Skootar – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 22 Sep 2020 13:31:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Update ’14 ตัวเลือก’ บนสังเวียน ‘Food Delivery’ ที่ไม่ได้มีแค่รายใหญ่ให้เรียกใช้เวลาหิว https://positioningmag.com/1298224 Tue, 22 Sep 2020 12:49:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298224 หากย้อนไปเมื่อปี 2012 ตลาด ‘ฟู้ด เดลิเวอรี่’ บ้านเรายังมีแค่ Food Panda จากนั้นในปี 2018 ก็มี Grab และ Uber ที่ตามมา แต่แล้วอูเบอร์ก็ขายกิจการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปให้กับคู่แข่งอย่าง Grab ทำให้ผู้เล่นหลักในตอนนั้นแทบจะมีแค่ Grab อย่างไรก็ตาม จากการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้มีผู้เล่นหน้าใหม่ทยอยตบเท้าเข้ามาเพียบ เพื่อหวังชิงเค้กมูลค่า 35,000 ล้านบาทก้อนนี้ โดยเฉพาะในปี 2020 นี้ที่เปรียบเสมือน ‘ปีทอง’ ของตลาด เพราะมาตรการล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้น ดังนั้น Positioning จะพาไปรู้จักแพลตฟอร์มที่ให้บริการส่งอาหารในไทยกันว่ามีใครกันบ้าง

Grab Food

ถือเป็นผู้เล่นเบอร์ต้น ๆ ของตลาดเลยทีเดียวสำหรับ Grab ที่ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ตั้งแต่ปี 2018 โดยค่าจัดส่งเริ่มต้นที่ 10 บาท พร้อมให้บริการใน 35 เมือง 33 จังหวัด ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดกว่า 14 ล้านดาวน์โหลด มีพาร์ตเนอร์ผู้ขับกว่า 100,000 ราย มีร้านอาหารในระบบกว่า 80,000 ร้าน แค่ช่วง COVID-19 ที่ผ่านมามีผู้ใช้แกร็บฟู้ดรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า และยอดออเดอร์เติบโตถึง 30% เลยทีเดียว ซึ่งในปีนี้ทาง Grab ก็จัดหนักออกแคมเปญ “Free Your Hunger เลิกกินตามใคร กดสั่งตามใจ” แคมเปญใหญ่สุดของปีนี้ โดยได้ เต๋อ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ผู้กำกับชื่อดัง มาช่วยสร้างหนังสั้นที่แสดงโดย BNK48 ปัจจุบันโกยยอดวิวไปกว่า 10 ล้านวิวเลยทีเดียว

LINE MAN

จากแพลตฟอร์ม Chat ที่มีจุดแข็งเป็นผู้ใช้งาน LINE กว่า 46 ล้านราย ดังนั้น LINE จึงต้องการต่อยอดจำนวนผู้ใช้อันมหาศาลด้วยการผุด ‘LINE MAN’ ที่ให้บริการเรียกแท็กซี่, สั่งซื้ออาหาร, ซื้อของใช้ในบ้าน หรือแม้แต่เรียกมารับพัสดุ โดยมีพาร์ตเนอร์อย่าง ‘Lalamove’ ที่ช่วยขนส่งสินค้า ซึ่งในส่วนของบริการส่งอาหาร LINE MAN ให้บริการใน 13 จังหวัด ครอบคลุมร้านอาหาร 200,000 ร้าน โดยมีค่าจัดส่งเริ่มต้นที่ 10 บาทเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ทาง LINE MAN เพิ่งได้เงินลงทุนจากบริษัท BRV Capital Management (BRV) ถึง 3,300 ล้านบาท เพื่อใช้ในการควบรวมกิจการ ‘Wongnai’ สตาร์ทอัพสัญชาติไทยเจ้าของแพลตฟอร์มรีวิวร้านอาหารและข้อมูลด้านไลฟ์สไตล์ ที่มีฐานข้อมูลร้านอาหารกว่า 400,000 ร้านทั่วไทย และมีผู้ใช้กว่า 10 ล้านรายต่อเดือน ส่งผลให้ LINE MAN มีข้อมูลทั้งร้านค้าและผู้ใช้ในมือมากมายเลยทีเดียว พร้อมเตรียมขยายพื้นที่ให้บริการเป็น 20 จังหวัดในสิ้นปีนี้

Gojek

Gojek หรือชื่อเดิม ‘GET’ น้องใหม่ในตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เพิ่งให้บริการไปเมื่อปี 2019 แต่สามารถโกยยอดดาวน์โหลดได้ถึง 13 ล้านครั้ง ส่งอาหารกว่า 20 ล้านออเดอร์ มีพาร์ตเนอร์ผู้ขับกว่า 50,000 ราย และพาร์ตเนอร์ร้านอาหารกว่า 30,000 ร้าน แม้จะรีแบรนด์ใหม่ (เพื่อใช้ชื่อเดิม) ก็เหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่าจะรุกตลาดให้หนักขึ้น โดยไม่ใช่แค่อัดโปรโมชันมอบส่วนลดสูงสุด 2,500 บาท และมีแฟลชดีลทุกวัน แต่ยังระบุว่าเตรียมขยายพื้นที่ให้บริการไปต่างจังหวัดเร็ว ๆ นี้ จากปัจจุบันที่ให้บริการแค่กรุงเทพฯ และปริมณฑลอีกด้วย ส่วนค่าบริการเริ่มต้นที่ 10 บาทเหมือนเจ้าใหญ่รายอื่น ๆ

Food Panda

ทำตลาดในไทยมาตั้งแต่ปี 2012 สำหรับ Food Panda บริษัทฟู้ดเดลิเวอรี่สัญชาติเยอรมนีที่ปัจจุบันให้บริการครอบคลุมถึง 72 จังหวัด และจะครบ 77 จังหวัดในสิ้นปีนี้ ส่วนร้านค้าพาร์ตเนอร์มีราว 20,000 ร้าน พาร์ตเนอร์ผู้ขับในปัจจุบันมีกว่า 90,000 ราย ขณะที่ค่าบริการสูงสุดไม่เกิน 40 บาท และล่าสุดมีบริการใหม่ ‘แพนด้า มาร์ท’ ขายสินค้าอุปโภคบริโภค มี 7 แห่ง สิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 30 สาขา

Skootar

สตาร์ทอัพสัญชาติไทยแท้ที่เริ่มต้นมาจากการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ใช้เชื่อมโยงระหว่าง SME บริษัท ห้างร้าน กับเครือข่ายแมสเซ็นเจอร์ ที่ให้บริการรับส่งเอกสาร เก็บเช็ค วางบิล หรือส่งของอื่น ๆ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ก่อนจะขยายมาสู่บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ โดยปัจจุบันมีพาร์ตเนอร์คนขับอยู่ประมาณ 8,000 คนทั่วกรุงเทพฯ โดยเริ่มต้นที่ราคา 45 บาท ฟังดูอาจจะรู้สึกว่าราคาสูงกว่าเจ้าอื่น แต่ Skootar ไม่ได้มีการเก็บค่าคอมมิชชันจากร้านอาหาร พูดง่าย ๆ ลูกค้าจ่ายเท่าไหร่ร้านได้เท่านั้น

Hungry Hub

น้องใหม่ที่ถือกำเนิดในช่วง COVID-19 ที่ออกมาเพราะต้องการช่วยเหลือร้านอาหาร โดยมีคอนเซ็ปต์เป็นเเพลตฟอร์มรวมเเหล่งบุฟเฟต์ ดังนั้น ในแต่ละมื้อที่สั่งจะไม่ใช่ชุดยิบย่อย แต่เป็นชุดใหญ่ไฟกะพริบแบบ ‘Set Menu’ กินกันจุก ๆ สำหรับ 2-4 คน โดยราคาเริ่มต้นที่ 399 บาท Net และในส่วนของค่าส่งนั้น ‘ฟรี’ ในระยะทางไม่เกิน 3 กิโลเมตรแรก (กิโลเมตรต่อไปเพิ่มแค่ 10 บาท/กม.) โดยทาง Hungry Hub จะเก็บค่าคอมมิชชันที่ 10.7% เท่านั้น และไม่ต้องห่วงว่าเป็นน้องใหม่แล้วผู้ขับจะไม่ได้คุณภาพ เพราะเป็นพาร์ตเนอร์กับ Lalamove ที่ LINE MAN เลือกใช้

Fresh!

เเอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่น้องใหม่ที่มีทีมปั้นเป็นคนไทยทั้งหมด ซึ่งตอนนี้เริ่มทยอยรับสมัครร้านค้าเเละไรเดอร์ทั่วประเทศเเล้วในช่วงเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ชูจุดเด่น ‘ไม่เก็บค่า GP’ จากร้านค้า โดยมีค่าส่งเริ่มต้นที่ 10 บาท และหากสั่งออเดอร์เกิน 100 บาท มีโปรโมชันส่งฟรี

Robinhood

Robinhood แพลตฟอร์มน้องใหม่ภายใต้บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (Purple Ventures) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเอสซีบี เท็นเอกซ์ (SCB 10X) โดยมีเงินลงทุนกว่า 100 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายละเอียดในฝั่งของผู้บริโภคว่าภายในแอปฯ มีร้านค้าให้เลือกมากน้อยแค่ไหน และค่าส่งจะเริ่มเท่าไหร่ แต่ทางแอปฯ ได้ประกาศว่าไม่มีค่าธรรมเนียม GP ที่จะเก็บกับร้านอาหาร แปลว่าร้านสามารถใช้บริการฟรี และมีการเคลียร์เงินเข้าบัญชีภายใน 1 ชั่วโมง เพื่อให้ร้านอาหารมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจ ส่วนการส่งอาหารใช้ความร่วมมือกับ Skootar  

Eatable

เเพลตฟอร์มทางฝั่ง KBank ที่วางตัวเป็นแพลตฟอร์มตัวช่วยจัดการร้านอาหาร ไม่ต้องโหลดแอปฯ ไม่มีค่าธรรมเนียม สามารถจัดการระบบหลังบ้านแบบเรียลไทม์ผ่านทางออนไลน์ ส่วนลูกค้าสามารถเลือกอาหาร สั่ง จ่ายแบบไร้การสัมผัส และที่เเถมมาก็คือ ฟังก์ชันฟู้ดเดลิเวอรี่ ที่กำลังจะเปิดตัวเเบบเต็มรูปแบบในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมพัฒนาต่อยอดให้นักท่องเที่ยวจีนสั่งอาหารในไทยได้ปลายปีนี้

กังนัมแซ่บ เดลิเวอรี่

มาถึงฝั่งที่เรียกได้ว่า ‘บ้านขั้นสุด’ ของตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่กันบ้าง โดยไม่ต้องสั่งผ่านแอปฯ ใด ๆ ทั้งสิ้น อย่าง กังนัมแซ่บ เดลิเวอรี่ ถือเป็นอีกหนึ่งบริการซื้ออาหารจากร้านต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพฯ ภายใต้สโลแกนว่าสั่งได้ทุกร้าน สั่งได้ทุกอย่างตลอด 24 ชั่วโมง จะมีหรือไม่มีในเมนูก็สั่งได้ โดยรูปแบบการสั่งซื้อคือ โทรมาสั่งอาหาร จากนั้นจะประเมินราคาค่าบริการให้ลูกค้าก่อน โดยคิดจากระยะทางของร้านอาหารที่สั่งกับจุดหมายปลายทางที่ต้องไปส่ง โดยเริ่มต้นที่ 60 บาท บวกกับจำนวนสินค้าที่สั่ง 20 บาทต่อชิ้นต่อร้าน เรียกได้ว่าไม่ต้องเข้าแอปฯ อยากได้ร้านไหนบอกพิกัดเดี๋ยวจัดให้ถึงที่

OrderMaNow

สำหรับ OrderMaNow ก็คล้าย ๆ กับกังนัมแซ่บ โดยสามารถรับออเดอร์ทุกทาง Facebook, IG, LINE, Twitter แตะลิงก์เดียวสั่งออเดอร์ในร้านได้ทันที ไม่ต้องลงเเอปฯ ไม่ต้อง Login

นอกจากนี้ยังมีผู้เล่นท้องถิ่นในแต่ละจังหวัดอีกเพียบ ได้แก่ Om Ordering เเพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ที่จากจังหวัด เชียงใหม่ ที่สามารถสั่งได้ทั้งสินค้า อาหาร และบริการ Street Food Delivery สตาร์ทอัพไซส์เล็กที่ขอปักธงเมืองรอง โดยเน้นร้านอาหารดังประจำถิ่น เริ่มให้บริการส่งอาหารในพื้นที่กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม และท่าเรือ-ท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และ FoodMan Delivery อีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่เน้นลุยเมืองรอง โดยเริ่มต้นจากแถวภาคเหนือก่อน โดยปัจจุบันให้บริการใน 7 จังหวัด ได้แก่ น่าน, เชียงราย, ลำปาง, อุตรดิตถ์, ตาก, ระยอง และสระบุรี

จากจำนวนผู้เล่นที่เพิ่มขึ้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมคนเริ่มเปลี่ยนไป โดยเฉพาะช่วงที่มี COVID-19 ระบาด แต่จะเลือกใช้ใครก็ลองดูตามความต้องการได้เลย แต่จะเริ่มเห็นว่าผู้เล่นรายใหญ่เริ่มขยายบริการเข้าสู่ตลาดต่างจังหวัดเเล้ว จากนี้ ผู้เล่นท้องถิ่น อาจต้องทำการบ้านให้หนักขึ้น เพราะถ้าต้องสู้เรื่องราคาและโปรโมชันคงไม่ไหวเเน่นอน

]]>
1298224
เปิด List 5 เทคโนโลยีช่วย ‘Work from Home’ ตั้งแต่ ‘ตอกบัตร’ ยัน ‘หางานเสริม’ https://positioningmag.com/1269618 Tue, 24 Mar 2020 07:21:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269618 หลายออฟฟิศได้เข้าสู่กระบวนการ Work from Home เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 แต่บางออฟฟิศยังเจอปัญหาขาดเครื่องไม้เครื่องมือและตัวช่วยที่จะทำให้งานลื่นไหล ดังนั้นเราจะมานำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อช่วย Work from Home ให้ไม่สะดุด ใช้งานง่ายถูกใจมนุษย์ออฟฟิศแน่นอน

ตอกบัตรด้วย ‘วันดี : OneDee’

เวลาการเข้างานเป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญของการทำงานในออฟฟิศ แต่เมื่อต้อง Work from Home จะใช้อะไรในการยืนยันล่ะ ดังนั้น OneDee จึงเป็นตัวช่วยในการลงเวลาทำงานผ่านโทรศัพท์มือถือโดยใช้ Beacon, Wi-Fi, GPS ในการยืนยันตำแหน่งพนักงาน เมื่อพนักงานลงเวลาแล้วจะสามารถตรวจสอบออนไลน์ได้ทันที

ประชุมและสัมมนาด้วย ‘ไลฟ์ลูม : LIVELOOM’

แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ที่จ่ายตามการเข้าชม หรือ Pay-Per-View (รายได้ตามจำนวนครั้งที่คนกดดู) ดังนั้น ช่วยประหยัดต้นทุนให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กได้ ซึ่งไลฟ์รูมสามารถรับชมคอนเทนต์วิดีโอได้ทั้งแบบ LIVE Stream หรือรับชมแบบย้อนหลังและใช้เทคโนโลยีทางด้าน Video Solution ที่มีมาตรฐานเทียบเท่าแพลตฟอร์มระดับโลกมาใช้

‘สกู๊ตต้าร์- Skootar’ แมสส่งเอกสารทั่วกรุงเทพฯ

สตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ให้บริการ แมสเซนเจอร์แบบ On demand ที่เชี่ยวชาญด้านการส่งเอกสาร ไม่ว่าจะรับเช็ค วางบิลต่าง ๆ ดังนั้นเรื่องงานองค์กรไว้ใจได้แน่นอน เพียงแค่เปิดแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์เรียกแมสเซนเจอร์มารับของ ปัจจุบันสกู๊ตต้าร์มีแมสเซนเจอร์กว่า 8,900 ให้บริการอยู่ทั่วกรุงเทพฯ โดยค่าบริการเริ่มต้นเพียงแค่ 55 บาท คิดเพิ่มกิโลเมตรละ 10 บาท และยังสามารถสั่งงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง สั่งงานหนึ่งครั้งสามารถส่งได้หลายที่อีกด้วย

Flowaccount แพลตฟอร์มบัญชีออนไลน์

สำหรับแพลตฟอร์ม FlowAccount ออกแบบมาเพื่อให้เจ้าของธุรกิจ และพนักงานบัญชีทำงานได้ตลอดทุกที่ทุกเวลา สามารถใช้งานบนแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน โดยระบบสามารถช่วยได้ทั้งการเปิดใบวางบิล เปิดใบเสนอราคา และทำบัญชีเบื้องต้น เช่น เปิดใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน ดูยอดขายของแต่ละเดือน บริหารลูกค้า บริหารสินค้าที่ใช้บ่อย และสามารถส่งหรือแชร์เอกสารได้ผ่านรูปภาพ Email, PDF, Link, และ LINE ได้ ซึ่งมั่นใจได้เลยว่าทุกกิจกรรมทางการเงินจบได้ใน FlowAccount ที่เดียว

Daywork ตัวสร้างรายได้เสริม

Daywork จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการหารายได้เสริม รวมทั้งบริการจัดหาคนทำงาน/พนักงาน พาร์ตไทม์ให้กับบริษัท ห้างร้าน รวมถึงออแกไนซ์ต่าง ๆ ที่ต้องการกำลังคนเข้าไปช่วยงาน โดยเน้นไปที่รูปแบบการทำงานพาร์ตไทม์ สำหรับผู้ที่ต้องการฝาก หาพนักงานกับ Daywork เว็บไซต์จะให้บริการจัดหาคนแบบ One Stop Service ตั้งแต่จัดหาคน คัดกรองเบื้องต้น เทรนงาน ตรวจสอบการทำงาน ไปจนถึงขั้นตอนการชำระเงินให้กับพนักงานแทนลูกค้า

จริง ๆ ยังมีเเพลตฟอร์มที่เป็นตัวช่วยให้ Work from Home อีกมาก อาทิ  TRUE VIRTUAL WORLD, Zoom, Microsoft teams เป็นต้น สุดท้าย ไม่รู้ว่าหลังโควิด-19 ทุกอย่างจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมไหม แต่บางธุรกิจอาจจะใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยทำงานและลดต้นทุนต่อไปในอนาคตต่อไปก็เป็นได้

#daywork #flowaccount #skootar #liveloom #onedee #covid19 #Positioningmag

]]>
1269618
5 Startup เลือดใหม่ Unicorn หนุ่มเริ่มออกวิ่ง https://positioningmag.com/1132135 Mon, 10 Jul 2017 22:55:26 +0000 http://positioningmag.com/?p=1132135 เมื่อนิยาม Startup ถูกหยิบมาใช้เป็นตัวแทนโมเดลใหม่ของการเริ่มต้นธุรกิจยุคนี้ หลากหลายคนรุ่นใหม่มองหาช่องทาง และพร้อมที่จะเข้ามาทดลองบนโมเดลใหม่อย่างคึกคัก ทำให้เห็นปรากฏการณ์ธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้น 

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ทุก Startup จะแบกความมุ่งหวัง ไปถึงปลายทางความสำเร็จได้

Startup ที่เกิดขึ้นช่วงนี้ กำลังได้รับการจัดอันดับจากสมาคมนิสิตเก่า MBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย ที่ทำการคัดเลือก Startup ประมาณ 50 บริษัท

เพื่อรับรางวัล JUMC STARExcellence 2017 ปีนี้มีผู้ได้รับรางวัล 5 บริษัท

1. Omise ยูนิคอร์นหนุ่มเขางาม

โอมิเซะ Startup สาย Fintech บริการ Payment Gateway ที่เปิดให้จ่ายเงินทางออนไลน์โดยไม่ต้องผ่านธนาคาร เช่น ตั๋วเครื่องบิน บัตรคอนเสิร์ต หรือช้อปปิ้งเว็บอีคอมเมิร์ซต่างๆ ผลงานก่อนหน้านี้ของผู้ก่อนตั้งโอมิซะ คือทำระบบ Payment ให้กับ True  Corporation, Minor International, Ookbee และ Primetime

โอมิเซะมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดไปได้ไกลที่สุดของไทย บางคนเรียกพวกเขาว่า ยูนิคอร์นตัวใหม่ของวงการเลยทีเดียว หลังจากที่สร้างความเชื่อมั่น ขายเรื่องราวของบริษัท จนสามารถระดมทุนซีรี่ส์ B ได้17.5 ล้านเหรียญ  ทำลายสถิติสูงสุดของ Startup ในไทย

โอมิเซะ ก่อตั้งในปี 2013 โดย ดอน-อิศราดร หะริณสุต และ จุน ฮาเซกาวา  เริ่มจากการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซเพราะเห็นว่าเป็นธุรกิจที่กำลังโตในไทยในเวลานั้น ก่อนจะพบว่า Payment Gateway ที่ต้องเลือกใช้ในเว็บยังไม่ตอบโจทย์ เช่น มีข้อผิดพลาดทางเทคนิค หน้าจอไม่แสดงผล และไม่รองรับการใช้งานบนมือถือ เมื่อลูกค้าจ่ายเงินไม่ได้ทันที ก็เลยเลิกไปในที่สุด ในขณะเดียวกันก็นำปัญหาที่ได้จากการทำอีคอมเมิร์ซในเรื่อง Payment Gateway ที่ยังไม่มีใครคิดแก้ปัญหาอย่างจริงจัง มาพัฒนาต่อและเป็นเปลี่ยนมาทำ Payment Gateway เต็มตัวในปี 2014

อิศราดร หะริณสุต ผู้ก่อตั้ง และ CEO โอมิเซะ บอกว่า โอมิเชะมีจุดแข็งที่แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นคือ ทำให้ผู้บริโภคใช้ได้ง่ายขึ้น หมดยุคของการจ่ายเงินแบบยุ่งยากซับซ้อน ทุกอย่างต้องเรียลไทม์และไม่สะดุด

“ถ้าซื้อออนไลน์ แล้วจ่ายออนไลน์เลย จะมีโอกาสปิดยอดได้ง่าย และเร็วขึ้น” เขาเชื่อมั่นในเรื่องนี้ และพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ตั้งแต่เปิดบริการมา 2 ปีอัตราการเติบโตของโอมิเซะยังไม่เคยตก และมีพาร์ตเนอร์รายใหญ่เข้ามาร่วมเพื่อเตรียมบุกตลาดอีกหลายประเทศ

2. Freshket ซัพพลายเชนร้านอาหาร

Freshket เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่หยิบเอาซัพพลายเชนในธุรกิจร้านอาหารมาพัฒนาต่อยอด

พงษ์ลดา พะเนียงเวทย์ CEO เฟรซเก็ต บอกว่า เฟรซเก็ตคือแพลตฟร์อมมาร์เก็ตเพลสที่ทำให้ผู้ซื้อ เช่น ภัตตาคาร, ร้านอาหาร กับผู้ผลิตเช่นเกษตรกร สามารถบริหารการสั่งซื้อวัตถุดิบได้สะดวกขึ้น โดยตัดความซับซ้อนรุงรังของระบบเอกสารออกไป

ปัญหาที่ผ่านมาคือร้านอาหารจะสั่งของทั้งทางแฟกซ์อีเมลและไลน์ ซึ่งซัพพลายของร้านอาหารจะยิบย่อยมาก เฟรซเก็ตเป็นตัวเชื่อมต่อระบบการสั่งงานจากหน้าบ้านเข้าหลังบ้าน เมื่อร้านอาหารสั่งของทางซัพพลายเออร์ก็ไม่ต้องมาทำบิลโดยการคีย์ใหม่ทั้งหมด เพราะแพลตฟอร์มจะทำเป็นรายการสินค้าเป็นบิลออกมาเลย เพราะของที่ต้องทำทุกวันจะไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น พงษ์ลดาบอกเล่าถึงสิ่งที่เธอกำลังทำ

กลุ่มเป้าหมายของเฟรซเก็ตคือร้านอาหารที่จับกลุ่มลูกค้าระดับ B ขึ้นไป ตั้งราคาอาหารไว้ประมาณ 300 บาทต่อคน ขณะนี้เน้นร้านอาหารในซอยเอกมัย และทองหล่อเป็นหลัก จากนั้นจะขยายไปยังย่านอื่นๆ สิ้นปีนี้จะมีร้านอาหาร 800 แห่งที่เข้าร่วมกับเฟรซเก็ต

3. Globish Can you speak English ?

ความไม่มั่นใจการการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ คือจุดเริ่มต้นของ Startup รายนี้ อุปนิสัยนี้ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องกับผู้ที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร  ความอายในการพูด ถูกนำมาเป็นจุดแข็งของ Globish

ธกานต์ อานันโทไทย CEO บอกว่า Globish คือการเรียนการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ซึ่งมีความโดดเด่นคือเน้นการสอนแบบตัวต่อตัว Globish จะเรียกผู้สอนต่างชาติว่าโค้ช ผู้เรียนและโค้ชจะเห็นหน้ากันแบบ “เรียลไทม์” ผ่านวิดีโอคอลและสามารถ “ตอบโต้กันได้ทั้งสองทาง”

การเผญิชหน้าผู้เรียนกับผู้สอนภายออนไลน์ อาจทำให้เกิดความเกร็ง ความอายของผู้เรียนลดน้อยลง กล้าที่จะพูดออกมา และสะดวกขึ้นในการเลือกเวลา สถานที่ในการเรียน

Globish มีคนเข้ามาเรียนแล้วประมาณ 400 คน 80% เป็นลูกค้าทั่วไป ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน อายุระหว่าง 25-35 ปี และ 20% เป็นลูกค้าองค์กร บางองค์กรจ้าง Globish จัดคอร์สภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานขายที่ให้บริการในสนามบินต่างๆ

ปัจจุบัน Globish มีโค้ชต่างชาติ ประมาณ 200 คน โดยมีราคาการเรียนอยู่ที่ 120-165 บาทต่อ 25 นาที

ธกานต์ บอกว่า เธอเคยตั้งราคาที่ถูกกว่านี้แต่ก็พบกับความท้าทายว่า “เมื่อธุรกิจการศึกษาตั้งราคาถูกเกินไป ที่สุดกลับทำให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือ”

ธกานต์ คาดหวังว่า จะขยายลูกค้าทั่วไป และลูกค้าองค์กรให้มีสัดส่วนที่ 60:40 และภายใน 3 ปี จะมีผู้เข้าเรียนวันละ 2,000 คลาส และขยายไปเวียดนาม และอินโดนีเซีย

4. Local Alike ทัวร์ไร้มลพิษ

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่ชุมชนสามารถกำหนดโปรแกรมการท่องเที่ยวเองได้ กลายเป็นโมเดลธุรกิจท่องเที่ยวใหม่ของ สมศักดิ์ บุญคำ ผู้ก่อตั้ง และ Operation & Finance ของ Local Alike

สมศักดิ์ บุญคำ กล่าวว่า การท่องเที่ยวเป็นรายได้หลักของคนไทย แต่ไม่มีใครบอกได้เลยว่ารายได้ที่ว่านั้น ไปที่โรงแรมเท่าไหร่ แล้วชุมชนเท่าไหร่ ผมอยากทำตัวเลขนี้ให้ชัดขึ้น และถ้าต้องการท่องเที่ยวทำอย่างไรให้เป็นการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนจริงๆ ซึ่งผมได้แรงบันดาลใจมาจากสถาบันท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I) ซึ่งเป็นเอ็นจีโอ ทำงานโดยไม่หวังผลกำไรและเก่งเรื่องพัฒนา เราก็เลยเรียนรู้มาจากเขา

การทำงานของ Local Alike คือตัวกลางระหว่างนักท่องเที่ยวกับชาวบ้าน  โดยเข้าไปรับฟังปัญหา และวางแผนพัฒนาแต่ละชุมชนเพื่อสร้างโปรแกรมท่องเที่ยวที่เป็นจุดแข็งของชุมชนขึ้นมา ที่สำคัญคือชุมชนบริการจัดการตัวเองล้วนๆ ไม่ใช่คนภายนอก เราเชื่อว่าการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถช่วยพัฒนาชุมชนได้

“ความแตกต่างจากบริษัททัวร์อื่น คือการจำกัดนักท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้กระทบกับวิถีชีวิตชุมชน” เขาเล่าถึงจุดแข็งของ startup ตัวนี้

Local Alike ทำการตลาดโดยใช้สื่อออนไลน์เป็นหลักเช่นสื่อวิดีโอ และเว็บไซต์ เพื่อเป็นช่องทางการหาลูกค้า และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ

ในแง่โอกาสของธุรกิจ จากสถิติที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในประเทศ มี 20 % ที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน นั่นคือโอกาสของ Local Alike

5. Skootar เคาน์เตอร์ เซอร์วิส ติดล้อ

รับส่งเอกสาร ส่งผู้โดยสาร ดูจะง่ายไปสำหรับ Skootar ที่มองช่องว่างของผู้ประกอบการ SME ในเรื่องการวางบิล เก็บเช็ค ส่งพัสดุสำคัญ ที่ต้องการผู้ให้บริการที่เข้าใจ และน่าเชื่อถือ ในการทำธุรกรรมการเงินบางประเภท

ธีภพ กิจจะวัฒนะ Co-Founder และ CEO Skootar บอกว่า Skootar คือแอปพลิเคชั่น และเว็บไซต์ให้บริการแมสเซ็นเจอร์สำหรับธุรกิจ ในการวางบิล เก็บเช็ค ส่งเงินเข้าธนาคาร หรือส่งพัสดุตามที่ต่างๆ โดยใช้โมเดล crowdsourcing ของแมสเซ็นเจอร์ เช่นเดียวกับ GrabBike, Lalamove โดยผู้ใช้สามารถใช้บริการผ่านเว็บไซต์หรือแอปทั้งแอนดรอยด์ และ iOS

“ความท้าทายในธุรกิจนี้คือการสร้างความสมดุลระหว่าง Demand และ Supply สองสิ่งนี้ต้องค่อยๆ โตไปด้วยกัน อีกอย่างก็คือการเปลี่ยนพฤติกรรมคน จากที่โทรเรียกแมสเซ็นเจอร์ให้เปลี่ยนมาเป็นใช้แอปพลิเคชั่น คนส่วนมากจะมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทาย“

]]>
1132135