UN – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 07 Sep 2021 08:24:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ออสเตรเลีย’ ยัน! จะผลิต ‘ถ่านหิน’ ในช่วง 10 ปีนี้ แม้ UN เตือนเรื่องสภาพอากาศและเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1350631 Tue, 07 Sep 2021 07:00:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350631 จากภาวะโลกร้อนที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพอากาศที่รุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น ไม่ว่าจะภัยแล้ง คลื่นความร้อน และไฟป่า และน้ำท่วม ทำให้นักวิทยาศาสตร์พยายามเตือนให้แหล่งเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ต้องลดการปล่อยคาร์บอนลง 45% ในทศวรรษนี้ หากโลกต้องควบคุมอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยให้สูงขึ้นถึง 1.5˚C เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม

ถ่านหินเป็นแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนเพียงแหล่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และสหประชาชาติ (United Nations : UN) ได้เรียกร้องให้ประเทศที่อยู่ในองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development – OECD) รวมถึงออสเตรเลีย เลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลภายในปี 2030

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลออสเตรเลียกล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า ประเทศจะยังคงผลิตและส่งออกถ่านหินเกินปี 2030 แม้จะมีคำเตือนจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติ ว่าหากไม่ชะลอการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะ สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ และสภาพอากาศ

ประเทศพัฒนาแล้วอีกหลายประเทศกำลังดำเนินการเพื่อยุติการใช้ถ่านหินภายในสิ้นทศวรรษนี้ อย่างไรก็ตาม Keith Pitt รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรและน้ำของออสเตรเลียมองว่า อนาคตของอุตสาหกรรมที่สำคัญนี้จะถูกตัดสินโดยรัฐบาลออสเตรเลีย ไม่ใช่หน่วยงานต่างประเทศ

โดยรัฐมนตรีระบุถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจหลายประการที่ถ่านหินได้นำมาสู่เศรษฐกิจของออสเตรเลีย ไม่ว่าจะเป็นค่าค่าลิขสิทธิ์และภาษีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ให้แก่รัฐบาลและรัฐบาลกลาง และว่าจ้างชาวออสเตรเลียโดยตรงมากกว่า 50,000 คน แต่ไม่ได้กล่าวถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

“การยุติอุตสาหกรรมถ่านหิน ทำให้ต้องเสียงานหลายพันงาน และการส่งออกมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ โดยจากการคาดการณ์ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศคาดว่า การใช้ถ่านหินทั่วทั้งเอเชียจะเติบโตในอีก 10 ข้างหน้า โดยเฉพาะความต้องการของประเทศต่าง ๆ เช่น จีน อินเดีย และเกาหลีใต้” Keith Pitt  กล่าวในแถลงการณ์

เหมืองถ่านหินในออสเตรเลีย

ทั้งนี้ ประเทศออสเตรเลียมีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหัวสูง เนื่องจากอุตสาหกรรมถ่านหินของประเทศ โดยออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกถ่านหินรายใหญ่เป็น อันดับสองของโลกรองจากจีน ซึ่งโครงการถ่านหินใหม่ 176 โครงการของโลก มีจำนวนถึง 79 โครงการ อยู่ในออสเตรเลีย ปัจจุบัน ชาวออสเตรเลียปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 17 เมตริกตัน ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลก น้อยกว่า 5 ตันต่อคน

เซลวิน ฮาร์ท ที่ปรึกษาพิเศษด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกของยูเอ็น กล่าวว่า “เราเข้าใจดีถึงบทบาทของถ่านหิน และเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่น ๆ ที่มีต่อเศรษฐกิจของออสเตรเลีย แต่อุตสาหกรรมเหมืองแร่ครองส่วนแบ่งเพียงประมาณ 2% ของการจ้างงานทั้งหมดในประเทศ แต่หากโลกไม่เลิกใช้ถ่านหินอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะสร้างความหายนะให้กับเศรษฐกิจของออสเตรเลียตั้งแต่ เกษตรกรรมเพื่อการท่องเที่ยวและทั่วทั้งภาคบริการ”

ทั้งนี้ เซลวิน ฮาร์ท กล่าวชักชวนให้องค์กรธุรกิจและนักลงทุนเลิกใช้ถ่านหินและหันมาสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนซึ่งขณะนี้มีราคาถูกลง โดยประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่กำลังเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ในขณะที่โครงข่ายไฟฟ้าของออสเตรเลียยังคงพึ่งพาถ่านหินอย่างมาก

“เป็นที่ชัดเจนว่าการลดปล่อยคาร์บอนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นโอกาสทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคของเรา โดยโลกกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อด้านวิกฤตสภาพภูมิอากาศ”

เหมืองถ่านหินในประเทศจีน

ที่ผ่านมา ออสเตรเลียให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 26-28% จากระดับปี 2005 ภายในปี 2030 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าข้อสัญญาที่ปรับปรุงใหม่จากทางสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ อาทิ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ได้ให้คำมั่นว่าของประเทศของเขาจะลดการปล่อยมลพิษลง 50-52% ในช่วงเวลาเดียวกัน

ขณะที่ประเทศจีนเป็นผู้บริโภคและผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50% ของการผลิตของโลก ปัจจุบัน กำลังเพิ่มแรงกดดันภายในประเทศที่จะเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเร็วกว่าที่วางแผนไว้

อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลียยังไม่ได้ให้คำมั่นที่จะ ปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ หรือคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้ไม่เกินปริมาณที่ขัยออกจากชั้นบรรยากาศภายในปี 2050 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร รวมถึงประเทศอื่น ๆ ได้ทำไว้ โดย นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน ประธานาธิบดีออสเตรเลีย กล่าวว่า ออสเตรเลียตั้งเป้าที่จะไปให้ถึงศูนย์ให้ เร็วที่สุด

ทั้งนี้ ถ่านหินยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกสำหรับอุตสาหกรรมหนัก เช่น การผลิตเหล็ก ซึ่งพลังงานจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ลมและพลังงานแสงอาทิตย์ไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านพลังงานได้ แต่อาจจะยังมีทางเลือกอื่น เช่น ไฮโดรเจนสีเขียว ที่เป็นไฮโดรเจนที่ปราศจากคาร์บอน กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและค่อย ๆ นำไปใช้ในวงกว้างขึ้น

]]>
1350631
‘UN’ เตือนการวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศอยู่ในระดับ ‘สีแดง’ สำหรับมนุษยชาติ https://positioningmag.com/1345883 Mon, 09 Aug 2021 10:46:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345883 นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศชั้นนำของโลกได้ส่งคำเตือนเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยคาดการณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า

ในปี 2558 เกือบ 200 ประเทศให้ได้บรรลุข้อตกลงด้านสภาพอากาศของปารีสที่ COP21 โดยตกลงที่จะจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศบางคนเชื่อว่าการบรรลุเป้าหมายหเหล่านี้นั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

ขณะที่ รายงานที่คาดการณ์ไว้โดยคณะกรรมการสภาพภูมิอากาศของ UN เตือนว่า การจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส โดยพยายามจำกัดให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสนั้นยืนยันว่า เป็นไปได้ยาก หากไม่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทันที อย่างรวดเร็ว และจำนวนมาก

การจำกัดให้อุณหภูมิสูงไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเป็นเป้าหมายระดับโลกที่สำคัญ เพราะหากเกินกว่าระดับนี้จะทำให้โลกร้อนขึ้นอีก 3 องศาเซลเซียส ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบสภาพอากาศที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ และอาจส่งผลกระทบที่สำคัญต่อภาคการเกษตรและสุขภาพ

ผลการวิจัยล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก 195 ประเทศสมาชิกสรุปว่า อิทธิพลของมนุษย์ทำให้ระบบภูมิอากาศโลกร้อนขึ้นอย่างชัดเจน โดยการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ ได้ส่งผลกระทบต่อทุกภูมิภาคบนโลกแล้ว

ทั้งนี้ รายงานแสดงให้เห็นว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนประมาณ 1.1 องศาเซลเซียสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1850-1900 และพบว่าโดยเฉลี่ยในช่วง 20 ปีข้างหน้า อุณหภูมิโลกคาดว่าจะสูงถึงหรือเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

“การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และการตัดไม้ทำลายป่าทำให้โลกของเรา และทำให้ผู้คนหลายพันล้านตกอยู่ในความเสี่ยงทันที ถือเป็นรหัสสีแดงสำหรับมนุษยชาติ” António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติกล่าว

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการภูมิอากาศของสหประชาชาติ กล่าวว่า การลดการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ อย่าง แข็งแกร่งและยั่งยืน จะจำกัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะมีผลให้คุณภาพอากาศที่ดีขึ้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจใช้เวลา 20-30 ปีเพื่อให้อุณหภูมิโลกคงที่

Photo : Shutterstock

รายงาน IPCC ระบุชัดเจนว่าไม่ใช่แค่เรื่องอุณหภูมิเท่านั้น มันบอกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันในภูมิภาคต่าง ๆ และทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นตามความร้อนของโลกต่อไป  อาทิ ปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักขึ้นและน้ำท่วมที่เกี่ยวข้อง ความแห้งแล้งที่รุนแรงขึ้นในหลายภูมิภาค พื้นที่ชายฝั่งทะเลเพื่อให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดศตวรรษที่ 21 การขยายตัวของการละลายน้ำแข็งชั้นดินเยือกแข็ง การทำให้เป็นกรดในมหาสมุทร และอื่น ๆ อีกมากมาย

มีหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศสุดขั้วทั่วโลก เช่น ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาน้ำท่วมได้คร่าชีวิตผู้คนในยุโรป , จีน และอินเดีย มีควันพิษได้ปกคลุมไซบีเรีย และไฟป่าได้เผาในสหรัฐอเมริกา , แคนาดา , กรีซและตุรกี

ทั้งนี้ ในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์จะร่วมการประชุมทางออนไลน์เพื่อปรึกษาหารือและถกเถียงถึงผลการศึกษาวิจัยด้านสภาพอากาศของพวกเขากับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ และผู้กำหนดนโยบายของประเทศต่าง ๆ โดยจะมีรายงานสรุปสำหรับผู้กำหนดนโยบาย

รายงานดังกล่าวจะมีบทบาทสำคัญในการแนะแนวทางในการรับมือกับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหน้าประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ซึ่งหลายฝ่ายหวังว่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นการ เตือนสติ ให้แก่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ

Source

]]>
1345883
UN เตือน COVID-19 ไม่ใช่เรื่องดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเกิดระยะสั้น พร้อมความทุกข์ยากของคน https://positioningmag.com/1271878 Mon, 06 Apr 2020 04:38:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271878 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า อิงเกอร์ แอนเดอร์สัน (Inger Andersen) ผู้อำนวยการโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงและคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น ในช่วงเวลาที่รัฐบาลของหลายประเทศกำลังรับมือกับการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ไม่ควรถูกมองว่า “เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม”

สหประชาชาติรายงานคำกล่าวของอิงเกอร์ แอนเดอร์สัน เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ว่า “ขณะที่เรากำลังขยับจากการรับมือภาวะสงครามไปเป็นการสร้างสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม (Build Back Better) เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจสัญญาณต่างๆ ของสิ่งแวดล้อม และรู้ว่ามันจะส่งผลต่ออนาคตและคุณภาพชีวิตของเราอย่างไร เพราะ COVID-19 อย่างไรก็ไม่ใช่เรื่องดีสำหรับสิ่งแวดล้อม”

สำหรับผลกระทบของการระบาดใหญ่ของโรค COVID-19 ที่กำลังลุกลามไปทั่วโลก แอนเดอร์สันกล่าวว่า

“ผลที่มองเห็นได้ในเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว เพราะมันเกิดขึ้นพร้อมกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอันน่าเศร้าและความทุกข์ยากของมนุษย์โลก”

“การระบาดใหญ่จะส่งผลให้ปริมาณขยะทางการแพทย์ และของเสียอันตรายเพิ่มพูนมากขึ้น นี่ไม่ใช่รูปแบบของการตอบสนองทางสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ใช่สำหรับนักสิ่งแวดล้อม

เธอกล่าวว่า “ในความเป็นจริงแล้ว สถาบันสมุทรศาสตร์สคริปปส์ (Scripps Institution of Oceanography) ย้ำว่าปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นจะต้องลดลงประมาณ 10% ทั่วโลก และจะต้องต่อเนื่องนานหนึ่งปี กว่าจะเห็นถึงระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ชัดเจน”

“ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นท่ามกลางการระบาดใหญ่อันน่าสะพรึงครั้งนี้ ต้องเป็นสิ่งที่เปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคของเราให้สะอาด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น”

“การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบในระยะยาวเท่านั้น ที่จะเปลี่ยนแนวโน้มของระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้”

ดังนั้น หลังจากวิกฤตครั้งนี้ ในช่วงที่เราวางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานนั้น เรามีโอกาสอย่างแท้จริงที่จะรับมือกับปัญหานี้ ด้วยการลงทุนในพลังงานทดแทน อาคารอัจฉริยะ การขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการขนส่งสาธารณะ … ”

เธอกล่าวว่า “เสาหลักที่สำคัญประการหนึ่งในแผนฟื้นฟูหลังผ่านพ้นโรค COVID-19 จะต้องมาพร้อมกับกรอบการวางแผนที่กระตือรือร้น สามารถวัดผลได้ และไม่แบ่งแย่ง เพราะการรักษาไว้ซึ่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ หลากหลาย และงอกงามนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ทำให้ชีวิตของเราดำเนินต่อไปได้”

]]>
1271878
บอยแบนด์ เกาหลี-จีน กับเวที UN https://positioningmag.com/1190192 Fri, 28 Sep 2018 07:15:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1190192 ปีที่แล้ว TFBoys (The Fighting Boys) วงวัยรุ่นที่ดังที่สุดของจีน ซึ่งมีสมาชิก 3 คน มี หวังเหยี่วน (Wang Yuan) เป็นตัวแทนไปพูดในองค์การสหประชาชาติ (UN) ซึ่งสร้างความเซอร์ไพรส์ว่านักร้องจีนยุคใหม่เป็นที่ยอมรับในความสามารถไม่เฉพาะแค่ในจีน แต่สามารถก้าวสู่สากลได้เช่นกัน และแทนที่จะเป็นตัวแทนจากเคป็อป (K-pop) แต่กลับเป็นซีป็อป (C-pop) ที่แถมสมาชิกก็อายุแต่ละคนก็ยังไม่ถึง 20 แต่ก็ได้รับการยอมรับในความสามารถ

มาปีนี้ จากปรากฏการณ์ของ BTS วงบอยแบนด์จากเกาหลีใต้ ทำให้เราเห็นบทบาทของยูเอ็นที่ให้ความสำคัญกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น อย่างน้อยการยอมรับในสิ่งที่คนรุ่นใหม่ชื่นชอบก็สามารถทำให้ระยะห่างระหว่างยูเอ็นกับประชากรยุคใหม่รู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้น และนั่นย่อมส่งผลให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจอนาคตของโลกใบนี้ร่วมกัน

โดยครั้งนี้ BTS วงบอยแบนด์ชื่อดังจากเกาหลีใต้ที่อเมริกันชนจำนวนไม่น้อยรู้จักเพราะเป็นวงแรกจากเกาหลีใต้ที่มีผลงานขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ต Billboard 200 ของอเมริกา จาก อัลบั้มชุด Love Yourself : Tear ซึ่งได้รับการนำมาต่อยอดเป็นแคมเปญ “Love Myself” ร่วมกับองค์การยูนิเซฟประเทศเกาหลีใต้ โดยแคมเปญ Love Myself ของ BTS มียอดบริจาคแคมเปญอยู่ที่ 1,154,593,599 KRW หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 33 ล้านบาท

ภาพจาก : www.sbs.com.au

แคมเปญนี้ยังสอดคล้องกับแคมเปญ #ENDviolence ซึ่งรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงต่อเยาวชนของทางองค์การยูนิเซฟ

การเลือก BTS ขึ้นพูดที่ยูเอ็นครั้งนี้ ถือเป็นการเลือกที่ถูกที่ถูกเวลา และหัวหน้าวง BTS ยังสามารถถ่ายทอดความคิดความรู้สึกด้วยน้ำเสียงและท่าทางที่เป็นธรรมชาติ และตรงประเด็น

RM (มาจาก แร็ปมอนสเตอร์) เล่าถึงความยากลำบากของตัวเองที่ไม่ต่างกับคนทั่วไป แต่จะยอมรับตัวเองให้มากที่สุด รวมไปถึงกล้าที่จะบอกความเป็นตัวเองออกมาอย่างตรงไปตรงมา โดยมีบทเพลงเป็นกระบอกเสียงที่สามารถสื่อสารเนื้อหาที่กระทบต่อสังคมออกไปได้ด้วย

การขึ้นพูดของสมาชิกวง BTS ตอกย้ำความสำเร็จอีกขั้นของวง และเป็นไฮไลต์ของการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งล่าสุด ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2018 ที่ผ่านมา โดยเป็นการกล่าวสุนทรพจน์เปิดตัวแคมเปญของยูนิเซฟ มีชื่อว่า Generation Unlimited ที่เรียกร้องให้เยาวชนทั่วโลก รักตัวเอง และฟังเสียงตัวเอง

ข้อความที่สื่อสารออกไปยังโดนใจผู้ฟังหลายคนทั่วโลก เพราะปกติคนเรามักจะเลือกช่วยเหลือและหยิบยื่นความปรารถนาดีให้ผู้อื่น แต่กลับหลงลืมและละเลยตัวเองไป ข้อความนี้จึงกระตุ้นให้ใครหลายคนหันกลับมามองและใส่ใจ ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตัวเองมากขึ้น

ย้อนรอย C-Pop บนเวทียูเอ็น

นอกจาก BTS แล้ว รอย หวัง (ROY WANG) หรือ หวังเหยี่วน ที่กล่าวถึงในตอนต้น วัย 17 ปี สมาชิกหนึ่งในสามของ TFBoys ตอนมาพูดที่ยูเอ็นเมื่อต้นปี 2017 ก็กล่าวสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับ UNICEF ในการเยี่ยมเยียนเด็กในที่ทุรกันดารในฐานะตัวแทนเยาวชนจีน

นับได้ว่า เวทีระดับโลกแห่งนี้ เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้บอกเล่าเรื่องราว ซึ่งจะกลายเป็นพลังสำคัญที่ทำให้สังคมขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้นอย่างแท้จริง

Generation Unlimited คือ

ความร่วมมือระดับโลกครั้งใหม่ที่ “ทุ่มเทให้กับการเพิ่มโอกาสและการลงทุนสำหรับเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 10 ถึง 24 ปี” และรวมถึงการส่งข้อความที่ว่า “เวลาของเรา, คราวของเรา และอนาคตที่ไม่จำกัดของเรา” ตามที่ Henrietta Fore ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ อธิบายว่า UNICEF จะให้เสียงของคนหนุ่มสาวเป็นที่ได้ยิน และมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เยาวชนทุกคนโดยเฉพาะเด็กหญิงในการเรียนรู้การฝึกอบรมหรือการจ้างงานที่เหมาะสมกับวัยภายในปี 2030

ที่มา : https://edition.cnn.com/2018/09/20/entertainment/bts-united-nations-intl/index.html

]]>
1190192