Printed – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 15 Feb 2013 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แอปฯ ช่วยเดต จาก FHM https://positioningmag.com/55885 Fri, 15 Feb 2013 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=55885

FHM บรีฟกับ Interone เอเยนซี่ในแคมเปญนี้ว่า อยากได้แอปพลิเคชั่นที่ช่วยผู้ชายในสถานการณ์ที่ยากลำบาก นั่นก็คือ “เดตแรก” ซึ่งส่วนใหญ่คู่หนุ่มสาวมักชวนกันไปดูหนัง จึงเป็นที่มาของ FHM Movie Date App หลังจากซื้อตั๋วชมภาพยนตร์แล้ว ฝ่ายชายก็จะดาวน์โหลดแอปฯ นี้ โดยสื่อเสริม ก็คือ โปสเตอร์ในห้องน้ำชายของโรงภาพยนตร์ เพื่อที่ว่าผู้หญิงเขาจะได้ไม่รู้มุขเด็ดที่เป็นความลับระหว่างผู้ชายด้วยกันเท่านั้น และระหว่างที่ดูหนังกันจนถึงฉากโรงแมนติก โทรศัพท์ฝ่ายชายก็จะสั่นเป็นการกระตุ้นว่า ได้เวลารุกคืบเข้าหาคู่เดตของคุณแล้ว 

Interone เจ้าของผลงานชิ้นนี้ไม่รับประกันว่ามีคู่รักกี่คู่ที่ประสบความสำเร็จจากแอปฯ นี้ แต่รับรองได้ว่าฝ่ายหญิงคงไม่ต้องเซ็งกับการไม่รู้กาลเทศะของฝ่ายชายอีกแล้ว

]]>
55885
ถ่ายรูปกับนิตสารแลกฟีเจอร์ใน App https://positioningmag.com/55884 Fri, 15 Feb 2013 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=55884

W Magazine นิตยสารแฟชั่นฉบับเดือนกันยายน กลายเป็นส่วนหนึ่งในการใช้แอปพลิเคชั่นถ่ายภาพในไอโฟน Hipstamatic โดยเปิดตัว ”เลนส์” หรือฟีเจอร์การแต่งภาพที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสไตล์การถ่ายภาพจากนิตยสารฉบับพิเศษในชื่อ “WMag Freepak” ลักษณะพิเศษก็คือ ภาพจะออกมาดูซอฟต์ สีโทนเทา ภายใต้กรอบสีดำ ซึ่งระยะเวลาการโหลดฟรีมีอยู่ 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็จะให้ผู้ที่โหลดแอปฯ ไปร่วมส่งภาพประกวดแล้วนำมาจัดแสดงในงานนิทรรศการที่แมนฮัตตัน สำหรับผู้ชนะเลิศก็จะได้รับการประกาศใช้เว็บไซต์และแฟนเพจของนิตยสาร รวมทั้งได้ถ่ายภาพนิตยสารเวอร์ชั่นเว็บไซต์ 

การที่ Hipstamatic ต้องจับมือกับนิตยสาร W ก็เพราะว่าเป็นแอปพลิเคชั่นที่สร้ายรายได้จากการเก็บเงินค่าดาวน์โหลด การสร้างแคมเปญสนุกๆ ขึ้นมาเพื่อทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักแอปฯมากขึ้น ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่น่าทำ ส่วนสื่อสิ่งพิมพ์เองก็มีช่องทางใหม่ๆ เข้าไปเล่นในไลฟ์สไตล์ของผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ยภาพแฟชั่นก็เป็นเรื่องสนุกของผู้หญิงอยู่แล้ว ก่อนหน้านี้ทั้งคู่เคยร่วมมือกันในเพื่อทำฟีเจอร์พิเศษขึ้นมาในงาน New York Fashion Week เมื่อเดือนกันยายน 2011 และเดือนกุมภาพันธ์ 2012 มาแล้ว นอกจากนี้วิธีการโปรโมตของ Hipstamatic ผ่านพรมแดงบนเวทีแฟชั่นยังไม่หมด เพราะนอกจากจับมือกับแบรนด์นิตยสารแล้วยังอาศัยชื่อเสียงส่วนตัวของ Chiun-Kai Shih ช่างภาพแฟชั่นชื่อดังมาร่วมสร้างสรรค์เลนส์หรือฟีเจอร์ถ่ายภาพ ที่มีชื่อว่า Chunky แจกฟรีแบบจำกัดระยะเวลาช่วงงานเทศกาลแฟชั่นเท่านั้น

 

Hipstamatic คือ?

Hipstamatic เป็นแอปพลิเคชั่นที่โด่งดังระดับเดียวกับ Instagram ด้วยเลนส์หรือฟิลเตอร์การแต่งภาพที่สวย ให้ความรู้สึกเหมือนการถ่ายภาพวัยเยาว์ ที่ใช้กล้องพลาสติกถ่าย สิ่งที่ทำให้การใช้ Hipstamatic ถ่ายภาพแล้ว “ฟิน” ยิ่งกว่าแอปฯ อื่นก็ตรงที่ความเนียนของแอปฯนี้ เช่น เมื่อเลือกโหมดถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มก็จะมีเสียงกดชัตเตอร์และเลื่อนฟิล์มออกมาด้วย โมเดลการหารายได้ของแอปฯ นี้ คือการคิดเงินค่าดาวน์โหลด สนนราคาอยู่ที่ 1.99 เหรียญ ทำให้ต้องมีแคมเปญโปรโมตแอปฯ อยู่เรื่อยๆ ก่อนหน้าที่จะทำแคมเปญร่วมกับหนังสือ W Magazine แอปฯ นี้ได้จับมือกับ Instagram ซึ่งเหตุผลที่ Kevin Systrom ผู้เป็น CEO ของ Instagram มองว่า “มีรูปที่แต่งด้วย Hipstamatic ถูกแชร์เข้า Instagram เป็นจำนวนมากในแต่ละวันอยู่แล้ว ความร่วมมือนี้ก็จะช่วยให้ผู้ใช้งานสะดวกมากขึ้น” ส่วน Hipstagram ก็ได้ข้อดีจากฐานผู้ใช้งาน Instagram ซึ่งตอนนี้มากกว่า 40 ล้านคนแล้ว เบื้องหลังของ Hipstamatic ก่อตั้งโดย Lucas Buick อดีตกราฟิกดีไซเนอร์ Trade Magazine และ Ryan Dorshorst หลังจากประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งกับ Hipstamatic แล้ว ล่าสุดโปรเจกต์ใหม่ของทั้งคู่คือการทำ นิตยสารรายเดือนบนไอแพ็ด ฉบับแรกชื่อว่า Make Beautiful มองหาแรงบันดาลใจด้านบวกของแต่ละคนที่จะช่วยเปลี่ยนโลกไปในทางที่ดีขึ้น

ส่วน W Magazine เป็นนิตยสารแฟชั่นรายเดือน ภายใต้คอนเซ็ปต์ The Who, What, Where, When, and Why in the world of style มียอดจำหน่าย 5 แสนฉบับต่อเดือน 80% ของยอดขายเป็นผู้อ่านผู้หญิง

 

]]>
55884
App : New Arrival ในร้านหนังสือ https://positioningmag.com/14636 Fri, 30 Mar 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14636

การทำเงินจากแอพพลิเคชั่นเริ่มเห็นมากขึ้นในธุรกิจเกี่ยวกับหนังสือ ที่ไม่เพียงบรรดานิตยสารออกเวอร์ชั่นดิจิตอลกระโดดโชว์ตัวในหน้าจอไอแพดกันอย่างคึกคักไปแล้วเท่านั้น ”ร้านหนังสือ” ก็พาเหรดกันกลายเป็นแอพฯ ยกมาทั้งร้าน ที่มาด้วยความหวังว่าธุรกิจร้านหนังสือจะเข้าถึงคนรุ่นใหม่ง่ายขึ้น และเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคตด้วยพลังของแอพฯ

จุดเปลี่ยนของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหนังสือ นิตยสาร และร้านหนังสือมาจากการเกิดขึ้นของไอแพดที่อำนวยความสะดวกในการอ่านหนังสือดิจิตอลอย่างแท้จริง โดยผู้อ่านเพียงแค่ดาวน์โหลดก็ได้อ่านแล้ว ทำให้การอ่านหนังสือง่าย มีสีสัน โดยไม่จำเป็นต้องไปร้านหนังสือ แล้วถือหนังสือติดตัวตลอดเวลา

ธุรกิจนี้มีผู้เล่นระดับโลกอย่างแอปเปิลเองที่ทำตัวเองเป็นร้านหนังสือขนาดใหญ่ด้วยแอพฯ iBook ที่หนังสือเล่มใดก็สามารถพัฒนาเป็นแอพฯแล้วไปขึ้นชั้นกับ iBook  Store ที่มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน นอกจากนี้ยังมี “อะเมซอน” และ “บาร์นสแอนด์โนเบิล” ที่พัฒนาร้านหนังสือบนแอนดรอยด์ ตอบโจทย์ธุรกิจใหม่ในการขายแท็บเล็ตของตัวเองได้อย่างครบวงจร

สำหรับในไทยร้านหนังสือขนาดใหญ่อย่างเอเชียบุ๊คส บีทูเอส ก็ประกาสเปิดตัวแอพฯ ไปตั้งแต่ปลายปี 2011 โดยบีทูเอสคาดหวังยอดขายผ่านแอพฯ ไว้ถึง 50 ล้านบาท จนมาถึงร้านล่าสุด ”นายอินทร์” ในเครืออมรินทร์ ก็ทุ่มงบถึง 8 ล้านบาทเพื่อพัฒนาระบบ และการทำตลาดรองรับแอพฯ “NaiinPANN” ขึ้นบน “แอพสโตร์” ของแอปเปิล ก่อนที่ไตรมาส 2 จะเปิดร้านในแอนดรอยด์ และวินโดวส์โมบายล์

“ถนัด ไทยปิ่นณรงค์” กรรมการผู้จัดการ บริษัทอมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด ผู้บริหาร ”ร้านนายอินทร์” บอกว่าเทรนด์ที่เห็นคือคนรุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างแท็บเล็ต มีคนใช้จำนวนหลักแสนเครื่อง โดยเฉพาะไอแพด ที่นอกจากคนจะใช้เล่นเกมแล้วยังชัดเจนว่าใช้เพื่ออ่านหนังสือกันจำนวนมาก

หากลูกค้าไม่ซื้อ ก็สามารถใช้ NaiinPANN เป็น Marketing Tools เพื่อแจ้งข่าวสารให้นักอ่านรู้ว่ามีหนังสืออะไรออกใหม่แล้วบ้าง แต่ที่สำคัญ NaiinPANN มีหนังสือดิจิตอลพร้อมให้ซื้อแล้วประมาณ 1,000 เล่ม ด้วยราคาที่ถูกกว่าประมาณ 20-30%

การเตรียมแอพฯ NaiinPANN นี้ ”ถนัด” บอกว่ามีทีมพัฒนากันเองภายในองค์กร เพราะธุรกิจนี้ยังต้องขยายตัวต่อเนื่อง การลงทุนจึงคุ้มค่ากว่าการจ้างบริษัทอื่นพัฒนาให้ ซึ่งได้ใช้เวลาประมาณ 1 ปีในการพัฒนาและจากการลงทุนถึง 8 ล้านบาท แม้จะใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะคุ้มทุน แต่การลงทุนครั้งนี้ไม่ทำไม่ได้อีกต่อไป เพราะกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจนี้อยู่หน้าจอแท็บเล็ตกันมากขึ้นเรื่อยๆ 

เมื่อมีแอพฯ แล้ว ต้องสื่อถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีโปรโมชั่น โดยนายอินทร์ร่วมกับดีแทค ให้ลูกค้าดีแทคดาวน์โหลดนิตยสารในเครืออมรินทร์ฟรีจนถึงเดือนเมษายาน จากปกติลูกค้าทั่วไปต้องจ่ายเงินเพื่อดาวน์โหลดซื้อนิตยสารแต่ละเล่ม

ขณะนี้ยังเป็นช่วงเริ่มต้นของร้านในโลกดิจิตอล โดย ”ถนัด” เชื่อว่าธุรกิจร้านหนังสือยังคงเติบโตอีกหลายปี เพราะคนที่อ่านหนังสือในรูปแบบเดิม ก็ยังคงเข้าร้านเพื่อซื้อหนังสือ

แต่วันหนึ่งเทคโนโลยีจะทำให้หนังสือเมีรูปแบบที่ปลี่ยนไป โดยเฉพาะการเป็น E-Book และE-Magazinee และแอพฯ คือช่องทางหนึ่งที่จะช่วยดึงคนรุ่นใหม่ หรือคนที่ไม่ค่อยได้อ่านหนังสือให้หันมาสนใจ ทำให้ธุรกิจนี้มีลูกค้าหน้าใหม่เดินเข้ามาไม่ขาดสาย และแน่นอนว่าการเริ่มในวันนี้ จะทำให้ร้านหนังสือไม่ตายเพราะตามเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายไม่ทัน

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ส่วนแบ่งรายได้ในรูปแบบ
E-Book/E-Magazine

จากแอพฯ NaiinPANN สำนักพิมพ์ 55% แอปเปิล 30% ร้านนายอินทร์

15%

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ส่วนแบ่งรายได้จากการขายผ่านร้านนายอินทร์ สำนักพิมพ์ 75-70% ร้านนายอินทร์ 25-30%

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ท็อป 5
ฟรีของหมวด Books ใน App Store 1. iBooks (Apple) 2. Kindle (AMZN) 3. Nook (Barnes&Noble) 4. Kobo (Kobo inc) 5. Unlimited Free Books (WP
Technology)

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”font-weight: bold;”>สื่อที่คนอยากอ่าน E-Book

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>25%

ไอแพด

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>18%

อะเมซอน คินเดิล

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>18%

อ่านผ่านพีซี หรือแม็ค

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>9%

ไอโฟน

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>6%

บาร์นส แอนด์ โนเบิล นุ๊ค

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>5%

โซนี่ รีดเดอร์ style=”font-weight: bold;”>ที่มา : Aptra Survey of Publising
Professionals อเมริกา ก.ย.2011

Profile

ร้านหนังสือนายอินทร์ ภายใต้บริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด ในเครือบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เปิดสาขาแรกที่ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2537 

ปัจจุบันมีลูกค้าอายุ 15-35 ปี จำนวนมากกว่า 50% ของลูกค้าทั้งหมด มีสาขาทั่วประเทศ 200 สาขา ในปี 2555 เตรียมขยายอีก 30 สาขา ด้วยงบลงทุนสาขาละประมาณ 1.5-2 ล้านบาท บนพื้นที่เฉลี่ย 100 ตารางเมตร

]]>
14636
App : New Arrival ในร้านหนังสือ https://positioningmag.com/14611 Fri, 30 Mar 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14611

การทำเงินจากแอพพลิเคชั่นเริ่มเห็นมากขึ้นในธุรกิจเกี่ยวกับหนังสือ ที่ไม่เพียงบรรดานิตยสารออกเวอร์ชั่นดิจิตอลกระโดดโชว์ตัวในหน้าจอไอแพดกันอย่างคึกคักไปแล้วเท่านั้น ”ร้านหนังสือ” ก็พาเหรดกันกลายเป็นแอพฯ ยกมาทั้งร้าน ที่มาด้วยความหวังว่าธุรกิจร้านหนังสือจะเข้าถึงคนรุ่นใหม่ง่ายขึ้น และเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคตด้วยพลังของแอพฯ

จุดเปลี่ยนของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหนังสือ นิตยสาร และร้านหนังสือมาจากการเกิดขึ้นของไอแพดที่อำนวยความสะดวกในการอ่านหนังสือดิจิตอลอย่างแท้จริง โดยผู้อ่านเพียงแค่ดาวน์โหลดก็ได้อ่านแล้ว ทำให้การอ่านหนังสือง่าย มีสีสัน โดยไม่จำเป็นต้องไปร้านหนังสือ แล้วถือหนังสือติดตัวตลอดเวลา

ธุรกิจนี้มีผู้เล่นระดับโลกอย่างแอปเปิลเองที่ทำตัวเองเป็นร้านหนังสือขนาดใหญ่ด้วยแอพฯ iBook ที่หนังสือเล่มใดก็สามารถพัฒนาเป็นแอพฯแล้วไปขึ้นชั้นกับ iBook  Store ที่มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน นอกจากนี้ยังมี “อะเมซอน” และ “บาร์นสแอนด์โนเบิล” ที่พัฒนาร้านหนังสือบนแอนดรอยด์ ตอบโจทย์ธุรกิจใหม่ในการขายแท็บเล็ตของตัวเองได้อย่างครบวงจร

สำหรับในไทยร้านหนังสือขนาดใหญ่อย่างเอเชียบุ๊คส บีทูเอส ก็ประกาสเปิดตัวแอพฯ ไปตั้งแต่ปลายปี 2011 โดยบีทูเอสคาดหวังยอดขายผ่านแอพฯ ไว้ถึง 50 ล้านบาท จนมาถึงร้านล่าสุด ”นายอินทร์” ในเครืออมรินทร์ ก็ทุ่มงบถึง 8 ล้านบาทเพื่อพัฒนาระบบ และการทำตลาดรองรับแอพฯ “NaiinPANN” ขึ้นบน “แอพสโตร์” ของแอปเปิล ก่อนที่ไตรมาส 2 จะเปิดร้านในแอนดรอยด์ และวินโดวส์โมบายล์

“ถนัด ไทยปิ่นณรงค์” กรรมการผู้จัดการ บริษัทอมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด ผู้บริหาร ”ร้านนายอินทร์” บอกว่าเทรนด์ที่เห็นคือคนรุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีอย่างแท็บเล็ต มีคนใช้จำนวนหลักแสนเครื่อง โดยเฉพาะไอแพด ที่นอกจากคนจะใช้เล่นเกมแล้วยังชัดเจนว่าใช้เพื่ออ่านหนังสือกันจำนวนมาก

หากลูกค้าไม่ซื้อ ก็สามารถใช้ NaiinPANN เป็น Marketing Tools เพื่อแจ้งข่าวสารให้นักอ่านรู้ว่ามีหนังสืออะไรออกใหม่แล้วบ้าง แต่ที่สำคัญ NaiinPANN มีหนังสือดิจิตอลพร้อมให้ซื้อแล้วประมาณ 1,000 เล่ม ด้วยราคาที่ถูกกว่าประมาณ 20-30%

การเตรียมแอพฯ NaiinPANN นี้ ”ถนัด” บอกว่ามีทีมพัฒนากันเองภายในองค์กร เพราะธุรกิจนี้ยังต้องขยายตัวต่อเนื่อง การลงทุนจึงคุ้มค่ากว่าการจ้างบริษัทอื่นพัฒนาให้ ซึ่งได้ใช้เวลาประมาณ 1 ปีในการพัฒนาและจากการลงทุนถึง 8 ล้านบาท แม้จะใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะคุ้มทุน แต่การลงทุนครั้งนี้ไม่ทำไม่ได้อีกต่อไป เพราะกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจนี้อยู่หน้าจอแท็บเล็ตกันมากขึ้นเรื่อยๆ 

เมื่อมีแอพฯ แล้ว ต้องสื่อถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีโปรโมชั่น โดยนายอินทร์ร่วมกับดีแทค ให้ลูกค้าดีแทคดาวน์โหลดนิตยสารในเครืออมรินทร์ฟรีจนถึงเดือนเมษายาน จากปกติลูกค้าทั่วไปต้องจ่ายเงินเพื่อดาวน์โหลดซื้อนิตยสารแต่ละเล่ม

ขณะนี้ยังเป็นช่วงเริ่มต้นของร้านในโลกดิจิตอล โดย ”ถนัด” เชื่อว่าธุรกิจร้านหนังสือยังคงเติบโตอีกหลายปี เพราะคนที่อ่านหนังสือในรูปแบบเดิม ก็ยังคงเข้าร้านเพื่อซื้อหนังสือ

แต่วันหนึ่งเทคโนโลยีจะทำให้หนังสือเมีรูปแบบที่ปลี่ยนไป โดยเฉพาะการเป็น E-Book และE-Magazinee และแอพฯ คือช่องทางหนึ่งที่จะช่วยดึงคนรุ่นใหม่ หรือคนที่ไม่ค่อยได้อ่านหนังสือให้หันมาสนใจ ทำให้ธุรกิจนี้มีลูกค้าหน้าใหม่เดินเข้ามาไม่ขาดสาย และแน่นอนว่าการเริ่มในวันนี้ จะทำให้ร้านหนังสือไม่ตายเพราะตามเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายไม่ทัน

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ส่วนแบ่งรายได้ในรูปแบบ
E-Book/E-Magazine

จากแอพฯ NaiinPANN สำนักพิมพ์ 55% แอปเปิล 30% ร้านนายอินทร์

15%

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ส่วนแบ่งรายได้จากการขายผ่านร้านนายอินทร์ สำนักพิมพ์ 75-70% ร้านนายอินทร์ 25-30%

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

ท็อป 5
ฟรีของหมวด Books ใน App Store 1. iBooks (Apple) 2. Kindle (AMZN) 3. Nook (Barnes&Noble) 4. Kobo (Kobo inc) 5. Unlimited Free Books (WP
Technology)

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”font-weight: bold;”>สื่อที่คนอยากอ่าน E-Book

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>25%

ไอแพด

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>18%

อะเมซอน คินเดิล

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>18%

อ่านผ่านพีซี หรือแม็ค

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>9%

ไอโฟน

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>6%

บาร์นส แอนด์ โนเบิล นุ๊ค

style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>5%

โซนี่ รีดเดอร์ style=”font-weight: bold;”>ที่มา : Aptra Survey of Publising
Professionals อเมริกา ก.ย.2011

Profile

ร้านหนังสือนายอินทร์ ภายใต้บริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด ในเครือบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เปิดสาขาแรกที่ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2537 

ปัจจุบันมีลูกค้าอายุ 15-35 ปี จำนวนมากกว่า 50% ของลูกค้าทั้งหมด มีสาขาทั่วประเทศ 200 สาขา ในปี 2555 เตรียมขยายอีก 30 สาขา ด้วยงบลงทุนสาขาละประมาณ 1.5-2 ล้านบาท บนพื้นที่เฉลี่ย 100 ตารางเมตร

]]>
14611
ทำอย่างไรให้เป็นแอพฯ ที่ถูกเลือก (กรณีศึกษา mars Magazine) https://positioningmag.com/14610 Fri, 30 Mar 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14610

การเติบโตของแอพฯ ไม่ต่างจากการเติบโตของสปอร์เห็ด เฉพาะในแอพสโตร์ของ Apple ปัจจุบันมีแอพฯ ให้เลือกดาวน์โหลดทั้งแบบฟรีและเสียเงินมากกว่าครึ่งล้าน แอพพลิเคชั่นเป็นทั้งช่องทางสำหรับรายได้ใหม่ของผู้พัฒนาและเป็นเหมือนโลกกว้างให้ผู้บริโภคไปค้นหา แต่ในทางตรงกันข้ามก็แทบจะทำให้ผู้บริโภคที่ สตีฟ จ็อบส์ ผู้สร้างตำนาน Apple บอกไว้เองว่า เป็นกลุ่มที่บางทีพวกเขาก็ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร เกิดอาการนิ่งไปเลยกับอาการ Apps Overload ได้เหมือนกัน

เรื่องท้าทายที่สุดของคนขายแอพฯ จึงอยู่ที่จะทำตลาดแอพฯ ของตัวเองอย่างไร ให้เป็น แอพฯ ที่ผู้บริโภคเลือกและยอมจ่ายเงินเพื่อดาวน์โหลด ไม่ใช่เสพฟรีอย่างเดียว 

ในเมื่อแอพสโตร์ไม่มีช่องทางให้โฆษณาสินค้า การทำตลาดส่วนใหญ่จึงต้องอาศัยวิธีการทำตลาดแบบผสมผสานอื่นๆ เพื่อให้ลูกค้าเลือกโหลดหรือนึกถึงแอพฯ ของตัวเองเมื่อเข้าไปที่แอพสโตร์ อีกทั้งการพัฒนาแอพฯ ของแต่ละคนก็มีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจและรูปแบบการใช้งานที่ต่างกันไป 

แอพพลิเคชั่นที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดหมวดหนึ่งในบ้านเราและพัฒนาไปเร็วไม่แพ้ในต่างประเทศ ก็คือหมวดของนิตยสารที่เริ่มวางแผงในชั้นหนังสือของแอพสโตร์กันมากขึ้น มีทั้งแบบดาวน์โหลดฟรีและจ่ายเงิน ขึ้นอยู่กับใครจะกำหนดกลยุทธ์การตลาดและรูปแบบที่จะมาซัพพอร์ตธุรกิจเดิมของตัวเองผ่านแอพฯ ไว้อย่างไร 

 

นิตยสาร mars คือหัวหนังสืออันดับต้นๆ ที่เริ่มต้นพัฒนาแอพฯ

เริ่มจากให้โหลดอ่านฟรีเมื่อ 2 ปีก่อน มียอดดาวน์โหลดเติบโตต่อเนื่อง จนกระทั่งเริ่มหันมาเก็บค่าดาวน์โหลดแต่กระแสตอบรับแอพฯ ก็ไม่ได้น้อยลงสักเท่าไร  

เบื้องหลังความสำเร็จ ประกอบด้วยส่วนผสมทางการตลาดและงานสร้างสรรค์ ที่ทำให้คอนเทนต์จากรูปกระดาษสนุกและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อพัฒนาเป็นดิจิตอล และที่ขาดไม่ได้คือ ความเป็นคอนเทนต์ที่ยังคงคุณค่าภายใต้โพสิชันนิ่งของหนังสือที่มีมาตั้งแต่เริ่มต้น

“mars เกิดเร็วและออกเป็นแอพฯ นิตยสารเจ้าแรกในประเทศไทยที่เป็น Interactive จริงๆ” 

กมลวรรณ ดีประเสริฐ อดีตหัวหน้ากองบรรณาธิการ นิตยสารมาร์ส พัฒนาตัวเองไปสู่การเป็นผู้พัฒนาแอพฯ เริ่มจากพัฒนาแอพพลิเคชั่นของมาร์ส จนได้รับความนิยม ปัจจุบันสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจด้วยการตั้งบริษัทรับพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้กับสื่อในเครือเอเอสทีวีผู้จัดการ และไทยเดย์ด็อทคอม รวมถึงแบรนด์ดังอีกมากมายภายใต้บริษัท ดิจิทอลล ประเทศไทย จำกัด  www.digitall-media.com  ซึ่งเธอมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ

เธอเล่าถึงวิธีการทำตลาดของมาร์สในการขยายช่องทางจากแผงหนังสือไปสู่แอพสโตร์ ว่า 

“พอคิดจะทำแอพฯ กรณีนิตยสารต้องเริ่มตั้งแต่กองบรรณาธิการก่อนเลย เพราะเราต้องรู้จักคนอ่านของเราและการจะปรับเปลี่ยนรูปแบบสื่อ ก็ต้องทำให้บุคลิกของหนังสือคงอยู่ ผู้อ่านเห็นแล้วสัมผัสได้ถึงบุคลิกแม้จะอ่านผ่านสื่อใหม่ พื้นฐานที่สุดก็คือเราต้องรู้ว่าเราจะทำออกมาให้ใครอ่านและทำไมเขาถึงจะอ่าน” 

การพูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า ดีไซน์หนังสือบนแอพฯ จะหน้าตาเหมือนกับในหนังสือทุกอย่าง เพราะไม่อย่างนั้นคำว่าดิจิตอลก็ไม่มีความหมายอะไร  

“เมื่ออุปกรณ์ (iPad) ทำอะไรได้มากมาย เราก็ควรนำลักษณะพิเศษของอุปกรณ์มาผสมเพื่อทำให้เนื้อหาที่นำเสนอแตกต่างจากที่นำเสนอในหน้ากระดาษหรือเว็บไซต์ และต้องเข้าใจพฤติกรรมผู้อ่านว่ามีพฤติกรรมอย่างไรเมื่อใช้อุปกรณ์นี้ในการอ่าน”  

กมลวรรณ เล่าว่า ปกติถ้าคนอ่านผ่านเว็บไซต์จะมีโอกาสที่จะเบราส์กระจายไปหมด เรียกว่าออกนอกพื้นที่เนื้อหาที่นำเสนอ แต่พอเป็นแอพฯ คนเสพจะใช้งานทีละแอพฯ เป็นพฤติกรรมการเสพสื่อที่ต่างไป ถ้าเบราส์กระจายไปเหมือนในเว็บเนื้อหาตรงหน้าก็จะถูกละเลย ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร แต่โดยปกติคนใช้แอพฯ จะใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อดาวน์โหลดครั้งแรก จากนั้นก็อาจจะนำไปอ่านที่ไหนก็ได้ ทำให้การอ่านจะวนเวียนอยู่ในแอพฯ เต็มที่ ถ้าไม่ถูกใจก็เปลี่ยนไปดู แอพฯ อื่นแทน

เธอใช้หลักการที่สอดคล้องกับแนวคิดของสตีฟ จ็อบส์ ในการดีไซน์แอพฯ สำหรับ iPad โดยกำหนดว่าการค้นหาข้อมูลหรือเนื้อหาเพิ่มเติมที่ซ่อนไว้ในอพฯ ควรจะต้องซัพพอร์ตให้ค้นพบสิ่งที่ซ่อนอยู่ด้วยการแตะเพียงไม่กี่ครั้งหรือมีขั้นตอนน้อยที่สุด 

“เพราะฉะนั้นเวลาออกแบบแอพฯ เราต้องตีโจทย์ให้เข้าใจคนอ่าน จากแนวตั้งเขาจะอ่านไปอย่างไร ถ้าพลิกไปแนวนอนยังเป็นเรื่องเดิมไหม หรือจะไปเจอกับเนื้อหาอะไร คิดถึงความต่อเนื่องในการอ่าน ต้องทำให้เข้าใจง่าย หรือไปตามแนวที่เราออกแบบไว้”

การทำให้ผู้อ่านเดิมตาม ต้องไม่ใช่ออกแนวบังคับ แต่ต้องลื่นไหลไปเองโดยธรรมชาติ เรียกว่าจะทำแอพฯ ให้เวิร์คก็ต้องเข้าใจทั้งกลุ่มผู้อ่านของตัวเอง และเข้าใจพฤติกรรมคนใช้แท็บเล็ตไปพร้อมกัน 

“อย่างที่บอกไว้ กองบรรณาธิการจะมีส่วนช่วยมากในการชี้ทางคนอ่าน เพราะเป็นคนเรียบเรียงเนื้อหาก่อนที่ฝ่ายศิลป์จะไปจัดวาง การออกแบบหนังสือซับซ้อนรายละเอียดเยอะ ต้องหาวิธีคิดให้คนอ่านแตะอ่านได้ถูก เพราะคนอ่านบางคนอาจจะตามไม่ทัน เช่น อ่านแนวตั้งให้จบก่อนแล้วค่อยหมุนไหม หมุนแล้วกลายเป็นแกลเลอรี่ดีหรือเปล่า หรือถ้าหมุนระหว่างที่ยังอ่านไม่จบจะเป็นอะไร ดูแล้วจะเข้าใจไหม”

สำหรับส่วนผสมที่ควรมี เธอแนะนำว่าให้คิดไว้ว่าแอพฯ เหมือนเว็บไซต์บวกทีวีบวกหนังสือ แต่ดีกว่าเว็บไซต์ตรงที่ถ้าชี้ทางคนอ่านให้ดี คนอ่านจะไม่ออกไปไหน หรือวางโครงสร้างเนื้อหาดีๆ เขาจะอ่านตาม เพราะแอพฯ ไม่มีสิ่งเร้าเท่าเว็บ และการดีไซน์ต้องล้อไปกับบุคลิกของหนังสือ 

“อย่างกรณีของมาร์ส ก็ไม่จำเป็นต้องดีไซน์ตามแบบแผนหรือรูปแบบการอ่านที่ควรจะเป็นก็ได้ เพราะมาร์สมีบุคลิกขี้เล่น ชอบค้นหา เพราะฉะนั้นการดีไซน์แนวตั้งแนวนอนให้พลิกระหว่างอ่านอาจจะนำไปสู่เรื่องใหม่เลยก็ยังสามารถทำได้ แต่ที่ลองทำแล้วไม่เวิร์คก็มี เช่น จัดหน้าคู่เหมือนเวลาเราอ่านหนังสือ หรือถ้ามีเรื่องเกี่ยวเนื่องกับเรื่องหลักพออ่านเรื่องหลักในแนวตั้งอยู่พลิกเป็นแนวนอนปุ๊บกลายเป็นเรื่องประกอบแบบนี้ก็ไม่ เพราะเนื้อหามันโดดเกินไป ก็ต้องหาลูกเล่นที่พอเหมาะ ไม่นิ่ง” 

 

คิดอย่างไรก่อนขายแอพฯ

แอพพลิเคชั่นของมาร์ส เริ่มจากเปิดให้ดาวน์โหลดฟรีเมื่อ 2 ปีก่อน ก่อนที่ iPad จะเข้ามาขายในไทยอย่างเป็นทางการ

“เริ่มแรกเราให้ดาวน์โหลดฟรี แต่เราต้องมีค่าใช้จ่าย เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรจึงจะอยู่ได้ จะไม่ทำก็ไม่ได้เพราะมองดูแล้วแนวโน้มนิตยสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์มาทางนี้หมดไม่เลือกก็ต้องเดิน เราก็ให้ฝ่ายศิลป์ในกองบรรณาธิการลองหัดทำ ซึ่งเขาคือคนกลุ่มแรกที่มีโอกาสลองทำและทำได้ แล้วก็มีพัฒนาการที่ดี จากวันที่เริ่มทำ คนยังไม่เข้าใจว่าแอพฯ คืออะไร ตอนนี้ใครๆ ก็หันมาทำแอพฯ ทุกวันนี้มาร์สใช้ทีมงานชุดเดียวกันทำกราฟิกในนิตยสารและทำแอพฯ ด้วย โดยมีทีมงานดิจิทอลลเป็นผู้วางรากฐานไว้ให้” 

ในแง่ของธุรกิจแอพฯ มาร์สก็เติบโตต่อเนื่อง ภายใน 12 เดือนแรกมียอดดาวน์โหลดมากกว่า 5 หมื่น และมียูสเซอร์ใหม่ที่เข้ามาดาวน์โหลดเพิ่มขึ้นเป็นพันรายทุกสัปดาห์  

“เฉพาะอาทิตย์แรกที่มาร์สเปิดดาวน์โหลด (ตุลาคท 2553) จำได้เลยว่ามียอดดาวน์โหลด 2,479 ราย ทั้งที่ตอนนั้นแอปเปิลยังไม่วางจำหน่ายไอแพดอย่างเป็นทางการในประเทศไทยด้วยซ้ำ ส่วนตอนนี้เชื่อว่ามีดีไวซ์อยู่ในไทยเป็นหลักแสน และเกิน 50% ของคนใช้ iPad ในไทยมีแอพฯ มาร์สอยู่”  

ยอดดาวน์โหลดแอพฯ มาร์ส ในช่วงที่ iPad 2 เปิดตัวในไทย สถิติพุ่งขึ้นจากช่วงปกติ 2-3 เท่าตัว เนื่องจากเป็นแอพฯ ที่มีคนให้คะแนนและได้รับการแนะนำอันดับต้นๆ และคอมเมนต์ส่วนใหญ่บอกว่าเป็นแอพฯ ที่เป็นอินเตอร์แอคทีฟจริงๆ ไม่ใช่แค่อีบุ๊ก หรือพีดีเอฟไฟล์ และแอปเปิลเองก็เลือก mara on iPadเป็นแอพฯหนึ่งที่นำมาโชว์ที่หน้าร้าน 

“การที่มีคนให้คะแนนอันดับต้นๆ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกดาวน์โหลด ยอดดาวน์โหลดมาร์สน่ากลัวเพราะขึ้นตามจำนวนอุปกรณ์ นี่แหละที่เป็นเหตุผลให้เราต้องแนะนำให้เก็บเงินค่าดาวน์โหลด”

เนื้อหาที่ลงในแอพฯ ของมาร์สจะแตกต่างจากที่ลงในนิตยสารบางส่วน โดยคำนึงถึงความพอใจของผู้อ่านเป็นหลัก มีไฮไลต์ของเบื้องหลังแฟชั่นปกเป็นจุดขาย และเปลี่ยนโมเดลจากที่ให้ดาวน์โหลดฟรีมาเก็บค่าบริการ โดยกำหนดราคาขั้นต่ำที่ 1.99$ 

สำหรับต้นทุนในการพัฒนาแอพฯ ของมาร์ส นอกเหนือจากต้นทุนการผลิตแล้วยังมีต้นทุนในการเผยแพร่ซึ่งแปรผันตามยอดดาวน์โหลดแอพฯ แต่อย่างไรโมเดลการหารายได้ของมาร์สก็ยังใช้หลักการเดียวกับนิตยสารทั่วไปในไทย คือ หากำไรจากการขายโฆษณาเป็นหลัก การผลิตทุกเล่มคือต้นทุน ผู้อ่านกำไร

“ถ้าเราไม่ขายทุกหน่วยดาวน์โหลดจะเป็นต้นทุน ซึ่งในกรณีของมาร์สนั้นต้นทุนเริ่มสูงจนมีแนวโน้มจะไม่สัมพันธ์กับรายรับ แต่ถ้าจะให้จ่ายเงินก็ต้องทำให้ผู้อ่านแฮปปี้ เราจึงให้ดาวน์โหลดเล่มปัจจุบันฟรี แต่ถ้าจะอ่านเล่มย้อนหลังต้องจ่าย โมเดลนี้ได้ผล ช่วยลดต้นทุนและสร้างรายได้ระดับหนึ่ง ฝ่ายคนอ่านก็คุ้มเพราะเท่ากับเหมือนได้พรีวิวฟรีหนึ่งเดือนเต็มๆ ชอบค่อยซื้อ”   

กมลวรรณ บอกว่า โมเดลของหนังสือแต่ละเล่มไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน บางเล่มอาจจะทำแอพฯ ออกมาแล้วขายเลย โดยอาจจะทำตลาดด้วยการให้ทดลองดาวน์โหลดไปอ่านฟรี 3 เดือนแรกก็ได้ 

แอพฯ ในไทยใช้กลยุทธ์ให้ดาวน์โหลดฟรีกันมาก แต่ กมลวรรณ เชื่อว่าปีนี้จะเริ่มเปลี่ยนไป เพราะจากพฤติกรรมของคนดาวน์โหลดแอพฯ เริ่มแรกจะเป็นประเภท ฟรี ดี โหลดไว้ก่อน แต่สุดท้าย แอพฯ ฟรีอันไหนดีไม่ดีก็จะเช็กได้จากยอดดาวน์โหลดที่ยังเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอไม่ใช่มีแค่ยอดดาวน์โหลดสูงในช่วงแรกเท่านั้น 

 

จากกระดาษเป็นแอพฯ คนอ่านเป็นใคร 

กรณีของมาร์สคนอ่านกับกลุ่มคนใช้ไอที อาจจะอยู่ในกลุ่มเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ แต่การพัฒนาไปสู่แอพฯ ก็ทำให้มาร์สขยายกลุ่มคนอ่านเพิ่มขึ้น เพราะคนที่เข้ามาดาวน์โหลดมีทั้งกลุ่มลูกค้าที่ไม่เคยอ่านมาร์สเลย แต่ด้วยความที่ในตลาดไม่มีแอพฯ ที่เป็นอินเตอร์แอคทีฟเหมือนมาร์ส คุณภาพที่แตกต่างทำให้ยอดดาวน์โหลดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไม่มีสะดุด

อีกส่วนคือกลุ่มผู้อ่านเดิม เพราะตอนทำตลาดว่าจะมีแอพฯ มาร์สก็ใช้การตลาดแบบปากต่อปาก และโปรโมตเฉพาะสื่อในเครือ เช่น ลงโฆษณาในหนังสือตัวเอง ทำวิดีโอคลิปในเอเอสทีวี เฟซบุ๊ก หน้าเว็บแมเนเจอร์ออนไลน์ มีนอกเครือเล็กน้อยก็ตรงขึ้นจอของพานาโซนิคที่หน้าเซ็นทรัลเวิลด์เท่านั้น

จริงๆ แล้วการจะขายแอพฯ โดยโฆษณาปากต่อปาก ในมุมมองของกมลวรรณเชื่อว่า บางทีอาจจะไม่พอ อย่างไรก็ควรต้องมีการทำประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม แต่ในกรณีของมาร์สโชคดีที่สื่อในเครือเอเอสทีวีผู้จัดการครอบคลุมกลุ่มผู้บริโภคในวงกว้างและหลากหลายเพราะมีหลายสื่อและเป็นสื่อที่ได้รับความนิยม แต่ถ้านิตยสารมีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนก็ไม่จำเป็นต้องทำตลาดก็ได้ แค่แจ้งไปที่กลุ่มเป้าหมายโดยตรง ขึ้นอยู่กับการตีโจทย์ให้ถูกว่าลูกค้าเป็นใคร

“แรกๆ ถ้าฟรีคนจะดูจากพรีวิว ดูคอมเมนต์ ว่าจะโหลดอะไร พอรู้ตัวว่าดีไวซ์มีความจุจำกัดก็จะค่อยลบทิ้งทีหลัง วิธีการที่เราจะให้ลูกค้าดาวน์โหลดต่อไป ไม่ลบทิ้ง หรือทำให้เกิดรีเทิร์นคัสโตเมอร์ ก็คือการรักษาและพัฒนาคุณภาพ โดยเฉพาะเรื่องของอินเตอร์แอคทีฟที่เราเชื่อว่ามันจะเป็นมาตรฐานของแอพฯ นิตยสารทั่วไปไว้ให้ได้ จากนั้นก็ดูว่าแอพฯ ของคุณจะต่างจากเจ้าอื่นอย่างไร หาบลูโอเชี่ยนให้ตัวเอง ถ้าเรามีแนวทางชัดเจนยิ่งเจ้าใหญ่ลงมาเล่นก็ไม่ต้องกลัวเพราะจะทำให้เรายิ่งเด่นชัดขึ้นอีก สำหรับมาร์ส ความเป็นอินเตอร์แอคทีฟมีครบ มีคลิปเบื้องหลังเซตแฟชั่นเป็นจุดขายที่หาดูในหนังสือไม่ได้ และยังมีบุคลิกขี้เล่นที่ยังมีอะไรซ่อนอยู่ให้คนอ่านสนุกทุกครั้งที่ได้อ่าน” กมลวรรณสรุปจุดขายของมาร์ส 

 

ดิจิตอลลมูลค่าเพิ่มจากแอพฯ สู่ แบรนด์แอพฯ

จากบทบาทในการพัฒนาแอพฯ นิตยสารรุ่นบุกเบิก วันนี้ กมลวรรณสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร โดยแยกตัวออกมาตั้งทีมนักพัฒนาแอพฯ โดยเฉพาะ ภายใต้ชื่อบริษัท ดิจิทอลล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีจุดแข็งในฐานะ “บริษัทที่จะทำสื่อไปให้ถึงคนอ่าน” 

โดยผลงานชิ้นแรกที่พัฒนาในนามของบริษัทเอง คือ หนังสือธรรมะของหลวงตาบัว 

“แอพฯ Luangta Buaจุดเริ่มต้นมาจากหนังสือเรื่อง ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า “ชาติสุดท้าย” หนังสือสำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขารหลวงตามหาบัว ญานสัมปันโน ซึ่งเรานำมาทำเป็นอินเตอร์แอคทีฟ เผยแพร่เป็นธรรมทาน

แม้จะแทบไม่ได้ประชาสัมพันธ์ยอดดาวน์โหลดของแอพฯ หลวงตายังเพิ่มขึ้นนับจากที่เผยแพร่ครั้งแรก (มิถุนายน 2554) ถึงปัจจุบัน ซึ่ง กมลวรรณ บอกว่า ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะหลวงตามีลูกศิษย์ลูกหามากมาย และในท้องตลาดแทบไม่มีหนังสือธรรมะในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟอยู่เลย แต่ก็ไม่ใช่ว่าการนำหนังสือขายดีมาทำแอพฯ แล้วจะขายดีเสมอไป เพราะแค่หนังสือก็มีไฟล์พีดีเอฟให้ดาวน์โหลดอ่านฟรีเยอะอยู่แล้ว แต่อุปกรณ์อย่าง iPad ที่ทำให้งานตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ดีขึ้น

“อุปกรณ์ช่วยได้ทำไมเราไม่ทำ ในแอพฯหนังสือหลวงตา เราก็ดีไซน์ไอคอนให้เกี่ยวกับธรรมะ ใช้ไอคอนหอไตร ธรรมจักร ดูกลมกลืนและน่าอ่าน ตีโจทย์แบบนึกถึงคนอ่าน วางเลย์เอาต์ให้เคลียร์สะอาดตา ใช้ตัวอักษรใหญ่ อธิบายทุกอย่าง เพราะเราคิดว่าคนอ่านเป็นผู้ใหญ่ ดูภาพสารบัญแล้วจิ้มเข้าไปเลย ไม่มีอะไรต้องเดา”

การดีไซน์แอพฯ ตามโจทย์ของกลุ่มเป้าหมาย เป็นจุดแข็งของดิจิทอลลที่ต้องการทำให้ทุกคนเชื่อและเห็นด้วยตัวผลงานว่า บริษัทนอกจากพัฒนาแอพฯ ได้เหมือนนักพัฒนาทั่วไปแล้วยังมีจุดแข็งที่แตกต่างตรงที่การตีโจทย์ของสื่อแต่ละประเภทให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายเพื่อทำให้ แอพฯ นั้นเกิดประสิทธิภาพในการใช้ 

ทุกวันนี้นอกจากทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการทำแอพฯ บนไอแพดให้กับสื่อในเครือเอเอสทีวีผู้จัดการ และไทยเดย์ด็อทคอม ซึ่งมีผลงานที่เผยแพร่แล้ว ได้แก่ นิตยสาร mars, Celeb Online และแอพฯ รับชมโทรทัศน์ ASTV และยังมีแอพฯ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอีกหลายสื่อ อาทิ นิตยสาร POSITIONING นิตยสารผู้จัดการ 360องศา และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 360องศารายสัปดาห์ ฯลฯ 

ดิจิทอลลยังรับพัฒนาแอพฯ ของสื่อให้กับแบรนด์สินค้าชั้นนำของประเทศหลายต่อหลายบริษัท ภายใต้การทำงานของทีมงานร่วม 10 คน 

“ตอนนี้บทบาทของเราคือ เป็นเทรนเนอร์ให้มาร์สและสื่ออื่นๆ ในเครือ ขณะเดียวกันก็รับผลิตสื่ออินเตอร์แอคทีฟให้กับองค์กรต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เคยทำแอพฯ มาก่อน เราต้องอธิบายให้เข้าใจว่า ต่อให้เขาจ้างทีมที่ดีและมีเทคโนโลยีดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่เข้าใจสื่อและไม่เข้าใจคนอ่าน ก็จะไม่ได้แอพฯ ที่ใช่ แต่จะกลายเป็นแมกกาซีนที่คนทำชอบเท่านั้น เพราะฉะนั้นคนจะทำแอพฯ ต้องมีเป้าหมายชัดเจนก่อนว่าจะทำเพื่ออะไร ประชาสัมพันธ์ สร้างภาพลักษณ์ ให้สิทธิประโยชน์ลูกค้า หรืออะไร เราจะเป็นคนช่วยดีไซน์ให้ตอบโจทย์และสร้างมูลค่าเพิ่มจาก แอพฯ ให้ตอบโจทย์ตามที่แบรนด์ต้องการ”

ผลงานแบรนด์แอพฯ ที่ผ่านมาของดิจิทอลลทำให้กับหลายแบรนด์ อาทิ ทำสื่อโฆษณาอินเตอร์แอคทีฟให้กับรถยนต์ Isuzu เพื่อลงเป็นส่วนหนึ่งของแอพฯ มาร์ส  แอพฯ นิตยสาร Serenade ของ AIS คู่มือขายรถยนต์ฮอนด้าสำหรับพนักงานขาย แอพฯ นิตยสารซีเอสอาร์โครงการปลูกป่าของ ปตท. ฯลฯ

“ในเคส ปตท. เราพบว่าคนในกรุงเทพฯ เป็นกลุ่มที่รับรู้เรื่องโครงการปลูกป่าน้อยมาก พอมาทำเป็นแอพฯ ก็ตอบโจทย์พอดีเพราะกลุ่มคนเมืองคือกลุ่มหลักที่ใช้ iPad โอกาสที่ ปตท. จะสื่อสารกับคนกลุ่มนี้ก็ทำได้มากขึ้น คู่มือขายรถฮอนด้าก็เป็นการเปลี่ยนจากหนังสือเล่มหนึ่งกับซีดีหนึ่งแผ่นที่เซลต้องมี มานำเสนอรวมไว้ด้วยกันผ่าน iPad และยังเหมาะที่จะใช้กับลูกค้าทั้งในโชว์รูมและขายในงานมอเตอร์โชว์ที่อาจจะเข้าไม่ถึงตัวรถเพราะคนเยอะ แค่แตะจอรถก็เปลี่ยนสีเปลี่ยนมุมที่ต้องการดูได้ แถมมีดีไซน์ซ่อนข้อมูลจำเป็นให้เซลเรียกดูได้ นอกจากรถแล้ว แอพฯ ยังเหมาะกับงานขายสินค้าอีกหลายอย่างที่ต้องการนำเสนอข้อมูลเยอะๆ ให้เข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจ รวมทั้งเพิ่มฟีเจอร์อื่นๆ  ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบราคากับคู่แข่ง แสดงทำเล หรือให้รายละเอียดที่ต้องการนำเสนอได้มากมาย”

การพัฒนาแอพฯ จากมุมมองของดิจิทอลลคงจะบอกได้ว่า เรื่องของแอพฯ ไม่เพียงแต่ทำให้คนใช้สนุกขึ้น แต่คนพัฒนาแอพฯ ก็สามารถสนุกกับการตีโจทย์และสร้างสรรค์แอพฯ ไม่แพ้กัน 

]]>
14610
บีทูเอส ฝันหวานแบบอะเมซอน https://positioningmag.com/14326 Mon, 26 Dec 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14326

ไหนๆ ยอดจำหน่ายหนังสือดิจิตอลของอะเมซอนดีขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดกลางปีที่ผ่านมามียอดจำหน่ายมากกว่าเปเปอร์บุ๊ก อีกทั้งการครอบครองสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของคนไทย เป็นแรงขับเคลื่อนมากพอที่จะทำให้บีทูเอส ร้านจำหน่ายหนังสือและเครื่องเขียนในเครือซีอาร์ซี เดินหน้าพัฒนาช่องทางจำหน่ายใหม่ในนามของบีทูเอส อีบุ๊ก สโตร์ ที่วางเป้ายอดขายปีแรกเบาะๆ ที่ 50 ล้านบาท

ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีทูเอส จำกัด ให้รายละเอียดว่า “อีบุ๊กเป็นเทรนด์โลกที่น่าจับตา และบีทูเอสเห็นโอกาสนี้ แม้ในไทยจะไม่สามารถสร้างยอดขายได้ขนาดญี่ปุ่นที่มียอดจำหน่ายเวอร์ชั่นดิจิตอล มูลค่าราว 65,000 ล้านเยน หรือคิดเป็น3-4% ของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ แต่ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับลูกค้า”

บีทูเอส อีบุ๊ก สโตร์ นอกเหนือจากจะใช้ช่องทาง www.b2s.co.th ยังสามารถดาวน์โหลดผ่านแอพพลิเคชั่นในไอโฟน ไอแพด และแอนดรอยด์ พัฒนาแอพพลิเคชั่นโดยบริษัท ไอที เวิร์คส์ จำกัด ปัจจุบันมีนิตยสารและหนังสือรวมกันกว่า 2,000 เล่ม แต่ในเบื้องต้นยังไม่จำหน่ายหนังสือและนิตยสารภาษาอังกฤษ โดยสำหรับนิตยสารจะเน้นทั้งแบบขายแยกเล่ม แบบสมาชิกรายปี และฉบับย้อนหลัง         

ในส่วนของหนังสือและพ็อกเกตบุ๊ก ปัจจุบันจับมือกับสำนักพิมพ์ 10 แห่ง และนิตยสารอีกกว่า 130 หัว ครอบคลุมกว่า 80-90% ของนิตยสารไทยที่วางจำหน่ายในประเทศไทยทั้งหมด

ด้านกลยุทธ์การตลาดจะใช้ผสานกันระหว่างอีบุ๊กกับฟิสิคัลบุ๊ก หรือเปเปอร์บุ๊ก เช่น ซื้อหนังสือ 1 เล่ม แถมฟรีอีบุ๊ก 1 เล่ม เป็นต้น นอกจากนี้จะมีการทำ Cross Promotion กับหน่วยธุรกิจอื่นๆ ในเครือซีอาร์ซี โดยมีฐานลูกค้าเดอะ วัน การ์ด 3 ล้านราย ซึ่งจะทำให้โปรโมชั่นของบีทูเอสมีพลัง หลากหลาย และเข้าถึงไลฟ์สไตล์ด้านต่างๆ ของนักอ่านมากขึ้น และตั้งเป้ายอดดาวน์โหลดแอพพลิชั่นจำนวน 200,000 ครั้ง ภายในสิ้นปี 2554

นอกจากนี้ภายในไตรมาสแรกของปี 2555 จะพัฒนาบีทูเอส อีบุ๊ก สโตร์ เป็นบีทูเอส อีบุ๊ก ไลฟ์พลัส เพื่อจำหน่ายสินค้าไลฟ์สไตล์อื่นๆ อาทิ เพลง และภาพยนตร์ โดยร่วมมือกับหลายค่าย อาทิ แกรมมี่ โซนี่ มิวสิค วอร์เนอร์ และยูนิเวอร์แซล เป็นต้น 

ปัจจุบันบีทูเอสมี 73 สาขา ปี 2555 ตั้งเป้าเปิดอีก 15 สาขา และคาดปิดยอดขายปี 2554 ที่ 3,100 ล้านบาท ในอนาคตคาดว่าจะเป็นช่องทางจำหน่ายที่ทำรายได้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเป้าหมายตั้งเป้าเติบโตสองเท่าทุกปีตั้งแต่ปี 2555-2557 จาก 50 ล้านบาทในปีแรก เป็น 100 ล้านบาท และ 200 ล้านบาท ตามลำดับ โดยใช้งบการตลาดสำหรับโปรโมตช่องทางจำหน่ายนี้โดยเฉพาะ 8 ล้านบาท จากงบการตลาดของบีทูเอสทั้งหมด 40 ล้านบาทต่อปี 

อย่างไรก็ตาม บีทูเอส มีฝันที่ไกลกว่านั้น คือ การก้าวไปสู่การเป็นอีพับลิชเชอร์ หรือสำนักพิมพ์ดิจิตอล โดยเริ่มจากการเปิดช่องทางให้นักเขียนหน้าใหม่ที่สนใจจะเผยแพร่ผลงานผ่านแอพพลิเคชั่น

Key to success   

  • มีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบันในไทยมีผู้ใช้งานไอโฟน 1 ล้านกว่าเครื่อง และไอแพด 300,000 เครื่อง 
  • ความสะดวกสบาย สามารถพกพาติดตัวได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการจัดเก็บและน้ำหนักของหนังสือ      
  • ค่าบริการถูกกว่าการซื้อเปเปอร์บุ๊ก ราว 30-40% ต่อเล่ม โดยเฉลี่ยนิตยสารจำหน่ายในราคาเล่มละ 1.99 เหรียญสหรัฐ
  • และหากสมัครเป็นสมาชิกรายปีจะถูกกว่าสูงสุดถึง 70% 
  • การทำตลาดแบบ Cross Promotion
]]>
14326
เรื่องของคนกับทะเล https://positioningmag.com/13660 Fri, 08 Apr 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13660

ในเยอรมนีมีนิตยสารเฉพาะทางมากมายหลายร้อยฉบับ มีเนื้อหาเจาะลึกในแต่ละด้าน อาทิ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จิตวิทยา วัฒนธรรม ไปจนถึงงานอดิเรก (เช่น โมเดลรถไฟ การตัดเสื้อผ้า ฯ) แต่มีฉบับหนึ่งที่อยู่บนแผงมานาน (ฉบับแรกออกเมื่อเมษายน 1997) และอยู่รอดเพราะมีสมาชิกบอกรับจำนวนมาก ไม่ใช่เพราะโฆษณา ก็คือนิตยสาร Mare ที่ออกรายสองเดือน มีเนื้อหาเกี่ยวกับทะเลเป็นหลัก แต่ครอบคลุมไปถึงประเด็นต่างๆ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม อาหาร และวิทยาศาสตร์

ผลพวงจากการทำงานที่เจาะลึกเนื้อหาและมีภาพถ่ายระดับคุณภาพกวาดรางวัลนานาชาติมากมาย (เช่น World Press Photo Award, Lead Award, Hansel-Mieth-Preis) จึงเกิดการต่อยอดเป็นสำนักพิมพ์ ผลิตหนังสือเชิงสารคดี ปฏิทินภาพ หนังสือรวมภาพ นวนิยาย และต่อมาจึงเกิดการผลิตสารคดีโทรทัศน์ mareTV และรายการวิทยุ mareRadio มาเสริมจนครบสื่อทุกด้านในที่สุด ทุกวันนี้กลุ่มสำนักพิมพ์ mareverlag มีที่ทำการอยู่ที่เมืองท่าฮัมบวร์ก

เว็บไซต์
www.mare.de

]]>
13660
ใครกันแน่ปฏิวัติสิ่งพิมพ์ https://positioningmag.com/13295 Wed, 24 Nov 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13295

e-Magazine, e-Book และดิจิตอล แมกกาซีนบน iPad หลายคนอาจถามคำถาม ใครแน่คือผู้ที่เปลี่ยนโฉมหน้าสิ่งพิมพ์ไปสู่โลกดิจิตอลอย่างแท้จริง

ยุค e-Magazine

นับเป็นยุคแรกของการที่นิตยสารฉบับปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ โดยให้ผู้อ่านโหลดไฟล์ ในรูปแบบนามสกุล PDF มาดูบนเว็บไซต์ เรียกว่าเป็นแค่การเพิ่มทางเลือก จากอ่านบนสิ่งพิมพ์มาอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งการอ่านนั้นไม่แตกต่างจากแมกกาซีน

ยุค e-Book

ต่อมาร้านขายหนังสือออนไลน์ คลอด e-Book ออกสู่ตลาด เช่น Kindle จากค่าย Amazon หรือ Nook จาก Barn & Noble เป็นอีกยุคที่เปลี่ยนผ่านของการอ่านหนังสือ เมื่อหนอนหนังสือจะได้เปลี่ยนบรรยากาศมาอ่านหนังสือบนเครื่องพกพาขนาดจิ๋ว ที่เดินทางไปกับนักอ่านได้ทุกที่ โหลดหนังสือจากอินเทอร์เน็ตมาอ่านได้ฟรี และการอ่านก็สบายตากว่าการดูจากจอคอมพิวเตอร์

ยุค Digital Magazine

แม้ว่า e-Book จะตอบสนองการอ่านได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่หลายคนมองว่ายังไม่ใช่จุดเปลี่ยนของดิจิตอลมีเดียที่แท้จริง จนกระทั่งการมาของ iPad ด้วยความนิยมในตัวเครื่อง บวกกับการอยู่ในรูปแบบของแอพพลิเคชั่นบวกกับ Content หลายคนเชื่อว่าการปฏิวัติสิ่งพิมพ์เริ่มขึ้นแล้ว

เมื่อ iPad สามารถเป็นได้ทั้ง Digital Picture Book (แอพพลิเคชั่นที่ประกอบด้วยเนื้อหาจากหนังสือภาพ), Digital Magazine โดยมีตัวอย่างของนิตยสารชื่อดังอย่าง Times นั้นประเดิมคลอดแอพพลิเคชั่นให้ผู้ใช้ iPad สามารถดาวน์โหลดไปเพื่ออ่านบทความ ชมวิดีโอ ฟังโฆษณา และอื่นๆ ได้

ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน คือ นิตยสารจะไม่ได้มีแต่โฆษณาภาพนิ่งอีกต่อไป แต่สามารถแสดงในรูปแบบวิดีโอ พ่วงเครือข่ายสังคม หรือดึงข้อมูลจากระบบ CRM เพื่อโอกาสต่อยอดสู่การซื้อสินค้าได้เลย

ไม่มีอายุ ในโลกของดิจิตอล แมกกาซีน นอกจากค่ายสิ่งพิมพ์จะไม่ต้องรอรอบวันเวลาวางแผง จะวางถี่แค่ไหนก็ทำได้ เนื่องจากไม่มีต้นทุนการพิมพ์ แถมสามารถวัดฟีดแบ็กได้ทันใจ ไม่ต้องรอปลายปี

กำเนิด Ad 3.0 อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์จะต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงานทั้งระบบ โรงพิมพ์จะกลายเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับสื่อสิ่งพิมพ์จะต้องปรับตัว โฆษณาออนไลน์จะเข้าสู่ยุค Ad 3.0 เปลี่ยนรูปแบบโฆษณาเดิมๆ ไปอย่างสิ้นเชิง

สุธิดา มาไลยพันธุ์ Executive Vice President – Digital Media บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน) เชื่อว่า Digital Media คือเซ็กเมนต์ใหม่ที่สิ่งพิมพ์ต้องทำ โดยเฉพาะการมาของ โฆษณา 3.0 ที่จะมีบทบาทต่อไป

“Ad 1.0 คือโฆษณาในก่อนยุคอินเทอร์เน็ตเกิด Ad 2.0 เป็นยุคของเว็บไซต์ โฆษณาเริ่มวัดผลการเข้าชมจากจำนวนคลิกได้ ขณะที่ Ad 3.0 จะทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ตรงมากขึ้น กูเกิลคือตัวอย่าง และยังรู้ด้วยว่ารู้ว่าลูกค้าเป็นใคร ชอบอะไร เมื่อกำหนดกลุ่มลูกค้าได้ วัดผลได้ การลงทุนก็คุ้มค่ามากขึ้น และลูกค้าสามารถเลือกได้ ว่าต้องการรับโฆษณาสินค้าอะไรบ้าง”

จุดอ่อนสำคัญของ Digital Media คือปัญหาการถูกก๊อบปี้ แต่หลายคนเชื่อว่าการจัดการลิขสิทธิ์ดิจิตอลหรือ DRM ในโลกของ Digital Media จะเกิดขึ้นอย่างจริงจังในไม่นานนี้ แต่ถ้าแมกกาซีนฉบับใดหารายได้จากโฆษณา ปัญหาการก๊อบปี้ก็ไม่ใช่อุปสรรคแต่อย่างใด

เกิดเซ็กเมนต์ใหม่

นักสังเกตการณ์เชื่อว่า Digital Media จะกระทบต่อสิ่งพิมพ์ดั้งเดิมบางส่วนเท่านั้น โดยสื่อเหล่านี้ควรมอง Digital Media ในฐานะของโอกาสใหม่ ไม่ใช่จุดตายของสื่อสิ่งพิมพ์

วิโรจน์ อัศวรังสี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิ แอสไพเรอร์ส กรุ๊ป จำกัด เชื่อว่า ดิจิตอล มีเดียจะทำให้เกิดเซ็กเมนต์ใหม่ในตลาด

เขายกตัวอย่าง นิตยสาร People เปิดให้ลูกค้าใหม่ดาวน์โหลด Digital Magazine ในราคา 3.99 เหรียญ แต่สำหรับสมาชิกให้โหลดฟรี เห็นได้ชัดว่าวิธีนี้ทำให้สื่อใหม่ และสื่อใหม่เก่าอยู่รวมกันได้

“เวลานี้ นิตยสารไทยอย่าง Mars ก็เริ่มทำแล้ว อีกเดือน 2 เดือนนี้เราจะเห็นมากขึ้น PC World ของเราก็จะทำเหมือนกัน” วิโรจน์ยืนยันถึงการนำแอสไพเรอร์ส ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตนิตยสารหัวใหญ่ PC World เข้าสู่ดิจิตอลแมกกาซีนในเร็วๆ นี้

วิโรจน์กล่าวว่า ค่ายนิตยสารต้องปรับตัวเพื่อรองรับได้กับทุกแพลตฟอร์มหนังสือดิจิตอลยุคใหม่ e-Book, e-Magazine และล่าสุดคือ Digital Magazineแต่ก็ยอมรับว่าโจทย์นี้จะยังเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกของ Publisher ทั่วโลกก็ตาม

สุปรีย์ ทองเพชร กรรมการผู้จัดการ บริษัท คัลเลอร์ดอกเตอร์ จำกัด มองเห็นโอกาสการเปลี่ยนแปลง เปิดบริษัทรับงานที่ปรึกษาดิจิตอลมีเดีย มองว่า การเกิดของดิจิตอลมีเดียทำให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์ต้องปรับตัว โดยเฉพาะเนื้อหา เพราะความที่ข้อความและรูปภาพไม่เพียงพอต่อการสร้าง Digital Media แต่จะต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์แขนงใหม่เพื่อเพิ่มความสนุกสนานและสร้างแรงดึงดูดนักโฆษณา

“ถ้าคิดว่าจะเปลี่ยนแค่จากกระดาษมาเป็นจอภาพมันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้น เราต้องผลิตคอนเทนต์ที่เหมาะสม เราต้องเป็น Template Provider ธุรกิจนี้จะเป็นตัวเสริมให้ธุรกิจ Printed Magazine เพราะเราสามารถเสนอบางเนื้อหาที่รูปเล่มนิตยสารทำไมได้ มาเสริมเนื้อหาในภาพรวมดีขึ้น”

    ศัพท์ใหม่ยุค Digital Media

  • จากคำเรียกแผงจำหน่ายหนังสือพิมพ์นิตยสารตามร้านค้าปลีกว่า News Stand วันนี้เกิดศัพท์คำว่า Hand Stand ขึ้นมาแล้ว เพราะมันคือร้านจำหน่ายหนังสือพิมพ์นิตยสารที่อยู่บนมือของเราเอง
  • In App Perchaser ศัพท์ใหม่สำหรับเรียกกลุ่มตลาดเซ็กเมนต์ใหม่ ลูกค้ากลุ่มนี้คือผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น เชื่อว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในธุรกิจโฆษณาบนแอพพลิเคชั่นคัญของ Digital Magazine
]]>
13295
Mars on iPad…เล่มแรกนะคร้าบบ https://positioningmag.com/13294 Wed, 24 Nov 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13294

จากยุคสิ่งพิมพ์สู่ยุคเว็บไซต์ เข้าสู่ยุคสมัยe-Book คงไม่มีอุปกรณ์ชิ้นไหนที่จะทำให้อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ได้รับผลกระทบเท่ากับการมาของ iPad และนี่เองทำให้ นิตยสาร Mars ขอเป็น First Mover เข้าสู่โลก Digital Magazine ของแท้ๆ บน iPad ฉบับแรกของไทย

10 ปีที่แล้ว พชร สมุทวณิช บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Marsได้รับมอบหมายให้นำค่ายสิ่งพิมพ์ เอเอสทีวี ผู้จัดการ ก้าวเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มตัว ทุกวันนี้เว็บไซต์แมเนเจอร์ออนไลน์ กลายเป็นเว็บไซต์ข่าว ที่มียอดคนเข้าดูสูงสุด ทำรายได้แซงหน้าสิ่งพิมพ์ และติดอันดับแรกๆ ของเว็บไซต์ที่มีคนเข้าชมมากที่สุดของเมืองไทย

สิบปีผ่านไป “พชร” กำลังเผชิญกับความท้าทายอีกครั้ง คราวนี้เขาได้รับมอบหมายให้นำพานิตยสาร Mars ในเครือเอเอสทีวีผู้จัดการ ก้าวเข้าสู่โลกของ Digital Magazine ก่อนใคร ด้วยฐานคนอ่านที่เป็นคนรุ่นใหม่ และคุ้นเคยกับการใช้ iPad อยู่แล้ว เขาเชื่อว่า นี่คือ การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของค่ายสิ่งพิมพ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น

“หลายปีมานี้ เราพยายามหาช่องทางใหม่ๆ ในการบริโภคข้อมูลข่าวสาร เพราะทุกคนที่อยู่ในธุรกิจสิ่งพิมพ์ต่างรู้ดีว่าต้นทุน 70% มาจากค่ากระดาษ แต่ถึงแม้จะมี e-Book ออกสู่ตลาด ทั้ง Kindle และยี่ห้ออื่นๆ แต่ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้อย่างแท้จริง เป็นแค่การนำกระดาษไปสู่จอพีซี อรรถรสการอ่านไม่แตกต่างจากเดิม ผมเชื่อว่า iPad จะตอบสนองการบริโภคข้อมูลข่าวสารในการอ่านได้สมบูรณ์แบบ” พชร บอกอย่างเชื่อมั่น
ข้อดีของ iPad ที่แตกต่างจาก e-Book ที่ออกมาก่อนหน้านี้ คือ การที่ผู้อ่านโหลดข้อมูลมาไว้ในเครื่อง จากนั้นก็นำไปอ่านได้ทุกที่ โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา จะลิงค์เฉพาะที่ต้องหาข้อมูลจากเว็บไซต์เพิ่มเติม ผู้อ่านได้รับสะดวกยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องพึ่งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา การโหลดข้อมูลทำได้เร็วทันใจ

ที่สำคัญ นิตยสารสามารถนำเสนอเนื้อหาและภาพหลากหลาย ไม่จำกัดทั้งจำนวนและลักษณะ ซึ่งทำได้ทั้งที่อยู่ในรูปของวิดีคลิป ภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ โดยไม่ต้องถูกจำกัดเหมือนในยุคสิ่งพิมพ์

อุปกรณ์ iPad เองก็ได้ความนิยมแพร่หลาย คนไทยมีใช้ได้เร็ว ไม่ต่างจากคนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งนอกจากแอปเปิลแล้ว ยังมีผู้ผลิตค่ายต่างๆ ซัมซุง เดลล์ และอีกหลายยี่ห้อตรียมวางผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันนี้ออกสู่ตลาดแล้วเช่นกัน

เมื่อมั่นใจว่า iPad คือทิศทางที่ต้องเดินไป และเทคโนโลยีก็เป็นสิ่งที่ทุกคนเท่าทันกันได้ พชรใช้เวลาศึกษานิตยสารจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ถึงแม้จะมีการเคลื่อนไหวของนิตยสารชั้นนำในต่างประเทศ แต่ยังมีน้อยรายมากที่เข้าสู่ดิจิตอลแมกกาซีนอย่างเต็มรูปแบบ คิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 10% เท่านั้น ในขณะที่ 90% ยังเป็นเพียงแค่การให้บริการขั้นพื้นฐาน และบริการยังไม่ตอบโจทย์ที่แท้จริง

เขายกตัวอย่าง หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอนิ่งโพสท์ สร้างแอพพลิเคชั่นบน iPad แต่ก็เป็นแค่การนำข้อมูลบน PDF มาไว้บนจอ ออกแบบนิดหน่อย ซึ่งถือว่าเป็นขั้นพื้นฐานมากๆ หรือแม้แต่นิตยสาร จีคิว ที่แม้จะมีลูกเล่นมากขึ้น เช่น ขยายรูปได้แต่การใช้งานยังไม่สะดวกเท่าที่ควร

ส่วนกรณีของ WIRE Magazine ที่กระโดดเข้าสู่การเป็นดิจิตอลแมกกาซีน สร้างความฮือฮาด้วยลูกเล่นต่างๆ ของการนำเสนอเนื้อหาในรูปของเทคโนโลยี 3D เป็นอีกตัวอย่างที่ดี แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล เช่นการพลิกหน้าหนังสือลำบาก เพราะต้องเข้าโปรแกรมใหม่ตลอดเวลา และความที่เป็นแอพพลิเคชั่นที่นิตยสาร WIRE พัฒนาขึ้นเอง จำเป็นต้องพึ่งพาทีมเทคโนโลยีมาก ซึ่งทำได้ยากในแมกกาซีนทั่วไป

ในที่สุดเขาก็พบว่าแอพพลิเคชั่นบนที่ใช้กับนิตยสาร Time น่าจะเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุด เพราะเป็นแอพพลิเคชั่นมาตรฐานบน iPad ไม่ต้องออกแบบเอง สะดวกในการอ่าน ไม่ซับซ้อน เพราะทำงานบนโปรแกรมเดียว ตอบสนองความเป็นดิจอลแมกกาซีน ได้อย่างแท้จริง

ความพร้อมของฐานข้อมูลก็เป็นเรื่องสำคัญ ใช่ว่านิตยสารทุกฉบับจะทำได้ เมื่อเนื้อหาของ Mars พัฒนาให้ในรูปดิจิตอล เปรียบเป็น “กระทะข่าว” พร้อมนำเนื้อหามาปรุงต่อให้เป็น ดิจิตอลแมกกาซีนได้ทันที การก้าวเข้าสู่ “ดิจิตอล แมกกาซีน” บนiPad จึงเกิดได้เร็วก่อนใคร โดยใช้เวลา 6 เดือน เตรียมเรื่องการออกแบบ และคัดเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้อ่านบน iPad ซึ่งจะมีความแตกต่างจากการบริโภคข่าวบนเว็บไซต์ ที่ต้องการความเร็วและหลากหลายของข้อมูลข่าวสารเป็นหลัก

“หน้าที่ของแมกกาซีนบน iPad คือการเป็นอาหารสมอง เช่น นักธุรกิจ หรือคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ดูว่าเขาต้องรู้อะไร เราจะคัดเลือกมา10 เรื่องที่เขาควรรู้ในแต่ละวัน เนื้อหาจะลึกขึ้น และนำเสนอได้หลายรูปแบบ จากนั้นอัพเดตให้เขาทุกเช้า พอตื่นมาเขาโหลดข้อมูลไปนั่งอ่านตรงไหนก็ได้ ”

สิ่งแรกแมกกาซีน ดิจิตอล ตอบโจทย์ได้ คือสีสันและความคมชัด ซึ่งเป็นปัญหาที่ไลฟ์สไตล์แมกกาซีนและแฟชั่นต้องเจอมาตลอด เพราะควบคุมได้ยาก แต่เมื่อมาอยู่บน iPad แล้ว หน้าจอที่คมชัด และสีสันสดใส ทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป

ส่วนเนื้อหาใน Mars on iPad จะอิงจากตัวแมกกาซีน แต่จะเลือกบางคอลัมน์ และเพิ่มให้มีลูกเล่นการนำเสนอให้มีความหลากหลาย ดูได้ทั้งภาพนิ่ง วิดีโอสัมภาษณ์ผู้บริหาร หนังโฆษณา 3 มิติ พชรเชื่อว่า การอ่านจะกลายเป็นเรื่องสนุกมากขึ้น และตอบสนองการรับรู้ได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากดิจิตอล แมกกาซีน ฉีกกฎกติกาในรูปแบบเดิมได้อย่างสิ้นเชิง สร้างโอกาสใหม่ให้กับธุรกิจโฆษณาสามารถนำเสนอสินค้าได้สร้างสรรค์ขึ้น พชรยกตัวอย่าง โฆษณารถยนต์ แทนที่จะเป็นแค่ภาพนิ่งแบบเดิม สามารถใส่คลิปหนังโฆษณา ไฟล์วิดีโอ ผู้บริหารพูดถึงคุณสมบัติของรถ หรือถ้าอยากเลือกดูภาพนิ่งอย่างเดียว ก็ดูได้ไม่จำกัด ทั้งขนาด และจำนวน ดูแล้วอยากจองรถก็ลิงค์ไปที่เว็บไซต์ของบริษัทเจ้าของรถยนต์ได้ทันที

เขายกตัวอย่าง รถยนต์มินิ ต้องการโฆษณารถทั้ง 5 สี ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงทำไม่ได้ แต่ถ้าบน iPad เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป คนดูสามารถกดดูสีไปเรื่อยๆ หากอยากรู้ข้อมูล ก็เชื่อมไปดูที่เว็บของมินิ และเลือกโหลดดูรีวิวรถรุ่นนี้จากคอลัมนิสต์

คอลัมน์ Living ของ Mars สามารถนำเสนอกระเบื้องปูพื้น คนอ่านดูเลือกดูภาพกระเบื้องทุกรุ่น ดูได้รู้ด้วยว่าปูแล้วผลเป็นอย่างไร และหากสนใจจะสั่งซื้อก็มีราคา เบอร์ให้ติดต่อเสร็จสรรพ ทำให้คนดูสนุก และเห็นภาพมากขึ้น เจ้าของสินค้าเองก็มีโอกาสขายสินค้าได้ง่ายขึ้น

คอลัมน์รีวิวหนังเป็นอีกตัวอย่าง ผู้อ่านสามารถคลิกดูวิจารณ์หนังจากคอลัมนิสต์เพิ่ม หรือดูตัวอย่างหนังประกอบ หากอยากไปดูในโรงหนังระบบก็ต่อเชื่อมไปที่โรงหนังจองตั๋วได้ทันที เช่นเดียวกับคอลัมน์แนะนำหนังสือ อ่านรีวิวจบอยากซื้อ ระบบเชื่อมเว็บร้านหนังสือ ใน โลกดิจิตอล หากชอบใจเสื้อผ้านางแบบ ก็กดสั่งซื้อได้ทันที พชรเชื่อมั่นว่า นี่คือปฏิวัติรูปแบบของโฆษณาบนแมกกาซีนในอนาคต

ด้วยรูปแบบโฆษณาที่จะมีทางเลือกมากขึ้น ทั้งความหลากหลายของรูปแบบ การทำโปรดักชั่นโฆษณากลายเป็นเรื่องสำคัญ ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ด้วยความพร้อมของทีมงาน Mars บริษัทในเครือด้วยกัน จะมีบริการรับผลิตโฆษณาให้กับลูกค้า โดยมีให้เลือกตั้งแต่หนังโฆษณาทั่วไป จนถึงหนังโฆษณา 3 มิติ เลือกภาษาที่ใช้ ได้ทั้งไทยและอังกฤษ เพราะเมื่อเป็นแอพพลิเคชั่นบนแอพสโตร์แล้ว ทุกอย่างก็ไร้พรมแดน ไม่มีข้อจำกัด เรื่องของระยะทาง เวลา โหลดอ่านฟรีทั่วโลก

15 ตุลาคม เป็นวันดีเดย์ของ Mars on iPad วางแผง คือบทพิสูจน์ของการเป็น Fist Mover ของนิตยสารเมืองไทย ที่ก้าวเข้าสู่การเป็นดิจิตอล แมกกาซีนเต็มตัวMars on iPad วางแผงแล้วในรูปแบบของแอพพลิเคชั่น ให้ผู้ใช้ iPad ทั่วโลกดาวน์โหลดได้ฟรีทางแอปเปิล แอพสโตร์ ตั้งแต่วันที่

“ไอแพด จะเป็นจุดเริ่มต้น หลังจากนั้นค่ายเอเอสทีวี ผู้จัดการ จะเดินไปกับทุกอุปกรณ์ต่างๆ ทั้ง OS แอนดรอยด์ หรือแพดของยี่ห้อต่างๆ หากในอนาคตจะมีจอให้อ่านหนังสือบนตู้เย็น หรือโต๊ะกินข้าว เราก็จะไป” นี่คือคำยืนยันความพร้อมของการเข้าสู่ ดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต

]]>
13294
พริ้นท์ ซิตี้…โรงพิมพ์นี้สีเขียว https://positioningmag.com/13191 Wed, 27 Oct 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13191

พริ้นท์ ซิตี้ ธุรกิจการพิมพ์รายแรกที่ปักธงว่าจะเป็น Green Print หรือธุรกิจการพิมพ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หลังจากเป็นธุรกิจการพิมพ์รายแรกของไทยที่ได้รับฉลาก Carbon Footprint เป็น 1 ใน 5 รายแรกของเอเชีย

“เราต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อโลก” คือบทสรุปจากปากคำของ ดร.ธีระพล เตชะวิเชียร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พริ้นท์ ซิตี้ จำกัด ซึ่งกล่าวไว้ในวันเปิดตัวเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา ที่โรงแรมสยามเคมปินสกี้

ความมั่นใจของบริษัทที่จะเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นกรีนพริ้นท์อย่างจริงจัง ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพราะความคุ้นเคยในธุรกิจการพิมพ์มานาน มีความชำนาญ อยู่ตัว และยังมีความต้องการที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต ซึ่งทำให้บริษัทต้องหาทางออกใหม่ๆ ให้กับธุรกิจที่ทำอยู่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับการเติบโตของธุรกิจยุคใหม่ ซึ่งขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างความแตกต่างให้กับตัวเองจากคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน

ดร.ธีระพล เชื่อว่า กรีนพริ้นท์จะเป็นการตอบโจทย์ที่ถูกต้อง เพราะปัจจุบันปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงมากขึ้น ธุรกิจที่จะอยู่รอดต้องปรับตัวให้โลกอยู่รอดได้ด้วย ขณะเดียวกันในธุรกิจสิ่งพิมพ์ของเมืองไทยก็ยังไม่มีรายใดได้คาร์บอนฟุตพริ้นท์มาก่อนเลย ทำให้พริ้นท์ ซิตี้ ตัดสินใจหยิบคำว่ากรีนพริ้นท์มาใช้ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนให้กับธุรกิจที่บริษัทดำเนินงานอยู่

แต่การจะให้สังคมคล้อยตามสิ่งที่บริษัทคิดไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมแม้จะดีต่อโลก แต่ก็เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า หากลูกค้าไม่ได้ประโยชน์ก็จะไม่ยอมเปลี่ยนตัวเองจากการทำธุรกิจแบบเดิมๆ มาสู่สิ่งใหม่

ดังนั้น วิธีการของบริษัทจึงเน้นแสดงให้รู้ค้าเป็นประโยชน์ของกรีนพริ้นท์ที่สามารถประหยัดเวลา ประหยัดต้นทุน ให้ลูกค้าได้มากกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ได้กับลูกค้าโดยตรง ขณะเดียวกันทั้งบริษัทและลูกค้าก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสิ่งแวดล้อมตามโจทย์ที่ตั้งไว้

วิธีการที่ช่วยให้บริษัทประหยัดให้ลูกค้าได้ คือการนำเทคโนโลยี Web2Print เข้ามาใช้งาน ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยให้ลูกค้าส่งงานที่ต้องการพิมพ์ไปโรงพิมพ์ผ่านออนไลน์ได้ทันทีไม่ต้องเสียเวลาขนส่งแบบงานพิมพ์ยุคเดิม ประหยัดทั้งต้นทุนเวลาและค่าขนส่ง ขณะที่ระบบดิจิตอลก็สามารถพัฒนาความคมชัด สี และคุณภาพ รวมทั้งการควบคุมจำนวนการผลิตได้ตามที่ต้องการ

“5 ปีก่อน Web2Print เริ่มเกิดในอเมริกา แต่ในไทยยังไม่ได้รับความนิยม 2 ปีก่อนบริษัทจึงคิดทำกิจกรรม CSR กับกลุ่มนักเรียนนักศึกษา โดยใช้แนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมมาผสมกับการทำกิจกรรมการผลิตสิ่งพิมพ์ โดยสร้างเครือข่ายให้นักศึกษาหลายแห่งมารวมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนและรู้จักเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ดร.ธีระพลกล่าว

พริ้นท์ ซิตี้ เชื่อว่า กิจกรรมที่ทำมาตลอด 2 ปี จะเป็นการปูฐานการตลาดของสิ่งพิมพ์สีเขียวให้เติบโตอย่างรวดเร็วในเมืองไทย เพราะอย่างน้อยก็จะมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบงานพิมพ์ที่ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมในปริมาณที่มากขึ้น ที่สำคัญที่ผ่านมาการที่บริษัทได้ลูกค้ารายใหญ่อย่าง 7-Catalog ของเซเว่นอีเลฟเว่น ที่สั่งงานพิมพ์ผ่านระบบ Web2Print และพิมพ์ด้วยหมึกและกระดาษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากจะทำให้ซีพีออลล์เจ้าของลดต้นทุนการผลิตหนังสือเล่มนี้ได้ถึง 25% แต่สำหรับพริ้นท์ซิตี้ถือเป็นผลตอบรับที่มีส่วนช่วยกระตุ้นตลาดให้กับบริษัทได้อย่างดี

“ตอนนี้อาจจะเรียกว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเต็มที่ แต่ผมเชื่อว่า พริ้นท์ ซิตี้ จะทำได้สำเร็จตามเป้าหมายจากกิจกรรมซีเอสอาร์ที่ได้ปูไว้”

กลยุทธ์สร้างตลาดเขียวของ Print City

ขั้นตอนแรก – สร้างความมั่นใจว่าเป็นกรีนพริ้นท์ด้วยการได้รับฉลาก Carbon Footprint และตอกย้ำความแตกต่างให้กับบริษัทจากคู่แข่ง

ขั้นตอนที่ 2 – ทำกิจกรรมซีเอสอาร์กับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างฐานการตลาดลูกค้าให้คำนึงถึงผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

ขั้นตอนที่ 3 – ใช้ระบบดิจิตอลเข้ามาใช้อย่างครบวงจรในกระบวนการงานพิมพ์ของบริษัท ตั้งแต่การรับส่งไฟล์งานจากลูกค้า จนกลายเป็นผลผลิตที่ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น หมึกพิมพ์ กระดาษ ฯลฯ

ขั้นตอนที่ 4 – จัดงานเปิดตัวกับกลุ่มลูกค้าที่เกี่ยวเนื่องกับงานพิมพ์ทุกธุรกิจ ตั้งแต่บริษัทผู้ว่าจ้างผลิตสิ่งพิมพ์ เจ้าของสื่อสิ่งพิมพ์ เอเยนซี่ ฯลฯ เพื่อสรุปภาพรวมทั้งหมดของบริษัทให้ลูกค้ารับรู้อย่างทั่วถึงและชัดเจน

]]>
13191