TrueMoney – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 01 Apr 2019 09:48:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 10 ปี E-Wallet ต้องเจอโจทย์ยาก ความท้าทายที่ “TrueMoney” ต้องฟันฝ่า https://positioningmag.com/1222706 Mon, 01 Apr 2019 08:59:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1222706 แม้กระแส Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสดดูจะเป็นที่คุ้นเคยของคนไทยไปแล้ว เดี๋ยวนี้หลายคนเริ่มไม่พกเงินสดติดตัว อยากซื้ออะไรก็หยิบมือถือขึ้นมาจ่ายสะดวกสบายไม่ยุ่งยาก แต่มีบริการหนึ่งที่มาก่อนใครเพื่อน หากจนถึงวันนี้ยังไม่เรียกเต็มปากเต็มคำว่า “แจ้งเกิด” ได้ คือ “E-Wallet” หรือกระเป๋าเงินออนไลน์

กระแส E-Wallet ในบ้านเราเริ่มต้นด้วยกลุ่มโอเปอเรเตอร์เมื่อ 10 กว่าปีก่อนทั้ง Ais ที่มี mPay, Dtac มี Jaew Wallet ส่วน True ก็มี TrueMoney ก่อนจะตามมาด้วยเจ้าอื่นๆ ทั้ง AirPay, PaySocial และ Rabbit LINE Pay เป็นต้น

ส่วนที่บอกว่ายังไม่เรียกเต็มปากเต็มคำว่า “แจ้งเกิด” ได้เต็มตัว เพราะกลุ่มที่มาก่อนใครเพื่อน ที่ในช่วงเปิดตัวต่างทุ่มงบเป็น 100 ล้าน อัดโปรโมชั่น สารพัดวิธีดึงดูดลูกค้าแต่ก็เอาไม่อยู่ โดย Dtac ได้ตัดสินใจยุติให้บริการ Jaew Wallet ไปเมื่อปลายปี 2017 ฟาก Ais แม้ยังไม่ถอดใจแต่เปลี่ยนวิธีใหม่โดยใช้เงินรวม 787 ล้านบาท เข้าเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นหลักของ “Rabbit Line Pay” เมื่อต้นปี 2018

ในการแถลงข่าวครั้งนั้น Ais ได้ระบุเหตุผลที่ตัดสินใจร่วมทุน ด้วยที่ผ่านมากลุ่มผู้ใช้งานหลักของ mPay มักจะอยู่ในกลุ่มของลูกค้า B2B เท่านั้น ส่วนลูกค้าทั่วไปยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก ดังนั้นหลังจากร่วมทุนเสร็จ mPay ยังอยู่ก็จริงแต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะลูกค้า B2B ที่มีราว 2 หมื่นราย ลูกค้าทั่วไปที่มีอยู่ราว 2 ล้านราย Active 4-5 แสนราย จะถูกโอนเข้าไปเป็น Rabbit Line Pay ทั้งหมด

วันนี้จึงเหลือเพียง TrueMoney ที่ทำตลาดอย่างจริงจัง โดย TrueMoney ระบุว่าตัวเองเป็นเบอร์ 1 ในกลุ่ม E-Wallet มี Active User 7 ล้านบัญชี ซึ่งตัวเลขนี้นับจากการใช้งานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และตัวเลขเดียวกันนี้จะว่าเยอะในมุมของ TrueMoney ก็ไม่ผิด แต่จะว่าน้อยก็ได้เช่นเดียวกัน

เพราะเมื่อเทียบกับตัวเลขประชากร 66.2 ล้านคน ภาพรวมของคนไทยมีบัญชีธนาคาร 99 ล้านบัญชี คิดเป็นสัดส่วนเข้าถึงประชากร 78.1% บัตรเครดิต 22 ล้านใบ บัตรเดบิต 67 ล้านใบ ในขณะที่ Online Banking มีผู้ใช้ทะลุหลัก 10 ล้าน ทั้ง Internet Banking 23 ล้านบัญชี, Mobile Banking 38 ล้านบัญชี ส่วน พร้อมเพย์ ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาได้ 2 ปี มีผู้ใช้งานถึง 39 ล้านบัญชีด้วยกัน

หนึ่งในความคิดเห็นที่น่าสนใจต่อวงการ E-Wallet คือ “ป้อม – ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ” หนึ่งในกูรูด้าน e-Commerce ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการกว่า 20 ปี ผู้ก่อตั้ง TARAD.com ได้กล่าวว่า สาเหตุที่ E-Wallet ไม่ได้เติบโตหวือหวา เพราะคนไทยไม่ได้โยกเงินออกจากบัญชีธนาคาร ต่างจากจีนที่โตเพราะคนส่วนใหญ่ไม่มีบัญชีธนาคาร

ที่สำคัญ Mobile Banking ของจีนไม่สะดวกเท่าเมืองไทย ที่สามารถโอนจ่ายได้ครบ ที่สำคัญ “ฟรี” คนจึงมองว่ายังไม่มีความจำเป็นที่ต้องโยกเงินออกไปอยู่ข้างนอก แต่ถ้าถ้าถามว่า E-Wallet จะโตได้ไหม? คำตอบคือโตได้ แต่กำไรจะโตน้อยหน่อย ดังนั้นการจะทำให้ E-Wallet เติบโตจึงต้องทำให้ผู้บริโภค “คุ้นชิน” และสร้าง “ความต่าง” กับการใช้เงินสดเสียก่อน

วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะดึงคนมาใช้งานในระยะแรก จึงต้องอัด “โปรโมชั่น” เข้าไป โดย TrueMoney ใช้วิธีให้เงินคืนตั้งแต่ 1 บาทไปจนถึง 100 บาท รวมไปถึงให้สะสมคะแนนของ True ทุก 25 บาทจะได้ 1 คะแนนซึ่ง “นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล” ผู้อำนวยการฝ่ายทางพาณิชย์ บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด (ประเทศไทย) บอกว่า นี่คือประโยชน์ที่ได้และความต่างกับเงินสด

“การเติบโตของ TrueMoney ต้องใช้เวลา เพราะต้องทำให้ผู้บริโภคคุ้นชินเสียก่อน แต่ที่ผ่านมาก็ถือว่าทำได้ดีพอสมควร ปัจจุบันลูกค้ามีการใช้งานเฉลี่ยเดือนละ 8 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากช่วงปลายปีที่เฉลี่ยเพียง 5-7 ครั้ง และยอดรายจ่ายเมื่อ 2 ปีก่อนอยู่ราว 100 ต้นๆ วันนี้ 250-300 บาทต่อครั้ง ยิ่งเมื่อเทียบกับฐานลูกค้าที่เรามีกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ โอกาสของ TrueMoney ยังมีอีกมาก”

นิรันดร์ ฟูวัฒนานุกูล ผู้อำนวยการฝ่ายทางพาณิชย์ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด (ประเทศไทย)

แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นความท้าทายของ E-Wallet คือยังไม่มีตัวเลือกร้านค้ามากพอที่จะจ่าย ในปี 2019 นี้ TrueMoney จึงตั้งเป้าเพิ่มจำนวนร้านค้าจาก 2 แสนร้านค้าเป็น 3 แสนร้านค้า โดยตัวเลขหลักๆ ที่เพิ่มเข้ามานั้นจะเป็น “ร้านอาหาร” โดยเฉพาะร้านอาหารตามสั่งทั่วไป

เพราะเป้าหมายของ TrueMoney ต้องการขยับฐานลูกค้าอายุเฉลี่ย 18-22 ปี ที่มาจากการวางจุดเด่นในระยะแรกคือการเติมเน็ตและเล่นเกม ปัจจุบัน 4 อันดับบริการที่คนใช้มากที่สุดคือเติมเน็ตและเติมเงิน, โอนเงิน, เติมเกมและ 7-Eleven ไปสู่กลุ่มที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี จึงต้องเติมสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวพวกเขาจะได้กระตุ้นการใช้งาน และร้านอาหารเป็นสิ่งที่วัยทำงานต้องกินทุกวันอยู่แล้ว

ที่มาของรูป : Facebook TrueMoney
ที่มาของรูป : Facebook TrueMoney

ก่อนหน้านี้ TrueMoney ได้ขยับเข้าไปหากลุ่มนี้ด้วยการขยายไปสู่กลุ่มการเดินทางบ้างแล้ว โดยได้เข้าไปเพิ่มจุดชำระที่เรือด่วนเข้าพระยา และมีแผนที่จะขยายไปยังรถไฟฟ้าใต้ดินในเร็วๆ นี้ด้วย

ในขณะเดียวกันก็เสริมจุดแข็งของตัวเองเรื่องเกมด้วย ล่าลุดได้จับมือกับ Google Play ให้สามารถชำระเงินด้วย TrueMoney โดยหนึ่งในข้อมูลที่น่าสนใจคือ 80-90% มาจากการใช้จ่ายเกี่ยวกับเกม คาดว่าความร่วมมือครั้งนี้จะมีผู้ใช้งานราว 1 ล้านรายทั้งลูกค้าใหม่และลูกค้าเก่า

TrueMoney หวังว่าการขยับตัวในครั้งนี้จะทำให้ยอด Active User ทะลุ 10 ล้านบัญชี และแจ้งเกิดได้อย่างเต็มภาคภูมิเสียทีหลังจากที่ปีก่อนก็พลาดตัวเลขนี้ไปอย่างน่าเสียดาย

]]>
1222706
แจกแรงข้ามปี TrueMoney Wallet ชวนคุณมาร่วมสนุก ในแคมเปญ “เปย์ง่าย ได้รถ” เพื่อชิงรางวัลมากมาย มูลค่ากว่า 4.5 ล้านบาท https://positioningmag.com/1197902 Fri, 16 Nov 2018 06:34:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1197902 TrueMoney Wallet ไม่หยุดดีกรีความแรง แจกไม่ยั้งข้ามปีกับแคมเปญ “เปย์ง่าย ได้รถ” พร้อมสโลแกน แจกครั้งใหม่! เจ๋งกว่าเดิม! ด้วยรางวัลใหญ่อย่างรถยนต์ Honda Civic 1.8 EL และของรางวัลอื่นๆ อีกมากมายรวมมูลค่ากว่า 4.5 ล้านบาท การันตีความเจ๋งด้วยการแจกรถทุกเดือน แจกเงินทุกสัปดาห์ พร้อมให้แฟนๆ TrueMoney Wallet มาร่วมสนุกได้แล้วตั้งแต่ วันนี้ถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562

แฟนๆ สามารถร่วมสนุกง่ายๆ เพียงทำรายการต่างๆ ผ่านแอป TrueMoney Wallet โดยลูกค้าจะได้รับ สิทธิ์ลุ้นต่อทุกๆ รายการที่ทำ ดังนี้

  • ทำรายการซื้อสินค้าที่ร้านค้าต่างๆ ที่รับชำระสินค้าด้วย TrueMoney Wallet เช่น 7Eleven, McDonald’s, Swensen’s, Sizzler, Dairy Queen, TrueCoffee และอีกมากมาย คลิก
  • ทำรายการเติมเงิน หรือซื้อแพ็คเกจเน็ตเสริม TrueMove H ผ่านแอป TrueMoney Wallet
  • ทำรายการโอนเงินให้เพื่อนผ่านแอป TrueMoney Wallet (เริ่มต้นที่ 10 บาท)
  • ทำรายการซื้อแอปพลิเคชัน ไอเทมเกม สติกเกอร์ หรือสินค้าออนไลน์ต่างๆ ผ่านบัตร TrueMoney WeCard
  • ทำรายการซื้อแอปพลิเคชัน ซื้อสินค้าในแอป เพลง หนัง หรือสติกเกอร์ บน App Store ผ่านการเชื่อมต่อ Apple Direct
  • ทำรายการบริจาคเงินให้มูลนิธิด้วยแอป TrueMoney Wallet (เริ่มต้นที่ 10 บาท)
  • ทำรายการซื้อบัตรเงินสดทรูมันนี่ผ่านแอป TrueMoney Wallet
  • ทำรายการจ่ายบิลต่างๆ ผ่านแอป TrueMoney Wallet เช่น บิลกลุ่มทรู, บิลกลุ่มสาธารณูปโภค, บิลกลุ่มบัตรเครดิต, บิลกลุ่มลิสซิ่ง, บิลกลุ่มประกันภัย, บิลกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และบิลอื่นๆ คลิก
  • ทำการผูกบัญชีธนาคาร และเติมเงินเข้าบัญชี TrueMoney Wallet

หลังทำรายการผ่านแอป TrueMoney Wallet เรียบร้อย จะได้รับสิทธิ์เล่นเกมลุ้นรางวัล โดยจะแจกรถยนต์ Honda Civic 1.8 EL จำนวน 1 คัน และสร้อยคอทองคำ 100 เส้น ทุกเดือน (รวมทั้งสิ้นรถยนต์จำนวน 3 คันและสร้อยคอทองคำ 300 เส้น) ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ลูกค้ายังสามารถลุ้นโชคต่อที่ 2 ด้วยการแคปเจอร์หน้ารางวัลที่ได้ลุ้นในต่อที่ 1 และโพสต์ลง Facebook หรือ Twitter ตั้งค่าเป็นสาธารณะ พร้อมใส่ #เปย์ง่ายได้รถ เพื่อลุ้นรับเงิน 10,000 บาท เข้าแอป TrueMoney Wallet ทุกสัปดาห์ มาร่วมสนุกกันได้แล้วที่นี่ d.truemoney.com/Lucky-Draw-Play (สำหรับโทรศัพท์มือถือ)

ใครยังไม่มีแอป TrueMoney Wallet กดโหลดเลย ฟรี! ใช้ได้ทุกเครือข่าย d.truemoney.com/InstallApp (สำหรับโทรศัพท์มือถือ)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม d.truemoney.com/Lucky-Draw

]]>
1197902
ทรูเปิดศึก ชิงเค้ก คิวอาร์โค้ด เพย์เมนต์ ใช้ “หมื่นโป๊ป” จุดพลุดึงร้านค้า SME ร่วม https://positioningmag.com/1166869 Mon, 23 Apr 2018 09:10:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1166869 คู่แข่งของบริการโมบาย เพย์เมนต์ยุคนี้ไร้ขอบเขตแล้ว เพราะไม่ได้มีแค่ ธนาคารไทยพาณิชย์ เท่านั้น ค่ายมือถือก็ข้ามฟากเข้าแย่งชิงเค้ก บริการชำระเงินผ่าน “คิวอาร์โค้ด เพย์เมนต์”

ล่าสุด เป็นเกมรุกของ “ทรู” ที่ขอลงสนาม Cashless Society ด้วยการออกแอปพลิเคชั่นทรูเถ้าแก่ 4.0 True Merchant 4.0 ในแคมเปญ True Point & Pay โดยมี “พี่หมื่นโป๊ป” เป็นพรีเซ็นเตอร์เพื่อเรียกกระแสออเจ้า เจ้าของร้านค้าผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่เข้าร่วมโครงการ

ทรูประเมิน เป็นจังหวะที่ดีในการเข้าสู่สังคมไร้เงินสด ทั้งจากนโยบายของรัฐก็สนับสนุน Cashless Economy ตามนโยบายรัฐบาล 4.0 ที่ประกาศเป็นทางการเมื่อเร็วๆ นี้ว่าต้องการให้คนไทยจับจ่ายใช้สอยแบบไม่ต้องใช้เงินสดได้แล้ว ทั้งทางบัตรเครดิต บัตรเดบิต และผ่านทาง QR CODE พร้อมเพย์ และบัตรสวัสดิการทุกหน่วยงานราชการของรัฐ โดยให้ธนาคารกรุงไทยซึ่งเป็นธนาคารหน่วยงานรัฐจะเป็นผู้ดูแลระบบการชำระเงินทั้งหมด ทำให้ภาคเอกชนหลายรายเริ่มขยับรับนโยบายในการสร้างสังคมไร้เงินสดให้ขยายตัวไปยังกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็กทั่วประเทศ

จากตัวเลขทางการของรัฐพบว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการ SMEs ของไทยที่จดทะเบียนนิติบุคคลทั่วประเทศมีอยู่ประมาณ 6 แสนราย และร้านค้าย่อยหรือที่เรียกว่า SOHO ที่ไม่ได้จดทะเบียนในนามนิติบุคคลทั่วประเทศมีอยู่ประมาณมากกว่า 2 ล้านราย

สองกลุ่มนี้คือกลุ่มเป้าหมายใหญ่ที่รัฐบาลต้องการให้เข้าร่วมสังคมไร้เงินสด เพื่อต่อยอดการขยับการค้าของไทยไปสู่ตลาดโลกในอนาคตผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซต่อเนื่อง หลังจากที่แจ็ค หม่า ประธานกรรมการบริหาร อาลีบาบา กรุ๊ป ลงนามความร่วมมือลงทุนกับรัฐบาลไทยเมื่อ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา ในการสนับสนุนการค้าดิจิทัล การท่องเที่ยวของไทย และการส่งออกสินค้าไปประเทศจีน และจะลงลงทุนสร้างศูนย์กระจายสินค้าในไทยมูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแก่ผู้ประกอบการขนส่งสินค้า รวมทั้งศูนย์บริการด้านภาษีและการแลกเปลี่ยนเงินออนไลน์ครบวงจรภายในปีหน้า

ส่วนทรูเองก็มี “ทรูมันนี่” บริการชำระเงินผ่านมือถืออยู่แล้ว โจทย์ต่อไปจึงต้องผลักดันให้ร้านค้าหันมาใช้บริการของทรูมันนี่ให้มากที่สุด

ฐานพล มานะวุฒิเวช ผู้อำนวยการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์และบริหารความสุขลูกค้า บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า แคมเปญ True Point & Pay จะเข้ามาตอบโจทย์ช่วยผู้ประกอบการร้านค้าไม่ต้องไปลงทุนเพิ่มเติมโดยทรูจะลงทุนทั้งระบบให้หมดผ่านแอปพลิเคชั่นทรูเถ้าแก่ 4.0

ผู้ประกอบการ SMEs หรือร้านค้าที่สนใจสามารถโหลดแอปเพื่อเป็นช่องทางในการรับชำระเงินลูกค้าได้ทั้งระบบ iOS และแอนดรอยด์ สมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

ลูกค้าที่มาซื้อสินค้าสามารถชำระเงินผ่านทรูมันนี่ วอลเล็ท ด้วยการสแกนผ่าน QR Code ที่ติดตั้งในร้านค้านั้น จากนั้นได้รับเงินจากทรูมันนี่โดยไม่มีค่าธรรมเนียม

แต่การจูงใจให้ร้านค้ามาใช้บริการและลูกค้าสแกนใช้คิวอาร์โค้ดของทรู นอกจากต้องมี “พี่หมื่นโป๊ป ธนวรรธน์“ จากละคร “บุพเพสันนิวาส” มาเป็นพรีเซ็นเตอร์เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้างแล้ว ยังต้องอาศัย “ตัวช่วย” อื่นๆ มาเป็นกลไกในการจูงใจทั้งร้านค้าและลูกค้าให้หันมาสแกนคิวอาร์โค้ดของทรูแทนการชำระเงินสดหรือใช้คิวอาร์โค้ดของค่ายอื่น

ทั้งการโปรโมตร้านค้าต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ การส่งเสริมการขาย การให้การสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ เช่นคูปอง Voucher และการสะสมคะแนนการแลกแต้มที่เข้าร่วมกับทรูพอยท์

ฐานพล บอกว่า โครงการนี้กลุ่มทรูร่วมกับทรูมันนี่ และทรู ดิจิตอล แอนด์มีเดีย แพลตฟอร์ม โดยทรูมันนี่จะดูแลเป็นช่องทางการรับชำระเงินทั้งระบบ ในขณะที่ทรู ดิจิตอล แอนด์ มีเดีย แพลตฟอร์ม ที่ดูแลทรูไอดีจะช่วยสนับสนุนการค้าขายในสังคมไร้เงินสด

โดยการให้คะแนนพิเศษผ่านทรูพอยท์ในทุกการซื้อและจ่าย ทั้งร้านค้าและผู้ซื้อจะได้รับคะแนน 1 พอยท์จากการใช้จ่ายทุก 25 บาท ที่สามารถนำไปแลกซื้อสินค้าอีกมาก ภายใต้แนวคิดยิ่งขายยิ่งจ่ายยิ่งได้พอยท์ ส่วนลูกค้ายิ่งใช้จ่ายยิ่งได้พอยท์เพิ่ม ส่วนร้านค้ายิ่งขายยิ่งได้ยิ่งรวย.

]]>
1166869
ระเบิดศึกโมบายเพย์เมนต์ วัดพลังเอไอเอส ควงคู่แรบบิท+ไลน์ ปะทะ ทรูผนึกอาลีเพย์ https://positioningmag.com/1161071 Sat, 10 Mar 2018 06:13:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1161071 มองทิศทาง AIS mPAY หลังจับ Rabbit LINE Pay ท้าชน TrueMoney ที่ควงคู่ Alipay หลังจากนิ่งเงียบปล่อยให้คู่แข่งอย่าง ทรู มันนี่ (TrueMoney) จับมือกับ แอนท์ ไฟแนนเชียล (ANT) ผู้ให้บริการอาลีเพย์ (Alipay) เข้ามารุกตลาดโมบายเพย์เมนต์ในประเทศไทยเมื่อปีที่ผ่านมา จนก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า เอ็มเปย์ (mPAY) จะปรับตัวอย่างไรเพื่อรับกับยุคสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ที่ทุกฝ่ายร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

การประกาศร่วมทุนระหว่าง แอดวานซ์ เอ็มเปย์ และ แรบบิท ไลน์ เพย์ จึงกลายมาเป็นคำตอบที่น่าสนใจ และมีโอกาสทำให้ mPAY ที่จะผันตัวไปเป็นแพลตฟอร์มอีเพย์เมนต์ กลับมาเป็นผู้นำในตลาดนี้อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับพันธมิตรหลักอย่างแรบบิท (Rabbit) และไลน์ (LINE)

‘โอกาส’ ที่ทั้ง 3 รายมองเห็นร่วมกันคือ จำนวนลูกค้าที่ใช้งานเครือข่ายเอไอเอสกว่า 40 ล้านราย และจำนวนลูกค้าที่ใช้งาน LINE กว่า 42 ล้านราย ในไทย ที่เชื่อว่าเมื่อโครงสร้างพื้นฐานพร้อม จุดเติมเงิน และรับชำระมีมากขึ้น ผู้บริโภคคนไทยก็พร้อมที่จะปรับตัวเข้าสู่การใช้งานโมบายเพย์เมนต์มากขึ้น

ทั้งนี้ การเข้าไปร่วมทุนของบริษัท แอดวานซ์เอ็มเปย์ จำกัด จะเข้าไปร่วมทุนผ่านการซื้อขายหุ้นเพิ่มใน แรบบิท ไลน์ เพย์ (Rabbit LINE Pay) จำนวน 1,999,998 หุ้น ในราคาหุ้นละ 393.75 บาท รวมเป็นเงิน 787 ล้านบาท ขณะที่ระหว่างผู้ร่วมทุนเดิม ไลน์ เพย์ คอร์ปอเรชั่น และไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) กับบริษัท แรบบิท เพย์ ซิสเทม จำกัดก็ได้มีการเพิ่มทุนอีก 1,999,996หุ้น ในราคาหุ้นละ 100 บาท เพื่อให้ทั้ง 3 รายถือหุ้นเท่ากันที่ 33.33%

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ระบุว่า จากความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้ภาพรวมของโมบายมันนี่ในประเทศไทยเติบโตมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญคืออยู่ภายใต้การร่วมกันผลักดันให้พฤติกรรมการใช้เงินของผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้ช่องทางดิจิทัลที่ประหยัด และปลอดภัยกว่า

โดยข้อมูลจำนวนผู้สมัครใช้งานล่าสุดของ mPAY จะอยู่ที่ราว 3-4 ล้านราย โดยในจำนวนนี้เป็นลูกค้าที่มีการใช้งานเป็นประจำ (Active User) ราว 4-5 แสนราย ในขณะที่ Rabbit LINE Pay (RLP) ให้ข้อมูลว่าปัจจุบันมีลูกค้าสมัครใช้บริการราว 3 ล้านราย และจำนวนการใช้งานสูงสุดใน 1 วันอยู่ที่ 1.5 ล้านราย พร้อมกับประกาศว่า ในช่วงเดือนมิถุนายน ผู้ใช้งาน Rabbit LINE Pay จะสามารถใช้ชำระค่าบริการรถไฟฟ้า BTS ได้

ทั้งนี้ จุดเด่นหลักของ mPAY ที่ทำให้ผู้บริโภคเข้ามาใช้งานคือเป็นช่องทางในการชำระค่าบริการสาธารณูปโภค รวมถึงค่าบริการต่าง ๆ ได้ครอบคลุมมากที่สุดกว่า 200 รายการ ทำให้ เอไอเอส มองว่าการขยับ mPAY ขึ้นไปเป็นแพลตฟอร์มอีเพย์เมนต์ เพื่อนำมาให้บริการลูกค้าโดยเฉพาะลูกค้าองค์กรจะตอบโจทย์ได้ดีกว่า

ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส ให้ข้อมูลเสริมว่า ลูกค้าที่ใช้งานกระเป๋าเงิน mPAY ในปัจจุบันจะค่อย ๆ ถูกไมเกรดให้เข้าไปใช้งาน RLP ภายในแอป myAIS แทน ภายในช่วง 6 เดือนข้างหน้า โดยเหตุที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านเนื่องจากต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าในการสมัครเข้าไปใช้งาน RLP ก่อน

ส่วนรูปแบบการให้บริการของ mPAY ในอนาคต ก็จะหันมาเน้นลูกค้าในส่วนขององค์กรธุรกิจมากขึ้น เนื่องจากรายได้หลักของเอ็มเปย์ในปัจจุบันมาจากลูกค้ากลุ่มดังกล่าวอยู่แล้ว ทั้งในแง่ของการให้บริการโอนเงินระหว่างบริษัท รวมถึงการเชื่อมระบบอีเพย์เมนต์ต่าง ๆ

ดังนั้น ต่อไปในแง่ของการให้บริการกระเป๋าเงินออนไลน์แก่ผู้บริโภคทั่วไปจะอยู่ภายใต้ RLP ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายกว่า จากพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าที่ปัจจุบันกว่า 95% ของผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนมีการติดตั้งและใช้งานแอปพลิเคชัน LINE รวมถึงระยะเวลาในการใช้งานเฉลี่ยของคนไทยในแต่ละวันสูงถึง 63 นาที

จิน วู ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Rabbit LINE Pay เสริมว่า ความร่วมมือระหว่าง LINE และเอไอเอส จริง ๆ แล้วเริ่มขึ้นตั้งแต่ในช่วงปี 2012 จากการให้บริการ LINE Official Sticker น้องอุ่นใจ ถัดมาในปี 2014 ที่ LINE นำเกม Cookie Run เข้ามา เอไอเอส ก็เป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่ร่วมทำแคมเปญการตลาด

จนมาถึงการร่วมมือ AIS mPAY x Rabbit LINE Pay ในครั้งนี้ ที่เข้ามาช่วยเสริมอีโค ซิสเต็มส์ของ RLP ในแง่ของช่องทางการเติมเงินจากเดิมที่ผู้ใช้สามารถเติมเงินเข้ากระเป๋าเงินออนไลน์ได้จากการผูกบัญชีธนาคาร และจุดรับเติมเงินอย่าง Kerry Express ซึ่งเมื่อร่วมกับ mPAY ช่องทางอย่าง M Pay Station ศูนย์บริการเอไอเส และเทเลวิซ รวมจุดเติมเงินอีกกว่า 1 แสนจุดทั่วประเทศ ก็จะสามารถเติมเงินเข้า RLP ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันเมื่อเชื่อมต่อระบบเข้าด้วยกันลูกค้า RLP ก็จะเข้าถึงช่องทางชำระเงินค่าบริการ และค่าสาธารณูปโภคกว่า 200 รายการของ mPAY ไม่นับรวมกับช่องทางชำระเงินอื่น ๆ ที่ทาง RLP อีกกว่า 9,000 จุด และมีแผนที่จะขยายเพิ่มเติมให้เข้าถึงผู้บริโภคทั่วไปอีก

ความร่วมมือครั้งนี้ จึงถือเป็นการปลดล็อก mPAY ที่ถูกปั้นขึ้นมาโดยพี่ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมโทรคมนาคมตั้งแต่ปี 2548 ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวเป็นบริการลูกรักที่อยู่คู่กับซีอีโอคนปัจจุบัน ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาถูกมรสุมกระหน่ำจากการที่เหล่าธนาคารต่างหันมาให้บริการออนไลน์ในรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน

กลับกันเมื่อมาดูในฝั่งของ TrueMoney ที่ปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าที่สมัครใช้งานราว 8 ล้านราย โดยเป็นลูกค้าที่ใช้งานประจำราว 4 ล้านราย ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่วางไว้ และคาดว่าจนถึงปี 2020 จะสามารถเพิ่มฐานลูกค้าที่สมัครใช้งานเป็น 30 ล้านรายได้

โดยในช่วงก่อนหน้านี้ ลูกค้าหลักที่ใช้งาน TrueMoney จะเริ่มจากกลุ่มที่เป็นเกมเมอร์ ใช้ในการเติมเงินเกมออนไลน์ และโอนเงินภายในระบบ จนกระทั่ง TrueMoney จับมือกับ ANT จึงเริ่มขยายการให้บริการสู่การชำระเงินผ่านช่องทางออฟไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะในแง่ของการรองรับนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาเที่ยวในไทย

จุดแข็งสำคัญของ TrueMoney ในเวลานี้จึงขึ้นอยู่กับการนำร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 ที่มีสาขาอยู่มากกว่า 1 หมื่น แห่งทั่วประเทศ ที่มีโอกาสขยายไปให้บริการปล่อยสินเชื่อรายย่อยให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการ เมื่อรวมกับช่องทางชำระสินค้าและบริการในกลุ่มทั้งของซีพี และทรูมูฟ เอช จึงทำให้กลายเป็นผู้นำอยู่ในเวลานี้

เมื่อรวมกับเป้าหมายเดิมของ TrueMoney และ ANT ในการขยายร้านค้าชำระเงินให้กลายเป็น 1 แสนแห่งในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทำให้การแข่งขันระหว่าง 2 กลุ่มพันธมิตรนี้จะช่วยเพิ่มจุดรับชำระเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดให้แก่ประเทศไทย

ขณะที่ถ้ามองในภาพใหญ่ การขยับตัวครั้งนี้ของ mPAY ร่วมกับอีก 2 พันธมิตร ยังเน้นการให้บริการเฉพาะลูกค้าที่ใช้งานในประเทศเท่านั้น ในขณะที่เป้าหมายของทรูมันนี่ ภายใต้แอสเซนด์ กรุ๊ป วางเป้าใหญ่ไปในระดับภูมิภาคอาเซียน ด้วยฐานลูกค้าที่หวังไว้ราว 100 ล้านราย จากจำนวนประชากรกว่า 620 ล้านราย ภายในปี 2020

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายหลักเดียวกันของผู้ให้บริการอีเพย์เมนต์ หรืออีมันนี่ในไทย ที่ถูกผลักดันและกระตุ้นให้เกิดการใช้งานได้สะดวกขึ้นทั้งการมาของระบบชำระเงินผ่าน QRcode จากทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงการโอนเงินภายใต้บริการอย่างพร้อมเพย์ ที่ช่วยตัดปัญหาค่าใช้จ่ายในการโอนเงินข้ามบัญชี และการปรับตัวของหลาย ๆ ธนาคารที่ร่วมวงเข้ามาจับพฤติกรรมการออนไลน์ของลูกค้า ต่างอยู่บนพื้นฐานของการเปลี่ยนประเทศไทยเข้าสู่สังคมไร้เงินสดด้วยกันทั้งสิ้น

‘บริการ RLP ไม่จำกัดว่าเป็นแค่ลูกค้าเอไอเอสถึงจะใช้บริการได้ เพราะใช้การลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประชาชน ใครก็ได้ที่ใช้ไลน์ก็สามารถเข้ามาใช้บริการได้ทุกคน บริการที่สะดวก ปลอดภัยนี้ไม่ได้มุ่งหวังให้คนที่อยากใช้จะต้องย้ายค่ายมาใช้ แต่เรามองว่าทุกคนสามารถใช้บริการนี้ได้’ ปรัธนากล่าวส่งท้าย.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000024058

]]>
1161071