Rabbit – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 28 Dec 2020 09:52:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะกลยุทธ์ ‘บัตร Rabbit’ ในวันที่นักท่องเที่ยวหายและถูกท้าทายจาก ‘อีวอลเล็ต’ https://positioningmag.com/1312294 Mon, 28 Dec 2020 08:41:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312294 ตลอด 9 ปีที่ผ่านมามีการออกบัตร ‘แรบบิท (Rabbit)’ มากกว่า 14 ล้านใบ เพื่อใช้เป็นตั๋วรถไฟฟ้าและบัตรเติมเงินสำหรับซื้ออาหารเครื่องดื่มและบริการซึ่งมีกว่า 550 แบรนด์ที่รองรับการใช้งานผ่านบัตรแรบบิท และโดยปกติจะมีการออกบัตรแรบบิทใหม่ประมาณ 2 ล้านใบ/ปี แต่เมื่อมีการระบาดของ COVID-19 ตัวเลขดังกล่าวลดลงเหลือเพียง 1.5 ล้านใบ ซึ่งการจะกลับมาเติบโตเหมือนเดิมอีกครั้ง ถือเป็นอีกโจทย์ของ รัชนี แสนศิลป์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (บัตรแรบบิท)

รัชนี แสนศิลป์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (บัตรแรบบิท)

เดินหน้าเพิ่มพันธมิตร

รัชนี ระบุว่า เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงและจำนวนผู้โดยสารที่ใช้ระบบขนส่งมวลชนน้อยลงในช่วงล็อกดาวน์ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การออกบัตรแรบบิทลดลง แต่ยังมีความหวังว่าในปี 2564 นักท่องเที่ยวต่างชาติจะ ‘กลับมา’ หลังจากที่ทั่วโลกได้รับความหวังจากการมี ‘วัคซีน’

อย่างไรก็ตาม บริษัทกำลังดำเนินกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องในการเพิ่มจำนวนผู้ถือบัตรด้วยการนำบัตรแรบบิทไปใช้ในบริบทต่าง ๆ อาทิ ร่วมกับองค์กรและสถานศึกษาในการทำ ‘บัตรพนักงาน’ และ ‘บัตรนักเรียน’ รวมถึงร่วมมือกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ‘แสนสิริ’ ในการจัดหาคีย์การ์ดแรบบิทเพื่อเข้าคอนโดมิเนียม นอกจากนี้ยังออก ‘บัตรเมมเบอร์’ ให้แบรนด์ต่าง ๆ อีกด้วย

ล่าสุด ได้ออก ‘บัตรเครดิต อิออน แรบบิท แพลทินัม’ (AEON Rabbit Platinum Card) ซึ่งเข้ามามีส่วนใน eco-system ของบัตรแรบบิทให้เข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น เพราะทุกการแตะบัตรใบนี้เพื่อชำระค่าบริการไม่ต้องกังวลว่ามีเงินอยู่ในบัตรพอเพียงหรือไม่ เพราะเมื่อเงินในฟังก์ชันแรบบิทที่อยู่ในบัตรใบนี้ไม่พอจ่ายค่าสินค้า/บริการ เงินจากวงเงินบัตรเครดิตก็จะเติมเข้า กระเป๋าบัตรแรบบิทโดยอัตโนมัติ และยังได้รับเครดิตเงิน 5%

เพิ่มบริการ ขนส่งมวลชน

บริษัทต้องการให้บัตรแรบบิทครอบคลุมการขนส่งประเภทต่าง ๆ ไม่ใช่แค่รถไฟฟ้า เนื่องจากจะทำให้มีผู้ถือบัตรมากขึ้นและมีร้านค้ามากขึ้นที่เสนอตัวเลือกการชำระเงินด้วยแรบบิท โดยในระหว่างที่รอการเชื่อมต่อ Rabbit กับตั๋วรถไฟฟ้า MRT บริษัทกำลังขยายบริการให้ครอบคลุมเส้นทางรถเมล์บางส่วนตามสถานที่ท่องเที่ยวและเรือสาธารณะ อาทิ การเดินทางบนคลองภาษีเจริญและแม่น้ำเจ้าพระยา

“เป้าหมายของเราคือการขยายเครือข่ายของเราให้มากที่สุด อย่างการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายจากวัดพระศรีมหาธาตุไปยังคูคต และรถไฟฟ้าสายสีทองที่เชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรีกับคลองสานน่าจะเป็นปัจจัยบวกเพิ่มจำนวนการใช้บัตร”

ในส่วนของร้านค้าปลีกต่าง ๆ บริษัทตั้งเป้าเพิ่มจุดรับชำระให้ได้ 40% โดยจะเน้นไปที่ร้านรายย่อย

“เรามั่นใจว่าจะสามารถหลับมาเติบโตได้เหมือนกับก่อนที่มี COVID-19 โดยในปีหน้าเราตั้งว่ายอดออกบัตรใหม่จะเติบโตได้ 15-20%

เพิ่มแอปฯ เพิ่มความสะดวก

ภายในไตรมาสที่สองของปี 2564 บริษัทมีแผนจะเปิดตัวแอปพลิเคชันบนมือถือเพื่อให้ผู้ถือบัตรสามารถ ‘ตรวจสอบยอดคงเหลือ’ ‘ประวัติการใช้งาน’ และเติมเงินมูลค่าบัตรได้ในไม่กี่วินาที และในอนาคตพวกเขาจะสามารถใช้ ‘มือถือแตะทำธุรกรรม’ ต่าง ๆ ได้ด้วย โดยผู้ถือบัตรจะต้องเชื่อมโยงแอปพลิเคชันกับบริการธนาคารบนมือถือ และต้องใช้โทรศัพท์ที่มี NFC

“ทุกสิ่งที่เราทำไม่ใช่แค่เพิ่มยอดออกบัตรใหม่ แต่ต้องใช้บัตรในกิจวัตรประจำวันนอกจากแค่ใช้เดินทาง BTS ซึ่งปัจจุบันมีการทำธุรกรรมผ่านบัตร 700,000-800,000 รายการ/วัน แต่การใช้นอกเหนือจากโดยสาร BTS หรือการใช้จ่ายซื้อของยังมีสัดส่วนเพียง 5-10%”

โปรโมชัน ยังจำเป็น

ส่วนบัตรลายลิมิเต็ดต่าง ๆ ช่วยให้บริษัทได้รู้ว่าลูกค้าเป็นใคร และจากนี้จะมีสิทธิประโยชน์เพิ่ม เช่น ได้ส่วนลดเพิ่มเติม ซึ่งจะไม่ใช่แค่ขายลายแต่ยังช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายด้วย อาทิ ลาย ‘กันดั้ม’ ที่เพิ่งออกไปก็จะมีสิทธิพิเศษเพิ่มไปด้วย ดังนั้น สิทธิพิเศษหรือโปรโมชันต่าง ๆ ยังเป็นสิ่งจำเป็น ช่วยให้รู้สึกว่าดีกว่า ‘ใช้เงินสด’ ดังนั้น การแข่งขันของบัตรแรบบิทกับ ‘อีวอลเล็ต’ ต่าง ๆ ยังอยู่ที่โปรโมชันเป็นหลัก ส่งผลให้ทรานแซคชั่นของร้านค้าต่าง ๆ จะขึ้น ๆ ลง ๆ แล้วแต่ใครมี ‘โปรโมชัน’ ดังนั้น ‘Loyalty’ ไม่มีแล้ว

“โปรโมชันยังสำคัญในการดึงลูกค้ามาใช้ แต่ความชินเป็นอีกสิ่งที่คนใช้ไม่รู้ตัว การชำระเงินผ่านแอปฯ อาจจะง่าย แต่การหยิบบัตรมาแตะก็ง่าย และเราไม่ได้มีโปรหวือหวาให้ว้าว แต่มีตลอดเพื่อให้อยู่ในใจลูกค้า”

ผู้อยู่รอดต้องมี อีโคซิสเต็มส์ ที่แข็งแรงพอ

ตอนนี้การแข่งขันเป็นสิ่งที่ท้าทายของแรบบิทที่สุด เพราะตอนนี้กำลังแข่งขันกับ ‘ออนไลน์’ แต่ไม่ได้มีใครมองว่าความจริงเป็นยังไง โดยแรบบิทยังมองว่า ‘ออฟไลน์’ ยังแข็งแกร่ง และออนไลน์แรบบิทก็มี Rabbit Line Pay นอกจากนี้ จุดแข็งของบัตรแรบบิทคือ ‘BTS’ ตราบใดที่คนยังต้องเดินทางด้วย BTS บัตรแรบบิทยังจำเป็น ดังนั้น คนที่จะอยู่รอดหรืออีวอลเล็ตที่จะอยู่รอดต้องมีอีโคซิสเต็มส์ที่แข็งแรง

“เรายังมีความจำเป็นต้องเป็นออฟไลน์เพราะเรื่องการเดินทาง แต่ก็พร้อมจะอัพเกรดเป็นออนไลน์ 100% ได้ทันที ดังนั้นเราเท่าเทียมกับอีวอลเล็ต แต่มีมากกว่าก็คือทรานซิท”

สุดท้าย แม้ประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่โลกดิจิทัลและโลกเสมือนจริง แต่ในช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ โลกออฟไลน์ยังคงแข็งแกร่ง ดังนั้น การจะเป็นสังคมไร้เงินสดเหมือนจีนยังไม่ง่าย เพราะการใช้จ่ายของไทยกระจุกอยู่ในสังคมเมืองมากกว่า แถมคนไทยถูกกปลูกฝังว่าเรื่องเงินเป็นของธนาคาร ดังนั้นมันยังมีปัญหาตรงส่วนนี้อยู่ ดังนั้นอีก 10 ปีอาจเป็นไปได้

]]>
1312294
ปรากฏการณ์เกมใหญ่ บิ๊กจับบิ๊ก เอไอเอส ร่วมทุนแรบบิท ของทายาทรถไฟฟ้าบีทีเอส บุกธุรกิจไร้เงินสด https://positioningmag.com/1160045 Mon, 05 Mar 2018 08:05:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1160045 นับเป็นการรวมตัวระหว่าง ผู้ให้บริการอันดับ 1 ในประเทศ เอไอเอสที่มีฐานลูกค้ากว่า 40 ล้านราย Rabbit ซึ่งเป็นผู้ให้บริการไมโครเพย์เมนต์ และ mass transit ที่มีผู้ใช้งานบัตรกว่า 8.5 ล้านราย และ LINE แอปพลิเคชั่นที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 42 ล้านบัญชี เพื่อขึ้นเป็นผู้นำโมบายเพย์เมนต์ในไทย

ภายใต้ความร่วมมือ บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ (mPAY) ซึ่งบริษัทลูกของ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด มหาชน หรือ เอไอเอส ได้ร่วมทุนกับ  Rabbit LINE Pay (RLP) แพลตฟอร์ม e-money ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ LINE

โดย บริษัท แอดวานซ์เอ็มเปย์ จำกัด จะเข้าไปร่วมทุนผ่านการซื้อขายหุ้นเพิ่มใน แรบบิท ไลน์ เพย์ (Rabbit LINE Pay) จำนวน 1,999,998 หุ้น ในราคาหุ้นละ 393.75 บาท รวมเป็นเงิน 787 ล้านบาท ขณะที่ระหว่างผู้ร่วมทุนเดิม ไลน์ เพย์ คอร์ปอเรชั่น และไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) กับ บริษัท แรบบิท เพย์ ซิสเทม จำกัด ได้มีการเพิ่มทุนอีก 1,999,996 หุ้น ในราคาหุ้นละ 100 บาท เพื่อให้ทั้ง 3 รายถือหุ้นเท่ากันที่ 33.33%

  • ความร่วมมือแรกที่จะเกิดขึ้น คือการเชื่อมต่อแอป my AIS มาใช้งานบน Rabbit LINE Pay
  • เอไอเอส ย้ายฐานลูกค้าของ mPay มาเป็นฐานลูกค้าของ Rabbit LINE Pay โดยที่ยังสามารถเข้าถึงระบบชำระค่าบริการต่างๆของ mPay กว่า 200 รายการได้เหมือนเดิม
  • Rabbit LINE Pay จะเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินบนมือถือบนแอป my AIS
  • ตั้งแต่นี้ไปการชำระเงินของลูกค้าระบบเติมเงิน ลูกค้าระบบรายเดือน ลูกค้า
    เอไอเอส ไฟเบอร์ ค่าบัตรเครดิต ค่าสาธารณูปโภค รวมกว่า 200 รายการ จะจ่ายผ่านช่องทาง Rabbit LINE Pay
  • การชำระบิลต่างๆ ผ่านทาง Rabbit LINE Pay ผู้ใช้ไม่ต้องกรอกข้อมูลบัตรเครคิตหรือบัตรเดบิต

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชนหรือ เอไอเอส กล่าวว่าที่ผ่านมาเอไอเอสเชื่อมั่นในอีโคซิสเต็มส์ในการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ที่แข็งแรง เพื่อนำบริการมาให้แก่ผู้บริโภค ความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นการรวมกลุ่มอีโคซิสเต็มส์ของผู้ให้บริการโมบายมันนี่ที่แข็งแรงมาก

ที่ผ่านมาเอ็มเปย์ถือเป็นผู้ให้บริการโมบายเพย์เมนต์รายเดียวในประเทศไทยที่ทำธุรกิจแล้วมีกำไรอยู่ จากประสบการณ์ในตลาดกว่า 10 ปี แต่มาในวันนี้การเป็นเพียงเฉพาะผู้ให้บริการเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป เอ็มเปย์จึงขยับตัวขึ้นมาเป็นแพลตฟอร์มในการให้บริการโมบายเพย์เมนต์แทน

ทำให้หลังจากร่วมทุนแล้วจะเป็นการรวมตัวกันของ 3 บริษัทที่ถือเป็นผู้นำในตลาดอย่างเอไอเอส ที่เป็นผู้นำในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานมีจำนวนฐานลูกค้ามากกว่า 40 ล้านราย ในขณะที่แรบบิทเป็นผู้ให้บริการชำระเงินในระบบไมโครเพย์เมนต์อันดับ 1 ในกรุงเทพฯ ที่มีผู้ใช้งานบัตรแรบบิทกว่า 8.5 ล้านรายและ LINE แชทแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้มากกว่า 42 ล้านราย

อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การร่วมเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ จะผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้จริง ทั้งการเพิ่มช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ใช้ชำระค่าบริการต่างๆในชีวิตประจำวันที่ในอนาคตจะมีโปรโมชั่นพิเศษให้ผู้ใช้ได้ลอง

ในส่วนของช่องทางเติมเงินเข้าในกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ จากเดิมที่ต้องใช้ผ่านการโอนเงินจากบัญชีธนาคาร หรือช่องทางชำระเงินเฉพาะ แต่ในอนาคตลูกค้า AIS สามารถใช้ช่องทางศูนย์บริการเอไอเอสเทเลวิซและร้านตู้เติมเงินทั่วประเทศกว่า 2 แสนจุดในการเติมเงินได้

ปัจจุบัน Rabbit LINE Pay มีผู้เข้ามาลงทะเบียนใช้งานราว 3 ล้านบัญชี มีการใช้งานสูงสุดต่อวันอยู่ที่ 1.5 ล้านครั้ง โดยในเดือนมิถุนายนผู้ใช้งาน Rabbit LINE Pay จะสามารถใช้ชำระค่าบริการรถไฟฟ้า BTS ได้.

]]>
1160045
Rabbit LINE Pay และ Rabbit Card ร่วมกับ Dairy Queen มอบส่วนลดพิเศษ เอาใจคนรักโอรีโอ บลิซซาร์ด https://positioningmag.com/1133541 Thu, 20 Jul 2017 03:24:04 +0000 http://positioningmag.com/?p=1133541 มร.จิน วู ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Rabbit LINE Pay และนางสาวพรรณอัมพา วงศ์ศรีชัย ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (Rabbit Card) พร้อมกับนายนครินทร์ ธรรมหทัย ผู้จัดการทั่วไป และนางภัทรพร สุวรรณนามัย ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไมเนอร์ ดีคิว จำกัด (Dairy Queen) เพิ่มช่องทางการชำระค่าสินค้าด้วย Rabbit LINE Pay แพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านมือถือ หลังจากร่วมมือกับบัตร Rabbit ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ที่ร้าน Dairy Queen กว่า 90 สาขาทั่วกรุงเทพฯ โดยการร่วมมือกันระหว่าง Dairy Queen, Rabbit LINE Pay และบัตร Rabbit ในครั้งนี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการใช้จ่ายให้กับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น พร้อมมอบโปรโมชั่นพิเศษเอาใจคนรักไอศกรีม “ลดทันที 5 บาท เมื่อชำระค่า โอรีโอ้ บลิซซาร์ด ขนาด 8 ออนซ์ (Size M) ด้วย Rabbit LINE Pay และบัตร Rabbit ทุกประเภท ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2560

]]>
1133541
Rabbit ผนึก LINE Pay ปั้นแพลทฟอร์มชำระเงินออนไลน์ https://positioningmag.com/62979 Thu, 07 Apr 2016 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=62979

ถือว่าเป็นดีลใหญ่อีกดีลหนึ่งแห่งวงการเพย์เมนต์บ้านเรา ในการร่วมทุนกันของ Rabbit บัตรชำระเงินแบบออฟไลน์ ที่คุ้นเคยจากการใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส กับ LINE Pay แพลตฟอร์มการชำระเงินออนไลน์ผ่านมือถือจากแชตแอพพลิเคชั่นไลน์ มีสัดส่วนในการลงทุน 50:50 ซึ่ง Rabbit ภายใต้ชื่อบริษัท BSS Holdings Co.,Ltd. จะทำการเพิ่มทุนให้กับ LINE Biz Plus Limited หรือ LINE Pay เป็นจำนวน 50% พร้อมทำการเปลี่ยนชื่อเป็น “Rabbit LINE Pay”

ความสำคัญของดีลนี้ก็คือเป็นการรวมแพลตฟอร์มการชำระเงินแบบออฟไลน์ และออนไลน์ไว้ด้วยกัน เพื่อสร้าง Cashless Society ภายใต้ฐานลูกค้าของบัตรแรบบิทมากกว่า 5 ล้านใบ และมีจุดรับบัตรแรบบิทกว่า 4,000 จุด จากพันธมิตรกว่า 100 แบรนด์ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ส่วนไลน์เพย์แม้จะเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2558 แต่ด้วยการที่เป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมกับไลน์ ทำให้การใช้งานสะดวกมากขึ้น ปัจจุบันมียอดผู้ลงทะเบียนใช้งาน 1.5 ล้านคน และจำนวนร้านค้าที่ร่วมรายการทั่วประเทศเกินกว่า 250 ร้านค้า

ก่อนหน้านี้แรบบิทได้เคยร่วมมือกับธนาคารบนโลกออฟไลน์มาแล้วอย่างอิออน และธนาคารกรุงเทพ และได้พัฒนาซิมเพื่อใช้ร่วมกับ M Pay ของทางเอไอเอส แรบบิทเองก็ต้องการรุกตลาดเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ และขยายฐานลูกค้าสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น การจับมือกับไลน์เพย์ในครั้งนี้ทำให้แรบบิทได้ใช้ฐานผู้ใช้ของไลน์ที่มี 33 ล้านคนไปโดยปริยาย เป็นทั้งคนเมือง และคนต่างจังหวัด และแรบบิทเองก็ต้องการเปลี่ยนภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ ไม่ใช่แค่บัตรรถไฟฟ้าบีทีเอสอีกต่อไป แต่เป็นแบรนด์ไลฟ์สไตล์

ในขณะที่ทางไลน์เองก็ต้องการขยับจากโลกออนไลน์มาสู่ออฟไลน์มากขึ้น เพื่อเป็นการใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากกว่าเดิม ไลน์เชื่อว่าไลน์เพย์จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำพาให้ไลน์เป็นมากกว่าแชตแอพพลิเคชั่น แต่เป็น Life Platform ที่ครอบคลุมการทำงานทั้งออนไลน์ และออฟฟไลน์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของไลน์ในตอนนี้เลยก็ว่าได้

มร. เนลสัน เหลียง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท บีเอสเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด หรือ แรบบิท กล่าวว่า การตกลงร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้แรบบิทได้ขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มผู้ใช้ LINE จำนวน 33 ล้านคน และยังสามารถขยายตลาดไปยังต่างจังหวัด ผู้ใช้บริการ Rabbit LINE Pay จะได้รับความสะดวกสบายจากระบบชำระเงินผ่านร้านค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ในครั้งนี้ ทั้ง LINE Pay และ Rabbit จะทำงานร่วมกันทั้งในส่วนของการแชร์ อัพเดตช่องทางธุรกิจที่เป็นประโยชน์ แนะนำพาร์ตเนอร์ที่เหมาะสมร่วมกัน ถือเป็นโอกาสที่ LINE Pay จะได้ขยายช่องทางการเติมเงิน การชำระเงินให้มากขึ้นด้วยการสนับสนุนจาก Rabbit ในขณะที่ Rabbit ก็จะสามารถเพิ่มช่องทางนการเข้าถึงผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์หลักผ่านแพลตฟอร์ม LINE Pay”

Rabbit LINE Pay มีแผนจะประกาศบริการแรกกับร้านค้าหลักในฐานะบริการตัวอย่างก่อนภายในไตรมาสที่ 3 และจะเปิดให้บริการเต็มตัวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภายในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ อาจจะเป็นในรูปแบบของการพัมนา QR Code ที่พ่วงบัตรแรบบิทไปกับไลน์เพย์ ทำให้ในอนาคตสามารถใช้แค่สมาร์ทโฟนในการซื้อสินค้า หรือบางคนจะบัตรแรบบิทต่อก็ได้

กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงก็คือคนที่ยังใช้เงินสดอยู่ เพราะในประเทศไทยคนใช้เงินสดยังมีสัดส่วน 85% และคนใช้บัตรเครดิต 15% เป็นเป้าหมายสำคัญในการสร้าง Cashless Society

]]>
62979