Plastics – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 28 Feb 2014 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เอสซีจี เคมิคอลส์ พัฒนา “สูตรไบโอพลาสติกคอมพาวนด์ย่อยสลายได้ 100% เพื่องานเคลือบบรรจุภัณฑ์” รับรองโดยสถาบันระดับสากล DIN CERTCO เป็นรายแรกของไทย https://positioningmag.com/57638 Fri, 28 Feb 2014 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=57638
เอสซีจี เคมิคอลส์ เห็นถึงความสำคัญของพลาสติกที่นำมาเคลือบกระดาษ ซึ่งควรย่อยสลายได้โดยสมบูรณ์ เช่นเดียวกับกระดาษ เพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง จึงได้พัฒนา “สูตรไบโอพลาสติกคอมพาวนด์สำหรับเคลือบกระดาษ” ที่สามารถย่อยสลายได้ 100% ภายใน 180 วัน โดยได้การรับรองจากสถาบันระดับสากล DIN CERTCO ประเทศเยอรมนี เป็นรายแรกของไทย นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยรักษาธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
 
เอสซีจี เคมิคอลส์ มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน ล่าสุดคิดค้นนวัตกรรมเพื่อโลกสีเขียว ”สูตรไบโอพลาสติกคอมพาวนด์สำหรับเคลือบกระดาษ” เพื่อให้พลาสติกเคลือบสามารถย่อยสลายได้เช่นเดียวกับกระดาษ ไม่เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม โดยสูตรนี้จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการใช้งานของบรรจุภัณฑ์กระดาษในการป้องกันการรั่วซึมของเครื่องดื่ม และยังสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100% โดยจะแปรสภาพเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และสารชีวมวล ภายใน 180 วันภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ในเชิงนิเวศน์ได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคในเชิงพาณิชย์ และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Product) 
 
ไบโอพลาสติกนี้ผลิตจากวัตถุดิบที่สามารถผลิตทดแทนขึ้นใหม่ได้ในธรรมชาติ (Renewable Source) เช่น อ้อย มันสำปะหลัง โปรตีนจากถั่วและข้าวโพด นำมาผ่านกระบวนการคอมพาวนด์ให้มีคุณสมบัติเหมาะสำหรับเคลือบกระดาษ โดยคงความสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100% (Compostable Plastics Coated Paper) มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ถึง 100 องศาเซลเซียส และปลอดภัยสำหรับการบรรจุอาหารด้วยมาตรฐานจากยุโรป (EU10/2011)  ซึ่งช่วยสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์เคลือบพลาสติกที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษแก่สิ่งแวดล้อม เช่น แก้วเคลือบไบโอพลาสติกคอมพาวนด์ย่อยสลายได้สำหรับเครื่องดื่มร้อนและเย็น 
 
นวัตกรรมการคิดค้นสูตรคอมพาวนด์พลาสติกชีวภาพสำหรับเคลือบกระดาษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของเอสซีจี เคมิคอลส์ ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ย่อยสลายทางชีวภาพเป็นรายแรกของประเทศไทย จากองค์กรอิสระที่มีชื่อเสียงระดับสากล DIN CERTCO สถาบันควบคุมมาตรฐานแห่งประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นองค์กรรับรองมาตรฐานของกลุ่ม TÜV Rheinland และ DIN ที่ยืนยันถึงความปลอดภัยของเทคโนโลยีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
 
นายยุทธนา เจียมตระการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี เพอร์ฟอร์มานซ์ เคมิคอลส์ จำกัด กล่าวว่า “ความต้องการเม็ดพลาสติกย่อยสลายทางชีวภาพในตลาดโลกยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องตามกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสนใจสินค้าที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น และคาดว่าเม็ดพลาสติกย่อยสลายทางชีวภาพจะเข้ามาสู่เชิงพาณิชย์มากขึ้น จึงนับเป็นโอกาสดีของเอสซีจี 
เคมิคอลส์ ที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์มาเพื่อรองรับเรื่องการใช้งานและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน”
 
“ผลิตภัณฑ์จากกระดาษที่เคลือบด้วยไบโอพลาสติกคอมพาวนด์ย่อยสลายได้นี้จะคงคุณสมบัติการใช้งานและความสวยงามได้เทียบเท่ากับการเคลือบด้วยพลาสติกทั่วไป แต่ดีกว่าตรงที่พลาสติกย่อยสลายทางชีวภาพจะไม่ทำให้เกิดปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม จึงนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการใช้แก้วกระดาษ ที่จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต” นายยุทธนากล่าวเสริม

]]>
57638
เอสซีจี เคมิคอลส์ ชูครีเอทีฟและดีไซน์ เสริมกลยุทธ์ HVA https://positioningmag.com/55826 Mon, 05 Nov 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=55826

เอสซีจี เคมิคอลส์ เดินหน้าสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง ผลักดันแนวคิด Creative Plastic พร้อมนำการสร้างสรรค์และดีไซน์สู่อุตสาหกรรมพลาสติกอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภคทั้งด้านการใช้งานและรูปลักษณ์ที่สวยงาม  ส่งทีม Design Catalyst ให้คำปรึกษาด้านการออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบครบวงจรรายแรกในอาเซียน ตอกย้ำผู้นำด้านนวัตกรรมสินค้าและบริการอย่างเต็มรูปแบบ  ล่าสุดเปิดตัวหนังสือ “Plastic 24 Hours” เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจด้านวัสดุพลาสติก พร้อมแนวคิดด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์จากนักออกแบบชั้นนำของไทย 

ชลณัฐ  ญาณารณพ  กรรมการผู้จัดการใหญ่  เอสซีจี เคมิคอลส์  เปิดเผยว่า “เอสซีจี เคมิคอลส์ เชื่อมั่นว่า พลาสติกคือวัสดุแห่งจินตนาการ จึงได้พัฒนาแนวทางที่จะนำครีเอทีฟและดีไซน์มาขับเคลื่อนสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม หรือ High Value Added product and service (HVA) โดยได้จัดตั้งทีม Design Catalyst ทีมงานให้คำปรึกษาด้านการออกแบบและสร้างสรรค์งานเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พลาสติกมาช่วยเสริมการให้บริการ เพื่อผลักดันการนำจินตนาการมาสร้างสรรค์เป็นผลงานที่มีคุณค่า  ถือเป็นครั้งแรกในอาเซียนที่ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ได้นำร่องอุตสาหกรรมพลาสติกสู่ความเป็น Creative Plastic  ซึ่งเชื่อมั่นว่าการนำแนวคิด Creative Plastic เข้าสู่อุตสาหกรรมพลาสติกในครั้งนี้จะเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญที่ช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมปลายน้ำให้เติบโต และสร้างความแตกต่างเพื่อการแข่งขันในตลาดโลกอย่างยั่งยืนต่อไป”

“เอสซีจี เคมิคอลส์ นอกจากจะมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ แล้วยังคำนึงถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบอื่นๆ และพร้อมที่จะต่อยอดแนวคิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไปสู่ผู้ประกอบการและเจ้าของผลิตภัณฑ์  ทั้งนี้ การนำแนวคิดที่เน้นการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้สามารถนำไปสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์จะช่วยเอื้อประโยชน์สูงสุดให้กับผู้ประกอบการและเจ้าของผลิตภัณฑ์  ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคยังจะได้รับทั้งความสะดวกสบายจากผลิตภัณฑ์พลาสติกควบคู่ไปกับสุนทรียภาพจากการใช้งานอีกด้วย ” นายชลณัฐกล่าวเพิ่มเติม

ทีมงาน Design Catalyst by SCG Chemicals นอกจากจะให้คำแนะนำด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติกและการเลือกใช้วัสดุที่ตอบโจทย์ในด้านการใช้งานแล้ว ยังช่วยกระตุ้นและจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้กับอุตสาหกรรมพลาสติก และพัฒนาต่อยอดศักยภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์พลาสติกให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ด้วยการให้บริการแบบครบวงจรตั้งแต่เสนอแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ การเลือกใช้วัสดุ การออกแบบแม่พิมพ์ กระบวนการขึ้นรูป และกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก 

นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และทราบถึงประโยชน์ของวัสดุพลาสติกในฐานะที่เป็นวัสดุแห่งจินตนาการ ซึ่งมีความหลากหลายทั้งในเชิงโครงสร้าง รูปลักษณ์ และผิวสัมผัส  รวมไปถึงการสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดและบทบาทของพลาสติกในชีวิตประจำวัน และพลาสติกต่อวงการออกแบบผลิตภัณฑ์   Design Catalyst by SCG Chemicals จึงได้จัดทำหนังสือ “Plastic 24 Hours” ขึ้น โดยได้รวบรวมองค์ความรู้ด้านวัสดุพลาสติก พร้อมกับแนวคิดด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์จากนักออกแบบชั้นนำของประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อจุดประกายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมและนักออกแบบเกิดความเข้าใจและความสนใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์จากพลาสติก รวมถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากพลาสติกอย่างคุ้มค่า และเหมาะสมกับชีวิตประจำวันในปัจจุบัน

“สำหรับการผลักดันสินค้า HVA ทางเอสซีจี เคมิคอลส์ ยังคงเดินหน้าอย่างเต็มที่ ซึ่งในปี 2012 เอสซีจี เคมิคอลส์ ได้ทุ่มงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) กว่า 850 ล้านบาท เพื่อให้ได้สินค้า HVA สำหรับตอบสนองตลาดอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งภายในปี 2012 นี้ เอสซีจี เคมิคอลส์ จะมีสัดส่วนยอดขายสินค้า HVA คิดเป็นร้อยละ 47 ของยอดขายรวมและมีเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนยอดขายสินค้า HVA เป็นร้อยละ 55 ของยอดขายรวมภายในปี 2015” นายชลณัฐ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับองค์กรหรือหน่วยงานที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอคำแนะนำเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์จากพลาสติก สามารถติดต่อได้ที่ หน่วยงาน Design Catalyst by SCG Chemicals โทร. 02- 586-2317 หรือ www.design-catalyst.com และ www.facebook.com/designcatalyst

 

]]>
55826
รุกตลาดคอนซูเมอร์ https://positioningmag.com/55138 Tue, 07 Feb 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=55138

“เสรี จุลศักดิ์ศรีสกุล” (คนที่ 2 จากขวา) ประธานกรรมการ และ“ทวี จุลศักดิ์ศรีสกุล” (คนที่ 3 จากขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีแพค อินเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ DPAC พร้อมด้วย “อัศวิน เตชะเจริญวิกุล” (คนที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC เซ็นสัญญาทางการค้า เพื่อขยายช่องทางจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกภายใต้แบรนด์ “ฮีโร่” และแบรนด์ “ดี” ผ่านทางสาขา BJC ไปยังตลาดคอนซูเมอร์อย่างตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยปีแรกตั้งเป้ายอดขายกว่า 500 ล้านบาท

]]>
55138
ดีแพค บุกแจกโชค https://positioningmag.com/54897 Thu, 06 Oct 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=54897

นายทวี จุลศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ (3จากขวา) บริษัท ดีแพค อินเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้จัดจำหน่ายถุงพลาสติก และถุงขยะตราดี บุกตลาดไท จังหวัดปทุมธานี แจกรางวัลใหญ่ครั้งที่ 1 มอเตอร์ไซค์ ฮอนด้า สคูปปี้ไอ 1 รางวัล และรางวัลจี้ทองคำ 1 สลึง 3 รางวัล ให้แก่ผู้โชคดีกับแคมเปญ “ลุ้นโชคทั่วไทย กับถุงตราดี” มูลค่าของรางวัลรวมกว่า 2 ล้านบาท คิวต่อไปทีมงานดีแพคจะตะลุยแจกโชคทั่วไทยอีก 22 รางวัล ให้แก่ผู้โชคดีถึงที่ก่อนจับรางวัลครั้งที่ 2 ในวันที่ 31 ตุลาคม 2554 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 038-458-3333

]]>
54897
ขวดคอสั้น เทรนด์ฮิต ประหยัดต้นทุน https://positioningmag.com/14100 Tue, 13 Sep 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14100

นับตั้งแต่ บิ๊ก โคล่า ร่วมกับบริษัท ศรีไทย ผู้ผลิตขวดและพลาสติครายใหญ่ของประเทศไทย คิดค้นนวัตกรรมขวดคอสั้น (Short Neck) ขึ้นมา เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ด้วยต้นทุนเมล็ดพลาสติกที่นำมา Mole เป็นขวด PET ที่ใช้กันอยุ่ทั่วไปนั้น ต้นทุนที่ฝาขวดสูงกว่าต้นทุนที่ใช้ผลิตตัวขวดถึง 2 เท่า

ดังนั้น ความพยายามที่จะทำให้ฝาขวดสั้นลง จึงเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ต้นทุนการผลิตโดยรวมทั้งหมดลดลงด้วย ดังนั้น บิ๊ก โคล่ากับศรีไทย จึงทำให้เกลียวที่ปากขวดแน่นขึ้น ใช้พื้นที่ช่วงคอขวดให้สั้นลง เพื่อทำให้ฝาขวดลดลง และหลังจากนั้น

น้ำดื่มเนสท์เล่ก็เป็นแพ็กเกจจิ้งใหม่ที่ลดพื้นที่คอขวดให้สั้นลง นี่จึงเป็นเทรนด์ใหม่ของแพ็กเกจจิ้งสินค้าประเภทเครื่องดื่ม ที่ช่วยลดต้นทุนการผลิต ส่วนผู้บริโภคอาจรู้สึกแปลกตาอยู่บ้าง หรือว่าจับไม่ถนัดมือเวลาเปิด-ปิด แต่เชื่ออีกไม่นานเจ้าของแบรนด์รายอื่นๆ ก็คงหันมาใช้ชวด PET ลักษณะนี้ให้เห็นตามตู่แช่กันมากขึ้น

]]>
14100
ดีแพคสร้างเครือข่ายดีลเลอร์ เร่งกระจายสินค้าแบรนด์ HERO และ D https://positioningmag.com/53348 Tue, 12 Oct 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=53348

บริษัท ดีแพค อินเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้จัดจำหน่ายสินค้าบรรจุภัณฑ์พลาสติกรายใหญ่ของประเทศ โดยนายเสรี จุลศักดิ์ศรีสกุล ประธานบริษัท และนายทวี จุลศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ (กลาง) เดินหน้าขยายเครือข่ายตัวแทนจำหน่าย ประกาศแต่งตั้ง 65 ดีลเลอร์ เร่งปูพรมกระจายสินค้าถุงพลาสติกของบริษัทฯ ทั้งแบรนด์ HERO และ D ครอบคลุมทุกจังหวัดก่อนสิ้นปี โดยพิธีแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายของบริษัทฯ จัดขึ้นที่ห้องเรสซิเดนท์ เลาจน์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ สุขุมวิท 24 เมื่อเร็วๆ นี้

]]>
53348
เขตการค้าเสรีอาเซียน…ผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันของเม็ดพลาสติกไทย https://positioningmag.com/50489 Thu, 07 Jan 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=50489

เม็ดพลาสติกเป็นสินค้าส่งออกสำคัญชนิดหนึ่งของไทยที่มีมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดโลกขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10.2 ต่อปี โดยอาเซียนถือเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 13.0 ต่อปี หรือมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 21.7 ของมูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกทั้งหมดของไทย ซึ่งรองจากตลาดจีนและฮ่องกง ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้คาดว่าหลังการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรสินค้าเม็ดพลาสติกภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป จะทำให้การแข่งขันของสินค้าเม็ดพลาสติกในตลาดอาเซียนมีความรุนแรงมากขึ้น โดยในเบื้องต้นคาดว่ามูลค่าและปริมาณการนำเข้าเม็ดพลาสติกของไทยจากตลาดอาเซียนโดยเฉพาะจากสิงคโปร์จะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กลับมองว่าการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรดังกล่าวก็น่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้การส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยไปยังตลาดอาเซียนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ อาทิ เวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นต้น ขณะที่ในระยะยาวนั้นยังอาจส่งผลต่อการตัดสินใจเพื่อขยายการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

ศักยภาพการผลิตและความต้องการใช้เม็ดพลาสติกภายในประเทศของไทย
การพัฒนาในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยในปัจจุบันอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและพร้อมดำเนินการผลิตได้ในปี 2553 โดยคาดว่ากำลังการผลิตเม็ดพลาสติกซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลายของไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.2 ล้านตันต่อปี จากที่ในปี 2550 มีกำลังการผลิตประมาณ 4.8 ล้านตันต่อปี ทั้งนี้ สามารถแบ่งชนิดของเม็ดพลาสติกหลักที่ไทยมีกำลังการผลิตและความต้องการในประเทศเป็นจำนวนมากออกเป็นดังนี้

โพลิเอทิลีน (PE) เป็นเม็ดพลาสติกที่ใช้แพร่หลายที่สุดในการทำบรรจุภัณฑ์ ซึ่งไทยมีกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกชนิดนี้มากที่สุด โดยเม็ดพลาสติก PE ที่ผลิตได้แบ่งเป็น LDPE, LLDPE, HDPE, MDPE

โพลิโพรพิลีน (PP) ใช้ทำบรรจุภัณฑ์พลาสติกและเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเม็ดพลาสติก PP-Copolymer ผลิตได้เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศและเหลือส่งออก

โพลิสไตรีน (PS) ใช้ทำภาชนะพลาสติกและเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเม็ดพลาสติกชนิดนี้แบ่งเป็น GPPS และ HIPS ผลผลิตที่ได้ยังไม่เพียงพอที่จะใช้ภายในประเทศ

โพลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ใช้ในงานก่อสร้าง มีผลผลิตมากเป็นอันดับ 2 รองจากโพลิเอทิลีน ผลิตเพื่อสนองความต้องการใช้ภายในประเทศและมีเหลือเพื่อการส่งออก

ABS/ SAN, AS ใช้ผลิตเม็ดพลาสติกที่ทนต่อแรงกระแทก ความต้องการในประเทศมีสูง มีนำเข้าบางส่วน

เม็ดพลาสติกเกรดวิศวกรรม (Engineering Plastics) มีผลิตในประเทศแต่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศบางส่วน ปัจจุบันมีผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเนื่องจากมีความต้องการมากขึ้นตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

เม็ดพลาสติกอื่นๆ
ทั้งนี้ การขยายกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกตามโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 คาดว่าจะทำให้กำลังการผลิตเม็ดพลาสติกภายในประเทศของไทยในปี 2553 มีมากเกินกว่าความต้องการในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 4 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกทั้งหมด จากที่ในช่วงที่ผ่านมากำลังการผลิตเม็ดพลาสติกของไทยมีมากเกินกว่าความต้องการในประเทศประมาณ 1.8 ล้านตัน ซึ่งสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะปริมาณความต้องการเม็ดพลาสติกหลักภายในประเทศของไทยในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวค่อนข้างคงที่ ที่ประมาณ 3 ล้านตันต่อปี ซึ่งต่ำกว่าการขยายตัวของกำลังการผลิต จึงทำให้มีเม็ดพลาสติกเหลือสำหรับการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การผลิตเม็ดพลาสติกของไทยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับร้อยละ 85-90 มาโดยตลอด โดยความต้องการใช้เม็ดพลาสติกภายในประเทศปี 2550 อยู่ที่ 4.7 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2.6 แสนล้านบาท จำแนกเป็นเม็ดพลาสติกชนิดโพลิโพรพิลีน (PP) ร้อยละ 21 โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) ร้อยละ 12 โพลิ ไวนิลคลอไรด์ (PVC) ร้อยละ 10 โดยอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่มีความต้องการใช้สูงสุด คือ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีความต้องการใช้เม็ดพลาสติกสูงถึง 2.2 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของปริมาณการใช้เม็ดพลาสติกทั้งหมดในประเทศ รองลงมาคือ กลุ่มสิ่งทอซึ่งมีความต้องการใช้ประมาณ 0.85 ล้านตัน หรือร้อยละ 18 ของความต้องการใช้ภายในประเทศ ตามด้วยกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความต้องการใช้ประมาณ 0.32 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของความต้องการใช้เม็ดพลาสติกทั้งหมดของไทย

การค้าเม็ดพลาสติกของไทยในตลาดโลก
จากการขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เม็ดพลาสติกของไทยมีมากเกินกว่าความต้องการภายในประเทศ ผู้ประกอบการจึงส่งออกมากขึ้น โดยตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา ไทยมีการส่งออกเม็ดพลาสติกในแต่ละปีมากกว่า 3 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตเม็ดพลาสติกทั้งหมด ทั้งนี้ เม็ดพลาสติกที่ไทยส่งออกมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) โพลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) โพลิคาร์บอเนต (PC) โพลิเอสเตอร์/ พีอีที (Polyester/ PET) โพลิโพรพิลีน (PP) โดยมีตลาดส่งออกหลักคือ จีน (รวมฮ่องกง) และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย อาทิ เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

ในปี 2551 ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกเม็ดพลาสติกเป็นลำดับที่ 14 ของโลก และนำเข้าเม็ดพลาสติกจากโลกเป็นลำดับที่ 19 ของโลก โดยไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสุทธิในสินค้าเม็ดพลาสติกซึ่งเกินดุลการค้าเป็นมูลค่า 2,243.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยการส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยในปี 2551 มีมูลค่ารวม 5,519.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 5.9 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ โพลิอะซิทัลและโพลิเอทิลีน รองลงมาคือ โพลิสไตรีน โพลิโพรพิลีน และโพลิไวนิลคลอไรด์ เป็นต้น ขณะที่การนำเข้าเม็ดพลาสติกของไทยในปี 2551 มีมูลค่ารวม 3,276.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 24.3 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเม็ดพลาสติกเกรดวิศวกรรมที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยในปัจจุบัน ใช้เม็ดพลาสติกที่ผลิตได้ในประเทศคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ของผลผลิตทั้งหมด และอีกร้อยละ 30 ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยแหล่งนำเข้าเม็ดพลาสติกที่สำคัญของไทย คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย และสหรัฐฯ ซึ่งโพลิอะซิทัลเป็นเม็ดพลาสติกสำคัญที่ไทยมีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด รองลงมาคือ โพลิเอทิลีน โพลิโพรพิลีน และโพลิสไตรีน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับการค้าเม็ดพลาสติกของไทยในระยะ 11 เดือนแรกของปี 2552 ไทยยังเป็นประเทศผู้ส่งออกสุทธิในสินค้าเม็ดพลาสติก โดยมีมูลค่าลดลงจาก 2,152.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในระยะ 11 เดือนแรกของปี 2551 เหลือ 1,858.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 13.7 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างชัดเจน จึงทำให้ความต้องการเม็ดพลาสติกทั้งในประเทศและต่างประเทศหดตัวลง โดยการส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยในระยะ 11 เดือนแรกของปี 2552 มีมูลค่ารวม 4,041.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ 22.8 เป็นการส่งออกสินค้าเม็ดพลาสติกชนิด โพลิอะซิทัลมากที่สุดร้อยละ 34.8 ของมูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกทั้งหมด รองลงมาคือ โพลิเอทิลีนร้อยละ 25.7 โพลิสไตรีนร้อยละ 10.0 โพลิโพรพิลีนร้อยละ 8.5 และโพลิไวนิลคลอไรด์ร้อยละ 8.1 ขณะที่การนำเข้าเม็ดพลาสติกของไทยในระยะ 11 เดือนแรกของปี 2552 มีมูลค่ารวม 2,183.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ 29.2 โดยนำเข้าสินค้าเม็ดพลาสติกชนิดโพลิอะซิทัลมากที่สุดร้อยละ 22.8 ของมูลค่าการนำเข้าเม็ดพลาสติกทั้งหมด รองลงมาคือ โพลิเอทิลีนร้อยละ 16.7 โพลิ โพรพิลีน ร้อยละ 12.3 และโพลิสไตรีนร้อยละ 11.2 เป็นต้น

ทั้งนี้ นอกจากปัญหาเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่มีผลทำให้ความต้องการเม็ดพลาสติกทั้งในประแทศและต่างประเทศหดตัวลงแล้ว ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดต่ำลงในช่วงต้นปี 2552 ก็ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มูลค่าการส่งออกและนำเข้าเม็ดพลาสติกของไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2552 หดตัวลงมาก ทั้งๆ ที่ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2552 ปริมาณการส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ขณะที่ปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 12.2 อย่างไรก็ตาม ในปี 2553 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะมีแนวโน้มปรับตัวไปในทิศทางที่สูงขึ้น โดยระดับราคาน่าจะผันผวนอยู่ในช่วงประมาณ 70-85 เหรียญสหรัฐฯ/ บาร์เรล ทำให้ราคาเม็ดพลาสติกในปี 2553 ก็น่าจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน โดยระดับราคาเฉลี่ยคาดว่าจะสูงกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐฯ/ ตัน

อย่างไรก็ตาม สำหรับการส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยในปี 2552 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยไปยังตลาดโลกทั้งหมดน่าจะขยายตัวลดลงประมาณร้อยละ 21-22 โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยจะมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ขณะที่ในปี 2553 ปริมาณความต้องการเม็ดพลาสติกในตลาดโลกที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น และราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าจะผันผวนอยู่ในระดับสูง จะเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่ทำให้มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยในตลาดโลก ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ประมาณร้อยละ 5-6

การค้าเม็ดพลาสติกของไทยในตลาดอาเซียน
ในปี 2551 การค้าเม็ดพลาสติกในกลุ่มประเทศอาเซียนมีมูลค่าสูงถึง 5,412.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกมากที่สุด 2,805.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีดุลการค้าเกินดุลเป็นมูลค่า 2,457.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือไทย มีมูลค่าการส่งออกรวม 1,237.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเกินดุลเป็นมูลค่า 517 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยในตลาดอาเซียน ขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 13.0 ต่อปี โดยเม็ดพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนเป็นเม็ดพลาสติกที่ไทยสามารถส่งออกไปในตลาดอาเซียนได้มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 26.4 รองลงมาคือ โพลิอะซิทัล ร้อยละ 21.7 โพลิโพรพิลีน ร้อยละ 18.8 และโพลิสไตรีน ร้อยละ 15.6

สำหรับการค้าเม็ดพลาสติกในตลาดอาเซียนนั้น ไทยจัดได้ว่าเป็นผู้ส่งออกสุทธิที่มีดุลการค้าเกินดุลในเกือบทุกประเทศยกเว้นเพียงสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกสินค้าเม็ดพลาสติกรายใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลก โดยในปี 2551 ไทยต้องนำเข้าเม็ดพลาสติกจากสิงคโปร์คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 456.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยไปยังสิงคโปร์มีเพียง 103.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ สิงคโปร์จึงถือเป็นคู่แข่งขันสำคัญของไทยในสินค้าเม็ดพลาสติกทั้งในตลาดโลกและตลาดอาเซียน ซึ่งคาดว่าภายหลังจากการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน การแข่งขันในสินค้าเม็ดพลาสติกของไทยและสิงคโปร์ในตลาดอาเซียนน่าจะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นอกจากสิงคโปร์ที่เป็นคู่แข่งขันสำคัญของไทยอยู่ในปัจจุบันแล้ว มาเลเซียก็ยังเป็นอีกประเทศหนึ่งที่นับว่ามีการขยายตัวในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2551 มาเลเซียมีมูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกในตลาดอาเซียนมากถึง 993.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นอันดับสามรองจากสิงคโปร์และไทย ทำให้คาดว่าในอนาคตมาเลเซียจะเป็นคู่แข่งขันสำคัญอีกประเทศหนึ่งของไทย

ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2552 ไทยมีมูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกไปยังตลาดอาเซียนเป็นมูลค่า 883.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ 25.2 เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจถดถอยที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างชัดเจน จึงทำให้ปริมาณความต้องการเม็ดพลาสติกในตลาดอาเซียนหดตัวลง นอกจากนี้ราคาเม็ดพลาสติกในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงมากในช่วงต้นปี 2552 ก็ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยในตลาดอาเซียนหดตัวลงมาก โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ในปี 2552 มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยในตลาดอาเซียนน่าจะหดตัวลงจากปี 2551 ประมาณร้อยละ 24-25

ผลกระทบจากการเปิดเสรีอาเซียนต่อการค้าเม็ดพลาสติกของไทย
ตามกำหนดการการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่มีข้อตกลงให้ประเทศสมาชิกทยอยลดอัตราการจัดเก็บภาษีศุลกากรของสินค้านำเข้าภายในกลุ่มประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ให้เหลือร้อยละ 0-5 ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา รวมถึงการลดและขจัดมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี เพื่อเป็นการวางรากฐานสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยกำหนดให้สมาชิกเดิม 6 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และไทย ต้องทยอยลดการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าระหว่างกันทุกรายการเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ส่วนประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกในภายหลัง คือ เวียดนาม กัมพูชา พม่า และลาว มีกำหนดให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวภายในปี 2558 นั้น ในกลุ่มของสินค้าเม็ดพลาสติก ไทยได้จัดให้อยู่ในบัญชีสินค้าปกติ (Normal Track) ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป จะมีการปรับลดอัตราภาษีเหลือร้อยละ 0 จากที่ในปี 2552 มีการจัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 5 ทำให้ในเบื้องต้นคาดว่าการปรับลดอัตราภาษีดังกล่าว น่าจะส่งผลทำให้การนำเข้าเม็ดพลาสติกของไทยจากกลุ่มประเทศอาเซียนมีมูลค่าและปริมาณเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการนำเข้าเม็ดพลาสติกจากสิงคโปร์

แม้ว่าไทยจะมีความก้าวหน้าในการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ในปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะการผลิตเอทิลีนซึ่งเป็นสารโมโนเมอร์สำคัญในการผลิตเป็นสารโพลิเมอร์หรือเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาจากความต้องการเม็ดพลาสติกภายในประเทศของไทย กลับพบว่ามีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 ของกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกทั้งหมด ซึ่งชี้ให้เห็นว่าตลาดภายในประเทศยังคงเป็นตลาดหลักของอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกไทยอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกของสิงคโปร์ซึ่งเป็นคู่แข่งขันสำคัญของไทยนั้น ตลาดส่วนใหญ่จะเป็นตลาดส่งออก เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรน้อย จึงทำให้ความต้องการเม็ดพลาสติกในประเทศต่อกำลังการผลิตทั้งหมดของสิงคโปร์มีสัดส่วนน้อย และยังมีอัตราการขยายตัวที่ค่อนข้างต่ำเพียงร้อยละ 0.3 ต่อปี เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกของสิงคโปร์ในแต่ละปีมีมูลค่าที่สูงมากเมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกของไทย ทั้งๆ ที่ไทยมีกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกมากกว่าสิงคโปร์

โดยในระยะสั้นศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรในสินค้าเม็ดพลาสติกของไทยเหลือร้อยละ 0 ดังกล่าว อาจส่งผลทำให้มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเม็ดพลาสติกของไทยจากสิงคโปร์ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะโพลิ เอทิลีนและโพลิโพรพิลีน ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกสำคัญที่ใช้ในการขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดหนึ่งที่มีแนวโน้มความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้เม็ดพลาสติกเกรดวิศวกรรมหรือ โพลิอะซิทัลก็ยังเป็นอีกหนึ่งกลุ่มชนิดเม็ดพลาสติกที่คาดว่าไทยอาจมีแนวโน้มนำเข้าจากสิงคโปร์เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ภายในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้มีความต้องการเม็ดพลาสติกเกรดวิศวกรรมในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่กำลังการผลิตของไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันยังมีไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากสถิติการนำเข้าเม็ดพลาสติกของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าแหล่งนำเข้าเม็ดพลาสติกหลักของไทยไม่ได้มีแต่สิงคโปร์เพียงแหล่งเดียว แต่ส่วนใหญ่ไทยจะนำเข้าเม็ดพลาสติกจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นหลัก เนื่องจากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์มีการกำหนดคุณสมบัติของเม็ดพลาสติกที่จะใช้เป็นส่วนประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ตรงกับคุณสมบัติของเม็ดพลาสติกที่ผลิตได้ในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้มากกว่า ดังนั้น การปรับลดอัตราภาษีศุลกากรเม็ดพลาสติกของไทยในครั้งนี้ ก็อาจจะไม่ได้ทำให้การนำเข้าเม็ดพลาสติกของไทยจากสิงคโปร์เพิ่มสูงขึ้นมากนัก อีกทั้ง เมื่อโครงการต่างๆ ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 ของไทยแล้วเสร็จและสามารถดำเนินการผลิตได้ตามกำหนดเวลาในปี 2553 ก็น่าจะทำให้ไทยมีกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกเพิ่มสูงขึ้น และมีเม็ดพลาสติกส่วนเกินที่เหลือเพื่อการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมองว่า ถึงแม้ว่ามูลค่าและปริมาณการนำเข้าเม็ดพลาสติกของไทยจากสิงคโปร์จะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นก็ตาม แต่มูลค่าและปริมาณการนำเข้าดังกล่าวก็ไม่น่าจะเพิ่มสูงขึ้นมากนัก ในขณะที่ศักยภาพการผลิตเม็ดพลาสติกของไทยที่เพิ่มสูงขึ้น กลับน่าจะเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่ทำให้ไทยสามารถส่งออกเม็ดพลาสติกไปยังกลุ่มประเทศต่างๆ ในตลาดอาเซียนได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ไทยยังเกินดุลการค้าในสินค้าเม็ดพลาสติกในตลาดอาเซียนได้ต่อไป

ทั้งนี้ นอกจากสิงคโปร์ซึ่งเป็นคู่แข่งขันสำคัญของไทยที่มีความได้เปรียบจากการเป็นศูนย์กลางการกลั่น การเก็บ และการกระจายน้ำมันของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสามของโลกรองจาก Houston ในสหรัฐอเมริกา และ Rotterdam ในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งทำให้สิงคโปร์มีวัตถุดิบแนฟทามากเพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่อย่างต่อเนื่องแล้ว มาเลเซียก็ยังเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการพัฒนาในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นที่น่าจับตามอง เนื่องจากในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของมาเลเซียมีการพัฒนาและขยายตัวอย่างมาก โดยได้รับแรงหนุนจากการพัฒนาและการขยายตัวของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติภายในประเทศ ทำให้มาเลเซียมีความพร้อมในด้านวัตถุดิบสำหรับรองรับกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี นอกจากนี้ รัฐบาลมาเลเซียยังมีความพยายามในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาในระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับกับการขยายตัวของอุตสาหกรรม จึงส่งผลให้มาเลเซียเปลี่ยนสถานะจากที่เคยเป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมาเป็นประเทศผู้ส่งออก โดยผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีของมาเลเซียที่มีศักยภาพสูง คือ โพลิเอทิลีน

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในปัจจุบันมาเลเซียได้ตั้งเป้าให้อุตสาหกรรมพลาสติกของมาเลเซียเป็นอุตสาหกรรมที่ทำการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลัก จึงทำให้ความต้องการเม็ดพลาสติกในประเทศของมาเลเซียยังคงมีสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับกำลังการผลิตทั้งหมด และอีกส่วนหนึ่งก็ยังจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมองว่า การขยายตัวในอุตสาหกรรมพลาสติกของมาเลเซียที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ น่าจะเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกของไทยที่จะสามารถส่งออกเม็ดพลาสติกไปยังมาเลเซียได้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อราคาส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยยังคงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับราคาส่งออกเม็ดพลาสติกของมาเลเซียและสิงคโปร์อย่างเช่นในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับในระยะยาวนั้น มาเลเซียจัดได้ว่าเป็นประเทศผู้ผลิตเม็ดพลาสติกสำคัญที่มีโอกาสจะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งขันของไทยในตลาดเม็ดพลาสติก เนื่องจากมาเลเซียมีความพร้อมและความมั่นคงในด้านของวัตถุดิบภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีแหล่งก๊าซธรรมชาติภายในประเทศที่รอการนำมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก

ในเบื้องต้นศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การปรับลดอัตราภาษีศุลกากรในสินค้าเม็ดพลาสติกของไทยลงเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553 จะทำให้การนำเข้าเม็ดพลาสติกของไทยจากตลาดอาเซียนในปี 2553 มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 3-5 จากปี 2552 ขณะที่มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยไปยังตลาดอาเซียนน่าจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2552 ประมาณร้อยละ 7-9 โดยโพลิเอทิลีนและโพลิอะซิทัลจะเป็นเม็ดพลาสติกสำคัญที่ไทยสามารถส่งออกไปในตลาดอาเซียนได้มากที่สุด ขณะที่เม็ดพลาสติกชนิดโพลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ก็ยังเป็นอีกหนึ่งชนิดเม็ดพลาสติกที่ไทยน่าจะส่งออกได้มากขึ้น เนื่องจากสิงคโปร์ไม่มีการผลิตเม็ดพลาสติกชนิดนี้ สำหรับในปี 2553 ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกของไทยควรต้องติดตามต่อไป ดังนี้

ราคาเม็ดพลาสติกในตลาดโลก อาจไม่สามารถปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้มากตามราคาน้ำมันดิบและปริมาณความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากอุปทานใหม่ที่คาดว่าจะทยอยเข้าสู่ตลาดทั้งจากจีน ตะวันออกกลาง และไทย รวมทั้งสิ้นกว่า 10 ล้านตัน ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ราคาเม็ดพลาสติกในตลาดโลกในปี 2553 จะมีระดับราคาเฉลี่ยสูงกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐฯ/ ตัน แต่ระดับราคาดังกล่าวก็จะผันผวนอยู่ช่วงที่ไม่เกิน 1,000-1,200 เหรียญสหรัฐฯ/ ตัน ซึ่งใกล้เคียงกับในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552

ความต้องการเม็ดพลาสติกในประเทศที่จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในปี 2553 น่าจะเป็นช่วงที่งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลตามโครงการไทยเข้มแข็งเริ่มเกิดผลในทางปฏิบัติ อีกทั้งแนวโน้มการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ก็น่าจะทำให้ปริมาณความต้องการเม็ดพลาสติกภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น

การปรับลดค่าเงินด่องของเวียดนาม ซึ่งอาจส่งผลต่อปริมาณความต้องการเม็ดพลาสติกในเวียดนามที่อาจลดลง ทำให้การส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยไปยังเวียดนามมีแนวโน้มลดลง

กรณีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินโครงการ 65 โครงการไว้ชั่วคราว ทำให้หลายฝ่ายมีความกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการผลิตในอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีขั้นปลายของไทยนั้น ในเบื้องต้นพบว่าโครงการขยายกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกหลักๆ ของไทยที่กำลังจะแล้วเสร็จและสามารถเริ่มดำเนินการผลิตได้ในช่วงปี 2553 ซึ่งเป็นไปตามกำหนดเวลาที่วางไว้ของโครงการพัฒนาปิโตรเคมีระยะที่ 3 นั้น ไม่ได้อยู่ในกลุ่มของโครงการที่ถูกศาลปกครองสั่งให้มีการระงับการดำเนินการไว้ชั่วคราว เนื่องจากโครงการเหล่านี้ได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้วตั้งแต่ก่อนเริ่มการดำเนินการ ดังนั้น เมื่อโครงการแล้วเสร็จจึงสามารถเริ่มดำเนินการผลิตได้โดยทันที อย่างไรก็ตาม สำหรับในระยะยาวนั้นหากรัฐบาลและผู้ประกอบการยังไม่สามารถร่วมมือกันหาแนวทางเพื่อแก้ปัญหาได้โดยเร็ว ก็คาดว่าจะส่งผลทำให้ความเป็นไปได้ในการขยายกำลังการผลิตหรือการขยายโครงการลงทุนใหม่ๆ ของผู้ประกอบการในอนาคตเป็นไปได้ยาก และจะทำให้ไทยอาจสูญเสียความเป็นผู้นำในด้านการมีกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนไป
.
โดยสรุปแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การปรับลดอัตราภาษีศุลกากรเม็ดพลาสติกภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน น่าจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกของไทยมากกว่าที่จะเป็นผลเสีย เนื่องจากแม้ว่าไทยจะนำเข้าเม็ดพลาสติกจากสิงคโปร์มากขึ้นก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันไทยก็จะได้รับประโยชน์จากการส่งออกเม็ดพลาสติกไปยังตลาดอาเซียนได้มากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงโอกาสในการกระจายการลงทุนของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกของไทย ที่จะไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในมาเลเซียและเวียดนาม ซึ่งจะทำให้การเติบโตของอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกไทยนับจากนี้ไป จะอยู่ในรูปแบบของการกระจายการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยทำการผลิตและจำหน่ายในประเทศที่เข้าไปลงทุนเป็นหลัก แทนการผลิตในประเทศแล้วส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศนั้นๆ มากขึ้น

]]>
50489
กสิกรไทยจับมือไออาร์พีซี พัฒนาระบบจัดการเอกสารธุรกิจส่งออกเม็ดพลาสติก https://positioningmag.com/49410 Fri, 25 Sep 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=49410

ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด พัฒนาระบบ IRPC ideal SOLUTION ในส่วนของระบบ Pro-Export System ซึ่งจัดการเอกสารในธุรกิจส่งออกเม็ดพลาสติกของไออาร์พีซี ให้เป็นแบบออนไลน์ ลดเวลา ลดแรงงานคน และความผิดพลาดจากการเตรียมเอกสารได้

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการให้บริการด้านธุรกิจการค้าระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้นำในการสร้างนวัตกรรมการให้บริการด้านธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (Trade Innovation) เมื่อปี 2550 ซึ่งกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของวงการการให้บริการด้านธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งมีการขยายเครือข่ายศูนย์บริการธุรกิจต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 60 แห่ง ครอบคลุมทุกหัวเมืองทั่วประเทศ และการประกาศให้คำมั่นสัญญาการให้บริการ ที่รับประกันเรื่องเวลาในการให้บริการ โดยหากลูกค้าไม่ได้รับบริการภายในเวลาที่กำหนด ธนาคารฯ จะคืนเงินค่าธรรมเนียมทั้งจำนวนให้แก่ลูกค้าในธุรกรรมนั้นๆ ทันที

ล่าสุดธนาคารกสิกรไทยได้ร่วมมือกับบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทปิโตรเคมีชั้นนำของไทย ในการร่วมกันพัฒนา IRPC ideal SOLUTION ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ลูกค้าผู้ซื้อเม็ดพลาสติกของบริษัท ฯ โดยธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้พัฒนาส่วนที่เป็นระบบ Pro-Export System ช่วยจัดการเอกสารเพื่อการส่งออกด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติที่มีการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของบริษัท ไออาร์พีซี ช่วยรวบรวมเอกสารสำคัญเพื่อการส่งออกทุกอย่างไว้บนฐานข้อมูลออนไลน์ จึงสามารถลดเวลาในการจัดเตรียมเอกสารลงได้ จากเดิมใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ในการเตรียมเอกสาร 1 ชุด เหลือใช้เวลาเพียง 20 นาที ลดจำนวนพนักงานที่เคยใช้ในการพิมพ์ข้อมูล และสามารถลดความผิดพลาดในการเตรียมเอกสารลงได้ จึงเป็นระบบที่ช่วยจัดการงานด้านเอกสารเพื่อรองรับปริมาณธุรกรรมจำนวนมาก ที่เกิดขึ้นในธุรกิจการจำหน่ายเม็ดพลาสติกให้แก่คู่ค้าของบริษัท ไออาร์พีซี ในต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด เปิดเผยว่า จากการที่ธุรกิจด้านการจำหน่ายเม็ดพลาสติกของบริษัท ฯ มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว บริษัท ไออาร์พีซี จึงได้พัฒนาระบบ IRPC ideal SOLUTION ขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวดังกล่าว และด้วยระบบ Pro-Export System ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ IRPC ideal SOLUTION ที่ธนาคารกสิกรไทยพัฒนาให้แก่บริษัท ฯ โดยเฉพาะ จะช่วยให้ขั้นตอนการจัดการเอกสารสำหรับการส่งออกเม็ดพลาสติกของบริษัทง่ายยิ่งขึ้น ลดความซ้ำซ้อนและความผิดพลาดในการทำงานได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจเม็ดพลาสติกของบริษัทเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับเป้าหมายของ บริษัท ไออาร์พีซี ที่จะเป็นบริษัทปิโตรเคมีชั้นนำของเอเชียภายในปี 2557

ทั้งนี้นอกเหนือจากระบบ Pro-Export System ซึ่งเป็นนวัตกรรมล่าสุดที่ธนาคารกสิกรไทยพัฒนาเพื่อบริษัท ไออาร์พีซี ในครั้งนี้ ที่ผ่านมาธนาคารกสิกรไทยได้นำเสนอนวัตกรรมบริการทางการเงินหลากหลายรูปแบบให้แก่บริษัท ไออาร์พีซี มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ บริการ Supply Chain Solution ซึ่งธนาคาร ฯ สนับสนุนวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนเงื่อนไขพิเศษให้แก่กลุ่มผู้แทนจำหน่ายเม็ดพลาสติกของบริษัท ไออาร์พีซี เพื่อนำไปชำระค่าซื้อสินค้าจากบริษัท ไออาร์พีซี และระบบ e-Supply Chain ที่ให้ผู้แทนจำหน่ายเลือกวิธีการชำระเงิน โดยสามารถเลือกหักเงินจากบัญชีเงินฝาก หรือเบิกใช้วงเงินสินเชื่อผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยอีกด้วย

]]>
49410
23-26 กันยายน นี้ เตรียมพบกับงาน “TIPREX 2009” https://positioningmag.com/49279 Fri, 11 Sep 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=49279

กรุงเทพฯ – บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย ผู้จัดงานแสดงสินค้านานาชาติระดับโลก ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย และกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดงานแถลงข่าวการจัดงาน TIPREX 2009 งานนำเสนอนวัตกรรม เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดสู่กลุ่ม อุตสาหกรรมพลาสติก และยาง รวมถึงเครื่องจักร โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก คุณชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ซึ่งงาน TIPREX 2009 จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ระหว่างวันที่ 23 – 26 กันยายน 2552 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติกรุงเทพ (BITEC), บางนา

งาน TIPREX 2009 จัดขึ้นเพื่อนำเสนอนวัตกรรม เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดสู่กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติก และยาง รวมถึงเครื่องจักรของประเทศไทยและอินโดจีน เพื่อยกระดับมาตรฐานของกลุ่มอุตสาหกรรมให้สูงขึ้น งานนี้ถือเป็นกุญแจสำคัญของตัวแทนในอุตสาหกรรมพลาสติกและยางระดับนานาชาติ เพื่อขยายตลาดสู่ประเทศไทยและกลุ่มประเทศอินโดจีน โดยได้รวบรวมผู้ผลิตพลาสติก, กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีด้านยางกว่า 200 บริษัท จาก 20 ประเทศ อาทิ ออสเตรีย, อินเดีย, อิตาลี, สิงคโปร์, ไต้หวัน และเวียดนาม เป็นต้น

มร. เกอร์นอท ริงลิ่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน TIPREX 2009 ว่า งานนี้จัดขึ้นเพื่อให้โรงงานผู้ผลิตและผู้แทนจำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมพลาสติกและยาง, เครื่องมือ และการบริการต่างๆจากหลายประเทศทั่วโลก ได้พบปะอย่างใกล้ชิดกับผู้ประกอบการจากประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีน สำหรับสาเหตุที่เลือกกรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่จัดงานก็เพราะถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการบุกตลาดเวียดนาม, พม่า, กัมพูชา และลาว ผู้เข้าเยี่ยมชมจากประเทศเหล่านี้สามารถใช้เวทีนี้เป็นแหล่งเสาะหาสินค้า และเทคนิคต่างๆ ที่จะไปช่วยพัฒนาการผลิตและประสิทธิภาพของธุรกิจตนให้ขึ้นไปสู่อีกระดับ

“งาน TIPREX เป็นงานเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สร้างสรรค์โดยภาคอุตสาหกรรมเพื่อภาคอุตสาหกรรม และเป็นงานที่เจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมจะมาแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีล่าสุดของวงการพลาสติกและยาง นอกจากนี้ ยังเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการผลิตและประกอบในอุตสาหกรรมนี้อีกด้วย งาน TIPREX ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 2006 และได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทั้งบริษัทชั้นนำระดับชาติ ระดับภูมิภาค และรวมไปถึงบริษัทจากประเทศไทย อีกทั้งยังมี National Pavilion จาก 4 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย, เยอรมัน, อิตาลี และสิงคโปร์ ที่มาร่วมกันเสนอเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการผลิต และการบริการต่างๆ ที่ทันสมัย ให้แก่ผู้เยี่ยมชมงานถึง 7,573 คน และผู้ซื้อจาก 50 ประเทศ ซึ่ง 88 เปอร์เซ็นต์มาจากประเทศไทย” มร. เกอร์นอท กล่าวถึงงาน TIPREX

สำหรับผลิตภัณฑ์ไฮไลท์ของบริษัทต่างๆ ที่นำมาจัดแสดงภายในงาน เช่น บริษัท A.F. SUPERCELL CO นำผลิตภัณฑ์เม็ดสีพลาสติกเข้มข้นที่ทำให้เกิดฟองในรูปเม็ด (MP-series) แผ่น (MS-series) มาจัดแสดง, บริษัท PLASTICHEMIX INDUSTRIES จากประเทศอินเดีย จะมาแนะนำผลิตภัณฑ์ CaCO3 ซึ่งเป็นเม็ดสีพลาสติกเข้มข้นที่บรรจุในภาชนะพิเศษเพื่อตั้งเรียงได้มากชั้นและแข็งแรงยืดหยุ่นป้องกันกันกระแทก ยี่ห้อ Superfill

สำหรับผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติค คอมพาวน์ มีผลิตภัณฑ์รุ่นล่าสุดของ BUSS Kneaders เช่น quantec and MX มาจัดแสดงเพื่อแสดงให้เห็นแนวคิดในการสร้างเครื่องฉีดพลาสติกแบบ reciprocating screw ที่ได้รับการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับแล้ว, เครื่องนวดเหมาะสำหรับเคเบิลพลาสติกคอมพาวน์ (HFFR, semiconductives, PVC flexible, XLPE – peroxide and silane types), เครื่องทำเม็ดพลาสติก (ให้ความเหนียว, ยืดหยุ่น) และเครื่องเคลือบฟิล์ม นอกจากนี้ ยังมีการแสดงผลิตภัณฑ์ล่าสุดของบริษัท JIANGSU VICTOR MACHINERY จากประเทศจีน ผู้นำในการผลิตเครื่องรีดพลาสติกและเครื่องฉีดเป่าขึ้นรูปและตัวขึ้นรูป ได้นำแสดงผลิตภัณฑ์เครื่องรีดแผ่นพลาสติก มาแสดงภายในงานอีกด้วย

จึงขอเชิญชวนท่านผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพลาสติก และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมงาน TIPREX 2009 ได้ ตลอดระหว่าง 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 23-26 กันยายน 2552 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติกรุงเทพ (BITEC), บางนา ผู้เข้าชมสามารถดูรายละเอียดงานเพิ่มเติมและลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ www.tiprex.com โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

]]>
49279
ส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกปี’52 แนวโน้มหดตัว…ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว https://positioningmag.com/46919 Fri, 20 Mar 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=46919

การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกขยายตัวได้ค่อนข้างดีในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 วิกฤตการเงินได้เริ่มส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงทำให้เศรษฐกิจโลกเริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลงตามลำดับ ส่งผลให้ช่วงปลายปีที่แล้วมีโรงงานผลิตสินค้าพลาสติกได้ทยอยปิดตัวลงไปแล้วกว่า 500 แห่ง และผู้ประกอบการกลุ่มในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกคาดการณ์ว่าในปี 2552 นี้ อาจมีแนวโน้มที่โรงงานผลิตภัณฑ์พลาสติกจะปิดตัวเพิ่มขึ้นอีก 500 แห่งเนื่องจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกที่จะยิ่งเห็นผลชัดเจนขึ้นในปี 2552 มีแนวโน้มว่าอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกคงต้องเผชิญกับกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศต่างๆ ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับลักษณะของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่ทำการผลิตตามคำสั่งซื้อ (OEM) เมื่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังถดถอยคงจะทำให้อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกต้องเผชิญกับความยากลำบากมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินสถานการณ์และแนวโน้มทิศทางการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของปี 2552 ไว้ดังนี้

ช่วงไตรมาส 4 ของปี 2551 การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกในปี 2551 มีมูลค่าทั้งสิ้น 93,169 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 จากปี 2550 ที่มีมูลค่าการส่งออกรวม 83,207 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.2 ซึ่งการขยายตัวของการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาถึงร้อยละ 13.3 และเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณเพียงร้อยละ 0.8 ซึ่งสอดคล้องกับในช่วงครึ่งปีแรกที่ราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ส่งผลให้ราคาของเม็ดพลาสติกมีราคาแพงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวสูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ ผลิตภัณฑ์กล่องและหีบพลาสติก รองลงมาเป็นผลิตภัณฑ์หลอดและท่อพลาสติก และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่ทำจากพลาสติก โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ส่วนผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบยานยนต์ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนพลาสติกที่เป็นส่วนประกอบของสินค้าคงทน ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากกำลังซื้อที่ถดถอยลงของผู้บริโภคในช่วงเศรษฐกิจถดถอย อีกทั้งการที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศกำลังอยู่ในภาวะซบเซา ส่งผลให้การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้เป็นส่วนประกอบหรือตกแต่งที่อยู่อาศัย เช่น พลาสติกปูพื้นและผนัง ชะลอตัวสูงจากที่เคยขยายตัวร้อยละ 19.6 ในปี 2550 ทำให้การขยายตัวลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.5 ในปี 2551

แม้ว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกขยายตัวได้ค่อนข้างดีในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 โดยขยายตัวได้ที่ร้อยละ 17.9 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 6.4 อย่างไรก็ตามทิศทางการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2551 ได้หดตัวลงที่ร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2550 ที่ขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 15.4 เป็นผลมาจากยอดคำสั่งซื้อที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ไปยังสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดหลักของไทยหดตัวลงร้อยละ 8.6 และ 15.3 ตามลำดับ โดยสัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกเฉลี่ยไปยังประเทศสหรัฐฯ ลดลงจากร้อยละ 15.7 เป็น 12.6 และสหภาพยุโรปลดลงจากร้อยละ 11.4 เหลือร้อยละ 9.9 ในทางตรงกันข้าม สัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25.0 จากร้อยละ 23.2 แสดงถึงการขยายตลาดส่งออกใหม่ๆ ของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก และในช่วงปี 2551 ที่ผ่านมาประเทศผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกให้ความสำคัญในการส่งออกไปมาก คือ ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นตลาดที่เติบโตสูงถึงร้อยละ 35.4 โดยมีสัดส่วนการส่งออกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.8 เป็นร้อยละ 6.2 และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในตลาดประเทศออสเตรเลีย ได้แก่ กล่องที่ทำจากพลาสติก (กล่องใส่ซีดี) เครื่องใช้สำนักงานที่ทำจากพลาสติก บรรจุภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เป็นต้น

แนวโน้มการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกปี 2552 ซบเซาต่อเนื่องจากปลายปี 2551

จากข้อมูลที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศออกมา พบว่าตัวเลขมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกในเดือนมกราคม 2552 มีมูลค่าทั้งสิ้น 5,592 ล้านบาท หดตัวสูงถึงร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่าทั้งสิ้น 6,724 ล้านบาท สาเหตุหลักที่ทำให้การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกหดตัวลงคือภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังถดถอยอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม นอกจากยอดคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาลดลงแล้วการตั้งราคาขายของผลิตภัณฑ์พลาสติกก็ไม่สามารถตั้งราคาได้สูงในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงซบเซา โดยมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เกือบทุกประเภทหดตัวสูงและชะลอตัวลงในบางผลิตภัณฑ์ ยกเว้นผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบที่ทำจากพลาสติก (แผ่นรองไหล่ เข็มขัด ถุงมือ เสื้อแจ็คเก็ต ซิป กระดุม ฯลฯ) ขยายตัวร้อยละ 10.3 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2551 ที่หดตัวร้อยละ 36.4 ส่วนหนึ่งคาดว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากการส่งออกสินค้าในกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ส่งไปตลาดญี่ปุ่นยังสามารถขยายตัวได้เนื่องจากได้รับผลดีจากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปา) ส่งผลให้ความต้องการใช้สินค้าประกอบกัน อย่างผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบที่ทำจากพลาสติกยังสามารถขยายตัวได้

จากผลของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงได้ทำให้ยอดคำสั่งซื้อของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกเริ่มมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2551 ต่อเนื่องมาในปี 2552 โดยปัจจัยเสี่ยงที่ควรต้องให้ความสำคัญ คือ ยอดคำสั่งซื้อที่มีแนวโน้มว่าจะหดตัวมากยิ่งขึ้นจากการที่หลายฝ่ายคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะอยู่ในภาวะซบเซามากกว่าในปี 2551 และยังไม่มีสัญญาณใดที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าภาวะถดถอยนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศต่างๆ ให้ลดลง โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2552 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกจะมีแนวโน้มหดตัวลงประมาณร้อยละ 7.0 ถึงร้อยละ 12.0 จากที่สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 12.0 ในปี 2551 ทางด้านราคาของผลิตภัณฑ์พลาสติกคาดว่าน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในอัตราที่มากกว่าเนื่องจากราคาวัตถุดิบ คือ เม็ดพลาสติกคงจะยังมีราคาไม่สูงเนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งผู้ผลิตยังไม่สามารถตั้งราคาขายได้สูงในช่วงที่อำนาจซื้อของผู้บริโภคลดลงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย และมีแนวโน้มว่าในปี 2552 การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไปสู่ตลาดโลกจะมีแข่งขันทางด้านราคารุนแรงมากขึ้น เพราะคู่แข่งในการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกรายใหญ่อย่างจีนก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยเช่นกัน ภาคอุตสาหกรรมของจีนต้องประสบกับความต้องการในตลาดโลกที่ชะลอตัวลงส่งผลให้อัตราการว่างงานในประเทศจีนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สะท้อนถึงกำลังซื้อขนาดใหญ่ของตลาดภายในประเทศที่ลดลง ดังนั้น ในปี 2552 มีความเป็นไปได้ว่าประเทศจีนจะเร่งระบายอุปทานของสินค้าที่เหลืออยู่ออกมาสู่ตลาดโลกมากยิ่งขึ้น โดยใช้กลยุทธ์ของการลดราคาสินค้าลง ซึ่งความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคาของผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยมีน้อยกว่า เนื่องจากต้นทุนในการผลิตสินค้าของไทยยังคงสูงกว่าโดยเฉพาะต้นทุนด้านแรงงาน แนวโน้มการส่งออกผลิตภัณฑ์สำคัญ คาดว่า

ผลิตภัณฑ์ประเภทบรรจุภัณฑ์ (ถุง กระสอบพลาสติก ขวดน้ำ ขวดแชมพู) คาดว่า อาจจะยังขยายตัวได้บ้าง เนื่องจากเป็นสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยตลาดที่มีการขยายตัวได้ดี ได้แก่ เวียดนาม แอฟริกาใต้ เป็นต้น ส่วนบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารมีโอกาสชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของอุตสาหกรรมอาหาร

ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบที่ทำจากพลาสติก (เข็มขัด ถุงมือ เสื้อแจ็คเก็ต แผ่นรองไหล่ ฯลฯ) มีโอกาสจะขยายตัวได้ เพราะการส่งออกสินค้าในกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ส่งไปตลาดญี่ปุ่นยังสามารถขยายตัวได้เนื่องจากได้รับผลดีจากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปา) ส่งผลให้ความต้องการใช้สินค้าประกอบกัน อย่างผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบที่ทำจากพลาสติกขยายตัวตาม

ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ จะมีความต้องการใช้ลดลงตามอุตสาหกรรมยานยนต์และส่วนประกอบและอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัวลง เนื่องจากส่วนใหญ่สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าคงทนซึ่งผู้บริโภคจะชะลอการซื้อสินค้าเหล่านี้ออกไปในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยการส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนมกราคม 2552 หดตัวลงร้อยละ 27.7 และร้อยละ 38.9 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกของอุตสาหกรรมยานยนต์และส่วนประกอบหดตัวลงร้อยละ 32.8

ผลิตภัณฑ์ประเภทพลาสติกปูพื้น ปูผนัง และใช้สำหรับตกแต่งที่อยู่อาศัยหรือเฟอร์นิเจอร์พลาสติก คาดว่า จะมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาคอสังหาริมทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศที่กำลังอยู่ในภาวะซบเซา คาดว่า ผู้ประกอบการในภาคอสังหาริมทรัพย์คงจะยังคงชะลอการลงทุนออกไปก่อนในช่วงระยะเวลาครึ่งแรกของปี 2552 เนื่องจากยังไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยการส่งออกในเดือนมกราคม 2552 พบว่า ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้หดตัวลงร้อยละ 40.9 จากที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่ทำจากพลาสติก คาดว่า จะชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าหลัก อย่าง สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป โดยการส่งออกในเดือนมกราคม 2552 พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่ทำจากพลาสติกชะลอตัวลงร้อยละ 9.5 จากร้อยละ 33.1 ในช่วงเดียวกันของปี 2551

ส่วนปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่ง คือ ในสถานการณ์เศรษฐกิจที่กำลังซบเซาเช่นปัจจุบันการพิจารณาการให้สินเชื่อของธนาคารมีแนวโน้มว่าจะเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกร้อยละ 90 เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งเป็นกลุ่มที่มีเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจไม่มากนักอาจทำให้ต้องประสบกับปัญหาการขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ โดยผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกคาดว่าในปี 2552 มีแนวโน้มว่าโรงงานผลิตภัณฑ์พลาสติกอาจปิดตัวเพิ่มอีกประมาณ 500 แห่ง

อย่างไรก็ตาม มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ได้แก่ การเพิ่มการปล่อยสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ภาคธุรกิจที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง และมาตรการภาษีช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วยการขยายวงเงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษีร้อยละ 0.5 จากเดิม 60,000 บาท เพิ่มเป็น 1 ล้านบาท หรือเป็นการยกเว้นภาษีจาก 300 บาทต่อปี เป็นกว่า 5,000 บาทต่อปี น่าจะเป็นปัจจัยบวกกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก อาจช่วยให้ผู้ประกอบการมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อดำเนินธุรกิจในภาวะเศรษฐกิจซบเซา

จากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซามีแนวโน้มว่าอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกในปี 2552 อาจมีการใช้กลยุทธ์การลดราคาสินค้า ฉะนั้นผู้ผลิตควรหลีกเลี่ยงการแข่งขันทางด้านราคา หันมาเน้นกลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า ผลิตสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีรสนิยมแตกต่างกันไปในแต่ละตลาด และอาจพิจารณาทำการส่งออกกับกลุ่มประเทศภายในภูมิภาคอาเซียน โดยอาศัยประโยชน์จากการเปิดเสรีสินค้าและบริการภายใต้ข้อตกลงอาเซียนที่จะมีผลบังคับใช้ประมาณเดือนมิถุนายน 2552

สรุปและข้อเสนอแนะ

มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกในปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 12.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 โดยการขยายตัวเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาร้อยละ 13.3 และเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณร้อยละ 0.8 สอดคล้องกับในช่วงครึ่งปีแรกที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาของผลิตภัณฑ์พลาสติกมีราคาสูงขึ้นตาม อย่างไรก็ตาม การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกขยายตัวได้ค่อนข้างดีในช่วง 9 เดือนแรกของปี แต่เริ่มมีทิศทางชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปีเนื่องมาจากยอดคำสั่งซื้อที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาและต่อเนื่องมาในปี 2552 ซึ่งพบว่าตัวเลขมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกในเดือนมกราคมหดตัวสูงถึงร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 สาเหตุหลักที่ทำให้การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกหดตัวลงคือยอดคำสั่งซื้อที่มีลดลง ประกอบกับการตั้งราคาขายผลิตภัณฑ์พลาสติกไม่สามารถตั้งราคาได้สูงในช่วงภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย โดยปัจจัยเสี่ยงในปีนี้ที่ควรต้องให้ความสำคัญ คือ ยอดคำสั่งซื้อที่มีแนวโน้มว่าจะหดตัวมากยิ่งขึ้น จากการที่หลายฝ่ายคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะอยู่ในภาวะซบเซามากกว่าในปี 2551 และการพิจารณาการให้สินเชื่อของธนาคารกับผู้ประกอบการมีแนวโน้มว่าจะเข้มงวดมากขึ้น เพราะธนาคารพาณิชย์ให้ความสำคัญกับความสามารถในการชำระคืนหนี้มากขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ได้แก่ การเพิ่มการปล่อยสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ภาคธุรกิจที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง และมาตรการภาษีช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี น่าจะเป็นปัจจัยบวกกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2552 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกจะมีแนวโน้มหดตัวลงประมาณร้อยละ 7.0 ถึงร้อยละ 12.0 จากที่สามารถขยายตัวได้ร้อยละ 12.0 ในปี 2551 ด้านราคาของผลิตภัณฑ์พลาสติกคาดว่าน่าจะมีแนวโน้วปรับตัวลดลง เนื่องจากราคา เม็ดพลาสติกคงจะยังมีราคาไม่สูงตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งไม่สามารถตั้งราคาขายได้สูงในช่วงที่อำนาจซื้อของผู้บริโภคลดลงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย อีกทั้งมีแนวโน้มว่าในปี 2552 การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไปสู่ตลาดโลกจะมีแข่งขันทางด้านราคารุนแรงมากขึ้น เพราะคู่แข่งใหญ่อย่างจีนก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยเช่นกัน จึงมีความเป็นไปได้ว่าประเทศจีนจะเร่งระบายอุปทานของสินค้าที่เหลืออยู่ออกมาสู่ตลาดโลกมากยิ่งขึ้น โดยใช้กลยุทธ์ของการลดราคาสินค้าลง

สำหรับแนวโน้มการส่งออกผลิตภัณฑ์สำคัญนั้น คาดว่า ผลิตภัณฑ์ประเภทบรรจุภัณฑ์อาจจะยังขยายตัวได้ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบที่ทำจากพลาสติก มีโอกาสจะขยายตัวได้ เนื่องจากอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ได้รับผลดีจากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปา) อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งชิ้นส่วนยานยนต์จะมีความต้องการใช้ลดลงตามภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจโลก โดยสินค้าในกลุ่มนี้เป็นสินค้าคงทนซึ่งผู้บริโภคจะชะลอการซื้อสินค้าเหล่านี้ออกไปในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ประเภทพลาสติกปูพื้น ปูผนัง และใช้สำหรับตกแต่งที่อยู่อาศัยหรือเฟอร์นิเจอร์พลาสติก คาดว่า จะมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาคอสังหาริมทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศที่กำลังอยู่ในภาวะซบเซา

จากการที่กำลังซื้อของผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงในปี 2552 อาจมีการใช้กลยุทธ์การลดราคาสินค้า ฉะนั้นผู้ผลิตควรหลีกเลี่ยงการแข่งขันทางด้านราคา หันมาเน้นกลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า ผลิตสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีรสนิยมแตกต่างกันไปในแต่ละตลาด นอกจากนี้ผู้ประกอบการอาจพิจารณาทำการส่งออกกับกลุ่มประเทศภายในภูมิภาคอาเซียนด้วยกันเพิ่มมากขึ้น โดยอาศัยประโยชน์จากการเปิดเสรีสินค้าและบริการภายใต้ข้อตกลงอาเซียนที่จะมีผลบังคับใช้ประมาณเดือนมิถุนายน 2552 โดยประเทศส่วนใหญ่ที่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกจากไทยอยู่ก่อนหน้าแล้ว ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา เป็นต้น ในขณะเดียวกันจากการที่ความต้องการของผู้บริโภคอาจเปลี่ยนแปลงไปในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยอาจหันไปนิยมสินค้าที่มีราคาไม่สูงมากคุณภาพเหมาะสมกับราคา ฉะนั้นผู้ผลิตอาจพิจารณาผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับกำลังซื้อของผู้บริโภคในยุคเศรษฐกิจถดถอย เช่น อาจพิจารณาผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารบางประเภทที่สามารถใช้พลาสติกผลิตได้แต่มีราคาโดยเปรียบเทียบที่ถูกกว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ แก้ว กระเบื้อง เป็นต้น

]]>
46919