Online – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 24 Dec 2022 11:46:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 SkillLane เตรียมเพิ่มคอร์สลงทุนเสริมศักยภาพผู้เรียน มองเทรนด์การศึกษาออนไลน์ยังโตต่อ https://positioningmag.com/1413841 Sat, 24 Dec 2022 06:55:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413841 สกิลเลน (SkillLane) ได้เปิดเผยว่าเตรียมเพิ่มคอร์สเกี่ยวกับการลงทุน โดยเฉพาะคอร์สไม่ว่าจะเป็นทั้งพื้นฐานการลงทุนทั้งหุ้นไทยหรือหุ้นต่างประเทศ รวมถึงคอร์สเกี่ยวกับเครื่องมือทางการลงทุนที่สามารถทำให้ผู้เรียนสามารถลงทุนได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ขณะเดียวกันก็มองว่าเทรนด์การศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ก็ยังเติบโตได้ดี

เอกฉัตร อัศวรุจิกุล Co-founder & COO ของ SkillLane ได้เปิดเผยกับ Positioning ว่าในปี 2023 นั้นเตรียมเปิดคอร์สในการลงทุนเพิ่มเติม และยังจะร่วมมือกับอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ในการหาคอร์สดีๆ มาให้บริการ นอกจากนี้ Co-founder ของ SkillLane ยังกล่าวว่าต้องการที่จะเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่คนคิดถึง ถ้าหากผู้บริโภคต้องการหาความรู้ในด้านต่างๆ

เขายังกล่าวว่าอาจารย์ที่เลือกมานั้นคัดมาอย่างดี เนื้อหาค่อนข้าง Exclusive มีผู้ใช้หลักหลายแสนคน หรือองค์กรที่ใช้แพลตฟอร์มในการเทรนพนักงาน หรือแม้แต่บางมหาวิทยาลัยก็ใช้ รวมถึงมีการออก Certificates ให้ถ้าหากลูกค้าต้องการ

นักลงทุนควรหาความรู้ก่อนลงทุน

ธัญญพัฒน์ ธัญญศิริ หนึ่งในอาจารย์ผู้สอนบน SkillLane ได้เปิดเผยว่า เรื่องการจัดพอร์ตการลงทุน (Asset Allocation) มีความสำคัญ เขามองว่าที่ผ่านมาหลายตลาดหุ้นได้ลงมาแล้วก็เด้งกลับขึ้นมาแล้ว ขณะที่ทองคำยังมีโอกาสน่าลงทุน นักลงทุนต้องระวังในเรื่องความเสี่ยง โดยเขาให้เหตุผลว่าแต่ละคนรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน รวมถึงควรหาความรู้ในการลงทุน

เขายังชี้ถึงปัญหาใหญ่ของนักลงทุนไทยคือความรู้ในการลงทุน ซึ่งตัวเขาเองมองว่านักลงทุนไทยยังมีไม่เพียงพอ เวลาลงทุนขาดทุนมาก็ค่อยมาหาความรู้ เขาแนะนำให้นักลงทุนควรจะหาความรู้ก่อนไปลงทุน รวมถึงการรับความเสี่ยงว่าเจ๊งมาจะทำยังไง โดยเขาได้เปรียบเทียบเหมือนอยากขับรถ แต่ไม่เรียนขับรถแล้วไปขับรถเลย

จากซ้ายไปขวา – ธัญญพัฒน์ ธัญญศิริ (ซ้าย) ประกิต สิริวัฒนเกตุ (กลาง) เอกฉัตร อัศวรุจิกุล Co-founder ของ SkillLane (ขวา)

มุมมองการลงทุนในปี 2023

ประกิต สิริวัฒนเกตุ หนึ่งในอาจารย์ผู้สอนบน SkillLane ได้กล่าวว่า ในปี 2023 นี้แต่ละสินทรัพย์ผันผวนแตกต่างกัน บางสินทรัพย์ขึ้นแล้วลง บางคนขึ้นแล้วลงสลับกัน ต้องเลือกลงทุนให้ดี รวมถึงการรู้สินทรัพย์แต่ละตัวว่าถ้าหากตลาดหุ้นไทยเป็นทิศทางขาลงเราจะทำกำไรได้ไหม รวมถึงทิศทางขาขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในช่วงเวลาเดียวกันเราสามารถทำอะไรบ้างได้ไหม 

เขาได้ชี้ว่าถ้าหากนักลงทุนเข้าใจพื้นฐานของสัญญาสิทธิ (Options) หรือตราสารอนุพันธ์ (DW) ได้ ก็จะเข้าใจเครื่องมือการลงทุน รวมถึงความเสี่ยง และเลือกลงทุนได้ และยังสามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้ เขามองว่าในปี 2023 นั้นสภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวยแก่นักลงทุนมากเท่าไหร่ สภาพคล่องในตลาดหายไป จากสภาวะดอกเบี้ยสูงขึ้น รวมถึงการดึงสภาพคล่องของธนาคารกลางประเทศต่างๆ ส่งผลทำให้ผลตอบแทนของนักลงทุนอาจหายไป แต่เขาชี้ว่าถ้าหากนักลงทุนมีความรู้อาจได้โอกาสในการลงทุนใหม่ๆ

ขณะที่มุมมองหุ้นไทยเขาชี้ว่าหุ้นขนาดเล็กเมื่อสภาพคล่องหายไป รวมถึงภาษีจากการขายหุ้น จะส่งผลทำให้ตลาดซบเซา แต่มองว่าครึ่งปีแรกของปี 2023 นั้นหุ้นไทยจะได้ประโยชน์ เช่น การเลือกตั้ง รวมถึงจีนเปิดประเทศ ที่นักท่องเที่ยวเข้ามา รวมถึงากรค้าระหว่างประเทศ

แต่สำหรับครึ่งปีหลัง ประกิตกังวลโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ รวมถึงหุ้นไทยอาจมีราคาแพงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่สหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปีหลังเขามองว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว และทนทานต่อสภาวะต่างๆ ได้ ซึ่งตลาดสหรัฐฯ น่าสนใจในครึ่งปีหลัง

สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมในตลาดหุ้นไทยที่เขามองว่าน่าสนใจคือ สนามบิน สายการบิน อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้ประโยชน์จากจีนเปิดประเทศ กลุ่มค้าปลีก หรือแม้แต่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงนิคมอุตสาหกรรม

เตรียมเพิ่มคอร์สด้านการลงทุน รวมถึงคอร์สอื่นๆ

นอกจากคอร์สของผู้สอนที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น SkillLane ยังมีผู้สอนที่จะเปิดคอร์สด้านลงทุนอีก เช่น ธนพร เจียรนัยกุลวานิช เจ้าของเพจ StockJourNoey ที่จะมาเปิดคอร์สการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) และการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis) สำหรับนักลงทุน

ปัจจุบัน SkillLane มีคอร์สช่วยพัฒนาความสามารถผู้เรียนมากกว่า 2,000 คอร์ส มีผู้เรียนมากกว่า 650,000 คน และ Co-founder & COO ของ SkillLane ยังมองว่าเทรนด์การศึกษาด้านออนไลน์ยังเติบโต และ Business ของบริษัทยังเติบโตอยู่ และมีคอร์สการเรียนรู้อื่นๆ นอกจากการลงทุน เช่น สร้างสตาร์ทอัพ การบริหารเงิน คอร์สสำหรับการสอบ TOEIC ไปจนถึงการปลูกผักไร้ดิน

]]>
1413841
อานิสงส์ COVID-19 ดันยอดไลฟ์ขายของเดือน เม.ย. พุ่งกว่า 7,000 ครั้ง/สัปดาห์ โต 216% https://positioningmag.com/1276336 Thu, 30 Apr 2020 09:58:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276336 เพราะการระบาดของไวรัส COVID-19 ได้ส่งผลให้คนต้องกักตัว ขณะที่ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร และบริการก็ต้องปิดตัวลง ทำให้ขาดรายได้ ขาดการติดต่อกับลูกค้า ดังนั้น ทางรอดเดียวของร้านค้าและผู้บริโภค คือ ออนไลน์ ซึ่งในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา Shoplus ผู้ให้บริการเทคโนยี AI ระบบช่วยจัดการร้านค้าที่ขายผ่านโซเชียลมีเดีย ได้เปิดเผยว่า การไลฟ์ขายของบน Facebook ของไทยเติบโตมากกว่า 200%

จากวิกฤติ COVID-19 ส่งผลให้คนทั่วโลกต้องหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน ทำให้เกิดการใช้งานโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น 47% และมีการซื้อของออนไลน์มากขึ้น 74% ขณะที่รายงานของ WeAreSocial และ Hootsuite ได้ระบุว่า การใช้งานอีคอมเมิร์ซของไทยในช่วงเดือนเมษายนคิดเป็น 10% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมด ขณะที่ธุรกรรมออนไลน์ทั้งหมดในปี 2562 ของไทย คิดเป็นอันดับที่ 9 ของโลก

โดย Shoplus ผู้ให้บริการเทคโนยี AI เพื่อช่วยบริหารจัดการออเดอร์ร้านค้าที่ขายผ่านโซเชียลมีเดีย ได้ให้ข้อมูลของลูกค้าในมือว่า ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาลูกค้า Shoplus ที่ไลฟ์ขายของมีอยู่ประมาณ 2,000 ไลฟ์/สัปดาห์ แต่ในเดือนกุมภาพันธ์เติบโตเป็น 4,000 ไลฟ์/สัปดาห์ และเป็นเป็น 7,000 ไลฟ์/สัปดาห์ในเดือนเมษายน หรือเติบโตถึง 216%

Beautiful asian woman blogger is showing how to make up and use cosmetics. In front of the camera to recording vlog video live streaming at home.Business online influencer on social media concept.

นอกจากนี้ Shoplus ยังมอนิเตอร์กลุ่มในไทยกว่า 1,200 กลุ่ม โดยพบว่าจากจำนวนร้านค้ากว่า 150,000 ร้าน มีร้านราว 45,000 ร้านที่แชร์ไลฟ์เข้าในกลุ่มเหล่านี้ตลอด 60 วันที่ผ่านมา และตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ มีจำนวนผู้ขายใหม่ที่สมัครเป็นสมาชิก Shoplus เพิ่มขึ้น 5 เท่า มีร้านค้าที่สมัครกับ Shoplus กว่า 40,000 ร้านค้า รวมทั้งภูมิภาคมีกว่า 400,000 ร้านค้า

สำหรับประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศผู้นำในการไลฟ์ขายของ โดยในช่วงสองเดือนที่ผ่านมามีการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น 59% ขณะที่มูลค่าของสินค้าเพิ่มขึ้น 84% ปัจจุบันเฉลี่ยที่ 500 บาทต่อครั้ง ขณะที่เวียดนามเฉลี่ยที่ 200 บาทต่อครั้ง ทั้งนี้ เทรนด์การไลฟ์ขายของเริ่มเป็นที่นิยมในจีน เวียดนาม และฟิลิปปินส์ โดย 2 เดือนที่ผ่านมา ประเทศจีนมีจำนวนร้านค้าที่ขายสินค้าโดยการไลฟ์สดเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมถึง 7 เท่า ส่วนเวียดนามและฟิลิปปินส์ก็มีจำนวนผู้เข้าร่วมไลฟ์และยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้ ภาพรวมของระดับนานาชาติ คนไม่ได้ซื้อแค่อาหารและสิ่งจำเป็นด้านสุขภาพเท่านั้น แต่พบว่ามีการซื้อสินค้าจำพวกอุปกรณ์กีฬา (+77%) เครื่องสำอาง (+70%) และสินค้าแฟชั่น (+33%) เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้ขายในประเทศไทยก็มีการขายสินค้าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทองคำ เสื้อผ้า รวมถึงเจลล้างมือ ซึ่งประเทศฟิลิปปิสน์และเวียดนามก็มีการปรับตัวในทิศทางเดียวกัน

“ตอนนี้คนหันมาซื้อของผ่านแอปมากขึ้น และผู้ขายก็หันมาขายของผ่านโซเชียลมากขึ้นโดยไทยถือเป็นประเทศผู้นำในการขายผ่านโซเชียล โดยเฉพาะไลฟ์สดขายสินค้า ซึ่งถือเป็นช่องทางที่เห็นสินค้าได้ง่าย สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้ทันที ดังนั้น COVID-19 เป็นตัวเร่งพฤติกรรมให้เปลี่ยนเร็วขึ้น เมื่อหมด COVID-19 เทรนด์ก็ยังไม่หาย แต่จะยิ่งเติบโต” คิมมี เฉิน ผู้จัดการทั่วไป Shoplus กล่าว

คิมมี เฉิน ผู้จัดการทั่วไป Shoplus

สำหรับร้านค้าที่พึ่งเริ่มสร้างเพจเฟซบุ๊กในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2020 Shoplus ได้เปิดโอกาสให้ลงทะเบียนใช้บริการฟรี 3 เดือน สามารถลงทะเบียนได้แล้วที่ https://fw.shoplus.app/rV1H

]]>
1276336
How to ‘ฟื้นธุรกิจ’ จากวิกฤติ COVID-19 ด้วย ‘ออนไลน์’ https://positioningmag.com/1271976 Tue, 07 Apr 2020 07:15:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271976 เพราะวิกฤติโควิด-19 ที่ระบาด ส่งผลให้ห้างร้านต่าง ๆ ปิดลงหรือไม่ก็ต้องซื้อกลับบ้านเท่านั้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเหมือนจะเป็น ‘โอกาสทอง’ ของโลก ‘ออนไลน์’ ไม่ว่าจะ ‘อีคอมเมิร์ซ’ หรือบริการ ‘OnDemand Delivery’ ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่มันจะ ‘ยั่งยืนไหม’ แล้วพ่อค้าแม่ค้าต้อง ‘เริ่ม’ อย่างไร มาฟังแนวทางจาก 3 กูรูในวงการ ได้แก่ ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา Co-founder & CEO Priceza, เลอทัด ศุภดิลก Head of E-Commerce LINE ประเทศไทย และ ลลักษณ์ มหาสุวีระชัย Co-founder & CEO NocNoc

โรคซาส์เป็นจุดเปลี่ยนอีคอมเมิร์ซ โควิด-19 ก็เช่นกัน

จุดกำเนิดของ อาลีบาบา และ JD.COM มาจากการระบาดของโรคซาส์ ที่ตอนนั้นมันบังคับให้ผู้บริโภคต้องปรับตัวสั่งออนไลน์ นั่นเป็นจุดพลิกผันของอีคอมเมิร์ซจีน และถ้าดูประเทศจีนเป็นตัวอย่าง เชื่อว่าไทยก็มีแนวโน้มสูงมาก ๆ เพราะว่าปัจจุบันอัตราการเข้าถึงของสมาร์ทโฟนของคนไทยเยอะมาก และด้วยสัดส่วนของการช้อปออนไลน์กับตลาดค้าปลีกไทยยังมีสัดส่วนแค่ 3% ดังนั้นโอกาสเติบโตยังมีอีกเยอะ ดังนั้น นี่เป็นการลดต้นทุนที่ดันให้ผู้บริโภคเข้ามาสู่ออนไลน์

“จังหวะนี้คนจำเป็นต้องอยู่บ้าน เพราะร้านค้าปิด เพราะงั้นตัวเลือกเดียวคือ ออนไลน์ ดังนั้น สถานการณ์ตอนนี้มันจะมาเร่งให้เกิด Disruption ไม่ใช่เทคโนโลยีอย่างที่คนคิด เพราะเทคโนโลยีมีนานแล้ว แต่เป็นพฤติกรรมคนที่เปลี่ยนครั้งใหญ่เพราะโลก ดังนั้นสิ่งที่เกิดคือ คนที่ไม่เคยลองออนไลน์ก็ได้มาลอง”

ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา Co-founder & CEO Priceza

ทำให้คนกลับมาใช้ซ้ำได้ คือ ผู้ชนะ

ตัวเลขที่ไพรซ์ซ่าเก็บจากก่อนที่มีโควิด-19 (ธันวาคม-มกราคม) เทียบกับ มีนาคมที่วิด-19 ระบาดหนักพบว่า สินค้าอุปโภคบริโภค มีการเติบโต 119% รองลงมาที่ สินค้าเอนเตอร์เทนต์เมนต์ (ดูหนังฟังเพลง) ขณะที่สินค้าแฟชั่น ความงามไม่เติบโตอย่างที่เคย ดังนั้นไม่ใช่ออนไลน์ทุกส่วนที่เติบโต แต่ถ้าไม่มาออนไลน์ แปลว่าเป็น ‘ศูนย์’ อย่างตลาด 4 มุมเมืองก็หันมาขายออนไลน์ แม้รายได้อาจไม่เท่าตอนขายออฟไลน์ แต่จากนี้ไปเขาสามารถขายได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์

“สถานการณ์ตอนนี้เป็นตัวเร่ง แต่การเติบโตนี้จะอยู่ยาวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ลูกค้าได้ ถ้าเซอร์วิสมันตอบโจทย์ ลูกค้าก็อยู่ แต่ถ้าไม่ เมื่อออฟไลน์กลับมาก็อาจจะกลับไปใช้เหมือนเดิม เช่นเดียวกับออนไลน์เดลิเวอร์รี่ ดังนั้นขึ้นอยู่กับเราว่าจะทำให้เขาได้รับประสบการณ์ที่ดีไหม โดยคีย์เดียวที่ต้องมีคือ Trust หรือความไว้ใจ”

เลอทัด ศุภดิลก Head of E-Commerce LINE ประเทศไทย

เริ่มต้นตอนนี้ ถือเป็นโอกาสทอง

ทุกแพลตฟอร์มตอนนี้พร้อมใจให้ร้านค้าใหม่ ๆ ขึ้นมาขายออนไลน์ อย่าง NocNoc.com มีการลดคอมมิชชั่น และเปลี่ยนจากการเทรนด์ผู้ขายออฟไลน์มาเป็นออนไลน์ หรือ ไพรซ์ซ่าก็มีการให้ความรู้ฟรีผ่านออนไลน์จากกูรูในวงการหลายคน ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นทำออนไลน์, ความแตกต่างแต่ละแพลตฟอร์ม ซึ่งร้านเองอาจจะต้องศึกษาและหยิบเครื่องมือสักอย่างขึ้นมาใช้

ปัจจุบัน คนลุกขึ้นมาขายของออนไลน์จำนวนมาก หรือร้านไหนที่ขายแต่ออฟไลน์มาตลอด อยากให้ใช้จังหวะนี้ลองทำออนไลน์ และไม่จำเป็นต้องขายของอย่างเดียว ใครที่มีความสามารถอื่น ๆ ก็อาจจะทำอะไรที่เหมาะกับความสามารถ อาทิ เขียนรีวิว, เขียนบทความ นี่เป็นแนวทางหนึ่งในการหารายได้ที่อยู่ที่บ้าน หรือง่ายที่สุดก็คือ ไลฟ์ขายของในแพลตฟอร์มต่าง ๆ

“แม้ไม่ง่ายแต่ทำได้ เราต้องทดลองและเรียนรู้ ตอนนี้ไม่มีอะไรจะเสีย แค่มีมือถือก็เริ่มต้นได้แล้ว แค่ถ่ายรูป เขียนรายละเอียด และเอาขึ้นแพลตฟอร์มไหนก็ได้ ซึ่งต้นทุนของการลงไม่ได้สูงเลย และไม่ได้ยากอย่างที่คิด นี่เป็นโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพราะเรามีเวลามากว่าเดิม”

ลลักษณ์ มหาสุวีระชัย Co-founder & CEO NocNoc

Gift First กลยุทธ์ที่เหมาะกับวิกฤติ

การขายสินค้าออนไลน์ก็เหมือนการที่เราไปช่วยเเก้ปัญหาให้กับลูกค้า ดังนั้นต้องหาให้ได้ก่อนว่าเขามีปัญหาอะไร เเละสินค้าของเราจะเข้าไปช่วยเเก้ปัญหาให้กับเขาได้อย่างไร ดังนั้น ก่อนที่จะตั้งโจทย์ว่าจะขายอะไร ให้ตั้งเป็น สินค้าจะช่วยอะไร อย่างตอนนี้คนต้องใส่แมส เราจะเก็บแมสอย่างไร บางคนเลยเริ่มผลิตกล่องแก็บแมส ดังนั้น แทนที่จะบอกว่าเราขายอะไร ให้แนะนำว่า สินค้าช่วยปัญหาอย่างไร 

ขณะที่ เสน่ห์ของโซเชียลคอมเมิร์ซคือ คนต้องการซื้อของกับร้านค้าที่เคยคุยด้วย ดังนั้นอาจจะเริ่มจากแชร์ให้เพื่อน เพื่อเป็นฐานลูกค้ากลุ่มแรก โปรโมทให้ลูกค้าเก่ารู้ว่าร้านกลับมาเปิดในรูปแบบออนไลน์แล้ว อันนี้จะช่วยเยียวยา เมื่อผ่านวิกฤติเขาจะมีช่องทางเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้ธุรกิจออนไลน์จะโตขึ้น แต่หากสถานการณ์ในระยะยาวยังเป็นแบบนี้ ผู้บริโภคก็จะไม่มีกำลังซื้อ วันหนึ่งก็ต้องมากระทบกับธุรกิจออนไลน์ เพราะไม่ว่าจะช่องทางไหนก็ไม่มีเงิน

#line #NocNoc #Priceza  #E-Commerce #OnDemandDelivery #Derivery #Covid19 #online #offline #Positioningmag

]]>
1271976
สื่อเก่าสื่อใหม่ทะลัก ระวังหลงทางทุ่มเงินโฆษณา 3 กูรูตลาด ประสานเสียง หมดยุคแบ่ง Off-line Online On ground แล้ว https://positioningmag.com/1159773 Fri, 02 Mar 2018 11:15:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1159773 เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ภูมิทัศน์สื่อต้องปรับตัวตาม ทำให้ปัจจุบันมี “สื่อ” หรือ Media หลากหลายช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ทั้ง Off-line หรือทีวี, Online สารพัดแพลตฟอร์ม และยังต้องมี On ground สร้างกิจกรรมมาช่วยสร้างการรับรู้ การวางแผนซื้อสื่อ จะเทงบไปทางไหน ถึงจะได้ “ผลลัพธ์” คุ้มค่ากับ “การลงทุน”

จึงเป็นที่มาของงานเสวนาของ “สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย” หัวข้อ Future of O to O to O (Off-line to Online to On ground)” ถอดรหัส 3 กูรูแวดวงสื่อและการตลาดแนะเทเงินโฆษณาสื่อไหนให้ได้ใจผู้บริโภค

++ คอนเทนต์ทีวี ต้องตรึงคนดูให้อยู่หมัดใน 30 นาทีแรก

“สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด (PPTV) ตัวแทนของสื่อOff-line บอกว่า 10 ปีมานี้ การเปลี่ยนแปลงของ สื่อโทรทัศน์” เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ 3-4 ปีมานี้ เทคโนโลยีเข้ามาDisrupt ซัดธุรกิจทีวีหนักกว่าที่เคยเจอ อดีตคนดูตั้งตารอชมรายการโปรดผ่านหน้าจอที่บ้าน แต่วันนี้รายการข้ามโลกไกลแค่ไหน กลับหาดูได้แค่คลิก! จะเป็นรายการวิทยุของลอนดอน ซีรีส์จากนิวยอร์ก สหรัฐฯ บ่งบอกว่าไลฟ์สไตล์คนดูที่เปลี่ยนไป

สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์

แต่การเปลี่ยนที่ชัดมากคือ “ความอดทนของคนดู” น้อยลงมาก ผู้ผลิตตั้งใจทำ “คอนเทนต์ดีแค่ไหน” ถ้า “ตรึงคนดูไม่อยู่ใน 30 นาทีแรก เตรียมตัวรับความหายนะได้เลย”  เพราะผู้บริโภคพร้อมจะกดรีโมตเปลี่ยนช่อง หรือถึงขั้นปิดทีวี ย้ายไปดูแพลตฟอร์มอื่นแทน

เพื่อสะกดคนดูทีวี ยุคนี้วงการจอแก้วยังยกระดับเทคโนโลยีให้ล้ำขึ้น อย่างมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่น คนทั้งโลกจะได้เห็นคอนเทนต์คุณภาพ บนความละเอียดคมชัดแบบ 4K 8K  ถือเป็นประสบการณ์การรับชม (Viewing Experience) ที่หาไม่ได้จากออนไลน์ และออนกราวนด์นั่นเอง

++ ทีวียังผันผวนหนัก เปลี่ยนจาก mass กลายเป็น “นิช”

อนาคต “สุรินทร์” เชื่อว่าทีวียังเป็นสื่อหลักที่ทรงอิทธิพลอยู่ เพราะ “จุดแข็ง” (Core Strength) คือ ความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล เช่น รายการข่าว ทีมงานมีความเป็นมืออาชีพ มีผู้ประกาศ นักข่าวภาคสนาม ทำได้ดีกว่าออนไลน์ที่เน้นความเร็ว

“เราได้ยินบ่อยครั้งจากการโดนหลอกบนโลกออนไลน์ ชี้ให้เห็นเส้นแบ่งของ 2 โลก ออฟไลน์กับออนไลน์ คือความน่าเชื่อถือ (trustworthy)”

 เพียงแต่แนวโน้มธุรกิจทีวี จะมีความผันผวนหนักขึ้นเรื่อยๆ และจะกลายเป็นสื่อ “เฉพาะ” หรือ Niche กว่าเดิม เพราะจะมีคนจำนวนหนึ่งที่ยังดู รวมถึงช่องทีวีที่หลากหลาย ทำให้แต่ละคนได้รับคอนเทนต์ และ Message แตกต่างกัน ไม่ใช่ Mass เหมือนอดีต

2-3 ปีมานี้ สื่อออนไลน์ หรือ New Media มาแรง เบียดแย่งเม็ดเงินโฆษณาจากทีวี (Traditional Media) ไป นักการตลาดควรตระหนัก ทำความเข้าใจสื่อทั้ง 2 ประเภท แล้วผสานใช้สื่อให้มีประสิทธิภาพ อย่ามองออนไลน์เป็นคู่แข่งออฟไลน์ ที่สำคัญในการซื้อสื่อแต่ละช่องทางต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ว่าจะสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) หรือต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (Reach)

“อนาคตเอเยนซี่จะทำงานยากขึ้นเพื่อให้โปรโมตสินค้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย และได้ผล เพราะไม่ว่าเทรนด์ สื่อ และผู้บริโภคไปทางไหน สิ่งที่แบรนด์ เจ้าของสินค้าต้องการมากที่สุดคือเทเงินลงไปแล้วได้ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)”  

++ ผู้บริโภคเอาแต่ใจเหมือนเดิม

แม้ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนมี Off-line Online และ On ground แต่ทั้งหมดไม่ได้แยกจากกัน เพราะอยู่บนโลก หรือ On Earth แบรนด์มีสินค้าและบริการอะไร สามารถป้อน สื่อสารเกาะติดผู้บริโภคทุกคนได้หมด ขึ้นอยู่กับหมวดสินค้า เช่น ถ้าเป็นอาหาร กลยุทธ์ที่ได้ผลเสมอคือแจกสินค้าตัวอย่างเพื่อสร้างประสบการณ์ให้ “ทดลองชิม” เป็นต้น

ตัวอย่างที่ชี้ว่าทุกสื่อแยกกันไม่ขาด คือวันนี้ใครไม่รู้จักป้าที่นำขวานมาทุบรถเพื่อจัดการปัญหากับผู้ที่มาตลาดบ้าง เรื่องราวที่เกิดขึ้นเปรียบเหมือนอีเวนต์ออนกราวนด์ แล้วคนนำมาเล่าต่อบนโลกออนไลน์ เกิด Impact และ Engagement แม้กระทั่งเรื่องของ “ซีอีโออิตาเลียนไทย” เป็นสิ่งที่เกิดบนออนกราวนด์ อออฟไลน์ และสู่ออนไลน์

วิสาส์น สิริจันทานนท์

ขณะที่สื่อเปลี่ยน แต่มีสิ่งที่เหมือนเดิม คือ “ความต้องการผู้บริโภค” เพราะยังเอาแต่ใจตัวเอง ต้องการดูหรือเสพสื่อไหนก็ดู ไม่โดนใจก็เมินหนี ยิ่งมีเทคโนโลยีเข้ามา ทำให้การสับสวิตช์เร็วกว่าเดิมด้วย เมื่อก่อนการทำให้ผู้บริโภครอ 1 นาทีโอดโอยว่านานเหลือเกิน แต่ยุคดิจิทัลรอแค่ 2 วินาทีก็ไม่ไหวแล้ว เป็นโจทย์ยากของนักการตลาดต้องหาสูตรดึงความสนใจคนดูให้เร็วขึ้น  “วิสาส์น สิริจันทานนท์” กรรมการผู้จัดการ Dentsu Agis มองแบบนั้น

++ สูตร ACT เทเงินยิงตรงเป้าหมาย

ปัจจุบันสื่อออนไลน์มีบทบาทต่อผู้บริโภค และนักการตลาดมากขึ้น  แต่การใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาอัดลงทีวี มีให้เห็นต่อเนื่อง โดยเฉพาะ “ขายตรงผ่านจอแก้ว” เยอะมาก จากเดิมแทบไม่มีให้เห็น ถือเป็นโอกาสดึงเงินเข้าสู่ Off-line ได้

แต่ถ้าอยากเทงบโฆษณาลงแต่ละสื่อให้ปัง “วิสาส์น” แนะสูตร ACT ดังนี้

• A Audience 

ยึดคนดู ผู้บริโภคเป็นหลัก ว่าต้องการอะไร ซื้อสินค้าและบริการอะไร ซื้อทีไหน เวลาใด เพื่อยิงโฆษณาขายสินค้าได้ตรงเป้าหมาย

• C Collaborate 

จะใช้สื่อเก่าหรือสื่อใหม่ สื่อไหนก็ตาม นักการตลาดควรผสานพลังทุกสื่อ เพื่อให้เกิดการ “วัดผล” ที่ถูกต้อง เป็นธรรม สร้างผลตอบแทนให้กับเงินลงทุนของลูกค้ามากขึ้น ปัจจุบันทีวีมีเรตติ้งวัดผลก่อนลูกค้าซื้อโฆษณา ส่วนออนไลน์วัด Reach ได้ แต่พอ2 สื่อผสานกัน การวัดผลกลับไม่ชัดเจนทั้งที่อยู่บนอุตสาหกรรมเดียวกัน

• T Test 

ต้องทดลองใช้สื่อใหม่ต่างๆ แล้วเรียนรู้ เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อไม่ให้แบรนด์ต้องย่ำอยู่กับที่

ผมไม่ทิ้งทีวี ไม่ทิ้งดิจิทัล ไม่ทิ้งสื่อโฆษณานอกบ้าน แต่จะมิกซ์การใช้สื่อโฆษณายังไง อย่าหาสูตรสำเร็จ เพราะโลกหมุนเร็ว สูตรสำเร็จ มีใช้สำหรับเมื่อวาน เมื่อวานซืนแล้ว ไม่ใช่สำหรับอนาคต 

 

++ ยุค No line ผู้บริโภคต้องมาก่อน

ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง

นักการตลาดอาจแยกสื่อ เป็น Off-line Online และ On Ground แต่ “ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง” เทรนเนอร์และที่ปรึกษาด้านการตลาด มองว่าทุกคนกำลังเข้าสู่ยุค No line ไม่มีเส้นแบ่งสื่ออีกต่อไป เพราะป้ายโฆษณานอกบ้าน (Out of Home) ถ้าสามารถสื่อโต้ตอบกับผู้บริโภคได้ ก็ถือเป็นสื่อดิจิทัล

แล้วถ้ายังแยกโฆษณาว่า ออนไลน์ โมบาย ต้องมาที่หนึ่ง คือเพ้อ (Jargon) ยุคนี้ไม่มีสื่อไหนที่ Mass เพราะทุกสื่อกำลังเป็น Nicheตัวอย่างคนไทยใช้เฟซบุ๊ก 49 ล้านคน Feed เรื่องราวข่าวสารที่ได้รับแต่ละคนแตกต่างกัน  ไม่ใช่ข้อความเดียวเห็นทั้ง 49 ล้าน ส่วนคนดูทีวี ก็ไม่แมส เพราะมีคนจำนวนมากที่เลิกดูทีวีแล้ว

ดังนั้น การวางแผนทำตลาดและซื้อสื่อยากขึ้นเรื่อยๆ เทเงินลงสื่อเดียวไม่จบ ไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย จึงต้องปูพรม 360องศา (IMC Marketing) เลือกสื่อที่สำคัญ จับกลุ่มเป้าหมายก่อน

“คนวางแผนซื้อสื่อโฆษณา ต้องเริ่มคิดถึง ผู้บริโภคต้องมาก่อน ศึกษาเส้นทางชีวิตของลูกค้า (Customer Journey) หาให้เจอว่าอะไรที่ Impact ให้เขาซื้อสินค้า ไม่ใช่เริ่มจากจะนำเงินไปลงสื่อไหนก่อน เพราะบางครั้งลูกค้าซื้อสินค้าอาจไม่ได้มาจากการเห็นโฆษณาเลยก็ได้”

]]>
1159773