แบรนด์สินค้า Luxury หลายแห่งรายงานว่า ในประเทศจีนช่วงฤดูใบไม้ผลินี้ ผู้คนเริ่มกลับมาจับจ่ายอีกครั้ง หลังจากหมดมาตรการล็อกดาวน์ โดยนักวิเคราะห์บางคนเรียกว่าแนวโน้มนี้ว่า ‘Revenge spending’ หรือการโหมจับจ่ายอีกครั้งหลังจากอั้นมานานในช่วงกักตัว โดยแบรนด์ Tiffany ชี้ให้เห็นว่าจีนเป็นจุดที่สดใสสำหรับธุรกิจเครื่องประดับ โดยยอดขายพุ่งขึ้น 30% ในเดือนเมษายนและ 90% ในเดือนพฤษภาคมเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โดยรวมของแบรนด์มียอดขายสุทธิทั่วโลกลดลงประมาณ –40% ในเดือนพฤษภาคม
“ผลการดำเนินงานของเราในจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเป็นตลาดแรกที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสบ่งบอกว่ากำลังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง” Alessandro Bogliolo ซีอีโอของ Tiffany กล่าว
ขณะที่แบรนด์อื่น ๆ ก็ให้ข้อมูลที่ตรงกัน อาทิ Burberry ระบุว่า เมื่อเดือนที่แล้วว่ายอดขายของเสื้อผ้ากระเป๋าและอุปกรณ์เสริมในประเทศจีนนั้นมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ Richemont ผู้ผลิตเครื่องประดับและนาฬิกาชาวสวิสได้ชี้ให้เห็นว่า จีนเป็นประเทศที่มีความสดใสในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระบุว่า มีความต้องการที่แข็งแกร่ง Edgardo Osorio ผู้ก่อตั้งแบรนด์รองเท้าอิตาลี Aquazzura บอกกับ CNN Business ว่า “จริง ๆ แล้วมันเป็นแง่บวกมาก ๆ และเป็นประเทศจีนมาโดยตลอด แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนนี้เป็นหนึ่งในลูกค้าที่ตอบสนองรวดเร็วที่สุด”
“ข้อมูลบ่งชี้ว่าจีนอยู่ในโหมดการกู้คืน” Luca Solca นักวิเคราะห์ของ Bernstein กล่าว
นักวิเคราะห์ระบุว่า ลูกค้าชาวจีนอาจใช้จ่ายเงินกับสินค้าในประเทศมากขึ้น เนื่องจากไม่สามารถเดินทางได้อย่างสะดวก ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นว่ายอดขายสองในสามของผู้ซื้อชาวจีนนั้นเกิดขึ้นนอกประเทศจีน และแทนที่จะไปเที่ยวพักผ่อน พวกเขาอาจซื้อกระเป๋า Chanel แทน
ทั้งนี้ การฟื้นตัวในประเทศจีนมีความสำคัญมาก เนื่องจากผู้ซื้อมีความสำคัญต่อตลาดระดับโลก เพราะมีสัดส่วนถึง 35% ของยอดขายทั้งหมดทั่วโลกตาม และคาดว่าอาจจะเติบโตเป็นเกือบ 50% ในอนาคต อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมยังคงเจ็บสาหัสจาก Covid-19
Bain คาดการณ์ว่า ยอดขายทั่วโลกของสินค้าเหล่านี้อาจลดลงมากถึง -35% ในปีนี้ โดยคาดว่าจะมีรายรับ 180,000 – 220,000 ล้านยูโร ขณะที่ปีที่แล้วประมาณ 281,000 ล้านยูโร โดยแบรนด์ระดับโลกยอมรับถึงความกดดันนี้ เช่น สัปดาห์ที่แล้ว LVMH เปิดเผยต่อนักลงทุนว่าคณะกรรมการได้พบกันอีกครั้งเพื่อพิจารณาการเข้าซื้อกิจการ Tiffany อีกครั้ง
ดังนั้น การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของยอดขายภายในประเทศจีน “ไม่ใช่การอุดการสูญเสียยอดขายให้กับแบรนด์หรูจากผู้บริโภคทั่วโลก” เพราะสุดท้ายการใช้จ่ายโดยรวมจากจีนต่ำกว่าปีที่แล้วมาก ขณะที่พฤติกรรม ‘Revenge spending’ อาจจะเพียงพฤติกรรมชั่วคราว สุดท้าย สิ่งที่อุตสาหกรรมต้องการ คือ นักท่องเที่ยวจากจีนหรือที่อื่น ๆ
“เราคาดหวังว่าการเดินทางท่องเที่ยว จะทำให้สถานการณ์กลับมาสู่ภาวะปกติ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือน และอาจจะมากกว่าหนึ่งปี”
ดังนั้น เพื่อรับมือกับความเป็นจริงนี้ บริษัทจะต้องปรับกลยุทธ์ของพวกเขาและหาวิธีการเข้าถึงลูกค้าในท้องถิ่นมากขึ้น รวมถึงขยายไปสู่ช่องทางอีคอมเมิร์ซ
]]>ราคานี้สูงขึ้นกว่าข่าวลือรอบแรกที่ระบุว่า LVMH เริ่มเจรจาดีลตั้งแต่เดือนตุลาคมในราคา 11,900 ล้านเหรียญ คาดว่าทั้งคู่จะประกาศดีลอย่างเป็นทางการวันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายนตามเวลาสหรัฐฯ
ข่าวนี้ทำให้หุ้นของ Tiffany ราคาพุ่งขึ้นทันที แม้จะยังไม่สูงเท่าที่เคยทำสถิติสูงสุด 140 เหรียญในช่วงกลางปีที่แล้ว แต่มูลค่าหุ้นของต้นสังกัดแบรนด์เครื่องประดับหรูจากนิวยอร์กกำลังตีตื้นจากที่ปิดตลาดในวันศุกร์ด้วยราคา 125.51 เหรียญ ซึ่งเป็นไปได้สูงว่าจะก้าวกระโดดยิ่งขึ้นอีกเพราะเม็ดเงินเสนอซื้อกิจการที่มากขึ้น
เหตุที่ทำให้ LVMH ยอมเทเงินมากขึ้นหลายพันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อให้ได้ Tiffany มาครอง คือจิวเวลรี่ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสินค้าหรูหราที่มีผลการดำเนินงานแข็งแกร่งที่สุดในปี 2018 ข้อมูลจากบริษัทที่ปรึกษา Bain & Co ชี้ว่าตลาดสินค้ากลุ่มจิวเวลรี่ทั่วโลกนั้นมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และจะเติบโตมากกว่า 7% ในปีนี้
Tiffany เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นในนิวยอร์กปี 1837 ก่อนจะโด่งดังเต็มที่หลังจากมีส่วนร่วมในภาพยนตร์ปี 1961 เรื่อง “Breakfast at Tiffany’s” แต่ Tiffany ถูกมองว่าต้องดิ้นรนเต็มที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพราะยอดขายและกำไรต่อปีที่ลดลงตั้งแต่ปี 2015 ก่อนที่จะเริ่มกลับมาฟอร์มดีในช่วง 2 ปีที่แล้ว (ปี 2017)
ส่วนหนึ่งที่ทำให้ Tiffany เริ่มหายใจคล่องขึ้นคือการพยายามขยายธุรกิจสู่ประเทศจีน แต่บริษัทก็ยังต้องปวดหัวกับปัญหายอดขายลดลงในสหรัฐอเมริกา ยิ่งเมื่อมีปัจจัยอื่นอย่างสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน Tiffany ก็เป็นอีกบริษัทที่รับผลกระทบเต็มตัวจนยอดขายในเอเชียหดหายชัดเจน
แต่ Tiffany มีตลาดที่ LVMH เข้าไม่ถึงเต็มที่ ที่ผ่านมา LVMH มีแบรนด์แฟชั่นและเครื่องหนังในมือ ขณะเดียวกันก็มีแบรนด์น้ำหอม เครื่องสำอาง ไวน์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น่าเสียดายที่แบรนด์จิวเวลรี่ของ LVMH ยังไม่โดดเด่นเท่าที่ควร
สำหรับ LVMH หรือ Moët Hennessy Louis Vuitton เป็นบริษัทสัญชาติฝรั่งเศสที่มีรายรับต่อปีประมาณ 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.5 ล้านล้านบาท) ส่วนใหญ่ของรายได้นี้มาจากแบรนด์แฟชันและเครื่องหนังในเครืออย่าง Louis Vuitton และ Dom Perignon ทำให้การซื้อ Tiffany ถูกฟันธงว่าจะทำให้ LVMH เข้าถึงตลาดเจ้าสาว และสาวกเครื่องเพชรได้ดีขึ้น
กลุ่มเป้าหมายใหม่จะขยายฐานให้ LVMH มีลูกค้าไฮโซในตลาดสหรัฐอเมริกามากขึ้น เบื้องต้นรายงานระบุว่า LVMH วางแผนที่จะไม่รวมแบรนด์ โดยปล่อยให้ Bulgari และ Tiffany แยกกันทำตลาดต่อไปหลังจากดีลนี้บรรลุผล เชื่อว่าวิธีนี้จะทำให้ LVMH มีแรงสู้กับ 2 คู่แข่งหลักทั้ง Kering เจ้าของแบรนด์ Gucci และบริษัท Richemont ของสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ Cartier ที่ต่างลงลึกมากขึ้นในตลาดไฮเอนด์จิวเวลรี่เหมือนนัดกันมา
ทั้งหมดนี้ต้องปรบมือให้ Financial Times ที่รายงานว่า LVMH และ Tiffany บรรลุข้อตกลงบันลือโลกได้เป็นสำนักข่าวแรก เรียกว่าอีกนิดเดียวก็จะถึงหลัก 5 แสนล้านบาทแล้ว.
]]>ฮ่องกงเป็นพื้นที่ติดอันดับ 1 ใน 5 จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวของนักช้อปที่ชื่นชอบสินค้าหรูหรา เพราะแบรนด์ใหญ่เลือกฮ่องกงเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการตั้งร้านค้าเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ สถิติจาก Bernstein ระบุว่าฮ่องกงครองสัดส่วน 5-10% ของยอดขายสินค้าฟุ่มเฟือยทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณปีละ 285,000 ล้านเหรียญ
แต่ข้อมูลวันที่ 2 ตุลาคมแสดงว่า ยอดค้าปลีกในฮ่องกงประจำเดือนสิงหาคม 62 ลดลง 23% จากปี 61 ซึ่งเป็นสถิติการหดตัวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่มูลค่ายอดขายสินค้ากลุ่มอัญมณี นาฬิกา และสินค้ามีค่ารายการอื่นทำสถิติลดลง 47.4%
Annie Yau Tse ประธานสมาคมการค้าปลีกฮ่องกง Hong Kong Retail Management Association ยอมรับว่ายังไม่เห็นแสงสว่างของวิกฤติพิษประท้วงฮ่องกง บนสถิติล่าสุดที่สรุปแล้วว่าจำนวนนักท่องเที่ยวมาเยือนฮ่องกงลดลง 39% โดยจำนวนนักท่องเที่ยวแผ่นดินใหญ่ลดฮวบ 42.3%
ไม่ว่าจะ Hermes หรือ Tiffany รวมถึงหลายแบรนด์ที่ต้องปิดร้านในฮ่องกงชั่วคราวตั้งแต่เกิดการประท้วงในเดือนมิถุนายน ต่างเลี่ยงที่จะเปิดเผยผลกระทบต่อผลประกอบการในไตรมาส 2 แต่การสำรวจของบริษัท RBC คาดว่าแบรนด์ส่วนใหญ่จะประสบภาวะยอดขายลดลงระหว่าง 30-60% ซึ่งจะปรากฏเป็นตัวเลขในรายงานไตรมาส 3
บริษัทวิจัย Bain & Co มองว่าภาวะนี้จะส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจสินค้าหรูหราหรือ luxury sector ระดับโลกมีการเติบโตระดับต่ำในปีนี้ คิดเป็นการเติบโต 4-6% เท่านั้น
แบรนด์ผู้ผลิตนาฬิกามีแนวโน้มที่จะเป็นกลุ่มเจ็บหนัก เพราะฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการค้านาฬิการะดับไฮเอนด์ เห็นได้ชัดจากที่กลุ่ม Swatch Group สัญชาติสวิตเซอร์แลนด์และกลุ่ม Richemont เจ้าของแบรนด์ Cartier ทำเงินจากตลาดฮ่องกงมากกว่า 11-12% จากยอดขายทั่วโลก
ห้างสรรพสินค้าหลักมากกว่า 30 แห่งตัดสินใจปิดบริการชั่วคราวในวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยไม่เพียงห้างสรรพสินค้า แต่แบรนด์หรูยังจำเป็นต้องปิดสาขาในสนามบินด้วย หนึ่งในนั้นคือ Hermes ผู้ผลิตกระเป๋าหนังสุดหรู Birkin ใบละ 6 แสนถึงเฉียด 3 ล้านที่เผยเมื่อกันยายนที่ผ่านมาว่าถูกกดดันให้ปิดร้านชั่วคราวทั้งหมด 5 สาขาในเกาะฮ่องกง
น่าเสียดายที่แบรนด์อื่นไม่เปิดเผยจำนวนร้านสาขาที่ปิดทำการชั่วคราว แต่สิ่งที่ชัดเจนคือทุกแบรนด์สูญเสียการขายอย่างชัดเจน เพราะการปิดห้าง 1 ต.ค. เกิดขึ้นในช่วงวันหยุดประจำปีซึ่งเรียกกันว่า Golden Week ที่ปกติจะเป็นช่วงเวลาที่คึกคักสุดขีดสำหรับผู้ค้าปลีกในฮ่องกง
นอกจากการปิดร้าน งานอีเวนท์ของแบรนด์ก็ต้องระงับด้วย หนึ่งในนั้นคือ Chanel ที่วางแผนจัดแสดงแฟชั่นโชว์วันที่ 6 พฤศจิกายนเพื่อนำเสนอคอลเลคชั่น “Cruise” ก็ตัดสินใจเลื่อนโดยหยอดคำหวานว่างานแสดงแฟชันจะเกิดขึ้นในอนาคต ในช่วงเวลาที่เหมาะสมกว่านี้
การสำรวจตลาดพบด้วยว่าแบรนด์กำลังหาทางเข้าถึงนักท่องเที่ยวชาวจีนผ่านแหล่งช้อปปิ้งอื่นแทนฮ่องกง นอกจากบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างญี่ปุ่น นักวิเคราะห์มองว่าเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ เป็นพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากการถดถอยในตลาดฮ่องกง.
]]>