Rolex – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 04 Jun 2024 03:15:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Rolex ประกาศขึ้นราคานาฬิกาครั้งที่ 2 ในรอบปี สาเหตุจากราคาทองคำพุ่งขึ้นสูงทำสถิติใหม่ https://positioningmag.com/1476373 Mon, 03 Jun 2024 05:16:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1476373 โรเล็กซ์ (Rolex) ผู้ผลิตนาฬิกาหรู ได้ปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นหลายรุ่น โดยการปรับเพิ่มราคาดังกล่าวนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี 2024 สาเหตุสำคัญมาจากราคาทองคำซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตนาฬิกาได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น

Rolex ผู้ผลิตนาฬิกาจากสวิตเซอร์แลนด์ ได้ปรับราคานาฬิกาหลายรุ่นราวๆ 4% เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวมากขึ้น จากสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน อย่างไรก็ดีราคานาฬิกาจากผู้ผลิตรายนี้นับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมานั้นยังปรับตัวไม่ถึง 15% ด้วยซ้ำ

ราคานาฬิกาในรุ่น Rolex Daytona ที่วางขายในสหราชอาณาจักรนั้นเพิ่มขึ้น 4% ในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่รุ่นอื่นๆ อย่าง GMT Master II รุ่น Deepsea หรือแม้แต่รุ่น Day-Date 40 นั้นก็มีราคาปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่สำหรับราคาในสหรัฐอเมริกากลับไม่ได้ปรับขึ้นแต่อย่างใด

สาเหตุสำคัญมาจากราคาทองคำที่เพิ่มมากขึ้น โดยนับตั้งแต่ต้นปี 2024 เป็นต้นมา ราคาทองคำซึ่งถือเป็นหนึ่งในวัตถุดิบในการผลิตปรับตัวเพิ่มมากขึ้นถึง 14% เนื่องจากทองคำถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนเพิ่มมากขึ้น

ปกติแล้ว Rolex จะมีการปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นปีละ 1 ครั้ง ยกเว้นในกรณีวัตถุดิบที่ทำให้ราคาของนาฬิกาเพิ่มขึ้นแล้วนั้นยังรวมถึงความผันผวนของค่าเงินที่สูงนั้นอาจทำให้ผู้ผลิตรายนี้ปรับราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทเคยทำมาแล้วในปี 2022 หลังจากที่ค่าเงินปอนด์มีความผันผวนอย่างหนัก

ข้อมูลจาก Watch Pro ชี้ว่านับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา ราคานาฬิกาของ Rolex หลายรุ่นได้ปรับตัวขึ้นมายังไม่ถึง 15% ด้วยซ้ำ

ปัจจุบัน Rolex นั้นผลิตนาฬิกาต่อปีมากถึง 1 ล้านเรือน สร้างรายได้ให้กับบริษัทต่อปีมากถึง 10,000 ล้านสวิสฟรังก์ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 407,200 ล้านบาท

ที่มา – Telegraph, Watch Pro

]]>
1476373
โรเล็กซ์ประกาศชื่อ Rolex Laureates https://positioningmag.com/31555 Tue, 07 Nov 2006 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=31555

อาจารย์ พิไล พูลสวัสดิ์ “มารดาแห่งนกเงือก” ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ทรงเกียรติโรเล็กซ์ท่านล่าสุด

โรเล็กซ์ เจ้าของรางวัล Rolex Awards for Enterprise ซึ่งได้ทำการมอบรางวัลมาเป็นเวลา 30 ปี ทำการประกาศชื่อผู้ทรงเกียรติ (Laureate) ที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 5 ท่าน โดยเแบ่งเป็นหญิง 3 ท่าน และ ชาย 2 ท่าน จากประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส อินเดีย สหราชอาณาจักรและประเทศไทย ซึ่งผู้ทรงเกียรติท่าน 5 ท่าน จะเข้าร่วมกับผู้ทรงเกียรติอีก 55 ท่านที่ได้รับรางวัลตั้งแต่ปี 2519 จากผู้ผลิตนาฬิกาสัญชาติสวิสสำหรับโครงการนวัตกรรมค่างๆที่ช่วยเปลี่ยนแปลงโลกและทำให้โลกนี้เป็นที่ที่น่าอยู่มากยิ่งขึ้น

ผู้ทรงเกียรติทั้ง 5 ท่าน ได้รับการคัดเลือกจากผู้คณะกรรมการทรงคุณวุฒิ ซึ่งทำการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆจากเกือบ 1,700 ท่าน จาก 117 ประเทศ โดยผู้ทรงเกียรติเหล่านี้จะได้รับการยกย่องในเรื่องของการอุทิศตนเพื่อด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การสำรวจและ มรดกทางวัฒนธรรม ผู้ทรงเกียรติจะได้รับเงินรางวัลท่านละ 100,000 เหรียยสหรัฐ พร้อมด้วยนาฬิกา Rolex chronometer เรือนทองรุ่นที่ได้รับการจารึกเป็นพิเศษ ในงานมอบรางวัลคืนวันที่ 26 ณ เอสปลาเนด คอนเสิร์ต ฮอลล์ ประเทศสิงคโปร์

ในปีนี้ จำนวนของผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 66 จากปี 2547 และด้วยโครงการที่แสดงถึงศักยภาพอันดีเยี่ยม มีผู้ได้รับรางวัลจากภูมิภาคนี้มากถึงร้อยละ 50 ของผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ จำนวนที่ได้รับรางวัลที่เป็นสตรีก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เป็นจำนวน 4 จาก 10 คน

“เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนช่วยส่งเสริมท่านเหล่านี้ โดยรวมถึงหลายๆท่านจากภูมิภาคนี้” รีเบคก้า อาร์วิน ผู้อำนวยการ of the Rolex Awards for Enterprise กล่าว “จำนวนของผู้ชนะเลิศและจำนวนของผู้ส่งผลงานเข้าสมัครจากพื้นที่นี้แสดงให้เห็นถึงสัญญานการเจริญเติบโตที่ชัดเจนของความมุ่งมั่นของจิตวิญญาน”

เราได้พบเห็นผู้สมัครขั้นดีจากประเทศไทยมาเป็นเวลาหลายปี นักสิ่งแวดล้อมคุณพิสิทธ์ ชาญสเนาะ ได้รับรางวัลในฐานะรองผู้ทรงเกียรติในปี 2547 สำหรับโครงการพิทักษ์พะยูนจากการสูญพันธุ์ มาในปีนี้ เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งทีจะทำการยกย่องคุณพิไล พูนสวัสดิ์ให้เป็นผู้ทรงเกียรติคนล่าสุดจากประเทศไทย คุณพิไลได้ใช้เวลามากกว่า 10 ปีในการรณรงค์พิทักษ์นกเงือก โดยทำการเปลี่ยนผู้บุกรุกและนักตัดไม้ผิดกฏหมายในประเทศไทยให้กลายเป็นผู้พิทักษ์นกเงือก คุณพิไลได้รับการขนานนามจากเหล่านักอนุรักษ์ให้เป็น “มารดาแห่งนกเงือก” เราขอยกย่องคุณพิไลในวันนี้ถึงความพยายามในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นต่อการอนุรักษ์ในประเทศไทย”

อาจารย์พิไล พูนสวัสดิ์ ผู้ทรงเกียรติของโรเล็กซ์ท่านล่าสุดกล่าวว่า “ประเทศไทยมีนกเงือกสายพันธุ์เอเชียจำนวน 13 สายพันธุ์จาก 31 สายพันธุ์ มี 1 สายพันธุ์ที่กำลังจะสูญพันธุ์ 5 สายพันธุ์กำลังอยู่ในอันตราย 4 สายพันธุ์กำลังจะถูกคุกคาม และ 3 สายพันธุ์ถูกทำลายได้โดยง่าย ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความพยายามของพวกเราจะช่วยก่อให้เกิดการวิจัยสำหรับสายใยชีวิตที่ซับซ้อนนี้เพิ่มมากขึ้น และหวังไว้ว่าคนไทยจะเรียนรู้การอยู่ร่วมกับป่าอย่างกลมกลืนอีกครั้ง”

อาจารย์พิไลจะนำเงินรางวัลที่ไดัรับจาก Rolex Award ไปในการดูแลและสร้างรังสำหรับนกเงือก ทีมของชาวบ้านจะทำหน้าที่ในการรักษาและซ่อมแซมรังที่มีอยู่แล้ว รวมถึงประดิษฐ์รังจากท่อนซุง ไฟเบอร์กลาส และ เรซิน

ผู้ทรงเกียรติโรเล็กซ์ประจำปี 2006

Alexandra Lavrillier: สร้างโรงเรียนสำหรับชนเผ่านักล่าสัตว์เร่ร่อน Evenk ในไซบีเรีย
ทางตะวันออกเฉียงใต้ของไซบีเรีย ชนเผ่าเร่ร่อนพยายามที่จะรักษาวิถีความเป็นอยู่ของตน ตามประเพณีวัฒนธรรมของชาว Evenk ผู้คนที่มีความสามารถในการต้อนกวางเรนเดียร์ ล่าสัตว์และตกปลา ถูกกัดกร่อนด้วยความเจริญของวัฒนธรรมตะวันตก Alexandra Lavrillier นักชาติพันธุ์วิทยา ใช้เวลาถึง 8 ปีในการช่วยเหลือพวกเขาในการรักษาวิถีความเป็นอยู่ของพวกเขาโดยการจัดตั้งโรงเรียนเร่ร่อน ซึ่งเป็นที่ที่ลูกหลานชาว Evenk จะได้รับโอากาสการศึกษาที่ทันสมัยในขณะที่สามารถดำรงวิถีความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษของตนได้

Brad Norman: จัดทำเครือข่ายบัตรประจำตัวภาพถ่ายระดับโลก (global photo-ID network) สำหรับการอนุรักษ์ฉลามวาฬ
Brad Norman นักอนุรักษ์สัตว์น้ำชาวออสเตรเลีย ด้วยแรงผลักดันจากความรักในทะเลและฉลามวาฬ ปลาหายากที่ใหญ่ที่สุดในทะเล ได้คิดค้นระบบบัตรประจำตัวภาพถ่ายเพื่อช่วยในการอนุรักษ์ ระบบนี้มีพื้นฐานมาจากวิธีการแบบเดียวกับการศึกษาการจดจำดวงดาวในเวลากลางคืน ซึ่งระบบนี้จะได้รับการพัฒนาให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของสัตว์ใต้ทะเลอีกเป็นพันชนิดในอนาคต

อาจารย์พิไล พูนสวัสดิ์ : ผลักดันชุมชนห่างไกลในประเทศไทยให้ร่วมพิทักษ์นกเงือก
หลังการค้นพบสายพันธุ์นกเงือกทางตอนใต้ในป่าเขตร้อนชื้นที่ถูกแจ้งว่าสูญพันธุ์ไปแล้วนั้น อาจารย์พิไล พูนสวัสดิ์ นักจุลชีววิทยาได้ทำการเปลี่ยนแปลงผู้บุกรุกป่าและนักตัดไม้ผิดกฏหมายให้กลายเป็นผู้พิทักษ์นกล้ำค่าและแหล่งที่อยู่ของมัน โดยอาจารย์พิไลมีโครงการสำหรับคนเมืองในการรับอุปการะรังของนกเงือกเพื่อระดมเงินทุน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างและปรับเปลี่ยนทัศนคติแก่ชุมชนต่อการอนุรักษ์

Chanda Shroff : ฟื้นงานหัตถกรรมในเมืองคูท์ช ประเทศอินเดีย
ในเขตห่างไกลของประเทศอินเดีย Chanda Shroff ได้สร้างความเคลื่อนไหวในการฟื้นคืนศิลปะการแสดงออกแบบพื้นบ้าน งานหัตถกรรม ซึ่งสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอ ในพื้นที่ของเมืองคูท์ซเคยเป็นที่ที่มีประวัติอันยาวนานของงานหัตถกรรม แต่หลังจากปี 2503 ที่มีการบุกรุกของวัสดุสังเคราะห์ รวมถึงงานเครื่องจักรได้เข้ามาทำลายงานหัตถกรรมนี้จนเกือบจะสาบสูญ Chanda Shroff ทำการอนุรักษ์ศิลปะอันมีเอกลักษณ์นี้ พร้อมกับส่งเสริมศิลปะที่สวยงามนี้รวมถึงการทำให้ผู้หญิงมีอำนาจเพิ่มมากขึ้นในสังคมอนุรักษ์นิยมสูงแห่งนี้

Rory Wilson: พัฒนาอุปกรณ์อิเลคโทรนิคในการติดตามสัตว์
Rory Wilson นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ เป็นที่รู้จักจากผลงานการพัฒนาอย่างชาญฉลาดในการติดตามสัตว์ป่าและทำการบันทึกพฤติกรรมของสัตว์เหล่านั้นโดยไม่จำเป็นต้อง ทำการติดตามโดยตรงอย่างใกล้ชิด ผลงานการคิดค้นล่าสุดเป็นอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนไปได้ทุกจุดแม้แต่ที่ที่ดาวเทียมไม่สามารถทำได้ ทำให้สามารถเฝ้าสังเกตสัตว์ต่างๆได้อย่างอิสระ ซึ่งจะช่วยในการวิจัยพฤติกรรมของสายพันธุ์ที่ถูกคุกคาม และสามารถนำข้อมูลที่ได้นี้ไปช่วยในการคุ้มครองพวกสัตว์เหล่านี้

“ผู้ทรงเกียรติเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและจิตวิญญานซึ่งเป็นการตอกย้ำถึงเจตนารมย์ของ Rolex Awards ที่มีมาตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว” Patrick Heiniger ซีอีโอ Rolex SA และ ประธานคณะกรรมการคัดสรรกล่าว “เราชาวโรเล็กซ์รู้สึกพึงพอใจเป็นอย่างยิ่งที่เราได้มีโอกาสสนับสนุนบุคคลผู้กล้าที่จะทำในสิ่งที่แตกต่างเพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ทีดีขึ้นของมวลมนุษยชาติ”

รางวัลรองผู้ทรงเกียรติ (The Associate Laureates)
นอกเหนือจากรางวัลผู้ทรงเกียรติแล้ว ทางโรเล็กซ์ยังได้จัดให้มีการมอบรางวัลรองผู้ทรงเกียรติอีก 5 รางวัล โดยจะได้รับเงินรางวัลเป็นจำนวน 50,000 เหรียญและนาฬิกา Rolex chronometer เรือนเหล็กผสมทอง ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลจะได้รับการจัดงานเชิดชูเกียรติในประเทศของตน หรือในภูมิภาคของตนเองในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า

ขั้นตอนการคัดเลือก
คณะกรรมการคัดสรรในปีนี้ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงระดับโลกในสาขาต่างๆทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษา ผู้ประกอบการรายย่อย นักอนุรักษ์นิยม และ นักสำรวจ ซึ่งล้วนแต่มีคุณสมบัติที่เด่นชัดในการเป็นกรรมการคัดสรรซึ่งจะต้องทำหน้าที่คัดสรรโครงการที่มีความหลากหลายที่ถูกนำเสนอมา โดยคณะกรรมการประกอบด้วยท่านต่างๆ ดังนี้

1. Dr Laretna T. Adishakti, Indonesian architect and founder of the Center for Heritage Conservation
2. Professor Denise Bradley, vice chancellor and president of the University of South Australia
3. Motoko Ishii, Japanese lighting designer
4. Erling Kagge, Norwegian polar explorer and mountaineer
5. Professor Tommy Koh, diplomat and patron of the arts from Singapore
6. William K. Reilly, American conservationist
7. Dr Luis Rojas Marcos, American professor of psychiatry at New York University School of Medicine
8. Mark Shuttleworth, South African technology entrepreneur and philanthropist;
9. Sir Magdi Habib Yacoub, British surgeon and founder of the Magdi Yacoub Institute.

ขั้นตอนการคัดเลือก
โรเล็กซ์จะทำการเปิดรับสมัครผู้เข้ารับการคัดเลือกสำหรับรางวับ Rolex Awards ปี 2551 เพื่อเรียนเชิญผู้สนใจที่มีคุณสมบัติตรงตามสาขาที่วางไว้มาสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อรับรางวัลอันทรงเกียรติครั้งที่ 13 นี้ รางวัล Rolex Awards วางเป้าหมายในการค้นหาและมอบรางวัลให้แก่บุรุษและสตรีที่ไม่เป็นที่รู้จักแต่ว่าทำคุณประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมโลกและมนุษยชาติ โดยโครงการเหล่านี้ต้องเป็นโครงการต้นฉบับที่มีความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ รวมถึงมีผลกระทบในด้านบวกต่อชุมชน
เส้นตายในการส่งผลงานเข้าร่วมการคัดเลือกสำหรับรางวัล Rolex Awards ครั้งที่ 13 นี้คือ
– วันที่ 31 พฤษภาคม 2550 สำหรับทวีปเอเชีย แปซิฟิค และทวีปอเมริกาทั้งหมด
– วันที่ 30 กันยายน 2550 สำหรับทวีปยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดต่อขอรับภาพถ่ายได้ที่
ณัฐพร ตั้งวงศ์ศานต์
Grayling Public Relations
โทร 02 610 3675, 081 920 1490
Email: [email protected] / [email protected]

]]>
31555
ยอดผู้สมัครโครงการโรเล็กซ์ อวอร์ดของคนไทยสมัครเพิ่มมากที่สุดกว่าทุกปี https://positioningmag.com/28344 Wed, 05 Apr 2006 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=28344

พิธีมอบรางวัลในโครงการโรเล็กซ์ อวอร์ด ซึ่งกำลังจะจัดขึ้นเร็วๆ นี้ พบว่ายอดผู้สมัครในโครงการฯ จากประเทศไทย มีอัตราพุ่งสูงที่สุดในบรรดาประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชียด้วยกัน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยพิธีมอบรางวัลโรเล็กซ์ อวอร์ด ครั้งที่ 12 จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม 2549 ที่ประเทศสิงคโปร์ อีกทั้งยังเป็นงานครบรอง 30 ปี ของโครงการมอบรางวัล ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกสองปี

ยอดจำนวนผู้สมัครจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า หรือ 100 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว ตามมาติดๆ ด้วยมาเลเซีย ซึ่งมีผู้สมัครเพิ่มขึ้น 82 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ 2 ปีที่แล้วในขณะที่ อินโดนีเซีย สูงขึ้น 57 เปอร์เซ็นต์ และสิงคโปร์ 50 เปอร์เซ็นต์ โดยรวมแล้ว ยอดผู้สมัครจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียต่างมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 70 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ย เทียบกับปี 2547

สำหรับโครงการโรเล็กซ์ อวอร์ด ปี 2547 ผู้ชนะเลิศจากการคัดเลือกจากประเทศไทย ได้แก่ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คุณพิสิทธ์ ชาญเสนาะ คุณพิสิทธ์ เป็นผู้ได้รับคัดเลือกได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ เนื่องจากเขาอุทิศตัวให้กับการอนุรักษ์ตัวพะยูนจากการถูกทำร้าย และไม่ให้สูญพันธุ์หมดไปจากทะเลในประเทศไทย โดยอุทิศตนเข้าร่วมกับชุมชนชายฝั่งทะเลในโครงการอนุรักษ์เพื่อฟื้นฟูถิ่นที่อยู่ตัวพะยูน

จากตัวเลขของผู้สมัครจากประเทศไทยที่มีอัตราเติบโตสูงที่สุด คุณพิสิทธิ์ได้ให้ความคิดเห็นเรื่องนี้ว่า “คนไทยเป็นที่รู้จักกันดีว่ารักธรรมชาติมาก สำหรับผม นับเป็นแรงบันดาลใจอย่างหนึ่งที่ได้เห็นเพื่อนตามชนบทต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งที่พวกเขารักให้ดีขึ้น รางวัลโรเล็กซ์ให้การสนับสนุนทางด้านเงินทุนแก่ผู้ชนะ และยังให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้ชนะเพื่อที่จะสานฝันให้เป็นจริงขึ้นมาได้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นคนไทยท่านอื่นๆ ร่วมสมัครเหมือนกับผม เพื่อเป็นหนึ่งในผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศจากรางวัลโรเล็กซ์

คุณรีเบ็คก้า เออวิ่น หัวหน้ารักษาการงานมอบรางวัลเกียรติยศโรเล็กซ์ กล่าวเสริมว่า “ครั้งนี้เป็นปีที่ 12 แล้วที่เราจัดงานพิธีมอบรางวัลนี้ขึ้นมา รางวัลนี้จะไปสนับสนุน และเป็นแรงผลักดันให้ทุกคนคิดหรือทำอะไรก็ตามที่ทำให้สังคมพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เราพบว่าเจตนารมณ์ของโครงการดังกล่าวกำลังเป็นที่จับตามองจากผู้คนทั่วโลก ผ่านไปปีแล้วปีเล่า การมอบรางวัลนับเป็นเกียรติสำหรับโรเล็กซ์ที่จะให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลให้เข้าใจหรือตะหนังถึงวิสัยทัศน์ของพวกเขาเหล่านั้น จากยอดผู้สมัครในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นมาอย่างสูง โดดเด่นกว่าประเทศอื่น แสดงให้เห็นว่าคนไทยเริ่มหันมาใส่ใจความสำคัญที่จะผลักดันสังคมของเราให้ก้าวไปในทิศทางที่ดีขึ้น”

รางวัลโรเล็กซ์อวอร์ด อันทรงเกียรติเป็นรางวัลสำหรับบุคคลที่มีความคิดเป็นนวัตกรรมใหม่ และสร้างสรรค์ โครงการที่มีประโยชน์ ซึ่งจะต้องสร้างผลกระทบด้านบวกต่อมนุษยชาติ รางวัลดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 5 สาขา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ และวงการแพทย์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ค้นคว้าวิจัยนวัตกรรมใหม่ อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ผู้ชนะทั้ง 5 ท่าน หรือผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอันทรงเกียรติ แต่ละท่านจะได้รับนาฬิกาโรเล็กซ์สลักชื่อผู้ชนะลงบนตัวเรือนอันล้ำค่า และเงินรางวัล 100,000 เหรียญดอลลาร์ฯ (หรือ 4 ล้านบาทโดยประมาณ) เพื่อให้รางวัลในครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับโลกของเรา ทางโรเล็กซ์จึงต้องการให้ผู้ที่ได้รับรางวัลนี้ นำเงินที่ได้ไปสานต่อโครงการหรือกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ที่ได้นำเสนอเข้ามา
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rolexawards.com

]]>
28344
โรเล็กซ์ยืดเวลาวันปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันชิงรางวัล โรเล็กซ์ อวอร์ด ครั้งที่ 12 จากประเทศไทย https://positioningmag.com/23802 Thu, 14 Jul 2005 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=23802

กรุงเทพมหานคร 14 กรกฎาคม 2548 – บริษัทนาฬิกาโรเล็กซ์เลื่อนกำหนดวันปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันโรเล็กซ์ อวอร์ด 2549 จากประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2548 สืบเนื่องมาจากที่มีผู้สนใจได้ให้การตอบรับอย่างมากมาย ในวันกำหนดปิดรับสมัคร ในวันที่ 31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

“หากเปรียบเทียบจากการแข่งขันคราวที่ผ่านมา ครั้งนี้ถือว่ามียอดผู้เข้าร่วมสมัครจากประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย รวมกันเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 40% จุดเด่นสำหรับการแข่งขันปีนี้คือการมีส่วนร่วมในการแข่งขันจากประเทศแถบเอเชีย ซึ่งนับว่าเป็นการเพิ่มคุณภาพการแข่งขันได้อย่างมีสีสันดีทีเดียว” มิสรีเบ็คก้า เออวิ่น หัวหน้ารักษาการงานมอบรางวัลเกียรติยศโรเล็กซ์

“มีผู้สนใจในแถบทวีปเอเชียติดต่อสอบถามเรามากมายเกี่ยวกับโรเล็กซ์ อวอร์ด ดังนั้น เราจึงตัดสินใจยืดเวลาวันปิดรับสมัครออกไป เพื่อให้ผู้สนใจจากทั้ง 4 ประเทศที่กล่าวมาข้างต้น สามารถมาสมัครได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2548 ซึ่งจะเป็นวันปิดรับสมัครวันสุดท้าย สำหรับผู้สมัครจากทุกภูมิภาค” มิสรีเบ็คก้า กล่าวเสริม

รางวัลโรเล็กซ์ อวอร์ดจะถูกจัดขึ้นทุกๆสองปี ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะมีผู้ร่วมแข่งขันกว่า 2,000 รายจากทั่วโลกในแต่ละครั้ง ซึ่งในอดีต กว่า 70% ของผู้สมัครจะมาจากประชากรในแถบทวีปยุโรปและอเมริกา อย่างไรก็ตามจำนวนตัวเลขของผู้สมัครชาวเอเชียได้กระเตื้องขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ซึ่งนับว่าเป็นแนวโน้มที่ทางโรเล็กซ์มั่นใจว่าจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ

“เมื่อปีที่ผ่านมา เราได้รับรายชื่อผู้เข้าแข่งขันจากแถบเอเชียกว่า 300 ราย ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2543 และ 2545 โดยเรามีความมั่นใจว่าจำนวนผู้เข้าสมัครชาวเอเชียสำหรับการแข่งขันปี พ.ศ 2549 จะต้องเพิ่มขึ้นกว่าจำนวนตัวเลขของปี 2547” มิสรีเบ็คก้า กล่าว

การแข่งขันโรเล็กซ์ อวอร์ด ประจำปี พ.ศ. 2549 จะเป็นการครบรอบ 30 ปีของรางวัลโรเล็กซ์ รางวัลซึ่งตระหนักถึงคุณประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 จุดประสงค์เพื่อสนับสนุนโครงการสร้างสรรค์ทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์การแพทย์ เทคโนโลยี การค้นคว้าวิจัยใหม่ สิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ โดยไม่มีข้อจำกัดสำหรับผู้เข้าแข่งขันทั้งในด้านอายุ เชื้อชาติ และภูมิหลัง

ผู้ชนะจากโครงการแต่ละประเภททั้งห้าประเภทของการแข่งขันจะต้องผ่านการพิจารณาและคำตัดสินจากคณะกรรมการอันทรงเกียรติ ซึ่งจะจัดขึ้นในประเทศสิงคโปร์ในเดือนตุลาคม 2549 ผู้ชนะเลิศทั้ง 5 ท่านจะได้รับเงินรางวัล 100,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 4 ล้านบาท รวมถึงได้รับนาฬิกาโรเล็กซ์สลักชื่อผู้ชนะลงบนตัวเรือนอันล้ำค่า และโครงการของผู้ชนะเลิศจะได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชน โดยแผนงานที่ชนะเลิศจะได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากบรรทัดฐานของความคิดริเริ่ม ความเป็นไปได้และผลที่ออกมาจะต้องมีประสิทธิภาพ ทุกแผนงานต้องส่งเสริมมนุษยธรรม และเหนือสิ่งอื่นใด ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแสดงถึงความพยายามอย่างไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ เพื่อความสำเร็จของโครงการ นอกเหนือจากความสำเร็จในการมอบรางวัลในอดีตที่ผ่านมา ทุกรางวัลยังมีส่วนช่วยให้โครงการสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น หรือไม่ก็ประสบผลสำเร็จจนกระทั่งเกิดโครงการริเริ่มใหม่ๆ ขึ้นมาอีก

ผู้ที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดใบสมัครและยื่นกลับได้โดยตรงผ่านทางเว็บไซต์ – www.rolexawards.com – หรือติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกรอกใบสมัครแล้วยื่นไปที่
Rolex Awards for Enterprise Secretariat
PO Box 1311, 1211 Geneva 26
Switzerland

หากผ่านขั้นตอนการพิจรณาเบื้องต้นจากคณะเลขาธิการแล้ว โครงการที่ผ่านการคัดเลือกจะถูกส่งไปยังคณะผู้ตัดสินเพื่อพิจรณาอีกครั้ง
ในต้นปี พ.ศ. 2549

]]>
23802