SCG – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 03 Oct 2022 10:29:03 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผู้นำ 5 องค์กรธุรกิจชั้นนำเปิดมุมมองทางรอดสู่ความยั่งยืนผ่านธุรกิจ บนเวที SX2022 https://positioningmag.com/1402886 Tue, 04 Oct 2022 04:00:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1402886

ในขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมในสังคม ภาคธุรกิจไม่เพียงมีความรับผิดชอบต่อสังคมเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยเปลี่ยนอนาคตเพื่อความยั่งยืนของทุกคนบนโลกนี้ด้วย

นอกจากผนึกกำลังกันจัดงานมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน Sustainability Expo 2022 แล้ว ซีอีโอจากทั้ง 5ของบริษัทชั้นนำ ได้แก่ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC และบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้มารวมตัวกันบนเวทีเสวนาในหัวข้อ Leading Sustainable Business เพื่อเปิดกลยุทธ์องค์กรด้านความยั่งยืน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนมุมมองด้านความท้าทาย และเส้นทางเพื่อความอยู่รอดของโลกทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือ ซีพี กล่าวว่า “การที่องค์กรจะดำเนินกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนได้ ต้องเริ่มจากผู้นำองค์กรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ที่จะต้องตระหนักรู้ว่า ขณะนี้ทุกคนกำลังเผชิญกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนจริง ๆ และเป็นปัญหาของโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นในอัตราเร่ง เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ นำไปสู่การบริโภคที่ดึงทรัพยากรของโลกและก่อให้เกิดมลภาวะ เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือปัญหาขยะจำนวนมหาศาล

“ทุกวันนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนมีการพัฒนาเศรษฐกิจกันอย่างเต็มที่ และถูกขับเคลื่อนออกมาในเชิงบริโภคนิยม โดยไม่ตระหนักว่าของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต และทำลายทรัพยากรจากการบริโภคนั้นสร้างผลกระทบในวงกว้างขนาดไหน ฉะนั้นถ้าหากทุกคนมีแต่เป้าหมายในชีวิตของตัวเอง มีแต่เป้าหมายขององค์กร แต่ไม่เคยตั้งเป้าหมายความรับผิดชอบต่อความยั่งยืนของโลกและต่อตัวเราเอง โลกก็จะไม่ยั่งยืน องค์กรจึงควรมีการตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านความยั่งยืน สร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร พนักงาน รวมไปถึงคู่ค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน มีการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนขององค์กร มีการส่งเสริม ให้การยอมรับ และมอบผลตอบแทนแก่พนักงานรวมทั้งครอบครัวของพนักงานทุกคนที่ทำงานเพื่อความยั่งยืนอย่างจริงจัง รวมถึงการให้ทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการที่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวก สร้างนวัตกรรม และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

“ซีพี ตั้งเป้าไว้ว่าภายใน 10 ปีบริษัทจะผงาดอยู่ใน 20 อันดับแรกของโลกในด้านธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็น 1 ใน 10 ของโลกด้านความยั่งยืนด้วย เพราะผมเชื่อมั่นว่าบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยการมีวัตถุประสงค์ที่ดีต่อส่วนรวมจะเป็นองค์กรที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง”

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในอดีต ตนเองเคยคิดเพียงว่าจัดการปัญหาภายในองค์กรได้ก็ถือว่าทำสำเร็จแล้ว แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่องค์กรไม่แสวงหากำไรและคู่ค้าธุรกิจอยากเห็น คือบริษัทมีการดูแลปัญหาไปจนถึงซับพลายเชน ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ดังนั้นไทยยูเนี่ยนต้องทำงานใกล้ชิดกับทั้งฝ่ายรัฐบาล คู้ค้าที่ขายวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นเรือประมงทั้งหลาย เกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งในฟาร์ม รวมไปถึงการจัดหาจัดจ้างแรงงานโดยตรงจากต่างประเทศด้วยไม่เพียงแต่แรงงานภายในองค์กรเท่านั้น ไทยยูเนี่ยนยังมีจรรยาบรรณทางธุรกิจที่กำหนดให้คู่ค้าทุกรายในระบบต้องปฏิบัติต่อแรงงานทุกคนอย่างถูกต้องตามหลักมนุษยธรรม มีมาตรการในการจัดซื้อวัตถุดิบที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Responsible Sourcing) โดยมีการตรวจสอบการจัดการเรือประมงทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมไปถึงการบริหารจัดการฟาร์มที่เป็นคู่ค้าของบริษัทด้วย

นายธีรพงศ์ กล่าวว่า สำหรับธุรกิจของไทยยูเนี่ยน การดำเนินการด้านความยั่งยืนถือเป็นใบอนุญาตในการทำงาน เพราะเป็นความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น นักลงทุน คู่ค้าทุกส่วน ที่ต้องการเห็นการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเกิดขึ้นอย่างจริงจัง ทุกวันนี้คู่ค้าธุรกิจต้องการค้าขายกับบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ฉะนั้นบริษัทที่ไม่ใส่ใจด้านนี้ ก็จะไม่สามารถทำธุรกิจได้”

“สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจโดยเฉพาะในประเทศไทย ผมอยากให้มองว่าเรื่องความยั่งยืนไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัว การทำเรื่องนี้ไม่ใช่ทำเพื่อความอยู่รอดของโลกเท่านั้น แต่เป็นความอยู่รอดของตัวเราเองและของธุรกิจเราด้วย ผมเชื่อว่าการทำเรื่องความยั่งยืนจะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน และจะนำไปสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้ในอนาคต”

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “การดำเนินการเรื่องความยั่งยืนโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่มีความไม่แน่นอนสูง เพราะสภาวะการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก และต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน การดำเนินธุรกิจเพื่อลดโลกร้อนจึงควรเริ่มที่คำถามว่า “ทำไม” และสร้างแนวทางที่ส่งผลกระทบด้านบวกให้มากที่สุด เพื่อสร้างแนวทางแก้ปัญหาที่ตรงจุด ทำได้จริงและยั่งยืน อีกความท้าทายหนึ่งของโลก คือการทำให้ได้อย่างที่พูด จึงจะสามารถแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างจริงจัง แม้จะมีพันธกิจร่วมกันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แต่สิ่งที่ทุกคนหวั่นใจคือไม่ได้ลงมือทำตามที่พูดไว้ สุดท้ายแล้วแผนการต่าง ๆ ที่ตกลงมาก็ไร้ประโยชน์”

นายรุ่งโรจน์ เสนอแนะว่าสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก การดำเนินกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนควรตั้งต้นจากลูกค้าว่า ลูกค้ามีความต้องการอะไรที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสินค้า การใช้งาน หรือการรีไซเคิล เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากลูกค้ามาบวกกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นแนวทางดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนได้อย่างชัดเจนขึ้น ซึ่งจะทำให้มีกรณีของความสำเร็จที่สามารถนำไปใช้ในการแลกเปลี่ยนกันภายในองค์กร และทำให้เกิดการขยายวงกว้างขึ้นได้

ขณะที่ นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ให้ทรรศนะว่าความวุ่นวายของโลกเกิดจากการบริโภคนิยม (Consumerism) ที่ทำให้ภาคธุรกิจพยายามตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะมีพันธกิจทั้งระดับองค์กร ระดับประเทศ และระดับโลก ที่มุ่งไปสู่เป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ ในปี 2030 พร้อมทั้งเป้าหมายสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน และเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ แต่ทุกคนต้องกลับมาถามตัวเองก่อนว่า เราสามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้มากน้อยแค่ไหน

“ผมอยากให้ตั้งคำถามร่วมกันว่า หลังจากปี 2030 องค์การสหประชาชาติจะใช้หัวข้ออะไรในอีก 15 ปีถัดไป หรือปี 2545 ผมเชื่อว่าการคิดเรื่องความยั่งยืนจะกลับมาที่ปัจเจกบุคคล โดยการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ในทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม”

นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า “GC ได้นำแผนการพัฒนาความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์องค์กรเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ภายใต้แนวคิด Chemistry for Better Living ซึ่งหมายถึง การผลิตสินค้าที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น และมีสุขอนามัยดีขึ้น แต่สำคัญกว่านั้นคือ กระบวนที่จะให้ได้มาซึ่งสินค้าก็ต้องดีด้วย นั่นคือ การใช้ทรัพยากรน้อยลง ดีต่อโลก บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีหลายรูปแบบ นอกจากไบโอพลาสติก หรือบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ หรือรีไซเคิล การใช้นวัตกรรมและการออกแบบให้บรรจุภัณฑ์มีความคงทนมากขึ้น ก็เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยทำให้มีการใช้น้อยลง สิ่งที่ GC ทำจะต้องไม่เป็นภาระแก่คนรุ่นหลัง ดังนั้น GC จึงวางแผนการลงทุนระยะยาว 30 ปีข้างหน้าเพื่อลดคาร์บอนในกระบวนการผลิต”

นายคงกระพัน กล่าวอีกว่า “การสร้างสมดุลระหว่าง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้นั้น อยู่ที่ความเข้าใจขององค์กรตนเอง เพราะแต่ละองค์กรมีบริบทที่แตกต่างกัน”

นายฐาปน ยังกล่าวอีกว่าหลังยุคมิลเลนเนียมปี 2000 เกิดความร่วมมือกันของประเภทธุรกิจที่อยู่บนกระดานเดียวกัน (industry collaboration) เพื่อสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่งและเติบโต แต่หลังวิกฤตการณ์โควิด-19 จะเป็นยุคของความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม (cross-industry collaboration) ซึ่งจะเห็นได้จากงาน SX 2022 ที่เกิดจากการรวมพลังของเครื่องข่าย Thailand Supply Chain Network และสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งทุกคน ซึ่งถือเป็นพลังร่วมที่สำคัญและเป็นมิติใหม่ที่จะหาคำตอบว่า ทุกคนจะอยู่กันอย่างไรต่อไป และจะช่วยกันรักษาโลกใบนี้ได้อย่างไร

SX2022 #GoodBalance #BetterWorld #BetterMe #BetterLiving #BetterCommunity

#SustainabilityExpo #SustainabilityExpo2022 #Sustainablity #สมดุลที่ดีเพื่อโลกที่ดีกว่า

#FrasersProperty #GC #SCG #ThaiBev #ThaiUnion #SXfoodFestival

]]>
1402886
SCG เปิดบริการพ่นฆ่าเชื้อในบ้าน คอนโด สำนักงาน ราคาเริ่มต้น 2,500 บาท https://positioningmag.com/1270167 Thu, 26 Mar 2020 09:03:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1270167 SCG เปิดบริการฉีดพ่นกำจัดเชื้อ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการความมั่นใจด้านสุขอนามัยภายในที่พัก สถานที่ทำงาน หรือร้านค้าต่างๆ โดยมีให้เลือกหลากหลายแพ็กเกจ ราคาเริ่มต้นที่ 2,500 บาท

บริการนี้ได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ Q-Chang ศูนย์รวมสินค้าพร้อมบริการติดตั้ง และ All Rent ผู้ให้บริการเช่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ด้านงานอุตสาหกรรม ภายใต้แพลตฟอร์ม SCG HOME ซึ่งเป็นช่องทางการขายแบบ Active OMNI-Channel

บริการดังกล่าวมีความปลอดภัย ด้วยการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธีของเจ้าหน้าที่มืออาชีพ พร้อมหัวหน้าผู้คุมงานที่ผ่านการอบรม โดยใช้เครื่องมือและผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่ผ่านการทดสอบคุณภาพจากสถาบันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ทำให้สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย รา และไวรัส รวมทั้งกลิ่นต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยต่อคน รวมทั้งผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็ก สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

การพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อสามารถทำได้ตั้งแต่ในบ้าน คอนโด สำนักงานต่างๆ

  • แพ็กเกจ A พื้นที่ขนาดเล็ก ไม่เกิน 80 ตร.ม. ราคา 2,500 บาท/ครั้ง
  • แพ็กเกจ B ราคา 3,500 บาท/ครั้ง
  • แพ็กเกจ C พื้นที่ตั้งแต่ 201 ตารางเมตรขึ้นไป ราคา 17 บาท/ตารางเมตร เหมาะสำหรับเบ้านเดี่ยวขนาดใหญ่ หรืออาคารสำนักงาน

ขั้นตอนการให้บริการ

  • แจ้งแพ็กเกจที่ต้องการใช้บริการ พร้อมวันเวลาที่ต้องการ
  • เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ เพื่อสรุปรายละเอียด
  • ชำระค่าบริการ พร้อมนัดวันเข้ารับบริการล่วงหน้า 3 วัน
  • เจ้าหน้าที่ให้บริการตามเวลานัดหมาย โดยจะมีการโทรคอนเฟิร์มก่อนให้บริการ 1 วัน

เงื่อนไขการให้บริการ

  • เป็นบริการเหมาตามขนาดพื้นที่ให้บริการ
  • ให้บริการในเขต กรุงเทพมหานคร
  • บริการนี้ไม่รวมการเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ และทำความสะอาดบริเวณที่ให้บริการ
  • เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการจะทำการตรวจสอบขนาดพื้นที่ ในวันที่เข้าไปให้บริการพ่น ฆ่าเชื้อ สงวนสิทธิ์ในการให้บริการ หากตรวจสอบแล้วไม่ตรงกับแพ็กเกจที่เลือกไว้
  • ผู้ให้บริการเข้าทำงาน 2 คน สวมชุดป้องกัน พร้อมอุปกรณ์ป้องกันครบถ้วน
  • ระยะเวลาพ่น 30 นาที (พื้นที่ไม่เกิน 80 ตร.ม.)
  • หลังพ่นฆ่าเชื้อ ควรปิดห้องไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จึงสามารถเข้าอยู่ได้ตามปกติ
  • ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ BESCON P-A ผ่านการทดสอบและรับรองคุณภาพจาก German Society for Hygiene and Microbiology (DGHM) และ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • น้ำยาฆ่าเชื้อไม่มีฤทิธิ์กัดกร่อน กัดสี จึงไม่ส่งผลต่อเฟอร์นิเจอร์ และวัสดุภายในบ้าน
  • น้ำยาฆ่าเชื้อกลิ่นไม่แรง ไม่มีสารตกค้าง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้เข้าอยู่
]]>
1270167
CRM ยุคใหม่ ใช้ e-Wallet มัดลูกค้า เปิดกรณีศึกษา SCG-S&P รับเทรนด์สังคมไร้เงินสด https://positioningmag.com/1221523 Tue, 26 Mar 2019 00:06:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1221523 สังคมไร้เงินสดกำลังทำให้ CRM ยุคเก่าหมดสมัย เห็นได้ชัดเพราะวันนี้แบรนด์ใหญ่ในไทยกำลังปรับกลยุทธ์เสริมสัมพันธ์ลูกค้าผ่าน CRM ยุคใหม่แบบไร้คูปองหรือบัตรกำนัลกระดาษ โดยหันมาทำแอปพลิเคชั่นที่ผูกระบบกระเป๋าเงิน หรือวอลเล็ตของตัวเองเพื่อให้ลูกค้าซื้อสะดวกและรับแต้ม-ส่วนลดได้มากกว่าเดิม แบรนด์ที่เดินเกมนี้แล้วไม่ได้มีเพียงแค่ SCG หรือ S&P แต่ยังมีอีกหลายเชนร้านอาหารและแบรนด์ค้าปลีกที่มั่นใจในวิถีเดียวกับ Starbucks นั่นคือการทำ Wallet ของตัวเองที่จะทำให้แบรนด์ได้ข้อมูลเส้นทางการจับจ่ายของลูกค้าได้ลึกล้ำกว่าวอลเล็ตของคนอื่น นำไปสู่การต่อยอด CRM ยุคใหม่ได้มากกว่า 

ภาพของ CRM ยุคใหม่เห็นได้ชัดจากทั้ง SCG Wallet และ S&P e-Wallet รวมถึงอีกหลายแบรนด์ที่พยายามปลุกปั้นระบบกระเป๋าเงินของตัวเองโดยแยกจากระบบวอลเล็ตยอดนิยม เช่น TrueMoney หรือ LINE รวมถึงค่ายอื่นที่ให้บริการ e-Wallet แก่ผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งกรณีของ SCG การตอบแทนลูกค้า Loyalty Program ผ่านแอป SCG Wallet นั้นทำให้ SCG สามารถตอบแทนช่างผู้รับเหมาที่ซื้อสินค้าไปให้ลูกค้ารายย่อยได้ง่ายและดีกว่าคู่แข่ง แลกกับข้อมูลที่ SCG จะต่อยอดเพื่อผูกใจช่างรับเหมารายนั้นได้โดยตรง

ยังมี S&P e-Wallet ที่เปิดให้สมาชิก Joy Card เติมเงินลงในบัตรเพื่อใช้ซื้อสินค้าได้ในราคาพิเศษ รวมถึงสามารถสะสมแต้มเพื่อแลกรางวัลในสไตล์เดียวกับ Starbucks จุดนี้ต้องยอมรับว่า Starbucks เป็นแบรนด์ที่นำร่องแนวคิดการมี Wallet ของตัวเอง เพื่อเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่องค์กรจะตอบโจทย์ลูกค้าของตัวเองได้เหนือชั้นกว่าเดิม

สำหรับจิ๊กซอว์ตัวนี้ ทั้ง SCG และ S&P ไม่ได้เททรัพยากรพัฒนาระบบ Wallet ขึ้นมาเอง แต่ใช้บริการของบริษัทชื่อ T2P ผู้อยู่เบื้องหลังระบบ Deep Pecket ซึ่งเป็นชื่อโปรดักต์แพลตฟอร์มตัวแรกๆ ของบริษัท วันนี้ T2P มีรายได้เพิ่มขึ้นเกิน 5 เท่าตัว เพราะการเปลี่ยนจากบริการ B2C มาเป็น B2B2C ด้วยการจับมือกับแบรนด์ที่ต้องการมีระบบ Wallet ของตัวเอง

segment แบบนี้ไม่ค่อยเห็นผู้ให้บริการ เพราะส่วนใหญ่เน้นแบบ B2C แต่ T2P จะเน้นตอบโจทย์แบรนด์ที่ต้องการ data ซึ่งเป็นมุมมองที่คล้ายกับแอปพลิเคชั่น Starbuck

ณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ทีทูพี จำกัด อธิบาย

ตลาดรับทำ Wallet โตแรง

ผู้บริหาร T2P ระบุว่าปี 61 ที่ผ่านมาคือปีที่บริษัททำรายได้จากค่าธรรมเนียมผ่านระบบ Wallet มากขึ้นกว่าปี 60 ถึง 5 เท่าตัว โดยเติบโตจาก 30 ล้านบาทมาเป็น 138 ล้านบาท เหตุผลที่รายได้โตก้าวกระโดดคือการหันไปจับมือกับแบรนด์ใหญ่ที่ต้องการเริ่มทำ CRM รูปแบบใหม่ รวมถึง Voucher ยุคดิจิทัล ส่งให้ตลาดรับทำ Wallet โตแรงมากในวงการค้าปลีกไทย

“สิ่งที่เกิดขึ้นคือวันนี้ทุกแบรนด์ต้องให้บริการด้านดิจิทัลกับลูกค้า เพราะลูกค้ามีความต้องการและคาดหวังสูง T2P จึงเข้าไปให้บริการ เพราะแบรนด์จะรันคลาวด์เองก็ไม่ไหว และต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วขั้นต่ำ 100-200 ล้านบาทตามกฎหมาย ความได้เปรียบของ T2P คือแบรนด์ที่เลือกใช้ระบบของบริษัทเป็นแบรนด์ที่มียอดใช้สูง และมี Loyalty ดีมากอยู่แล้ว ถือเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้รายได้ของบริษัทเติบโตชัดเจน”

ตลาดรับทำ Wallet ไม่ได้โตแรงเฉพาะไทย แต่ยังร้อนแรงไปถึงพม่า จากการเข้าสู่ตลาดเมียนมาราว 1 ปี ผู้บริหาร T2P พบว่าเมียนมาเป็นตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตสูงมาก

“ปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนของประชาชนเมียนมา ถือว่าสูงกว่า 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แม้ธุรกรรมการเงินส่วนใหญ่จะยังเป็นเงินสด แต่ธนบัตรเมียนมาส่วนใหญ่ดูเก่า ทำให้ประชาชนไม่ต้องการใช้ ผมเชื่อว่าสังคมไร้เงินสดของเมียนมาจะเติบโตก้าวกระโดดเหมือนการใช้งานสมาร์ทโฟน ล่าสุดยอดการชำระเงินผ่าน Wallet ของชาวเมียนมาก็เติบโตเร็วมาก มีการประเมินว่าน่าจะสูงกว่าการใช้เงินผ่าน ATM ไปแล้ว”

ในส่วนของ T2P บริษัทได้ร่วมมือกับแบรนด์ค้าปลีกรายใหญ่ของเมียนมาชื่อว่า City Mart ซึ่งเป็นองค์กรที่มีขนาดเทียบเท่ากับ Central ของไทย ให้บริการห้างหรู ร้านค้าสะดวกซื้อ รวมถึงบริการหลายด้านในเมียนมา City Mart ลงทุนสร้างระบบกระเป๋าเงินของตัวเองร่วมกับ T2P เพื่อให้ลูกค้าของ City Mart สามารถเติมเงินและสะสมแต้ม เหมือนกับที่ Central ร่วมมือกับ T2P ในนาม CRG หรือ Central Restaurants Group

น่าเสียดายที่ T2P ไม่ประเมินว่าตลาดรับทำ Wallet จะร้อนแรงเพียงใดในปีนี้ โดยไม่ฟันธงว่าบริษัทจะทำรายได้เพิ่มขึ้นอีก 5 เท่าตัวแบบที่เกิดขึ้นในปี 61 แล้วหรือไม่ จุดนี้ผู้บริหารมองการแข่งขันในตลาด e-Wallet ว่าจะเป็นการเน้นแข่งขันไปตาม segment ซึ่งกรณีของ T2P จะยึดจุดเด่นเรื่องความครบวงจร เพราะ T2P มีครบทั้งระบบ KYC, ส่วนประกอบอื่น, ความเร็ว และความยืดหยุ่นของบริการ ทำให้แบรนด์เลือกใช้เพื่อให้บริการคอนซูเมอร์ไทยอีกทอดหนึ่ง

ไม่ได้แทนที่บัตรเครดิต

การเติบโตของ e-Wallet รายย่อยไม่ได้สร้างผลกระทบด้านลบกับธุรกิจบัตรเครดิต ซึ่งนักช้อปเคยมองเป็นช่องทางสะสมคะแนนแลกของรางวัลในยุคหนึ่ง สำหรับยุคทอง e-Wallet บัตรเครดิตก็จะยังได้รับยอดเงินที่เติมเข้าระบบอยู่ ทำให้ไม่มีการแทนที่บัตรเครดิต เพียงแต่ e-Wallet บนแอปพลิเคชั่นของแบรนด์จะทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นเท่านั้น

e-Wallet รายย่อยจึงถูกมองว่าเป็นหนทางสู่รูปแบบใหม่ของการทำโครงการ Loyalty ลูกค้าจะรู้สึกว่าได้รับประโยชน์เพิ่มมากกว่าการซื้อกับคู่แข่ง ซึ่งเป็นความรู้สึกเดียวกับลูกค้า Starbucks ที่นิยมซื้อกาแฟและสะสมแต้มผ่านแอปกันทั่วโลก กลายเป็นเส้นทางสู่ CRM ยุคใหม่ในสังคมไร้เงินสด.

รู้หรือไม่?

  • คนไทยเปลี่ยนวิธีเติมเงินเข้าระบบ e-Wallet จากการเติมด้วยเงินสดมาเป็นเติมทางดิจิทัลแบงกิ้ง จากเดิมที่เติมด้วยเงินสดมากกว่า 60% วันนี้การเติมทางดิจิทัลแบงกิ้งซึ่งรวมโมบายแบงกิ้งด้วยนั้นเพิ่มขึ้นมาเป็น 60% แทน ปัจจัยเสริมเป็นเพราะการประกาศค่าธรรมเนียมโอนเงินต่างธนาคาร 0 บาท
  • รายได้ของ T2P เกิดขึ้นจากส่วนแบ่งต่อทรานเซ็กชั่น ยิ่งมีการใช้จ่ายผ่าน e-Wallet ของแบรนด์ รายได้ของ T2P ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
  • T2P เตรียมลุยแพ็กเกจรับทำ e-Wallet แบบเจาะแบรนด์เล็กในปีนี้ คาดว่าจะได้รับความสนใจสูงในกลุ่ม SME ที่ต้องการเริ่มทำ CRM ยุคใหม่.
]]>
1221523
เอสซีจี ขอไปต่อ ควัก 2.4 พันล้าน ซื้อหุ้น 29% CSA ธุรกิจค้าปลีก-กระจายสินค้าบ้านวัสดุก่อสร้างในอินโดนีเซีย https://positioningmag.com/1178941 Mon, 16 Jul 2018 08:56:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1178941 เอสซีจี ขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน ล่าสุดเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 29 ใน PT Catur Sentosa Adiprana Tbk (CSA) ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งทำธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่สินค้าเกี่ยวกับบ้านและวัสดุก่อสร้างในชื่อ Mitra10 ซึ่งมี 27 สาขาในเมืองหลักส่วนใหญ่ของประเทศ รวมทั้งธุรกิจกระจายสินค้าที่มีเครือข่ายร้านค้าปลีกสำหรับสินค้าวัสดุก่อสร้างมากกว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศ

การเข้าถือหุ้นในครั้งนี้ จึงเป็นการขยายฐานธุรกิจในตลาดอินโดนีเซียที่กำลังเติบโตและเป็นตลาดขนาดใหญ่ และช่วยการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ของเอสซีจีในอินโดนีเซีย

สำหรับธุรกรรมดังกล่าวคิดเป็นมูลค่า 1,035 พันล้านรูเปีย หรือประมาณ 2,400 ล้านบาท คาดว่าธุรกรรมจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 ซึ่งการเข้าถือหุ้นดังกล่าว เอสซีจีจะดำเนินการผ่านบริษัทเอสซีจี รีเทลโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่เอสซีจีถือหุ้นทั้งหมด โดยเป็นการได้มาซึ่งสินทรัพย์ที่มีขนาดของรายการเท่ากับร้อยละ 0.41 ของมูลค่าของสินทรัพย์รวม ตามงบการเงินรวมของเอสซีจี สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 โดยเมื่อรวมกับรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นในระหว่าง 6 เดือนก่อนวันที่มีการเข้าทำรายการนี้จะเท่ากับร้อยละ 4.84

ทั้งนี้ CSA เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียในชื่อย่อหลักทรัพย์ “CSAP.JK” ที่ประกอบธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่สำหรับสินค้าเกี่ยวกับบ้าน โดยในปี 2560 CSA มียอดขายรวมประมาณ 23,700 ล้านบาท และมีสินทรัพย์รวมมูลค่า 12,000 ล้านบาท.

]]>
1178941
มากกว่ารัก ต้องมี Passion กลยุทธ์สร้างแบรนด์ให้ลูกค้า “หลงใหล” กรณีศึกษา “บาร์บีคิวพลาซ่า-เอสซีจี-เคเอฟซี” https://positioningmag.com/1154210 Tue, 23 Jan 2018 00:15:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154210 ขึ้นชื่อว่าเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร หัวใจสำคัญสุดของการทำธุรกิจคือ “ความปลอดภัย” หรือ Food Safety ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง และสิ่งที่ตีคู่กันมาคือ ความอร่อย บรรยากาศร้าน มีเชฟดัง ได้มิชลิสตาร์ ตลอดจนบริการดี ล้วนเป็นตัวเสริมให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ขณะที่การ “สร้างแบรนด์” เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำตลาด สร้างการรับรู้ ไปจนถึงครองใจผู้บริโภคให้ได้

มีแบรนด์อาหารจำนวนไม่น้อยที่เคยเผชิญ “วิกฤติ” ด้านอาหารปลอดภัย เกิดดราม่า การตั้งกระทู้บนโลกออนไลน์ เรียกแขกมาขย้ำซ้ำเติมแบรนด์จนเละตุ้มเป๊ะ! จนแทบพังพาบไปเพียงข้ามคืน แต่เหตุการณ์ดังกล่าว ดูเหมือนจะไม่ใช่กับ “บาร์บีคิวพลาซ่า” แบรนด์ร้านอาหารสัญชาติไทย ซึ่งมีความแข็งแกร่งพอตัว และจากกรณีดราม่าล่าสุดกับ “ชิ้นวัวที่มีความผิดปกติ” ระหว่างการตรวจสอบชิ้นเนื้อเจ้าปัญหา ต้องยอมรับว่ามีผู้บริโภคออกมาปกป้องแบรนด์ไม่น้อย ขณะที่แบรนด์เองก็ Action เร็วมากในการแก้วิกฤติ จนเกิดกรณีศึกษาที่น่าสนใจหลายประการ

มุมมองของนักวิชาการระบุว่าในเชิงการสื่อสาร “บาร์บีคิวพลาซ่า” จัดการแก้วิกฤติครบถ้วน PTT ซึ่งประกอบด้วย 

1. Prompt 

การออก Action ทันทีของแบรนด์ภายใน 24 ชั่วโมง ว่าจะตรวจสอบกับปัญหาที่เกิดขึ้นภายใน 7 วัน พยายามหาทางแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดกับลูกค้า

2. Trust 

การสร้างความน่าเชื่อถือของแบรนด์บาร์บีคิวพลาซ่าครั้งนี้ ได้ดึง 2 แบรนด์ที่น่าเชื่อถือนั่นคือ ห้องปฏิบัติการบริษัท ศูนย์วิทยาศาสตร์ เบทาโกร จำกัด หรือแบรนด์เบทาโกร ที่ขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพอาหาร และอ้างอิงผลการตรวจจากแล็บ จาก น.สพ.ดร.นิติพงศ์ หอมวงษ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสนมาอธิบายเพิ่มเติม มาเป็นขุมพลังช่วย “อุ้ม” กอบกู้สถานการณ์และชื่อเสียงของแบรนด์

3. Truth 

การใช้ความจริงเท่านั้นในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น บรรยายรายละเอียดการตรวจสอบชิ้นเนื้อ ซึ่งมีทั้งหมด 7 หน้า จนทำให้ทั้งนักวิทยาศาสตร์ที่สังคมยอมรับ ตลอดจนผู้บริโภคเห็นพ้องกับสิ่งที่แบรนด์ชี้แจง   

“กรณีที่เกิดขึ้นกับแบรนด์บาร์บีคิวพลาซ่าครั้งนี้ ถือว่ามีความร้ายแรงน้อย ถามว่าคนกินอาหารที่ร้านน้อยลงไหม ก็ไม่ คนยังเต็มเหมือนเดิม เพราะสิ่งที่แบรนด์แก้ปัญหาวิกฤติที่เกิดขึ้นทำได้ดีมาก วิกฤติที่เกิดขึ้น แบรนด์บาร์บีคิวพลาซ่าจึงแค่ถลอกเท่านั้น แต่ถ้าแบรนด์อื่นคงโดนฟันคอไปแล้ว ดร.เอกก์ ภทรธนกุล อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์

อีกบทเรียนที่ได้จากวิกกฤติชิ้นเนื้อของร้านบาร์บีคิวพลาซ่า คือ การสร้างแบรนด์ต้องมาจาก “บุคลากรภายในองค์กร” ซึ่งสำคัญมาก จะเห็นว่าการแสดงความรับผิดชอบจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไม่ได้มีแค่ “ผู้บริหาร” เท่านั้น แต่เป็นคนทั้งองค์กร “ผู้บริหารและพนักงานทุกคน”  

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจร้านอาหารมักให้ความสำคัญกับสร้าง “คุณภาพ” เพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่การคุมมาตรฐานให้ได้ทุกสาขาเป็นเรื่องยาก คุณภาพหลุดอาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น การ “สร้างคุณภาพ” จึงต้องมาคู่กับ “สร้างแบรนด์” และการสร้างแบรนด์ควรสร้าง “ฐานแฟนคลับ” ให้ได้ เพราะในโลกโซเชียลมีเดียในปัจจุบันต่อให้แบรนด์มีทีมงาน คน คน หรือ 10 คน มอนิเตอร์ดูแลแบรนด์ ก็สู้มีฐานแฟนๆ หลักหมื่น หลักแสนคนที่ดูแลปกป้องแบรนด์ไม่ได้

“ลูกค้ากับแฟนคลับต่างกัน ลูกค้าอาจมีการซื้อสินค้าซ้ำ แต่แฟนคลับมีมากกว่านั้นคือบอกต่อ ปกป้องแบรนด์ ซึ่งอย่างหลังถ้าแบรนด์มีคนนับแสนคอยปกป้อง ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นจะผ่านไปด้วยดี”  

หากพิจารณาแบรนด์ไทยที่มีฐานแฟนคลับรัก และคอยปกป้องแบรนด์ นอกจาก “บาร์บีคิวพลาซ่า” ยังมี “เอสซีจี” ด้วย หลายต่อหลายครั้งถ้าลองมีใครไปบ่นบนออนไลน์ติแบรนด์ จะมี “ผู้บริโภค” คอยให้คำตอบแทนแบรนด์เยอะมาก และยังเสนอแนะให้ติแบรนด์น้อยๆ เพราะมองสิ่งที่แบรนด์ทำเพื่อสังคมค่อนข้างมาก

สิ่งที่เหมือนกันของ “บาร์บีคิวพลาซ่า” และ “เอสซีจี” ซึ่งทั้ง แบรนด์ ไม่ได้แค่ Build Brand Love หรือเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภครัก แต่อยู่ในระดับ Passion คือแบรนด์ที่ผู้บริโภค “หลงรัก” ซึ่งสูงกว่ารักนั่นเอง

ส่วนตัวอย่างแบรนด์ที่เป็นที่รักในไทยและระดับโลก (Global brand) ยกให้เจ้าแห่งไก่ทอด KFC ที่คนทั่วโลกรัก แต่ไม่ถึงกับหลงรัก เพราะยังตั้งคำถามกับผลิตภัณฑ์ไก่ทอดดีหรือทำลายสุขภาพ และที่ผ่านมายังเคยเกิดเหตุการณ์แบรนด์ถูกถล่มจากผู้บริโภค เมื่อ “โอปร่าห์ วินฟรีย์” ทำแคมเปญให้คนดูทีวีโชว์ดาวน์โหลดคูปองเพื่อไปรับไก่ทอดฟรีทุกสาขา แต่ด้วยคนสนใจดาวน์โหลดคูปองจำนวนมาก สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงตัดสินใจเลิกแคมเปญกลางคัน ผลที่ตามมาคือผู้บริโภคในสหรัฐฯ บอยคอตแบรนด์เคเอฟซีมหาศาล

พอแบรนด์ล้มคนเหยียบซ้ำเยอะ

แล้วการทำให้แบรนด์ที่เป็นน่าลุ่มหลง หลงรัก ยุคนี้สร้างยากแค่ไหน? ดร.เอกก์ บอกว่า สิ่งสำคัญคือแบรนด์ต้องทำตัวเป็น “คนดี” ทำธุรกิจบนความถูกต้อง ดูแลลูกค้า ซึ่งจะทำให้มีแฟนคลับเป็นฐานที่เหนียวแน่นของแบรนด์ด้วย เพียงแต่ความท้าทายในการสร้างแบรนด์ให้ถึงเป้าหมายดังกล่าว จะต้องมีความอดทนต่อเรียนรู้และเข้าใจลูกค้าเพื่อสร้างยอดขายอัตโนมัติ (Automatic commerce) มากกว่ามุ่งแค่การทำเงินระยะสั้น และท่ามกลางลูกค้าเป้าหมายที่กระจัดกระจาย จากเดิมที่เคยรวมตัวเป็นกลุ่มก้อน แบรนด์ทำใจไหวหรือเปล่าถ้ายังอยากหากินกับกลุ่มเดิมๆ.

]]>
1154210
ผ่าแผน “เอสซีจี เอ็กซ์เพรส” ควงคู่แมวดำญี่ปุ่นลุยธุรกิจขนส่ง 2 หมื่นล้าน ชูจุดขาย รับส่งพัสดุความเย็น “อาหาร เครื่องสำอาง” https://positioningmag.com/1121229 Fri, 31 Mar 2017 16:15:08 +0000 http://positioningmag.com/?p=1121229 ดีกรีตลาดขนส่งในประเทศไทยดุเดือดขึ้นทุกที เนื่องจากมีผู้เล่นรายใหม่กรีธาทัพเข้าสู่ตลาดนี้ ทั้งบริษัทไทย บริษัทข้ามชาติ และสตาร์ทอัพที่ลงมาจับตลาดนี้ ด้วยมูลค่าตลาดราว 20,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 10-20% เพราะได้แรงหนุนมาจาก “ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ” ที่มีมูลค่า 7 แสนล้านบาท เติบโต 30% ที่ต้องอาศัยการส่งสินค้า และในไทยก็ผูกขาดกับบริการจากไปรษณีย์ไทยมานานแล้วด้วย

ทำให้ SCG บริษัทปูนซีเมนต์รายใหญ่ของไทย จึงลงขันร่วมกับ “แมวดำ หรือ ยามาโตะ เอเชีย แห่งญี่ปุ่น ที่ต้องการขยายตลาดเข้ามาในไทย เปิด บริษัท เอสซีจี ยามาโตะ จำกัด ทุนจดทะเบียน 633 ล้านบาท เอสซีจี ถือหุ้น 65% และยามาโตะ เอเชีย 35%

ดีลนี้มีการตกลงค่อนข้างนาน รวมถึงใช้เวลาในการศึกษาตลาดในประเทศไทยถึง 2 ปีก่อนที่จะเปิดบริการอย่างเต็มตัว ได้มองเห็นช่องว่างทั้งในเรื่องบริการที่หลายคนบ่นจากเจ้าตลาดว่าได้ของในสภาพไม่สมบูรณ์ ได้ของช้า จนได้เริ่มทดลองตลาดในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาเริ่มจากศูนย์บริการที่เอสซีจีสำนักงานใหญ่ บางซื่อก่อน ผลตอบรับมีผู้ใช้บริการส่งพัสดุกว่า 150,000 ชิ้นแล้ว

นอกจากตลาดอีคอมเมิร์ซที่จะเป็นปัจจัยหลักแล้ว เอสซีจี เอ็กซ์เพรสยังมองเห็นโอกาสในธุรกิจอื่นๆ การขนส่งได้เป็นบริการที่ขาดไม่ได้ในทุกธุรกิจ และในประเทศไทยก็มีบริษัทประเทศญี่ปุ่นมากกว่า 5,000 บริษัท ที่รู้จักแมวดำอยู่แล้ว

เอสซีจี เอ็กซ์เพรส มีบริการส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วน มี 4 รูปแบบ 1.ส่งพัสดุย่อยถึงปลายทางวันต่อไป 2.ส่งเอกสาร 3.บริการเก็บเงินปลายทาง และล่าสุดคือ 4.ส่งพัสดุแบบควบคุมอุณหภูมิ สินค้าแช่เย็น 0-8 องศา และสินค้าแช่แข็ง -15 องศา ซึ่งจะเป็นไฮไลต์ เพราะยังไม่มีผู้เล่นในไทยทำบริการนี้

ถ้าเป็นบริการส่งพัสดุทั่วไปค่าบริการเริ่มต้นที่ 40 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดกล่อง และน้ำหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัม ส่วนพัสดุแบบเย็นเหมาะกับสินค้าอาหาร เครื่องสำอาง ราคาเริ่มต้น 140 บาท น้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับขนาดกล่อง กลุ่มเป้าหมายหลักคือกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซ นักช้อปออนไลน์

การร่วมมือครั้งนี้เป็นดีลที่ Win-Win กันทั้งคู่ ทางแมวดำเองก็อยากขยายตลาดมาทางภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น จากที่ปัจจุบันมี 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า และฟิลิปปินส์ ส่วนเอสซีจีต้องการต่อยอดจากธุรกิจเอสซีจีโลจิสติกส์ ที่ส่วนใหญ่เป็นบริการแบบ B2B ต้องการขยายธุรกิจไปยัง B2C มากขึ้น โดยใช้ระบบที่มีอยู่มาใช้ในการขนส่ง ทำให้ไม่ต้องลงทุนเพิ่มมาก

นิธิ ภัทรโชค ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ตลาดในประเทศ ธุรกิจ เอสซีจี ซิเมนต์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กล่าวว่าการร่วมมือครั้งนี้เป็นการต่อยอดธุรกิจของเอสซีจีเองได้ประสานงานกับเครือข่ายของเอสซีจี เป็นแต้มต่อที่ทำให้ไม่ต้องลงทุนใหม่หมด มีระบบขนส่ง ไอทีอยู่แล้ว และได้ความเชี่ยวชาญในการส่งพัสดุย่อยของยามาโตะมาช่วย ซึ่งโอกาสจากตลาดอีคอมเมิร์ซมีการเติบโตมาก จะช่วยทำให้ตลาดขนส่งโตขึ้นไปอีก

จากการที่ทดลองตลาดมา 3 เดือน มีแผนจะเพิ่มศูนย์บริการอีก 4 สาขา พื้นที่รัชดาภิเษก รังสิต ปทุมวัน และบางนา รวมถึงขยายพื้นที่สุ่ภาคตะวันออก ตะวันตก และอีสาน คาดว่าจะทั่วประเทศในปีหน้า และขยายในโมเดลตัวแทนรับพัสดุ ตั้งเป้า 300 จุด และมีรายได้ 100 ล้านบาท ในปีนี้ ใน 5 ปีมีรายได้ 1,000 ล้านบาท

บริการของยามาโตะในญี่ปุ่นมีกว่า 100 บริการ แต่เลือกมา 4 บริการให้เข้ากับประเทศไทย แต่ได้มองเห็นเทรนด์เรื่องการท่องเที่ยวแบบแฮนด์ฟรี สามารถใช้บริการขนส่งกระเป๋าเดินทางจากสนามบินได้ ทำให้เที่ยวหรือทำงานได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาเอากระเป๋าเข้าที่พัก หรือเทรนด์ของสังคมผู้สูงอายุที่ในญี่ปุ่นมีการจ้างให้ซื้อของ ซื้ออาหาร ในประเทศไทยอาจจะมีแนวโน้มก็ได้ ยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก

]]>
1121229
เอสซีจี รุกตลาดบริการส่งด่วน จับมือ ยามาโตะ เอเชีย เปิดตัว “เอสซีจี เอ็กซ์เพรส” https://positioningmag.com/1114922 Mon, 30 Jan 2017 08:47:12 +0000 http://positioningmag.com/?p=1114922 เอสซีจี เดินหน้ารุกตลาดบริการส่งด่วน ผนึกพันธมิตร ยามาโตะ เอเชีย ทุ่มงบ 633 ล้านบาท เปิดตัวธุรกิจขนส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วน “เอสซีจี เอ็กซ์เพรส” (SCG EXPRESS) ตอบเทรนด์อีคอมเมิร์ซที่เติบโตกว่า 12% ในปี 59 ชูจุดเด่นผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วน

เอสซีจี เอ็กซ์เพรส มี 4 รูปแบบบริการ ได้แก่ บริการขนส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วนถึงบ้าน หรือ ทัค-คิว-บิง (TA-Q-BIN) บริการส่งเอกสารหรือพัสดุภัณฑ์ด่วนระหว่างบริษัทถึงบริษัท (Document TA-Q-BIN) บริการเก็บเงินปลายทาง (TA-Q-BIN COLLECT) และบริการขนส่งพัสดุแบบควบคุมอุณหภูมิ (COOL TA-Q-BIN)

1_scg

จุดเด่นก็คือจัดส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมตั้งแต่ต้นทางจนถึงมือผู้รับ ซึ่งมี 2 รูปแบบบริการ คือ สินค้าแบบแช่เย็น (Chilled) ระบบควบคุมอุณหภูมิที่รักษาความเย็นได้ 0-8 องศาเซลเซียส สินค้าแช่แข็ง (Frozen) ระบบควบคุมอุณหภูมิที่รักษาความเย็นได้ต่ำกว่า -15 องศาองศาเซลเซียส สำหรับขนาดพัสดุมีให้เลือกตั้งแต่ กว้าง+ยาว+สูง ขนาดไม่เกิน 160 เซนติเมตร น้ำหนักสูงสุดไม่เกิน 25 กิโลกรัม และราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 40 บาท เป็นต้นไป

เบื้องต้นเปิดศูนย์บริการเอสซีจี เอ็กซ์เพรสแห่งแรกที่บางซื่อ

มีพื้นที่ 38 ตารางเมตร  ประเดิมให้บริการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งเป้าเปิดจุดให้บริการรับส่งพัสดุ เพิ่มเป็น 110 สาขา ภายในปี 60 ทั้งในรูปแบบศูนย์บริการเอสซีจี เอ็กซ์เพรส (Service Point) และตัวแทนรับพัสดุเอสซีจี เอ็กซ์เพรส (Service Agent)

2_scg

นิธิ ภัทรโชค ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-ตลาดในประเทศ ธุรกิจ เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กล่าวว่า ปัจจุบันเทรนด์ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทกับธุรกิจและไลฟ์สไตล์การจับจ่ายซื้อสินค้าของผู้บริโภคมากขึ้น แนวโน้มธุรกิจการค้าออนไลน์หรืออีคอมเมิร์ช (E-commerce) โดยมีมูลค่าตลาดเติบโตกว่า 12% ในปี 59 ส่งผลให้ธุรกิจบริการส่งด่วนในประเทศเติบโตตามไปด้วย

บริการนี้ได้ร่วมกับพันธมิตร “บริษัท ยามาโตะ เอเชีย จำกัด” ผู้นำตลาดการขนส่งพัสดุย่อยประเทศญี่ปุ่น การร่วมมือกันในครั้งนี้ เป็นการผสานความแข็งแกร่งในแต่ละด้านของทั้ง 2 บริษัท ด้านนวัตกรรมและคุณภาพของเอสซีจี และความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจขนส่งพัสดุย่อยของยามาโตะ เอเชีย

โดยก่อนที่จะร่วมมือกันได้ร่วมกันวิจัยตลาดและศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศไทยกว่า 2 ปี เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการส่งบริการที่ตอบความต้องการของตลาดและผู้บริโภค และช่วยยกระดับมาตรฐานการให้บริการขนส่งสินค้าในประเทศไทย

นอกจากการใช้บริการที่สาขาแล้ว ยังสามารถใช้บริการผ่านเว็บไซต์ www.scgexpress.co.th และแอปพลิเคชั่น SCG EXPRESS ทั้งระบบ IOS และ Android

]]>
1114922