Starwars – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 21 Dec 2022 13:27:16 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ส่องตลาด ‘ของเล่น’ ในยุคที่ ‘ผู้ใหญ่’ เป็นตัวหลักขับเคลื่อนตลาดให้เติบโต https://positioningmag.com/1413323 Wed, 21 Dec 2022 04:55:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413323 เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า เด็กหนวด หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Kidults (เกิดจากคำว่า kid บวกกับคำว่า adult) ที่เรียกผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นที่ยังซื้อ ของเล่นของสะสม ซึ่งภาพคนทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นของสำหรับเด็ก แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กหนวดนี่แหละเป็นกำลังหลักที่ทำให้ตลาดของเล่นยังเติบโต

เหล่า Kidults ซึ่งมักจะใช้จ่ายกับของเล่นมากขึ้นเนื่องจากพวกเขามีความชื่นชอบการ์ตูน ฮีโร่ และของสะสมที่ทำให้พวกเขานึกถึงวัยเด็ก พวกเขาซื้อสินค้า เช่น แอคชั่นฟิกเกอร์ ชุดเลโก้ และอื่น ๆ ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาผู้ผลิตของเล่นได้สร้างไลน์สินค้าสำหรับผู้บริโภคเหล่านี้โดยเฉพาะ เนื่องจากเห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ใหญ่ในยุคนี้

เมื่อผู้ใหญ่หันมาซื้อของเล่นกันมากขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ผลิตของเล่นมาก ๆ เพราะจากที่แค่ทำของเล่นมาขายเด็ก (ซึ่งคนซื้อก็คือผู้ปกครอง) กลายเป็นว่ากลับสามารถขายให้ผู้ใหญ่ถือเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้ออยู่แล้วได้อีกด้วย ดังนั้น ตลาดของเล่นจึงถูกขยายให้กว้างยิ่งขึ้น ทำให้เหล่า เด็กหนวดถือเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด

ตามข้อมูลจาก NPD Group พบว่า เด็กหนวดเหล่านี้คิดเป็นถึง 1 ใน 4 ของยอดขายของเล่นของสะสมในตลาดสหรัฐฯ หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3.1 แสนล้านบาท จากมูลค่าทั้งหมด 28,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลุ่ม Kidult ช่วยดันยอดขายของเล่นให้เติบโตถึง 37% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2020-2021)

“กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป มีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมของเล่นมาหลายปี แต่การใช้จ่ายได้เร่งตัวขึ้นหลังจากเกิดโรคระบาด ซึ่งนำไปสู่ผลกำไรที่สูงขึ้นของบริษัทผู้ผลิตของเล่น”

ย้อนไปในช่วงทศวรรษที่ 70 และ 80 ธุรกิจของเล่นเริ่มเปลี่ยนจากการผลิตคาแรกเตอร์ที่ออกแบบเองมาเป็นการผลิตสินค้าจากคาแรกเตอร์ของภาพยนตร์และการ์ตูน แต่ปัจจุบันเทรนด์ดังกล่าวกลับยิ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจากแฟรนไชส์ภาพยนตร์ชื่อดัง โดยเฉพาะเหล่าซูเปอร์ฮีโร่

ดังนั้น เด็กที่เติบโตมากับแฟรนไชส์ภาพยนตร์ดัง ๆ รวมถึงได้เห็นสินค้าลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ที่ในตอนนั้นอาจไม่มีโอกาสที่จะได้สัมผัส (พ่อ-แม่ไม่ได้ซื้อให้) ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจหากผู้ใหญ่ในวันนี้จะซื้อของเล่นเพื่อมาเติมเต็มความฝันในวัยเด็ก

“อย่างในปี 1977 ที่ภาพยนตร์เรื่อง Star Wars เปิดตัว จากนั้นเราจะเริ่มเห็นสินค้าลิขสิทธิ์มากขึ้น ซึ่งเราเฉลิมฉลองแฟนด้อมของเราด้วยของเล่นและของสะสม ซึ่งรวมถึงสินค้าที่ไม่ใช่ของเล่น เช่น ผ้าปูที่นอน ถ้วยชาม และเสื้อผ้า” James Zahn บรรณาธิการบริหารของ The Toy Book และบรรณาธิการอาวุโสของ The Toy Insider กล่าว

จึงไม่น่าแปลกใจหากผู้ผลิตของเล่น อาทิ Lego จะออกแบบสินค้าใหม่ ๆ ที่ล้อกับคอนเทนต์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็น Lego Star Wars หรือ Hasbro ก็ออกแอคชั่นฟิกเกอร์ Black Series ที่ผลิตคาแรกเตอร์จาก Star Wars ด้วยเช่นกัน ขณะที่ภาพยนตร์แฟรนไชส์ดัง ๆ ไม่ว่าจะเป็นซูเปอร์ฮีโร่จาก Marvel หรือ DC หลัง ๆ ก็ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเด็กเล็ก แต่จัดทำขึ้นสำหรับกลุ่มใหญ่ที่ยังอยากซื้อของเล่นของสะสม

Source

]]>
1413323
ยอดขาย ‘เลโก้’ ครึ่งปีแรกพุ่ง 17% ‘สตาร์วอร์ส-แฮร์รี่ พอตเตอร์’ 2 แฟรนไชส์ช่วยดัน https://positioningmag.com/1402237 Wed, 28 Sep 2022 11:58:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1402237 Lego (เลโก้) ถือเป็นหนึ่งในบริษัทของเล่นที่ได้รับ กำไรมหาศาล ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของ COVID-19 เนื่องจากผู้บริโภคทุกวัยมุ่งหาอะไรทำช่วงที่ต้องอยู่แต่บ้าน อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนโมเมนตั้มการเติบโตจะยังอยู่ เพราะแม้การระบาดจะดีขึ้นจนคนสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ แต่การเติบโตของ Lego ยังคงเติบโต

ยอดขายของ Lego ผู้ผลิตของเล่นสัญชาติเดนมาร์ก ยังคงเติบโตแม้การระบาดของ COVID-19 จะเริ่มคลี่คลายลง โดยได้แรงหนุนจากภาพยนตร์ยอดนิยมอย่าง Star Wars และ Harry Potter โดยรายได้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีเติบโตขึ้น 17% โดยแตะระดับ 3.5 พันล้านดอลลาร์

ผลประกอบการของ Lego ยังคงแข็งแกร่งของ Lego แม้จะมีปัญหามากมายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสงครามในยูเครน การปิดร้านและโรงงานในจีน อันเนื่องมาจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับต้นทุนวัตถุดิบ พลังงาน และค่าขนส่ง

นีลส์ คริสเตียนเซ่น ซีอีโอ กล่าวว่า กลุ่มลูกค้าของ Lego นั้นกว้างมากขึ้น เนื่องจากการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น นอกจากนี้ ความหลากหลายของสินค้าที่มากขึ้น ส่งผลให้ยอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Lego Star Wars และ Lego Harry Potter 2 แฟรนไชส์ภาพยนตร์ดังที่มียอดขายสูงสุด นอกจากนี้ Lego Technic และ Lego City ก็ยังได้รับการตอบรับที่ดี

“พอร์ตโฟลิโอปัจจุบันของ Lego มันกว้างมากสุดเท่าที่เคยมีมา ทั้งกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยประถม เด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย กลุ่มวัยรุ่น ไปจนถึงกลุ่มผู้ใหญ่ ทำให้พอร์ตโฟลิโอเราแข็งแกร่งมาก”

Lego มีกำไรสุทธิในช่วงครึ่งปีแรกประมาณ 802 ล้านดอลลาร์ ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ที่มีกำไรสุทธิประมาณ 812 ล้านดอลลาร์ ซึ่งปัจจัยหลัก ๆ มาจากการเปิดร้านในตลาดใหม่ ๆ โดยเฉพาะในประเทศจีน ในช่วงครึ่งปีแรก บริษัทเปิดร้านเพิ่ม 66 แห่งทั่วโลก

“เรากำลังลงทุนจำนวนมากในโรงงานของเราในประเทศจีนเช่นกัน ขณะนี้เรากำลังขยายกำลังการผลิตแม่พิมพ์ การบรรจุ และคลังสินค้า เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต”

Source

]]>
1402237
‘ดิสนีย์’ ประกาศอัดงบ 9 พันล้าน ปั้นคอนเทนต์ใหม่กว่า 100 เรื่อง โดย 80% จ่อลง ‘Disney+’ https://positioningmag.com/1310046 Fri, 11 Dec 2020 07:52:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1310046 เมื่อประมาณกลางปีที่ผ่านมา ‘ดิสนีย์ (Disney)’ ได้ประกาศถึงทิศทางบริษัทว่าจะเน้นไปที่บริการ ‘สตรีมมิ่ง’ หลังจากที่แทบจะเป็นกลุ่มเดียวที่เติบโตท่ามกลางผลกระทบจาก COVID-19 และล่าสุดภายในงานนำเสนอ Investor Day ดิสนีย์ได้เปิดตัวไลน์อัพคอนเทนต์ใหม่ ๆ กว่า 100 เรื่อง ทั้งภาพยนตร์ ซีรีส์และรายการต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับ แฟรนไชส์ เช่น Star Wars, Marvel, FX และ National Geographic

ในปี 2019 ดิสนีย์มีรายได้จากโรงภาพยนตร์ทั่วโลกราว 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยดิสนีย์มีภาพยนตร์ 7 เรื่องที่ทำรายได้ทะลุ 1 พันล้านเหรียญในปีนั้น แต่จากการระบาดของ COVID-19 ทำให้ภาพยนตร์หลายเรื่องของดิสนีย์ต้องเลื่อนฉายไปปีหน้า หรืออย่าง ‘มู่หลาน’ ก็ฉายพร้อมกับลงสตรีมมิ่ง ‘Disney+’ โดย Bob Chapek CEO ดิสนีย์ กล่าวย้ำว่า บริษัทจะเน้นที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง โดยประกาศเพิ่มการลงทุนในการผลิตคอนเทนต์และย้ำว่าจะทำกำไรได้ในปี 2024

สำหรับคอนเทนต์ใหม่ ๆ ที่จะสร้างส่วนใหญ่จะเป็นการสานต่อจักรวาลแฟรนไชส์สุดแกร่งอย่าง ‘Star Wars’ และ ‘Marvel’ โดยจะมีภาพยนตร์และซีรีส์รวมกันแฟรนไชส์ละประมาณ 10 เรื่อง/ปี นอกจากนี้จะมีภาพยนตร์ไลฟ์แอคชั่นของดิสนีย์อีก 15 เรื่อง แอนิเมชันดิสนีย์และซีรีส์ Pixar 15 เรื่อง

ปัจจุบัน Disney+ มีผู้ติดตาม 86.8 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 73 ล้านคนจากไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมา โดยในโลกของ Star Wars Disney + จะเพิ่มซีรีส์ใหม่สองเรื่องนอกจาก ‘The Mandalorian ซีซั่น 3’  ได้แก่ ‘The Rangers of the New Republic’ และ ‘Ahsoka’ นอกจากนี้ยังมีซีรีส์ชื่อ ‘Lando’

“กลยุทธ์ด้านเนื้อหาของ Disney นั้นเกี่ยวกับความสมดุลและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค จากโครงการประมาณ 100 โครงการที่ Disney วางแผนสร้างไว้ประมาณ 80% จะลงที่ Disney + โดยตรง”

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแผนการสร้างคอนเทนต์จำนวนมหาศาลนี้ บริษัทมีแผนจะใช้จ่ายระหว่าง 8-9 พันล้านดอลลาร์ในปี 2567 และดิสนีย์จำเป็นต้องเพิ่มผู้ใช้ให้ได้ 230-260 ล้านคนภายในปี 2024 นอกจากนี้ดิสนีย์มีแผนจะเพิ่มค่าบริการเป็น 7.99 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์

ในส่วนของบริการสตรีมมิ่งอื่น ๆ อย่าง ‘Hulu’ ปัจจุบันมีสมาชิก 38.8 ล้านคน ส่วน Hulu + Live TV มีสมาชิกที่จ่ายเงิน 4 ล้านคน ซึ่งบริษัทได้ขึ้นราคาของแพลตฟอร์มเป็น 65 ดอลลาร์ จาก 55 ดอลลาร์ โดยดิสนีย์คาดว่า Hulu จะมีสมาชิกระหว่าง 50-60 ล้านคนภายในปี 2024 โดยคาดการณ์ว่า Hulu จะทำกำไรได้ในปีงบประมาณ 2023 ส่วน ‘ESPN +’ ที่เป็นแพลตฟอร์มดูกีฬามีสมาชิก 11.5 ล้านคน โดยดิสนีย์กำลังจะก้าวเขาเข้าสู่การพนันกีฬาเพื่อพยายามเข้าถึงผู้ชมที่อายุน้อยกว่า

สำหรับภาพยนตร์ที่เลื่อนฉายจากปี 2020 ไปปี 2021 อย่าง ‘Black Widow’ และ ‘Jungle Cruise’ ยังคงวางแผนที่จะฉายให้ได้ตามกำหนด ส่วนแอนิเมชัน ‘Raya and the Last Dragon’ จะฉายโรงและลงสตรีมมิ่งพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ภาพยนตร์ทุกเรื่องจะฉายโรงและลงสตรีมมิ่งพร้อมกันหมด

Source

]]>
1310046
มองอนาคตต่อไปของ ‘ดิสนีย์’ หลัง ‘ทรัพย์สิน’ กลายเป็น ‘หนี้สิน’ เพราะ ‘COVID-19’ https://positioningmag.com/1277233 Thu, 07 May 2020 08:34:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277233 ดูเหมือนว่าไม่มีบริษัทสื่อใดที่จะได้รับผลกระทบจากมาตรการ social distancing มากไปกว่า ดิสนีย์ (Disney) อีกแล้ว เพราะสวนสนุกที่คับคั่งไปด้วยผู้คน โรงภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยแฟน ๆ Marvel, Star Wars และบรรดาเจ้าหญิงดิสนีย์ที่โด่งดัง โรงแรมที่คึกคัก เรือสำราญและร้านค้าปลีก แหล่งทำเงินทั้งหมดของดิสนีย์ที่กล่าวมาทั้งหมดต้องปิดลงเพราะผลกระทบจาก COVID-19

(photo: Disney World)

ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ดิสนีย์ได้สร้างอาณาจักรที่แผ่ขยายออกไปและกลายเป็นศูนย์กลางที่มีผู้คนจำนวนมากในพื้นที่ ขณะที่ปี 2019 ถือเป็นหนึ่งปีที่ดีที่สุดของดิสนีย์ ทั้งการประสบความสำเร็จของภาพยนตร์ ‘Avengers: Endgame’ การเปิดตัวโซน ‘Star Wars’ ใหม่ในสวนสนุก แต่จากการระบาดใหญ่ในปี 2020 ทำให้ดิสนีย์ต้องสะดุด ผู้บริหารระดับสูงอย่าง Bob Iger ประธานกรรมการ และ Bob Chapek CEO คนใหม่ กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจและสุขภาพ แต่ในขณะที่พวกเขาจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทันทีคำถามระยะยาวสะท้อนให้เห็นว่าสินทรัพย์ของดิสนีย์ ซึ่งตอนนี้กลายเป็นหนี้สินอย่างกะทันหันเนื่องจากไวรัสไปเสียแล้ว

อ่าน >>> สู้ไม่ไหว! Disney World เตรียม “พักงาน” พนักงาน 43,000 คน หลังต้องปิดยาวไม่มีกำหนด

เพราะโรคระบาดได้ส่งผลกับดิสนีย์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนสนุกและรีสอร์ตที่ปิดตัวไปทั่วโลก, ภาพยนตร์ที่สำคัญอย่าง ‘มู่หลาน’ และ ‘Black Widow’ ก็เลื่อนฉาย ขณะที่ช่องกีฬาอย่าง ‘ESPN’ หนึ่งในเครือข่ายสื่อที่ใหญ่ที่ดิสนีย์ถือหุ้นถึง 80% ก็กำลังดิ้นรนเพื่อเติมเต็มเวลาออกอากาศเนื่องจากกีฬาไม่สามารถแข่งขันได้ ขณะที่ดิสนีย์เองมีพนักงานหลายพันคน ส่งผลให้ Standard & Poors ไปปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัท ซึ่งทำให้หุ้นลดลง 27%

โดยผลประกอบการในไตรมาสสองของปี ดิสนีย์ทำรายได้ 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 21% แต่กำไรเลดลง -91% เนื่องจากต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึง 44% เมื่อแยกเป็นรายธุรกิจ จะเห็นว่ากำไรลดลงในหลายส่วน ได้แก่

  • ธุรกิจสวนสนุกและการขายสินค้ามีรายได้ลดลง -10% กำไรลดลง -58%
  • ธุรกิจเครือข่ายมีเดีย เช่น Disney Chanel, ESPN รายได้เติบโต 28% กำไรเติบโต 7%
  • ธุรกิจสตูดิโอภาพยนตร์เติบโต 18% กำไรลดลง -8%
  • ส่วนธุรกิจสตรีมมิ่งและเครือข่ายโทรทัศน์ในต่างประเทศ เช่น Disney +, ESPN+ เติบโต +260% แต่ขาดทุนจากต้นทุนการทำงาน 111%

“สิ่งที่ทุกคนกังวลคือเราไม่รู้ว่าเมื่อไรจะกลับมาเป็นปกติ เรายังไม่รู้ด้วยว่าพฤติกรรมจะเปลี่ยนไปในอนาคตหรือไม่ คนจะลังเลที่จะไปสวนสาธารณะหรือไม่ ผู้คนจะต้องการนั่งในโรงภาพยนตร์ถัดจากคนแปลกหน้าเพราะกลัวว่าจะติดไวรัสหรือไม่? นั่นคือสิ่งที่ตลาดโต้เถียง และด้วยธุรกิจที่ไม่สามารถดำเนินงานได้ ดิสนีย์กำลังจะพังทลายลงในปี 2563 จากกระแสเงินสดและผลกำไรที่หายไป” Michael Nathanson นักวิเคราะห์สื่อและหุ้นส่วนผู้ก่อตั้งที่ MoffettNathanson กล่าว

(Photo by Carl Court/Getty Images)

ในขณะที่ปี 2020 ดูเหมือนว่าจะเป็นหายนะสำหรับดิสนีย์ แต่ยังพอมี แสงสว่าง เพราะอย่างไรก็ตาม ดิสนีย์ยังคงเป็นดิสนีย์ ยังเป็นแบรนด์ที่เป็นที่รักและมีแฟรนไชส์มากมายที่คู่แข่งหลายรายในอุตสาหกรรมยังต้องอิจฉา Matthew Ball อดีตผู้บริหารสตูดิโอ Amazon (AMZN) กล่าวว่า “บริษัทส่วนใหญ่ไม่มีทรัพย์สินทางปัญญา แต่ไม่ใช่ดิสนีย์ อีกทั้งดิสนีย์มักค้นหาวิธีสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในรูปแบบใหม่และผ่านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ทำให้ไม่มีใครเบื่อดิสนีย์ และก่อนหน้า COVID-19 ดิสนีย์ก็เป็นที่รักของผู้คน”

Suzanne Scott ผู้ช่วยศาสตราจารย์ของ Moody College of Communication แห่ง University of Texas ได้กล่าวว่า “แฟนของ Disney มีความภักดีต่อแบรนด์อย่างไม่น่าเชื่อ และวิกฤตินี้ไม่มีทางที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรไป ผู้คนจะอยากสัมผัสกับกิจกรรมและประสบการณ์เมื่อปลอดภัยที่จะรวมตัวกันอีกครั้ง”

คอนเทนต์อันหลากหลายของ Disney

ด้าน Robert Niles บรรณาธิการของ ThemeParkInsider.com เชื่อว่าสวนสนุกและรีสอร์ตของดิสนีย์จะต้องเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในแง่ของการเปิดใหม่ เพราะจากนี้ดิสนีย์ต้องวาง Position ตัวเองใหม่ ไม่ใช่แค่บริษัทบันเทิงหรือจุดหมายปลายทางสำหรับวันหยุด แต่ต้องเป็น แบรนด์ไลฟ์สไตล์ ซึ่งอาจใช้เวลาหลายปีและงบหลายพันล้านเพื่อไปให้ถึงจุดนั้น

“แฟน ๆ ของดิสนีย์หลายล้านคนกำลังนั่งอยู่ที่บ้านในขณะนี้ดู Disney + สวมใส่เสื้อผ้าแบรนด์ดิสนีย์ อ่านหนังสือของดิสนีย์ และฟังเพลงของดิสนีย์ แม้ว่าผู้คนจะต้องอยู่ห่างจากโรงละครและสวนสนุก แต่พวกเขาก็ไม่เคยห่างจากดิสนีย์ “

นอกจากนี้ ช่องทางวิดีโอสตรีมมิ่งอย่าง Disney+ ยังคงเติบโต โดยในเวลาเพียง 5 เดือนบริการ กลับมีสมาชิกที่ชำระเงินแล้วถึง 50 ล้านรายทั่วโลก จากที่เคยคาดว่าต้องใช้เวลาถึง 4 ปี แม้แต่ Reed Hastings ซีอีโอของ Netflix ก็กล่าวชื่นชมการเปิดตัว Disney +

Trip Miller นักลงทุนและหุ้นส่วนผู้จัดการของ Disney ที่ Hedge Fund พันธมิตร Gullane Capital เชื่อว่า Disney + มีความสำคัญต่อบริษัทในตอนนี้ และนั่นไม่ใช่เพียงเพราะเป็นอนาคตใหม่ของดิสนีย์ แต่เชื่อว่าแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งช่วยให้บริษัทอยู่ในความคิดและห้องนั่งเล่นของผู้บริโภค

“COVID-19 กระทบเกือบทุกองค์ประกอบของดิสนีย์ ยกเว้นเพียงอย่างเดียวคือบริการสตรีมมิ่งของ Hulu และ Disney + แต่ทั้ง 2 ส่วนยังไม่สามารถทำกำไรได้”

ด้วยคุณสมบัติด้านสินทรัพย์ทางปัญญาและความภักดีของผู้บริโภค น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดิสนีย์สามารถฟื้นตัวได้ แต่ไม่มีใครรู้ว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ในการกู้คืนความเสียหายทางการเงิน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ตอนนี้ดิสนีย์กำลังมุ่งหน้าไปสู่อนาคตที่ไม่รู้จัก ซึ่งเวทย์มนต์ของดิสนีย์ที่มีคงยังไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ในขณะนี้

Source

]]>
1277233
สปิริตสูง! Sprinkle ร่อนจดหมายขอโทษ เหตุ “สีฝา” ไม่ตรงปกโฆษณา https://positioningmag.com/1251980 Fri, 01 Nov 2019 15:14:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1251980 ไม่ต้องรอให้เกิดดราม่า น้ำดื่ม Sprinkle ได้ออกจดหมายชี้แจงในเฟซบุ๊ก หลังจากล็อตผลิตขวดน้ำรุ่นใหม่ดันทำสีไม่ตรงกับภาพโฆษณา กลายเป็นแรร์ไอเท็มขึ้นมาทันที

การทำการตลาดบนโลกออนไลน์ทุกวันนี้ย่อมมีทั้งด้านบวกและด้านลบ หากเป็นกระแสที่ดีขึ้นมา ย่อมมีคนชมเชย และมีภาพลักษณ์ที่ดี แต่ถ้าหากแบรนด์เกิดพลาดขึ้นมา รับรองว่ามีแต่กระแสต่อต้านแน่นอน

เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาสำหรับออนไลน์มาร์เก็ตติ้งเช่นกัน เมื่อแบรนด์น้ำดื่ม Sprinkle ได้ออก Starwars Collection ที่ได้นำตัวละครต่างๆ ในมหากาพย์ภาพยนตร์เรื่อง Starwars มาดีไซน์อยู่บนขวดน้ำ พร้อมกับสีสันใหม่ๆ ทั้งสีขาว ดำ เขียว แดง ซึ่งมีการปล่อยสัปดาห์ละ 1 แบบ เพื่อให้สาวกได้ตามเก็บสะสมกัน

แต่แล้วก็มาถึงแบบล่าสุด เป็นคิวของตัวละคร R2-D2 ที่ตัวขวดจะเป็นสีขาว แล้วมีฝาสีน้ำเงิน ที่ทาง Sprinkle ได้วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562

ดูเหมือนว่าจะไม่มีเรื่องราวอะไร แต่ปรากฏว่าทาง Sprinkle ได้ออกจดหมายชี้แจงในเฟซบุ๊ก เป็นการขอโทษผู้บริโภคเนื่องจากขวดน้ำรุ่นล่าสุดมีการผลิต “สีฝา” ไม่ตรงกับภาพที่ลงโฆษณาเอาไว้ พร้อมกับลงภาพเปรียบเทียบขวดที่ผลิตวางจำหน่าย กับขวดที่เป็นภาพโฆษณา พบว่าขวดที่ลงโฆษณาจะมีสีน้ำเงินที่เข้มกว่าเล็กน้อย

พร้อมกับทิ้งท้ายว่าจะเรียกเก็บคืนจากร้านค้า และทำการผลิตล็อตใหม่โดยเร็วที่สุด

หลังจากที่ทาง Sprinkle ได้ออกจดหมายฉบับนี้ ผลตอบรับของผู้บริโภคก็ต่างแสดงว่าคิดเห็นว่า จริงๆ ไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง และไม่ได้มองว่าเรื่องเสียหายอะไร ซึ่งบางคนก็มองว่าสีฝาที่ผิดเพี้ยนเป็นแรร์ไอเท็มที่ต้องตามเก็บกันเลยทีเดียว

เรียกว่าเป็นการวางแผนการรับมือจากผู้บริโภคอย่างครอบคลุม แม้จะไม่มีผู้บริโภคที่ท้วงติงต่อสีที่ผิดเพี้ยนครั้งนี้ หรือไม่มีดราม่าใดๆ แต่ก็แสดงให้เห็นว่าแบรนด์มีความจริงใจในการผลิตสินค้าเพื่อให้ตรงกับที่โฆษณาเอาไว้

Sprinkle เป็นอีกแบรนด์น้ำดื่มที่เดินเกมเรื่องแพ็กเกจจิ้งอย่างจริงจัง โดยที่ได้ดีไซน์ขวดที่มีลักษณะเหมือนเพชรมานานแล้ว และในช่วงหลังได้เพิ่มดีกรีด้วยการเพิ่มสีต่างๆ อย่างสีดำ สีขาว สีเขียว สีแดง สีส้ม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคสะสม

สำหรับ Starwars Collection ก็เพิ่งวางจำหน่ายแบบแรกในวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา สามารถดึงดูดสาวกของ Starwars ให้ตามล่าอยู่พอสมควร อีกทั้งยังช่วยทำให้แบรนด์ดูทันสมัยมากขึ้นด้วย

]]>
1251980