OPPO – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 15 May 2023 11:57:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ออปโป้’ เตรียม “ปิดแผนกพัฒนาชิป” หลังยอดขายดิ่ง แถมตลาดยังซบเซา https://positioningmag.com/1430581 Mon, 15 May 2023 11:26:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430581 ยอดขายสมาร์ทโฟนทั่วโลกปี 2023 ไตรมาสแรกปิดที่ 269.8 ล้านเครื่อง ลดลง 13% โดยแบรนด์อันดับ 4 ของโลกอย่าง ออปโป้ (Oppo) ยอดขายลดลง 8% โดนล่าสุด บริษัทก็ตัดสินใจปิดแผนกพัฒนาชิป เนื่องจากการเติบโตที่หดตัว

ท็อป 5 สมาร์ทโฟนยอดตกหมด มีเพียง Apple ที่เติบโตสวนทาง แม้จะมีการรคาดการณ์ว่าตลาดจะเริ่มฟื้นตัวช่วงครึ่งปีหลัง แต่ ออปโป้ ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนของจีน เลือกที่จะ ปิดแผนกพัฒนาชิป ที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2019 โดยเกิดเป็นชิปประมวลผลภาพถ่าย MariSilicon X ที่อยู่ในซีรีส์ Find X และ Reno กับชิปประมวลผลเสียง MariSilicon Y ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อต้นปี เนื่องจากความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลกและอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟน

“เนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟน เราจึงต้องปรับเปลี่ยนอย่างยากลำบากเพื่อการพัฒนาในระยะยาว”

ปัจจุบัน ตลาดสมาร์ทโฟนของจีน ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังพยายามเพื่อฟื้นตัวจากการตกต่ำครั้งเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่ง เนื่องจากผู้บริโภคเลือกจะยังรัดเข็มขัด แม้ประเทศได้ยกเลิกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดแล้วก็ตาม โดยในปี 2022 ยอดจัดส่งสมาร์ทโฟนในจีนลดลง 14% และยอดจัดส่งรวม ต่ำกว่า 300 ล้านเครื่องเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี

ขณะที่ ช่วงไตรมาสแรกปี 2023 ยอดจัดส่งสมาร์ทโฟนในจีนลดลง 11% เมื่อเทียบเป็นรายปี เหลือ 67.2 ล้านเครื่อง ซึ่งเป็นยอดรวมรายไตรมาสที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2013 อ้างอิงข้อมูงจากบริษัทวิจัย Canalys

ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า ออปโป้ได้ลงทุนไปกับแผนกพัฒนาชิปเป็นเงินกว่า 1,400 ล้านบาท และจริง ๆ แล้วไม่ได้มีแค่ออปโป้ที่จัดตั้งหน่วงงานออกแบบชิปภายในองค์กร แต่คู่แข่งในจีนอย่าง เสียวหมี่ (Xiaomi) เองก็ได้จัดตั้งหน่วยงานออกแบบชิปภายในองค์กรด้วยเช่นกัน เนื่องจากแบรนด์จากจีนกลัวจะเจอปัญหาเดียวกับหัวเว่ย

]]>
1430581
‘iPhone’ ครองแชมป์สมาร์ทโฟนขายดีประจำ Q4 แม้จะเป็นไตรมาสที่ตลาดแย่สุดในรอบ 10 ปี https://positioningmag.com/1416011 Thu, 19 Jan 2023 11:38:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416011 2022 ถือเป็นปีที่ไม่ได้ดีนักสำหรับตลาด สมาร์ทโฟน ที่ดูเหมือนจะมาถึงจุดอิ่มตัวจริง ๆ แล้ว โดยช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา ภาพรวมก็ติดลบถึง -17% อย่างไรก็ตาม แบรนด์ที่สามารถครองตำแหน่งแชมป์ในไตรมาสดังกล่าวได้ก็คือ iPhone ของ Apple แซงหน้า Samsung

แม้ว่าในช่วงไตรมาส 4 ปีที่แล้ว Apple จะเจอปัญหาด้านซัพพลายเชน เนื่องจาก Zero Covid ของจีน แต่ยอดจัดส่ง iPhone ก็ขึ้นเป็นที่ 1 ในตลาด โดยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดที่ 25% ตามด้วย Samsung ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 20% อย่างไรก็ตาม ภาพรวมทั้งปี 2022 ซัมซุงยังคงเป็นที่ 1 ในตลาด

ส่วนอันดับ 3 ของตลาดในไตรมาส 4 ได้แก่ Xiaomi โดยส่วนแบ่งตลาดลดลงเหลือ 11% เนื่องจากกำลังโดนเบอร์ 4 และ 5 ที่เป็นเพื่อนร่วมชาติอย่าง OPPO (ส่วนแบ่งตลาด 10%) และ Vivo (ส่วนแบ่งตลาด 8%) แย่งตลาดในอินเดีย

สำหรับภาพรวมของตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกในไตรมาส 4 นั้นติดลบถึง -17% ขณะที่ภาพรวมทั้งปีติดลบถึง -11% โดยคาดว่ายอดจัดส่งทั่วโลกมีไม่ถึง 1.2 พันล้านเครื่อง เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลง

“ผู้จำหน่ายสมาร์ทโฟนต้องดิ้นรนในสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจที่ยากลำบากตลอดปี 2022 ไตรมาสที่ 4 ถือเป็นผลประกอบการประจำปีและไตรมาสที่ 4 ที่แย่ที่สุดในรอบทศวรรษ” Runar Bjørhovde นักวิเคราะห์จาก Canalys Research กล่าว

สำหรับตลาดสมาร์ทโฟนปี 2023 นี้ Canalys คาดการณ์ว่า ตลาดจะเติบโตในระดับคงที่ถึงเล็กน้อย แม้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะค่อย ๆ ผ่อนคลายลง แต่ผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และตลาดแรงงานจะจำกัดศักยภาพการเติบโตของตลาด ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลเสียต่อตลาดที่อิ่มตัวและตลาดระดับกลางถึงระดับบน

และแม้ว่าจีนกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศและภาคธุรกิจ แต่การกระตุ้นของรัฐบาลก็มีแนวโน้มที่จะแสดงผลใน 6-9 เดือนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีบางภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะเติบโตในช่วงครึ่งหลังของปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในจีนซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมทางธุรกิจ

Source

]]>
1416011
‘หัวเว่ย’ ยอมออกใบอนุญาตสิทธิบัตร 5G ให้ ‘ออปโป้’ เพื่อหารายได้เข้าบริษัท https://positioningmag.com/1411983 Sun, 11 Dec 2022 03:57:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411983 นับตั้งแต่ปี 2019 ที่สหรัฐฯ ใช้มาตรการหลายอย่างรวมถึงการขึ้นบัญชีดำ หัวเว่ย (Huawei) ทำให้บริษัทไม่สามารถทำตลาดสมาร์ทโฟนได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่สามารถทำธุรกิจกับบริษัทสัญชาติอเมริกันได้ ทำให้ปัจจุบันบริษัทจำเป็นต้องหารายได้ใหม่ ๆ รวมถึงออกใบอนุญาต สิทธิบัตร ในเทคโนโลยีที่พัฒนาให้กับบริษัทอื่น ๆ

จากเบอร์ 1 ในตลาดสมาร์ทโฟนโลก แต่พอโดนสหรัฐฯ คว่ำบาตรไป หัวเว่ย ก็ยังไม่สามารถกลับมาสู่จุดสูงสุดได้อีกเลย รายได้จากฝั่งคอนซูมเมอร์ก็หายไปมหาศาล แม้แต่แบรนด์ลูกอย่าง Honor ก็ต้องขาย และล่าสุด หัวเว่ยก็ต้องยอมอนุญาตให้คู่แข่งอย่าง ออปโป้ (Oppo) ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอันดับ 4 ของโลกใช้ สิทธิบัตร 5G เพื่อหารายได้ใหม่ ๆ เข้าบริษัท

หัวเว่ยได้เปิดเผยว่า บริษัทมีสิทธิบัตรมากมายกว่า 100,000 รายการทั่วโลก ถือเป็นอันดับที่ 1 จากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติจีน, สำนักงานสิทธิบัตรยุโรป และอันดับที่ 5 สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังถือเป็นหนึ่งในผู้ถือครองสิทธิบัตรชั้นนำด้านเทคโนโลยี 5G เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงที่ถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญในการสนับสนุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น ปัญญาประดิษฐ์และรถยนต์ไร้คนขับ

ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้จากการออกใบอนุญาตสิทธิบัตร 1.2-1.3 พันล้านดอลลาร์ จากการออกใบอนุญาตทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างปี 2562-2564

นับตั้งแต่ปี 2019 ที่ผ่านมา สหรัฐฯ แสดงความกังวลว่าหัวเว่ยจะเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติ และกดดันให้ประเทศอื่น ๆ สั่งห้ามบริษัทจีนจากโครงสร้างพื้นฐาน 5G ของตน อย่างไรก็ตาม หัวเว่ยก็ได้ออกมาปฏิเสธหลายครั้งว่าบริษัทไม่ได้เป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคง

]]>
1411983
ยังแกร่ง! ‘Apple’ ขึ้นแท่นผู้ผลิตสมาร์ทโฟน ‘รายเดียว’ ที่เติบโตได้ใน Q1 https://positioningmag.com/1383597 Sun, 01 May 2022 03:15:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383597 Strategy Analytics, Canalys และ IDC ได้แชร์รายงานการจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา แม้ว่าทั้ง 3 รายงานจะมีความแตกต่างในด้านจำนวนยอดขายสมาร์ทโฟนที่รายงาน แต่ที่เหมือนกันคือ ‘Apple’ เป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวที่มีการเติบโตในไตรมาสที่แล้ว

Apple เป็น ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่เพียงรายเดียวที่มีการจัดส่งเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสที่แล้ว ขณะที่ Samsung, Oppo, Xiaomi และอื่น ๆ พบว่ายอดจัดส่งลดลงอย่างมาก

จากข้อมูลของ Canalys ระบุว่า Apple มีการเติบโต +8% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งตอนนี้กินส่วนแบ่งตลาดถึง 18% ด้าน Samsung เบอร์ 1 ของตลาดมียอดจัดส่งลดลง -4% ส่วนผู้ผลิตสมาร์ทโฟน Android จากจีนรายอื่น ๆ มียอดจัดส่งลดลงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น

  • Xiaomi -20%
  • Oppo -27%
  • Vivo -30%
  • ภาพรวมตลาดสมาร์ตโฟนหดตัวลง -11%

ทั้งนี้ Apple ประกาศว่า รายได้จากไตรมาสแรก (ไตรมาส 2 ตามปีปฏิทิน Apple) ทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ด้วยรายรับมากกว่า 9.7 หมื่นล้านดอลลาร์ซึ่งเหนือกว่าความคาดหมาย และเฉพาะรายได้จาก iPhone เพิ่มขึ้น 5% ทำรายได้ไป 5 หมื่นล้านดอลลาร์

โดย Tim Cook ให้เหตุผลว่า ที่ iPhone เติบโตได้ดีมาก ๆ เนื่องจาก ผู้ใช้ Android เปลี่ยนมาใช้ iPhone มากขึ้น

Source

]]>
1383597
‘ออปโป้’ ประกาศวิสัยทัศน์ ‘Inspiration Ahead’ พร้อมยกระดับเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน https://positioningmag.com/1377922 Thu, 17 Mar 2022 10:00:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377922

ในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา สมาร์ทโฟน ได้กลายเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของคนทั่วโลกไปเรียบร้อยแล้ว โดยในแต่ละปีมียอดขายรวมกว่า 100 ล้านเครื่องทั่วโลก ซึ่งหนึ่งในปัญหาที่ตามมาก็คือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และกำลังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของโลก


e-waste จะเพิ่มเป็น 74.7 ล้านเมตริกตันในปี 2030

จากรายงานของ The Global E-Waste Monitor 2020 มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (United Nation University, UNU) คาดการณ์ว่าปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะมีมากถึง 53.6 ล้านเมตริกตัน ในปี 2019 และจะสูงขึ้นถึง 74.7 ล้านเมตริกตันในปี 2030 โดยทวีปเอเชียเป็นทวีปที่ผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์สูงที่สุดกว่า 24.9 ล้านเมตริกตัน ในปริมาณขยะทั้งหมดมีเพียง 17.4% ที่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี ที่เหลืออีกกว่า 82.6% ไม่สามารถติดตามได้

แน่นอนว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยีล้วนตระหนักถึงปัญหาและพยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยหนึ่งในนั้นก็คือ ออปโป้ (OPPO) ซึ่ง OPPO ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์สมาร์ทโฟนกลุ่มแรก ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ Eco Rating Labeling Scheme ซึ่งจะประเมินประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมของสมาร์ทโฟนใน 5 ด้านหลัก ได้แก่ ความทนทาน ความสามารถในการซ่อมแซม ความสามารถในการรีไซเคิล ประสิทธิภาพด้านความเป็นมิตรต่อสภาพอากาศ ซึ่ง OPPO ก็สามารถทำผลงานออกมาได้เป็นอย่างดี

ล่าสุด OPPO พึ่งประกาศ Brand proposition ใหม่ ‘Inspiration Ahead’ โดย OPPO ให้คำมั่นว่าจะใช้แนวทางเชิงบวกและดำเนินการยกระดับประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืน ท่ามกลางความท้าทายระดับโลกในปัจจุบัน โดยเน้นมนุษย์เป็นหัวใจสำคัญและประสบการณ์เทคโนโลยีที่เต็มเปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจมาสู่ผู้ใช้งานทั่วโลก


ไม่ใช่แค่ลด e-waste แต่ต้องลดขยะทุกด้าน

นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนให้ใช้งานได้ดีขึ้นและนานขึ้น OPPO ได้มีการจัดตั้งระบบรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ โดยให้บริการแลกเปลี่ยนในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการรีไซเคิลและนำสมาร์ทโฟนที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ จนถึงปัจจุบัน ในประเทศจีนมีสมาร์ทโฟนมากกว่า 1.2 ล้านเครื่องถูกรีไซเคิล ผ่านโครงการนี้ คิดเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 216 ตัน

ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ OPPO ก็ใช้หลัก ‘3R+1D’ หรือการนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ใหม่ และการใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลและย่อยสลายได้ตามธรรมชาติในบรรจุภัณฑ์ เริ่มจากตลาดในยุโรปในปี 2020 OPPO ได้ลดจำนวนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนลงถึง 24% เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยบรรจุภัณฑ์ประมาณ 45% ทำจากเส้นใยรีไซเคิล ช่วยให้ยอดการใช้พลาสติกโดยรวมของบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนลดลงถึง 95%

นอกจากนี้ OPPO ได้พัฒนาเทคโนโลยี SUPER VOOC flash charge ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 220 ล้านคนทั่วโลก ให้เป็น 150W SUPERVOOC flash charge ที่มาพร้อม Battery Health Engine โดยช่วยให้ชาร์จแบตเตอรี่ 4,500 mAh ได้ถึง 50% ในเวลาเพียง 5 นาที และชาร์จได้เต็ม 100% ในเวลาเพียง 15 นาที และช่วยรักษาระดับแบตเตอรี่ได้ที่ 80% ของความจุเดิมหลังจากมีรอบการชาร์จ 1,600 รอบ ซึ่งเพิ่มเป็นสองเท่าของมาตรฐานปัจจุบันที่อยู่ 800 รอบ ช่วยให้ใช้งานสมาร์ทโฟนได้นานขึ้นซึ่งถือเป็นการ ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไปในตัว


เดินหน้าสร้างความยั่งยืนต่อเนื่อง

นอกจากการดำเนินงานของตัวเองแล้ว OPPO ยังได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรรายอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมด้านความยั่งยืน เช่น การร่วมกับ National Geographic เพื่อสนับสนุนการปกป้องสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ผ่านแคมเปญ OPPO Endangered Color Campaign ซึ่งทำมาแล้วกว่า 2 ปี

นอกเหนือจากความพยายามด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อม OPPO ยังได้มีการดำเนินการมาอย่างยาวนานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเน้นที่ประเด็นสำคัญอย่างความเท่าเทียมทางดิจิทัล สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และพลังเยาวชน ตัวอย่างเช่น OPPO ได้พัฒนาฟีเจอร์ Color Vision Enhancement เพื่อเป็นทางออกให้แก่ผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นสี เป็นต้น


ไม่หยุดสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ

ภายในงาน MWC 2022 Barcelona ที่ผ่านมา OPPO ได้เปิดตัวเทคโนโลยีการชาร์จ 240W SUPERVOOC ซึ่งสามารถชาร์จแบตเตอรี่ 4,500mAh ได้เต็ม 100% ในเวลาประมาณ 9 นาที รวมถึงได้เปิดตัว OPPO 5G CPE T2 ที่สามารถแปลงสัญญาณ 5G เป็นการเชื่อมต่อเครือข่าย Wi-Fi หรือ LAN

นอกจากนี้ OPPO FIND N สมาร์ทโฟนจอพับรุ่นแรกของแบรนด์ยังได้รับรางวัล Disruptive Device Innovation Award จาก GLOMO โดยปัจจุบัน Find N มีการสั่งซื้อมากกว่า 1 ล้านรายการ และตลอดปี 2021 OPPO มีอัตราการเติบโต 22% ในการส่งออกสมาร์ทโฟนทั่วโลก มีส่วนแบ่งตลาด 11% เป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนอันดับ 4 ของโลก และยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นแบรนด์สมาร์ทโฟน Android 5G อันดับ 2 ของโลก 2 ปีติดต่อกัน

และปลายปีที่ผ่านมา ในงาน OPPO INNO DAY 2021 ได้มีการเปิดตัว MariSilicon X ซึ่งเป็น Imaging NPU ที่ OPPO ดีไซน์เองครั้งแรกจากเทคโนโลยีการผลิตที่มีขนาดเพียง 6nm เพื่อยกระดับการถ่ายภาพขั้นสุด รวมไปถึง OPPO Air Glass แว่นตาอัจฉริยะ ที่มีฟังก์ชันสุดล้ำอย่างแปลภาษาเป็นข้อความได้แบบเรียลไทม์ นับว่า OPPO เป็นแบรนด์ที่ไม่เคยหยุดพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ มาให้ผู้ใช้งานจริงๆ ว่าแล้วในตลาดไทยของเราจะมีอะไรที่น่าสนใจจาก OPPO มาเพิ่มเติม ต้องรอติดตามกัน

]]>
1377922
ตลาด ‘สมาร์ทโฟน’ เติบโตอีกครั้งในรอบ 4 ปี ‘ซัมซุง’ ยังคงครองตำแหน่งเบอร์ 1 https://positioningmag.com/1372536 Tue, 01 Feb 2022 08:53:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372536 ย้อนไปปี 2017 ตลาดสมาร์ทโฟนถือว่าเป็นช่วงที่ตลาดเติบโตสูงสุด เนื่องจากมีการจัดส่งมากที่สุดทั่วโลก หลังจากนั้นตลาดก็ไม่เติบโตอีกเลย ยิ่งมาเจอกับการระบาดของ COVID-19 ก็ยิ่งทำให้อัตราการเติบโตลดลง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ตึงตัวทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากไม่สามารถซื้อโทรศัพท์ใหม่

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ตลาดไม่เติบโตมานานในที่สุดตลาดก็กลับมาเติบโตอีกครั้งในปี 2021 แม้ว่าไตรมาสที่ 4 ของปีการจัดส่งสมาร์ทโฟนลดลง -6% ก็ตาม แต่เมื่อดูภาพรวมทั้งปีมีการจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกประมาณ 1.39 พันล้านเครื่อง เติบโต +4% อย่างไรก็ตาม ในปี 2017 ที่มีการจัดส่งสูงสุดนั้นอยู่ที่ 1.56 พันล้านเครื่อง

ฮาร์มีต ซิงห์ วาเลีย นักวิเคราะห์อาวุโสของ Counterpoint Research เปิดเผยว่า ความต้องการที่ถูกอั้นไว้ตั้งแต่ปี 2020 เช่น อเมริกาเหนือ ละตินอเมริกา และอินเดียมีส่วนทำให้การเติบโตโดยรวมของตลาด โดยการเติบโตในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากความต้องการ iPhone 12 ของ Apple ที่รองรับ 5G ยาวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงไตรมาสสามของปี 2021

ส่วนตลาด อินเดีย เริ่มเห็นอัตราการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่มีราคาสูงขึ้น ความพร้อมใช้งานที่ดีขึ้น รวมถึงโปรโมชันทางด้านการเงินที่น่าสนใจยิ่งขึ้นสำหรับโทรศัพท์ระดับกลางถึงระดับไฮเอนด์ อย่างไรก็ตาม ยอดขายในตลาดใหญ่อย่าง จีน กลับลดลง -2% ตามข้อมูลของ Counterpoint Research

“การฟื้นตัวของตลาดอาจดีขึ้นกว่านี้ถ้าไม่ใช่เพราะปัญหาการขาดแคลนส่วนประกอบที่ส่งผลกระทบอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของปี 2021” ซิงห์ วาเลีย กล่าว

Samsung ยังคงครองตำแหน่งผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยปริมาณการจัดส่งประมาณ 271 ล้านเครื่อง เติบโต +6% เมื่อเทียบกับปี 2020 แม้ว่าโรงงานในเวียดนามจะต้องปิดตัวเพราะการระบาดของ COVID-19 ก็ตาม ส่วน Apple ที่นอกจากจะมียอดขายพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในจีนเมื่อไตรมาส 4 ภาพรวมการจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกก็เติบโตขึ้น +18% เป็น 237.9 ล้านเครื่อง โดยการเติบโตล้วนแต่มาจากตลาดสำคัญทั้งสิ้น อาทิ สหรัฐอเมริกา จีน ยุโรป และอินเดีย

“ในประเทศจีน Apple กลายเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนอันดับต้น ๆ ในไตรมาสที่ 4 ต้องขอบคุณ iPhone 13 ซึ่งส่งผลให้แซงหน้า Samsung ในฐานะสมาร์ทโฟนอันดับต้น ๆ ของโลกในไตรมาสที่ 4 ปี 2021” Counterpoint Research กล่าวในรายงาน

ด้านผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจากจีนอย่าง Xiaomi มีการเติบโตขึ้น +31% มียอดจัดส่งรวม 190 ล้านเครื่อง แม้ว่าปริมาณการจัดส่งจะตามหลัง Samsung และ Apple อย่างมีนัยสำคัญ แต่ Xiaomi ได้เติบโตขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพื่อเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับสามของโลก ส่วน OPPO และ Vivo เติบโตขึ้นเป็นเลขสองหลักในปีที่แล้ว โดยมียอดจัดส่ง 143.2 ล้านเครื่อง และ 131.3 ล้านเครื่อง ตามลำดับ

สำหรับภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนในปี 2022 ทาง Counterpoint Research คาดว่า แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมยังสดใส หากโลกสามารถรับมือกับการระบาดใหญ่ได้ และหากปัญหาการขาดแคลนซัพพลายเชนได้รับการแก้ไขภายในกลางปี อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และนักลงทุนบางคนคาดว่าปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกจะคงอยู่จนถึงสิ้นปีนี้หรือลากยาวจนถึงปี 2023

counterpointresearch.com / CNBC

]]>
1372536
‘OnePlus’ ประกาศควบรวม ‘Oppo’ อย่างเป็นทางการ เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน https://positioningmag.com/1337516 Thu, 17 Jun 2021 07:47:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337516 หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อแบรนด์สมาร์ทโฟนสัญชาติจีนอย่าง ‘OnePlus’ (วันพลัส) แต่เชื่อว่าหลายคนไม่รู้ว่า OnePlus มีบริษัท BBK Electronics เป็นบริษัทแม่ ซึ่ง BBK Electronics เป็นเจ้าของทั้ง Oppo, Vivo, Realme และ iQOO ซึ่งล่าสุด OnePlus ก็ได้ประกาศว่าจะควบรวมกับ Oppo อย่างเป็นทางการ

หลังจากร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมาระยะหนึ่งแล้ว ล่าสุด OnePlus และ Oppo ก็กำลังควบรวมกิจการ โดย OnePlus กลายเป็นแบรนด์ย่อยของ Oppo โดยการควบรวมครั้งนี้จะเน้นไปที่การรวบรวมทรัพยากรมากขึ้น และเพื่อให้การดำเนินการบางอย่างราบรื่นและดีขึ้น

แม้ OnePlus จะกลายเป็น Sub-brand ของ Oppo แต่ในด้านการทำงาน OnePlus ยังคงดำเนินการได้อย่างอิสระ แม้จะอยู่ภายใต้การดูแลของ Oppo ก็ตาม ซึ่ง OnePlus จะยังคงมีผลิตภัณฑ์และการจัดงานอีเวนต์ของตัวเองเหมือนเดิม และจะยังคงมีส่วนร่วมกับลูกค้าโดยตรง

“การควบรวมครั้งนี้จะทำให้ OnePlus มีแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น ช่วยให้สินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น นำการอัปเดตซอฟต์แวร์ที่รวดเร็วและเสถียรยิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้ OnePlus” Pete Lau ผู้ร่วมก่อตั้ง OnePlus ระบุ

Pete Lau Photo by Doreen Fiedler/picture alliance via Getty Images

ในอดีต Pete Lau และ Carl Pei ผู้ร่วมก่อตั้ง OnePlus เคยเป็นอดีตรองประธานกรรมการบริษัท Oppo ก่อนจะออกมาทำแบรนด์ OnePlus ของตัวเอง และในเดือนพฤษภาคม 2020 ที่ผ่านมา Lau ซึ่งเป็น CEO ของ OnePlus ได้เข้ารับตำแหน่ง Chief Product Officer ของ Oppo

ตั้งแต่นั้นมา ทีมของ OnePlus ก็ได้ร่วมกับ Oppo เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของแบรนด์ให้ดีขึ้นและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีร่วมกัน โดยหลังจากที่เห็นผลกระทบเชิงบวกจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น จึงได้ตัดสินใจที่จะควบรวมกับ Oppo

สำหรับ OnePlus เปิดตัวครั้งแรกในปี 2013 โดยมี Oppo เป็นผู้ถือหุ้น โดยจุดเด่นของ OnePlus คือ สมาร์ทโฟนสเปกเทพแต่ราคาถูกจนเคยได้ฉายา ‘นักฆ่าเรือธง’ โดย OnePlus จะเปิดตัวสมาร์ทโฟนปีละ 1 รุ่นเหมือนกับ Apple สำหรับประเทศไทย OnePlus เข้าทำตลาดในปี 2018

Source

]]>
1337516
ส่อง ‘สมาร์ทวอทช์’ ที่มีฟีเจอร์วัด ‘ออกซิเจนในเลือด’ ตั้งแต่หลักพันยันหลักหมื่น https://positioningmag.com/1329751 Wed, 28 Apr 2021 12:25:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329751 ช่วงนี้หลายคนคงมีคำถามในใจคล้าย ๆ กันก็คือ “ติด COVID-19 หรือยัง”  แม้จะไม่มีอาการอะไรก็ตามทีเถอะ ดังนั้น หลายคนเลยอยากจะวัดค่า ‘ออกซิเจนในเลือด’ หรือ ‘SpO2’ ให้สบายใจว่า ‘ยังไม่ติด’ ทำให้ตอนนี้คนเลยให้ความสนใจกับ ‘สมาร์ทวอทช์’ ‘สมาร์ทแบนด์’ หรืออะไรก็ตามที่ใช้วัดได้ ดังนั้น เราไปดูกันว่ามี สมาร์ทวอทช์, สมาร์ทแบนด์รุ่นไหน หรือมือถือรุ่นไหนที่สามารถใช้วัดได้บ้าง ไปดูกัน

Apple Watch 6

สำหรับ Apple Watch 6 นั้นสามารถแสดงข้อมูลสุขภาพเชิงลึกทั้ง อัตราการเต้นของหัวใจ, วัดคุณภาพการนอน และไม่ได้มีแค่ฟีเจอร์วัดค่าออกซิเจนในเลือด แต่ยังตรวจวัด ECG คลื่นไฟฟ้าหัวใจได้อีกด้วย แถมยังมี GPS ในตัว โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 13,400 บาท ใครที่เป็นสาวก Apple ก็จัดได้เลย

Samsung Galaxy Watch3

Samsung Galaxy Watch3 ราคาเริ่มต้นที่ 14,900 บาท โดยมาพร้อมฟีเจอร์วัดความดันโลหิต, ตรวจวัด ECG คลื่นไฟฟ้าหัวใจ, วัดค่า SpO2 ระดับออกซิเจนในเลือด, วัดอัตราเต้นหัวใจ, วัดคุณภาพการนอนหลับ, ตรวจวัดความเครียด และมีโหมดออกกำลังกาย

Huawei Watch Fit / Huawei Watch GT Series

สำหรับค่าย Huawei มี 2 ซีรีส์ที่มีฟีเจอร์วัดค่า SpO2 ระดับออกซิเจนในเลือด ได้แก่ Huawei Watch Fit ราคา 2,999 บาท และ Huawei Watch GT2e ราคา 4,290 บาท, Huawei Watch GT 2 ราคา 5,499 บาท, Huawei Watch GT 2 Pro ราคา 8,990 บาท โดยทั้ง 4 รุ่นมีฟีเจอร์พื้นฐานมาให้ครบ ไม่ว่าจะเป็นการวัดอัตราเต้นหัวใจ, วัดคุณภาพการนอนหลับ และวัดการเผาผลาญกิโลแคลอรี

Huawei Watch Fit (บน) / Huawei Watch GT Series (ล่าง)

Xiaomi Mi Watch

แน่นอนว่าคงไม่มีชื่อของ Xiaomi ไม่ได้ เพราะผลิตแทบทุกอย่างเท่าที่คนจะนึกออก ซึ่งเจ้า Xiao Mi Watch ก็มีฟีเจอร์วัดค่า SpO2 หรือออกซิเจนในเลือดเช่นกันในราคา 3,490 บาท ส่วนฟีเจอร์อื่น ๆ ก็มีครบทั้งวัดอัตราเต้นหัวใจ, วัดคุณภาพการนอน และตรวจวัดความเครียด

Realme Watch S Series

สำหรับ Realme แบรนด์ลูกของ ‘Oppo’ ก็ได้ออก Realme Watch Series ที่สามารถวัดค่า SpO2 ได้ โดยมี Realme Watch S ราคา 3,499 บาท และ S Pro ราคา 4,999 บาท โดยมีฟีเจอร์วัดอัตราเต้นหัวใจ, วัดคุณภาพการนอน และตรวจจับความเครียด

Fitbit Sense

สำหรับ Fitbit ก็ถือเป็นแบรนด์สมาร์ทวอทช์ที่เน้นด้านสุขภาพ โดยมีหลายรุ่นเลยทีเดียวที่สามารถวัดผลระดับออกซิเจนในเลือด พร้อมแจ้งข้อมูลจากกราฟแสดงผลผ่านแอปพลิเคชันฟิต อาทิ Charge 3, Ionic, Versa, Versa Lite, Versa 2 และล่าสุด Fitbit Sense ที่สามารถวัด ECG คลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ด้วย โดย Fitbit Sense ราคาอยู่ที่ 10,990 บาท

Garmin

เช่นเดียวกับการ์มินที่เป็นแบรนด์ที่เน้นด้านสุขภาพ ทำให้มีสินค้าหลายรุ่นที่สามารถวัดผลระดับออกซิเจนในเลือดได้ อย่าง vívosmart 4, vívoactive 4/4S, Legacy Hero/Saga, Venu, Venu Sq, vívomove 3 series เป็นต้น

Garmin vívomove 3 series

Amazfit Bip U / Amazfit GT Series

สมาร์ทวอทช์ของแบรนด์ลูก Xiaomi โดยมีให้เลือก 3 รุ่น ได้แก่ Amazfit Bip U ราคา 1,690 บาท, Amazfit GTS2 ราคา 5,590 บาท และ Amazfit GTR2 ราคา 6,299 บาท โดยนอกจากจะวัดค่า SpO2 ระดับออกซิเจนในเลือดได้ยังตรวจจับความเครียด และการเผาผลาญได้ด้วย

Amazfit Bip U (ขวา) / Amazfit GT Series (ซ้าย)

Huawei Band 6 / Honor Band 5 / OPPO Band

สำหรับคนงบน้อยลองมาดูฝั่งของ ‘สมาร์ทแบนด์’ ของ ‘หัวเว่ย’ และแบรนด์ลูกอย่าง ‘ออเนอร์’ กันดู โดยมี Huawei Band 6 และ Honor Band 5 ที่มีฟีเจอร์วัดค่า SpO2 ระดับออกซิเจนในเลือด ส่วนฟีเจอร์พื้นฐานก็มีให้ครบทั้งวัดคุณภาพการนอนหลับ, วัดความเครียด และอัตราการเต้นของหัวใจ โดย Huawei Band 6 ราคา 2,990 บาท ส่วน Honor Band 5 ราคา 1,190 บาท

อีกแบรนด์ที่น่าสนใจก็คือ OPPO Band โดยสามารถตรวจจับความเครียด, การเผาผลาญกิโลแคลอรี, อัตราเต้นหัวใจ และวัดค่า SpO2 ระดับออกซิเจนในเลือดในราคาเพียง 1,199 บาทเท่านั้น

Oppo Band (ขวา), Honor Band 5 (กลาง), Huawei Band 6 (ซ้าย)

Samsung Galaxy S และ Note ก็ใช้วัดได้

สำหรับใครที่ใช้งาน Galaxy S5 ไปจนถึง S10+ หรือใครที่ใช้ Galaxy Note 4 ไปจนถึง Note 9 จะสามารถใช้ฟีเจอร์วัดระดับออกซิเจนในเลือด และ Heart Rate โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อไอเทมอื่น ๆ เพิ่มเลย เนื่องจากสมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าวของซัมซุงจะมาพร้อม ‘เซ็นเซอร์’ ตรงกล้องหลังบริเวณเดียวกับไฟ LED ซึ่งใครที่ใช้มือถือรุ่นดังกล่าวแล้วอยากวัดระดับออกซิเจนในเลือดก็สามารถทำตามนี้ได้เลย

1.เปิดแอปพลิเคชัน Samsung Health

2.หาเมนู Blood oxygen (SpO2) สำหรับวัดระดับออกซิเจนในเลือด

3.เมื่อเข้าไปที่เมนู Blood oxygen แล้วให้กด Measure เพื่อเริ่มการวัด โดยให้นำนิ้วชี้ไปวางไปที่เซ็นเซอร์ด้านตัวเครื่องเพื่อเริ่มการวัด

ทั้งนี้ ระดับออกซิเจนในเลือดสภาวะปกติจะอยู่ที่ 95 – 100% อย่างไรก็ตาม หากเกิดรู้สึกไม่สบายแนะนำว่าควรหาหมอน่าจะดีที่สุด

]]>
1329751
OPPO ร่วมสร้าง ecosystem ที่ยั่งยืน ย้ำการเป็นส่วนหนึ่งในฐานะของพลเมืองโลก https://positioningmag.com/1328891 Fri, 23 Apr 2021 02:29:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328891 OPPO แบรนด์อุปกรณ์อัจฉริยะชั้นนำระดับโลก ได้เปิดเผยการมีส่วนร่วมในปีที่ผ่านมา ในการสร้างความยั่งยืนขององค์กรที่เริ่มสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 2547 แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของ OPPO ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ พนักงาน และสังคมโดยรวม ตลอดจนผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมของบริษัทให้ดีมากยิ่งขึ้น 

“ตั้งแต่บริษัทได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2547 OPPO ก็ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน ลูกค้า และพาร์ทเนอร์ ตลอดจนการพัฒนาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรวมให้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งความยั่งยืนถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในช่วงเวลานี้ในด้านการพัฒนาบริษัท เพื่อสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่และจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ใช้ ด้วยสิ่งที่เราเรียกกันว่า Internet of Experience” Tony Chen, Founder and CEO of OPPO กล่าว “และเพื่อสะท้อนถึงพันธกิจ ‘Technology for Mankind, Kindness for the World’ และคุณค่าหลักที่เรายึดมั่นอย่าง Benfen นั้นเราจะมุ่งมั่นลงทุนเพื่อความยั่งยืนของเราต่อไป โดยเราหวังว่า OPPO จะได้มีโอกาสในการทำงานร่วมกันกับพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมเพื่อสร้างอนาคตที่ดียิ่งขึ้นแก่ผู้คนทั่วโลก”

ความสำเร็จด้านความยั่งยืนของ OPPO ได้รับการตรวจสอบโดยผู้ให้บริการทดสอบชั้นนำอย่าง TÜV Rheinland ด้วยการยอมรับผลงานของ OPPO ตามมาตรฐานสากล โดยการตรวจสอบจากบริษัทที่เป็นบุคคลที่สามนี้พิสูจน์ให้เห็นถึงผลงานของ OPPO ในการสร้าง circular economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อจัดลำดับความสำคัญของการใช้วัสดุที่ยั่งยืนและลดปริมาณของเสียให้น้อยที่สุด ซึ่ง ณ ตอนนี้ OPPO ได้นำกระบวนการการผลิตแบบยั่งยืนเข้ามาใช้ตั้งแต่การผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ กระบวนการการแปรรูปวัสดุ และอื่นๆ ทำให้ OPPO ได้รับการรับรองผลลัพธ์ของการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนและการลดการปล่อยมลพิษจาก TÜV Rheinland อีกด้วย

นอกจากนี้ OPPO ยังตระหนักถึงการเป็นพลเมืองโลก ที่ไม่เพียงแต่ริเริ่มรับผิดชอบต่อสังคมของตนเองแต่ยังรับผิดชอบต่อสังคมโลก ด้วยการทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ในการดำเนินโครงการการจัดการที่ยั่งยืนและสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนร่วมกัน เช่น โครงการ OPPO Social Responsibility Code of Conduct ที่ห้ามมิให้ซัพพลายเออร์มีส่วนร่วมในการปฏิบัติสิ่งใดๆ ที่ผิดกฎหมายหรือผิดจรรยาบรรณ รวมถึงพฤติกรรมผูกขาด การติดสินบน หรือการคอร์รัปชั่น

โดยความมุ่งมั่นเหล่านี้ นำไปสู่ความสำเร็จในปี 2563 หลากหลายประการตามรายละเอียด ดังนี้

จากการเป็นส่วนหนึ่งของ circular economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน ทำให้ OPPO มีการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นถึง 13 เท่าในปี 2563 เมื่อเทียบโดยน้ำหนักกับปี 2562 รวมถึงการมุ่งมั่นสนับสนุนการใช้วัสดุหมุนเวียนมากขึ้นด้วยการใช้พลาสติกแบบรีไซเคิล 35% ของวัสดุพลาสติกที่มีอยู่ในส่วนประกอบของสมาร์ทโฟน พร้อมกันนั้น บริษัทยังสามารถลดขยะทั่วไปได้ 42.7% และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมได้ 20% ในปี 2563

ส่วนผู้คนที่ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ขององค์กร OPPO บริษัทได้ตระหนักถึงคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีแก่พนักงานเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทได้จัดกิจกรรมการศึกษาและโปรแกรมการฝึกอบรมมากกว่า 670,000 ชั่วโมงในปี 2563 เพื่อช่วยเหลือพนักงานในการวางแผนและพัฒนาการทำงาน ในขณะเดียวกัน OPPO ก็ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลกที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของ OPPO ในแต่ละวัน โดยมุ่งมั่นอย่างมากในการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการเพิ่มคุณสมบัติใหม่ ๆ ให้กับระบบปฏิบัติการ ColorOS 11และการได้รับการรับรองมาตรฐานความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่เข้มงวด เช่น ISO (ISO/IEC 27001, 27018, 29151), TrustArc และ ePrivacy

นอกจากนี้ หลังจากการระบาดของ Covid-19 OPPO ได้ร่วมมือกับชุมชนทั่วโลกในการรวบรวมทรัพยากรเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนผู้คนทั่วโลก โดยในฟิลิปปินส์ OPPO ได้ร่วมมือกับ NGO Save the Children เพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้ได้รับการศึกษาทางไกลผ่านการบริจาคสมาร์ทโฟน OPPO A12e จำนวน 100 เครื่องและชุดหูฟังบลูทูธ Rock Space จำนวน 100 เครื่อง ส่วนในประเทศไทย OPPO ได้บริจาคมาสก์ N95 จำนวนกว่า 20,000 ชิ้นให้กับบุคลากรทางการแพทย์แก่โรงพยาบาล

ศิริราชปิยมหาราชการุณย์ และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกในกรุงเทพฯ พร้อมแจกจ่ายชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลกว่า 13 แห่งทั่วประเทศ

นอกจากนี้ OPPO ยังให้การสนับสนุนชุมชนและวัฒนธรรมทั่วโลกผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการ Campus Global Emerging Artists Project Renovators (Renovators) โดยในปี 2563 OPPO ได้เปิดตัวโครงการ Renovators ครั้งที่สอง ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มในการปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาจำนวน 3,000 คน จาก 150 มหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก

การสร้างผลกระทบที่สำคัญและยั่งยืนจำเป็นต้องใช้ความคิดและความมุ่งมั่นในระยะยาว OPPO จึงจะยังคงดำเนินโครงการด้านความยั่งยืนต่อไป พร้อมความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมเพื่อสร้างอนาคตที่ดียิ่งขึ้นสำหรับทุกคน

โดยสำหรับรายงานความยั่งยืนประจำปี 2563 ฉบับเต็ม โปรดติดตามที่เว็บไซต์ทางการของ OPPO เร็วๆ นี้

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/oppothai

]]>
1328891
‘ออปโป้’ ถือโอกาส ‘หัวเว่ย’ สะดุด ขอขึ้น ‘Top 3’ ตลาดสมาร์ทโฟนโลกใน 3 ปี https://positioningmag.com/1324474 Mon, 22 Mar 2021 09:08:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324474 เนื่องจาก ‘หัวเว่ย’ (Huawei) ยังต้องเผชิญกับปัญหาการคว่ำบาตรของอเมริกา ซึ่งนั่นก็ถือเป็นโอกาสที่จะทำให้ ‘ออปโป้’ (Oppo) เดินหน้าเก็บส่วนแบ่งให้มากขึ้นในตลาดสมาร์ทโฟน โดยตั้งเป้าขึ้นเป็น ‘เบอร์ 3’ ภายใน 3 ปี ซึ่งในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ออปโป้ได้ขึ้นเป็นผู้นำในตลาดจีน ขณะที่ในตลาดยุโรปและอินเดียขึ้นเป็นอันดับที่ 5

Scott Zhang หัวหน้าฝ่ายธุรกิจต่างประเทศของ ‘ออปโป้’ เปิดเผยว่า ออปโป้ตั้งเป้าที่จะเป็น Top 3 ผู้เล่นอันดับต้น ๆ ของโลกโดยเฉพาะในตลาดสมาร์ทโฟนระดับ ‘ไฮเอนด์’ ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ในปี 2020 ออปโป้มียอดขายลดลง 4% มียอดขายทั้งหมด 115.1 ล้านเครื่องตามรายงานของบริษัท Canalys แต่ในตลาด ‘ยุโรป’ ออโป้เติบโต 225% ขึ้นเป็นผู้เล่นสมาร์ทโฟเบอร์ 5 ของภูมิภาค นอกจากนี้ ในตลาดประเทศญี่ปุ่นก็กำลังไปได้ดี โดยออปโป้มีการจัดส่งเพิ่มขึ้น 3 เท่าจากฐานที่ค่อนข้างเล็กข้อมูลของ IDC

ส่วนในประเทศจีน ออปโป้กลายเป็นผู้นำตลาดสมาร์ทโฟนในเดือนมกราคม นอกจากนี้ ยังเป็นผู้เล่นสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับ 5 ในอินเดียมีส่วนแบ่ง 11% ส่วนแบรนด์ ‘Realme’ ซึ่งเป็นแบรนด์ลูกของออปโป้ที่เน้นตลาดสมาร์ทโฟนราคาประหยัดเป็นผู้เล่นรายใหญ่อันดับ 4 ของอินเดีย

Ben Wood หัวหน้านักวิเคราะห์ของ CCS Insight กล่าวว่า ออปโป้มีความก้าวหน้าที่ดีในไตรมาสที่ผ่านมาโดยแซงหน้า ‘หัวเว่ย’ ขึ้นเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์รายใหญ่อันดับ 4 รองจาก แอปเปิล (Apple), ซัมซุง (Samsung) และ เสียวหมี่ (Xiaomi)

“Oppo Find X3 Pro แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะคว้าส่วนแบ่งจากหัวเว่ยและต่อสู้กับคู่แข่ง ซึ่งคนที่น่าจะปวดหัวสุดคงเป็นเสียวหมี่” Wood กล่าว “แต่ท้ายที่สุดแล้ว มันอาจจะขึ้นอยู่กับว่าออปโป้และบริษัทแม่อย่าง BBK พร้อมที่จะลงทุนมากแค่ไหนเพื่อปิดช่องว่างของเสียวหมี่เพื่อขึ้นเป็นเบอร์ 3 ของตลาดโลก”

Oppo Find X3 Pro 5G

Joey Yen นักวิเคราะห์ของ IDC กล่าวว่า “ปีที่แล้วเราเห็นยอดขายสมาร์ทโฟนด้วยช่องทางอีคอมเมิร์ซออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยคิดเป็น 26% ของยอดขายสมาร์ทโฟนทั่วโลกจากประมาณ 20% ในปี 2019 เนื่องจากการล็อกดาวน์ ซึ่งนั่นเป็นข้อเสียของออปโป้ซึ่งเก่งในกลยุทธ์ที่เน้นหน้าร้าน”

อย่างไรก็ตาม Yen กล่าวว่าตลาดสมาร์ทโฟนตอนนี้อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เนื่องจากหัวเว่ยถูกคว่ำบาตรจากอเมริกา ทำให้ “ผู้เล่นหลักทุกคน มีโอกาสเปลี่ยนตำแหน่งตัวเอง”

Scott Zhang กล่าวถึงวิกฤตชิปเซ็ตที่ขาดแคลนว่า โลกอาจเผชิญกับภาวะขาดแคลนชิปครั้งใหม่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเนื่องจากความต้องการที่สูงขึ้นจาก 5G และเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอื่น ๆ โดยในปัจจุบันไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้เล่นยานยนต์ที่กำลังต่อสู้กับทรัพยากรชิปและส่วนประกอบอีกด้วย ความตึงเครียดของซัพพลายเชนเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก และกลายเป็นความท้าทายสำคัญที่ผู้เล่นในหลายอุตสาหกรรมที่จะเผชิญและแก้ไข

“ความต้องการพลังงานคอมพิวเตอร์ของโลกนั้นแข็งแกร่งมากและปริมาณการใช้ข้อมูลก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก”

Zhang กล่าวว่า บริษัทของเขาได้เพิ่มความพยายามในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์รายสำคัญสำหรับสมาร์ทโฟนเรือธง และแสวงหาการจัดหาหลายแหล่งสำหรับโทรศัพท์ระดับกลางเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีสินค้าที่เพียงพอต่อการเติบโตของโทรศัพท์มือถือ 5G

อย่างไรก็ตาม Zhang ปฏิเสธที่จะยืนยันว่าออปโป้ได้สั่งซื้อส่วนประกอบและชิ้นส่วนของสมาร์ทโฟนมากถึง 170 ล้านเครื่องในปี 2021 ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้วมากกว่า 45%

“การระบาดใหญ่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของเราและอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟนโดยรวมเมื่อปีที่แล้ว แต่เราคาดการณ์ว่าตลาดจะกลับมาเติบโตในปีนี้ และหวังว่าสถานการณ์ซัพพลายเชนจะคลี่คลายลงเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้”

]]>
1324474