Samsung – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 02 Feb 2024 13:32:10 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถอดรหัสความปัง ’Samsung Galaxy S24 Series’ ที่แสดงให้เห็นว่า ‘การตลาด’ ก็สำคัญไม่แพ้ ‘เอไอ’ https://positioningmag.com/1461355 Fri, 02 Feb 2024 11:26:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1461355 แม้ปีที่ผ่านมา ตลาดสมาร์ทโฟนในไทยจะซบเซา แต่หนึ่งในสมาร์ทโฟนที่กำลังกลายเป็นกระแสในตอนนี้คงหนีไม่พ้น Samsung Galaxy S24 Series ที่เปิดตัวมาก็มียอดจองมากกว่ารุ่น S23 Series ถึง 200% โดยตลาดไทยขึ้นแท่นเป็นยอดจองสูงสุดเป็นเป็นอันดับที่ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย ซึ่ง 1 ใน 4 หรือ 25% ของยอดพรีออเดอร์นั้นมาจากแบรนด์คู่แข่ง อะไรทำให้ Samsung Galaxy S24 Series ประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้ไปหาคำตอบกัน

เอไอถูกพูดถึงมากกว่าสมาร์ทโฟน

หากพูดถึงตลาดสมาร์ทโฟนในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แบรนด์ส่วนใหญ่จะเน้นการสื่อสารไปที่ ‘กล้อง’ เป็นหลัก แม้หลัง ๆ จะมีสมาร์ทโฟน ‘จอพับ’ แต่ก็ไม่ใช่ผู้บริโภคทุกคนจะตอบรับกับเทรนด์ดังกล่าว กลับกัน การมาของ ChatGPT ได้ปลุกให้คนตื่นตัวกับความสามารถของเอไอ

วัดได้จากกราฟการค้นหาของ Google ที่จะพบว่าการค้นหาเกี่ยวกับสมาร์ทโฟนลดลงเรื่อย ๆ แต่เรื่องเอไอกลับเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจหากการมาของ Samsung Galaxy S24 Series จะเรียกความสนใจจากผู้บริโภคได้

ดีมานด์สมาร์ทโฟนพรีเมียมไม่มีตก

หากดูจากตัวเลขภาพรวมของตลาดสมาร์ทโฟนตั้งแต่ปี 2020-2023 แม้จำนวนจะลดลงเรื่อย ๆ แต่สมาร์ทโฟนในกลุ่ม ‘พรีเมียม’ (ราคา 20,000 บาท+) ยังเติบโตได้ โดยจำนวนสมาร์ทโฟนในกลุ่มพรีเมียมแม้จะมีเพียง 1.5 ล้านเครื่อง จากจำนวนทั้งหมด 10.7 ล้านเครื่อง แต่ในแง่มูลค่ากลับสูงถึง 1,755 ล้านบาท จากมูลค่าทั้งหมด 3,533 ล้านบาท หรือคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของตลาดสมาร์ทโฟน

ส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดพรีเมียมยังเติบโตได้เป็นเพราะวิกฤฤตเศรษฐกิจไม่กระทบกับกลุ่มที่มีกำลังซื้อ กลับกัน เมื่อผู้บริโภคมีความเข้าใจมากขึ้น มีประสบการณ์จากสมาร์ทโฟนที่ใช้ก็อยากจะอัปเกรดไปใช้รุ่นที่ดีขึ้น และในปัจจุบัน      ผู้บริโภคก็มีทางเลือกที่จะผ่อนชำระได้ ทำให้การซื้อสมาร์ทโฟนที่มีราคาสูงขึ้นไม่ได้มีอุปสรรคมากนัก

ซื้อก่อนไม่เจ็บก่อนอีกต่อไป

หนึ่งในการคิดมุมกลับของ สิทธิโชค นพชินบุตร รองประธานองค์กร ธุรกิจโมบายล์ เอ็กซ์พีเรียนซ์ ได้เล่าให้ฟังก็คือ เขาไม่อยากได้ยินคำว่า “ซื้อก่อนเจ็บก่อน” เพราะซื้อในราคาเต็ม แต่ผ่านไปสักระยะมีโปรโมชั่นลดราคา ดังนั้น ซัมซุงต้องการเปลี่ยนมายเซ็ทนี้ ทำให้แนวคิดของซัมซุงคือ อัดโปรให้ตั้งเเต่จองเลย เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า ลูกค้าเก่าเองก็จะไม่รู้สึกเหมือนถูกทิ้งด้วย 

จากนี้ ซัมซุงก็มีแผนจะใช้งบการตลาดกับการสอนให้ลูกค้าใช้งานสมาร์ทโฟนให้คุ้มค่ามากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าเห็นประโยชน์จากสมาร์ทโฟนที่ซื้อไปมากขึ้น

พรีเซ็นเตอร์ที่ใช่ในเวลาที่ใช่

ที่ผ่านมา ซัมซุงมีการใช้พรีเซ็นเตอร์มาหลากหลาย แต่ต้องยอมรับว่าการใช้ “พี่จอง-คัลแลน” ที่กำลังโด่งดังอย่างมากในโลกโซเชียลมีเดียไทย นอกจากจะได้ใจแฟนคลับแล้ว แต่ยังสื่อสารได้เข้าเป้าสุด ๆ เนื่องจากพี่จอง-คัลแลนเป็นชาวเกาหลีใต้ แม้จะอยู่ในประเทศไทยจนสื่อสารได้แต่ก็ไม่ได้ 100% เหมือนเจ้าของภาษา ขณะที่ Samsung Galaxy S24 Series ที่มีหนึ่งในฟีเจอร์เด่นอย่าง Live Translate และ Interpreter ที่สามารถแปลภาษาได้เรียลไทม์ ก็ยิ่งช่วยเร่งสร้างกับรับรู้ให้กับผู้บริโภค เรียกได้ว่ากระแสของพี่จอง-คัลแลนมาได้ถูกเวลาจริง ๆ

ปัจจุบัน ตลาดพรีเมียมของไทยถูกครองโดยผู้เล่นเพียง 2 ราย และหนึ่งในนั้นคือ ซัมซุง แน่นอนว่าด้วยการเติบโตของกลุ่มพรีเมียมทำให้หลายแบรนด์พยายามจะเจาะตลาดนี้โดยพยายามหาจุดเด่นมาดึงดูดผู้บริโภค แต่หนึ่งในสิ่งที่ สิทธิโชค มองว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้แบรนด์อื่นนั้นสอดแทรกเข้ามาได้ยากก็คือ ความเชื่อมั่น เพราะซัมซุงอยู่ในตลาดไทยมานาน และเรื่องความเชื่อมั่นหรือความเชื่อใจเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาในการสร้าง สิทธิโชคทิ้งท้าย

]]>
1461355
‘Apple’ ขึ้นแท่นแบรนด์ที่มียอดขายสมาร์ทโฟนอันดับ 1 ของโลก โค่น ‘Samsung’ ที่ครองแชมป์นาน 12 ปี! https://positioningmag.com/1459136 Wed, 17 Jan 2024 03:36:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459136 ครั้งสุดท้ายที่ ซัมซุง (Samsung) หลุดแชมป์ เบอร์ 1 ตลาดสมาร์ทโฟน ต้องย้อนไปถึงปี 2010 หรือ 12 ปีที่ผ่านมา และในปี 2023 ซัมซุงก็ได้เสียแชมป์ให้กับ Apple ขึ้นเป็น แบรนด์ที่มียอดขายสมาร์ทโฟนมากที่สุดในโลก และถือเป็นครั้งแรกของ Apple ด้วย

iPhone ของ Apple กลายเป็นสมาร์ทโฟนที่มียอดขายมากที่สุดในโลกเป็นครั้งแรก หลังจากที่แข่งขันกับ Samsung ที่ครองตำแหน่งผู้นำมาเป็นเวลา 12 ปี ตามข้อมูลจาก International Data Corporation หรือ IDC โดย Apple สามารถโค่นแชมป์เก่าได้ด้วยยอดขายกว่า 234.6 ล้านเครื่อง เทียบกับ Samsung ที่ทำได้ 226.6 ล้านเครื่อง ส่งผลให้ Apple ครองส่วนแบ่งตลาด 20.1% มากกว่า Samsung ที่มีส่วนแบ่ง 19.4%

นักวิเคราะห์มองว่า การเติบโตของยอดขาย iPhone ของ Apple มาจากความต้องการของกลุ่มพรีเมียมที่ปัจจุบันคิดเป็นประมาณ 20% ของส่วนแบ่งตลาด ขณะที่ตลาดสมาร์ทโฟนที่ระบบปฏิบัติการ Android ก็มีความกระจัดกระจายมากขึ้น ทำให้ Samsung ต้องเจอกับการแข่งขันที่ดุเดือดจากแบรนด์จีนที่ส่งทั้งสมาร์ทโฟนจอพับมาแข่งขัน นอกจากนี้ การกลับมาของ Huawei ในประเทศจีนก็ส่งผลต่อยอดขายของ Samsung ที่ลดลงเช่นกัน

“เราเห็นการเติบโตที่แข็งแกร่งจากผู้เล่น Android ระดับล่างอย่าง Transsion และ Xiaomi ในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดเกิดใหม่ แต่ Apple ถือเป็นแบรนด์ที่กำชัยชนะเพียงแบรนด์เดียว เพราะถือเป็นเพียงแบรนด์เดียวในกลุ่ม Top3 ที่มีการเติบโตทุกปี”

ทั้งนี้ ในปี 2023 ที่ผ่านมา การจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกลดลง -3.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ 1.17 พันล้านเครื่อง โดยถือเป็นจำนวนต่ำสุดในรอบ 10 ปี อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 4/2023 ตลาดมีการเติบโต +8.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี และมีการจัดส่ง 326.1 ล้านเครื่อง ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เติบโต 7.3% ทำให้ภาพรวมในปี 2024 ตลาดอาจฟื้นตัวดีขึ้น

คงต้องรอดูว่า Samsung จะกลับมาได้ไหมในปีนี้ โดยแบรนด์กำลังจะเปิดตัว Samsung Galaxy S24 Series ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนเรือธงของแบรนด์ในช่วงสิ้นเดือนมกราคมนี้ ขณะเดียวกัน Apple ก็เพิ่งลดราคาสินค้าในจีนเป็นครั้งแรกในช่วงต้นปีเพื่อกระตุ้นยอดขาย

Source

]]>
1459136
‘ญี่ปุ่น’ อัดฉีด 2 หมื่นล้านเยนให้ ‘ซัมซุง’ เพื่อดึงมาสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนา ‘ชิป’ ภายในประเทศ https://positioningmag.com/1456824 Fri, 22 Dec 2023 06:44:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1456824 นับตั้งแต่ ชิป เคยขาดตลาดไปในช่วงโควิด แม้ว่าช่วงนี้ปริมาณจะกลับมาล้นตลาดแล้วก็ตาม ทำให้นานาประเทศพยายามที่จะลดการพึ่งพาจีนและหันมาพึ่งตัวเองมากขึ้น โดย ญี่ปุ่น ก็ถือเป็นหนึ่งในนั้น

ย้อนกลับไปในช่วงปี 1980 ญี่ปุ่น เคยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยมี อะกิโอะ โมริตะ ผู้ร่วมก่อตั้ง Sony ที่ถือเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญในการนำพาให้ญี่ปุ่นสามารถผลิตชิปในรูปแบบของตนเอง แต่ปัจจุบัน ญี่ปุ่นแม้จะไม่ใช่ผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์อีกต่อไปแล้ว แต่ก็ยังบทบาทสำคัญโดยเป็นประเทศที่ผลิตอุปกรณ์พิเศษมากกว่า 1 ใน 3 ที่ใช้ในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก

ล่าสุด กระทรวงอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นได้ดึง ซัมซุง (Samsung Electronics) บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของเกาหลีใต้ โดยรัฐบาลได้ให้เงินอุดหนุนสูงถึง 2 หมื่นล้านเยน (ราว 4.8 พันล้านบาท) เพื่อสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาใหม่สำหรับเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูง เพื่อเพิ่มการผลิตชิปในประเทศ

เนื่องจากการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงการแข่งขันทางเทคโนโลยีระหว่าง 2 มหาอำนาจอย่าง สหรัฐอเมริกาและจีน ทำให้ญี่ปุ่นได้พยายามที่จะสนับสนุนซัพพลายเชนของเซมิคอนดักเตอร์โดยดึงดูดการลงทุนจากบริษัทในต่างประเทศ

“ขณะนี้บริษัทต่าง ๆ จากทั่วโลกสนใจลงทุนในญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก” ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรี กล่าว

ที่ผ่านมา การลงทุนด้านเซมิคอนดักเตอร์โดยบริษัทต่างชาติที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นในปัจจุบัน ได้แก่ Taiwan Semiconductor Manufacturing (TSMC) ในจังหวัดคุมาโมโตะ, Micron Technology Inc. ในจังหวัดฮิโรชิม่า และ Western Digital Corp. ในจังหวัดมิเอะ

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นตั้งเป้าเพิ่มรายได้จากชิปภายในประเทศ 3 เท่า ภายในปี 2030 และอัดฉีดงบลงทุนจำนวน 6.8 พันล้านดอลลาร์ เพื่อผลักดันเป้าหมายดังกล่าว โดยทางรัฐบาลเชื่อมั่นว่าแผนที่วางไว้จะลุล่วงไปด้วยดี

Source

]]>
1456824
ประเมินกำไร ‘ซัมซุง’ Q3 ลดฮวบ 80% หลังเจอวิกฤต “ชิปล้นตลาด” https://positioningmag.com/1447643 Tue, 10 Oct 2023 12:31:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447643 นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า กำไรของ ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ (Samsung Electronics) บริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติเกาหลีใต้ ในช่วงไตรมาสที่สามจะลดลงเกือบ 80% เนื่องจากกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ที่ขับเคลื่อนผลกำไรที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทขาดทุนหนัก จากปัญหาซัพพลายล้นตลาด

ซัมซุง กำลังจะเปิดเผยผลประกอบการไตรมาสสาม โดยนักวิเคราะห์จาก LSEG คาดว่า กำไรจากการดำเนินงานจะอยู่ที่ 2.1 ล้านล้านวอน (ราว 1.7 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งลดลง -78.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่รายได้คาดว่าจะอยู่ที่ 67.8 ล้านล้านวอน ลดลง -11.6%

ทั้งนี้ ซัมซุงถือเป็น ผู้ผลิตชิปหน่วยความจำรายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ตั้งแต่แล็ปท็อปไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์ โดยธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ยังถือเป็น หน่วยธุรกิจที่ทำกำไรให้บริษัทมากที่สุด แต่ในไตรมาสามนี้คาดว่า ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ของซัมซุงจะ ขาดทุนมากกว่า 3 ล้านล้านวอน จึงส่งผลให้กำไรรวมทั้งบริษัทลดลงอย่างมาก

เนื่องจากจำนวนชิปที่ล้นตลาด เพราะความต้องการสินค้าไอที โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ลดลง ส่งผลให้ ราคาชิปหน่วยความจำลดลงอย่างมากในปีนี้ และแม้ในเดือนกรกฎาคมบริษัทคาดการณ์ว่าความต้องการชิปจะเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี แต่ก็ไม่ได้กลับมาอย่างที่คาด ส่งผลให้ซัมซุงได้ลดการผลิตลงเพื่อช่วยพยุงราคา แต่จะยังไม่เห็นผลในช่วงไตรมาสาม

อย่างไรก็ตาม อาจมีธุรกิจบางส่วนที่อาจเติบโตได้ เช่น ธุรกิจจอแสดงผล ที่อาจได้อานิสงส์จาก iPhone 15 เนื่องจาก Apple ใช้จอของซัมซุง และอีกส่วนคือ ยอดขายสมาร์ทโฟน โดยเฉพาะจากสมาร์ทโฟนจอพับที่เปิดตัวในเดือนกรกฎาคมที่อาจส่งผลให้มีกำไรมากขึ้นจากธุรกิจนี้

Source

]]>
1447643
‘ซัมซุง’ ตั้งเป้ายอดขายสมาร์ทโฟนจอพับ 15 ล้านเครื่อง พร้อมแง้มมีแผนจะทำราคาให้ “ถูกลง” ในอนาคต https://positioningmag.com/1439453 Mon, 31 Jul 2023 13:54:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439453 ซัมซุง (Samsung) เพิ่งเปิดตัว 2 สมาร์ทโฟนจอพับรุ่นใหม่ไปหมาด ๆ ได้แก่ Galaxy Z Fold 5 และ Z Flip 5 ซึ่งทั้ง 2 รุ่นต่างก็ได้รับคำวิจารณ์ที่ดีจากนักข่าวและเหล่า KOLs สายเทคโนโลยีทั่วโลก และทางซัมซุงเองก็มั่นใจว่า สมาร์ทโฟนจอพับ มีแม่เหล็กที่จะทำให้ วัยรุ่น เปลี่ยนใจจาก iPhone

Roh Tae-moon ประธาน Samsung Electronics เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา ซัมซุงมียอดขายสมาร์ทโฟนจอพับทั้งหมด 10 ล้านเครื่อง ส่วนเป้าหมายของซัมซุงปีนี้วางไว้ที่ 15 ล้านเครื่อง ขณะที่ยอดขายสมาร์ทโฟนจอพับทั้งหมดของซัมซุงคาดว่าจะอยู่ที่ 30 ล้านเครื่องภายในสิ้นปี นอกจากนี้ Roh Tae-moon ยังได้เปิดเผยอีกว่า มีแผนจะออกสมาร์ทโฟนจอพับในราคาต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์ (ราว 35,000 บาท) โดยบริษัทกำลังเจรจากับพันธมิตรด้านการจัดหาเพื่อลดต้นทุนการผลิตอุปกรณ์พับได้โดยไม่กระทบต่อข้อมูลที่สำคัญ

โดยเขามั่นใจว่า สมาร์ทโฟนจอพับมีแรงมากพอที่จะดึงดูด วัยรุ่น ให้เปลี่ยนใจจาก iPhone หลังจากที่ได้ทำการสำรวจกลุ่มวัยรุ่นชาวเกาหลีใต้ที่มีอายุ ต่ำกว่า 30 ปี ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มจะชื่นชอบ iPhone ของ Apple มากกว่า แต่จากผลการสำรวจพบว่า สมาร์ทโฟนจอพับ เป็นสินค้าที่ดึงดูดกลุ่มวัยรุ่นได้มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ Galaxy Z Flip

Galaxy Z Flip 5 ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถดึงดูดผู้บริโภควัยหนุ่มสาวได้เป็นพิเศษ โดยหลังจากวิเคราะห์ฟังก์ชันและแอปที่ใช้บ่อยที่สุดของกลุ่มรุ่นวัยหนุ่มสาวแล้ว เราจะเร่งความพยายามเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพฟังก์ชันดังกล่าว” Roh Tae-moon กล่าว

มองตลาด ‘สมาร์ทโฟน’ ขาลง เซกเมนต์ ‘พรีเมียม’ คือ โอกาสเดียวสร้างการเติบโต

สำหรับตลาดสมาร์ทโฟนจอพับถือเป็นเซกเมนต์ที่ยังเติบโตได้ในตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลก โดยบริษัท TrendForce คาดการณ์ว่า ตลาดสมาร์ทโฟนพับได้ทั่วโลกจะเติบโต 55% ส่วนบริษัท Counterpoint มองว่าจะเติบโตได้ 42% และจากการคาดการณ์ของสถาบันวิจัยตลาดหลายแห่งเชื่อว่า ยอดขายสะสมของสมาร์ทโฟนพับได้ทั่วโลกจะเกิน 100 ล้านเครื่อง ภายใน 5 ปีข้างหน้า

bloomberg / koreatimes

]]>
1439453
มองตลาด ‘สมาร์ทโฟน’ ขาลง เซกเมนต์ ‘พรีเมียม’ คือ โอกาสเดียวสร้างการเติบโต https://positioningmag.com/1438507 Fri, 21 Jul 2023 06:06:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1438507 ภาพรวมตลาด สมาร์ทโฟน ทั่วโลกหดตัวติดต่อกัน 6 ไตรมาสนับตั้งแต่ปี 2022 และสำหรับตลาดเมืองไทยก็ไม่ต่างกัน แต่จะมีปัจจัยบวกปัจจัยลบอะไร และทิศทางการแข่งขันของแต่ละแบรนด์จะเป็นอย่างไร ไปดูกัน

ค่ายมือถือเหลือ 2 รายเริ่มส่งผล

นับตั้งแต่ที่ True และ Dtac ควบรวมกันในช่วงเดือนมีนาคมจะเห็นว่า ราคาแพ็กเกจ ของทุกค่ายมีการ ปรับขึ้น โดย AIS มีการปรับราคาแพ็กเริ่มต้นจากปีก่อนมาเป็น 399 บาท จากเดิมเริ่มต้น 349 บาท ส่วนแพ็ก 499 – 599 บาทมีการลดนาทีโทรลง 50 นาที ส่วนแพ็กเกจ Unlimited ราคาเริ่มต้นยังเท่าเดิมที่ 1,199 บาท แต่มีการปรับรูปแบบการโทร จากโทรฟรีในเครือข่าย กลายเป็นคิดไปในนาทีโทรรวมแทน

True มีการ ตัดแพ็กเกจเริ่มต้น 299 บาทออก โดยจะเริ่มต้นที่ 399 บาท ส่วนแพ็กเกจ Unlimited จะอยู่ที่ 1,199 บาท โดยสิ่งที่ถูกปรับลดก็คือ จำนวนการโทรตั้งแต่ 50 – 100 นาที ส่วน Dtac ก็ปรับราคาเริ่มต้นจาก 349 บาท เป็น 399 บาท และแพ็ก Unlimited จากเริ่มต้น 1,099 บาท เป็น 1,199 บาท เท่ากับค่ายอื่น ๆ อีกทั้งยังมีการปรับเพิ่ม / ลดนาทีโทรให้เทียบเท่ากับ True อย่างไรก็ตาม แม้แต่ละค่ายจะมีการปรับราคา แต่ทุกค่ายก็พยายาม ชดเชย ด้วยสิทธิประโยชน์ที่มากขึ้น โดยเฉพาะฝั่งของ คอนเทนต์

ในมุมมองของผู้บริโภค การที่ค่ายมือถือพร้อมใจกับปรับราคาอาจดูไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญกับตลาดสมาร์ทโฟน แต่ ชานนท์ จิรายุกุล ประธานกรรมการอาวุโสฝ่ายบริหารออปโป้แห่งประเทศไทย มองว่า เพราะฝั่งโอเปอเรเตอร์ที่เหลือ 2 ค่าย ทำให้ลดการ subsidize ส่วนลดค่าเครื่องก็ลดลง ค่าบริการรายเดือนกลับเพิ่มขึ้น มันก็มีผลเป็นโดมิโน ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ ดังนั้น ภาพตลาดสมาร์ทโฟนจากนี้คงยังไม่ฟื้น เพราะยังไม่เห็นปัจจัยบวก

พรีเมียม โอกาสเดียวที่ยังเติบโต

จากข้อมูลของ IDC เปิดเผยว่า สภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนไทยช่วง Q1/2023 หดตัวลง 25.7% โดยมียอดจัดส่งทั้งหมดราว 3.45 ล้านเครื่อง ที่น่าสนใจคือ ยอดจัดส่งของ สมาร์ทโฟนกลุ่มเริ่มต้น (Entry-level) ที่มีราคาไม่สูงมาก มียอดลดลงมากที่สุด โดยลดลงเหลือ 51% ของตลาด เทียบกับในไตรมาสก่อน (Q4/2022) อยู่ที่ 60% และไตรมาสเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว (Q1/2022) ที่ 59%

กลับกัน สมาร์ทโฟนในกลุ่มพรีเมียม (ราคามากกว่า 27,000 บาท) มียอดจัดส่งเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยเพิ่มขึ้นมาเป็น 19% เทียบกับไตรมาสเดียวกันเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ 11% ดังนั้น จะเห็นว่าจากเงินเฟ้อและปัญหาเศรษฐกิจที่ยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง เพียงแค่โอเปอเรเตอร์ขึ้นราคาก็ทำให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่าย

ต่างจากกลุ่มพรีเมียมที่ยังเติบโตได้ เพราะปัญหาเศรษฐกิจไม่กระทบคนมีเงิน ทำให้ผู้บริโภคในกลุ่มนี้สามารถ เปลี่ยนมือถือบ่อยกว่า และมีแนวโน้มจะ ซื้อในราคาที่สูงขึ้น ทำให้สินค้าในกลุ่มนี้มีการ แข่งขันราคาน้อย กว่ากลุ่มล่าง ดังนั้น แบรนด์มือถือก็คิดแล้วว่าจะไปหั่นราคาแข่งกันในตลาดเริ่มต้นทำไม มาจับพรีเมียมดีกว่าเพราะผู้บริโภคยอมจ่าย

ภาพจากเว็บไซต์ PhoneArena

กล้องซูม + จอพับ ฟีเจอร์ชิงชัยกลุ่มพรีเมียม

แม้จะไม่มีตัวเลขชัดเจนในกลุ่มพรีเมียมว่าแบรนด์ไหนมีส่วนแบ่งมากที่สุด แต่เชื่อว่าหลายคนน่าจะเดาได้ว่าต้องเป็น iPhone ของ Apple ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้เล่นเบอร์ 3 ในตลาดไทยมีส่วนแบ่งตลาดราว 19.4% โดยใน Q1/2023 iPhone มียอดจัดส่ง 668,400 เครื่อง เติบโตถึง +34.9% และถือเป็น แบรนด์เดียวที่ยังเติบโต

ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในสมาร์ทโฟนกลุ่มพรีเมียม ผู้บริโภคมีลอยัลตี้สูง ดังนั้น การที่แบรนด์ใหม่ ๆ จะแทรกตัวเข้ามาได้ต้องมี ฟังก์ชันหรือประสิทธิภาพ ที่ดึงดูดมากพอ ซึ่งจะเห็นว่า ซัมซุง (Samsung) ที่ถือเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ iPhone ก็มีฟังก์ชันเด่น ๆ ที่สามารถใช้มัดใจผู้บริโภคได้ อาทิ Galaxy S23 Ultra ที่มีจุดเด่นที่ กล้องเทพ ที่มี Telephoto ซูม 3 เท่า ความละเอียด 10 ล้านพิกเซล ที่ถูกใจผู้ใช้สายคอนเสิร์ต ที่เอาไว้ซูมถ่ายศิลปินได้แม้จะอยู่ไกล หรือ Galaxy Z Flip / Fold สมาร์ทโฟนจอพับ ที่จับกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงาน

ที่ตามมาติด ๆ ก็คือ ออปโป้ (Oppo) เบอร์ 2 ของตลาดสมาร์ทโฟนไทย โดยแบรนด์ก็ชัดเจนว่าต้องการจะ เจาะกลุ่มพรีเมียม โดยต้องการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดจาก เลขหลักเดียวเป็น 2 หลัก โดยหลังจากที่ปล่อยให้ซัมซุงนำร่องสมาร์ทโฟนจอพับไปแล้ว ทางออปโป้จึงค่อยส่ง Find N2 Flip มาทำตลาดตาม นอกจากนี้ ออปโป้เพิ่งเปิดตัวเรือธงรุ่นล่าสุดไปเดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็คือ Find X6 Pro แต่ยังไม่เข้าทำตลาดไทย โดยทางออปโป้ให้ข้อมูลว่าจะทำเข้ามาแน่ แต่รอเวลา เพราะไม่อยากให้แข่งกับ Find N2 Flip

หรือแม้แต่แบรนด์ที่ไม่ได้ทำตลาดในไทยมานานถึง 4 ปีอย่าง ออเนอร์ (Honor) ที่เปรียบเสมือนตัวแทนความยิ่งใหญ่ของ หัวเว่ย (Hauwei) ที่เคยแข็งแรงในตลาดแฟลกชิปเมืองไทย ด้วยจุดเด่นที่หลายคนน่าจะจำได้ก็คือ กล้องไลก้า ซึ่งการกลับมาครั้งนี้ ออเนอร์ก็ประกาศชัดว่าจะจับกลุ่มพรีเมียมเหมือนกับที่หัวเว่ยเคยทำ โดยส่ง Honor Magic5 Pro 5G มาทำตลาด นอกจากนี้ จะมีแบรนด์อื่น ๆ ที่จับผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม เช่น สมาร์ทโฟนเกมมิ่ง ที่เน้นราคาและดีไซน์จับลูกค้าเกมมิ่งกระเป๋าหนัก ไม่ว่าจะเป็น ASUS ROG Phone 7 Ultimate

ตลาดจะยังไม่กลับไปพีค

โอภาส เฉิดพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอ็ม วิชั่น ผู้จัดงาน Thailand Mobile Expo มองว่า ไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อตลาดสมาร์ทโฟนไทยและทั่วโลก แต่ปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือ สมาร์ทโฟนในปัจจุบันใกล้จะถึง จุดสูงสุดของเทคโนโลยี แต่ละแบรนด์มีเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นกล้อง สเปก ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ จูงใจผู้บริโภคได้ยากกว่าเดิม โดยภายในงาน Thailand Mobile Expo ในช่วงพีคที่ตลาดสมาร์ทโฟนกำลังมาแรง เคยมีเงินสะพัดกว่า 3,000 ล้านบาท และมีผู้เข้าชมงานกว่า 7 แสนคน แต่ปัจจุบันมีเงินสะพัดเพียง 1,200 ล้านบาท มีผู้ชมราว 4 แสนคน เท่านั้น

เช่นเดียวกันกับ ชานนท์ จิรายุกุล ที่มองว่า ตลาดจะไม่กลับไปพีคเหมือนในอดีตเนื่องจากยังไม่มีนวัตกรรมที่เจ๋งพอเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค อย่างนวัตกรรม จอพับ ก็เป็นเพียง ตัวเลือกหนึ่งของผู้บริโภคเท่านั้น

“ผมว่าทุกแบรนด์พยายามหาพยายามทำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาดึงดูดผู้บริโภค แต่เชื่อว่ามีไม่เกิน 3 แบรนด์ที่จะมีนวัตกรรมเปลี่ยนโลกได้ และมันมีเรื่องของราคาต้นทุน และตลาดที่ยังไม่มา หรือมาเร็วไป ซึ่งมันอาจทำให้มันคอมเมอร์เชียลไม่ได้ การมาเร็วเกินไปก็อาจพับเสื่อกลับด้านได้” ชานนท์ ทิ้งท้าย

]]>
1438507
สูงสุดคืนสู่สามัญ! กำไร Q1/23 “Samsung” หดตัวถึง 96% เหตุ “ชิป” ล้นตลาด ขายไม่ออก https://positioningmag.com/1426730 Fri, 07 Apr 2023 05:12:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426730 Samsung Electronics รายงาน กำไรจากการดำเนินงาน Q1 ปี 2023 หดตัว 96% หนักกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ เหตุจาก “ชิป” ล้นตลาด เพราะผู้บริโภคกำลังซื้อลดจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

บริษัทผู้ผลิตชิปความจำและโทรทัศน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Samsung Electronics รายงานคาดการณ์กำไรจากการดำเนินงานช่วงไตรมาสแรกปี 2023 ว่า น่าจะตกลงเหลือ 6 แสนล้านวอน (ประมาณ 1.55 หมื่นล้านบาท) จากที่เคยทำได้สูงถึง 14.12 ล้านล้านวอน (ประมาณ 3.65 แสนล้านบาท) ในไตรมาสแรกปี 2022

“ดีมานด์ชิปความจำตกลงอย่างรุนแรง หลังจากสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคชะลอตัวลงและทำให้ความต้องการซื้อของผู้บริโภคช้าลงตาม ลูกค้าจำนวนมากปรับเปลี่ยนการใช้เงินอย่างต่อเนื่อง” บริษัทแถลง

ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์อย่าง Refinitiv SmartEstimate คาดว่า Samsung Electronics จะทำกำไรได้ราว 8.73 แสนล้านวอน (ประมาณ 2.26 หมื่นล้านบาท) ทำให้กำไรที่ออกมาจริงๆ นั้นต่ำกว่าที่คาดการณ์ไปมาก

รายได้ของบริษัทเองในไตรมาสล่าสุดก็น่าจะตกลง 19% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยรายได้น่าจะเหลือเพียง 63 ล้านล้านวอน (ประมาณ 1.63 ล้านล้านบาท)

รายละเอียดของรายได้และกำไรโดยแยกตามแผนกจะออกมาอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งภายในเดือนเมษายนนี้

เมื่อปี 2020-2021 เคยมีช่วงที่การผลิตชิปขาดแคลนจนกระทบซัพพลายเชนสินค้าต่างๆ ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน จนถึงรถยนต์ แต่ขึ้นมาต้นปี 2023 นี้ เราอาจจะได้เห็นสถานการณ์กลับทางกัน ล่าสุด Apple ก็เพิ่งจะสั่งให้ TSMC ซัพพลายเออร์ผู้ผลิตชิป M2 หยุดการผลิตไปก่อน เพราะยอดขาย MacBook M2 ไม่เข้าเป้า

เฉพาะตลาดชิปความจำนั้นเริ่มเห็นสัญญาณราคาตกลง 20% ตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปีก่อน และคาดว่าครึ่งปีแรกปี 2023 นี้น่าจะตกลงอีกแบบดับเบิลดิจิต

ผู้ผลิตชิปความจำหลายรายมีการสะสมสต็อกไว้จำนวนมาก มองภาพธุรกิจปีนี้น่าจะไม่ค่อยสดใสนัก เพราะดีมานด์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์เริ่มชะลอลงแล้ว ตรงข้ามกับช่วงเกิดโรคระบาดใหม่ๆ

นอกจาก Samsung ที่เริ่มเห็นภาพลบในผลกำไร อีกหนึ่งผู้เล่นในตลาดอย่าง Micron Technology เปิดเผยแผนมาแล้วว่า ปีนี้บริษัทจะเริ่มลดตำแหน่งงาน และลดการใช้จ่ายตลอดปี เพื่อลดต้นทุนการผลิต

หลังจากครึ่งปีแรกมีปัจจัยลบมากมายจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ดอกเบี้ยขาขึ้น และความไม่แน่นอนที่เกิดจากสงครามรัสเซียยูเครน ตลาดชิปน่าจะต้องฝากความหวังไว้กับดีมานด์ผู้บริโภคในช่วงครึ่งปีหลังปีนี้ที่อาจจะปรับตัวดีขึ้น เพราะตลาดจีนเริ่มกลับฟื้นตัวแล้ว เมื่อจีนผ่อนคลายความเข้มงวดนโยบายโควิด-19 และเริ่มเปิดประเทศ 

ที่มา: CNBC, MacRumors, Wall Street Journal

]]>
1426730
‘ซัมซุง’ ทุ่ม 8 ล้านล้านบาท ผุด “โรงงานผลิตชิป” ใหญ่สุดในโลก https://positioningmag.com/1423457 Wed, 15 Mar 2023 17:03:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423457 อย่างที่รู้กันว่าปัจจุบัน ประเทศผู้ผลิตชิปอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ไต้หวัน โดยบริษัทอันดับ 1 ก็คือ TSMC ส่วน ซัมซุง (Samsung) เป็นผู้เล่นอันดับ 2 โดยล่าสุด ซัมซุงก็ได้เปิดเผยว่ามีแผนจะลงทุนสูงถึง 300 ล้านล้านวอน หรือกว่า 8 ล้านล้านบาท เพื่อสร้าง โรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ได้เปิดเผยว่า บริษัทมีแผนจะลงทุน 300 ล้านล้านวอน (8 ล้านล้านบาท) สร้างคอมเพล็กซ์เซมิคอนดักเตอร์แห่งใหม่ในเกาหลีใต้ ซึ่งรัฐบาลระบุว่าจะเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยการลงทุนดังกล่าวจะเป็นการลงทุนระยะยาวกินเวลา 20 ปี หรือลงทุนจนถึงปี 2585 ขณะที่คอมเพล็กซ์นี้จะประกอบด้วยโรงงานผลิตชิป 5 แห่ง ซึ่งจะตั้งอยู่นอกกรุงโซล

โดยคอมเพล็กซ์เซมิคอนดักเตอร์ที่กำลังจะเกิดนั้น รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะ เชื่อมต่อโรงงานผลิตชิปจากซัมซุงกับบริษัทอื่น ๆ เพื่อเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ของห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์ตั้งแต่การออกแบบชิปไปจนถึงการผลิต โดยปัจจุบัน ซัมซุงถือเป็นผู้ผลิตชิปหน่วยความจำรายใหญ่ที่สุดในโลก

การลงทุนดังกล่าวนับเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันเชิงรุกของประเทศเกาหลีใต้เพื่อขึ้นเป็น ผู้นำในเทคโนโลยี โดยรัฐบาลเกาหลีใต้ต้องการ รวมบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดเข้าด้วยกันเพื่อกระตุ้นการพัฒนาในพื้นที่สำคัญ ๆ โดยรัฐบาลต้องการผลักดันการลงทุนในเทคโนโลยีหลัก 6 ชนิด อาทิ ชิป, จอแสดงผล และแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของประเทศมีฐานมั่นคงอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เซมิคอนดักเตอร์ จะยังเป็นจุดสนใจหลัก เนื่องจากเป็นส่วนประกอบสำคัญที่นำไปใช้ในทุกสิ่งตั้งแต่สมาร์ทโฟนไปจนถึงรถยนต์

การเปิดโรงงานใหม่นี้ อาจทำให้ซัมซุงสามารถแซง TSMC ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในตลาด โดยที่ผ่านมา ซัมซุงเองก็ตั้งเป้าที่จะเป็นผู้ผลิตชิปขนาดเล็กที่สุด 1.4 นาโนเมตร ภายในปี 2027 ซึ่งจะเป็นชิปเทคโนโลยีขั้นสูงสุดในโลก

ปัจจุบัน เซมิคอนดักเตอร์ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่มีเรื่อง การเมือง เข้ามาเกี่ยวข้องและได้สร้างไดนามิกที่ซับซ้อนระหว่างประเทศพันธมิตร อย่าง อเมริกา ที่ต้องการผลักดันให้การผลิตชิปย้ายกลับมาอยู่ในฝั่งสหรัฐฯ โดยได้ลงนามในกฎหมาย Chips and Science Act ซึ่งรวมเงินสนับสนุน 52,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อดึงดูดการลงทุนเข้ามาในอเมริกา โดยสหรัฐฯ พยายามสร้างพันธมิตรกับเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเนเธอร์แลนด์

สหรัฐฯ​ ไม่ได้แค่ต้องการจะเพิ่มการผลิตชิปในประเทศ แต่อีกด้านก็ต้องการ ระงับการพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ของจีน โดยในปีที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ออกกฎที่มุ่งตัดขาดจีนจากการได้รับหรือผลิตชิปและส่วนประกอบหลัก รวมถึงเครื่องมือที่จำเป็นในการผลิต

“ณ ตอนนี้ ทุกประเทศพยายามสร้างจุดแข็งในการแข่งขันของตนเอง มีการลดหย่อนภาษีและภาระผูกพันด้านเงินทุนจากรัฐบาลที่ต้องการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ แรงกระตุ้นสำหรับการแข่งขันนั้นแข็งแกร่งกว่าแรงกระตุ้นสำหรับความร่วมมือ” ปราเนย์ โคตาสถาน ประธานโครงการภูมิรัฐศาสตร์เทคโนโลยีขั้นสูงของสถาบันตักชาศิลา กล่าว

Source

]]>
1423457
กำไร ‘ซัมซุง’ Q4 ลดลงต่ำสุดในรอบ 8 ปี เนื่องจากตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกซบเซา https://positioningmag.com/1417309 Tue, 31 Jan 2023 09:09:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1417309 ตลาดสมาร์ทโฟนในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา ถือเป็นไตรมาสที่ตลาดแย่สุดในรอบ 10 ปี ขณะที่ ซัมซุง (Samsung) เบอร์ 1 ในตลาดสมาร์ทโฟนโลกยังเสียแชมป์ให้กับ iPhone ที่ครองแชมป์สมาร์ทโฟนขายดีประจำไตรมาสดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่กำไรของซัมซุงในไตรมาสนี้จะแย่สุดในรอบ 8 ปี

ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีสัญชาติเกาหลีใต้อย่าง ซัมซุง ได้รายงานผลกำไรจากการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 4/2022 อยู่ที่ 3.5 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 69% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยรายได้รวม ลดลง 8% เหลือเพียง 5.73 แสนล้านดอลลาร์ โดยผลกำไรในไตรมาสดังกล่าวนับเป็นไตรมาสที่อ่อนแอที่สุดของบริษัท นับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2014

“สภาพแวดล้อมทางธุรกิจแย่ลงอย่างมากในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากอุปสงค์ที่อ่อนแอท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก” ซัมซุงระบุ

นักวิเคราะห์มองว่า ไม่ใช่แค่ความต้องการของตลาดสมาร์ทโฟนที่ลดลง แต่ตลาดไอทีโดยรวมนั้นลดลงทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อชิปเพื่อผลิตสินค้าลดลง นอกจากนี้ ราคาชิปหน่วยความจำก็ปรับตัวลดลงกว่าช่วงที่ขาดแคลน

ซัมซุง คาดว่า ปัญหาเหล่านี้จะยังไม่หมดไป โดยจะยังส่งผลต่อเนื่องในอีกหลายเดือน เนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก แม้ว่าคาดว่าอุปสงค์โดยรวมจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีก็ตาม ขณะที่ นักวิเคราะห์ คาดว่า ผลกำไรของซัมซุงในไตรมาส 1/2023 จะลดลงอีกครั้ง เนื่องจากราคาชิปหน่วยความจำที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

“ความต้องการสมาร์ทโฟนมีแนวโน้มลดลงอีกครั้งในไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคหลัก”

จากผลประกอบการดังกล่าว ส่งผลให้ หุ้นของซัมซุงลดลง 3% อย่างไรก็ตาม หากดูภาพรวมทั้งปี ซัมซุงยังถือว่าเติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยมีรายได้รวม 2.45 แสนล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 2.27 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 2021 และสูงเป็นประวัติการณ์

Source

]]>
1417309
‘iPhone’ ครองแชมป์สมาร์ทโฟนขายดีประจำ Q4 แม้จะเป็นไตรมาสที่ตลาดแย่สุดในรอบ 10 ปี https://positioningmag.com/1416011 Thu, 19 Jan 2023 11:38:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416011 2022 ถือเป็นปีที่ไม่ได้ดีนักสำหรับตลาด สมาร์ทโฟน ที่ดูเหมือนจะมาถึงจุดอิ่มตัวจริง ๆ แล้ว โดยช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา ภาพรวมก็ติดลบถึง -17% อย่างไรก็ตาม แบรนด์ที่สามารถครองตำแหน่งแชมป์ในไตรมาสดังกล่าวได้ก็คือ iPhone ของ Apple แซงหน้า Samsung

แม้ว่าในช่วงไตรมาส 4 ปีที่แล้ว Apple จะเจอปัญหาด้านซัพพลายเชน เนื่องจาก Zero Covid ของจีน แต่ยอดจัดส่ง iPhone ก็ขึ้นเป็นที่ 1 ในตลาด โดยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดที่ 25% ตามด้วย Samsung ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 20% อย่างไรก็ตาม ภาพรวมทั้งปี 2022 ซัมซุงยังคงเป็นที่ 1 ในตลาด

ส่วนอันดับ 3 ของตลาดในไตรมาส 4 ได้แก่ Xiaomi โดยส่วนแบ่งตลาดลดลงเหลือ 11% เนื่องจากกำลังโดนเบอร์ 4 และ 5 ที่เป็นเพื่อนร่วมชาติอย่าง OPPO (ส่วนแบ่งตลาด 10%) และ Vivo (ส่วนแบ่งตลาด 8%) แย่งตลาดในอินเดีย

สำหรับภาพรวมของตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกในไตรมาส 4 นั้นติดลบถึง -17% ขณะที่ภาพรวมทั้งปีติดลบถึง -11% โดยคาดว่ายอดจัดส่งทั่วโลกมีไม่ถึง 1.2 พันล้านเครื่อง เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลง

“ผู้จำหน่ายสมาร์ทโฟนต้องดิ้นรนในสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจที่ยากลำบากตลอดปี 2022 ไตรมาสที่ 4 ถือเป็นผลประกอบการประจำปีและไตรมาสที่ 4 ที่แย่ที่สุดในรอบทศวรรษ” Runar Bjørhovde นักวิเคราะห์จาก Canalys Research กล่าว

สำหรับตลาดสมาร์ทโฟนปี 2023 นี้ Canalys คาดการณ์ว่า ตลาดจะเติบโตในระดับคงที่ถึงเล็กน้อย แม้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะค่อย ๆ ผ่อนคลายลง แต่ผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และตลาดแรงงานจะจำกัดศักยภาพการเติบโตของตลาด ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลเสียต่อตลาดที่อิ่มตัวและตลาดระดับกลางถึงระดับบน

และแม้ว่าจีนกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศและภาคธุรกิจ แต่การกระตุ้นของรัฐบาลก็มีแนวโน้มที่จะแสดงผลใน 6-9 เดือนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีบางภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะเติบโตในช่วงครึ่งหลังของปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในจีนซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมทางธุรกิจ

Source

]]>
1416011