S&P – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 23 Aug 2022 14:27:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘S&P’ เดินเกมใหม่ดันยอด ‘ขนมไหว้พระจันทร์’ เน้นจับ ‘พาร์ทเนอร์’ เพิ่มลูกค้าใหม่ วางเป้าโต 20% https://positioningmag.com/1397099 Mon, 22 Aug 2022 13:02:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1397099 กำลังจะวนมาถึงอีกครั้งแล้วสำหรับ เทศกาลไหว้พระจันทร์ ที่มีมานานเกือบพันปี โดยจะจัดขึ้นทุกวัน 15 ค่ำ เดือน 8 หรือตรงกับวันที่ 10 กันยายนปีนี้ ซึ่งตามความเชื่อของชาวจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ถือเป็นช่วงที่ญาติพี่น้องได้กลับมาพบหน้ากัน อีกทั้งยังเป็นวันเกิดของ เทพแห่งความรักของชาวจีน ดังนั้น นี่จึงเป็นวันสำคัญของหนุ่มสาวด้วย และเพื่อให้ได้รับพรและพลังบวกจากพระจันทร์ ดังนั้น ของที่ขาดไม่ได้ก็คือ ขนมไหว้พระจันทร์

S&P เร่งดันยอดด้วยพาร์ทเนอร์

สำหรับ ขนมไหว้พระจันทร์ แน่นอนว่าชื่อของ S&P ถือเป็นชื่อแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึง เพราะเป็นแบรนด์ที่ทำตลาดมาถึง 34 ปี และที่ผ่านมาก็ครองส่วนแบ่งตลาดถึง 30-35% อย่างไรก็ตาม ด้วยวิกฤต COVID-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดไม่คึกคักเท่าที่ควร โดยมูลค่าตลาดอยู่ที่ราว 700 ล้านบาท จากที่เคยแตะ 900 ล้านบาทในช่วงก่อนการระบาด และสำหรับภาพรวมปีนี้ อรรถ ประคุณหังสิต ประธานเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติการธุรกิจเอส แอนด์ พี บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ได้คาดการณ์ว่า ตลาดยังไม่ฟื้นตัว ดังนั้นมูลค่าจะใกล้เคียงปีที่ผ่านมา

“ตอนนี้คู่แข่งเหมือนเดิม ๆ ส่วนใหญ่เป็นร้านเบเกอรี่รายย่อยและเบเกอรี่ของโรงแรม ซึ่งในแง่วอลลุ่มจะไม่เยอะมาก ส่วนแบรนด์ดัง ๆ ก็เงียบ ๆ ดังนั้น เรายังคงเป็นแบรนด์หลัก ส่วนภาพรวมตลาดคงยังไม่กลับไปแตะ 900 ล้านบาทเร็ว ๆ นี้”

อรรถ ประคุณหังสิต ประธานเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติการธุรกิจเอส แอนด์ พี บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา S&P ได้ปรับทิศทางใหม่โดย วางขายขนมไหว้พระจันทร์ทั้งปี ซึ่งในเดือนปกติที่ไม่ใช่ช่วงเทศกาล S&P มียอดขายประมาณ 4 หมื่นชิ้นต่อเดือน ซึ่งยอดขายช่วงนอกเทศกาล อรรถ ยังรับว่าคง ไม่เติบโตไปกว่านี้ ในขณะที่ยอดขาย 2 เดือนในช่วงเทศกาลนั้นมากกว่าช่วง 10 เดือน หลายเท่าตัว

ดังนั้น กลยุทธ์ปีนี้จะเน้นไปที่ช่วงเทศกาล โดยได้ เปิดพรีออเดอร์ล่วงหน้า เพื่อรองรับดีมานด์ อีกทั้งยังเพิ่มช่องทางจำหน่ายโดยจับมือกับพาร์ทเนอร์ ฟู้ดเดลิเวอรี่ ได้แก่ LINEMAN และ Grab Food พร้อมกับจัดโปรโมชันร่วมกัน รวมถึงมีการทำโปรโมชันร่วมกับ ธนาคาร และ โอเปอเรเตอร์ ซึ่งทั้ง 2 อุตสาหกรรมมีจำนวนลูกค้ามหาศาล

“ลูกค้า 50% ซื้อไปไหว้ 25% ซื้อไปทาน และ 25% ซื้อไปฝาก ดังนั้น ยอดขายนอกเทศกาลคงโตไปกว่านี้ไม่ได้แล้ว เราเลยมาเน้นดันยอดช่วงนี้ อย่างการเปิดพรีออเดอร์ก็เพื่อแก้ปัญหาที่ลูกค้ามักมาซื้อใกล้ ๆ วันแล้วหาไส้ที่ต้องการไม่ได้ และในยุคนี้เป็นยุคที่ต้องมีพาร์ทเนอร์ ซึ่งพาร์ทเนอร์ก็จะช่วยขยายฐานลูกค้าเราให้กว้างมากขึ้น”

จัดเซตมงคล เพิ่ม 3 ไส้ใหม่ดึงลูกค้า

ปัจจุบัน S&P มีขนมไหว้พระจันทร์รวมทั้งหมด 16 รสชาติ (21 ไส้) ได้แก่ ไส้หมอนทองล้วน/ไข่1/ไข่2, ไส้หมอนทองแมคคาเดเมีย, ไส้หมอนทองเจ, ไส้โหงวยิ้งล้วน/ไข่1/ไข่2, ไส้งาดำ, ไส้บัวล้วน/ไข่1, ไส้บัวแมคคาเดเมียไข่, ไส้แปดเซียน, ไส้อินทผาลัมธัญพืช, ไส้บัวทองไข่เค็มลาวา, ไส้มัตฉะชาเขียวถั่วแดง, ไส้ส้มช็อกโกแลตลาวา และปีนี้เพิ่มอีก 3 ไส้ ได้แก่ ไส้โคโค่นัทคัสตาร์ดลาวา, ไส้พุทราจีนและชาหอมหมื่นลี้ และไส้มอคค่าอัลมอนด์

โดย อรรถ อธิบายว่า การมีไส้ใหม่เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะช่วยเพิ่มลูกค้าใหม่ ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงานอายุ 25-35 ปี นอกจากนี้ S&P ยังได้มีการจัดเซตมงคลสำเร็จ 4 ชุด ได้แก่ มั่งมี, มั่งคั่ง, โชคลาภ และหมอนทองมงคล ส่วนหนึ่งก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าง่ายต่อการซื้อ เพราะ 90% ของลูกค้าที่ซื้อจะซื้ออย่างน้อย 4 ชิ้น

“ไส้เดิม ๆ เราจะมีลูกค้าประจำอยู่แล้ว โดยเฉพาะไส้หมอนทอง, ไส้บัว และ ไส้โหงวยิ้ง ที่ขายดีที่สุด และเนื่องจากขนมไหว้กระจันทร์ของเราถูกซื้อไปเป็นของฝาก แพ็กเกจจิ้งจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำให้สวยดึงดูด และมีความหมายที่ดี อย่างปีนี้เป็นปีเสือ ก็จะมีภาพเสือ”

สำหรับยอดขายขนมไหว้พระจันทร์เฉพาะช่วงเทศกาล 35 วันที่ผ่านมา S&P เติบโตกว่าช่วงเดียวกันของปี 2019 ถึง 8% ดังนั้น ยอดขายทั้งปีคาดว่าจะเติบโตกว่าปี 2019 ประมาณ 15-20%

ดัน Bakery Mart โนว์ฮาวจากช่วงโควิด

สำหรับภาพรวมของ S&P ในช่วงครึ่งปีแรกมีการเติบโตประมาณ 20-30% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่กลับไปเท่ากับปี 2019 เพราะแม้ว่า COVID-19 จะคลี่คลาย แต่ก็ต้องมาเจอกับ ปัญหาต้นทุน ซึ่งทาง S&P เองก็ต้องพยายามควบคุมต้นทุนหลาย ๆ ด้าน เพื่อไม่ให้กระทบกับราคาสินค้า อย่างไรก็ตาม มีสินค้าบางชนิดที่ต้องขึ้นราคา

“เรามีการปรับตัวรัดเข็มขัดเรื่องต้นทุน อย่างแพ็กเกจจิ้งของขนมไหว้พระจันทร์ก็ไม่ได้ใช้กล่องเหล็กเหมือนก่อน โดยเปลี่ยนเป็นกระดาษ หรือจำนวนพนักงานก็มีการปรับให้ใช้คนน้อยลง”

ในส่วนของสาขาของ S&P มีรวมทั้งหมด 446 สาขา แบ่งเป็นร้านอาหาร 140 สาขา ร้านเดลต้า (สำหรับซื้อกลับบ้านและเดลิเวอรี่) 34 จุด, เบเกอรี่ ช้อป 259 สาขา และ เบเกอรี่ มาร์ท (Bakery Mart) 14 สาขา โดยช่วงครึ่งปีแรกมีการเปิดสาขาทั้งหมด 34 จุด และครึ่งปีหลังจะเปิดเพิ่มอีก 16 จุด

อย่างไรก็ตาม ทิศทางของ S&P จะเน้นไปที่ เบเกอรี่ มาร์ท ที่จะขายสินค้าหลากหลายกว่าแค่เบเกอรี่ โดยหลังจากที่ทดลองเปิดพบว่ามียอดขายต่อสาขาเพิ่มขึ้นถึง 40% เมื่อเทียบกับกับเบเกอรี่ ช้อป อีกทั้งยังใช้งบลงทุนไม่มาก เพราะเน้นรีโนเวตเบเกอรี่ ช้อป อย่างไรก็ตาม ที่ยังขยายสาขาไม่ได้มากเป็นเพราะต้องใช้พื้นที่มากขึ้นอีกเท่าตัว ดังนั้น อุปสรรคจึงอยู่ที่การหาพื้นที่

“ช่วงโควิดเรามีการทำมาร์เก็ตเพลสออนไลน์ เพราะเรามีของเยอะ พอโควิดดีขึ้นเราก็ไม่ได้เปิดมาร์เก็ตเพลส แต่เราเห็นดีมานด์ของลูกค้าเปลี่ยนไป เขาต้องการสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น เบเกอรี่ มาร์ทจึงเป็นตัวแทนมาร์เก็ตเพลสที่ปิดไป”

]]>
1397099
S&P พลิกเกม! วางขาย “ขนมไหว้พระจันทร์” ทั้งปี เปลี่ยนขนมเทศกาลเป็นของฝาก https://positioningmag.com/1349911 Thu, 02 Sep 2021 07:45:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349911 ใกล้วนมาถึงเทศกาลขนมไหว้พระจันทร์อีกแล้วในปีนี้ ในปีที่แล้วด้วยวิกฤต COVID-19 ทำให้ตลาดขนมไหว้พระจันทร์ไม่คึกคักเท่าที่ควร ในปีนี้คาดว่าจะได้เห็นสัญญาณที่ดีขึ้น S&P ได้ปรับทิศทางใหม่ วางขายขนมไหว้พระจันทร์ทั้งปี หวังสร้างดีมานด์ทานได้ทุกโอกาส และซื้อเป็นของฝากได้

วางขายทั้งปี เพิ่มโอกาสซื้อเป็นของฝาก

ในช่วงหลายปีก่อนหน้านี้ตลาดขนมไหว้พระจันทร์ค่อนข้างคึกคักเป็นพิเศษ เพราะเป็นตลาดที่ทั้งผู้เล่นร้านเบเกอรี่ทั่วไป และโรงแรมต่างลงมาจับตลาด แต่งตัวขนมให้ดูพรีเมียมกันมากขึ้น ในปี 2561 ตลาดมีมูลค่า 900 ล้านบาท และปี 2562 มีมูลค่า 950 ล้านบาท เมื่อเมื่อปี 2563 ที่เจอพิษ COVID-19 ทำให้มูลค่าตลาดลดลงเหลือ 800 ล้านบาท หดตัวถึง 15.7% เรียกว่าต่ำสุดในรอบหลายปีเลยทีเดียว

ในตลาดขนมไหว้พระจันทร์มีผู้ใหญ่ใหญ่ๆ 4-5 ราย ชื่อของ S&P ก็อยู่ในนั้นด้วย ครองส่วนแบ่งตลาด 30-35% เรียกว่าอยู่ในเบอร์ต้นๆ ของตลาด

S&P ได้จำหน่ายขนมไว้พระจันทร์มาตั้งแต่ปี 2531 หรือ 33 ปีมาแล้ว แต่เดิมได้ขายแค่ช่วงหน้าเทศกาลไหว้พระจันทร์ เท่ากับว่าจะมีช่วงเวลาขายเพียงแค่ 1-2 เดือนเท่านั้น แต่ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา S&P ได้เริ่มจำหน่ายขนมไหว้พระจันทร์แบบตลอดทั้งปี เพิ่มเป็นการเพิ่มโอกาสการขาย และสร้างโอกาสในการทานมากขึ้น ไม่ใช่แค่ทานช่วงเทศกาลอย่างเดียว

ทาง S&P ได้เปิดผลวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า ส่วนใหญ่คนไทยซื้อขนมไหว้พระจันทร์ไปกินเองถึง 39.2% รองลงมาคือ ซื้อไปไหว้ 33.5% ซื้อไปฝากเพื่อน หรือญาติ 23.3% และลูกค้าองค์กรอีก 4%

เท่ากับว่าโอกาสของการซื้อไปเป็นของฝากมีมากขึ้น ทาง S&P เลยจับทางตรงนี้ในการทำการตลาด

อรรถ ประคุณหังสิต

อรรถ ประคุณหังสิต ประธานเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติการธุรกิจเอส แอนด์ พี บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) เล่าว่า

“ทิศทางของ S&P ในปีนี้จะมีการปรับสินค้าเทศกาลออกมาขายทั้งปี เพราะมันมีโอกาสอยู่ ไม่จำเป็นต้องซื้อไหว้อย่างเดียว ส่วนใหญ่ครึ่งหนึ่งซื้อทานเอง และเป็นของฝาก เป็นโอกาสเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และทุกปีเมื่อหมดเทศกาลก็จะมีคนมาถามถึงขนมไหว้พระจันทร์อยู่บ่อยๆ อยากให้ทานขนมไหว้พระจันทร์เป็นเหมือนเบเกอรี่ที่ทานได้ทุกโอกาส ขนมอีกตัวหนึ่งก็คือคุกกี้ ปกติจะขายแค่ช่วงเทศกาลเหมือนกัน ก็มีปรับมาวางขายทั้งปี ตอนนี้วางขายมาได้ 3-4 เดือนแล้ว”

เพิ่ม 2 รสชาติ หวังสร้างความตื่นเต้น

ปัจจุบัน S&P มีขนมไหว้พระจันทร์รวมทั้งหมด 14 รสชาติ (19 ไส้) ได้แก่ ไส้หมอนทองล้วน/ไข่1/ไข่2, ไส้หมอนทองแมคคาเดเมีย, ไส้หมอนทองเจ, ไส้โหงวยิ้งล้วน/ไข่1/ไข่2, ไส้งาดำ, ไส้บัวล้วน/ไข่1, ไส้บัวแมคคาเดเมียไข่, ไส้แปดเซียน, ไส้อินทผาลัมธัญพืช, ไส้บัวทองไข่เค็มลาวา รวมถึง ไส้มัตฉะชาเขียวถั่วแดง และไส้ส้มช็อกโกแลตลาวา เป็นไส้ที่สร้างแความแปลกใหม่ สำหรับคนรุ่นใหม่

ในปีนี้ S&P ได้เปิดตัว 2 รสชาติใหม่ หวังกระตุ้นตลาดให้คึกคักมากขึ้น ได้แก่ ไส้หมอนทองเก๋ากี้ไข่เค็มลาวา และไส้หมูฮ่องเต้ซอสเอ๊กซ์โอ อรรถได้เล่าว่าที่มาของ 2 ไส้นี้ เกิดจากการที่นำ 10 รสชาติที่พัฒนาใหม่ทดลองกับลูกค้าโดยตรง แล้ว 2 รสชาตินี้ได้รับผลตอบรับดีที่สุด จึงนำมาจำหน่าย

รสชาติใหม่นี้จะเป็นการขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ทั้งกลุ่มคนทำงาน และซื้อเป็นของฝากได้

พฤติกรรมลูกค้าในการซื้อขนมไหว้พระจันทร์ 80% จะซื้อเฉลี่ย 4 ชิ้น เท่กับ 1 กล่องพอดี 6 ไส้ที่ขายดีที่สุด ได้แก่ ไส้หมอนทอง, ไส้บัว, ไส้โหงวยิ้ง, ไส้ไข่เค็มลาวา/หมอนทองไข่เค็มลาวา, ไส้งาดำ และไส้อินทผาลัม

S&P มียอดขายจากขนมไหว้พระจันทร์ 200-300 ล้านบาท คาดว่าปีนี้จะมีการเติบโตเพิ่มขึ้น พร้อมกับมูลค่าตลาดที่จะไม่ต่ำกว่า 800 ล้านบาท

]]>
1349911
กรณีศึกษา : แคชเชียร์ S&P ช่วยชีวิตลูกค้าประจำ สกิล CRM ที่หุ่นยนต์แทนที่ไม่ได้ https://positioningmag.com/1305539 Wed, 11 Nov 2020 08:58:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305539 กลายเป็นเรื่องน่ายินดี และแสดงความชื่นชม เมื่อพนักงานแคชเชียร์ S&P สาขาเมืองทองธานี ได้ช่วยเหลือชีวิตลูกค้าประจำ หลังจากที่ลูกค้าหายไปไม่โทรมาสั่งอาหาร เพราะเกิดอุบัติเหตุ จนลูกค้าได้รับความปลอดภัย เรียกว่าเป็นการทำ CRM ที่หุ่นยนต์ก็ไม่สามารถทำแทนได้

เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวน่าสนใจบนโลกออนไลน์ เมื่อมีการแชร์ว่า “อำคา ยศทะแสน” พนักงานแคชเชียร์ S&P สาขาเมืองทองธานี ได้ทำการช่วยเหลือชีวิตลูกค้าประจำของตนเองไว้ เนื่องจากสังเกตเห็นว่าลูกค้าหายไป 5 วัน ไม่โทรมาสั่งอาหารเหมือนปกติทุกวัน จึงไปตรวจสอบที่บ้าน ก็พบว่าเกิดอุบัติเหตุ และได้แจ้งเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือได้ทัน

เรื่องราวได้เกิดเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 63 โดยปกติสมศรี สกุลทองใบ อายุ 85 ปี เป็นลูกค้าประจำของทาง S&P จะโทรมาสั่งอาหารกับคุณอำคา เป็นประจำทุกวัน จนกระทั่งคุณป้าสมศรีหายจากการสั่งอาหาร คุณอำคาเริ่มเอะใจว่าทำไมคุณป้าไม่โทรมาสั่งอาหารเลยนานถึง 5 วัน

ด้วยความเป็นห่วง คุณอำคา จึงพยายามโทรติดต่อคุณป้าสมศรี แต่ก็ไม่สามารถติดต่อได้ จึงตัดสินใจมาหาคุณป้าที่บ้าน ซึ่งได้พบว่า ไฟหน้าบ้านเปิดอยู่ และมีกุญแจล็อกจากด้านในบ้าน คุณอำคาเกรงว่าคุณป้าจะได้รับอันตราย จึงรีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบและให้การช่วยเหลือ

เวลา 14.30 น. วันที่ 10 พ.ย.63 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งมาถึงบ้านคุณป้าสมศรี (ม.เมืองทองธานี) ตัดสินใจงัดประตูหน้าบ้านในขณะที่กำลังงัดประตูก็ได้ยินเสียงคนร้องจากด้านในก็มั่นใจว่าคุณป้า ยังไม่เสียชีวิต และพบว่าตัวคุณป้านั่งอยู่ที่พื้นทางขึ้นบันไดชั้น 2 ซึ่งสันนิษฐานว่าแกน่าจะพลัดตกบันไดจนได้รับบาดเจ็บ

ทางเจ้าหน้าที่เร่งช่วยเหลือเคลื่อนย้ายนำส่งที่ ร.พ. เบื้องต้นพบว่ามีอาการอ่อนเพลียและมีร่องรอยเขียวช้ำที่สะโพกขวา ซึ่งล่าสุดได้รับแจ้งว่าคุณป้าสมศรี ปลอดภัยแล้ว

ทาง S&P ได้มองประกาศนียบัตรให้แก่อำคา ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างดี มีไหวพริบ จนช่วยเหลือลูกค้าจนได้รับความปลอดภัย

ซึ่งจากประเด็นนี้ สามารถเชื่อมโยงได้ถึงการทำ Customer Relationship Management (CRM) ได้อย่างดีทีเดียว การทำ CRM ในยุคนี้ไม่ใช่แค่การให้สิทธิประโยชน์ การจัดโปรโมชันลดราคา แต่เป็นในเรื่องของการเอาใจใส่ การดูแลลูกค้า

ในกรณีนี้พนักงานค่อนข้างบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างดี เนื่องจากเป็นลูกค้าประจำที่สั่งอาหารด้วยกันตลอด เมื่อลูกค้ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ก็ไม่รีรอที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง กลายเป็นว่าเป็นการช่วยชีวิตลูกค้าไว้ได้ ทำให้ลูกค้าได้รับความปลอดภัย

ต้องบอกว่าในยุคนี้มีการพูดถึงการที่ “หุ่นยนต์” เข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ การทำงานแบบอัตโนมัติทำให้มนุษย์ตกงานมากขึ้น แต่การทำ CRM ไม่ใช่สกิลที่หุ่นยนต์จะสามารถทำกันได้ ต้องมีความเข้าอกเข้าใจกันเป็นอย่างดี ทำให้มนุษย์เองมีสกิลที่เหนือกว่าหุ่นยนต์ แต่มนุษย์เองก็ต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดด้วยเช่นกัน มิเช่นนั้นหุ่นยนต์ก็มีวิวัฒนาการแซงหน้าได้ในวันหนึ่ง

]]>
1305539
S&P เอาด้วย! ดีเดย์งดให้ถุงพลาสติก ปี 2563 ช่วงแรกแจกถุงผ้าสปันบอนด์ก่อน https://positioningmag.com/1257474 Fri, 20 Dec 2019 05:16:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257474 S&P ประกาศตัวร่วมรณรงค์ลดการสร้างขยะพลาสติก ด้วยการประกาศงดแจกถุงพลาสติกในปี 2563 เป็นต้นไป ขานรับมาตรการรัฐลดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว

มณีสุดา ศิลาอ่อน ผู้อำนวยสำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บมจ.เอส แอนด์ พี ซินดิเคท กล่าวว่า

“ปัจจุบัน S&P ได้ทำกลยุทธ์แบรนด์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงมีนโยบายงดให้บริการถุงพลาสติกหูหิ้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกรักษ์โลกให้กับผู้บริโภค ต้องขอความร่วมมือผู้บริโภคในการพกถุงผ้ามาซื้อผลิตภัณฑ์เอส แอนด์ พี ในช่วงเดือนมกราคม 2563 เอส แอนด์ พี จะมีถุงผ้าสปันบอนด์แจกให้กับลูกค้า เพื่อช่วยเหลือในการปรับตัวในระยะแรก และมีถุงผ้านำกลับมาใช้ซ้ำต่อไป”

ก่อนหน้านี้ S&P ได้เปลี่ยนมาใช้หลอดกระดาษ และหลอดพลาสติกแบบช้อนที่ย่อยสลายได้ (ไบโอพลาสติก) ทดแทนการใช้หลอดพลาสติกแบบเดิม มีการเริ่มสั่งผลิตหลอดกระดาษขนาดพิเศษเพื่อทดแทนการใช้หลอดช้อนไบโอพลาสติกแล้ว โดยจะสามารถลดขยะหลอดพลาสติกได้ถึงปีละกว่า 3 ล้านชิ้น

ส่วนบรรจุภัณฑ์อาหาร และขนมหลายรายการได้ใช้บรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติก หรือบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ อาทิ บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารจากเยื่อกระดาษขึ้นรูป (Pulp Mold) กล่องสแน็คบ็อกซ์กระดาษคราฟท์รักษ์โลก รวมถึงส่งเสริมการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนในองค์กร ทำให้สามารถลดการใช้พลาสติกไปแล้วกว่า 77 ตัน ในปี 2562

]]>
1257474
CRM ยุคใหม่ ใช้ e-Wallet มัดลูกค้า เปิดกรณีศึกษา SCG-S&P รับเทรนด์สังคมไร้เงินสด https://positioningmag.com/1221523 Tue, 26 Mar 2019 00:06:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1221523 สังคมไร้เงินสดกำลังทำให้ CRM ยุคเก่าหมดสมัย เห็นได้ชัดเพราะวันนี้แบรนด์ใหญ่ในไทยกำลังปรับกลยุทธ์เสริมสัมพันธ์ลูกค้าผ่าน CRM ยุคใหม่แบบไร้คูปองหรือบัตรกำนัลกระดาษ โดยหันมาทำแอปพลิเคชั่นที่ผูกระบบกระเป๋าเงิน หรือวอลเล็ตของตัวเองเพื่อให้ลูกค้าซื้อสะดวกและรับแต้ม-ส่วนลดได้มากกว่าเดิม แบรนด์ที่เดินเกมนี้แล้วไม่ได้มีเพียงแค่ SCG หรือ S&P แต่ยังมีอีกหลายเชนร้านอาหารและแบรนด์ค้าปลีกที่มั่นใจในวิถีเดียวกับ Starbucks นั่นคือการทำ Wallet ของตัวเองที่จะทำให้แบรนด์ได้ข้อมูลเส้นทางการจับจ่ายของลูกค้าได้ลึกล้ำกว่าวอลเล็ตของคนอื่น นำไปสู่การต่อยอด CRM ยุคใหม่ได้มากกว่า 

ภาพของ CRM ยุคใหม่เห็นได้ชัดจากทั้ง SCG Wallet และ S&P e-Wallet รวมถึงอีกหลายแบรนด์ที่พยายามปลุกปั้นระบบกระเป๋าเงินของตัวเองโดยแยกจากระบบวอลเล็ตยอดนิยม เช่น TrueMoney หรือ LINE รวมถึงค่ายอื่นที่ให้บริการ e-Wallet แก่ผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งกรณีของ SCG การตอบแทนลูกค้า Loyalty Program ผ่านแอป SCG Wallet นั้นทำให้ SCG สามารถตอบแทนช่างผู้รับเหมาที่ซื้อสินค้าไปให้ลูกค้ารายย่อยได้ง่ายและดีกว่าคู่แข่ง แลกกับข้อมูลที่ SCG จะต่อยอดเพื่อผูกใจช่างรับเหมารายนั้นได้โดยตรง

ยังมี S&P e-Wallet ที่เปิดให้สมาชิก Joy Card เติมเงินลงในบัตรเพื่อใช้ซื้อสินค้าได้ในราคาพิเศษ รวมถึงสามารถสะสมแต้มเพื่อแลกรางวัลในสไตล์เดียวกับ Starbucks จุดนี้ต้องยอมรับว่า Starbucks เป็นแบรนด์ที่นำร่องแนวคิดการมี Wallet ของตัวเอง เพื่อเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่องค์กรจะตอบโจทย์ลูกค้าของตัวเองได้เหนือชั้นกว่าเดิม

สำหรับจิ๊กซอว์ตัวนี้ ทั้ง SCG และ S&P ไม่ได้เททรัพยากรพัฒนาระบบ Wallet ขึ้นมาเอง แต่ใช้บริการของบริษัทชื่อ T2P ผู้อยู่เบื้องหลังระบบ Deep Pecket ซึ่งเป็นชื่อโปรดักต์แพลตฟอร์มตัวแรกๆ ของบริษัท วันนี้ T2P มีรายได้เพิ่มขึ้นเกิน 5 เท่าตัว เพราะการเปลี่ยนจากบริการ B2C มาเป็น B2B2C ด้วยการจับมือกับแบรนด์ที่ต้องการมีระบบ Wallet ของตัวเอง

segment แบบนี้ไม่ค่อยเห็นผู้ให้บริการ เพราะส่วนใหญ่เน้นแบบ B2C แต่ T2P จะเน้นตอบโจทย์แบรนด์ที่ต้องการ data ซึ่งเป็นมุมมองที่คล้ายกับแอปพลิเคชั่น Starbuck

ณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ทีทูพี จำกัด อธิบาย

ตลาดรับทำ Wallet โตแรง

ผู้บริหาร T2P ระบุว่าปี 61 ที่ผ่านมาคือปีที่บริษัททำรายได้จากค่าธรรมเนียมผ่านระบบ Wallet มากขึ้นกว่าปี 60 ถึง 5 เท่าตัว โดยเติบโตจาก 30 ล้านบาทมาเป็น 138 ล้านบาท เหตุผลที่รายได้โตก้าวกระโดดคือการหันไปจับมือกับแบรนด์ใหญ่ที่ต้องการเริ่มทำ CRM รูปแบบใหม่ รวมถึง Voucher ยุคดิจิทัล ส่งให้ตลาดรับทำ Wallet โตแรงมากในวงการค้าปลีกไทย

“สิ่งที่เกิดขึ้นคือวันนี้ทุกแบรนด์ต้องให้บริการด้านดิจิทัลกับลูกค้า เพราะลูกค้ามีความต้องการและคาดหวังสูง T2P จึงเข้าไปให้บริการ เพราะแบรนด์จะรันคลาวด์เองก็ไม่ไหว และต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วขั้นต่ำ 100-200 ล้านบาทตามกฎหมาย ความได้เปรียบของ T2P คือแบรนด์ที่เลือกใช้ระบบของบริษัทเป็นแบรนด์ที่มียอดใช้สูง และมี Loyalty ดีมากอยู่แล้ว ถือเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้รายได้ของบริษัทเติบโตชัดเจน”

ตลาดรับทำ Wallet ไม่ได้โตแรงเฉพาะไทย แต่ยังร้อนแรงไปถึงพม่า จากการเข้าสู่ตลาดเมียนมาราว 1 ปี ผู้บริหาร T2P พบว่าเมียนมาเป็นตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตสูงมาก

“ปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนของประชาชนเมียนมา ถือว่าสูงกว่า 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แม้ธุรกรรมการเงินส่วนใหญ่จะยังเป็นเงินสด แต่ธนบัตรเมียนมาส่วนใหญ่ดูเก่า ทำให้ประชาชนไม่ต้องการใช้ ผมเชื่อว่าสังคมไร้เงินสดของเมียนมาจะเติบโตก้าวกระโดดเหมือนการใช้งานสมาร์ทโฟน ล่าสุดยอดการชำระเงินผ่าน Wallet ของชาวเมียนมาก็เติบโตเร็วมาก มีการประเมินว่าน่าจะสูงกว่าการใช้เงินผ่าน ATM ไปแล้ว”

ในส่วนของ T2P บริษัทได้ร่วมมือกับแบรนด์ค้าปลีกรายใหญ่ของเมียนมาชื่อว่า City Mart ซึ่งเป็นองค์กรที่มีขนาดเทียบเท่ากับ Central ของไทย ให้บริการห้างหรู ร้านค้าสะดวกซื้อ รวมถึงบริการหลายด้านในเมียนมา City Mart ลงทุนสร้างระบบกระเป๋าเงินของตัวเองร่วมกับ T2P เพื่อให้ลูกค้าของ City Mart สามารถเติมเงินและสะสมแต้ม เหมือนกับที่ Central ร่วมมือกับ T2P ในนาม CRG หรือ Central Restaurants Group

น่าเสียดายที่ T2P ไม่ประเมินว่าตลาดรับทำ Wallet จะร้อนแรงเพียงใดในปีนี้ โดยไม่ฟันธงว่าบริษัทจะทำรายได้เพิ่มขึ้นอีก 5 เท่าตัวแบบที่เกิดขึ้นในปี 61 แล้วหรือไม่ จุดนี้ผู้บริหารมองการแข่งขันในตลาด e-Wallet ว่าจะเป็นการเน้นแข่งขันไปตาม segment ซึ่งกรณีของ T2P จะยึดจุดเด่นเรื่องความครบวงจร เพราะ T2P มีครบทั้งระบบ KYC, ส่วนประกอบอื่น, ความเร็ว และความยืดหยุ่นของบริการ ทำให้แบรนด์เลือกใช้เพื่อให้บริการคอนซูเมอร์ไทยอีกทอดหนึ่ง

ไม่ได้แทนที่บัตรเครดิต

การเติบโตของ e-Wallet รายย่อยไม่ได้สร้างผลกระทบด้านลบกับธุรกิจบัตรเครดิต ซึ่งนักช้อปเคยมองเป็นช่องทางสะสมคะแนนแลกของรางวัลในยุคหนึ่ง สำหรับยุคทอง e-Wallet บัตรเครดิตก็จะยังได้รับยอดเงินที่เติมเข้าระบบอยู่ ทำให้ไม่มีการแทนที่บัตรเครดิต เพียงแต่ e-Wallet บนแอปพลิเคชั่นของแบรนด์จะทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นเท่านั้น

e-Wallet รายย่อยจึงถูกมองว่าเป็นหนทางสู่รูปแบบใหม่ของการทำโครงการ Loyalty ลูกค้าจะรู้สึกว่าได้รับประโยชน์เพิ่มมากกว่าการซื้อกับคู่แข่ง ซึ่งเป็นความรู้สึกเดียวกับลูกค้า Starbucks ที่นิยมซื้อกาแฟและสะสมแต้มผ่านแอปกันทั่วโลก กลายเป็นเส้นทางสู่ CRM ยุคใหม่ในสังคมไร้เงินสด.

รู้หรือไม่?

  • คนไทยเปลี่ยนวิธีเติมเงินเข้าระบบ e-Wallet จากการเติมด้วยเงินสดมาเป็นเติมทางดิจิทัลแบงกิ้ง จากเดิมที่เติมด้วยเงินสดมากกว่า 60% วันนี้การเติมทางดิจิทัลแบงกิ้งซึ่งรวมโมบายแบงกิ้งด้วยนั้นเพิ่มขึ้นมาเป็น 60% แทน ปัจจัยเสริมเป็นเพราะการประกาศค่าธรรมเนียมโอนเงินต่างธนาคาร 0 บาท
  • รายได้ของ T2P เกิดขึ้นจากส่วนแบ่งต่อทรานเซ็กชั่น ยิ่งมีการใช้จ่ายผ่าน e-Wallet ของแบรนด์ รายได้ของ T2P ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
  • T2P เตรียมลุยแพ็กเกจรับทำ e-Wallet แบบเจาะแบรนด์เล็กในปีนี้ คาดว่าจะได้รับความสนใจสูงในกลุ่ม SME ที่ต้องการเริ่มทำ CRM ยุคใหม่.
]]>
1221523
กางแผน “S&P” ช่วงชิงกำลังซื้อคนรุ่นใหม่ รับมือ Digital Disruption https://positioningmag.com/1205922 Mon, 31 Dec 2018 08:58:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1205922 ใครว่า “Digital Disruption” ส่งผลกระทบแค่วงการธนาคารหรือค้าปลีกเท่านั้น เพราะแม้แต่ตลาดเบเกอรี่ยังโดนผลกระทบไปด้วย เพราะเวลานี้แบรนด์หลักในตลาดต่างได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่มีผู้เล่นมากหน้าหลายตา

โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายเล็กๆเกิดขึ้นมากมาย เพียงจัดวางเบเกอรี่ให้สวยๆ ประดับจานไม้เก๋ๆ ถ่ายรูปหนึ่งแชะ อัพขึ้น Facebook และ Instagram อาศัยช่องทางจำหน่ายออนไลน์เพียงอย่างเดียว ก็สามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้ง่ายมากขึ้น

ขณะเดียวกันศูนย์การค้าต่าง ที่เคยเป็นพื้นหลัก ในการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้บริโภค ก็เปิดพื้นที่รองรับร้านคาเฟ่เยอะมากขึ้น มาแย่งชิงลูกค้าไปอีก

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เอสแอนด์พีแบรนด์เบเกอรี่ที่อีกเพียง 5 ปีก็จะย่างเข้าสู่แบรนด์ที่มีอายุกว่าครึ่งศตวรรษ ซึ่งถ้าเปรียบให้เป็นคนจริงๆ ก็ต้องบอกว่า อยู่ในช่วงวัยกลางคนที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อรับมือกับโลกดิจิทัล ที่นับวันเริ่มมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ

Positioning ได้สัมภาษณ์พิเศษวิทูร ศิลาอ่อน กรรมการผู้จัดการใหญ่สายปฏิบัติการและบุคคล บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ เพิ่งมีมติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2019 ถึงแผนรับมือกับความท้าทาย ที่กำลังถาโถมเข้ามาอย่างไม่หยุดหย่อน

วิทูร ฉายภาพให้ฟังถึงจุดแข็งของ เอส แอนด์ พี คือชื่อเสียงที่สั่งสมมายาวนาน แบรนด์มีความน่าเชื่อถือ สินค้ามีคุณภาพสม่ำเสมอ และมีความหลากหลายกว่า 2,000 รายการ แต่แทนที่สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลดีกับแบรนด์ แต่ความเป็นจริงกลับกลายเป็น จุดอ่อน เสียมากกว่า

เพราะกลุ่มผู้บริโภคใหม่ โดยเฉพาะเจนเนอเรชั่นหลัง ไล่มาตั้งแต่นักเรียนอายุ 10 กว่าปี ไปถึงกลุ่มเฟิร์สท์จ๊อบเบอร์อายุไม่เกิน 30 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่อาจจะไม่มีประสบการณ์ หรือความทรงจำเกี่ยวกับเอสแอนด์พี อยู่เลยจึงมีความห่างเหินกับแบรนด์อยู่พอสมควร

ยุทธ์ศาสตร์ของเอสแอนด์พีต่อไปนี้ คือการปรับตัวเพื่อช่วงชิงกำลังซื้อจากคนกลุ่มนี้ ที่จะกลายเป็นผู้บริโภคกลุ่มหลักในอนาคต รวมถึงกลุ่มคนรักสุขภาพที่ใส่ใจในอาหารการกินมากขึ้น ซึ่งด้วยความที่อยู่มานาน 45 ปีเป็นธรรมดาที่คนจะมองว่าแก่ แต่เอาจริง ยุคนี้ต่อให้แบรนด์อายุ 3 ปี ก็แก่ ได้ถ้าไม่ทำอะไรใหม่ เพิ่มเติม

ไม่ต้องเป็นเทศกาลก็ต้องซื้อได้

ปัจจุบันสินค้าเบเกอรี่ของเอสแอนด์พีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ซึ่งทำรายได้ในสัดส่วนเท่า กัน ได้แก่ 1. Fresh Bakery เบเกอรี่ทำสด เช่น เค้ก, พัฟ, พาย และคุกกี้บัทเทอร์บัทเทิน จำหน่ายเฉพาะในจุดขายของเอสแอนด์พี

2.Cookie & Festive ได้แก่ คุกกี้ทั่วไปในบรรจุภัณฑ์แบบกล่องและกระป๋อง, เบเกอรี่สำหรับมอบเป็นของขวัญในเทศกาลต่าง รวมถึงขนมไหว้พระจันทร์

ในอนาคตเอสแอนด์พี วางแผนจะบุกเบเกอรี่ที่ไม่ต้องพึ่งพาเทศกาล หรือต้องซื้อหาไปมอบเป็นของขวัญในวาระพิเศษอย่างเค้กวันเกิด, วันครบรอบแต่งงานมากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายและตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ที่มีไลฟ์สไตล์ Cafe Hopping และชื่นชอบการกินขนมหวานในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเค้กชิ้น ที่ไม่ได้รอซื้อเป็นของขวัญเฉพาะโอกาสสำคัญเหมือนเค้กปอนด์

ส่วนเค้กปอนด์นั้นวิทูรมั่นใจว่ามีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี ทำยอดขายเฉลี่ยมากถึง 10,000 ก้อนหรือจานต่อวัน คิดเป็นราว 3 ล้านก้อนหรือจานต่อปี แต่กลายเป็นว่าเค้กชิ้นกลับไม่ได้เป็น Top of Mind ของผู้บริโภค

ดังนั้น นี่จึงเป็นความท้าทายอย่างหนักที่เอสแอนด์พีจะต้องฟันฝ่าไปให้ได้ โดยจะมีการผลักดันผ่านสาขาต่างๆ ให้มากขึ้น โดยเฉพาะการสื่อสารว่า เค้กเป็นสินค้าแห่งความสุขและสนุกสนาน ที่ไม่จำเป็นจะต้องซื้อเป็นของขวัญในวาระพิเศษเพียงอย่างเดียว

ต้องอยู่ในทุกจุดที่ผู้บริโภคอยู่

วันนี้เอสแอนด์พี มีจำนวนสาขาทั้งหมด 500 แห่ง กระจายโมเดลร้าน 6 ประเภท ตามพฤติกรรมกลุ่มลูกค้า ได้แก่ ช้อปปิ้งมอลล์, ไฮเปอร์มาร์เก็ต, โรงพยาบาล, ทรานสปอร์เตชั่น (สนามบิน, สถานีรถไฟฟ้า, สถานีบริการน้ำมัน), สำนักงานและสถาบันการศึกษา, สแตนด์อะโลน

แต่ละช่องทางก็จะจับกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน อย่างไฮเปอร์มาร์เก็ตจะเน้นลูกค้าที่มีความอ่อนไหวด้านราคา เช่น เค้กปอนด์ที่จำหน่ายก็จะเป็นเค้กที่ราคาถูกลงมา ราคาปอนด์ละ   299 บาท เป็นต้น แต่โดยเฉลี่ยแล้วสินค้าจะเหมือนกัน 70-80% ที่เหลือจะเป็นสินค้าที่ Customized ให้เหมาะกับกลุ่มลูกค้าของช่องทางจำหน่ายแต่ละประเภท รวมถึงแยกย่อยลงไปถึงแต่ละโลเกชั่น

นอกเหนือจากขายเบเกอรี่แล้วเอสแอนด์พีก็ขายอาหารด้วย ปัจจุบันมีขายใน 150 สาขาจากจำนวนสาขาทั้งหมด โดยมีสัดส่วนเบเกอรี่ต่ออาหารอยู่ที่ 60:40 แต่ในอนาคตจะเปิดสาขาที่เป็นไฮบริดมากขึ้น ซึ่งนั่นจะทำให้สัดส่วนดังกล่าวกลายเป็น 50:50 ภายใน 2 ปีนับจากนี้ ส่วนปี 2019 วางขายเป็น 530 สาขา แบ่งเป็นปิดสาขาเดิมราว 15 สาขา และเปิดสาขาใหม่ 45 สาขา

ขณะเดียวกันสาขาที่อยู่ในโรงพยาบาล ถือเป็นสาขาที่น่าจับตาและจะมาแรงมากในอนาคต เพราะคนรักสุขภาพมากขึ้น เอสแอนด์พีจึงนำเสนออาหารและเบเกอรี่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ เช่น ออกเมนูอาหารโลว์โซเดียม, เค้ก โลว์ชูการ์ และเค้กที่ลดปริมาณครีมลง แต่คงรสชาติเดิม (Naked Cake) เป็นต้น แต่สัดส่วนของอาหารในสาขารูปแบบนี้จะมากกว่าเบเกอรี่

เปิดตัวแอปเวอร์ชั่นใหม่ เจาะกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานตอนต้น

นอกเหนือจากการร่วมมือกับพันธมิตรที่เป็นฟู้ดเดลิเวอรี อย่างฟู้ดแพนด้า, ไลน์แมน และแกร็บฟู้ด แล้ว เอสแอนด์พียังพัฒนาแอปของตัวเองด้วย โดยเวอร์ชั่นใหม่เพิ่งเปิดใช้ได้ราวเดือนเศษ ในเบื้องต้นมีรายการอาหารและเบเกอรี่เพียง 100 รายการเท่านั้น

ขณะนี้แอปเวอร์ชั่นใหม่กำลังอยู่ในระหว่างทดลองตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ผ่านมาหลังจากเปิดตัวไปไม่นาน พบว่าได้รับการตอบรับที่ดี มียอดสั่งอาหารผ่านช่องทางนี้ 10% ของช่องทางเดลิเวอรี ต่อไปอาจจะมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม เพื่อทำให้สามารถใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงในเรื่องเมนูอาหารที่อาจจะเพิ่มขึ้น แต่ต้องดูว่าจำนวนเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม แต่ที่แน่ๆ จะไม่ใส่เข้าไปทั้งหมด 2,000 รายการแน่นอน 

คาดว่าภายในปี 2019 จะมียอดสั่งอาหารผ่านช่องทางนี้คิดเป็น 1 ใน 4 ของช่องทางเดลิเวอรี” 
การสั่งอาหารผ่านแอป ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ได้มากกว่า เพราะใช้สมาร์ทโฟนอย่างเชี่ยวชาญกันอยู่แล้ว ขณะเดียวกันก็สะดวกและรวดเร็วมากกว่าด้วย โดยใช้เวลาเฉลี่ยเพียง 1 นาทีเศษเท่านั้น ในขณะที่สั่งผ่านคอลเซ็นเตอร์จะใช้เวลาราว 3 นาทีเศษ ส่วนวัยผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไป ที่เป็นลูกค้าเก่าแก่อาจสะดวกกับการโทรสั่งผ่านคอลเซ็นเตอร์ 1344 มากกว่า

ล้างภาพแบรนด์แก่ ด้วยดีไซน์และนวัตกรรม

วิทูรบอกว่าเอสแอนด์พีขอโตต่อในยุค Digital Disruption แต่การจะก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนนั้น จะต้องไม่ยึดติดกับความสำเร็จแบบเดิมๆ การพัฒนาเมนูอาหารและเบเกอรี่ใหม่ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่มีโปรไฟล์แตกต่างกัน

รวมถึงการออกแบบและสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ทันสมัย และสอดรับกับเทรนด์อยู่ตลอดเวลา ตลอดจนการตกแต่งร้านให้มีบรรยากาศที่สดใส ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้แบรนด์เอสแอนด์พีดูมีชีวิตชีวากว่าเดิม และดึงดูดผู้บริโภคซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้มากขึ้น.

]]>
1205922
ไม่ง้อเทศกาล! ผ่าสูตรปั้นขนมไหว้พระจันทร์ เอสแอนด์พีทำอย่างไรให้ขายได้ทั้งปี https://positioningmag.com/1189038 Sun, 23 Sep 2018 10:00:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1189038 นักการตลาดที่ดี ต้องรู้จักหยิบฉวยสิ่งรอบตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ยิ่งสร้างมูลค่าได้ด้วยยิ่งดี อย่างเช่นกรณีการขนมไหว้พระจันทร์ จากเทศกาลที่ผู้คนแทบจะไม่นึกถึงแล้วให้กลายมาเป็นสินค้าที่วางขายได้ตลอดปี ก็ถือเป็นตัวอย่าง

บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ใช้กลยุทธ์การเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าแบบเดียวกับที่ทำกับขนมไหว้พระจันทร์ กับสินค้าหลักอย่างเค้กและสินค้าอื่นๆ เช่นกัน เช่น การทำตลาดเค้กให้มีบทบาทเพื่อขายได้มากขึ้นไม่เฉพาะช่วงปีใหม่ คริสต์มาส แต่ทำให้คนนึกถึงเค้กทุกช่วงเทศกาล ทั้ง วันเกิด วันแม่ วันพ่อ หรือวันสำคัญไหนๆ ถูกดึงเข้ามาใช้ในการเพิ่มยอดขายเท่าที่โอกาสจะอำนวย

หรือแม้แต่การทำให้คุกกี้เป็นสินค้าที่คนซื้อทานได้ง่ายขึ้นทุกเวลาที่ต้องการ ด้วยดีไซน์และขนาดบรรจุรวมทั้งรสชาติที่หลากหลาย รวมถึงการทำหยิบเมนูข้าวแช่ขึ้นมาเป็นไฮไลต์ในฤดูร้อน เช่นเดียวกับข้าวเหนียวมะม่วง

แต่ทั้งหมดที่พยายามทำและทำมาอย่างต่อเนื่อง ต้องยอมรับว่า ไม่มีอะไรประสบความสำเร็จชัดเจนมากเท่าการเปลี่ยนขนมไหว้พระจันทร์ จากขนมเทศกาลให้กลายเป็นขนมที่คนนึกถึงเอสแอนด์พีและรู้ว่าสามารถหาซื้อทานได้ตลอดทั้งปี เพราะเวลานี้แม้จะมีต้นตำรับขนมไหว้พระจันทร์ขึ้นชื่อที่ไหน แต่ถ้าพูดถึงขนมไหว้พระจันทร์ ชื่อของเอสแอนด์พีจะผุดขึ้นมาก่อนใคร ในฐานะผู้สร้างปรากฏการณ์และทำให้เทศกาลนี้ถูกพูดถึงเสมอเป็นประจำทุกปีในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับวันไหว้พระจันทร์ หรือประมาณช่วงเดือนกันยายนของทุกๆ ปี ทั้งที่ทุกวันนี้แทบจะไม่เห็นคนไทย หรือแม้แต่คนไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ ไหว้พระจันทร์กันแล้วก็ตาม

เกษสุดา ไรวา และ วิทูร ศิลาอ่อน กล่าวถึงไฮไลท์พิเศษของขนมไหว้พระจันทร์ S&P ปีนี้

วิทูร ศิลาอ่อน กรรมการผู้จัดการใหญ่สายปฏิบัติการและบุคคล เอสแอนด์พี ยอมรับว่า เทศกาลขนมไหว้ทำพระจันทร์ เป็นอีเวนต์สำคัญอันดับสองที่ต้องจัดสรรงบการตลาดเพื่อจัดโปรโมชั่นในช่วงเทศกาลนี้ทุกปี รองจากเทศกาลเค้กในช่วงปีใหม่ และถือเป็นความสำเร็จ จากการสร้างสรรค์การตลาดที่ทำให้ขนมไหว้พระจันทร์ถูกนึกถึงและวางขายได้ทั้งปี แม้ว่าครึ่งหนึ่งของยอดขายทั้งปีจะมาจากช่วงหนึ่งเดือนเศษๆ ก่อนและหลังเทศกาลก็ตาม

“ปีที่แล้วเราผลิตขนมไหว้พระจันทร์อยู่ที่ 4 ล้านชิ้น แต่ละปีก็จะเติบโตประมาณ 5% แต่คาดว่าปีนี้น่าจะเติบโตได้สัก 10% หรือประมาณ 5 ล้านชิ้น โดยเรามีการเพิ่มรสชาติ เพื่อให้เกิดความหลากหลาย และทำขนาดใหม่ 80 กรัม เพื่อให้เกิดการทดลองรับประทานง่ายขึ้นในผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ ขณะที่คนที่รับประทานอยู่แล้วก็มีตัวเลือกมากขึ้น”

รสชาติของขนมไหว้พระจันทร์มีความหลากหลายมาก ทั้งจากรสชาติดั้งเดิมที่นำมาพัฒนา เช่น ไส้ทุเรียน โหงวยิ้ง เม็ดบัว โป๊ยเซียน งาดำ ฯลฯ ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนารสชาติใหม่ๆ ตามความนิยมของตลาด เช่น รสชาเขียว รสผลไม้ต่างๆ ฯลฯ

“รสชาติที่ขาดไม่ได้ของปีนี้ ก็ต้อง มันม่วง เป็นเทรนด์มาก อะไรๆ ก็มันม่วง รสชาติใหม่ๆ ก็จะเลือกรสที่คนนิยมแต่อาจจะไม่เคยมีในขนมไหว้พระจันทร์มาพัฒนาด้วย เช่น ส้มแมนดาริน ซึ่งไม่มีใครทำกับขนมไหว้พระจันทร์มาก่อน ไส้มะม่วง ไส้คัสตาร์ด เป็นต้น”

กลยุทธ์ใหม่ของขนมไหว้พระจันทร์เอสแอนด์พีในปีนี้ เรียกได้ว่าอยู่ที่รสชาติที่หลากหลายยิ่งขึ้นกว่าเดิม กับขนาดที่เลือกมาเพื่อขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มคนใหม่ๆ เป็นหลัก

ขนมไหว้พระจันทร์ S&P รูปโฉมใหม่น่าลิ้มลอง

“แต่เราเจาะจงไม่ได้หรอกครับว่าเป็นคนรุ่นไหนที่จะทาน แต่พยายามทำให้ทานง่ายขึ้น ทำขนาดให้เล็กลง เลือกไส้ให้เหมาะ อย่างคัสตาร์ดก็ไม่ใช่ไส้ที่จะทานได้มากอยู่แล้วก็ทำไซส์เล็ก นอกจากนี้ก็เพิ่มสีสันที่เปลือกขนมเพื่อเพิ่มความดึงดูดใจ โดยใช้สีธรรมชาติสำหรับ 5 รสชาติคือ ไส้ชากุหลาบสตรอเบอรี่ ไส้มันม่วง ไส้หมอนทองแมคคาเดเมีย ไส้แครนเบอรี่&เอิร์ลเกรย์ ไส้มัทฉะ ถั่วแดง แต่ยังคงยึดเรื่องสุขภาพ ความสุข และความอร่อย

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีรสชาติให้เลือกเป็น 10 แต่รสชาติยอดนิยมอันดับหนึ่งตลอดกาลก็คือไส้ทุเรียน ซึ่งมีส่วนแบ่งมากขึ้น 50% รองลงมาได้แก่ ไส้เม็ดบัว และโหงวยิ้ง ตามลำดับ

ส่วนตัวผมชอบไส้พุทรา ซึ่งเป็นไส้ดั้งเดิมเหมือนกัน แต่คนส่วนใหญ่ไม่นิยมสุดท้ายก็เลิกผลิตไป เมื่อก่อนไส้ทุเรียนก็มีทุเรียน กับทุเรียนหมอนทอง แต่คนถามหาแต่หมอนทอง ตอนนี้ก็เหลือแต่หมอนทองเช่นกัน

วิทูร กล่าว

องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้อีกอย่าง คือบรรจุภัณฑ์ ที่ต้องโดดเด่นและทำให้ผู้บริโภคยอมควักกระเป๋า ก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่เอสแอนด์พีเลือกหยิบมาใช้กับการทำตลาดขนมไหว้พระจันทร์อย่างต่อเนื่องด้วย

จากกล่องกระดาษธรรมดาในช่วงปกติ ช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ ก็จะมีบรรจุภัณฑ์แบบลิมิเต็ดอิดิชั่นสำหรับขนมออกมาให้เลือกซื้อ ซึ่งคิดแล้วเป็นต้นทุนเกือบ 10% ของราคาจำหน่าย ปีนี้เอสแอนด์ดีมีแพ็กเกจจิ้งที่รีไซเคิลได้ 100%

สำหรับมูลค่าตลาดขนมไหว้พระจันทร์ของประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ทำการเก็บข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยปี 2560 ที่ผ่านมามีมูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 900 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้จะปรับเพิ่มประมาณ 3.3% หรือคิดเป็นมูลค่า 930 ล้านบาท

ถ้าประเมินมูลค่าจากกำลังการผลิตขนมไหว้พระจันทร์ของเอสแอนด์พีแต่ละปี ก็เท่ากับเอสแอนด์พีมีส่วนแบ่งในตลาดขนมไหว้พระจันทร์สูงกว่า 30% ของตลาดเลยทีเดียว แต่ วิทูร ก็ยอมรับว่าไม่รู้ตัวเลขมูลค่าตลาดที่แท้จริง แต่ที่รู้แน่ๆ ก็คือ

“เอสแอนด์พีเป็นผู้ผลิตเบเกอรี่ที่เป็นเชนรายเดียวที่มีขนมไหว้พระจันทร์จำหน่ายตลอดทั้งปี” พร้อมเล่าถึงเคล็ดลับในขนมไหว้พระจันทร์ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ก็คือ “พลาสติกที่บรรจุขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งป็นนวัตกรรมที่ต้องสั่งนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น เพราะมีคุณสมบัติช่วยเก็บรักษายืดอายุขนมให้อยู่ได้นาน และเป็นหัวใจสำคัญทำให้เราสามารถกระจายสินค้าไปได้ทั่วประเทศนั่นเอง”

]]>
1189038
S&P ปิดสาขาทั่วประเทศ 26 ต.ค. 60 ตั้งแต่บ่าย 3 https://positioningmag.com/1143909 Thu, 19 Oct 2017 08:43:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1143909 เพื่อร่วมถวายความอาลัยเนื่องในโอกาส พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช บรมนาถบพิตร

S&P ขอปิดบริการร้านอาหารและ เบเกอรี่ชอปทั่วประเทศ ในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป ส่วนบริการดิลิเวอรี่ปิดรับออเดอร์เวลา 14.00 น.

และ S&P จะเปิดบริการตามปกติ ในวันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2560

]]>
1143909
ทำไมเอสแอนด์พีต้องลดราคา 20% ทุกวันพุธ https://positioningmag.com/1102218 Fri, 09 Sep 2016 00:45:17 +0000 http://positioningmag.com/?p=1102218 1102218 อดใจไม่ไหว https://positioningmag.com/7782 Sat, 05 Jun 2004 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=7782

จากร้าน S&P สาขาแรกที่ซอยประสานมิตร (สุขุมวิท33) 31 ปีผ่านไป S&P มีบริการและสินค้าต่างๆ มากมาย โดยมีเครือข่ายร้านของตัวเองเป็นหลักในการจัดจำหน่าย แต่ด้วยกำลังผลิตของโรงงานที่บางนา-ตราดมีอยู่เหลือเฟือ และเพื่อเป็นการขยายช่องทางการจัดจำหน่าย ทำให้ S&P ทนความเย้ายวนของตลาด Cookies ที่มีมูลค่ารวม 1,200 ล้านบาทไม่ไหว ตัดสินใจส่ง Delio เปิดตลาด Cookies ของตัวเองเป็นครั้งแรกสู่ตลาด Mass (จากเดิมที่มีผลิตภัณฑ์ Cookies ขายในร้านอยู่แล้วแต่ราคาค่อยข้างสูง) แต่ก็มีตลาดที่มีคู่แข่งยืนประจันหน้าอยู่มากมาย อาทิ อิมพีเรียล อาร์เซนอล และ Chips Ahoy

ไม่ต่างจากเดิม S&P ยังคงให้ความสำคัญกับ Packaging เราจึงเห็น Delio สดใสในกล่องสวย เพราะนี่คือ Brand Character และ Consumer Promise ของ S&P พร้อมใช้กลยุทธ์ IMC เพื่อบรรลุเป้าหมายยอดขาย 90 ล้านบาทภายในปีนี้

แม้จะมีช่องทางเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น แต่มี 2 สิ่งที่ทุกผลิตภัณฑ์ของ S&P ไม่ละทิ้งก็คือ Super service-Premium product” ขจรเดช ไรวา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) กล่าวทิ้งท้าย

Product : Delio Cookies by S&P
Company : บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2516 ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับร้านอาหารและเบเกอรี่ภายใต้แบรนด์ S&P, Patio, Patara, Blue Cup และดำเนินธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศ คือ Patara, Siam Kitchen และ Thai
Official Launch : 22 เมษายน 2547 แต่วางจำหน่ายตั้งแต่เดือนกันยายน 2546
Positioning : Cookies คุณภาพดี ราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย โดยวางราคาสูงกว่าแบรนด์ในประเทศเล็กน้อยแต่ต่ำกว่าแบรนด์นอก และมีหลากหลายรสชาติให้เลือก แตกต่างจากคู่แข่งโดยมี Highlight ที่ Raspberry Yam Ring และ Oatmeal
Target : ทุกเพศทุกวัยที่ชอบรับประทานของว่างเพื่อสุขภาพ และมีนิสัยชอบจับจ่ายสินค้าใน Supermarket, Superstore และ Modern trade
Product Detail : แบบกล่องกระดาษ 6 รสชาติ คือ Raspberry Yam ring, Oatmeal, Almond, Butter, Vanilla Stick, Chocolate Chip ราคากล่องละ 38 บาท แบบกล่องเหล็ก3 รสชาติ Classic ราคา 120 บาท English Biscuit Selection และ Home made ราคา 140 บาท
]]>
7782