อนิเมะ หรือแม้แต่ทรัพย์สินทางปัญญหาที่เกี่ยวข้อง มากกว่าที่จะเน้นไปยังการผลิตอุปกรณ์แบบเดิมๆ

CEO ของ Sony กล่าวว่า บริษัทกำลังกำลังช่วยเหลือพนักงานในการสร้างสรรค์ เพื่อที่จะนำเสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า “Kando” ซึ่งมาจากคำศัพท์ญี่ปุ่นที่แปลว่าประสบการณ์ที่น่าประทับใจ มากกว่าการผลิตสินค้าหรืออุปกรณ์แบบเดิมๆ เช่น เครื่องเล่นเพลง Walkman หรือแม้แต่โทรทัศน์

เขายังมองว่าการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์กับความบันเทิงไม่ได้เกิดขึ้นต่อไปแล้ว แต่มองว่าเกิดจากทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น เกม ภาพยนตร์ เพลง หรือแม้แต่ อนิเมะ และบริษัทจะสนับสนุนในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน

นอกจากนี้เขาเองยังกล่าวว่าบริษัทมีแผนที่จะส่งออกอนิเมะญี่ปุ่นไปยังต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และเขากล่าวว่าบริษัทต้องการที่จะมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมนี้ด้วยเช่นกัน

ในส่วนสินค้าที่บริษัทจะโฟกัสไปยังการผลิตนั้นมีเพียงเซ็นเซอร์รับภาพ ซึ่งชิ้นส่วนดังกล่าวนั้น Sony เป็นผู้นำในตลาด และผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือหลายรายได้ใช้ชิ้นส่วนของบริษัทอยู่ และมองว่าการโฟกัสไปยังชิ้นส่วนดังกล่าวสอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัท เนื่องจากเซ็นเซอร์รับภาพเป็นอุปกรณ์สำคัญเกี่ยวกับความบันเทิง

ปัจจุบัน Sony มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจเกมมากถึง 30% ธุรกิจเพลงราวๆ 12% ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิงเช่น ภาพยนตร์ 21% ซึ่งจะเห็นว่าสัดส่วนใน 3 ธุรกิจนั้นเกี่ยวข้องกับความบันเทิงสร้างรายได้ให้กับยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นรายนี้มากกว่า 60% ด้วยซ้ำ

Sony ได้พบกับอุปสรรคทางธุรกิจหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีราคาถูกลง ขณะเดียวกันในอดีตบริษัทเคยถูกมองว่าลงทุนในสิ่งที่อาจไม่สร้างผลกำไร ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนในค่ายหนัง ค่ายเพลง หรือแม้แต่ธุรกิจเกม ซึ่งปัจจุบันรายได้ในส่วนดังกล่าวนั้นทำให้บริษัทอยู่รอดจนถึงทุกวันนี้

CEO ของ Sony ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “เพื่อให้บริษัทเติบโตและสร้างมูลค่าในระยะยาว เรายังต้องพัฒนาความหลากหลายของธุรกิจและบุคลากรของเราต่อไป”

ที่มา – Sony, ABC, Kyodo News

]]>
1475333
Netflix ประกาศเตรียมลงทุน ซีรีส์ ละครเกาหลี เพิ่มอีก 85,975 ล้านบาท ในช่วง 4 ปีข้างหน้า https://positioningmag.com/1428438 Tue, 25 Apr 2023 06:29:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1428438 Netflix เจ้าของแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งประกาศลงทุนมากถึง 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 85,975 ล้านบาท ในช่วง 4 ข้างหน้า โดยเม็ดเงินดังกล่าวจะนำมาใช้เพื่อผลิตซีรีส์ ภาพยนตร์ รวมถึงรายการโทรทัศน์ ซึ่งจะเพิ่มเป็นสองเท่าของจำนวนเงินที่บริษัทลงทุนในประเทศเกาหลีนับตั้งแต่ปี 2016

ประกาศของ Netflix นั้นตามหลังมาจาก Yoon Suk Yeol ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ที่ได้พบปะกับ Ted Sarandos ซึ่งเป็น CEO ร่วมของแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่งเมื่อวันจันทร์ (24 เมษายน) ที่ผ่านมา ซึ่งผู้นำเกาหลีใต้นั้นมีกำหนดเยือนสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 6 วัน

CEO ร่วมของ Netflix รายดังกล่าวยังได้กล่าวว่า บริษัทยังได้รับแรงบันดาลใจจากความรักและการสนับสนุนที่แข็งแกร่งต่อวงการบันเทิงเกาหลีของประธานาธิบดีเกาหลีใต้ รวมถึงกระแสเกาหลีที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในตอนนี้ เขายังกล่าวเสริมว่า สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้บริษัทมีความมั่นใจและเชื่อมั่นต่ออุตสาหกรรมบันเทิงของเกาหลีใต้อย่างมากว่าจะบอกเล่าเรื่องราวอันยอดเยี่ยมต่อไป

การลงทุนเพิ่มเติมของ Netflix ต่อเนื่องมาจากซีรีส์รวมถึงละครจากเกาหลีใต้นั้นประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ซึ่งข้อมูลจากบริษัทในปี 2022 ที่ผ่านมาพบว่าสมาชิก Netflix มากถึง 60% นั้นรับชมซีรีส์ หรือละครจากเกาหลีใต้

ซีรีส์อย่าง Squid Game ถือเป็นซีรีส์จากเกาหลีใต้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหลังจากลงแพลตฟอร์ม Netflix ในช่วง 28 วัน มีสมาชิกรับชมมากถึง 111 ล้านราย ส่งผลทำให้เกิดกระแสด้านบวกกับเกาหลีใต้อย่างมาก และยังทำรายได้ให้กับบริษัทมากถึง 40 เท่า จากเงินลงทุนเริ่มต้นของบริษัท

ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้ลงทุนในคอนเทนต์ต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากลูกค้าในสหรัฐอเมริกา หรือยุโรปมีการชะลอตัวลง ขณะที่ประเทศอื่นๆ กลับยังมีจำนวนลูกค้าที่เติบโตอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าในทวีปเอเชีย

นอกจากนี้การประกาศของ Netflix ยังทำให้หุ้นของบริษัท Production ซึ่งเป็นผู้สร้างซีรีส์ ภาพยนตร์ รวมถึงรายการโทรทัศน์ในเกาหลีใต้ เช่น Showbox หรือแม้แต่ Studio Dragon นั้นมีราคาพุ่งขึ้นทันทีด้วย

ที่มา – BBC, CNN

]]>
1428438
“เมเจอร์” เปิดโรงหนัง 5 ปี 1,000 โรง https://positioningmag.com/58856 Wed, 03 Dec 2014 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=58856

แม้พฤติกรรมการดูภาพยนตร์ของคนไทยจะสูงขึ้นตามไลฟ์สไตล์คนเมืองก็ตาม แต่เมื่อเทียบอัตราการดูภาพยนตร์ของคนไทยต่อคนต่อปีแล้วมีเพียง 1 เรื่องเท่านั้น และโรงภาพยนตร์ในเมืองไทยยังมีอยู่แค่ 800 โรง

นี่คือ โอกาสทางธุรกิจ คุณวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)มองว่า ธุรกิจโรงภาพยตร์ยังเติบโตได้อีกมาก โดยเฉพาะการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีก ทั้งห้างสรรพสินค้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นทำเลหลักของเมเจอร์ต่อจากนี้ และเป็นที่มาของการประกาศยุทธศาสตร์ ขยายโรงภาพยนตร์ให้ครบ 1,000 โรง ภายใน 5 ปีข้างหน้า เน้นพื้นที่ต่างจังหวัด และในการปักธง และเป็นการขยายฐานลูกค้าให้กว้างออกไป

สอดรับกับธุรกิจผลิตภาพยนตร์ในเครือ 4 บริษัท ที่วางแผนผลิตหนังไทยป้อนเข้าโรงหนังได้ปีละ 12-15 เรื่อง รองรับตลาดต่างจังหวัดที่นิยมหนังไทยมากกว่าคนในเมือง

]]>
58856
ซีรีส์ฮอร์โมน ซีซั่น 2…ไม่พลุ่งพล่าน https://positioningmag.com/58150 Mon, 28 Jul 2014 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=58150

กลายเป็น “โจทย์การตลาด” ที่ท้าทายไปแล้ว… เมื่อซีรีส์ ฮอร์โมน ซีซั่น 2 กระแสกลับไม่แรงเท่าซีซั่นแรก 

ชี้กระแสไม่แรงต้องเพิ่มเนื้อหาให้ดุเดือด

ได้กลายเป็นความท้าทายสำหรับผู้สร้างฮอร์โมนเดอะซีรีส์ ในซีซั่นที่ 2 ไปแล้ว หลังจากที่เคยประสบความสำเร็จถล่มทลาย ด้วยยอดวิวของทุกตอนรวมกันกว่า 150 ล้านวิว เฉลี่ยแต่ละตอนมียอดวิวประมาณ 10 ล้านวิว แต่หลังจากเปิดตัวดูท่ากระแสจะไม่แรงเหมือนกับซีซั่นแรก

ในมุมมองของ ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการด้านสื่อสาร  ให้ความเห็นว่า สำหรับฮอร์โมนในซีซั่นนี้ถ้ามองในแง่ของความเข้มข้นคิดว่ายังไม่แรงเท่าซีซั่นแรก เพราะเป็นคอนเทนต์ที่แปลกใหม่สำหรับคนดู ซึ่งในตลาดก็ไม่มีซีรีส์หรือละครแรงๆ มากนัก 

พอมาซีซั่นนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับคนดูแล้ว การปลุกกระแสขึ้นยากกว่า จึงทำให้ต้องเพิ่มเนื้อหาให้มีความแรงกว่าเดิม เพราะมีการเพิ่มเรื่องความสัมพันธ์ของคู่เกย์และเลสเบี้ยน และเรื่องยาเสพติดเข้ามาอีก

การทำการตลาดจึงแตกต่างกัน โดยซีซั่นที่แล้วเพื่อดึงคนเข้ามาซื้อกล่อง GMM Z พร้อมเปิดตัวช่อง One พอมาถึงซีซั่นนี้มีการเสริมการตลาดนอกจอมากขึ้น เริ่มต้นจากการมีโครงการหานักแสดงหน้าใหม่ Hormones the next gen เป็นการรักษากระแสและแฟนๆ ซีรีส์ไม่ให้หายไป และมีการจัดมีตแอนด์กรี๊ดกับนักแสดง โดยให้คนดูถ่ายรูปหน้าจอตอนกำลังดูซีรีส์อยู่ โดยที่ให้ถ่ายติดโลโก GMM Z และ GTH on air แล้วให้แฮชแท็ก #ZWITHHORMONES2 ตามด้วย #ชื่อจังหวัด

นอกจากจะเป็นสร้างการจดจำของช่องได้แล้ว ยังเพิ่มกระแสระหว่างที่ซีรส์ฉายอยู่ด้วย อีกทั้งยังสามารถเช็ก Location Base ทำให้ทราบข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายว่าส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดอะไร วิธีการนี้เรียกว่า User Generated Experience คือการให้คนดูได้แชร์ประสบการณ์ และแชร์ความคิดเห็น

ส่วนการนำสปอนเซอร์มาไทอินมากไป ก็อาจจะทำให้ซีรีส์สูญเสียเสน่ห์ เพราะสินค้าเหล่านั้นได้เข้าไปผูกกับบทละคร ทำให้ซีรีส์ไม่เป็นธรรมชาติ และคนดูจะรู้สึกว่าถูกยัดเยียดจนเกินไป เสียอรรสรถในการดูซีรีส์ ควรทำเป็น Product Placement  เช่น วางสินค้าแต่ไม่ถ่ายโลโกโดยตรง จะทำให้คนดูสนใจและไปหาข้อมูลสินค้ามากกว่า โดยซีรีส์ดังๆ ในต่างประเทศจะไม่ถ่ายเจาะจงว่าสินค้าในซีรีส์เป็นของแบรนด์อะไร แต่จะใช้วิธีการใส่เครดิตท้ายซีรีส์ พอสินค้ามันเนียนไปกับเรื่อง มันจะมีเสน่ห์ขึ้นมา คนดูก็เกิดความสนใจเขาก็ไปหาข้อมูลสินค้านั้นๆ

ผ่ากลยุทธ์ปั้นซีรีส์ ฮอร์โมนซีซั่น 2

อย่างไรก็ตาม ผลจากความแรงของซีรีส์ฮอร์โมนเวอร์ชั่นแรก ส่งผลให้ในฮอร์โมนซีซั่นที่ 2 มีสปอนเซอร์ตอบรับกลับมาถึง 8 แบรนด์ด้วยกัน ได้แก่ เพียวริคุ, ฮอนด้า, เป๊ปซี่, เอไอเอส, วาสลีน เมน, ยาโยอิ, เอ็มเค เรสโตรองต์ และการ์นิเย่ จากเดิมที่ในซีซั่นที่ 1 มีเพียงรถจักรยานยนต์ฮอนด้าเท่านั้นที่เป็นสปอนเซอร์ไทอินสินค้า

ทางด้าน “ย้ง ทรงยศ สุขมากอนันต์” ผู้กำกับมือนฮอร์โมนซีซั่นแรก ได้ผันตัวมาเป็นโปรดิวเซอร์อย่างเต็มตัวในฮอร์โมนซีซั่นที่ 2 แล้วดัน “ปิง เกรียงไกร วชิรธรรมพร” เป็นผู้กำกับซีรีส์ในภาคนี้แทน ซึ่งในซีซั่นนี้จะขยับมาเน้นเรื่องความสัมพันธ์ของตัวละครมากขึ้น

ขณะเดียวกัน ได้พูดถึงการจะนำสินค้าไปไทอิน ที่ต้องทำให้กลมกลืนไปกับเนื้อเรื่องเป็นเรื่องยาก ต้องพยายามคิดให้เข้ากับคาแร็กเตอร์ของสินค้าเหล่านี้ ไม่ยัดเยียดจนเกิดไป ดังนั้นเราจะใช้วิธีการหาสปอนเซอร์ก่อน จากนั้นจึงค่อยมาเขียนบท เพื่อให้กลมกลืนกับตัวเนื้อเรื่อง

ย้ง ยกตัวอย่าง ซีซั่นแรก ยังไม่มีสปอนเซอร์มาไทอิน โทรศัพท์มือถือที่ตัวละครต้องใช้จึงเลือกใช้ “ไอโฟน” เพราะแอปเปิลไม่มีการทำการตลาดในเมืองไทย จึงต้องเลือกที่เป็นกลางมากที่สุด พอซีซั่นนี้แบรนด์ซัมซุงเข้ามาเป็นสปอนเซอร์ แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องให้ “เนียน” ไม่ยัดเยียด” จนเกินไป

“เราเลยคุยกับทางซัมซุงว่าขอได้มั้ย ถ้าจะให้ตัวละครบางตัวได้ใช้ไอโฟนอยู่บ้าง เพราะคงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีแต่คนใช้แต่ซัมซุงยี่ห้อเดียว เพียงแต่ถ้าตัวละครตัวไหนต้องใช้โทรศัพท์ที่ฟังก์ชันเยอะๆ ก็จะใช้ซัมซุง” 

ย้ง บอกว่าหลายแบรนด์มองว่า หนังฮอร์โมนหยิ่ง ทั้งๆ ที่จริงก็ไม่ได้มีสิทธิ์เลือกสปอนเซอร์ได้ แต่จะใช้วิธีบอกว่า เรื่องนี้มีตัวละครอะไร ใช้อะไรบ้าง ถ้าโปรดักต์นั้นสนใจเข้ามาก็จะเนียนๆ ไปกับเรื่อง เป็นโปรดักต์ที่มีคุณสมบัติตรงกับเรื่องเท่านั้นเอง

การหาสปอนเซอร์ของซีรีส์ฮอร์โมนซีซั่น 2 มีการหาสปอนเซอร์อย่างเป็นระบบมากขึ้นโดยจะเป็นรูปแบบของแพ็กเกจ และมีค่าสปอนเซอร์ที่แตกต่างกันออกไป โดยที่จะมีกลยุทธ์การพ่วงอยู่ด้วย นั่นคือการเสนอนักแสดงในสังกัดเป็นพรีเซ็นเตอร์ของโปรดักต์นั้นๆ เป็นการต่อยอดให้นักแสดงในสังกัดมีผลงานเข้ามาเรื่อยๆ

ตัวเลขของสปอนเซอร์ที่เข้ามาที่สูงขึ้น งบการลงทุนในการถ่ายทำในแต่ละตอนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ย้งเล่าว่า เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเลยทีเดียว ตีเป็นตัวเลขก็เกือบ 2 ล้านบาท จากเดิมตอนละ 1 ล้านบาทในซีซั่นที่ 1 โดยส่วนใหญ่จะไปหนักทางโปรดักชั่น ค่าตัวทีมงาน เพราะใช้ทีมถ่ายทำภาพยนตร์

ใช้ออนไลน์ โซเชียลมีเดีย

สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการโปโมตซีรีส์ฮอร์โมน ซีซั่น 2 ยังคงใช้สื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียเป็นหลัก นอกจากนั้นยังมีการจัดอีเวนต์ต่อเนื่องจากปีที่แล้วหลังจากซีซั่นหนึ่งจบ เพื่อเป็นการสร้างกระแสอย่างต่อเนื่อง

“ในซีซั่นนี้ยังคงเน้นการโปรโมตผ่านออนไลน์อยู่ เพราะเราเติบโตมาจากจุดนั้น และกลุ่มเป้าหมายเราอยู่ในโลกออนไลน์ แต่ด้วยความสำเร็จจากซีซั่นหนึ่งจึงมีการโปรโมตให้แมสมากขึ้น อย่างเช่น ทำโปสเตอร์ที่หลายเวอร์ชั่นมากขึ้น มีการลงทุนมากขึ้น จากซีซั่นหนึ่งทำให้เรียนรู้ได้ว่า ระยะการฉายของซีรีส์ยาวนานกว่าภาพยนตร์ โปสเตอร์ชิ้นเดียวการโปรโมตไม่ครอบคลุมตลอดการฉายซีรีส์ 3 เดือน ซีซั่นนี้เลยทำโปสเตอร์หลายแบบและปล่อยในช่วงเวลาที่ต่างกัน

โปสเตอร์ในซีซั่นนี้มี 9 แบบด้วยกัน แต่ละเวอร์ชั่นจะเป็นตัวช่วยขยายความของความสัมพันธ์แต่ละคู่ เป็นเหมือนตัวอย่างซีรีส์ในแต่ละตอน พร้อมทิ้งข้อความบางอย่างให้คนดูติดตาม โปสเตอร์จะมีความสำคัญพอๆ กับทีเซอร์ตัวอย่างซีรีส์ การที่ค่อยปล่อยโปสเตอร์ออกมาทีละตัว ยิ่งช่วยทำให้เนื้อเรื่องน่าสนใจ คนดูจะลุ้นว่าตัวละครแต่ละคู่จะมีเนื้อเรื่องอย่างไร จะลงเอยด้วยความสัมพันธ์แบบไหน ซึ่งในซีซั่นแรกไม่มีการทำรายละเอียดขนาดนี้ เป็นเพียงแค่โปสเตอร์ตัวละครทุกตัวถ่ายรวมกัน ไว้ใช้โปรโมตเท่านั้น

วิธีการโปโมตในสื่อออนไลน์ จะกำหนดเวลาปล่อยพวกรูปภาพ หรือคลิปของตอนต่อไปพร้อมๆ กัน เพื่อทำให้เกิดกระแสขึ้นมา และเกิดการแชร์กันอย่างแพร่หลาย แต่ในซีซั่นนี้จะเพิ่มการโปรโมตในการออกรายการทางวิทยุและโทรทัศน์ด้วย เป็นการกระตุ้นให้คนดูรู้ว่าฮอร์โมนซีซั่นสองกลับมาแล้ว

นอกจากการติดตามกระแสเป็นเรื่องสำคัญมาก เช่น กระแส “คู่จิ้น” มาแรงมาก ก็ทำกิจกรรมวาดรูปแฟนอาร์ตคู่จิ้นที่แต่ละคนชอบ การจัดกิจกรรมต่อเนื่อง เป็นอีกเครื่องมือสำคัญในซีรีส์นี้ ซึ่งจะต้องเช็กจากฟีดแบ็กตลอด เพื่อนำมาปรับปรุงหรือแก้ไขให้เข้ากับความชอบของคนดู

สำหรับความท้าทายในซีซั่นที่สองนั้น ย้งบอกว่า คือการผันตัวเองเป็นโปรดิวเซอร์เต็มตัวครั้งแรก ผสมกับความคาดหวังของคนดูที่จะอินไปกับซีรีส์ ซึ่งต้องทำออกมาให้ได้ สิ่งหนึ่งที่ย้งยังสนุกกับมันอยู่เสมอคือการที่เช็กผลตอบรับจากคนดู แล้วนำมาปรับปรุงผลงานต่อไป

“ความสนุกของการทำฮอร์โมนอีกอย่างหนึ่งคือการเจอสิ่งเฉพาะหน้าและตะลุยแก้ปัญหาไปเรื่อยๆ เหมือนตอนซีซั่นหนึ่งที่เราไม่รู้จักหลักการตลาด ไม่รู้จะทำการตลาดให้ฮอร์โมนยังไง เพียงแต่ว่าวันหนึ่งเราปล่อยมันออกไปแล้วมันมีฟีดแบ็กกลับมา เราเรียนรู้จากฟีดแบ็กนั้น นี่คือการตลาดของฮอร์โมนซีซั่นหนึ่ง”

ส่วนซีซั่นสอง จะนำประสบการณ์จากซีซั่นหนึ่งมาใช้ เป็นเรื่องของการเรียนรู้ ตั้งตัว และรับมือ เช่น การเช็กฟีดแบ็กทางทวิตเตอร์ เป็นฟีดแบ็กที่จริง ชมจริง ด่าจริง ได้เห็นแฮชแท็ก #HormonesTheSeries2 และแฮชแท็กตัวละครเต็มทวิตเตอร์ และก็ค้นพบว่าตอนที่ฉาย Ep.0 เป็นวันที่เรตติ้งของช่อง GTH on air สูงที่สุด ซึ่งก็เป็นฟีดแบ็กที่ดีมากๆ”

เพิ่มช่องทางดูผ่านทีวี-มือถือ-ยูทิวบ์
เตรียมขายต่างประเทศ

ฮอร์โมนในซีซั่นที่สองนี้ เพิ่มช่องทางการดูเป็น 4 ช่องทางคือ ช่อง GTH on air, ดิจิตอลทีวีช่อง GMM Channel หมายเลข 25 และ 35, AIS Movies Store และ Youtube Live โดยที่ในปีนี้ไม่มีการลงคอนเทนต์รีรันในยูทิวบ์ เพราะแผนต่อยอดธุรกิจในอนาคต สำหรับการขายคอนเทนต์ไปต่างประเทศ

“ในปีนี้จะมีการฉายแบบ Youtube Live เพื่อรองรับคนดูในจำนวนมากๆ ได้ แต่จะไม่มีรีรันทางยูทิวบ์ อาจจะกระทบคนดูบ้าง เพราะบางคนอยากย้อนกลับมาดูอีก และที่สำคัญเรามีแผนจะขายลิขสิทธิ์ให้ทีวีในต่างประเทศนำไปออกอากาศ ซึ่งจะเข้าถึงคนได้กว้างกว่ามาก”

]]>
58150
“สิ่งเล็กเล็ก” ที่อาจขยายใหญ่ในจีน https://positioningmag.com/14201 Mon, 17 Oct 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14201

เมื่อตอนที่ “รักแห่งสยาม” ได้รับความนิยมจากผู้ชมชาวจีน “สหมงคลฟิล์ม” ในฐานะค่ายหนังผู้อำนวยการสร้างและผู้จัดจำหน่าย ไม่ได้เม็ดเงินจากความดังนั้นแม้แต่น้อย แต่นี่คือโอกาสที่ชัดขึ้นที่เมืองจีนที่ “ชมศจี เตชะรัตนประเสริฐ” รองประธานกรรมการฝ่ายขาย บริษัทสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มองเห็น

แน่นอนว่า “ชมศจี” ในฐานะบุตรสาวของเสี่ยเจียง สมศักดิ์ เตชะรัตนะประเสริฐ ยังได้รับคำแนะนำจากเสี่ยเจียงด้วยว่าตลาดจีนนับจากนี้ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดกว่าเดิม แต่เป็นไปด้วยความระมัดระวัง และพิจารณาอย่างรอบคอบ

สหมงคลฟิล์มทำตลาดในอเมริกาและตะวันตกได้สำเร็จจากหนังแนวแอคชั่น ตั้งแต่ต้มยำกุ้ง จนมาถึงองค์บาก 2 ที่มีคนซื้อหนังตั้งแต่ยังไม่เริ่มสร้างด้วยซ้ำ ด้วยจุดเด่นในเรื่องของตัวแสดงเล่นเอง ทำให้ผู้ชมเข้าถึงตัวแสดงมากกว่าใช้นักแสดงแทน แต่แนวแอคชั่นไม่สามารถเข้าไปในตลาดจีนได้ เพราะไม่ผ่านเซ็นเซอร์ด้วยเรื่องระดับความรุนแรง

สำหรับตลาดจีนสหมงคฟิล์มคิดว่าจะเข้าไปได้ด้วยหนังในแนวดราม่าโรแมนติก หรือโรแมนติกคอมมอดี้ ที่ “ชมศจี” กำลังเริ่มอีกครั้งกับเรื่อง “สิ่งเล็ก เล็ก ที่เรียกว่ารัก” ที่มีส่วนผสมสำคัญคือแนวหนัง และดารานำ คือ มาริโอ้ เมาเร่อ ที่กำลังดังมากในจีน

จาก “ออกัส” ที่โด่งดังและทำให้สหมงคลฟิล์มมองเห็นโอกาสมากขึ้น “ชมศจี” บอกว่าเมื่อถึงเวลาก็อยากทำให้ธุรกิจหลักของคือหนังได้มีโอกาสขยายตลาดในจีน ครั้งนี้กับ “สิ่งเล็ก เล็ก ที่เรียกว่ารัก” กำลังไปจะค่ายโรงหนังที่ใหญ่ในจีน เพื่อฉายทั่วประเทศจีน ตามแผนคือภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 รับเทศกาลวาเลนไทน์

หากสำเร็จจาก “สิ่งเล็ก เล็ก ที่เรียกว่ารัก” สำหรับสหมงคลฟิล์มก็จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริงที่จะลงทุนเพื่อตลาดจีนมากขึ้น

]]>
14201
60 ปีเทศกาลหนังเบอร์ลิน https://positioningmag.com/12485 Fri, 05 Mar 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=12485

สิ่งที่ทำให้เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ Berlinale ยั่งยืนมาได้ถึงวันนี้ มาจาก 3 องค์ประกอบหลักคือ 1. ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณ 40% ของค่าใช้จ่ายการจัดงานทั้งหมด การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศโดยไม่ปล่อยให้การเมืองมาเป็นอุปสรรค และความร่วมมือจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันวิชาชีพและวิชาการ 2. ภาคธุรกิจ ทั้งจากอุตสาหกรรมหนังเอง, สปอนเซอร์ อาทิ ลอรีอัล ซึ่งร่วมเป็นเจ้าภาพมานานกว่าทศวรรษแล้ว และซัพพลายเออร์ที่ให้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องประดับ ไปจนถึงเครื่องดื่ม และ 3. หน่วยงานบริหาร ซึ่งมี Dieter Kosslick เป็นผู้อำนวยการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001

การจัดแบ่งเนื้อหาของงาน เป็นเสมือนภาพสะท้อนสังคมและสถานการณ์ปัจจุบัน เริ่มต้นจากหนังที่เข้าประกวด สะท้อนภาพการช่วงชิงความเป็น “เจ้า” แห่งอุตสาหกรรมหนัง ระหว่างอเมริกา จีน และอินเดีย ในขณะที่เยอรมนีพุ่งเป้าหมายไปที่การสร้างบุคลากร (ผู้กำกับฯดังๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบันหลายคนเป็นชาวเยอรมัน อาทิ Fritz Lang, Rainer Werner Fassbinder, Wim Wenders, Werner Herzog, Fatih Akin, Tom Tykwer) เปิดเวทีต่างๆ ให้คนรุ่นใหม่ได้แจ้งเกิด ได้แก่ Perspektive Deutsches Kino (เวทีประกวดสำหรับคนทำหนังเยอรมันรุ่นใหม่), Generation (ประกวดหนังเยาวชน), Panorama (เวทีของหนังสะท้อนสังคมและการเมือง), Forum (หนังสารคดีจากทั่วโลก), Berlinale Shorts (ประกวดหนังสั้น), Berlinale Talent Campus (เวทีสำหรับคนทำหนังรุ่นใหม่ ซึ่งปีนี้มีสถิติจำนวนผู้สมัครสูงถึง 4,773 รายจาก 145 ประเทศ) และ Kulinarisches Kino (สารคดีและหนังเกี่ยวกับอาหาร)

สถิติคร่าวๆ งานนี้มีนักข่าว 4,000 รายจาก 86 ประเทศ จำนวนผู้เข้าชมในโรงภาพยนตร์ทั้งหมดราว 5 แสนคน จำนวนคนทำหนังและนักธุรกิจที่มาร่วมงานทั้งหมดกว่า 15,500 คนจาก 136 ประเทศ และมีหนัง 400 เรื่องฉายในโปรแกรมอย่างเป็นทางการ

]]>
12485
ค่ายหนังใหญ่ขนหนังชน https://positioningmag.com/6735 Tue, 02 Nov 2004 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=6735

บรรยากาศงานเปิดตัวโปรเจกต์หนังใหม่ของค่ายใหญ่ สร้างความคึกคักปนความลุ้นระทึกของหนังเพื่อรอทำเงิน

เมื่ออาร์เอสฟิล์มเลือกเปิดตัวหนังเรื่องในงาน “ทศกัณฑ์ 10 หน้าหนัง” ขนเอาเหล่าดาราและผู้กำกับทุกคนมาชุมนุมกันที่โรงละครโจหลุยซ์เธียเตอร์ ก่อนเปิดตัวพระเอกหน้าใหม่ “น้อย” กฤษดา สุโกศล แคลปป์ กับหน้าหนังตลกมหัศจรรย์ฆาตกรรมย้อนยุค เรื่อง “ทวารยังหวานอยู่” โดยจะลงโรง 7 ตุลาคม เบิกโรงหน้าหนังในโปรเจกต์รวมทั้งหมด 10 เรื่อง 10 สไตล์เพื่อหวัง “ขาย”

ถือเป็นการเปิดตัวกับสื่อมวลชนในฐานะผู้บริหารอาร์เอสฟิล์มของ “ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล” ที่ผันตัวจากผู้กำกับ เพิ่มหน้าที่มาทำด้านการตลาด โดยเข็นโปรเจกต์หน้าหนังที่คิดว่าจะทำเงินลงในตลาด หลังจากไม่ประสบความสำเร็จต่อเนื่องติดต่อกัน ซึ่งต้องออกแรงดันอย่างสุดตัว ในตำแหน่งผู้อำนวยการสายงานผลิตและการตลาด

ราเชนทร์ประสบความสำเร็จอย่างสูง จนถือเป็นมือทองคำเพียงคนเดียวสำหรับอาร์เอส ที่มีผู้กำกับระดับร้อยล้านอยู่ในมือ ประสบการณ์ในฐานะผู้กำกับของเขาจึงถูกดึงเอามาใช้ เพื่อมองภาพรวมขององค์กรจากเดิมที่ค่อนข้างจะแยกกันเป็นสัดส่วน สำหรับ 7 บริษัทลูกภายใต้การกำกับของอาร์เอสโปรโมชั่น

ทางด้าน GTH ได้ฤกษ์บุกตลาดหนังอย่างเต็มตัวหลังจากเปิดโครงการหนัง 9 เรื่อง ไปก่อนหน้าพร้อมกับวันเปิดตัวบริษัทเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังจากนั้น 3 เดือน ก็ขยายธุรกิจสร้างพันธมิตรใหม่จากคนโฆษณา หวังใช้ไอเดีย และคุณภาพจากโปรดักซ์ชั่นเฮ้าท์ที่ได้รางวัลระดับโลก เปิดหนังใหม่อีก 5 เรื่องของบริษัทลูก

โดยเฉพาะหนังล่าสุดที่เพิ่งลงโรงไป “ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ” เน้นจุดยืนหนังคุณภาพที่มี “แนวคิดใหม่” กลางสวนสวยของสยามสมาคม พร้อมตัวผู้กำกับหน้าใหม่หลายคน

ยอดเพชร สุดสวาท กรรมผู้จัดการ บริษัท ฟีโนมีนา โมชั่น พิคเจอร์ส จำกัด ประกาศเน้นจุดยืนว่า “ถ้าเป็นไปได้เราอาจจะไม่ทำหนังที่ไม่เอาใจตลาดมากนักสองเรื่อง (ใน 3-4 เรื่องต่อปี) เพราะเชื่อว่าน่าจะมีคนที่อยากดูหนังแบบนี้ เราเชื่อเสมอว่า “หนังดีใช่ว่าจะไม่ได้เงิน หรือ “หนังที่ได้เงินก็ใช่ว่าจะเป็นหนังดี” แต่จะต้องเป็นหนังที่มีคุณภาพ…

“คือเราต้องทำให้ได้มาตรฐานที่เราต้องการ และเราก็ไม่ได้ก้าวเข้ามาตามกระแสของใคร” ยอดเพชรกล่าว

Did you know?

บริษัท อาร์เอสฟิล์ม จำกัด

บริษัท อาร์เอสโปรโมชั่น จำกัด (มหาชน) เริ่มดำเนินธุรกิจภาพยนตร์เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2535 โดยมีเป้าหมายเพื่อนที่ขยายรูปแบบความบันเทิงจากเพลง โดยใช้ความได้เปรียบของการมีสื่อและกลุ่มนักแสดงมาสร้างผลงานภาพยนตร์ ผลงานเรื่องแรกคือ “รองต๊ะ.. แล่บแปล็บ” ปี2535 นำแสดงโดย ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ปัจจุบันเมื่อผลงานรวม 25 เรื่อง

บริษัท ฟีโนมีนา โมชั่น พิคเจอร์ส จำกัด

เกิดขึ้นจากการร่วมทุนระหว่าง GTH และ ฟิโนมีนาจำกัด 51 ต่อ 49 เปอร์เซ็นต์ บอกจุดยืนว่าพร้อมทำงานกับบริษัทภาพยนตร์ทุกค่ายที่มีแนวคิดสอดคล้องกัน เดิมที บริษัท ฟิโนมีนา จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2534 เป็นบริษัทผู้ผลิตโฆษณาแบบครบวงจร รวมถึงการบริการด้าน “Production Support” แก่ทีมงานต่างประเทศที่เข้ามาถ่ายทำในเมืองไทย และได้รับการจัดให้เป็นบริษัทด้านโปรดักส์ชั่นที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 3 จากนิตยสาร The Gunn Report 2003 พร้อมทั้งล่าสุดได้รับรางวัลสิงโตทองคำจากเมืองคานส์ถึง 7 รางวัล

Website

www.rs-film.com

]]>
6735
ปักษาวายุ-จินตนาการวรรณคดีไทยสู่โลกภาพยนตร์ https://positioningmag.com/7786 Sat, 05 Jun 2004 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=7786

“ปักษาวายุ” ภาพยนตร์ไทยแนว ACTION SI-FI นำแสดงโดยพระเอกมาดเข้ม “ศรราม เทพพิทักษ์” และนางเอกใหม่ “ซาร่า เล็กจ์” ซึ่งเป็นภาพยนตร์ดิจิตอลเรื่องแรกของเมืองไทยที่มีการถ่ายทำด้วยระบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบ

“เพราะยังไม่เคยมีหนังไทยที่เป็นสัตว์ประหลาดแบบไทยๆ เลย เราจึงคิดและนำเอาสัตว์ในวรรณคดีของไทย เป็นกึ่งเทพกึ่งมนุษย์ที่ยังมีกิเลสอยู่ “ปักษาวายุ” ยังมีความดุร้าย เราจึงใส่คาแรคเตอร์ความแข็งแรงเข้าไป แม้แต่ปีกเอง เรายังเปลี่ยนจากขนนกให้เป็นเกล็ดคล้ายปลา” มณฑล อารยางกูร ผู้กำกับกล่าว

ในต่างประเทศหนังชื่อดังที่ถ่ายทำกันในระบบนี้ก็เช่น Finding Nemo, Spy Kids, Star Ware Episod II

Website : www.garudathemovie.com

]]>
7786