TICON – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 07 Mar 2018 03:24:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไทคอน งัดกรุที่ดิน “เจ้าสัวเจริญ” หมื่นไร่ เกาะทำเล EEC ผุดโรงงาน-คลังสินค้าแตะ 3.5 ล้าน ตร.ม. รับอีคอมเมิร์ซโต https://positioningmag.com/1160213 Tue, 06 Mar 2018 11:37:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1160213 ประเมินกรุที่ดินเจ้าพ่อน้ำเมาเจริญ สิริวัฒนภักดีแห่งกลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น (ทีซีซี กรุ๊ป) ที่มีทั่วประเทศกว่า 6 แสนไร่ ถูกทยอยให้บริษัทในเครือทั้งอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก นำไปพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ต่อเนื่อง

ล่าสุดเป็นคิวของบริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน)” ซึ่งเจ้าสัวไปเทกโอเวอร์มาได้เพียงปีเศษ เดิน เกมรุก ก่อสร้างโรงงานและคลังสินค้าต่อเนื่อง

เกมรุกในปี 2561 ทีซีซีจะนำโฉนดที่ดินในทำเลทองระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 3 จังหวัด ทั้งชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทราเฉียด หมื่นไร่มาลุยโปรเจกต์ใหม่ ๆ

การพัฒนาที่ดินของทีซีซีนับเป็นการซีนเนอร์ยีและต่อยอดให้ไทคอนไปสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจบริการเช่าโรงงานและคลังสินค้าที่แข็งแรงกว่าเดิม

ปัจจุบันไทคอนมีพื้นที่ในภาคตะวันออกประมาณ 3,500 ไร่ พัฒนาเป็นโรงงานและคลังสินค้าไปแล้ว 800 อาคารในจำนวนนี้ มี 500 อาคาร หรือคิดเป็น 60% กินพื้นที่ EEC และบริษัทยังเหลืออีก 1,500 ไร่ พร้อมพัฒนารองรับลูกค้าใหม่ ๆ ที่มีความต้องการโรงงานและคลังสินค้าเพิ่ม โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจยานยนต์ อีคอมเมิร์ซ อาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นตลาดที่ดีมานด์โตวันโตคืน

โสภณ ราชรักษา

การขยายแลนด์แบงก์เพิ่มถือเป็นหัวใจของการพัฒนาอสังหาฯ ประเภทโรงงาน คลังสินค้า เราจึงต้องใช้กลยุทธ์การซีนเนอร์ยีกับเครือทีซีซี สำรวจแลนด์แบงก์ของกลุ่มที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมมาพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ทำเล EEC แต่พื้นที่อื่นทั้งภาคเหนือ อีสาน ภาคใต้ ก็ต้องมองหาที่ดินเพิ่ม เพราะเป็นพื้นที่นำมาต่อยอดธุรกิจโลจิสติกส์ได้ โสภณ ราชรักษา ผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น กล่าว

++ 3 ปี เท 10,000 ล้าน เพิ่มพื้นที่โรงงานคลังสินค้าแตะ 3.5 ล้าน ตร..

ที่ดินพร้อมสเต็ปถัดไปกางแผน 3 ปี (2561-2563) ทุ่มงบลงทุน 10,000 ล้านบาท ลุยสร้างโรงงานและคลังสินค้าเพิ่มอีก 800,000 ตร.. เพื่อให้มีพื้นที่รวม 3.5 ล้าน ตร.. จากปัจจุบันมีกว่า 2.7 ล้าน ตร.. โดยโรงงานและคลังสินค้าใหม่จะรองรับลูกค้าไทยและต่างชาติในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ อาหาร ค้าปลีก และสินค้าอุปโภคบริโภค

รวมถึงดีมานด์ของบริษัทในเครือมีตุนไว้แล้วขั้นต่ำกว่า 100,000 ตร.. จากปัจจุบันบริษัทในเครือเป็นลูกค้าของไทคอนมีทั้ง ไทยเบฟเวอเรจ, บิ๊กซี, บีเจซี เป็นต้น ส่วนปี 2560 บริษัทได้ลูกค้ารายใหญ่ 4 รายได้แก่ยูนิลีเวอร์ อายิโนะโมะโต๊ะ ยามาฮ่า และหัวเว่ย มาเช่าคลังสินค้าเพิ่ม

พอร์ตโฟลิโอลูกค้าของไทคอน

นอกจากในไทยแล้วไทยคอนยังมองโอกาสเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม หรือ CLMV

เพื่อให้เป็นตามการ ซีนเนอร์ยีให้กับกลุ่มทีซีซีด้วย อย่างล่าสุดไทยเบฟ เข้าไปซื้อหุ้นบริษัท ไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์เปอเรชั่น หรือ ซาเบโก (Sabeco) 1.56 แสนล้านบาท ก่อนหน้านี้ บีเจซี ซื้อกิจการห้างประเภทค้าขายเงินสด (แคชแอนด์แครี่เมโทรเวียดนาม และเปลี่ยนเป็นเอ็มเอ็ม เมก้า มาร์เก็ตจึงต้องเข้าไปรองรับการเติบโตด้วย

วีรพันธ์ พูลเกษ

เราสนใจประเทศที่มีประชากรเยอะ ๆ เช่น เวียดนาม และเมียนมา จะเป็นประเทศแรก ๆ ที่เราจะเข้าไปลงทุนใน 3 ปีนี้ วีรพันธ์ พูลเกษ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด กล่าว 

ที่ผ่านมาบริษัทได้ผนึกพันธมิตรอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในอินโดนีเซียเพื่อพัฒนาโรงานและคลังสินค้าเป็นประเทศแรก

Roadmap ไทคอนลุยโรงงานและคลังสินค้าในอาเซียน

++ ชูกลยุทธ์ Co-Creation รับเทรนด์อีคอมเมิร์ซ

ปีนี้บริษัทจะใช้กลยุทธ์ Co-Creation เปิดทางให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงงานและคลังสินค้ามากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการให้ลงลึกยิ่งขึ้น 

หลังพบเทรนด์ที่ลูกค้าอยากได้มี 2 เรื่อง คือ1.เพิ่มประสิทธิภาพ (Optimize) คลังสินค้า จากเดิมอาคารเล็ก ๆ ขายสินค้าตามคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) ก็มองหาอาคารใหญ่มากขึ้น ใช้ประโยชน์จากคลังให้มากสุดเพื่อลดต้นทุนในการจัดการ

2.รวมศูนย์กลางคลังและการกระจายสินค้า (Consolidation) เดิมลูกค้าจะสร้างระบบโลจิสติกส์ เช่น คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า กระจัดกระจายทั่ว แต่ตอนนี้เทรนด์คือรวมกันไว้จุดเดียวมากขึ้น เพื่อให้รับส่งสินค้าได้คราวเดียว และคลังสินค้าที่อยากได้ ก็ปรับเปลี่ยนให้รถกระบะ รถจักรยานยนต์เข้ามารับสินค้าได้ จากเดิมทางเข้าออกรองรับรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์อย่างเดียวเท่านั้น เต็มที่คือรถ 10 ล้อ 6 ล้อที่เข้าไปได้

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ค้าขายสินค้าในห้างค้าปลีกและออนไลน์ ต้องการรวมคลังสินค้าไว้ที่เดียวกัน และออกแบบพื้นที่ให้รถเล็กเข้าไปรับสินค้าได้ เพื่อนำไปกระจายต่อยังผู้บริโภครายย่อยโดยตรง (Last mile delivery)ให้ได้ เราจึงต้องทำ Co-Creation ร่วมกัน

กลยุทธ์ดังกล่าวทำให้บริษัทโฟกัสการสร้างคลังสินค้าตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย หรือ Built-to-Suit มากขึ้นด้วย จากเดิมจะเป็นการสร้างโรงงานและคลังสินค้าแบบพร้อมใช้ (Ready-to-Built) และตามทำเลที่ลูกค้าต้องการ (Custom-Built Warehouse)

ในปีนี้ บริษัทยังมีโครงการที่จะจับมือกับพันธมิตรระดับสากล เปิดตัวธุรกิจใหม่ สร้างการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซ และอุตสาหกรรมในกลุ่ม New S-Curve เพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้ใน 3 ปีข้างหน้าเป็น 10% ด้วย

และยังเตรียมนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Internet of Things (IoT) มาใช้ในการพัฒนาคลังสินค้าเพื่อให้แต่ละอาคารรู้ออเดอร์ การรับส่งสินค้าแบบ Realtime

จากแผนดังกล่าว บริษัทตั้งเป้ามีรายได้แตะ 5,000 ล้านบาท ในปี 2563 เติบโตปีละ 15% ต่อเนื่อง จากปี 2560 มีรายได้ 2,086 ล้านบาท เติบโต 11% และมีกำไรสุทธิ 482 ล้านบาท เติบโต 73%.

]]>
1160213
เปิดพอร์ตบิ๊กโลจิสติกส์ WHA VS TICON ใคร “ใหญ่” กว่ากัน https://positioningmag.com/1156786 Tue, 13 Feb 2018 23:15:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1156786 การสูญเสีย “สมยศ อนันตประยูร” ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA กลายเป็นข่าวช็อกแวดวงอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไม่น้อย เพราะเขาเป็นคีย์แมนคนสำคัญที่ก่อตั้งธุรกิจให้บริการด้าน “โลจิสติกส์แบบครบวงจร” ตั้งแต่การพัฒนาและบริการอสังหาริมทรัพย์ (Logistics Hub), พัฒนานิคมอุตสาหกรรม มีโรงงานให้เช่า, ให้บริการด้านสาธารณูปโภคและพลังงาน และให้บริการดิจิทัล (Digital Platform Hub) ครบด้วยศูนย์ข้อมูล คลาวด์โซลูชั่น   

WHA มีการเติบโตอย่างรวดเร็วมาก เพราะดำเนินธุรกิจเพียง 10 ปีเศษ สร้างมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) ทะลุ 6 หมื่นล้านบาท มีโรงงาน คลังสินค้า กระจายอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ทางการค้าจำนวนมาก เช่น บางนา-ตราด ลาดกระบัง พระราม 2 อยุธยา ลำพูน ขอนแก่น เป็นต้น

จุดแข็งที่ทำให้ WHA โตพรุ่งปรี๊ด เพราะเข้ามาในจังหวะที่ “ใช่” ยุคที่ภาคธุรกิจในประเทศไทยกำลังยกระดับและให้ความสำคัญกับโลจิสติกส์อย่างมาก เพราะถือเป็นหัวใจสำคัญในการกระจายสินค้าเข้าถึง (Reach) กลุ่มเป้าหมาย และการมีคลังสินค้าอยู่ใกล้ตลาดเป้าหมาย อยู่ในเส้นทางที่ขนส่งสะดวก ก็ทำให้การค้าขายสินค้ามีชัยไปกว่าครึ่ง

อีกทั้งความร้อนแรงของการค้าขายออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ มีสารพัดทุนตบเท้ามาชิงขุมทรัพย์ในประเทศไทย ทั้ง Shopee สิงคโปร์, เจดี ดอทคอม, อาลีบาบา และลาซาด้าของจีน เข้ามา ทำให้ต้องมีคลังสินค้าเพื่อบริหารจัดเก็บและกระจายสินค้า

ที่ผ่านมาจึงเห็น “เซ็นทรัล-เจดี ดอทคอม” เข้าไปเป็นลูกค้าใหม่ WHA เช่าพื้นที่ขนาด 6,848 ตารางเมตร (ตร.ม.) ที่ ดับบลิวเอชเอ เมกะ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ ชลหารพิจิตร บนถนนบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 19 สามารถเข้าถึงได้ทั้งจากถนนบางนา-ตราด เทพารักษ์ และสุขุมวิทสายเก่า ใกล้ใจกลางกรุงเทพฯ รวมถึงสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ นับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สำหรับอุตสาหกรรมอี-คอมเมิร์ซ และค้าปลีก โดยลูกค้าดังกล่าวเป็นการขยายฐานเพิ่มจากลูกค้ากลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคอีกด้วย

แต่สิ่งที่ทำให้ WHA ปัง! เป็นที่ถูกอกถูกใจของลูกค้า คือบริการให้เช่าคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า และโรงงานคุณภาพ ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละราย (Built-to-Suit) เพราะต้องยอมรับว่าแต่ละบริษัทมีสินค้าที่แตกต่างกันไป จะให้ยกคลังสินค้าเหมือนๆ กันไปใช้กับทุกรายคงไม่ตอบโจทย์นัก ทำให้ตาม Need ลูกค้าแล้ว ถ้ารายไหนต้องการโครงสร้างแบบสำเร็จรูป (Ready-to-Built) ก็มีให้เช่นกัน

ยุคนี้ดิจิทัลมีบทบาทต่อธุรกิจอย่างมาก การจัดเก็บข้อมูลเป็น Big Data ให้ลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ และบริษัทไม่พลาดที่จะมีบริการ Data Center ให้ทันยุคทันสมัย

แม้ชื่อของ WHA จะอยู่แถวหน้าของธุรกิจคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า แต่อีกรายที่ “ใหญ่” และเป็น “คู่แข่ง” โดยตรงในตลาดนี้หนีไม่พ้น “บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TICON ของ “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี”

ไทคอนทำหน้าที่พัฒนาโรงงาน ส่วนบริษัทลูกอย่างไทคอน โลจิสติคส์ พาร์ค (TPARK) พัฒนาคลังสินค้าให้เช่าบนทำเลยุทธศาสตร์หลายแห่ง เช่น แหลมฉบัง อีสเทิร์นซีบอร์ด ขอนแก่น อยุธยา เป็นต้น มีลูกค้าในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค โมเดิร์นเทรด อีคอมเมิร์ซ จากทั้งในเครือและนอกเครือ เช่น บิ๊กซี  ลอรีอัล เนสท์เล่ ฯลฯ

สิ่งที่ทำให้ TPARK กวาดลูกค้าบิ๊กๆ ได้ไม่ใช่แค่จุดแข็งของทำเลที่ตั้งคลังสินค้า แต่เพราะการพัฒนาคลังตามแบบ (Ready-to-Built) และทำเลที่ลูกค้าต้องการ (Custom-Built Warehouse) จริงๆ แต่เมื่อไหร่ที่ลูกค้าไม่ไปต่อก็จะซื้อคลังสินค้าจากลูกค้าเพื่อให้เช่ากลับคืนด้วย (Sale and Leaseback)

แต้มต่อของ TPARK ใต้เงาเสี่ยเจริญ และเฟรเซอร์ มีมากขึ้น เมื่อ “ทายาทสิริวัฒนภักดี” ลงมาดูการออกแบบคลังสินค้าเองละเอียดยิบถึงขั้น รถถอยเข้าไปรับสินค้าองศาไหนเหมาะสุด ส่วนทีมผู้บริหารก็ไปศึกษาดูงานของเฟรเซอร์ ออสเตรเลีย เพื่อนำองค์ความรู้ใหม่ๆ มาต่อยอดธุรกิจ เช่น การเก็บข้อมูลของลูกค้าไว้ ว่ารายไหนเช่าคลังเมื่อไหร่ เลิกเช่าเมื่อไหร่ และหนีไปซบคู่แข่งที่ไหน เพื่อไปตามกลับมาได้ถูกจังหวะ   

จากข้อมูลของ ไนท์ แฟรงก์ ระบุว่าปี 2559 ความต้องการ (ดีมานด์) คลังสินค้ามีมากกว่า 3.1 ล้าน ตารางเมตร (ตร.ม.) เติบโต 9.5% และมีพื้นที่คลังสินค้า (ซัพพลาย) กว่า 3.9 ล้านตร.ม. เติบโต 8.1%

ขณะที่ข้อมูลกสิกรไทยระบุว่า ภาพรวมธุรกิจคลังสินค้าในปี 2560 มีมูลค่าราว 71,400-73,000 ล้านบาท และยังคงเติบโต 5.3-7.6% จากปี 2559.

]]>
1156786