Taobao – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 03 May 2023 07:00:03 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ส่องสุดยอดไอเดียจากงาน Taobao Maker Festival 2023 ระเบิดความคิดสร้างสรรค์แบบจัดเต็ม https://positioningmag.com/1429377 Wed, 03 May 2023 13:00:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1429377

กลับมาอีกครั้งกับงาน เถาเป่า เมคเกอร์ เฟสติวัล (Taobao Maker Festival) งานนิทรรศการประจำปีของ เถาเป่า (Taobao) งานนี้เป็นการเฉลิมฉลองความคิดสร้างสรรค์และการเป็นผู้ประกอบการของเยาวชน โดยงานนี้ถูกจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และสำหรับปีนี้จะถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 เพื่อนำเสนอแพลตฟอร์มสำหรับผู้ค้าชั้นเลิศบนเถาเป่าให้ได้มาพบปะ และโชว์ไอเดีย รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ แก่ผู้บริโภคแบบออฟไลน์

Taobao Maker Festival 2023 ในปีนี้ ได้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน – 1 พฤษภาคม เรียกว่าเป็นการจัดงานที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ในเชิงของจำนวนเมืองในการจัดแสดง และผู้เข้าร่วมงาน โดยในปีนี้จะถูกจัดขึ้นในช่วงวันหยุดแรงงาน (Labor Day) ใน 10 เมืองสำคัญทั่วประเทศจีน รวมถึงสถานที่จัดงานหลักอย่างหางโจว เซินเจิ้น และฉงชิ่งด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปีของเถาเป่า นิทรรศการในปีนี้ยังเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสประสบการณ์พร้อมกับเทรนด์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่กำลังมาแรง และเหนือจินตนาการ

งานครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Uncovering Infinite Lifestyle Possibilities on Taobao” โดยจะนำเสนอ 3 ธีมนิทรรศการใน 3 เมือง โดยในเมืองแรกอย่างหางโจวมาในธีม “Wonder” ซึ่งจะรวบรวมช่างฝีมือ อาหารแสนอร่อย และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอนิเมะ การ์ตูน และเกมส์ ตามมาด้วยธีม “Technology” ในเมืองเซินเจิ้น ที่ผู้เข้าร่วมงานจะได้เพลิดเพลินกับการค้นหาเทคโนโลยีแห่งอนาคตในด้านต่างๆ อาทิ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค และระบบการผลิตอัจฉริยะ และสุดท้าย ธีม “Trends” ในเมืองฉงชิ่งจะนำเสนอและจัดแสดงเทรนด์ใหม่ ๆ ตั้งแต่เสื้อผ้า ของเล่นจากดีไซเนอร์ ไปจนถึงของตกแต่งบ้าน

ในปีนี้ Taobao Maker Festival 2023 ได้ถูกจัดขึ้นในเมืองอื่นๆ อีก 7 แห่ง อาทิ เซี่ยงไฮ้ ฉางซา ซีอาน และเซียะเหมิน เพื่อเชิญชวนให้ผู้คนจากท้องถิ่น และนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม และสัมผัสกับเทศกาล

นอกจากการพบปะกันแบบออฟไลน์แล้ว ผู้ค้าส่วนใหญ่ยังสามารถมีส่วนร่วมกับลูกค้าทางออนไลน์แบบเรียลไทม์ได้ผ่านเถาเป่า ไลฟ์ (Taobao Live) ช่องทางไลฟ์สตรีมจากเถาเป่า ซึ่งจะช่วยให้ผู้ชมทางออนไลน์สามารถเข้าร่วมนิทรรศการได้จากทุกพื้นที่

ตั้งแต่มีการริเริ่มจัดงานนี้ขึ้น Taobao Maker Festival ได้ทำหน้าที่เป็นตัวชี้วัดเทรนด์ของผู้บริโภคในประเทศจีน โดยในปีนี้ นิทรรศการมุ่งนำเสนอผู้ค้าและผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงเทรนด์ต่างๆ เช่น การเกิดขึ้นของธุรกิจที่สร้างจากพื้นฐานของความสนใจเฉพาะกลุ่ม การแสวงหาวิถีชีวิตที่แตกต่างของผู้คน ความนิยมที่เพิ่มขึ้นในหมู่ผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ การเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีการผลิตอาหาร และการค้นพบความงามของชีวิตครอบครัวอีกครั้งในหมู่ผู้ค้าและนักช้อป

Taobao Maker Festival ในปีนี้เรียกได้ว่ากลับมาคึกคักอีกครั้ง มีร้านค้าผู้ผลิตบนเถาเป่าจำนวนมากมารวมตัวกัน และจัดแสดงผลิตภัณฑ์ใหม่ของตน โดยเน้นไปที่การคัดสรรร้านค้า และผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจสะท้อนถึงเทรนด์ต่างๆ เช่น สินค้าที่ที่เป็นเทรนด์สำหรับคนเฉพาะกลุ่ม, การแสวงหาชีวิตที่แตกต่างออกไปของผู้คน และการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ

เราจะพาไปชมไฮไลท์ของผลิตภัณฑ์ 3 รายการ ที่เป็นเทรนด์น่าสนใจในงานนี้


Niche interest : สินค้าที่มีความสนใจเฉพาะกลุ่ม

Starry Ink – หมึก Cold Brew ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

คนไทยหลายคนมักเคยได้ยินชา หรือกาแฟสกัดเย็นมาก่อน แต่ถ้าพูดถึงหมึกพิมพ์สกัดเย็นล่ะ? จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร

Harvey Yu ผู้ก่อตั้ง Starry Ink เกิดในครอบครัววิศวกร เขาเก่งด้านเคมี และหลงใหลเกี่ยวกับหมึกสำหรับปากกาหมึกซึมมาตั้งแต่เด็ก เมื่อรวมความสนใจ และความเชี่ยวชาญเข้าด้วยกัน เขาจึงตัดสินใจก่อตั้ง Starry Ink ในห้องแล็บของมหาวิทยาลัยเมื่ออายุเพียง 18 ปี โดย คำว่า Starry Ink หมายถึง “หมึกที่สวยงามราวกับแสงดาวยามค่ำคืน” นอกจากซีรีย์ Cold brew ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว Starry Ink ยังเปิดตัวหมึกเปลี่ยนสีกว่า 1,000 สี ซึ่งแต่ละสีมีเรื่องราวเบื้องหลังที่ไม่เหมือนใคร

Starry Ink ได้รวบรวมกลุ่มผู้บริโภค Gen Z ที่ชอบค้นหาประสบการณ์การเขียนที่แตกต่าง และต้องการเพิ่มสีสัน และแรงบันดาลใจให้กับชีวิตเช่นเดียวกับทีมผู้ก่อตั้งแบรนด์ ทางแบรนด์ยังได้ขยายไปยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยในยุคปัจจุบันที่ไร้กระดาษ และเต็มไปด้วยเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Yu หวังที่จะพาผู้บริโภควัยหนุ่มสาวย้อนกลับไปสู่ประสบการณ์การเขียนที่แท้จริงอีกครั้ง นอกจากความตั้งใจนี้ Starry Ink ยังพยายามสร้างความตระหนักรู้ต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความต้องการของชุมชนเด็กออทิสติกผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมเวิร์คช้อปศิลปะ


Bringing pleasure to individuals : สร้างความสุขสำหรับทุกคน

94°C – ศิลปะบำบัดจากการวาดภาพด้วยเทียน

ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบ และความตึงเครียดจากการใช้ชีวิตในเมือง ทำให้ผู้คนจำนวนมากมองหาวิธีผ่อนคลาย และลดความเครียดHamlein Wang และ Fuqing Liu สองบัณฑิตจากโรงเรียนศิลปะ ได้ร่วมกันก่อตั้งแบรนด์ชื่อ 94°C เพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านอารมณ์ของผู้บริโภค Gen Z ผ่านงานหัตถกรรมเฉพาะกลุ่ม และดนตรี โดยแบรนด์ได้ดีไซน์สิ่งของคลายเครียดที่ช่วยสร้างความสุข และเยียวยาผู้คนด้วยศิลปะบำบัดมากมาย

94°C ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2562 และจำหน่ายสินค้าออนไลน์บนเถาเป่าเป็นช่องทางหลัก ที่สร้างความฮือฮาที่สุดเห็นจะเป็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ภาพวาดศิลปะจากเทียน งานนี้มีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์งานศิลปะจากขี้ผึ้ง พร้อมกับดื่มด่ำกับผลงานความงามอันเป็นเอกลักษณ์ที่เกิดจากเส้นสาย และสีของขี้ผึ้งละลาย ในขณะเดียวกันก็ล้มล้างความคิดแบบดั้งเดิมของผู้คนเกี่ยวกับการใช้งานเทียนด้วย


Healthy eating : อาหารเพื่อสุขภาพ

Moodles – ซูเปอร์ฟู้ดพิมพ์ 3 มิติ

แบรนด์ผู้ผลิตอาหารอัจฉริยะ มุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีการผลิต และวัสดุศาสตร์อัจฉริยะระดับไฮเอนด์มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อสร้างอาหารที่ทั้งอร่อย และดีต่อสุขภาพ Moodles ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2564 บริษัทได้รับเงินทุนหลายรอบและสามารถตั้งโรงงานผลิตอาหารอัจฉริยะจากการพิมพ์ 3 มิติได้สำเร็จในช่วงปลายปีที่แล้ว

Ryan Zhu ผู้ก่อตั้งบริษัทซึ่งมีพื้นฐานด้านวิศวกรรม มีความหลงใหลในการค้นคว้าเกี่ยวกับการพิมพ์ 3 มิติมานานหลายปี และตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองเมื่อเขาสังเกตเห็นว่าผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยการผสานเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เทคนิคการทำอาหารระดับโมเลกุล และความรู้ด้านโภชนาการสมัยใหม่ แบรนด์ของเขาพยายามหาทางแก้ไขปัญหาทั่วไปของผู้บริโภคที่มักบริโภคคาร์โบไฮเดรตสูง แต่ได้รับโปรตีนและสารอาหารต่ำจากอาหารหลัก โดยไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ในเดือนมีนาคม 2566 Moodles ได้เปิดแฟล็กชิพสโตร์บนทีมอลล์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ผ่านแพลตฟอร์ม

จะเห็นได้ว่าสินค้าต่างๆ ล้วนมีไอเดียความคิดสร้างสรรค์แบบเต็มเปี่ยม สะท้อนถึงแนวคิดของคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการสร้างสรรค์วิถีชีวิตที่ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม สำหรับงาน Taobao Maker Festival ยังมีเรื่องราวน่าสนใจอีกมากมาย สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ … Taobao Maker Festival

]]>
1429377
ส่องกลยุทธ์ห้าง ‘InTime’ ของจีน ที่ฟื้นยอดขายเกือบ 100% ด้วย ‘ไลฟ์สด’ https://positioningmag.com/1281125 Fri, 29 May 2020 06:34:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281125 ‘InTime’ หนึ่งในผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ซึ่งเจ้าของก็คือ Alibaba ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซ ซึ่งห้าง InTime ก็เหมือนกับห้างทั่วโลกที่ต้องปิดตัวลงในช่วงไวรัส COVID-19 ระบาด ซึ่งทางห้างก็ได้หันมาขายของออนไลน์เหมือนหลาย ๆ ห้าง แต่ที่ต่างไปก็คือ InTime เลือกที่จะใช้ ‘Live Streaming’ ในการขายของ แทนที่จะขายผ่านเว็บไซต์เหมือนห้างอื่น ๆ

In time Lotte department store in Beijing at night. (Photo by: Education Images/Universal Images Group via Getty Images)

ส่วนใหญ่การไลฟ์ขายของเรามักจะเห็นกับร้านค้ารายเล็ก หรือ SME ซะมากกว่า เราจะไม่ค่อยเห็นห้างใหญ่มาไลฟ์ขายของ แต่จากขายผ่านเว็บไซต์ไปเลย แต่กับห้าง ‘InTime’ นั้นไม่ใช่ เพราะห้างเลือกที่จะไลฟ์ขายของด้วย ซึ่งการไลฟ์ขายของนั้น สามารถเพิ่มยอดขายจากฝั่งออนไลน์จนมีสัดส่วนถึง 20% จากเดิมที่มสัดส่วนเป็นเลขหลักเดียวในปี 2562

Chen Xiaodong CEO ของ InTime กล่าวว่า จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ห้างทั้ง 65 สาขาต้องปิดตัวหลายสัปดาห์ แต่หลังจากคลายล็อกดาวน์ ยอดขายในเดือนพฤษภาคมเกือบฟื้นตัวเต็มที่ในระดับเดียวกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว แม้ว่ายอดลูกค้าที่เข้ามาในห้างจะอยู่ในระดับ 70% จากช่วงเวลาปกติ ซึ่งการผลักดันระบบดิจิทัลของบริษัท ช่วยให้สามารถรักษายอดขายได้ในระดับเดิม

Chen Xiaodong CEO of Intime

โดย InTime มีแอปชื่อ Miaojie ที่ผู้คนสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ โดยจะจัดส่งให้กับลูกค้าผ่านเครือข่ายโลจิสติกส์ของอาลีบาบา นอกจากนี้ InTime ยังเพิ่มสินค้าขึ้นใน ‘bandwagon’ แอปอีคอมเมิร์ซที่เป็นรูปแบบ Live Steaming ของจีน ซึ่งกำลังเป็นที่นิยม

“ยอดขายเกือบ 20% ในปีนี้มาจากออนไลน์ จากเดิมที่ปี 2562 มีตัวเลขหลักเดียว และคาดว่ายอดขายออนไลน์จะเพิ่มขึ้น 50% ในปีหน้า ซึ่งการไลฟ์สดอาจนิยมในช่วง COVID-19 แต่ในเวลาปกติ เราก็ควรให้ความสำคัญกับเครื่องมือประเภทนี้ด้วย เพราะบริการแบบดั้งเดิมในห้างสรรพสินค้าสามารถให้บริการได้เพียงคนเดียวหรือสองคน แต่ไลฟ์สด สามารถรับใช้คนจำนวนมากในเวลาเดียวกัน และยังช่วยกระตุ้นผู้ซื้อได้ดีอีกด้วย”

ในปีนี้ บริษัทมีแผนที่จะเพิ่มเซคชันการถ่ายทอดสดจาก 100 เป็น 200 ครั้งในปีนี้ โดยใช้พนักงานขายจากร้านค้าเพื่อนำเสนอวิดีโอ โดยจะเผยแพร่ไปยัง Taobao Live ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการถ่ายทอดสดโดยอาลีบาบา นอกจากนี้ InTime ยังวางแผนที่จะขยายสาขาของห้าง โดยอาจเปิดถึง 8 ห้าง/ปี ในทางตรงกันข้าม ผู้ค้าปลีกในสหรัฐอเมริกา เช่น L Brands ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Victoria Secret และ J.C. Penney ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจาก COVID-19 จึงตัดสินใจปิดร้านค้า

ไม่ใช่แค่อาลีบาบา แต่บริษัทอื่นกำลังเดินหน้าไปสู่เทรนด์ไลฟ์สตรีมมิ่ง เช่น JD.com ซึ่งเป็นคู่แข่งของอาลีบาบาในประเทศจีน ก็ได้ประกาศความร่วมมือกับแพลตฟอร์ม Kuaishou ซึ่งเป็นแอปวิดีโอสั้น ๆ (คล้าย ๆ TikTok) โดยผู้ใช้แอปนั้นจะสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทาง JD โดยไม่ต้องออกจากแอป Kuaishou

Source

]]>
1281125
เถาเป่า เมคเกอร์ เฟสติวัล 2018 บิ๊กอีเวนต์ของบิ๊กไอเดียคนรุ่นใหม่ จาก Made in China สู่ Created in China https://positioningmag.com/1188078 Mon, 17 Sep 2018 12:58:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1188078 จากไทยใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง ก็มาถึงเมืองหังโจว ประเทศจีน เมืองนี้นอกจากจะมีทะเลสาบซีหู ที่มีชื่อเสียงแล้ว ยังเป็นที่ตั้งสำนักงานอาลีบาบา กรุ๊ป ที่ผู้ก่อตั้ง แจ็ค หม่า เพิ่งประกาศวางมือในอีก 1 ปีข้างหน้า เพื่อเปิดทางให้ผู้บริหารรุ่นใหม่ขึ้นรับตำแหน่งแทน

บริเวณด้านนอกงาน ทะเลสาบซีหู

ไฮไลต์ของการเดินทางมาหังโจวในครั้งนี้ คือการเยี่ยมชมงาน “เถาเป่า เมคเกอร์ เฟสติวัล 2018” หรือ TMF 2018 จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ระหว่างวันที่ 13-16 ก.ย. 61 ปีนี้ ณ ริมทะเลสาบซีหู หรือเวสต์เลค ถือเป็นการจัดงานกลางแจ้งเป็นครั้งแรก เพื่อต้องการสื่อสารถึงนวัตกรรมของคนชาวจีนให้เผยแพร่ไปทั่วโลก

วงดนตรีไร้คน

งานปีนี้ถือว่าเป็นงานใหญ่ของเถาเป่า เพราะมีผู้ร่วมแสดงกว่า 200 ราย ที่ผ่านการคัดเลือกจาก 2 พันราย ล้วนแต่เป็นคนรุ่นใหม่ วัยทีน เจ้าของกิจการขนาดเล็ก เจ้าของแบรนด์ ดีไซเนอร์ ผู้ผลิตเกมแอนิเมชั่น นักออกแบบแฟชั่น

คนเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นเจ้าของไอเดีย มีความคิดสร้างสรรค์ ค้าขายอยู่บนบนแพลตฟอร์มเถาเป่า ดังนั้นแทนที่จะอยู่แต่บนโลกออนไลน์ เถาเป่านำมาสู่โลกออฟไลน์ โดยจัดเป็นอีเวนต์ใหญ่ เถาเป่า เมคเกอร์ เฟสติวัลขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ผลงานออกไปทั่วโลก

หุ่นยนต์ ชงกาแฟ

อกจากช่วยกระตุ้นให้มีคนรุ่นใหม่ที่เป็นเจ้าของไอเดียแปลกใหม่ เข้ามาอยู่บนแพลตฟอร์มของเถาเป่าได้ต่อเนื่องแล้ว ยังเป็นการสะท้อนด้วยว่า จีนยุคนี้ไม่ได้เป็น “ผู้ผลิต” ตามออเดอร์อีกแล้ว แต่เป็นต้นกำเนิด “ไอเดีย” ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

คริส ต่ง ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด อาลีบาบา กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มงานเถาเป่า เมคเกอร์ เฟสติวัล และงานเทศกาลลดราคา 11.11 ที่โด่งดังไปทั่วโลก บอกว่า งานเถาเป่า เป็นอีเวนต์ที่ทำขึ้นให้กับผู้ที่เป็นเจ้าของไอเดียสร้างสรรค์ หรือเรียกว่า เมคเกอร์ ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ที่มีความกล้าคิดกล้าทำสิ่งใหม่ๆ ได้เผยแพร่ผลงานไปยังกลุ่มคนอื่นๆ จึงทำให้เขาริเริ่มงานนนี้ขึ้นมาเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เพื่อที่จะสร้างการรับรู้ใหม่ จาก Made in China มาเป็น Created in China

ในฐานะของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน จึงต้องสนับสนุนสร้างการรับรู้ ว่าจีนได้เปลี่ยนการเป็นผู้ผลิต มาสู่การเป็นผู้คิดค้นสินค้าใหม่ๆ ผ่านงาน เถาเป่า เมคเกอร์ เฟสติวัล

โดยเฉพาะสินค้าที่เป็น “ออริจินัล ดีไซน์” เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคชาวจีนที่มองหาสินค้าที่มีคุณภาพดีขึ้น มีบุคลิกที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งไตรมาส 4 ปี 2560 มีสินค้าที่เป็น “ออริจินัล ดีไซน์” กว่า 170 ล้านอย่าง

งานปีนี้ จึงแตกต่างจากสองปีทั้งเรื่องของการจัดงานกลางแจ้งเป็นครั้งแรก และความหลากหลาย ผสมผสาน ทั้งเรื่องของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เทคโนโลยี วัฒนธรรมจีน แฟชั่น สัตว์เลี้ยง

ภายในงานแบ่งออกเป็นโซน 11 ธีม เช่น Anime Zone นำเสนผลิตภัณฑ์ แอนิเมะ, การ์ตูน และเกม Marvelous Market นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจและเทคโนโลยี  Vintage Market ของโบราณหายาก, เถาเป่า มิวเซียม ย้อนความเป็นมา 15 ปี ของแพลตฟอร์มเถาเป่า

ขาดไม่ได้ คือ โซน Future Retail and Technology Museum สาธิตการใช้เทคโนโลยี Taobao Mixed-Reality (MR) เป็นฟีเจอร์สำคัญของปีนี้ โดยการใช้เทคโนโลยี มิกซ์-เรียลลิตี้ ที่พัฒนาร่วมกับไมโครซอฟท์ โดยใช้ virtual rendering AI และอุปกรณ์สวมใส่ และข้อมูลผู้บริโภคจากเถาเป่าที่เข้าถึงผู้บริโภค และความรู้ นำเสนอประสบการณ์ช้อปปิ้งของโลกอนาคต ซึ่งงานปีที่แล้ว เถาคาเฟ่ เป็นรูปแบบของคาเฟ่ที่ไม่ต้องใช้คนให้บริการสร้างความฮือฮามาแล้ว

ปีนี้ยังเพิ่มโซน Pet Market เพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ของจีน นิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยง  คอนเสิร์ตในธีมป่า หรือ ไนต์มาร์เก็ต นำร้านอาหารขึ้นชื่อของท้องถิ่นและบนเถาเป่ามาออกงาน และแฟชั่นโชว์ บนสะพานขาด Broken Bridge เพื่อนำเสนอผลงานของดีไซน์รุ่นใหม่ของจีน 20 ราย โดยจะไลฟ์สดทางออนไลน์ และให้สั่งซื้อสินค้าที่เห็นจากแฟชั่นโชว์ได้ทันที

คริส ต่ง ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการตลาด อาลีบาบา กรุ๊ป

คริส ต่ง บอกว่า ในอนาคตอาจจะมีการจัดอีเวนต์ในลักษณะนี้ในประเทศอื่นๆ ด้วย เหมือนอย่างที่11.11 กลายเป็นอีเวนต์ระดับโลก ซึ่งจะช่วยขยายการเติบโตอาลีบาบาไปยังประเทศต่างๆ

เป้าหมายของการจัดงานเถาเป่า ไม่ใช่เรื่องของรายได้หรือทรานแซคชั่น แต่ต้องการผลักดันให้คนเข้ามาใช้ชีวิตในเถาเป่าเพิ่มขึ้น และจะดียิ่งขึ้น หากได้พบกับสินค้าที่ไม่รู้มาก่อนว่าชื่นชอบมากๆ เพราะจะช่วยกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ๆ สร้างผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ ดึงดูดคนซื้อที่ชื่นชอบในแบบเดียวกัน กลายเป็น “คอมมูนิตี้” ที่จะผลักดันให้เถาเป่าเติบโต และมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้คนต่อไปได้

“จะเห็นได้ว่า 2-3 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของกลุ่มนักคิดนักสร้างสรรค์มากขึ้น จากแค่ 1 พันรายเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ปีนี้เพิ่มเป็น 10 เท่า เป็นตัวเลขที่น่าตื่นเต้นมาก” คริส ต่ง บอก

สำหรับเถาเป่านั้น โดยอาลีบาบากรุ๊ปในปี 2546 เริ่มต้นจาการบริการแชท และเปิดให้ซื้อขายสินค้าออนไลน์เมื่อ 15 ปีที่แล้ว แต่ช่วงแรกสินค้ายังจำกัดเฉพาะกลุ่ม (นิช มาร์เก็ต) จนเมื่อมี “สมาร์ทโฟน” เข้ามามีบทบาท และอาลีบาบาได้พัฒนา “อาลีเพย์” แพลตฟอร์มชำระเงินขึ้นมา สร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้ กลายเป็นจุดเปลี่ยนทำให้ “เถาเป่า”  ก้าวสู่การเป็นแพลตฟอร์มโมบายคอมเมิร์ซขนาดใหญ่ ปีที่ผ่านมามีมูลค่าซื้อขายสินค้า 25 ล้านล้านบาท

ฟาน เจียง กรรมการผู้จัดการใหญ่ เถาเป่า มาร์เก็ตเพลส บอกว่า เถาเป่าเป็นแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสขนาดใหญ่ ที่มีคนจีนเข้ามาที่เถาเป่า 200 ล้านคนต่อวันโดย 1 ใน 7 ของคนจีนจะเข้าทุกวัน โดยใช้เวลากับเถาเป่าเฉลี่ย 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งอาจไม่ได้ซื้อสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่เข้ามาเพื่อหาคอนเทนต์ความรู้ และความบันเทิง

โดยใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้ามาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำเสนอสินค้าเฉพาะบุคคล รวมถึงการใช้คอนเทนต์ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างคนซื้อและคนขาย เช่น ไลฟ์บรอดคาส รีวิวสินค้า อัพเดตแบบเรียลไทม์ ก็ยิ่งสร้างคอนเทนต์ให้น่าสนใจ ดึงดูดให้คนเข้ามา ช่วยผลักดันให้เถาเป่าเติบโตอย่างรวดเร็ว”

แต่หลายคนอาจสงสัย “เถาเป่า” กับ “ทีมอลล์” วางจุดยืนต่างกันอย่างไร เจียงบอกว่า เถาเป่า จะแพลตฟอร์มออนไลน์ “c 2 c” ให้คนทั่วไป หรือผู้ประกอบการรายย่อย ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง ในขณะที่ “ทีมอลล์” จะเน้นสินค้าที่มีแบรนด์เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว เช่น ท็อป 500 แบรนด์ดัง จะอยู่ในทีมอลล์

เถาเป่า จึงเป็นแพลตฟอร์มเถาเป่าในการขายของ ซึ่งเถาเป่าเมคเกอร์ เฟสติวัล เป็น เทศกาลสำคัญ ในการโปรโมตให้กับผู้ที่ผลิตสินค้าใหม่ๆ ออกมา

โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ หลังยุคเจน Z เกิดหลัง ปี 1990-1995 เรียกว่า กลุ่ม “ACGN” ย่อมาจาก Animation-Comic-Game-Novel คนกลุ่มนี้จะชื่นชอบแอนนิเมชั่น การ์ตูน เกม นวนิยายเข้ามาในเถาเป่ามากขึ้นเพื่อเสนอขายสินค้า ดึงให้ผู้สนใจสินค้าเหล่านี้ตามเข้ามา จนกลายเป็น “คอมมูนิตี้” ที่มีบทบาท

คนกลุ่มนี้จะมีไลฟ์สไตล์แตกต่าง เช่น ชื่นชอบสัตว์เลี้ยง นิยมเลี้ยงสุนัข แมว ทำให้มีสินค้าที่เกิดจากผู้ที่หลงใหลในเรื่องเหล่านี้จริงๆ ออกมา

งานนี้เรียกว่า เป็นงานนำเสนอไอเดียคนรุ่นใหม่ที่หลากหลาย เทคโนโลยีนำมาใช้กับการช้อปปิ้งแห่งโลกในอนาคต และขาดไม่ได้คือเรื่องความสนุกสนานในการเข้าชมงาน เพื่อให้คนเข้าถึงง่ายๆ

ตามมาดูกันว่า ปีนี้จะมีร้านที่น่าสนใจอะไรบ้าง และนี่คือส่วนหนึ่งของร้านจำนวนมากในงาน

กระถางอัจฉริยะเดินหาแสง

Sattva Lab เจ้าของผลิตภัณฑ์ Smart Sun Flower Pot กระถางอัจฉริยะทานตะวัน

Xi Liu ซิว หลิว ผู้ร่วมก่อตั้งกระถางอัจฉริยะ

Xi Liu (ชี หลิว) วัย 26 ปี เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง จบมาจาก New York University เล่าว่า เธออยากจะนำเทคโนโลยีมาผสานกับศิลปะ จึงพัฒนากระถางทานตะวัน ที่วิ่งตามแสง เหมาะสำหรับคนปัจจุบันที่บางทีเลี้ยงต้นไม้ไว้แต่อาจจะไม่มีเวลาดูแล กระถางนี้จะมีเซ็นเซอร์ ทำให้มันวิ่งตามหาแสงแดด และอยู่ในสภาพที่เหมาะสม และยังมีแอปที่คอยเตือนว่า ต้นไม้หิวน้ำแล้ว เพื่อจะได้ไม่ลืมให้น้ำ ราคาในช่วงเริ่มต้น 1,000 หยวน สร้างโดยใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ เพิ่งเข้ามาขายในเถาเป่าเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้เอง

Smart Future Robot  หุ่นยนต์ขนาดใหญ่ หัน เหลย CEO เล่าว่าเขาได้เริ่มธุรกิจเมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยตอนแรกคิดว่าจะลองสร้างขึ้นมาเฉยๆ แต่พอเห็นงาน TMF จึงคิดว่าน่าจะใช้งานนี้เพื่อสร้างความรู้จัก

โดยต้องการเน้นขายให้กับธุรกิจที่ต้องการหุ่นยนต์ไปใช้เพื่อสร้างความน่าสนใจ และความบันเทิงให้ลูกค้าเช่นช้อปปิ้งมอลล์ช่วงแรกหุ่นยนต์ยักษ์ฯ วางขาย 15 ล้านหยวนเนื่องจากมีการลงทุนด้านงานวิจัยพัฒนาเยอะมาก แต่ในอนาคตหากมีการสร้างในจำนวนมากเพื่อเชิงพาณิชย์ราคาก็น่าจะลงต่ำกว่านี้

Machine Planet เริ่มต้นเมื่อปี 2012 มาจากความชื่นชอบส่วนตัวของผู้ก่อตั้งที่อยากได้หุ่นยนต์แต่ไม่มีเงินที่จะไปซื้อหุ่นยนต์แพงๆ จึงสร้างหุ่นยนต์เองโดยนำอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นหุ่นยนต์

โดยตอนแรกทำหุ่นยนต์ตั้งโชว์ จากนั้นในปี 2013 ก็เริ่มทำให้มีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น เริ่มจากทำหุ่นยนต์ที่เป็นที่ตั้งโทรศัพท์มือถือ แล้วก็ขยายไปสู่อย่างอื่น เช่น โคมไฟ นาฬิกา และล่าสุดตัวที่เป็นไฮไลต์ทำเพื่อนำเสนอในการจะเข้ามาแสดงในงานนี้คือเป็นหุ่นยนต์ที่เป็นลำโพงบลูทูธ โดยผลิตภัณฑ์ของเขามีสองแบบ คือ เป็นสินค้าสำเร็จรูป กับสินค้าที่เป็นชิ้นส่วนให้ไปต่อเองสำหรับคนที่ชอบ DIY

Fighting Robot  ซึ่งเริ่มต้นจากการมีรายการทีวีชื่อ KOB (King of Bots) ที่ให้คนเข้ามาแข่งขันบังคับหุ่นยนต์กัน ซึ่งมีคนเข้ามาแข่งขันราว 7.000 คนทั่วโลก ต่อมาได้รวมตัวกันเป็นสมาคมแล้วก็นำเสนอไอเดียการออกแบบหุ่นยนต์แบบต่างๆ ซึ่งหากมีศักยภาพมากพอก็จะมีการลงทุนทำออกมาเชิงพาณิชย์

AstroReality สร้างขึ้นเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว โดยผู้ก่อตั้งเคยทำงานที่ Adobe กว่า 10 ปี แล้วออกมาสร้างสตาร์ทอัพของตนเอง โดยนำ AR (Augmented Reality) เข้ามาใช้ในด้านการสำรวจอวกาศ

เริ่มด้วยการนำภาพถ่ายที่นาซ่าได้จากการการสำรวจวงโคจรรอบดวงจันทร์มาประกอบกับเทคโนโลยีพิมพ์สามมิติเมื่อใช้ App ดูจะเห็นสภาพภูมิประเทศที่มีอยู่ในดวงจันทร์ จากนั้นขยายไปสู่ระบบสุริยะ นอกจากนี้ก็ยังมีสมุดโน้ต ที่ใช้แอปส่องก็มีรายละเอียดปรากฏขึ้นบนภาพ ราคาประมาณ 100-150 หยวน ลูกโลกราคา 1,000 หยวน ระบบสุริยะราคาประมาณ USD120

San Zhao Xiu (ซาน เฉา เชี่ยว) ร้านกระเป๋าที่นำลวดลายตัวอักษร จากกลุ่มผู้หญิงของชนเผ่าคนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในแถบหูหนานใช้สื่อสารกันเองภายใน นำมาเป็นลวดลายบนกระเป๋า ซึ่งผู้ก่อตั้งที่มาจากเผ่าดังกล่าว ได้ริเริ่มทำขึ้น เพื่ออนุรักษ์ไว้ไม่ได้วัฒนธรรมนี้เลือนหายไป ราคาสินค้าอยู่ประมาณ 200 -300 หยวนขึ้นไปผู้ก่อตั้งที่มาจากเผ่านี้.

]]>
1188078
ชอปได้ง่ายขึ้น ! อาลีบาบา เปิดแอปพลิเคชันหน้าจอใหญ่ จับกลุ่มคนชราโดยเฉพาะ https://positioningmag.com/1155437 Fri, 02 Feb 2018 04:59:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1155437 มีรายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่า ประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่สามารถฝึกให้ผู้สูงอายุที่หลายคนอายุเกือบเข้าสู่วัย 70 ปีแล้ว สามารถใช้งานสมาร์ทโฟนได้อย่างคล่องแคล่ว รวมถึงใช้แอปพลิเคชันอีวอลเล็ต (e-Wallet) ซื้อของได้อย่างที่คนชราในอีกหลาย ๆ ประเทศไม่สามารถทำได้

คนชราในประเทศจีนที่มีอายุประมาณ 70 ปี ในปัจจุบันนั้น หลายคนมีชีวิตอยู่โดยที่ไม่มีแม้บัญชีเงินฝากธนาคาร แต่การมีสมาร์ทโฟน และมีอีวอลเล็ต หรือกระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในจีนแผ่นดินใหญ่ ก็สามารถทำให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกขึ้น แต่นั่นยังไม่พอสำหรับจีน เพราะอาลีบาบา (Alibaba) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ได้มีการเปิดตัวแอปพลิเคชันชอปปิ้ง เถาเป่า (Taobao) เวอร์ชันใหม่ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุออกมาแล้วอีกหนึ่งเวอร์ชัน

นักวิเคราะห์จากไชน่า มาร์เก็ต รีเสิร์ช กรุ๊ป ระบุว่า เหตุที่อาลีบาบาเปิดตัวแอปพลิเคชันขึ้นมาใหม่เพื่อจับกลุ่มผู้สูงอายุนั้น เป็นเพราะการเติบโตของรายได้ในปีที่ผ่านมานั้นค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับคนชราของอาลีบาบา จึงเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะเจาะ เพราะหากคนชราได้มีแอปพลิเคชันที่ปุ่มใหญ่ขึ้น มองเห็นชัดขึ้น รวมถึงสามารถเชื่อมต่อกับบัญชีของลูกหลานได้ ก็อาจหมายถึงการซื้อหาสินค้าบนแพลตฟอร์มของอาลีบาบา ที่มากขึ้นตามไปด้วย

นอกจากนั้น ยังพบว่าในร้านค้าแบบ Brick-and-mortar อย่างเหอหม่าซูเปอร์มาร์เก็ต (Hema Supermarket) ของอาลีบาบานั้น เป็นสถานที่หนึ่งที่พบผู้สูงอายุได้บ่อยมากเช่นกัน อย่างไรก็ตาม อาลีบาบารู้ดีว่า การจะโน้มน้าวใจให้ผู้สูงอายุใช้จ่ายเงินบนแอปพลิเคชันเถาเป่าในปริมาณมาก ๆ เหมือนกลุ่มมิลเลนเนียลนั้น คงเป็นไปได้ยาก เพราะในปัจจุบัน ผู้ใช้งานเถาเป่า ที่มีประมาณ 468 ล้านรายนั้น ก็มีคนชรา (อายุระหว่าง 60-69 ปี) เพียง 6 ล้านคนเท่านั้นเอง แต่อย่างน้อย การสามารถดึงผู้ใช้งานเข้ามาแพลตฟอร์มเพิ่ม ก็จะช่วยในด้านโฆษณาว่าสามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้หลายกลุ่มด้วยนั่นเอง

ปัจจุบัน จีนมีประชากรอินเทอร์เน็ตที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ราว 230 ล้านคน ซึ่งคิดเป็น 16 เปอร์เซ็นต์ของประชากรอินเทอร์เน็ตทั้งหมด ซึ่งคาดว่า ภายในปี 2050 ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 33 เปอร์เซ็นต์

สนับสนุนข่าวโดย : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000010842

]]>
1155437