Omise – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 11 Jul 2017 06:17:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 5 Startup เลือดใหม่ Unicorn หนุ่มเริ่มออกวิ่ง https://positioningmag.com/1132135 Mon, 10 Jul 2017 22:55:26 +0000 http://positioningmag.com/?p=1132135 เมื่อนิยาม Startup ถูกหยิบมาใช้เป็นตัวแทนโมเดลใหม่ของการเริ่มต้นธุรกิจยุคนี้ หลากหลายคนรุ่นใหม่มองหาช่องทาง และพร้อมที่จะเข้ามาทดลองบนโมเดลใหม่อย่างคึกคัก ทำให้เห็นปรากฏการณ์ธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้น 

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ทุก Startup จะแบกความมุ่งหวัง ไปถึงปลายทางความสำเร็จได้

Startup ที่เกิดขึ้นช่วงนี้ กำลังได้รับการจัดอันดับจากสมาคมนิสิตเก่า MBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย ที่ทำการคัดเลือก Startup ประมาณ 50 บริษัท

เพื่อรับรางวัล JUMC STARExcellence 2017 ปีนี้มีผู้ได้รับรางวัล 5 บริษัท

1. Omise ยูนิคอร์นหนุ่มเขางาม

โอมิเซะ Startup สาย Fintech บริการ Payment Gateway ที่เปิดให้จ่ายเงินทางออนไลน์โดยไม่ต้องผ่านธนาคาร เช่น ตั๋วเครื่องบิน บัตรคอนเสิร์ต หรือช้อปปิ้งเว็บอีคอมเมิร์ซต่างๆ ผลงานก่อนหน้านี้ของผู้ก่อนตั้งโอมิซะ คือทำระบบ Payment ให้กับ True  Corporation, Minor International, Ookbee และ Primetime

โอมิเซะมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดไปได้ไกลที่สุดของไทย บางคนเรียกพวกเขาว่า ยูนิคอร์นตัวใหม่ของวงการเลยทีเดียว หลังจากที่สร้างความเชื่อมั่น ขายเรื่องราวของบริษัท จนสามารถระดมทุนซีรี่ส์ B ได้17.5 ล้านเหรียญ  ทำลายสถิติสูงสุดของ Startup ในไทย

โอมิเซะ ก่อตั้งในปี 2013 โดย ดอน-อิศราดร หะริณสุต และ จุน ฮาเซกาวา  เริ่มจากการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซเพราะเห็นว่าเป็นธุรกิจที่กำลังโตในไทยในเวลานั้น ก่อนจะพบว่า Payment Gateway ที่ต้องเลือกใช้ในเว็บยังไม่ตอบโจทย์ เช่น มีข้อผิดพลาดทางเทคนิค หน้าจอไม่แสดงผล และไม่รองรับการใช้งานบนมือถือ เมื่อลูกค้าจ่ายเงินไม่ได้ทันที ก็เลยเลิกไปในที่สุด ในขณะเดียวกันก็นำปัญหาที่ได้จากการทำอีคอมเมิร์ซในเรื่อง Payment Gateway ที่ยังไม่มีใครคิดแก้ปัญหาอย่างจริงจัง มาพัฒนาต่อและเป็นเปลี่ยนมาทำ Payment Gateway เต็มตัวในปี 2014

อิศราดร หะริณสุต ผู้ก่อตั้ง และ CEO โอมิเซะ บอกว่า โอมิเชะมีจุดแข็งที่แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นคือ ทำให้ผู้บริโภคใช้ได้ง่ายขึ้น หมดยุคของการจ่ายเงินแบบยุ่งยากซับซ้อน ทุกอย่างต้องเรียลไทม์และไม่สะดุด

“ถ้าซื้อออนไลน์ แล้วจ่ายออนไลน์เลย จะมีโอกาสปิดยอดได้ง่าย และเร็วขึ้น” เขาเชื่อมั่นในเรื่องนี้ และพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ตั้งแต่เปิดบริการมา 2 ปีอัตราการเติบโตของโอมิเซะยังไม่เคยตก และมีพาร์ตเนอร์รายใหญ่เข้ามาร่วมเพื่อเตรียมบุกตลาดอีกหลายประเทศ

2. Freshket ซัพพลายเชนร้านอาหาร

Freshket เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่หยิบเอาซัพพลายเชนในธุรกิจร้านอาหารมาพัฒนาต่อยอด

พงษ์ลดา พะเนียงเวทย์ CEO เฟรซเก็ต บอกว่า เฟรซเก็ตคือแพลตฟร์อมมาร์เก็ตเพลสที่ทำให้ผู้ซื้อ เช่น ภัตตาคาร, ร้านอาหาร กับผู้ผลิตเช่นเกษตรกร สามารถบริหารการสั่งซื้อวัตถุดิบได้สะดวกขึ้น โดยตัดความซับซ้อนรุงรังของระบบเอกสารออกไป

ปัญหาที่ผ่านมาคือร้านอาหารจะสั่งของทั้งทางแฟกซ์อีเมลและไลน์ ซึ่งซัพพลายของร้านอาหารจะยิบย่อยมาก เฟรซเก็ตเป็นตัวเชื่อมต่อระบบการสั่งงานจากหน้าบ้านเข้าหลังบ้าน เมื่อร้านอาหารสั่งของทางซัพพลายเออร์ก็ไม่ต้องมาทำบิลโดยการคีย์ใหม่ทั้งหมด เพราะแพลตฟอร์มจะทำเป็นรายการสินค้าเป็นบิลออกมาเลย เพราะของที่ต้องทำทุกวันจะไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น พงษ์ลดาบอกเล่าถึงสิ่งที่เธอกำลังทำ

กลุ่มเป้าหมายของเฟรซเก็ตคือร้านอาหารที่จับกลุ่มลูกค้าระดับ B ขึ้นไป ตั้งราคาอาหารไว้ประมาณ 300 บาทต่อคน ขณะนี้เน้นร้านอาหารในซอยเอกมัย และทองหล่อเป็นหลัก จากนั้นจะขยายไปยังย่านอื่นๆ สิ้นปีนี้จะมีร้านอาหาร 800 แห่งที่เข้าร่วมกับเฟรซเก็ต

3. Globish Can you speak English ?

ความไม่มั่นใจการการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ คือจุดเริ่มต้นของ Startup รายนี้ อุปนิสัยนี้ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องกับผู้ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร  ความอายในการพูด ถูกนำมาเป็นจุดแข็งของ Globish

ธกานต์ อานันโทไทย CEO บอกว่า Globish คือการเรียนการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ซึ่งมีความโดดเด่นคือเน้นการสอนแบบตัวต่อตัว Globish จะเรียกผู้สอนต่างชาติว่าโค้ช ผู้เรียนและโค้ชจะเห็นหน้ากันแบบ “เรียลไทม์” ผ่านวิดีโอคอลและสามารถ “ตอบโต้กันได้ทั้งสองทาง”

การเผญิชหน้าผู้เรียนกับผู้สอนภายออนไลน์ อาจทำให้เกิดความเกร็ง ความอายของผู้เรียนลดน้อยลง กล้าที่จะพูดออกมา และสะดวกขึ้นในการเลือกเวลา สถานที่ในการเรียน

Globish มีคนเข้ามาเรียนแล้วประมาณ 400 คน 80% เป็นลูกค้าทั่วไป ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน อายุระหว่าง 25-35 ปี และ 20% เป็นลูกค้าองค์กร บางองค์กรจ้าง Globish จัดคอร์สภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานขายที่ให้บริการในสนามบินต่างๆ

ปัจจุบัน Globish มีโค้ชต่างชาติ ประมาณ 200 คน โดยมีราคาการเรียนอยู่ที่ 120-165 บาทต่อ 25 นาที

ธกานต์ บอกว่า เธอเคยตั้งราคาที่ถูกกว่านี้แต่ก็พบกับความท้าทายว่า “เมื่อธุรกิจการศึกษาตั้งราคาถูกเกินไป ที่สุดกลับทำให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือ”

ธกานต์ คาดหวังว่า จะขยายลูกค้าทั่วไป และลูกค้าองค์กรให้มีสัดส่วนที่ 60:40 และภายใน 3 ปี จะมีผู้เข้าเรียนวันละ 2,000 คลาส และขยายไปเวียดนาม และอินโดนีเซีย

4. Local Alike ทัวร์ไร้มลพิษ

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่ชุมชนสามารถกำหนดโปรแกรมการท่องเที่ยวเองได้ กลายเป็นโมเดลธุรกิจท่องเที่ยวใหม่ของ สมศักดิ์ บุญคำ ผู้ก่อตั้ง และ Operation & Finance ของ Local Alike

สมศักดิ์ บุญคำ กล่าวว่า การท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักของคนไทย แต่ไม่มีใครบอกได้เลยว่ารายได้ที่ว่านั้น ไปที่โรงแรมเท่าไหร่ แล้วชุมชนเท่าไหร่ ผมอยากทำตัวเลขนี้ให้ชัดขึ้น และถ้าต้องการท่องเที่ยวทำอย่างไรให้เป็นการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนจริงๆ ซึ่งผมได้แรงบันดาลใจมาจากสถาบันท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I) ซึ่งเป็นเอ็นจีโอ ทำงานโดยไม่หวังผลกำไรและเก่งเรื่องพัฒนา เราก็เลยเรียนรู้มาจากเขา

การทำงานของ Local Alike คือตัวกลางระหว่างนักท่องเที่ยวกับชาวบ้าน  โดยเข้าไปรับฟังปัญหา และวางแผนพัฒนาแต่ละชุมชนเพื่อสร้างโปรแกรมท่องเที่ยวที่เป็นจุดแข็งของชุมชนขึ้นมา ที่สำคัญคือชุมชนบริการจัดการตัวเองล้วนๆ ไม่ใช่คนภายนอก เราเชื่อว่าการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถช่วยพัฒนาชุมชนได้

“ความแตกต่างจากบริษัททัวร์อื่น คือการจำกัดนักท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้กระทบกับวิถีชีวิตชุมชน” เขาเล่าถึงจุดแข็งของ startup ตัวนี้

Local Alike ทำการตลาดโดยใช้สื่อออนไลน์เป็นหลักเช่นสื่อวิดีโอ และเว็บไซต์ เพื่อเป็นช่องทางการหาลูกค้า และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ

ในแง่โอกาสของธุรกิจ จากสถิติที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในประเทศ มี 20 % ที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน นั่นคือโอกาสของ Local Alike

5. Skootar เคาน์เตอร์ เซอร์วิส ติดล้อ

รับส่งเอกสาร ส่งผู้โดยสาร ดูจะง่ายไปสำหรับ Skootar ที่มองช่องว่างของผู้ประกอบการ SME ในเรื่องการวางบิล เก็บเช็ค ส่งพัสดุสำคัญ ที่ต้องการผู้ให้บริการที่เข้าใจ และน่าเชื่อถือ ในการทำธุรกรรมการเงินบางประเภท

ธีภพ กิจจะวัฒนะ Co-Founder และ CEO Skootar บอกว่า Skootar คือแอปพลิเคชั่น และเว็บไซต์ให้บริการแมสเซ็นเจอร์สำหรับธุรกิจ ในการวางบิล เก็บเช็ค ส่งเงินเข้าธนาคาร หรือส่งพัสดุตามที่ต่างๆ โดยใช้โมเดล crowdsourcing ของแมสเซ็นเจอร์ เช่นเดียวกับ GrabBike, Lalamove โดยผู้ใช้สามารถใช้บริการผ่านเว็บไซต์หรือแอปทั้งแอนดรอยด์ และ iOS

“ความท้าทายในธุรกิจนี้คือการสร้างความสมดุลระหว่าง Demand และ Supply สองสิ่งนี้ต้องค่อยๆ โตไปด้วยกัน อีกอย่างก็คือการเปลี่ยนพฤติกรรมคน จากที่โทรเรียกแมสเซ็นเจอร์ให้เปลี่ยนมาเป็นใช้แอปพลิเคชั่น คนส่วนมากจะมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทาย“

]]>
1132135
โอมิเซะ (Omise) ยูนิคอร์นหนุ่มออกวิ่ง กับดีลซื้อ 2 กิจการจากเพย์สบาย https://positioningmag.com/1131962 Thu, 06 Jul 2017 18:18:38 +0000 http://positioningmag.com/?p=1131962 นับเป็นอีก “ดีล” ของการซื้อกิจการในแวดวงสตาร์ทอัพ “ฟินเทค” ที่น่าสนใจ จากการที่บริษัท โอมิเซะ (Omise) ผู้บริการเทคโนโลยีด้านการเงินสัญชาติไทย ที่ได้เทเงินเข้าซื้อส่วนบริการส่วนเพย์เมนต์เกตเวย์ (Payment Gateway) หรือช่องทางทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนของกระเป๋าเงินออนไลน์
(E-wallet) ของเพย์สบาย (Paysbuy) โดยที่ธุรกิจส่วนใหญ่ของเพย์สบาย ยังอยู่ภายใต้การดูแลของดีแทค (DTAC) เช่นเดิม

การซื้อกิจการ 2 ส่วนจาก Paysbuy ของ Omise ยังไม่มีการเปิดเผยมูลค่าการซื้อขาย ดีลนี้เกิดขึ้นหลังจาก โอมิเซะ สามารถระดมเงินทุนจำนวน 25 ล้านเหรียญสหรัฐ รอบล่าสุดได้สำเร็จ ในช่วงก่อนหน้านี้ (ระดมทุนเป็นเงินดิจิตอล)

บริษัท Paysbuy นั้น จัดเป็นธุรกิจให้บริการชำระเงินออนไลน์อันดับต้นของเมืองไทย ก่อตั้งเมื่อปี 2547 ข้อมูลจากงบประมาณปี 2559 บริษัท PaySbuy มีรายได้รวม 2,224.1 ล้านบาท ทำกำไร 433.9 ล้านบาท สินทรัพย์รวมมูลค่า 5,240.1 ล้านบาท

ในขณะ Omise เป็นบริษัทเกิดใหม่ มีรายได้รวม 35.7 ล้านบาท ยังมีภาวะขาดทุน 67.4 ล้านบาท มูลค่าสินทรัพย์รวม 296.7 ล้านบาท

ดีลนี้ยิ่งสร้างความน่าสนใจมากขึ้น เพราะโอมิเซะนั้นเป็นบริษัทเพิ่งเกิดใหม่เมื่อปี 2556 รายได้น้อยกว่า แถมยังอยู่ในภาวะขาดทุน แต่หลังจากระดมทุนมาได้ ก็สามารถซื้อธุรกิจบางส่วนจากบริษัทลูกของยักษ์ใหญ่วงการโทรคมนาคม ความเคลื่อนไหวนี้สะท้อนเห็นถึงโอกาสเติบโตของดาวรุ่งฟินเทคอย่าง Omise 

โอมิเซะ ก่อตั้งโดย ดอน-อิศราดร หะริณสุต และจุน ฮาเซกาวา Startup สาย Fintech ทำธุรกิจให้บริการ Payment Gateway ที่เปิดให้จ่ายเงินทางออนไลน์ โดยไม่ต้องผ่านธนาคาร เช่น ตั๋วเครื่องบิน บัตรคอนเสิร์ตหรือช้อปปิ้งเว็บอีคอมเมิร์ซต่างๆ ผลงานก่อนหน้านี้ของผู้ก่อตั้งโอมิเซะ คือ ทำระบบ Payment ให้กับ True Corporation, พิซซ่า คอมปานีของกลุ่ม Minor International, สตาร์ทอัพด้วยกัน Ookbee และ Primetime

ช่วงก่อตั้ง โอมิเซะมุ่งไปที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเพราะเห็นว่าเป็นธุรกิจที่กำลังโตในไทยในเวลานั้น ก่อนจะพบว่า Payment Gateway ที่ต้องเลือกใช้ในเว็บไซต์ยังไม่ตอบโจทย์ เช่น หน้าจอไม่แสดงผล ไม่รองรับการใช้งานบน
มือถือ เมื่อลูกค้าจ่ายเงินไม่ได้ทันที ก็จะเลิกซื้อไปในที่สุด จึงหันมามุ่งที่ธุรกิจ Payment Gateway เต็มตัวในปี 2557

โอมิเซะมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดไปได้ไกลที่สุดของไทย บางคนเรียกพวกเขาว่า ยูนิคอร์นตัวใหม่ของวงการเลยทีเดียว หลังจากที่สร้างความเชื่อมั่น ขายเรื่องราวของบริษัท จนสามารถระดมทุนระดับซีรี่ส์ B ได้ 17.5 ล้านเหรียญ ทำลายสถิติสูงสุดของ Startup ในไทย

ดอน-อิศราดร ผู้ก่อตั้ง และ CEO โอมิเซะ บอกว่า ถึงโอมิเซะจะไม่ใช่ Payment Gateway รายแรกในไทย แต่มีจุดแข็งที่แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นคือ การมองเห็นปัญหาและหาวิธีที่ทำให้ผู้บริโภคใช้งานได้ง่ายขึ้น หมดยุคของการจ่ายเงินแบบยุ่งยากซับซ้อน ทุกอย่างต้องเรียลไทม์และไม่สะดุด

ถ้าซื้อออนไลน์ แล้วจ่ายออนไลน์เลย จะมีโอกาสปิดยอดขายได้ง่าย และเร็วขึ้น เขาเชื่อมั่นในเรื่องนี้ และพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ตั้งแต่เปิดบริการมา 2 ปี อัตราการเติบโตของโอมิเซะยังไม่เคยตก และมีพาร์ตเนอร์รายใหญ่เข้ามาร่วมเพื่อเตรียมบุกตลาดอีกหลายประเทศ

ในระยะเวลาเพียง 3 ปี โอมิเซะระดมทุนหลายสิบล้านเหรียญสหรัฐ และยังได้ Alibaba เว็บขายสินค้าออนไลน์อันดับหนึ่งจากจีนเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์ เป้าหมายหลักของบริษัทคือ การเป็นผู้นำด้าน Payment Service Provider สำหรับเอเชีย โอมิเซะระบุว่า ได้นำเงินจากการระดมทุนไปพัฒนาระบบและเปิดบริการในตลาดอื่นอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2559 เช่น ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์และมาเลเซีย โดยวางเป้าว่าภายใน 18 เดือนต่อจากนี้จะก้าวมาเป็นผู้ให้บริการด้านการชำระเงินออนไลน์แบบครบวงจรในอาเซียน

การเข้าซื้อกิจการของเพย์สบายในครั้งนี้ จะทำให้โอมิเซะมีโอกาสขยายธุรกิจได้มากขึ้น จากใบอนุญาติบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาด E-wallet ที่จะเป็นเป้าหมายต่อไป

]]>
1131962
ดีแทคขายกิจการชำระเงิน Paysbuy ให้ Omise แล้ว https://positioningmag.com/1131888 Thu, 06 Jul 2017 06:37:12 +0000 http://positioningmag.com/?p=1131888 รายงานข่าวจาก www.techinasia.com ได้ระบุถึง ดีลของบริษัท Omise ให้บริการชำระเงินออนไลน์ได้เข้าซื้อกิจการ Paysbuy ในส่วนของธุรกิจชำระเงินออนไลน์จากดีแทค ผู้ให้บริการมือถือ ส่วนมูลค่าของดีลนี้ยังไม่มีการเปิดเผย ภายใต้เงื่อนไขของดีลนี้ ธุรกิจการชำระเงินของ Paysbuy จะเข้ามารวมกับ Omise ทันที ส่วนธุรกิจส่วนอื่นๆ ยังคงอยู่กับดีแทค

ก่อนการเข้าซื้อกิจการ Paysbuy บริษัท Omise ได้ระดมเงินทุนเพิ่มจำนวน 25 ล้านเหรียญสหรัฐ ผ่าน Token sale ที่เป็นเหมือนเงินดิจิทัล

Paysbuy เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์รายแรกที่เปิดให้บริการแก่ผู้บริโภคชาวไทย เปิดตัวโดยดีแทค หนึ่งในโอเปอเรเตอร์ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ

สำหรับ Omise ก่อตั้งตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2556 โดย Jun. Hasegawa และ Ezra Don Harinsut เดิมทีนั้น Omise เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แต่หลังจากที่เกิดความยุ่งยากในการชำระเงิน จึงตัดสินใจสร้างแพลตฟอร์มของตนเอง

หลังจากนั้นหนึ่งปีที่ผ่านมา Omise ได้รับระดมทุน ซีรีย์ B มูลค่า 17.5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย SBI Investment บริษัทลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น การลงทุนครั้งนี้เพื่อนำเพย์เมนต์เกตเวย์ของไทยขยายตลาดไปยังตลาดใกล้เคียง

การเข้าซื้อกิจการ Paysbuy ในครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้บริโภคชาวไทยเข้าถึงบริการได้มากขึ้น อาศัยฐานลูกค้าเดิมของ Paysbuy และมีแผนจะเปิดตัวบริการใหม่ OmiseGO เป็นอีวอลเล็ท จะเปิดตัวช่วงปลายปีนี้

อุตสาหกรรมการชำระเงินออนไลน์ในไทยจะยิ่งร้อนระอุขึ้น นอกเหนือจากแพลตฟอร์มคู่แข่งที่เป็นโลคอลอย่าง 2C2P แล้ว Omise ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันในระดับภูมิภาคจากผู้เล่นระดับโลกเช่น Stripe อีกด้วย

สำหรับ Paysbuy ถือเป็นผู้ประกอบให้บริการการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-มันนี่ รายแรกๆ ของไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2547 โดยได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E Money License) จากธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่ กรกฎาคม 2548 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปี 2551 ดีแทคได้เข้าซื้อกิจการและกลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วยทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ถือเป็นบริษัทลูกของดีแทค ที่ได้นำคนจากดีแทคเข้าไปร่วมบริหาร และดำเนินธุรกิจมา 9 ปี จนได้ตัดสินใจขายกิจการไปให้กับบริษัท Omise


ที่มา : https://www.techinasia.com/omise-acquires-paysbuy

]]>
1131888