OTT – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 24 Sep 2019 07:39:03 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ตลาด OTT ไทยคาดผู้ใช้บริการแตะ 2 ล้านรายในปี 2023 มูลค่ากว่า 6 พันล้าน https://positioningmag.com/1247352 Tue, 24 Sep 2019 00:59:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1247352 การพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต บรอดแบนด์มีความรวดเร็ว ส่งผลต่อพฤติกรรมการรับชมทีวีและคอนเทนต์ต่างๆ ไม่ได้ถูกจำกัดช่องทางอยู่แค่ทางโทรทัศน์เท่านั้น โดยบริการ OTT (Over The Top) ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต กลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย

จากรายงานวิเคราะห์ตลาด OTT ของสำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (วส.) สำนักงาน กสทช. และข้อมูลการวิจัยล่าสุดของ Ovum บริษัทจัดเก็บวิเคราะห์ข้อมูลและบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีจากประเทศอังกฤษ ได้สำรวจตลาดผู้ใช้บริการ OTT แบบลงทะเบียนเป็นสมาชิกทั่วโลกในทุกปี พบว่า ในปี 2019 ตลาดรวมผู้ลงทะเบียนใช้บริการ OTT ทั่วโลกจะ อยู่ที่ 657 ล้านราย และจะเพิ่มขึ้นไปถึง 968 ล้านรายในปี 2023 โดยเป็นการเติบโตทุกปี

ผู้ชม OTT ไทยแตะ 2 ล้านราย

สำหรับตัวเลขบริการ OTT ของไทยนั้น Ovum คาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2019 นี้จะมียอดผู้ใช้บริการอยู่ที่ 1.3 ล้านราย เพิ่มขึ้น 18.80% จากปี 2018 ที่มียอดผู้ชมรวม 1.09 ล้านราย และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 ล้านรายในช่วง 5 ปี หรือในปี 2023

ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้ชมในกลุ่มบริการวีดิโอสตรีมมิ่งแบบ SVOD หรือ Subscription Video on Demand บริการรับชมทีวีออนไลน์ย้อนหลังแบบเรียกเก็บค่าสมาชิก ในสัดส่วนที่สูงมาก โดยมีจำนวนผู้เป็นสมาชิกในปี 2019 อยู่ที่ 1.13 ล้านราย และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.91 ล้านรายในปี 2023

ในขณะที่บริการแบบรับชมสดตามโปรแกรมที่ออกอากาศ SLIN หรือ Subscription Linear มีสัดส่วนไม่มาก โดยปี 2019 มีผู้ใช้บริการแบบรับชมสดอยู่ที่ 170,000 รายเท่านั้น คาดตัวเลขผู้ใช้บริการเพิ่มเป็น 190,000 รายในปี 2023

สำหรับกลุ่มผู้ให้บริการหลักของวีดิโอสตรีมมิ่งแบบ SVOD ในไทยนั้น Netflix เป็นผู้ให้บริการรายใหญ่เช่นเดียวกับในหลายๆ ประเทศ โดยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยด้วยการจับมือกับผู้ผลิตคอนเทนต์รายใหญ่ของ ไทยหลายราย ผลิตซีรีส์ไทยออกอากาศในช่องทาง Netflix เท่านั้น

ขณะที่กลุ่มผู้ให้บริการแบบการรับชมสดในไทยนั้น ได้แก่ ผู้ให้บริการผ่านแอปพลิเคชั่น เช่น AIS Play, LOOX TV และ True ID เป็นต้น

วิดีโอสตรีมมิ่งไทยโตสูง

เมื่อเทียบจำนวนผู้ชม OTT ของตลาดโลก ตลาดเอเชียและโอเชียเนีย และตลาดในประเทศไทยจะเห็นความแตกต่าง เรื่องทิศทางการเติบโตของบริการวีดิโอสตรีมมิ่งแบบ SVOD และบริการแบบรับชมสด โดยที่ในตลาดโลก สัดส่วนของจำนวนผู้ชมในกลุ่มบริการวีดิโอสตรีมมิ่งมีแนวโน้มการเติบโตลดลงต่ำกว่า 10% ตั้งแต่ปี 2021 – 2023

แม้ว่าจะมีจำนวนผู้ชม OTT ในกลุ่มนี้มากกว่ากลุ่มบริการแบบรับชมสดประมาณเกือบเท่าตัวในแต่ละปี แต่อัตราการเติบโตของบริการ แบบรับชมสดในตลาดโลกยังคงเติบโตมากกว่า 10% ในทุกๆ ปี

ในส่วนของตลาดผู้ชม OTT ในเอเชียและโอเชียเนีย มีความแตกต่างจากตลาดโลก โดยที่บริการวีดิโอ สตรีมมิ่งแบบ SVOD เติบโตกว่าบริการรับชมสด แต่เติบโตในสัดส่วนที่ไม่สูงกว่ากันมากนัก

ภาพรวมของตลาดผู้ชม OTT ในเอเชียและโอเชียเนีย ผู้ชมบริการวิดีโอสตรีมมิ่งแบบ SVOD มีสัดส่วนมากกว่า บริการแบบรับชมสด ประมาณ 1 เท่าตัว

ขณะที่ตลาดผู้ชม OTT ของประเทศไทย เติบโตสูงในกลุ่มบริการวิดีโอสตรีมมิ่งแบบ SVOD มากกว่าบริการรับชมสดอย่างชัดเจน โดยในปี 2019 ตลาดบริการกลุ่มนี้เติบโต 21.60% โดยจากยอดจำนวน ผู้ชมที่คาดการณ์ ในปี 2019 พบว่ามีจำานวน 1.13 ล้านราย และจะเพิ่มเป็น 1.30 ล้านรายในปี 2020 ส่วนบริการ แบบรับชมสดมีอัตราการเติบโต ในระดับ 2 – 3% ต่อปีเท่านั้น

ข้อมูลนี้วิเคราะห์ได้ว่าประเภทคอนเทนต์ และความนิยมที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของแต่ละประเภทบริการ ซึ่งบริการวิดีโอสตรีมมิ่งเป็นการรับชมย้อนหลัง สามารถรับชมได้ตามความต้องการ แต่คอนเทนต์บางประเภท เช่น รายการข่าวหรือการถ่ายทอดสดกีฬารายการสำคัญเป็นกลุ่มคอนเทนต์ การรับชมสดที่ผู้ชมทั่วโลกให้ความสนใจด้วยเช่นกัน

บริการ OTT โกย 6 พันล้าน

รายงานของ PwC คาดการณ์ด้วยว่า บริการ OTT จะเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดของประเทศไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า จากความต้องเสพคอนเทนต์แบบ Video on demand ที่ขยายตัวมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดนี้คึกคักและเห็นการแข่งขันที่รุนแรง จากผู้ประกอบการต่างประเทศและไทย เช่น Netflix, iflix และ HOOQ

มูลค่าการใช้จ่ายบริการรับชมวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตในไทยเมื่อปี 2018 อยู่ที่ 2,810 ล้านบาท คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าในปี 2023 เป็น 6,080 ล้านบาท โตเฉลี่ยปีละ 16.64% ขณะที่สื่อทีวีและโฮมวิดีโอ โตเฉลี่ยต่อปีเพียง 4.76% จากมูลค่า 19,700 ล้านบาทในปี 2018 เป็น 24,900 ล้านบาทในปี 2023

]]>
1247352
PwC ฟันธง! อุตสาหกรรมสื่อ-บันเทิงไทย ปี 66 โกย 6.5 แสนล้าน บริการ OTT มาแรง-แข่งเดือด https://positioningmag.com/1243551 Fri, 23 Aug 2019 06:01:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243551 จากรายงาน Global entertainment and media outlook 2019 – 2023 ของ PwC ซึ่งสำรวจข้อมูลด้านรายได้และคาดการณ์ทิศทางการเติบโตของ 14 กลุ่มอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงใน 53 อาณาเขตทั่วโลกพบอัตราการเติบโตเฉลี่ย 4.3% ต่อปี

ประเมินว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ปี 2562 – 2566 จะเห็นรายได้ทั่วโลกของอุตสาหกรรมนี้สูงถึง 85.66 ล้านล้านบาท ในปี 2566 เพิ่มขึ้นจาก 69.5 ล้านล้านบาท ในปี 2561

พิสิฐ ทางธนกุล หุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชี และหัวหน้าสายงาน Entertainment & Media บริษัท PwC ประเทศไทย คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงในประเทศไทย จะมีมูลค่า 6.5 แสนล้านบาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือในปี 2566 การเติบโตเฉลี่ยต่อปีจะอยู่ที่ 5.05% เป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยรวมที่ 5.01%

แต่ประเทศไทยก็ยังโตได้ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย ที่เฉลี่ยต่อปี 9.5%, ฟิลิปปินส์ 6.2% และเวียดนามที่ 7.1% อย่างไรก็ตาม ไทยจะยังเติบโตนำหน้ามาเลเซียที่ 4.7% ส่วนสิงคโปร์รั้งท้ายที่ 3.8%

“ผู้บริโภคชาวไทยต้องการเสพสื่อและบันเทิงแบบส่วนบุคคลมากขึ้น ไม่แตกต่างไปจากผู้บริโภคในประเทศ อื่นๆ ทั่วโลก เป็นผลจากการใช้สมาร์ทโฟนและอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้น”

5G หนุนวิดีโอออนไลน์โต

สิ่งที่เป็น “จุดเปลี่ยน” คือ การเข้ามาของเครือข่าย 5G ที่คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลเร็วๆ นี้ ทำให้การเชื่อมต่อและตอบสนองทางออนไลน์รวดเร็วยิ่งกว่า 4G ดังนั้นผู้ประกอบการสื่อและบันเทิง ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่วันนี้หันมาเลือกเสพสื่อในรูปแบบที่ตัวเองต้องการมากขึ้นไม่ว่าจะ “เสพสื่อไหน อย่างไร หรือเมื่อไหร่”

กระแสของการใช้สื่อดิจิทัลของผู้บริโภคและธุรกิจไทยที่เพิ่มมากขึ้นในที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบให้กับผู้ประกอบการสื่อดั้งเดิม เช่น สื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ ต้องหันมาปรับเปลี่ยนรูปแบบของการให้บริการไปสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น

“ยังมีผู้ประกอบการสื่อดั้งเดิมหลายรายประสบกับความยากลำบากในประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอด หรือแม้กระทั่งต้องล้มเลิกกิจการไปในที่สุด”

บริการ OTT ตลาดไทยโตแรง!

รายงานของ PwC คาดการณ์ด้วยว่า บริการวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ต (Over-the-top video: OTT video) จะเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดของประเทศไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า จากความต้องเสพคอนเทนต์แบบ Video on demand ที่ขยายตัวมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดนี้คึกคักและเห็นการแข่งขันที่รุนแรง จากผู้ประกอบการต่างประเทศและไทย เช่น Netflix, iflix และ HOOQ

มูลค่าการใช้จ่ายบริการรับชมวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตในไทยเมื่อปี 2561 อยู่ที่ 2,810 ล้านบาท คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าในปี 2566 เป็น 6,080 ล้านบาท โตเฉลี่ยปีละ 16.64% ขณะที่สื่อทีวีและโฮมวิดีโอ โตเฉลี่ยต่อปีเพียง 4.76% จากมูลค่า 19,700 ล้านบาทในปี 2561 เป็น 24,900 ล้านบาทในปี 2566

โฆษณาออนไลน์ไทยโตเร็วสุด

กลุ่มสื่อที่เติบโตต่ำสุดในช่วง 5 ปีจากนี้ คือ หนังสือพิมพ์แและนิตยสาร เฉลี่ยลดลง 3.05% ต่อปี หนังสือเล่ม ลดลง 0.34% ต่อปี และ โฆษณาทีวี เติบโตต่ำที่ 1.8% ต่อปี

ขณะที่โฆษณาทางอินเทอร์เน็ต (Internet advertising) ของไทย จะเป็นตลาดที่เห็นการเติบโตรวดเร็วที่สุดเป็นอันดับที่ 2 เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากความชื่นชอบการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคชาวไทย คาดว่าจะมีมูลค่าการใช้จ่าย 32,500 ล้านบาทในปี 2566 โตเฉลี่ยต่อปีที่ 13.62%

โดย Facebook ยังเป็นสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคชาวไทยนิยมใช้มากที่สุด ตามมาด้วย YouTube และ Line ข้อมูลจากรายงาน Digital 2019 ของ Hootsuite และ We are Social ระบุว่า 74% ของประชากรไทยทั้งหมด เป็นผู้ใช้งานประจำของสื่อสังคมออนไลน์ ใช้เวลาเฉลี่ย 3 ชั่วโมง 11 นาทีในแต่ละวัน

ขณะที่วิดีโอเกมและอีสปอร์ต (Video games and esports) จะกลายเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของไทย คาดว่ามูลค่า 33,000 ล้านบาท ในปี 2566 โตเฉลี่ยต่อปีที่ 7.7% จากการขยายตัวของสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ฐานลูกค้าของผู้บริโภคเกมบนมือถือเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

]]>
1243551
กสทช. ขายไอเดียเก็บค่าบริการ Facebook – LINE – Netflix ให้แก่ 10 ประเทศอาเซียน พร้อมตั้งศูนย์ยืนยันข้อมูลทุกประเทศ https://positioningmag.com/1243036 Tue, 20 Aug 2019 00:55:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243036 เป็นความพยายามมาสักพักใหญ่ๆ แล้ว ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ต้องการเก็บค่าบริการแพลตฟอร์ม OTT หรือ Over-The-Top แต่ที่สุดแล้วไม่ได้มีอะไรคืบหน้ามากนัก

แต่ล่าสุดฐากร ตัณฑสิทธิ์เลขาธิการ กสทชได้ออกมากล่าวว่า ก่อนที่จะมีการประชุมของผู้นำองค์กรกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมในภูมิภาคอาเซียน หรือ การประชุม ASEAN Telecommunication Regulator’s Council : ATRC ครั้งที่ 25 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในวันที่ 20 – 21 .นี้ ในวันนี้ (19 .. 2562)

คณะทำงานด้าน OTT ได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ OTT เข้าประเทศของสมาชิก 10 ประเทศในอาเซียน เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมต่อไป หลังจากที่เรื่องนี้มีการหารือร่วมกันตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป

ทว่าการประชุมครั้งนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุป เพราะผู้ให้บริการ OTT ได้แก่ Facebook – LINE – Netflix – Amazon – Walter Disney ต่างให้ความสนใจในการเข้าร่วมประชุมด้วย แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้จนกว่าจะมีมติที่ประชุมของ 10 ประเทศอาเซียน ซึ่งการกำหนดการเก็บค่าบริการ OTT นั้น จะเป็นการกำหนดกรอบกว้าง เพื่อให้แต่ละประเทศลงรายละเอียดที่เหมาะสมกับแต่ละประเทศเอง 

โดยประเทศไทยได้เสนอเงื่อนไขในการเก็บค่าบริการ OTT 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อค่าบริการของประชาชน 2. ต้องมีรายได้เข้าประเทศ และ 3. ขอให้ OTT ให้ความร่วมมือ ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถดำเนินการได้

การขยายตัวของบริการ OTT วันนี้สร้างความท้าทายให้กับผู้กำกับดูแลทั่วโลก เพราะมีประเด็นเชิงนโยบายมากมายตั้งแต่เรื่องการจัดเก็บภาษีของรัฐ ไปจนถึงเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม อาทิเช่น การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลและการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย การจัดให้มีอภิปรายและการร่วมมือของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ ภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล ผู้ให้บริการเครือข่าย ผู้ให้บริการ OTT และผู้บริโภค จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ขณะเดียวกันได้มีการเสนอให้ OTT ดำเนินการเรื่องการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น ด้วยการจ้างบริษัทกลางที่เชี่ยวชาญด้านนี้ในการจัดตั้งเป็น ศูนย์ประสานงานและยืนยันความถูกต้องของข้อมูล เพื่อเป็นศูนย์สำหรับประสานงานกับบริการ OTT ในประเทศอาเซียนศูนย์ละ 1 ประเทศ

แม้ว่าทาง OTT เช่น Facebook จะมีการดำเนินการอยู่แล้ว แต่ฐากร ยืนยันว่าระยะเวลาตรวจสอบ 1 เดือนนั้นช้าไป หากมีบริษัทกลางเข้ามาดูแลโดยเฉพาะกระบวนการตรวจสอบจะเร็วขึ้นเหลือเพียง 1 – 2 วัน ซึ่งทางเฟซบุ๊กก็ให้ความสนใจและจะคุยกันในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง 

สำหรับการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว OTT สามารถเลือกตัวแทนในประเทศนั้นๆ เพื่อทำหน้าที่ยืนยันข้อมูลได้ทันที โดยกสทชจะเป็นผู้ดูแลอยู่ห่างๆ แต่จะโปรโมทให้ประชาชนสามารถเข้าไปใช้บริการและแจ้งข้อมูลเพื่อให้ตรวจสอบได้ โดย OTT ต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง

โดยเรื่องนี้มองว่าจะเป็นการทำงานส่งเสริมกับนโยบายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ได้ เนื่องจากปัจจุบันมีการปลอมแปลงเอกสารและมีการปล่อยข่าวลวงกันจำนวนมากกว่าจะตรวจสอบได้ก็ใช้เวลาเป็นเดือน ความเสียหายจึงเกิดขึ้นมาก

ไม่เพียงแต่ประเทศไทยที่ตระหนักเรื่องนี้ ทุกประเทศในอาเซียนก็มีความกังวลเรื่องนี้ไม่แพ้กัน ขณะที่เฟซ บุ๊กเองก็มีรูปแบบการจ้างบริษัทกลางในการตรวจสอบข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วกว่า 10 บริษัท ดังนั้นจึงควรจะทำกับ 10 ประเทศในอาเซียนด้วย.

Source

]]>
1243036
“ทรูวิชั่นส์” ลั่นกลับมาบริหาร “พรีเมียร์ลีก” รอบ 6 ปี ต้อง “คุ้มทุน” ชู “ออมนิ แชนแนล” หนุนรายได้ ยิงสด PPTV 30 แมตช์ https://positioningmag.com/1241633 Wed, 07 Aug 2019 10:35:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241633 ประกาศคว้าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2019/20 – 2021/22 ในประเทศไทยถือเป็น King of Content ในฝั่งกีฬาฟุตบอลไปเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา นับเป็นการกลับมาบริหารลิขสิทธิ์เต็มรูปแบบอีกครั้งในรอบ 6 ปี ของ “ทรูวิชั่นส์” ที่ปั้นฐานแฟนฟุตบอล EPL มาเกือบ 30 ปีตั้งแต่เริ่มธุรกิจเพย์ทีวี

“พรีเมียร์ลีก อังกฤษ” ถือเป็นลีกการแข่งขันฟุตบอลที่ได้รับความนิยมและมีผู้ติดตามชมมากที่สุดในโลก “ทรูวิชั่นส์” ถือลิขสิทธิ์ลีกดังตั้งแต่ทำธุรกิจเพย์ทีวีเกือบ 30 ปี เว้น 3 ฤดูกาลปี 2013 – 2016 ที่อยู่ในมือ CTH ด้วยการทุ่มประมูลกว่า 9,000 ล้านบาท เป็นครั้งแรกที่ พรีเมียร์ลีก ไม่ได้อยู่ในเพย์ทีวี “ทรูวิชั่นส์” และท้ายที่สุดธุรกิจเพย์ทีวี CTH ก็ไปไม่รอด แม้มี King of Content ในมือ

จากนั้น 3 ฤดูกาลในปี 2016 – 2019 ลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ตกอยู่ในมือ beIN Sports ที่ร่วมเป็นพันธมิตรถ่ายทอดสดช่องทาง “เพย์ทีวี” ผ่านทรูวิชั่นส์ ถือเป็นการคืนสู่แพลตฟอร์มอีกครั้งของลีกดัง แต่การบริหารยังอยู่ในมือ beIN Sports

หลังจากดีลลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก 3 ฤดูกาลใหม่ ปี 2019 – 2022 ในประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ของ “เฟซบุ๊ก” ที่ประกาศคว้าลิขสิทธิ์ลีกดังต้อง “ล่ม” จนต้องมีการเปิดประมูลใหม่ ครั้งนี้ “ทรูวิชั่นส์” เป็นผู้คว้าลิขสิทธิ์ด้วยราคาต่ำกว่าที่เฟซบุ๊กเสนอ และเป็นราคาที่ “พอใจ”

พีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา

หวังพรีเมียร์ลีกหนุนธุรกิจ “คุ้มทุน”

พีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านคอนเทนต์และมีเดีย บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การได้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดพรีเมียร์ลีก 3 ฤดูกาลใหม่ ถือเป็นการกลับมาบริหารลิขสิทธิ์ลีกดัง แบบ All Right จากพรีเมียร์ลีก อังกฤษโดยตรงอีกครั้งในรอบ 6 ปี สามารถออกอากาศครบทั้ง 380 แมตช์ตลอดฤดูกาล ได้ทุกแพลตฟอร์มทั้งเพย์ทีวี ฟรีทีวี ออนไลน์ OTT รับชมผ่านจอทีวีและสมาร์ทดีไวซ์ ทั้งชมสดและรีรัน

“การกลับสู่ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ปของลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ครั้งนี้ วางเป้าหมายผลักดันลีกดังให้กลับมาได้รับความนิยมสูงสุดอีกครั้ง และจะเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีของทรูวิชั่นส์ ที่กล้าตั้งเป้าหมายคุ้มทุน”

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ เป็นคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง แต่การทำตลาดในช่วงที่ไม่ได้อยู่กับทรูวิชั่นส์ อาจไม่ครอบคลุมฐานผู้ชมทั้งหมดที่เคยเข้าถึงลีกดัง แต่คนที่ชื่นชอบพรีเมียร์ลีกยังมีอยู่จำนวนมาก

ชู Omni Channel เจาะ 20 ล้านผู้ชม

กลยุทธ์การทำตลาด พรีเมียร์ลีก 3 ฤดูกาลใหม่ เป็นรูปแบบ Omni Channel Omni Platform เป็นการ Synergy การรับชมลีกดังในทุกช่องทางทั้ง ออฟไลน์และออนไลน์ ผ่านทุกแพลตฟอร์มในเครือทรู ทั้งเพย์ทีวี ทรูออนไลน์ ทางเว็บไซต์บนโน้ตบุ๊คหรือแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ผ่าน ทรูไอดี และ TrueID Box ที่สามารถรับชมได้ทุกที่ทุกเวลา ส่วนทีวีดิจิทัล ทรูโฟร์ยูและทีเอ็นเอ็น จะเป็นช่องทางนำเสนอคลิปคอนเทนต์ก่อนเกมและและหลังเกมแข่งขัน เพื่อช่วยโปรโมตลีกดัง

ขณะที่การถ่ายทอดสดทาง “ทีวีดิจิทัล” PPTV เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดรวม 30 แมตช์ตลอดฤดูกาล

ความแตกต่างของการบริหารลิขสิทธิ์ พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ครั้งนี้ อยู่ที่แพลตฟอร์ม OTT ทรูไอดี ที่สามารถรับชมได้ทุกเครือข่ายมือถือ ปัจจุบันมีผู้ดาวน์โหลด ทรูไอดี ไปแล้วกว่า 15 ล้านราย โดยเป็นแอปที่สามารถดูพรีเมียร์ลีกบนมือถือได้ฟรี 100 แมตช์ตลอดฤดูกาล

นอกจากนี้ ทรูไอดี ยังมีแพ็กเกจดูครบตลอดฤดูกาล 2,500 บาท รายเดือน 319 บาท รายสัปดาห์ 179 บาท และรายวัน 99 บาท ส่วนแพ็คเกจ ทรูออนไลน์ พร้อมกล่องทรูไอดีทีวี ดูพรีเมียร์ลีกฟรีทุกสัปดาห์ ราคา 999 บาทต่อเดือน

ส่วน ทรูวิชั่นส์ ซึ่งปัจจุบันมีฐานสมาชิก 4 ล้านราย แพ็กเกจแพลตินัมดูฟรีทั้ง 380 แมตช์ตลอดฤดูกาล แพ็กเกจเสริม ทรู พรีเมียร์ ฟุตบอล เอชดี พลัส ราคา 399 บาทต่อเดือน โกลด์ 199 บาทต่อเดือน และแพ็กเกจอื่นๆ 299 บาทต่อเดือน

“การบริหารลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกทุกแพลตฟอร์มตลอด 3 ฤดูกาลใหม่ ทำให้ลีกดังเข้าถึงผู้ชมกว่า 20 ล้านรายในประเทศไทย โดยเฉพาะ OTT และจะผลักดันรายได้ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป ให้กลับมาเติบโตอีกครั้งตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป”

นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ชิป 6 พันธมิตร คือ ทรู คอร์ปอเรชั่น, สิงห์ คอร์เปเรอชั่น, ซีพี ออลล์, เอ.พี. ฮอนด้า, ซีพีเอฟ และสยามแมคโคร ที่จะทำแคมเปญการตลาดทั้งบนหน้าจอ ออนไลน์ และจัดกิจกรรมร่วมกันตลอด 3 ฤดูกาล

สำหรับนัดเปิดสนามเป็นโปรแกรม “ฟรายเดย์ไนท์” คืนวันศุกร์ที่ 9 ส.ค. ระหว่าง ลิเวอร์พูล พบกับ นอริช ซิตี้ ต่อด้วยโปรแกรมวันเสาร์ที่ 10 ส.ค. อีก 7 คู่ เวสต์แฮม ยูไนเต็ด พบ แมนเชสเตอร์ ซิตี้, บอร์นมัธ พบ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด, เบิร์นลีย์ พบ เซาแธมป์ตัน, คริสตัล พาเลซ พบ เอฟเวอร์ตัน, เลสเตอร์ ซิตี้ พบ วูล์ฟแฮมป์ตัน, วัตฟอร์ด พบ ไบรจ์ตัน, ท็อตแนม ฮอตสเปอร์ พบ แอสตัน วิลลา ปิดท้ายด้วยเกมวันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 2 คู่ นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด พบ อาร์เซนอล, แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด พบ เชลซี ถ่ายทอดสดผ่านทรูวิชั่นส์ 6 ช่อง

]]>
1241633
“ไทยพีบีเอส” เปิดช่อง VIPA เสริมทัพ OTT หวังจับคนดูรุ่นใหม่ดูได้ทุกแพลตฟอร์ม เขย่าองค์กรมุ่ง Content https://positioningmag.com/1234602 Fri, 14 Jun 2019 08:59:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1234602 ในภาวะที่ทุกสื่อกำลังปรับตัวและกลยุทธ์เพื่อแข่งขันในตลาดทีวีดิจิทัล โดยเฉพาะหลังการคืนใบอนุญาตและปิดตัวลงของ 7 ช่องทีวีดิจิทัล “ไทยพีบีเอสทีวีสาธารณะ ก็ต้องเปลี่ยนแปลงในยุค Media Disruption เช่นกัน  

วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อในยุคดิจิทัล ถือเป็นความท้าทายของไทยพีบีเอส จากพฤติกรรมผู้ชมรับสื่อผ่านหน้าจอโทรทัศน์ลดลงและหันมาชมผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ไทยพีบีเอสจึงเตรียมเผยแพร่คอนเทนต์ ผ่านช่องทาง OTT เรียกว่า ช่องวิภา (VIPA Channel) รองรับผู้ชมทางออนไลน์ที่สนใจเนื้อหาเชิงสาระของไทยพีบีเอส และกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น โดยจะเปิดตัวในไตรมาส 3 นี้

โดย VIPA Channel จะให้บริการ Audio และ Video Streaming ในช่องสื่อใหม่ของไทยพีบีเอสเพื่อเข้าถึงคอนเทนต์ได้ทุกที่ ทุกเวลาผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชั่น VIPA นำเสนอในหลายหมวดเนื้อหา พร้อมบริการภาษาทางเลือก โดยให้บริการ VIPA Live รายการสด ในเหตุการณ์และการแข่งขันกีฬาสำคัญๆ VIPA Archive คลังคอนเทนต์จากไทยพีบีเอส VIPA Original เนื้อหาที่นำเสนอเฉพาะช่อง VIPA และ VIPA UGC พื้นที่สร้างสรรค์ผลงานจากครีเอเตอร์ออนไลน์

“ช่อง VIPA วาง Positioning เป็น Passionate Learners คือ คนที่กระตือรือร้นแสวงหาการเรียนรู้ และเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ผลงานจาก Creator Online ส่งเสริมการมีส่วนร่วมบนสื่อออนไลน์”

ปรับองค์กรมุ่ง Content Based

นอกจากนี้ได้พัฒนาบุคลากรให้ทำงานแบบ Multi Skills มากขึ้น เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่เหมาะกับแต่ละแพลตฟอร์ม หรือ Transmedia รวมทั้งปรับโครงสร้างองค์กรให้เป็น Content Based มากขึ้น นำร่องสร้างหน่วยย่อยลักษณะ Business Unit เพื่อบริหารจัดการได้อย่างคล่องตัว และทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรได้ดีขึ้น เช่น หน่วยสื่อสารภัยพิบัติ หน่วยที่มุ่งสื่อสารให้บริการประชาชน หน่วย Thai PBS World ที่เน้นนำเนื้อหาของไทยออกไปสู่ Global และอีก 2 กลุ่มเนื้อหาที่เป็นจุดแข็งของไทยพีบีเอส คือ หน่วยผลิตสารคดี และศูนย์สื่อเพื่อเด็กเยาวชนและครอบครัว ทั้งหมดเป็นทิศทางที่กำลังเร่งพัฒนาในปีนี้

ภาพจาก thaipbs

นอกจากนั้นการปรับเนื้อหาให้แข่งขันได้มากขึ้น ไทยพีบีเอสได้กำหนดเซ็กเมนต์ของตัวเองเป็นกลุ่มเป้าหมายแบบ Informed Citizen เนื้อหาของข่าวและรายการมุ่งทำให้ผู้ชมเป็นพลเมืองตื่นรู้ ที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้องรอบด้าน โดยจะเพิ่มรูปแบบการนำเสนอให้น่าสนใจและน่าติดตามมากขึ้น จะเริ่มเห็นภาพการปรับตัวของไทยพีบีเอส ตั้งแต่เดือน ก.ค.เป็นต้นไป

“จุดแข็งของไทยพีบีเอส คือ ข้อมูลข่าวสารอยู่บนความถูกต้อง น่าเชื่อถือ เป็นธรรม ปราศจากอคติ ปลอดจากการแทรกแซงของกลุ่มทุนและการเมือง มุ่งสื่อสารเพื่อหาทางออกอย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน”

วิลาสินี พิพิธกุล

เสริมคอนเทนต์เด็กหลังปิด 7 ช่องทีวีดิจิทัล

จากสถานการณ์การคืน 7 ช่องทีวีดิจิทัล ทำให้ช่องเด็กสูญพันธุ์ “ไทยพีบีเอส” ในฐานะสื่อสาธารณะมีแผนพัฒนา ศูนย์สื่อเพื่อเด็กและครอบครัว เพื่อต่อยอดเนื้อหารายการเด็กเพิ่มขึ้น ทั้งสื่อทางหน้าจอทีวี สื่อออนไลน์ และพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้ ขยายเครือข่ายที่ทำงานด้านเด็ก รวมถึง Gamer ที่ผลิตเกมสำหรับเด็ก

โดยมีสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ ทำวิจัยติดตามพฤติกรรมการรับสื่อของเด็กกลุ่มอายุ 3-6 ปี และกลุ่มอายุ 7-11 ปี ผลวิจัยพบว่าเด็กวัย 3-6 ปี ยังดูทีวีเป็นอันดับแรก รองลงมาคือการอ่านหนังสือและดู YouTube ส่วนเด็กอายุ 7-11 ปี ใช้สื่อ YouTube มากที่สุด รองลงมาคือโทรทัศน์ ดังนั้นศูนย์สื่อเพื่อเด็กและครอบครัว จะนำเสนอคอนเทนต์ที่ตอบสนองพฤติกรรมทั้ง 2 กลุ่ม.

]]>
1234602