TNN – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 22 Aug 2019 03:35:22 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 TNN เข็นผังใหม่ลงจอหวังเบอร์ 1 ช่องข่าวเศรษฐกิจ ดึง JKN-CNBC เสริมทัพ https://positioningmag.com/1243334 Wed, 21 Aug 2019 12:20:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243334 ทีวีดิจิทัล” 7 ช่องขอออกจากตลาดเพราะไม่เห็นโอกาสสร้างรายได้จากใบอนุญาตที่เหลืออยู่อีก 10 ปี ส่วน 15 ช่องธุรกิจที่เลือกแล้วว่าขออยู่ต่อ ยังต้องดิ้นรนแข่งขันในเกมเรตติ้งหวังแชร์เม็ดเงินโฆษณา แม้จะอยู่ในภาวะถดถอย แต่โฆษณาทีวีมูลค่า 6 หมื่นล้านต่อปีตามที่นีลเส็นรายงาน ทำให้สมรภูมิทีวีดิจิทัล” ยังคงแข่งเดือดต่อไป

การคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล 7 ช่อง ในจำนวนนี้ 3 ช่อง คือ ประเภทช่องข่าว เมื่อร่วมกับไทยทีวีที่ลาจอไปก่อนตั้งแต่ปี 2558 จากทีวีดิจิทัลช่องข่าว 7 ช่อง จึงเหลือ “ช่องข่าว” ที่ขอไปต่อ 3 ช่อง คือ TNN 16, NEW18 และ Nation 22 หากมองในมุมบวกคู่แข่งช่องข่าว “ลดลง” ก็อาจเป็นโอกาสของช่องข่าวที่เหลือ

องอาจ ประภากมล กรรมการผู้จัดการ (ร่วม) บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด กล่าวว่า หลังปรับโครงสร้างทีมข่าว โดยรวมทีมข่าวกับช่อง “ทรูโฟร์ยู” อีกช่องทีวีดิจิทัลในเครือซีพี เพื่อลดความซ้ำซ้อน หลังจากบุคลากรพร้อม คราวนี้ก็มาถึงรายการ โดยวางตำแหน่งให้เป็น “ช่องข่าวเศรษฐกิจ” เต็มรูปแบบ เป้าหมายขึ้นแท่นเบอร์ 1 ช่องข่าวทีวีดิจิทัล

องอาจ ประภากมล

สำหรับผังใหม่ของ TNN ปรับสัดส่วนรายการข่าวต่างๆ แบ่งเป็น ข่าวเศรษฐกิจ 30% จากเดิม 15% ข่าวการเมืองระหว่างประเทศ 10% จาก 2% ข่าวไอที 5% จากเดิมไม่มีเลย ข่าวสิ่งแวดล้อม กิจกรรมเพื่อสังคม 5% ข่าวกีฬา 10%

ดึง JKN-CNBC “สุทธิชัย หยุ่น” ลงผัง

ในผังใหม่วางคอนเทนต์หลักที่จะก้าวสู่อับดับ 1 ช่องข่าวเศรษฐกิจด้วย รายการข่าวเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน เน้นทันสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศรวมถึงโฟกัสเมกะโปรเจกต์ EEC การเมืองโลกและสังคมโลก สิ่งแวดล้อมโลก เทคโนโลยีและนวัตกรรม เทรนด์ใหม่ๆ ยุคดิจิทัล อาหารและสุขภาพ กีฬา ข่าวสารกีฬาทั้งไทยและเทศ

ไฮไลต์ผังรายการใหม่กลุ่มเศรษฐกิจ การเงิน การลงทุน ได้แก่ รายการ The CNBC Conversation ผลิตโดย JKN-CNBC ที่มีต้นแบบจากรายการยอดนิยมของ CNBC ดำเนินรายการโดย สุทธิชัย หยุ่น ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 20.30 – 21.30 น. เริ่ม 1 ก.ย. นี้

รายการ Business Model เจาะลึกหุ้นรายตัว ดำเนินรายการโดย เนาวรัตน์ เจริญประพิณ ร่วมด้วยการให้ข้อมูลและมุมมองของนักธุรกิจผ่านสุดยอดนักวิเคราะห์ ดร.นิเวศม์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนหุ้นคุณค่า และ ดร.วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล นักวิเคราะห์หุ้นคุณภาพ ที่จะมาสับเปลี่ยนหมุนเวียนมาให้ความรู้และภาพรวมธุรกิจ ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 14.30 – 15.00 น.

ทัพผู้ประกาศข่าวลงจอเพียบ

นอกจากนี้ได้เสริมทีม “ผู้ประกาศข่าว” เข้ามาแน่นจอ ทั้ง เจก รัตนตั้งตระกูล, ภัทร จึงกานต์กุล, ขวัญชนก โรจนนินทร์, บรรพต ธนาเพิ่มสุข, มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล, ศิรัถยา อิศรภักดี, ทวีรัตน์ จิรดิลก, ธันย์ชนก จงยศยิ่ง และ โมนัย เย็นบุตร พร้อมทีมข่าวในเครือช่อง True4U เข้ามาร่วมผลิตรายการ

โดยนำ AI Recommendation มาวิเคราะห์ข้อมูลการรับชม เพื่อออกแบบคอนเทนต์ให้ตรงใจและตอบโจทย์ผู้ชมยุคดิจิทัลที่รับชมได้ทุกช่องทางบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม ผ่าน Live Stream ตลอด 24 ชั่วโมง ทางแอปพลิเคชั่น TrueID, Facebook, YouTube, Twitter, Instagram และ Line Official

]]>
1243334
ทีวีดิจิทัล 2 ช่องกลุ่มทรูยัง “ขาดทุน” แต่เห็นสัญญาณบวก https://positioningmag.com/1230662 Mon, 20 May 2019 10:00:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1230662 หลักจาก กสทช.เปิดให้ทีวีดิจิทัล “คืนใบอนุญาต” และรับเงินชดเชยเมื่อวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา แม้มีการวิเคราะห์ว่ากลุ่มทรู ที่ถือใบอนุญาตอยู่ 2 ช่อง คือ ช่องวาไรตี้ “ทรูโฟร์ยู” และช่องข่าว “ทีเอ็นเอ็น” อาจจะตัดสินใจ “คืน 1 ช่อง” เพื่อลด “ต้นทุน” เพราะนับตั้งแต่เริ่มต้นออนแอร์ ปี 2557 ยังแบกขาดทุนมาต่อเนื่อง  

โดยทรูคอร์ปอเรชั่น ได้ส่งหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ย้ำว่าบริษัทย่อยทั้ง 2 แห่ง บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด (TNN) และบริษัท ทรูโฟร์ยู สเตชั่น จำกัด (True4U) ในฐานะผู้รับใบอนุญาตทีวีดิจิทัล มีความประสงค์จะดำเนินธุรกิจต่อไป โดยไม่คืนใบอนุญาต

“ทรูโฟร์ยู” ปี 61 ขาดทุนลดลง  

สำหรับ ทรูโฟร์ยู” ช่องวาไรตี้ ประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัลมาด้วยมูลค่า 2,315 ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มออนแอร์ปี 2557 นำเสนอการถ่ายทอดสดรายการกีฬาทั้งไทยและต่างประเทศที่กลุ่มทรูได้ลิขสิทธิ์ รวมทั้งรายการวาไรตี้ ซีรีส์ ละคร ที่ผลิตเองและลิขสิทธิ์ต่างประเทศ โดยเฉพาะจากค่ายเกาหลี ที่ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับ ซีเจ อีเอ็นเอ็ม ชูกลยุทธ์เป็นช่อง “ติ่งเกาหลี” หวังสร้างฐานผู้ชมช่องจากแฟนคลับผู้ชื่นชอบบันเทิงเกาหลี แต่เรตติ้ง “ทรูโฟร์ยู” ปี 2561 ยังคงไม่ติดท็อปเท็น รั้งอันดับ 13 เรตติ้ง 0.14

ในด้านรายได้ 5 ปีของทรูโฟร์ยู ยังอยู่ในภาวะขาดทุนต่อเนื่อง แต่เริ่มเห็นสัญญาณลดลง โดยบริษัท ทรูโฟร์ยู สเตชั่น จำกัด รายงานข้อมูลผลประกอบการไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ล่าสุดปี 2561 “ขาดทุนลดลง” 3.4%

  • ปี 2557   รายได้  275 ล้านบาท  ขาดทุน  135 ล้านบาท
  • ปี 2558   รายได้  601 ล้านบาท  ขาดทุน  403 ล้านบาท
  • ปี 2559   รายได้  726 ล้านบาท  ขาดทุน  633 ล้านบาท
  • ปี 2560   รายได้  794 ล้านบาท  ขาดทุน  328 ล้านบาท
  • ปี 2561  รายได้ 831 ล้านบาท ขาดทุน 317 ล้านบาท

 “ทีเอ็นเอ็น” สัญญาณบวก

ด้านช่องข่าว “ทีเอ็นเอ็น” ที่ประมูลทีวีดิจิทัลมาด้วยมูลค่า 1,316 ล้านบาท แม้เรตติ้งยังอยู่ท้ายตาราง ปี 2561 อยู่อับดับที่ 23 เรตติ้ง 0.02 แต่สถานการณ์การ “คืนใบอนุญาต” ทีวีดิจิทัล เมื่อวันที่ 10 พ.ค.รวม 7 ช่อง ในจำนวนนี้มีช่องข่าว 3 ช่อง คือ สปริงนิวส์ 19, วอยซ์ทีวี และไบรท์ทีวี ก่อนหน้านี้ ไทยทีวี ช่องข่าว ได้ปิดตัวตั้งแต่ปี 2558 ทำให้ช่องข่าวที่เปิดประมูล 7 ช่อง หลังคืนใบอนุญาตและยุติออกอากาศในเดือน ส.ค.นี้ จะเหลือช่องข่าวเพียง 3 ช่อง คือ เนชั่นทีวี นิวทีวี และทีเอ็นเอ็น

ภาพจาก facebook TNN

หากมองโอกาสดึงผู้ชมจากช่องข่าวที่เตรียมลาจอ ก็มีโอกาสเป็นไปได้ ส่วนอันดับเรตติ้ง หายไป 7 ช่อง ก็ต้องขยับขึ้นแน่นอน แต่อีกสัญญาณบวกของ “ทีเอ็นเอ็น” มาจากผลประกอบการปี 2561 ซึ่งบริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด  แจ้งข้อมูลต่อ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ว่าตัวเลขขาดทุนลดลง 190% และรายได้เพิ่มขึ้น 112%

  • ปี 2557  รายได้ 363  ล้านบาท  ขาดทุน 131 ล้านบาท
  • ปี 2558  รายได้ 390  ล้านบาท  ขาดทุน 200 ล้านบาท
  • ปี 2559  รายได้ 395  ล้านบาท  ขาดทุน 164 ล้านบาท
  • ปี 2560  รายได้ 395  ล้านบาท  ขาดทุน 125 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 841  ล้านบาท ขาดทุน  43  ล้านบาท

แม้การคืนใบอนุญาต ทรูโฟร์ยูและทีเอ็นเอ็น จะทำให้ทรูได้เงินชดเชยกลับมากว่า 1,000 ล้านบาท แต่กลุ่มทรูที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) เดือน พ.ค.2562 กว่า 1.6 แสนล้านบาท คงไม่เลือกเส้นทางนั้น อีกทั้งตระกูลเจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ยังครองตำแหน่งมหาเศรษฐีไทยอันดับ 1 มูลค่า  9.41 แสนล้านบาท จากการจัดอันดับของนิตยสาร Forbes Thailand ปี 2562 การมีสื่อทีวีดิจิทัลในมือน่าจะเป็นช่องทางต่อยอดธุรกิจในเครือและโอกาสการหารายได้ในอนาคตได้มากกว่ามูลค่าชดเชยจาก กสทช. ณ วันนี้.

ข่าวเกี่ยวเนื่อง 

]]>
1230662