Sophos – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 25 Jan 2008 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 โซฟอสแต่งตั้งบริษัท WTEC จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มมูลค่าในประเทศไทย https://positioningmag.com/38938 Fri, 25 Jan 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=38938

จากภาพ : 1. คุณร็อบ ฟอร์ไซธ์ กรรมการผู้จัดการโซฟอส เอเชียแปซิฟิก (คนฝรั่ง)
2. คุณพิรุฬห์ พิหเคนทร์ กรรมการผู้จัดการบริษัท WTEC จำกัด (คนไทย)

โซฟอส บริษัทผู้นำด้านการควบคุมและรักษาความปลอดภัยของระบบไอที แต่งตั้งบริษัท WTEC จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายในประเทศไทย โดยการร่วมมือกันครั้งนี้จะทำให้โซฟอสสามารถรุกตลาดในประเทศไทย ด้วยผลิตภัณฑ์ชั้นนำทางด้านการรักษาความปลอยภัยและการควบคุมระบบไอที และจัดการกับปัญหาความต้องการด้านความปลอดภัยสำหรับทั้งบริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยผ่านทางขีดความสามารถอันกว้างขวาง ตลอดจนความเชี่ยวชาญตลาดในประเทศไทยของ WTEC ในขณะเดียวกัน WTEC ก็จะได้รับประโยชน์อย่างมากมายจากการบริการสนับสนุนทางเทคนิคและการขายผ่านทางเครือข่ายพันธมิตรของโซฟอส (Sophos Partner Programme) ที่มีอยู่ทั่วโลก

การร่วมมือกันนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของโซฟอสในประเทศไทย เพิ่มเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ ในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยผ่านทางการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในด้านการออกแบบและการเสนอกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนที่น่าดึงดูดใจแก่ตัวแทนจำหน่ายและพันธมิตร ตลอดจนการมอบกลุ่มผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมการขายอันยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า

“เราเห็นถึงโอกาสและศักยภาพทางธุรกิจอันเยี่ยมยอดซึ่งทั้งสองบริษัทจะได้รับจากการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในครั้งนี้ ทั้งโซฟอส และ WTEC ต่างมุ่งมั่นในการเสนอทางเลือกที่น่าสนใจแก่ลูกค้ามากกว่าไซแมนเทค (Symantec) และ แมคอาฟี (McAfee) ทั้งในด้านการมอบประสิทธิภาพที่เหนือกว่าในการตรวจหา malware ราคาที่เหมาะสม พร้อมด้วยคุณสมบัติการรักษาความปลอดภัยและการควบคุมที่ง่ายและทันสมัย รวมทั้งเอื้อให้การจัดการยุ่งยากน้อยลง การวางเป้าหมายตำแหน่งของ WTEC ในตลาดระดับกลาง และภาครัฐช่วยเสริมจุดแข็งของเราในภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ เครือข่ายที่กว้างขวางของตัวแทนจำหน่ายและการเชื่อมโยงระบบของ WTEC จะช่วยส่งเสริมการเติบโตของเราในประเทศไทย และทำให้เราสามารถมอบคุณค่าที่เหนือกว่าให้แก่ลูกค้าของเราได้” นายร็อบ ฟอร์ไซธ์ กรรมการผู้จัดการโซฟอส เอเชียแปซิฟิก กล่าว

โซฟอสให้บริการผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นส์อันครบวงจรในด้านระบบควบคุมและรักษาความปลอดภัยของไอที เพื่อปกป้องธุรกิจจากการคุกคามโดย การเจาะขโมยข้อมูล (malware) ทั้งที่สามารถระบุได้หรือไม่สามารถระบุได้ในทุกๆ ทางเข้าสู่เครือข่าย รวมไปถึงการบุกรุก การใช้งานที่ผิดนโยบาย ผู้ใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาติ และการใช้งานที่ไม่ต้องการ สำหรับการควบคุมการเข้าสู่เครือข่าย (NAC) อันซับซ้อนต่อเครื่องซึ่งไม่ยินยอม โซลูชั่นอันก้าวหน้าในด้าน NAC จากโซฟอส มีโครงร่างบังคับที่ใช้ได้ครอบคลุมกับเครื่องจากทุกผู้ผลิต จึงสามารถป้องกันเครือข่ายของบริษัทจากการคุกคามโดยเครื่องที่มีปัญหา ซึ่งไม่เป็นไปตามกฏการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งไว้

นายพิรุฬห์ พิหเคนทร์ กรรมการผู้จัดการบริษัท WTEC จำกัด กล่าวว่า “โซฟอสเป็นผู้จำหน่ายระบบรักษาความปลอดภัยชั้นนำระดับโลก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทีเป็นที่ยอมรับ และมีวิสัยทัศน์ขององค์กรที่แข็งแกร่ง การร่วมมือกับโซฟอสนั้นถือเป็นการสร้างความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นในด้านพันธมิตรของเราซึ่งมีชื่อเสียงที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรม ซึ่งรวมทั้งเรด แฮท (Red Hat) และ เจบอส (JBoss) และยังช่วยเพิ่มความหลากหลายให้กับโซลูชั่นส์และการบริการด้านไอทีที่มีอยู่เดิม ในขณะเดียวกัน เครือข่ายตัวแทนจำหน่ายอันกว้างขวางของ WTEC และความเชี่ยวชาญในด้านช่องทางจำหน่ายจะช่วยให้โซฟอสสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว”

โซฟอสได้แสดงให้เห็นอย่างต่อเนื่องถึงประสิทธิภาพที่เหนือกว่าซอฟท์แวร์ป้องกันไวรัสอื่นๆ ในการทดสอบอย่างเป็นกลางในการตรวจสอบการเจาะขโมยข้อมูล (malware) และระยะเวลาที่ใช้ โดยในรายงานโดยห้องทดลองคาสคาเดีย ซึ่งเป็นผู้ทดสอบที่เป็นกลาง โซฟอสแสดงประสิทธิภาพที่เหนือกว่าผลิตภัณฑ์ป้องกันไวรัสชั้นนำรายอื่นๆ อย่างชัดเจน ในการตรวจสอบไวรัสตัวใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก การสืบความลับ (spyware) และ โทรจัน ฮอร์ส (Trojan horse)

เกี่ยวกับโซฟอส

โซฟอส เป็นผู้นำระดับโลกทางด้านการรักษาความปลอดภัยและการควบคุมของระบบไอที โซฟอสนำเสนอการป้องกันและการควบคุมที่สมบูรณ์แบบให้กับภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา และ องค์กรภาครัฐ โดยปกป้องทั้งการเจาะขโมยข้อมูล (malware) การสืบความลับ (spyware) การบุกรุก ป้องกันการใช้งานที่ไม่ต้องการ อีเมลที่ไม่ต้องการ (spam) และการใช้งานที่ผิดนโยบาย รวมทั้งการเข้าสู่เครือข่ายโดยไม่ได้ผ่านการควบคุม ทั้งในรูปแบบที่รู้จักและไม่รู้จักมาก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบมาอย่างไว้วางใจได้และง่ายต่อการใช้งานของเราช่วยปกป้องผู้ใช้งานมากกว่า 100 ล้านรายในกว่า 150 ประเทศ ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปีและเครือข่ายทั่วโลกของศูนย์การวิเคราะห์การคุกคาม บริษัทสามารถตอบสนองต่อการคุกคามที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุดจากลูกค้าในอุตสาหกรรม โซฟอสเป็นบริษัทระดับโลกที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเสท และเมืองอ๊อกฟอร์ด สหราชอาณาจักร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม www.sophos.com

เกี่ยวกับ การทดสอบโปรแกรมป้องกันไวรัสของห้องทดลองคาสคาเดีย

โซฟอสสามารถป้องกันการเจาะขโมยข้อมูล (malware) ในการทดสอบ ได้ถึง 86 เปอร์เซ็นต์ ก่อนที่จะจัดการกับมัน เมื่อเปรียบเทียบกับ แมคอาฟี (McAfee) ที่ป้องกันได้ 43 เปอร์เซ็นต์ และไซแมนเทค (Symantec) ซึ่งป้องกันได้ 51 เปอร์เซ็นต์ ยิ่งไปกว่านั้น ในการทดสอบการป้องกันไวรัสที่ห้องทดลองคาสคาเดีย ระบบการป้องกัน HIPS protection ของโซฟอสยังสามารถตรวจพบตัวอย่างการเจาะขโมยข้อมูล ตรวจจับตัวอย่าง การเจาะขโมยข้อมูล (malware) อื่นๆ ในระหว่างทำการทดสอบได้อีก ทำให้มีอัตราการตรวจจับไวรัสเชิงรุก (proactive detection) ในส่วนของไวรัสประเภท zero-day ขยับสูงขึ้นเป็น 97 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือเป็นอัตราที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง

]]>
38938
โซโฟส ขยายตลาดในประเทศไทย จับมือ เอซีเอ แปซิฟิก กรุ๊ป เป็นตัวแทนจำหน่ายโซลูชั่นปกป้องไวรัสและสแปม https://positioningmag.com/28435 Thu, 20 Apr 2006 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=28435

กรุงเทพมหานคร – โซโฟส ผู้นำระดับโลกในการปกป้องธุรกิจให้ปลอดภัยจากคอมพิวเตอร์ไวรัส และ สแปม ได้ประกาศอย่างเป็นทางการในวันนี้ในการแต่งตั้ง บริษัท เอซีเอ แปซิฟิก จำกัด ในประเทศไทย ให็เป็นตัวแทนจำหน่ายมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์โซลูชั่นเพื่อปกป้องไวรัส และสแปม ที่ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย การจับมือเป็นพันธมิตรในครั้งนี้จะเป็นการขยายตลาดโซลูชั่นด้านซิเคียวริตี้ เจาะกลุ่ม เอสเอ็มอี และ องค์กรต่างๆ ผ่านเครือข่ายตัวแทนการจัดจำหน่ายที่กว้างขวางของ เอซีเอ แปซิฟิก

ภายใต้ข้อตกลงเป็นพันธมิตรธุรกิจนี้ เอซีเอ แปซิฟิก จะมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นตัวแทนจำหน่ายโซลูชั่นต่างๆ ของโซโฟส ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ชั้นนำที่ขึ้นชื่อ โซโฟส แอนตี้-ไวรัส และ เพียวเมสเสจ โซลูชั่นปกป้องสแปม นอกเหนือจากนี้ เอซีเอ แปซิฟิก ยังมีโซลูชั่น โซโฟส สมอลล์ บิสซิเนส (เอสบีเอส) ซึ่งสามารถทำการปกป้องไวรัสและสแปม มิให้เข้ามาในองค์กรได้ในทุกๆ จุด และยังมี โซโฟส เอ็นเตอร์ไพรส์ โซลูชั่น ที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับความต้องการขององค์การขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งมักจะมีระบบโครงสร้างไอทีที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยเครื่องมือการจัดการที่ง่ายต่อการใช้ การอัพเดท และการจัดทำรายการ จะสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการที่มีอยู่ได้อย่างมาก

“ภัยคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น สปายแวร์ อีเมล็หลอกลวงข้อมูล ที่รู้จักกันดีคือเทคนิค ฟิชชิ่ง (Phishing) รวมถึงไวรัส และสแปม ยังคงก่อความวุ่นวายให้กับองค์กรต่างๆ ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง และธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทยก็ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายในการปกป้องภัยร้ายเหล่านี้เช่นกัน บริษัท โซโฟส ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโซลูชั่น ซิเคียวริตี้ แบบบูรณาการ มุ่งมั่นที่จะนำเสนอโซลูชั่นชั้นเยี่ยมที่สมบูรณ์แบบสำหรับลูกค้าทุกขนาด ครอบคลุม ลูกค้าเอสเอ็มอี และองค์กรขนาดกลางถึงใหญ่” กล่าวโดย คุณจิม ดาวลิ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท โซโฟส เอเชีย “บริษัท เอซีเอ แปซิฟิก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะบริษัทชั่นนำที่นำเสนอบริการโซลูชั่นด้านไอทีในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก และโซโฟส รู้สึกมั่นใจในศักยภาพของ เอซีเอ ในการขยายตลาดของโซโฟส ให้เป็นที่รู้จักดียิ่งขึ้นในประเทศไทย ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ปกป้องภัยร้ายคอมพิวเตอร์ไวรัสและสแปมที่สมบูรณ์แบบที่สุด”

“ในฐานะที่เราเป็นบริษัทให้บริการโซลูชั่นด้านไอทีชั้นนำในภูมิภาเอเชีย แปซิฟิก เอซีเอ แปซิฟิก ไม่เคยหยุดยั้งที่จะเสาะหาบริการและผลิตภัณฑ์ดีๆ เพื่อสนองความต้องการเครือข่ายการจัดจำหน่ายที่กว้างขวางของเรา ด้วยการช่วยเสริมด้วยโซลูชั่นมูลค่าเพิ่มที่สามารถสนองความต้องการที่หลากหลายของธุรกิจต่างๆ “ กล่าวโดยคุณอาทิตย์ ทองวิชิต ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย บริษัท เอซีเอ แปซิฟิก กรุ๊ป จำกัด “และด้วยโซลูชั่นซิเคียวริตี้อันหลากหลายของโซโฟส องค์กรต่างๆ ในประเทศไทยจะได้มีโอกาสที่ดีในการใช้เทคโนโลยีการจัดการด้านซิเคียวริตี้แบบบูรณาการชั้นนำระดับโลกในการปกป้องภัยคอมพิวเคอร์เพื่อการดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัว”

โซโฟส นำเสนอโปรแกรมพันธมิตรธุรกิจที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งจะเป็นการนำเสนอรางวัลแก่ตัวแทนจำหน่ายที่ได้ลงทุนในด้านเทคนิคของโซลูชั่นจากโซโฟส การร่วมมือนี้จะทำให้พันธมิตรทั้งหลายสามารถวางตำแหน่งบริษัทตนเองเป็นบริษัทที่เสริมมูลค่าให้ธุรกิจ และสามารถที่จะให้บริการก่อนและหลังการขาย รวมถึงข้อตกลงด้านการบำรุงรักษาอีกด้วย ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมดังกล่าว โปรดติดต่อ บริษัท เอซีเอ แปซิฟิก กรุ๊ป จำกัด

เกี่ยวกับ บริษัท เอซีเอ แปซิฟิก กรุ๊ป จำกัด

เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2529 ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไอทีเสริมมูลค่าให้ธุรกิจ ให้แก่บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก โดยพันธิกจของบริษัทตั้งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ไอทีและโซลูชั่นระดับชั้นนำ ที่เพียบพร้อมด้วยมูลค่าให้แก่ลูกค้า โดยเน้นที่เทรนด์ล่าสุดและเทคโนโลยีนำสมัยในภุมิภาคนี้ เอซีเอ แปซิฟิก กรุ๊ป มีสำนักงานใหญ่อยู่ที สิงคโปร์ และมีสาขาที่ประเทศไทย มาเลเซีย ออสเตรเลีย และ สหรัฐอเมริกา หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทฯ โปรดเช็คได้ที่เว็บไซต์ www.acagroup.com

เกี่ยวกับโซโฟส

โซโฟส เป็นบริษัทชั้นนำที่นำเสนอโซลูชั่นแบบบูรณาการด้านการจัดการภัยที่คอยคุกคามคอมพิวเตอร์ ด้วยการพัฒนาการปกป้องภัยจากไวรัส สปายแวร์ สแปม และการนำนโยบายไปใช้ในทางที่ผิด ให้แก่กลุ่มธุรกิจ การศึกษา และรัฐบาล โดยวิศวกรรมที่ไว้วางใจได้ของโซโฟส รวามถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ง่ายต่อการใช้ สามารถทำการปกป้องคอมพิวเตอร์ให้กว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์กว่า 35 ล้านใน 150 ประเทศทั่วโลก ด้วยประสบการณ์ใน 20 ปีที่ผ่านมา ผนวกกับเครือข่ายทั่วโลกของศูนย์วิเคราะห์การคุกคามของไวรัสต่างๆ และโซโฟสสามารถตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงของภัยร้ายคอมพิวเตอร์เหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่ามันจะมีความซับซ้อนแค่ไหน จนทำให้โซโฟสเป็นที่ได้รับความไว้วางใจอย่างสูงสุดจากลูกค้าสูงสุดในอุตสาหกรรมนี้

]]>
28435
โซโฟสรายงานบัญชีดำสิบอันดับไวรัสและไวรัสปลอมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2549 https://positioningmag.com/27930 Wed, 08 Mar 2006 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=27930

กรุงเทพมหานคร 3 กุมภาพันธ์ 2549 : โซโฟส องค์กรชั้นนำในการปกป้องธุรกิจให้ปลอดภัยจากไวรัส สปายแวร์ และสแปม รายงานผลการจัดอันดับไวรัสและไวรัสปลอม ที่ก่อเหตุวุ่นวายสร้างความเสียหายให้แก่ธุรกิจต่างๆ รอบโลกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2549

โดยรายงานนี้ซึ่งจัดทำขึ้นโดยเครือข่ายของศูนย์ตรวจตราไวรัสต่างๆ รอบโลก เปิดเผยถึง โทรจัน ฮอร์ส ชื่อ Clagger-G ซึ่งกระโดดเข้ามาในชาร์ตของเดือนนี้ว่า มันแสดงให้เห็นถึงภัยคุกคามเพื่อเจาะข้อมูลทางการเงินได้ใช้เทคโนโลยีผสมระหว่างมัลแวร์ และสแปม ส่วน Nyxem-D ซึ่งรู้จักกันในนาม หนอนลามก Kama Sutra ได้ไต่ขึ้นจากอันดับ 4 มาครอบอันดับ 2 แสดงให้เห็นความสำเร็จของการใช้เซ็กส์มาเป็นตัวล่อให้คนใช้คอมฯ ติดไวรัสดังกล่าวได้

สิบอันดับไวรัสประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2549 มีดังนี้
1. Netsky-P 13.9%
2. Nyxem-D 9.3%
3. Bagle-Zip 8.8% กลับเข้ามาในชาร์ตอีกครั้ง
4. Zafi-B 8.4%
5. Mytob-FO 6.0%
6. Mytob-EX 3.7%
7. Bagle-CH 2.7% ขึ้นชาร์ตเป็นครั้งแรก
8. Clagger-G 2.6% ขึ้นชาร์ตเป็นครั้งแรก
9. Netsky-D 2.4%
10. Mytob-BE 2.3%
อื่นๆ 39.9%

Nyxem-D นั้นถูกตรวจพบเจอเมื่อวันที่ 18 มกราคมและยังก่อกวนอย่างไม่หยุดยั้ง โดยนับได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 9.3% ของมัลแวร์ที่ได้รับการรายงานในเดือนนี้ หนอนอีเมล์ได้ใช้กลยุทธ์ต่างๆ ที่แฝงมาในรูปแบบของสิ่งลามกอนาจาร เพื่อพยายามที่จะแพระระบาดให้มากที่สุด รวมถึงเทคนิคการทำให้ซอฟต์แวร์ด้านซิเคียวริตี้ต้องหยุดทำงานไปด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม หนอนที่ขึ้นชื่อกระฉ่อนอย่างนี้ก็ไม่สามารถสู้ความแรงของไวรัส Netsky-P ที่รักษาอันดับอยู่ในชาร์ตอย่างเหนียวแน่นและกลับมาครองอันดับหนึ่ง หลังจากหลบอยู่ในเงาความแรงของ Sober-Z มาเป็นเวลา 3 เดือนด้วยกัน หนอนตัวนี้ได้ถูกโปรแกรมให้หยุดแพร่ระบาดในวันที่ 6 มกราคม 2549 ส่วน Netsky-P ได้ถูกตรวจพบเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2547 และได้ก่อกวนผู้ใช้คอมฯ ที่ไม่ระมัดระวังตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

สิ่งที่น่าฉงนสร้างความประหลาดใจได้มากที่สุดเห็นจะเป็นโทรจันฮอร์ส ชื่อ Clagger-G ที่กลับผุดขึ้นมาอีกครั้ง มาอยู่ในอันดับ 8 ของเดือนกุมภาพันธ์นี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสแปมชนิดระบาดไปสู่คนใช้คอมฯ จำนวนมากๆ ก็สามารถไต่อันดับได้ไม่แพ้ไวรัสจำพวกมัลแวร์ที่แพร่ระบาดด้วยตัวมันเอง

“ในการที่ โทรจัน Clagger สามารถปรากฏตัวอยู่ในการจัดสิบอันดับไวรัสนี้ มันจะต้องใช้เทคนิคการสแปมไปยังอีเมล์ทั่วโลกเป็นล้านๆ อีเมล์” กล่าวโดย แคโรล เทรีอุล ที่ปรึกษาอาวุโสด้านซิเคียวริตี้ของโซฤส “โทรจัน ฮอร์ส มันไม่สามารถที่จะแพร่ระบาดด้วยตัวมันเองได้นั้น นับเป็นสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของมัลแวร์ที่ได้รับการรายงานไว้ทั้งหมด เทคนิดที่ใช้แทนที่จะเป็นการกระหน่ำให้ระบาดไปสู่ผู้ใช้คอมฯ เป็นจำนวนมากๆ ผู้เขียนโทรจัน ส่วนใหญ่เล็งความสนใจไปยังกลุ่มเป้าหมายเล็กๆ เพื่อที่จะฉ้อฉลเงินสดและข้อมูลสำคัญเฉพาะบุคคล”

Bagle-Zip ได้กลับเข้ามาครองอันดับ 6 ในขณะที่ Bagle-CH ที่ได้รับการตรวจเจอเป็นครั้งแรกในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ได้กลับเข้ามาในชาร์ตอยู่ที่อันดับที่ 7

“ธุรกิจต่างๆ และบุคคลทั่วไป ที่ไม่ได้ทำการปกป้องอย่างจริงจัง เหมือนกับการรอคอยที่จะให้หนอนไวรัสเหล่านี้มาสร้างความเสียหายให้กับเน็ตเวิร์กของคุณ แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ยังง่ายที่จะควบคุมถ้าหากได้มีการสร้างนโยบายด้านรักษาความปลอดภัยไว้แล้ว” กล่าวเสริมโดย แคโรล

การวิจัยของโซโฟสแสดงให้เห็นว่า 1.1% หรือ 1 ใน 90 อีเมล์เป็นไวรัส โดยโซโฟสที่ได้ตรวจพบ และปกป้องไวรัสต่างๆ ที่เป็นภัยร้ายแฝงตัวในอีเมล์เป็นจำนวนรวม 119,192 อีเมล์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วถึง 1,132

การจัดสิบอันดับของไวรัสปลอมและจดหมายส่งต่อ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ไว้ดังนี้

1. Hotmail hoax 15.5% ครองอันดับหนึ่งนานถึง 20 เดือน
2. A virtual card for you 9.4%
3. Meninas da Playboy 7.5%
4. Bonsai kitten 7.2%
5. Budweiser frogs screensaver 4.8%
6. MSN is closing down 3.8%
7. Olympic torch 3.3% ขึ้นชาร์ตเป็นครั้งแรก
7= WTC Survivor 3.3%
9. Bill Gates fortune 2.9%
10. Applebees Gift Certificate 2.3%
อื่นๆ 40.0%

“ไวรัสปลอมที่เกี่ยวกับคบไฟโอลิมปิกได้แพร่ระบาดในหมู่ผู้ใช้คอมฯ ในเดือนนี้โดยอาศัยกระแสของความตื่นเต้นของคนทั่วโลกในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว” กล่าวเสริมโดย แคโรล “หลายๆ คนต่างก็พากันแตกตื่นเมื่อได้เผชิญหน้ากับไวรัสปลอมตัวนี้เพราะว่ามันเตือนผู้ใช้ให้ระวังตัวกับอีเมล์ที่ใช้หัวข้อว่า ‘Invitatio’ – claiming that it is ‘the most destructive virus ever’ อีเมล์เหล่านี้ไม่เพียงแค่โอเว่อร์โหลดแบนด์วิธเท่านั้น แต่มันยังทำให้สูญเสียเวลาและทำให้ผู้ที่รับอีเมล์ดังกล่าวกังวลโดยเปล่าประโยชน์”

โซโฟสได้จัดทำข้อมูลอัพเดทฟรีอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ข่าวสารเกี่ยวกับมัลแวร์และ ข่าวทั่วไปเกี่ยวกับซิเคียวริตี้โดยการใช้บริการป้อนข้อมูลโดยเทคนิค RSS ผู้สนใจสามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.sophos.com/feeds

ภาพกราฟฟิกของสิบอันดับไวรัสติดชาร์ตของโซโฟส สามารถดาวน์โหลดได้ที่
www.sophos.com/pressoffice/imgallery/topten

สำหรับข้อมูลแนะนำการใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย รวมถึง นโยบายต่อต้านไวรัสปลอม สามารถสืบค้นได้ที่
www.sophos.com/virusinfo/bestpractice/

เกี่ยวกับโซโฟส

โซโฟส เป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกที่นำเสนอโซลูชั่นส์ในด้านการจัดการ และการพัฒนาระบบป้องกันภัยคุกคามจากไวรัส สปายแวร์ สแปม ครอบคลุมด้านธุรกิจ การศึกษา และหน่วยงานราชการ โซโฟสมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ใน สหราชอาณาจักร มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไว้วางใจได้ ง่ายต่อการใช้ โดยผลิตภัณฑ์ของโซโฟสได้ทำการปกป้องผู้ใช้คอมฯ กว่า 35 ล้านรายในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมากว่า 20 ปี กอปรกับเครือข่ายศูนย์วิเคราะห์ภัยคอมพิวเตอร์ที่กระจายอยู่ทั่วโลก ทางองค์กรสามารถตอบรับได้อย่างรวดเร็วกับภัยคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาในแต่ละวันได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าภัยดังกล่าวจะมีความซับซ้อนอย่างไร รวมถึงความสามารถในการชนะใจลูกค้าซึ่งอยู่ในระดับสูงที่สุดในแวดวงอุตสาหกรรมนี้

]]>
27930
บัญชีดำสิบอันดับไวรัสและไวรัสปลอมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2549 https://positioningmag.com/27853 Thu, 02 Mar 2006 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=27853

โซโฟส องค์กรชั้นนำในการปกป้องธุรกิจให้ปลอดภัยจากไวรัส สปายแวร์ และสแปม รายงานผลการจัดอันดับไวรัสและไวรัสปลอม ที่ก่อเหตุวุ่นวายสร้างความเสียหายให้แก่ธุรกิจต่างๆ รอบโลกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2549

โดยรายงานนี้ซึ่งจัดทำขึ้นโดยเครือข่ายของศูนย์ตรวจตราไวรัสต่างๆ รอบโลก เปิดเผยถึง โทรจัน ฮอร์ส ชื่อ Clagger-G ซึ่งกระโดดเข้ามาในชาร์ตของเดือนนี้ว่า มันแสดงให้เห็นถึงภัยคุกคามเพื่อเจาะข้อมูลทางการเงินได้ใช้เทคโนโลยีผสมระหว่างมัลแวร์ และสแปม ส่วน Nyxem-D ซึ่งรู้จักกันในนาม หนอนลามก Kama Sutra ได้ไต่ขึ้นจากอันดับ 4 มาครอบอันดับ 2 แสดงให้เห็นความสำเร็จของการใช้เซ็กส์มาเป็นตัวล่อให้คนใช้คอมฯ ติดไวรัสดังกล่าวได้

สิบอันดับไวรัสประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2549 มีดังนี้
1. Netsky-P 13.9%
2. Nyxem-D 9.3%
3. Bagle-Zip 8.8% กลับเข้ามาในชาร์ตอีกครั้ง
4. Zafi-B 8.4%
5. Mytob-FO 6.0%
6. Mytob-EX 3.7%
7. Bagle-CH 2.7% ขึ้นชาร์ตเป็นครั้งแรก
8. Clagger-G 2.6% ขึ้นชาร์ตเป็นครั้งแรก
9. Netsky-D 2.4%
10. Mytob-BE 2.3%
อื่นๆ 39.9%

Nyxem-D นั้นถูกตรวจพบเจอเมื่อวันที่ 18 มกราคมและยังก่อกวนอย่างไม่หยุดยั้ง โดยนับได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 9.3% ของมัลแวร์ที่ได้รับการรายงานในเดือนนี้ หนอนอีเมล์ได้ใช้กลยุทธ์ต่างๆ ที่แฝงมาในรูปแบบของสิ่งลามกอนาจาร เพื่อพยายามที่จะแพระระบาดให้มากที่สุด รวมถึงเทคนิคการทำให้ซอฟต์แวร์ด้านซิเคียวริตี้ต้องหยุดทำงานไปด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม หนอนที่ขึ้นชื่อกระฉ่อนอย่างนี้ก็ไม่สามารถสู้ความแรงของไวรัส Netsky-P ที่รักษาอันดับอยู่ในชาร์ตอย่างเหนียวแน่นและกลับมาครองอันดับหนึ่ง หลังจากหลบอยู่ในเงาความแรงของ Sober-Z มาเป็นเวลา 3 เดือนด้วยกัน หนอนตัวนี้ได้ถูกโปรแกรมให้หยุดแพร่ระบาดในวันที่ 6 มกราคม 2549 ส่วน Netsky-P ได้ถูกตรวจพบเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2547 และได้ก่อกวนผู้ใช้คอมฯ ที่ไม่ระมัดระวังตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

สิ่งที่น่าฉงนสร้างความประหลาดใจได้มากที่สุดเห็นจะเป็นโทรจันฮอร์ส ชื่อ Clagger-G ที่กลับผุดขึ้นมาอีกครั้ง มาอยู่ในอันดับ 8 ของเดือนกุมภาพันธ์นี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสแปมชนิดระบาดไปสู่คนใช้คอมฯ จำนวนมากๆ ก็สามารถไต่อันดับได้ไม่แพ้ไวรัสจำพวกมัลแวร์ที่แพร่ระบาดด้วยตัวมันเอง

“ในการที่ โทรจัน Clagger สามารถปรากฏตัวอยู่ในการจัดสิบอันดับไวรัสนี้ มันจะต้องใช้เทคนิคการสแปมไปยังอีเมล์ทั่วโลกเป็นล้านๆ อีเมล์” กล่าวโดย แคโรล เทรีอุล ที่ปรึกษาอาวุโสด้านซิเคียวริตี้ของโซฤส “โทรจัน ฮอร์ส มันไม่สามารถที่จะแพร่ระบาดด้วยตัวมันเองได้นั้น นับเป็นสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของมัลแวร์ที่ได้รับการรายงานไว้ทั้งหมด เทคนิดที่ใช้แทนที่จะเป็นการกระหน่ำให้ระบาดไปสู่ผู้ใช้คอมฯ เป็นจำนวนมากๆ ผู้เขียนโทรจัน ส่วนใหญ่เล็งความสนใจไปยังกลุ่มเป้าหมายเล็กๆ เพื่อที่จะฉ้อฉลเงินสดและข้อมูลสำคัญเฉพาะบุคคล”

Bagle-Zip ได้กลับเข้ามาครองอันดับ 6 ในขณะที่ Bagle-CH ที่ได้รับการตรวจเจอเป็นครั้งแรกในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ได้กลับเข้ามาในชาร์ตอยู่ที่อันดับที่ 7

“ธุรกิจต่างๆ และบุคคลทั่วไป ที่ไม่ได้ทำการปกป้องอย่างจริงจัง เหมือนกับการรอคอยที่จะให้หนอนไวรัสเหล่านี้มาสร้างความเสียหายให้กับเน็ตเวิร์กของคุณ แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ยังง่ายที่จะควบคุมถ้าหากได้มีการสร้างนโยบายด้านรักษาความปลอดภัยไว้แล้ว” กล่าวเสริมโดย แคโรล

การวิจัยของโซโฟสแสดงให้เห็นว่า 1.1% หรือ 1 ใน 90 อีเมล์เป็นไวรัส โดยโซโฟสที่ได้ตรวจพบ และปกป้องไวรัสต่างๆ ที่เป็นภัยร้ายแฝงตัวในอีเมล์เป็นจำนวนรวม 119,192 อีเมล์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วถึง 1,132
การจัดสิบอันดับของไวรัสปลอมและจดหมายส่งต่อ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ไว้ดังนี้
1. Hotmail hoax 15.5% ครองอันดับหนึ่งนานถึง 20 เดือน
2. A virtual card for you 9.4%
3. Meninas da Playboy 7.5%
4. Bonsai kitten 7.2%
5. Budweiser frogs screensaver 4.8%
6. MSN is closing down 3.8%
7. Olympic torch 3.3% ขึ้นชาร์ตเป็นครั้งแรก
7= WTC Survivor 3.3%
9. Bill Gates fortune 2.9%
10. Applebees Gift Certificate 2.3%
อื่นๆ 40.0%

“ไวรัสปลอมที่เกี่ยวกับคบไฟโอลิมปิกได้แพร่ระบาดในหมู่ผู้ใช้คอมฯ ในเดือนนี้โดยอาศัยกระแสของความตื่นเต้นของคนทั่วโลกในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว” กล่าวเสริมโดย แคโรล “หลายๆ คนต่างก็พากันแตกตื่นเมื่อได้เผชิญหน้ากับไวรัสปลอมตัวนี้เพราะว่ามันเตือนผู้ใช้ให้ระวังตัวกับอีเมล์ที่ใช้หัวข้อว่า ‘Invitatio’ – claiming that it is ‘the most destructive virus ever’ อีเมล์เหล่านี้ไม่เพียงแค่โอเว่อร์โหลดแบนด์วิธเท่านั้น แต่มันยังทำให้สูญเสียเวลาและทำให้ผู้ที่รับอีเมล์ดังกล่าวกังวลโดยเปล่าประโยชน์”

โซโฟสได้จัดทำข้อมูลอัพเดทฟรีอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ข่าวสารเกี่ยวกับมัลแวร์และ ข่าวทั่วไปเกี่ยวกับซิเคียวริตี้โดยการใช้บริการป้อนข้อมูลโดยเทคนิค RSS ผู้สนใจสามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.sophos.com/feeds

ภาพกราฟฟิกของสิบอันดับไวรัสติดชาร์ตของโซโฟส สามารถดาวน์โหลดได้ที่
www.sophos.com/pressoffice/imgallery/topten

สำหรับข้อมูลแนะนำการใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย รวมถึง นโยบายต่อต้านไวรัสปลอม สามารถสืบค้นได้ที่
www.sophos.com/virusinfo/bestpractice/

เกี่ยวกับโซโฟส
โซโฟส เป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกที่นำเสนอโซลูชั่นส์ในด้านการจัดการ และการพัฒนาระบบป้องกันภัยคุกคามจากไวรัส สปายแวร์ สแปม ครอบคลุมด้านธุรกิจ การศึกษา และหน่วยงานราชการ โซโฟสมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ใน สหราชอาณาจักร มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไว้วางใจได้ ง่ายต่อการใช้ โดยผลิตภัณฑ์ของโซโฟสได้ทำการปกป้องผู้ใช้คอมฯ กว่า 35 ล้านรายในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมากว่า 20 ปี กอปรกับเครือข่ายศูนย์วิเคราะห์ภัยคอมพิวเตอร์ที่กระจายอยู่ทั่วโลก ทางองค์กรสามารถตอบรับได้อย่างรวดเร็วกับภัยคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาในแต่ละวันได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าภัยดังกล่าวจะมีความซับซ้อนอย่างไร รวมถึงความสามารถในการชนะใจลูกค้าซึ่งอยู่ในระดับสูงที่สุดในแวดวงอุตสาหกรรมนี้

]]>
27853
โซโฟสรายงาน 10 อันดับไวรัสอินเทอร์เน็ต และไวรัสหลอกในเดือน ธันวาคม 2546 https://positioningmag.com/15416 Thu, 22 Jan 2004 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=15416

กรุงเทพเทพมหานคร :-โซโฟส (Sophos) ผู้นำทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ และสแปม ภายในองค์กรระดับโลก ได้ขึ้นบัญชีดำไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอก 10 อันดับที่พบมากที่สุดในอินเทอร์เน็ตที่ได้ก่อปัญหาให้แก่ธุรกิจต่างๆ ทั่วโลก ประจำเดือนธันวาคม 2546 ไว้ดังนี้

1. W32/Sober-C – (Sober variant) – 23.3%
2. W32/Mimail-K – (Mimail variant) – 21.3%
3. W32/Dumaru-A – (Dumaru virus) – 13.8%
4. W32/Mimail-J – (Mimail variant) – 2.7%
5. W32/Mimail-C – (Mimail variant) – 2.2%
6. W32/Gibe-F – (Gibe variant) – 1.9%
7 W32/Mimail-I – (Mimail variant) – 1.9%
8. W32/Klez-H – (Klez variant) – 1.8%
9. W32/Torvil-A – (Torvil worm) – 1.6%
10. W32/Mimail-F – (Mimail variant) – 1.6%
อื่นๆ – 27.9%

คาโรล เทริโอ ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัย บริษัท โซโฟส กล่าวว่า “หนอน Sober-C ซึ่งได้แพร่ทางอีเมล และกระจายเชื้อไวรัสสู่เน็ตเวิร์คต่างๆ นั้น ถึงแม้จะถูกตรวจพบเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 เดือนธันวาคมที่ผ่านมาก็ตาม แต่ก็ยังสามารถครองตำแหน่งเวิร์มที่ถูกพบมากที่สุดประจำเดือนธันวาคมไว้ได้ และถึงแม้ Sober-C ได้ครองอันดับหนึ่งในชาร์ต แต่ Mimail สายพันธุ์ต่างๆ ก็สร้างความปั่นป่วนไม่แพ้กัน เป็นไวรัสสายพันธุ์ที่ถูกตรวจพบบ่อยมากเป็นจำนวน 29.7% ซึ่งนับเป็นจำนวนถึงหนึ่งในสามของรายงานที่ได้รับทั้งหมด”

โซโฟส แอนตี้-ไวรัส ได้ตรวจพบไวรัสใหม่รวมถึง 730 ตัวในเดือนธันวาคมนี้ รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 86,811 ตัว ที่ซอฟต์แวร์ของโซโฟสสามารถทำการปกป้องได้

เทริโอ กล่าวเสริม “หากจะว่าไปแล้ว ผู้เขียนไวรัสไม่ปล่อยช่วงเวลาเทศกาลผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์เลย เห็นได้จากตัวเลขของการรายงาน ของห้องวิจัยในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมาซึ่งแสดงให้เห็นถึงจำนวนไวรัสใหม่มีมากกว่า 700 ตัว”

รายงานสิบดันดับไวรัสหลอกที่โซโฟสพบในเดือนธันวาคม
1. Hotmail hoax – 21.7%
2. Meninas da Playboy – 15.2%
3. A virtual card for you – 5.9%
4. Bonsai kitten – 5.3%
5. Press 9 – 5.2%
6. Budweiser frogs screensaver – 4.9%
7. JDBGMGR – 4.0%
8. Elf Bowling – 3.4%
9. Bill Gates fortune – 3.2%
10.Frog in a blender/Fish in a bowl – 3.0%
อื่นๆ – 28.2%

เทริโอ กล่าวว่า “ไวรัสหลอกประจำเทศกาล “Elf Bowling” กลับเข้าสู่ ชาร์ตอีกครั้งเดือนธันวาคม ทันเวลาพอดีกับเทศกาลคริสต์มาส ไวรัสหลอกดังกล่าวอ้างเป็นเกมโบว์ลิ่งที่ใช้ตัวเอล์ฟเป็นพินโบว์ลิ่ง โดยไวรัสดังกล่าวจะเริ่มแผลงฤทธิ์ในวันคริสต์มาส”

โซโฟสได้จัดเตรียมบริการอินฟอร์เมชั่น ฟีด ซึ่งเว็บไซต์ขององค์กรสามารถใช้บริการนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอกล่าสุด รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาดูได้ที่ www.sophos.com/virusinfo/infofeed/

ตารางกราฟฟิคของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ติดอันดับท้อปเท็น สามารถหาดูได้ที่:
www.sophos.com/pressoffice/imgallery/topten

ข้อมูลเกี่ยวกับการปกป้อง และใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย รวมถึงการป้องกันไวรัสหลอก สามารถหาดูได้ที่
: www.sophos.com/safecomputing/

หมายเหตุ: โปรแกรมป้องกันไวรัส ฟรีสำหรับ นักข่าว สามารถหาดูรายละเอียดได้ที่ http://www.sophos.com/pressprotection

ข้อมูลเกี่ยวกับ Sophos:

โซโฟส เป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้-ไวรัส และแอนตี้สแปมระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศอังกฤษ โปรแกรมต่างๆ ของโซโฟส ได้ทำการปกป้องธุรกิจและองค์กรมากมายให้พ้นจากไวรัส และสแปม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กๆ จนถึงระดับรัฐบาล และองค์กรที่มีเครือข่ายระดับโลก โซโฟส ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมถึงความสามารถสนองความต้องการของลูกค้า และปกป้ององค์กรของลูกค้าให้พ้นจากการคุกคามของไวรัสคอมพิวเตอร์ได้อย่างดีเยี่ยม โดยผลิตภัณฑ์แอนตี้-ไวรัส ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึงการให้คำปรึกษาด้านเทคนิคแก่ลูกค้า ในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก

ผู้สนใจสามารถหาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซโฟส และสินค้าต่าง ๆ ได้ที่ http://www.sophos.com

]]>
15416
โซโฟสรายงาน 10 อันดับไวรัสอินเทอร์เน็ต และไวรัสหลอกในเดือน ธันวาคม 2546เวิร์ม Sober ติดอันดับหนึ่งในชาร์ต อีกครั้ง กับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ https://positioningmag.com/15306 Tue, 06 Jan 2004 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=15306

กรุงเทพเทพมหานคร:-โซโฟส (Sophos) ผู้นำทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ และสแปม ภายในองค์กรระดับโลก ได้ขึ้นบัญชีดำไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอก 10 อันดับที่พบมากที่สุดในอินเทอร์เน็ตที่ได้ก่อปัญหาให้แก่ธุรกิจต่างๆ ทั่วโลก ประจำเดือนธันวาคม 2546 ไว้ดังนี้

1. W32/Sober-C (Sober variant) 23.3%
2. W32/Mimail-K (Mimail variant) 21.3%
3. W32/Dumaru-A (Dumaru virus) 13.8%
4. W32/Mimail-J (Mimail variant) 2.7%
5. W32/Mimail-C (Mimail variant) 2.2%
6. W32/Gibe-F (Gibe variant) 1.9%
7 W32/Mimail-I (Mimail variant) 1.9%
8. W32/Klez-H (Klez variant) 1.8%
9. W32/Torvil-A (Torvil worm) 1.6%
10. W32/Mimail-F (Mimail variant) 1.6%
11. อื่นๆ 27.9%

คาโรล เทริโอ ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัย บริษัท โซโฟส กล่าวว่า “หนอน Sober-C ซึ่งได้แพร่ทางอีเมล และกระจายเชื้อไวรัสสู่เน็ตเวิร์คต่างๆ นั้น ถึงแม้จะถูกตรวจพบเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 เดือนธันวาคมที่ผ่านมาก็ตาม แต่ก็ยังสามารถครองตำแหน่งเวิร์มที่ถูกพบมากที่สุดประจำเดือนธันวาคมไว้ได้ และถึงแม้ Sober-C ได้ครองอันดับหนึ่งในชาร์ต แต่ Mimail สายพันธุ์ต่างๆ ก็สร้างความปั่นป่วนไม่แพ้กัน เป็นไวรัสสายพันธุ์ที่ถูกตรวจพบบ่อยมากเป็นจำนวน 29.7% ซึ่งนับเป็นจำนวนถึงหนึ่งในสามของรายงานที่ได้รับทั้งหมด”

โซโฟส แอนตี้-ไวรัส ได้ตรวจพบไวรัสใหม่รวมถึง 730 ตัวในเดือนธันวาคมนี้ รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 86,811 ตัว ที่ซอฟต์แวร์ของโซโฟสสามารถทำการปกป้องได้

เทริโอ กล่าวเสริม “หากจะว่าไปแล้ว ผู้เขียนไวรัสไม่ปล่อยช่วงเวลาเทศกาลผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์เลย เห็นได้จากตัวเลขของการรายงาน ของห้องวิจัยในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมาซึ่งแสดงให้เห็นถึงจำนวนไวรัสใหม่มีมากกว่า 700 ตัว”

รายงานสิบดันดับไวรัสหลอกที่โซโฟสพบในเดือนธันวาคม

1. Hotmail hoax 21.7%
2. Meninas da Playboy 15.2%
3. A virtual card for you 5.9%
4. Bonsai kitten 5.3%
5. Press 9 5.2%
6. Budweiser frogs screensaver 4.9%
7. JDBGMGR 4.0%
8. Elf Bowling 3.4%
9. Bill Gates fortune 3.2%
10.Frog in a blender/Fish in a bowl 3.0%
อื่นๆ 28.2%

เทริโอ กล่าวว่า “ไวรัสหลอกประจำเทศกาล “Elf Bowling” กลับเข้าสู่ ชาร์ตอีกครั้งเดือนธันวาคม ทันเวลาพอดีกับเทศกาลคริสต์มาส ไวรัสหลอกดังกล่าวอ้างเป็นเกมโบว์ลิ่งที่ใช้ตัวเอล์ฟเป็นพินโบว์ลิ่ง โดยไวรัสดังกล่าวจะเริ่มแผลงฤทธิ์ในวันคริสต์มาส”

โซโฟสได้จัดเตรียมบริการอินฟอร์เมชั่น ฟีด ซึ่งเว็บไซต์ขององค์กรสามารถใช้บริการนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอกล่าสุด รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาดูได้ที่ www.sophos.com/virusinfo/infofeed/

ตารางกราฟฟิคของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ติดอันดับท้อปเท็น สามารถหาดูได้ที่:
www.sophos.com/pressoffice/imgallery/topten

ข้อมูลเกี่ยวกับการปกป้อง และใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย รวมถึงการป้องกันไวรัสหลอก สามารถหาดูได้ที่
: www.sophos.com/safecomputing/

หมายเหตุ: โปรแกรมป้องกันไวรัส ฟรีสำหรับ นักข่าว สามารถหาดูรายละเอียดได้ที่ http://www.sophos.com/pressprotection

ข้อมูลเกี่ยวกับ Sophos:

โซโฟส เป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้-ไวรัส และแอนตี้สแปมระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศอังกฤษ โปรแกรมต่างๆ ของโซโฟส ได้ทำการปกป้องธุรกิจและองค์กรมากมายให้พ้นจากไวรัส และสแปม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กๆ จนถึงระดับรัฐบาล และองค์กรที่มีเครือข่ายระดับโลก โซโฟส ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมถึงความสามารถสนองความต้องการของลูกค้า และปกป้ององค์กรของลูกค้าให้พ้นจากการคุกคามของไวรัสคอมพิวเตอร์ได้อย่างดีเยี่ยม โดยผลิตภัณฑ์แอนตี้-ไวรัส ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึงการให้คำปรึกษาด้านเทคนิคแก่ลูกค้า ในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก

ผู้สนใจสามารถหาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซโฟส และสินค้าต่าง ๆ ได้ที่ http://www.sophos.com

]]>
15306
ฮัทช์ ปล่อยโปรโมชั่นเดือนธันวาคมมัดใจผู้ใช้ ฮัทช์ 3 ทั้ง 3 กลุ่ม ฮัทช์เซย์ ฮัทช์เพลย์ และ ฮัทช์เรียล https://positioningmag.com/15214 Mon, 08 Dec 2003 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=15214

กรุงเทพฯ – บริษัทฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ผู้ให้บริการทางการตลาดมัลติมีเดียไร้สายความเร็วสูง CDMA 2000 1X ภายใต้แบรนด์ “ฮัทช์” ขอแนะนำโปรโมชั่นแคมเปญสำหรับเดือนธันวาคม ที่จะโดนใจคุณด้วยโปรโมชั่น “ซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง” สำหรับโนเกีย 3105 ในระบบ CDMA 2000 1X รุ่นใหม่ล่าสุดที่เพิ่งแนะนำสู่ท้องตลาดเมื่อเร็วๆ นี้ และโปรโมชั่นที่คุ้มค่าสำหรับ โนเกีย 2280 รวมทั้งแพ็คเกจใหม่ล่าสุดให้เลือกถึง 4 รายการสำหรับผู้ใช้ ฮัทช์เรียว และ ฮัทช์เพลย์

มร. สตีเฟ่น ซัน กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เปิดเผยว่า “เมื่อเร็วๆ นี้ เราได้เป็นพันธมิตรกับทางโนเกีย ประเทศไทย ในการแนะนำสินค้าของโนเกีย 2 รุ่นแรกในระบบ CDMA 2000 1X ด้วยฮัทช์เซย์ของเรา สอดคล้องกับนโยบายของฮัทช์ที่ต้องการนำเสนอทางเลือกที่หลากหลายเพื่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า ในวันนี้เราได้จัด โปรโมชั่นซื้อหนึ่งแถมหนึ่งสำหรับโนเกีย 3105 รุ่นจอสีและให้ลูกค้าได้เลือกซื้อโนเกีย 2280 ในราคาที่คุ้มค่ามากที่สุด เพราะเรามุ่งมั่นมอบข้อเสนอที่ดีที่สุดตลอดจนเทอร์มินอลคุณภาพสูงดีที่ได้รับการยอบรับจากผู้ใช้ทั่วโลก

โนเกีย 3105 และ โนเกีย 2280 ราคาปกติ 7,900 บาท และ 4,950 บาท ตามลำดับ ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเลือกเป็นเจ้าของเทอร์มินอลรุ่นที่สนใจได้ในราคาสุดพิเศษโดยตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมจนถึงสิ้นเดือนนี้ ฮัทช์นำเสนอโนเกีย 3105 รุ่นจอสีด้วยโปรโมชั่นพิเศษ “ซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง” ส่วน โนเกีย 2280 รุ่นจอขาว-ดำ นั้นจะวางจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม ในราคาโปรโมชั่นเพียง 1,250 บาท โปรโมชั่นนี้มาพร้อมกับ 3 แพ็คเกจให้เลือกโดยเริ่มตั้งแต่ Say 650 Plus หรือจ่ายรายเดือน 650 บาท ต่อเดือน พร้อมจดทะเบียนการใช้เป็นระยะเวลา 18 เดือน เป็นอย่างน้อย ส่วน Say 950 Plus มีระยะเวลาในการจดทะเบียนการใช้ขั้นต่ำ 12 เดือน

“สำหรับท่านที่สนใจจะใช้ ฮัทช์เรียล ซึ่งมีเทอร์มินอลยี่ห้อ ซันโย SCP-550 และ ซัมซุง SCH-A564 และเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า เราจึงเปิดโอกาสให้ทุกท่านได้สนุกกับการใช้ ฮัทช์ มากยิ่งขึ้น โดยขอมอบแพ็คเกจ 4 ทางเลือก คือ Real 780, Real 1080, Real 1480 และ Real 1880 ” มร. ซัน กล่าวเสริม

ฮัทช์เรียลโปรโมชั่นแคมเปญ ซึ่งมี 4 ทางเลือกคือ Real 780, Real 1080, Real 1480, และ Real 1880 โดยแต่ละแพ็คเกจจะได้รับโทรฟรีข้ามเครือข่าย และ โทรฟรีภายในเครือข่าย บริการโทรออกด้วยเสียง การรับส่งSMS Photo mail และการรับ-ส่ง อีเมล์ นอกจากนี้ ผู้ซื้อสามารถสนุกกับบริการในการอ่านอีเมล์และหน้า ข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าว, ดิกชันเนอรี่, คำทำนาย, เรื่องขำขัน, กีฬา, แฟชั่น, ภาพยนตร์, สถานที่ทานอาหาร, ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล และอื่นๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด โดยข้อเสนอดังกล่าวนี้ยังเพิ่มเวลาโทรฟรีขึ้นอีกถึง 500, 1,350, 2,000, และ 3,100 นาที ตามลำดับ, ฟรี SMS ถึง 30, 60, 90, และ 120 ครั้ง, และส่งภาพและอีเมล์ฟรีถึง 30, 60, 90 และ 120 ครั้ง.

ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ใช้ที่ลงทะเบียนกับ Real 1080 หรือโปรแกรมอื่นๆ จะได้รับเช็คของขวัญมูลค่า 2,000 บาท ฟรี สำหรับซื้อเทอร์มินอลยี่ห้อใดก็ได้ในกลุ่มของ ฮัทช์เรียล และ ฮัทช์เพลย์ หรืออุปกรณ์เสริม หรือแม้กระทั่งนำไปใช้ในการชำระค่าโทรศัพท์รายเดือน

ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับนักเรียนผู้มีอายุ 15-22 ปีที่ใช้ฮัทช์เรียล จะได้รับข้อเสนอพิเศษคือสามารถส่งภาพหรืออีเมล์ 100 ครั้งต่อเดือนฟรี และฟรีค่าใช้บริการ Hutch Caller Ring tone บริการเสียงระหว่างรอรับสายปลายทางรับสายแบบริงโทนเป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในเมืองไทย เป็นเวลา 3 เดือน

“นอกเหนือไปจากนี้ ฮัทช์ได้เตรียมแพ็คเกจใหม่ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ ฮัทช์เพลย์ ดาวน์โหลดบริการมัลติมีเดียได้สนุกสนานยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้สามารถเลือกซื้อเครื่อง Kyocera 3 รุ่นซึ่งมีแพ็คเกจให้เลือก 3 แพ็คเกจ Play 690, Play 990, และ Play 1290 ด้วยข้อเสนอใหม่นี้ ผู้ใช้ Play 690, Play 990, และ Play 1290 จะเพลิดเพลินไปกับการโทรฟรี ข้ามเครือข่าย เป็นเวลา 300 นาที, 600 นาที และ 900 นาที และโทรฟรีภายในเครือข่าย เป็นเวลา 150 นาที, 300 นาที และ 450 นาที ตลอดจนการดาวน์โหลดข้อมูลได้ไม่จำกัดจำนวน และยังสามารถส่ง SMS และข้อมูลอื่นๆ โดยคิดค่าบริการตามจำนวนการใช้งานจริง”

“เราเชื่อว่าเราได้มอบข้อเสนอที่คุ้มค่าที่สุดให้แก่ลูกค้าที่ครอบคลุมทั้งข้อมูล การติดต่อสื่อสาร และความบันเทิงสำหรับผู้ใช้ ขอเชิญชวนทุกท่านสัมผัสกับบริการอีกระดับไลฟ์สไตล์ที่เหนือกว่า ที่จะมาช่วยเติมเต็มชีวิตของท่านในโลกของการสื่อสารที่ผสมผสานในแบบมัลติมีเดียที่ล้ำสมัย” มร.ซันกล่าวสรุป

ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท

บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด โดยเป็นผู้ให้บริการทางการตลาดสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ ดิจิตอล ซีดีเอ็มเอ ภายใต้แบรนด์ “Hutch” ซึ่งเป็นการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทางเสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และบริการแอพพลิเคชั่นข้อมูลต่างๆ โดยมุ่งเน้นคุณภาพในการให้บริการเสริมและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์และความพึงพอใจสูงสุด

]]>
15214
ผู้ถือหุ้นแสนสิริอนุมัติแผนเพิ่มทุนจดทะเบียน 2,950 ล้านบาท พร้อมโชว์ผลประกอบการไตรมาส 3 กำไร 244 ล้านบาท https://positioningmag.com/15131 Mon, 17 Nov 2003 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=15131

ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นแสนสิริ อนุมัติแผนเพิ่มทุนจดทะเบียนใหม่เป็น 7,754,778,150 บาท ชี้เม็ดเงินใหม่จำนวน 2,950 ล้านบาท เพียงพอที่จะรองรับแผนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยใหม่อย่างครบวงจร ทั้งโครงการคอนโดมิเนียมและโครงการบ้านเดี่ยวคุณภาพ ล่าสุดประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3 โชว์ผลกำไรสุทธิ 244 ล้านบาท

นายเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2546 มีมติอนุมัติวาระสำคัญทั้งหมดเกี่ยวกับการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ โดยวิธีตัดหุ้นจดทะเบียนที่ยังมิได้นำออกจำหน่ายออก พร้อมด้วยการลดทุนโดยวิธีลดมูลค่าหุ้นแต่ละหุ้นของบริษัทให้ต่ำลงจากเดิมกำหนดไว้มูลค่าหุ้นละ 8.55 บาท คงเหลือเป็นมูลค่าหุ้นละ 5 บาท โดยนำเงินสดทุนส่วนนี้ไปลดส่วนลดมูลค่าหุ้น และเพื่อรองรับการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท จากเดิมทุนจดทะเบียนที่กำหนดไว้จำนวน 4,510,891,390 บาท เป็น 7,754,778,150 บาท โดยการออกหุ้นใหม่เป็นหุ้นสามัญ จำนวน 589,218,474 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท โดยเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในอัตราส่วนการจองซื้อเท่ากับ 3 หุ้นเดิมต่อ 2 หุ้นสามัญใหม่ ในราคาหุ้นละ 5 บาท

“การขอมติอนุมัติในการเพิ่มทุนจากคณะกรรมการของบริษัทในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทฯมีเม็ดเงินใหม่เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2,950 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเพิ่มฐานเงินกองทุนของบริษัทฯ ให้มีความแข็งแกร่งและสามารถรองรับแผนการขยายฐานการดำเนินธุรกิจที่จะมีขึ้นในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ที่จะขยายการลงทุนในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแบบครบวงจร ทั้งโครงการบ้านเดี่ยวคุณภาพ และโครงการคอนโดมิเนียม ทั้งนี้บริษัทฯวางแผนการขยายธุรกิจของบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมในอัตราส่วน 65 ต่อ 35 โดยพึ่งพาสัดส่วนการใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินให้ลดลง และหันมาใช้การบริหารเงินทุนภายในบริษัทมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมทางด้านฐานะการเงินให้เพียงพอ” นายเศรษฐา กล่าว

นอกจากนี้ที่ประชุมฯ ได้รับทราบเรื่องที่บริษํท ริชชี่ โฮลดิ่ง อัลลายแอนซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท จะจำหน่ายสินทรัพย์ อันได้แก่ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน อาคาร พร้อมสิ่งปลูกสร้งที่ติดตรึงของโรงแรมโซฟิเทล สีลม กรุงเทพฯ ให้กับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่สามารถจำหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมให้กับประชาชนทั่วไป (กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ประเภท 1) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการร่วมพิจารณาจัดตั้งกองทุนกับบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินและบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม หลังจากจัดตั้งกองทุนแล้วเสร็จจะเสนอจายหน่วยลงทุนให้กับสาธารณชนในลำดับต่อไป

“แสนสิริเห็นว่าการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทในครั้งนี้ สอดคล้องกับแผนการขยายงานของบริษัท เนื่องจากบริษัทมีแผนการดำเนินธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างชัดเจน เพราะการเพิ่มทุนครั้งใหม่นี้จะทำให้ฐานะเงินทุนจดทะเบียนจองบริษัทมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น รวมทั้งเพียงพอต่อการรองรับแผนการขยายฐานธุรกิจที่จะมีขึ้นในอนาคตได้อย่างมั่นคง ส่วนการเปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นเพื่อใช้สิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน (XR) คาดว่าเป็นช่วงเดือนมีนาคม 2547 ซึ่งจะมีการประกาศผ่านสื่อมวลชนและส่งจดหมายแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบในลำดับต่อไป” นายเศรษฐา กล่าว

ผลการดำเนินงานไตรมาส 3 กำไรสุทธิ 244 ล้านบาท

นายเศรษฐา กล่าวเสริมว่า บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย.) ถึงผลการดำเนินการของบริษัทฯ งวดไตรมาสที่ 3 จองปี 2546 ว่ามีผลกำไรสุทธิ 244 ล้านบาท หรือมีผลกำไรสุทธิ 0.28 บาทต่อหุ้น เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2545 มีผลกำไรสุทธิ 244 ล้านบาท หรือมระดับผลกำไร 0.01 บาท ต่อหุ้น ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทรับรู้รายได้จากโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายเพิ่มมากขึ้นกว่า 1,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน รวมทั่งการปรับตัวเพิ่มขึ้นของกำไรเบื้องต้นซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จึงเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อยประจำไตรมาสเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนเกินกว่าร้อยละ 20

“อัตราผลกำไรสุทธิที่สูงขึ้น เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริษัทฯ มีการทยอยเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆ มากมาย ทั้งโครงการบ้านจัดสรร ประเภทบ้านเดี่ยว ได้แก่ โครงการนาราสิริ สาทร-วงแหวน โครงการนาราสิริ พัฒนาการ เป็นต้น รวมถึงโครงการคอนโดมิเนียม ประกอบด้วย โครงการบ้านราชดำริ โครงการบ้านสิริฤดี โครงการบ้านสิริสาทร สวนพลู โครงการบ้านสิริสุขุมวิท 13 เป็นต้น ซึ่งบางโครงการมีการสร้างเสร็จและเริ่มโอนทรัพย์สินแล้ว ทำให้บริษัทสามารถรับรู้รายได้มากขึ้น ซึ่งคาดว่าในช่วงปลายปีนี้และปี 2547 บริษัทฯน่าจะมีแนวโน้มการเติบโตของผลกำไรสุทธิสูงขึ้นอย่างต่อเนี่องหลังจากที่โครงการบ้านเดี่ยวทยอยสร้างเสร็จและพร้อมโอนให้ลูกค้าได้มากขึ้น” นายเศรษฐา กล่าว

]]>
15131