SEAC – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 14 Apr 2020 10:32:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะลึก ‘3 Case 3 องค์กร 3 ขนาด’ พลิกวิกฤติ COVID-19 มาเป็น ‘ชัยชนะ’ เหนือคู่แข่ง https://positioningmag.com/1273248 Tue, 14 Apr 2020 09:40:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273248 เพราะวิกฤติ COVID-19 ที่ระบาด ส่งผลให้เกิดผลกระทบอย่างหนักกับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม แต่ภายใต้วิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ SEAC หรือ ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน จึงได้มาแชร์ 3 Case Study ทั้ง SME ขนาดกลาง ร้านอาหารขนาดเล็ก และแบรนด์ใหญ่ระดับโลก ที่คว้าโอกาสในช่วงวิกฤตินี้ พร้อมย้ำว่า อย่าคิดว่าจะทำอะไรเพื่อให้ผ่าน COVID-19 แต่ต้องมองยาวกว่านั้น

ใช้วิกฤติทรานส์ฟอร์มแบบยั่งยืน

Lin qingxuan แบรนด์เครื่องสำอางจากจีน ที่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2013 ปัจจุบันมีหน้าร้านกว่า 300 สาขา มีคนงานกว่า 2,000 ราย โดยในปี 2016 แบรนด์พยายามจะทรานส์ฟอร์มไปออนไลน์ แต่ก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่งเกิดวิกฤติ COVID-19 ที่ส่งผลให้ช่วงตรุษจีน บริษัทต้องปิดสาขาไปกว่าครึ่ง ยอดขายลดลงถึง 90%

โดยจุดพลิกผันของแบรนด์ คือ CEO ที่ปลุกใจพนักงานโดยพูดถึงความสำเร็จที่เคยทำได้ในอดีตที่เคยทำยอดขายได้ถึง 1,000 ล้านชิ้น และไม่มีการพูดถึงปัญหาที่เกิดจากวิกฤติเพื่อไม่ให้พนักงานหดหู่ พร้อมใช้ช่วงวิกฤตินี้เป็นโอกาสในการเดินทางไปสู่จุดใหม่อย่างถาวร โดยเปลี่ยนจากพนักงานขายหน้าร้านมาเรียนรู้วิธีสร้าง engagement และสร้างอีกทีมเพื่อเรียนรู้การโดยมีเดท์ไลน์วันวาเลนไทน์ และทำคูปองส่วนลด โดยสร้างอีกทีมเพื่อเรียนรู้การทำแคมเปญทางการตลาดจนเกิดเป็น ‘คูปองขอบคุณภรรยา’ เพื่อเตรียมขายในวันวาเลนไทน์

ภายใน 2 ชั่วโมงจากการไลฟ์ขายของครั้งแรก lin qingxuan สามารถขาย Camelia Oil ได้กว่า 4 แสนชิ้น เทียบเท่ากับยอดจำหน่ายหน้าร้านถึง 4 สาขาทีรวมกัน ยังไม่รวมสินค้าอื่น ๆ จะเห็นว่า COVID-19 เป็นตัวกระตุ้นให้ต้องทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์ม ส่งผลให้อนาคตจากนี้ lin qingxuan ไม่จำเป็นต้องมีสาขา และสามารถเติบโตต่อไปได้หลังจากจบวิกฤติ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องทำจากนี้ คือ การสร้าง Relationship อย่างต่อเนื่อง

“เขาไม่ได้มองว่าเล็ก แต่เขามองว่านี่คือโอกาสจะทรานส์ฟอร์มเมชั่นแบบถาวร และใช้วิกฤติอัพสกิลพนักงาน”

ภาพจาก www.ww01.net

มองหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

guerrilla tacos จากร้านฟู้ดทรัค ที่ขยายจนเปิดเป็นร้านอาหารใน LA แต่เมื่อต้องโดนปิดเพราะ COVID-19 เจ้าของร้านจึงต้องคิดต่างจากแค่ทำ Delivery เพราะใคร ๆ ก็คงทำ อีกทั้งการจะสู้เชนใหญ่ที่แข็งแรงในด้าน Delivery อยู่แล้วคงยาก เขาจึงใช้เวลา 1 สัปดาห์ในการโทรหาลูกค้าประจำเพื่อถามถึงสิ่งที่เขาต้องการรวมถึงข้อกังวลต่าง ๆ จนเกิดเป็นเมนู ‘Emergency TACO Kit’ ที่เป็นเมนูสำหรับส่ง Delivery โดยเฉพาะ ในราคา 150 เหรียญหรือประมาณ (4,950 บาท) ประกอบด้วยเซ็ท TACO ชุดใหญ่ สามารถทำทานเองได้หลายครั้ง พร้อมด้วยกระดาษทิชชูและไข่ที่กำลังขาดแคลน ส่งผลให้ในวันแรกมียอดออเดอร์ถึง 60 ออเดอร์ และปัจจุบันร้านก็มีผู้สนใจติดต่อทำแฟรนไชส์เรียบร้อยแล้ว

“การจะส่งเมนูย่อย ๆ ราคาไม่กี่เหรียญ ทำเเล้วไม่ได้อะไร ขณะที่ผู้สั่งเห็นค่าส่งก็ไม่อยากซื้อ ดังนั้นทำเซตใหญ่ กินได้หลายวัน พร้อมทั้งให้สิ่งที่เขากำลังต้องการ ผู้บริโภคก็พร้อมจ่าย”

ขยับก่อนได้ใจก่อน

เป็นที่รู้กันว่า Louis Vuitton แบรนด์สุดทรูสุดไฮเอนด์ได้หันมาผลิตหน้ากากกับเจลแอลกอฮอล์ผสมน้ำหอม ซึ่งนอกจากจะสามารถเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าได้มากขึ้นแล้ว ในวิกฤติดังกล่าวนี้ CEO ถือว่าเป็นโอกาสที่ทำให้คนในองค์กรได้คิดถึงอะไรใหม่ ๆ ทำอะไรใหม่ ๆ เป็นโอกาสดีที่จะเปลี่ยน Mind Set ของคนในองค์กร เพราะที่ผ่านมาคนของเขาคิดจะทำอะไรใหม่ ๆ ยากมาก เคยชินแต่การทำสินค้าราคาแพง ไม่เคยทำของที่เป็นแมส ทำให้คนออกจาก Comfort Zone

Photo : Shutterstock

ในเคสแรกไม่ใช่แค่แก้ปัญหาจากโควิด-19 แต่เป็นการทรานส์ฟอร์มองค์กรอย่างถาวร เคสที่สองทำให้รู้ว่า ต้องปรับวิธีคิดใหม่ ต้องทำการบ้าน เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการลูกค้าจริง ๆ และเคสสุดท้าย จุดเริ่มต้นอาจจะแค่ทำแมสและเจล แต่ก็สามารถเข้าถึงใจลูกค้า สามารถเปลี่ยน Mind Set พนักงาน เพื่อให้ทีมยิ่งแข็งแกร่ง เข้าถึงวิถีชีวิตของคนได้มากกว่าเดิม

จะเห็นว่าตั้งแต่เกิดวิกฤติ COVID-19 ขึ้นส่งผลให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ มีคู่แข่งทางธุรกิจที่เรานึกไม่ถึง แต่ก็ถือเป็นช่วงที่ดีในการ Up and Re Skill ให้กับพนักงาน ทุกองค์กรไม่ว่าจะเล็ก กลาง ใหญ่ สามารถที่จะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ ๆ ได้

]]>
1273248
“เอพี” ต่อจิ๊กซอว์ธุรกิจการศึกษา หวังปั๊มรายได้ 4 พันล้าน https://positioningmag.com/1219451 Wed, 13 Mar 2019 02:57:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1219451 ทิศทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีความชัดเจนเรื่องการ Diversify ธุรกิจใหม่ เพื่อมองหารายได้ประจำ (recurring income) สร้างอีกแหล่งรายได้ที่มั่นคง นอกจากการสร้างและขายที่อยู่อาศัยที่ละโครงการแล้วจบ 

ส่วนค่าย เอพี นั้น เพิ่งประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ภายใต้แนวคิด AP World ที่ต้องการพัฒนาทักษะความรู้ และความสามารถของคนในองค์กรเอพีและคนทั่วไป รับมือกับกระแสดิสรัปชั่น (Disruption) เอพีจึงเลือก Diversify ธุรกิจใหม่ ด้วยการลงทุน ธุรกิจการศึกษา SEAC ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ธุรกิจ (Disruptive Business) ที่จะลงทุนในปีนี้

อนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมาหลายองค์กรได้พูดเรื่องการเปลี่ยนแปลงกระแส Disruption ธุรกิจ ที่ต้องเตรียมความพร้อมเรื่อง “คน” ผ่านการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ในการทำงาน ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เอพีได้จัดตั้ง “เอพี อะคาเดมี่” ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้การทำงานด้านอสังหาฯ ให้กับคนที่จะเข้ามาทำงานกับบริษัท เพราะทฤษฎีจากสถาบันการศึกษา ไม่เพียงพอกับการปฏิบัติงานจริง

โดยพนักงานใหม่ทุกคน จะต้องเข้ามาฝึกอบรมในเอพี อะคาเดมี่ ไม่ว่าจะเป็น วิศวกร, ฝ่ายขาย และกลุ่มงานทั่วไป ปีนี้จะเพิ่มกลุ่มงานด้านการตลาด

ส่วนบุคลากรในกลุ่มผู้บริหารระดับกลางขึ้นไป จะมีหลักสูตรอบรมเพิ่มทักษะการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งหลักสูตรการบริหาร Leadership & Management ทักษะด้านเทคโนโลยีและการตลาดดิจิทัลใหม่ๆ

ผมบ้าบอกับการทำ เอพี อะคาเดมี่ มา 3-4 ปี ใช้เงินไปกว่า 100 ล้าน เพราะเจอปัญหาคนทำงานที่มีทักษะไม่ตรงกับงานและทำงานไม่ได้ เราจึงต้องทำ อะคาเดมี่ กันภายในองค์ก

ปัจจุบันอสังหาฯ ให้ความสำคัญกับเรื่อง Data Analytic, Big data แต่ก็พบว่าคนในองค์กรไม่มีทักษะในเรื่องดังกล่าว และมหาวิทยาลัยยังไม่สามารถผลิตบุคลากรที่พร้อมทำงานด้านนี้ “วันนี้ว่าหนักแล้ว อีก 5 ปีจะหนักมากกว่านี้”

ขณะเดียวกันเมื่อองค์กรเติบโต คนทำงานรุ่นเก่าหากไม่มีการอบรมทักษะใหม่ๆ จะกลายเป็นคนล้าหลัง จึงเป็นหน้าที่ขององค์กรที่ต้อง Re-skill คนรุ่นเก่าให้มีวิธีคิดใหม่และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจยุคใหม่

ลงทุนธุรกิจการศึกษา 

อนุพงษ์ บอกว่าช่วงที่เริ่มการทำ เอพี อะคาเดมี ได้ทำงานร่วมกับคุณอริญญา เถลิงศรี ผู้ก่อตั้ง APM Group ซึ่งทำหลักสูตรพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาทำหลักสูตรอบรมความรู้ให้กับเอพี

หากเอพีจะ Diversify ธุรกิจใหม่ เพื่อหาธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ จะต้องเป็นธุรกิจที่ก้าวทันกระแสดิสรัปชั่น และแก้ปัญหาเรื่อง “คนทำงาน” จึงเข้ามาร่วมทุนกับ อริญญา เปลี่ยน APM Group เป็น “Southeast Asia Center” (SEAC) หรือศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน เป็น 1 ใน 3 ธุรกิจใหม่ โดย เอพี ถือหุ้น SEAC 90% และ คุณอริญญา 10%

SEAC จัดตั้งมาแล้ว 2 ปี เอพีใช้เงินลงทุนไปแล้วราว 600 ล้านบาท สร้างหลักสูตรการเรียนการสอนได้ร่วมมือจากสถาบันระดับโลก อาทิ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

การลงทุนธุรกิจการศึกษา เป็นการ diversify ธุรกิจของเอพี ที่ช่วยพัฒนาทักษะคนในองค์กร ที่ทุกปี ต้องใช้เงินกับเอพี อะคาเดมี่ 50-100 ล้านบาท เชื่อว่าองค์กรต่างๆ ก็ต้องทำเรื่องนี้เช่นกัน จึงเปิดรับอบรมให้บุคลากรภายนอก และยังเป็นหารายได้ของ SEAC ไปในตัว

โดยมี 4 แพลตฟอร์ม ทั้งผ่านออนไลน์ และเข้าคลาส อาทิ หลักสูตร Design Thinking ต้นฉบับจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด หลักสูตร Outward Mindset จาก The Arbinger Institute รวมถึงหลักสูตรเพื่อสร้างทักษะใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ยุค 4.0 เมื่อจบหลักสูตรจะได้ประกาศนียบัตรของหลักสูตรนั้นๆ ปีแรกวางเป้าหมายผู้สนใจสมัครสมาชิก 80,000 ราย ค่าเรียน 10,000 บาทต่อคนต่อปี โดยสามารถเรียนได้ทุกหลักสูตรและเรียนซ้ำได้ไม่จำกัด

โดยมีแผนพัฒนาขยายธุรกิจไปในระดับอาเซียน รวมทั้งเปิดโอกาสให้คนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเอสเอ็มอี ผู้ประกอบธุรกิจในต่างจังหวัด รวมทั้งนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการเพิ่มทักษะก่อนการเข้าสู่ระบบงาน ด้วยระบบสมาชิกรายปีในราคา 10,000-15,000 บาทต่อปี เรียนได้ทุกหลักสูตรและทุกช่องทาง เชื่อว่า SEAC จะสามารถสร้างรายได้ใน 3 ปี ได้ถึง 3,000 – 4,000 ล้านบาท

เปิด 4 แพลตฟอร์มเรียนไม่อั้น

อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC กล่าวว่า ได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ที่เรียกว่า “4Line Learning” คือ รูปแบบการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ รองรับการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงาน ประกอบด้วย

  1. วิธีการเรียนรู้แบบ Online ที่เน้นการเรียนรู้ผ่านหลักสูตรด้วยวิดีโอคลิป หรือ Visual ต่างๆ
  2. วิธีการเรียนรู้แบบ Inline ที่เน้นการเข้าคลาสเพื่ออบรมในหลักสูตรต่างๆ โดยคำนึงถึงระยะเวลาการเรียนที่เหมาะสม
  3. วิธีการเรียนรู้แบบ Beeline ที่เน้นการเรียนรู้ในรูปแบบแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูล หรือเรื่องราวจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน วิทยากร นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จด้านต่างๆ ผู้นำทางความคิด หรือกิจกรรมพิเศษในหลากหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับหัวข้อการเรียนรู้แต่ละครั้ง
  4. วิธีการเรียนรู้แบบ Frontline ที่เป็นคลังการเรียนรู้ที่สามารถให้ผู้เข้าเรียนเข้าถึงข้อมูลการเรียนรู้ และดาวน์โหลดออกมาใช้งานได้

สำหรับ “4Line Learning” นี้ได้ถูกนำเสนอผ่านโมเดลการเรียนรู้ ภายใต้ชื่อ “YourNextU” ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกวิธีการเรียนรู้ให้เหมาะกับความสนใจของตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา

โดยหลักสูตร Online มีกว่า 100 หลักสูตร และซื้อไลเซ่นส์ไว้แล้วอีก 800 หลักสูตร ส่วน Inline มีกว่า 40 หลักสูตร Beeline กว่า 40 โปรแกรม และคลังข้อมูล Frontline ที่สามารถดาวน์โหลดได้ไม่จำกัด

ตัวอย่างหลักสูตรที่น่าสนใจ อาทิ หลักสูตร Design Thinking ต้นฉบับจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด หลักสูตร Outward Mindset จาก The Arbinger Institute หลักสูตร Self-Leadershipจาก The Ken Blanchard Companies รวมถึงหลักสูตรเพื่อสร้างทักษะใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ยุค 4.0 เมื่อจบหลักสูตรจะดั้บประกาศนียบัตรของหลักสูตรนั้นๆ ปีแรกวางเป้าหมายผู้สนใจสมัครสมาชิก 80,000 ราย ค่าเรียน 10,000 บาทต่อคนต่อปี โดยสามารถเรียนได้ทุกหลักสูตรและเรียนซ้ำได้ไม่จำกัด.

]]>
1219451