VISA – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 30 Aug 2022 11:14:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สิงคโปร์เตรียมออกวีซ่าดึงคนเก่งเข้าทำงานในประเทศ รวมถึง Expat รายได้สูงจากฮ่องกง https://positioningmag.com/1398258 Tue, 30 Aug 2022 09:38:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1398258 สิงคโปร์เตรียมออกวีซ่าให้กับผู้ที่ต้องการเข้าไปทำงานในประเทศ โดยต้องการที่จะดึงดูดแรงงานระดับมันสมองสูงเข้าไปทำงานมากกว่าเดิม หลังจากที่สิงคโปร์เกิดปัญหาแรงงานขาดแคลนในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังเตรียมแผนที่จะดึงชาวต่างชาติที่ทำงานในฮ่องกงให้ย้ายมาทำงานที่สิงคโปร์ด้วย

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวว่าแผนของสิงคโปร์ที่จะดึงดูดให้คนเก่งเข้ามาทำงานเพิ่มมากขึ้น โดยการออกวีซ่าระยะยาว 5 ปี จากเดิมที่วีซ่ามีอายุไม่เกิน 3 ปีเท่านั้น ขณะเดียวกันการเดินเรื่องขอวีซ่าจากเดิมที่มีระยะเวลานานนั้นจะลดลงเหลือแค่ 10 วันเท่านั้น

สำหรับผู้ที่จะสามารถขอวีซ่าดังกล่าวได้นั้นจะต้องมีรายได้อย่างน้อย 30,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อเดือน หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 782,405 บาทต่อเดือน โดยรายได้ที่สูงดังกล่าวนี้จะดึงดูดชาวต่างชาติที่ทำงาน (Expat) จากฮ่องกงย้ายมาทำงานในสิงคโปร์ได้ง่ายมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ถ้าหากเป็นวีซ่าที่เกี่ยวข้องกับงานที่สิงคโปร์ขาดแคลน เช่น ด้านเทคโนโลยี ฯลฯ ก็จะมีเงื่อนไขว่าเงินเดือนขั้นต่ำอยู่ที่ 10,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน หรือราวๆ 381,885 บาทต่อเดือน แต่ถ้าหากเป็นวีซ่าสำหรับผู้ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ไม่ว่าจะเป็น ศิลปะ ดนตรี วัฒนธรรม งานวิจัย หรือแม้แต่ด้านวิชาการ ก็จะยกเว้นเงื่อนไขในเรื่องของรายได้

ตัน ซี เลง รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรมนุษย์ของสิงคโปร์ ได้กล่าวกับ Reuters ว่า เราไม่สามารถปล่อยให้บรรดานักลงทุนเกิดความสงสัยต่อไปได้ว่า สิงคโปร์จะยังเปิดประเทศหรือไม่ เนื่องด้วยสิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็ก ไม่มีทรัพยากรใดๆ ทำให้สิงคโปร์ต้องใช้ยุทธศาสตร์ในการดึงคนเก่งๆ เข้ามาในประเทศ

รัฐบาลสิงคโปร์คาดว่าจะมีผู้ที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวนี้ประมาณ 5% ของผู้ที่ถือ Employment Pass ของสิงคโปร์

ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 สิงคโปร์มีความเข้มงวดในการเข้าประเทศ ขณะเดียวกันก็ยังมีการออกเกณฑ์ที่ทำให้ชาวต่างชาติหางานยากมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ประสบปัญหาที่ชาวต่างชาติเองก็ย้ายออกจากสิงคโปร์ ส่งผลทำให้ประชากรในสิงคโปร์ลดลงครั้งแรกในรอบ 20 ปี จึงทำให้สิงคโปร์ต้องออกแผนการดังกล่าวมาใช้

ก่อนหน้านี้ ลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ได้กล่าวว่าการดึงดูดให้คนเก่งเข้ามาทำงานในสิงคโปร์จะช่วยเพิ่มทักษะให้กับแรงงานรวมถึงบริษัทของสิงคโปร์ เนื่องจากได้ทำงานร่วมกับหัวกะทิที่มีความสามารถ

โดยเกณฑ์การออกวีซ่าใหม่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2023 เป็นต้นไป

]]>
1398258
วีซ่า-มาสเตอร์การ์ด ทิ้งบอมลูกใหญ่! ประกาศระงับการทำธุรกรรมในรัสเซีย https://positioningmag.com/1376485 Sun, 06 Mar 2022 05:33:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376485 วีซ่า (Visa) และ มาสเตอร์การ์ด (Mastercard) 2 ผู้ให้บริการบัตรชำระเงินยักษ์ใหญ่ ได้ประกาศว่ากำลังระงับการดำเนินงานในรัสเซีย ซึ่งถือเป็นการทิ้งบอมระบบการเงินของประเทศรัสเซียครั้งล่าสุด หลังจากที่มีการบุกโจมตียูเครน

โดยมาสเตอร์การ์ด กล่าวว่า บัตรที่ออกโดยธนาคารในรัสเซียจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายอีกต่อไป และบัตรมาสเตอร์การ์ดที่ออกนอกประเทศจะสามารถใช้งานที่ร้านค้าหรือตู้เอทีเอ็มของรัสเซีย

“เราไม่ได้ใช้การตัดสินใจนี้อย่างไม่ใส่ใจ แต่การตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากการหารือกับลูกค้า พันธมิตร และรัฐบาล” มาสเตอร์การ์ดกล่าว

ด้าน วีซ่า กล่าวว่า กำลังทำงานร่วมกับลูกค้าและคู่ค้าในรัสเซียเพื่อยุติการทำธุรกรรมของวีซ่าทั้งหมดในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดย อัล เคลลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของวีซ่า ระบุในถ้อยแถลงว่า “เราถูกบังคับให้ดำเนินการหลังจากการรัสเซียบุกโจมตียูเครนอย่างไม่มีเหตุ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ยอมรับไม่ได้”

เมื่อต้นสัปดาห์วีซ่าและมาสเตอร์การ์ด ได้ประกาศการเคลื่อนไหวที่จำกัดมากขึ้นเพื่อบล็อกสถาบันการเงินจากเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นหลอดเลือดแดงสำหรับระบบการชำระเงิน ทำให้ชาวรัสเซียได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการคว่ำบาตรรวมถึงบทลงโทษทางการเงินที่บังคับใช้โดยรัฐบาลสหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวของ มาสเตอร์การ์ดและวีซ่า ก็ส่งผลต่อกำไรทั้ง 2 บริษัท เพราะรายได้จากรัสเซียคิดเป็น 4% ของรายรับสุทธิทั้งหมดของวีซ่าในปีงบประมาณที่แล้ว ซึ่งรวมถึงเงินที่ได้จากกิจกรรมในประเทศและข้ามพรมแดน ส่วนประเทศยูเครนมีสัดส่วนประมาณ 1% ส่วนมาสเตอร์การ์ดเปิดเผยว่ารายได้จากรัสเซียคิดเป็น 4% ของรายรับสุทธิ อีกประมาณ 2% มาจากยูเครน

ทั้งนี้ นับตั้งแต่การรุกรานของยูเครน ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียก็ลดลงมากกว่า 1 ใน 3 สู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ นั่นเป็นการผลักดันอัตราเงินเฟ้อให้กับครัวเรือนในรัสเซีย ทำให้ชาวรัสเซียแห่ถอนเงินออกจากธนาคาร และไม่ใช่แค่สถาบันการเงิน แต่บริษัทอื่น ๆ ทั่วโลกได้เคลื่อนไหวเพื่อเพิ่มแรงกดดันทางการเงินต่อรัสเซียและผู้คนในรัสเซีย เนื่องจากการจู่โจมยูเครน บางคนขายหุ้นของตนในบริษัทรัสเซีย เช่น BP ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงาน เป็นต้น

Source

]]>
1376485
COVID-19 ติดสปีดไทยเข้าสู่ “สังคมไร้เงินสด” Visa เร่งการใช้งานในระบบขนส่ง-อีคอมเมิร์ซ https://positioningmag.com/1376071 Wed, 02 Mar 2022 08:54:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376071
  • Visa เปิดผลสำรวจคนไทยก้าวเข้าสู่ “สังคมไร้เงินสด” เร็วขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจาก COVID-19 คนไทยถึง 9 ใน 10 เคยทดลองใช้จ่ายแบบไร้เงินสดในชีวิตประจำวัน
  • ธุรกิจของ Visa ช่วงหลังเกิดโรคระบาดยอมรับว่า ‘เหนื่อย’ กว่าที่ผ่านมา เพราะการล็อกดาวน์จะลดการใช้ “เงินก้อนใหญ่” เช่น ทริปท่องเที่ยว
  • อย่างไรก็ตาม บริษัทได้เพิ่มจุดใช้งานร่วมกับขนส่งสาธารณะมากขึ้น ล่าสุดคือรถไฟฟ้า MRT และจัดโปรโมชันร่วมกับอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นช่องทางซื้อสินค้ามาแรงของคนไทย
  • “สุริพงษ์ ตันติยานนท์” ผู้จัดการ วีซ่า (Visa) ประจำประเทศไทย เปิดเผยผลการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเกี่ยวกับการชำระเงิน ประจำปี 2564 ซึ่งสำรวจในคนไทย 1,000 คน อายุ 18-65 ปี ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา โดยมีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

    • เกือบ 9 ใน 10 ของคนไทยเคยลองใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแบบไร้เงินสด
    • 6 ใน 10 ของคนไทยพกเงินสดน้อยลง เทียบกับปี 2562 อัตราอยู่ที่ 3.5 ใน 10 คนเท่านั้น
    • คนไทย 79% มั่นใจว่าสามารถใช้ชีวิตได้ 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องพกเงินสด เทียบกับปี 2563 อยู่ที่ 68% เท่านั้น
    • คนไทย 87% รู้จักการใช้บัตรแบบคอนแทคเลส เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มี 74%
    สังคมไร้เงินสด Visa
    คนไทยกำลังเข้าสู่ “สังคมไร้เงินสด”

    สถิติที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ทำให้เห็นได้ว่าเมืองไทยกำลังเข้าใกล้สังคมไร้เงินสดมากขึ้นเรื่อยๆ และเร็วขึ้นใน 2 ปีที่ผ่านมา โดยมีการระบาดของโรค COVID-19 เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ วัดจากสถิติคนไทย 54% ให้เหตุผลที่ลดการใช้จ่ายด้วยเงินสดเพราะกังวลเรื่องการติดต่อของโรคระบาด

    สำหรับความคาดหวังของผู้บริโภคต่อธุรกรรมที่มองว่าควรจะมีระบบชำระแบบไร้เงินสด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1)ร้านสะดวกซื้อ 2)ชำระบิล 3)ซูเปอร์มาร์เก็ต 4)ขนส่งสาธารณะ และ 5)ร้านอาหาร-เครื่องดื่ม

    VISA สังคมไร้เงินสด

    สุริพงษ์กล่าวว่า ดัชนีชี้วัดความเป็นสังคมไร้เงินสดนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องตัดเงินสดออกจากระบบทั้งหมด แต่วัดจากจุดชำระเงินทุกแห่งมี “ตัวเลือก” ให้เลือกชำระด้วยระบบไร้เงินสดได้ โดยมีสังคมที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย

     

    Visa รุกกลุ่มขนส่งสาธารณะ

    ขนส่งสาธารณะเป็นภาคธุรกิจอันดับที่ 4 ที่คนไทยคาดหวังว่าจะชำระเงินแบบไร้เงินสดได้ เมื่อมองภาพระดับสากลของ Visa เองก็มีการรุกเข้าไปเป็นระบบชำระเงินให้กับขนส่งสาธารณะประเทศต่างๆ ปัจจุบันมีโครงการขนส่งที่ใช้ Visa ชำระเงินแล้วมากกว่า 500 โครงการทั่วโลก

    ส่วนในประเทศไทย มีทั้งหมด 4 โครงการที่ Visa วางระบบแตะจ่ายแบบคอนแทคเลสแล้ว (สามารถใช้บัตรของค่ายอื่นที่มีคอนแทคเลสได้เช่นกัน) ได้แก่ รถประจำทาง ขสมก., ทางพิเศษ 5 สายในกรุงเทพฯ, ดอนเมืองโทลเวย์ และล่าสุด รถไฟฟ้า MRT (สายสีน้ำเงินและสีม่วง)

    การใช้รถไฟฟ้า MRT สามารถแตะบัตรเครดิตแบบคอนแทคเลสได้แล้ว (Photo: MRT)

    สุริพงษ์กล่าวว่า การขยายไปใช้ระบบคอนแทคเลสกับขนส่งสาธารณะมีส่วนสำคัญมากในการส่งเสริมสังคมไร้เงินสด และบริษัทต้องการสนับสนุนให้มีการใช้ได้ทั้งระบบขนส่งของกรุงเทพฯ และขยายไปยังต่างจังหวัดในอนาคต ขณะนี้มีการเจรจากับทุกบริษัทผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทุกสายในไทย นอกเหนือจาก MRT ที่มีการใช้งานแล้ว

    “การใช้คอนแทคเลสแตะจ่ายค่าเดินทางทำให้ผู้โดยสารสะดวกมาก และส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวด้วย เพราะนักท่องเที่ยวต่างรู้จักและถือบัตร Visa โดยปัจจุบันเรามีผู้ถือบัตร 3,600 ล้านใบทั่วโลก การเดินทางจะลดขั้นตอนการซื้อตั๋ว สามารถแตะเข้าระบบได้เลย ทำให้นักท่องเที่ยวสะดวกมากขึ้น” สุริพงษ์กล่าว

     

    2 ปีโรคระบาด ‘เหนื่อย’ แต่เชื่อว่าปีนี้ปรับตัวดีขึ้น

    ด้านการดำเนินงานของ Visa ประเทศไทยในช่วง COVID-19 สุริพงษ์ยอมรับว่าค่อนข้างเหนื่อย เพราะมูลค่าการใช้จ่ายลดลง เนื่องจากคนไทยไม่ได้ใช้จ่าย “เงินก้อนใหญ่” อย่างเคย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อไปทริปท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมถึงการปิดประเทศทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาใช้จ่ายน้อยมาก แต่เชื่อว่าปีนี้จะปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากไทยเปิดระบบ Test & Go ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา และคนไทยน่าจะเริ่มกลับไปเที่ยวต่างประเทศกันเร็วๆ นี้

    “สุริพงษ์ ตันติยานนท์” ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย

    ส่วนการเติบโตของอีคอมเมิร์ซนั้น Visa ได้อานิสงส์ในส่วนนี้เช่นกัน เพราะเป็นช่องทางชำระเงินผ่านมาร์เก็ตเพลสต่างๆ และปีนี้จะยิ่งรุกหนักในตลาดอีคอมเมิร์ซ จะมีการจัดโปรโมชันมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้งาน

    นอกจากนี้ บริษัทยังเข้าไปผลักดัน SMEs ที่ต้องการขยายตลาดต่างประเทศ เนื่องจากการรับโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารจะทำให้ตลาดจำกัดอยู่ในไทย แต่ถ้าหากรับชำระด้วย Visa จะสามารถขายออนไลน์สู่ต่างประเทศได้ง่ายขึ้น

     

    คนไทยสนใจ “คริปโต” แต่รัฐยังไม่สนับสนุน

    ด้านประเด็นเงินคริปโต จากการสำรวจข้างต้นมี คนไทย 69% ที่ตอบว่าสนใจมากหรือค่อนข้างสนใจการลงทุนในสกุลเงินคริปโต โดยส่วนใหญ่ที่ตอบว่าสนใจจะเป็นคนเจนวาย รองมาเป็นเจนซี และตามด้วยเจนเอ็กซ์ จะเห็นได้ว่าคนวัยไม่เกิน 40 ปีจะเป็นกลุ่มที่สนใจมากที่สุด

    ไม่เพียงแต่ลงทุนเท่านั้น คนไทย 85% ตอบว่าสนใจมากหรือค่อนข้างสนใจที่จะใช้คริปโตชำระเงิน

    อย่างไรก็ตาม สุริพงษ์ระบุว่าเนื่องจากรัฐบาลไทยยังไม่สนับสนุนให้ใช้คริปโตชำระเงิน Visa ประเทศไทยจึงยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ขณะที่ในต่างประเทศบางประเทศที่ส่งเสริมคริปโต บริษัทจะมีการเชื่อมเน็ตเวิร์กแปลงเงินคริปโตเป็นเงินเฟียต (คำเรียกรวมของสกุลเงินดั้งเดิมประจำประเทศต่างๆ) ลูกค้าสามารถใช้บัตรชำระเงินให้ร้านค้า และร้านค้าจะได้รับชำระเป็นเงินเฟียตตามปกติ ยังไม่มีระบบจ่ายเป็นคริปโตโดยตรง ต้องแปลงสกุลเงินเป็นเงินเฟียตก่อนเท่านั้น

    ]]>
    1376071
    เปิดอินไซต์ พฤติกรรม ‘Contactless’ ของคนไทย ใช้จ่ายโดยไม่พึ่ง ‘เงินสด’ ได้นานถึง 8 วัน https://positioningmag.com/1324731 Thu, 25 Mar 2021 09:03:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324731 วิกฤตโรคระบาด กระตุ้นให้ผู้คนปรับไลฟ์สไตล์เข้ากับดิจิทัลมากขึ้น หลายคนได้ทดลองใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดเเละมีทัศนคติในการชำระเงินที่เปลี่ยนไปจากเดิม

    ผลสำรวจล่าสุดจากวีซ่า’ (VISA) ชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดหรือ Cashless Society ได้ในปี 2026 หรือเพียง 4-5 ปี นับจากนี้ ถือว่าเร็วขึ้น’ จากเดิมที่คาดว่าจะใช้เวลานานถึง 10 ปี หรือปี 2030

    จากความเห็นของผู้บริโภคจำนวน 1,000 คน อายุระหว่าง 18-65 ปี รายได้ 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน พบว่ากว่า 4 ใน 5 หรือประมาณ 82% ของกลุ่มตัวอย่างได้ทดลองใช้ชีวิตแบบไร้เงินสด โดยเฉลี่ยคนไทยเห็นว่าพวกเขาสามารถใช้ชีวิตอย่างไร้เงินสดได้นานถึง 8.1 วัน เพราะสามารถสั่งอาหารเเบบเดลิเวอรี่ รถเมล์เเละร้านสะดวกซื้อก็แตะบัตรจ่ายได้ 

    เมื่อเจาะลึกลงไป เห็นได้ชัดว่าการมาของ COVID-19 มีผลต่อการใช้จ่ายอย่างมาก โดยสัดส่วนผู้ที่ใช้ชีวิตโดยไร้เงินสด 1 สัปดาห์เพิ่มขึ้นเป็น 19% จากปีก่อนที่ 17% และเมื่อเพิ่มระยะเวลาเป็น 1 เดือนจะมีสัดส่วนที่ 4% จากปีก่อนหน้าที่ 3%

    โดยมีคนไทยพกเงินสดน้อยลงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 51% จากเดิมอยู่ที่ 30% เนื่องจากหันมาใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเห็นว่ามีความสะดวก ไม่ต้องต่อคิว เช็กความเคลื่อนไหวของบัญชีได้ง่าย เเละที่สำคัญกว่า 61% มองว่าช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ด้วย


    ไทยเป็นตลาดใหญ่ที่สำคัญของวีซ่า สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย ระบุ

    วีซ่าเป็นผู้ให้บริการชำระเงินรายใหญ่ ครอบคลุม 200 ประเทศทั่วโลก ที่มีฐานลูกค้า 3,500 ล้านบัญชี ทั้งบัตรเครดิต เดบิต และพรีเพด มีธนาคารพาณิชย์พันธมิตร 15,300 แห่ง ร้านค้า 70 ล้านร้านค้า จำนวนธุรกรรมกว่า 1 แสนล้านรายการ คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่าย 11 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

    ปัจจุบัน ประเทศไทย มีจำนวนผู้ถือบัตรทั้งเครดิตเเละเดบิตกว่า 70-80 ล้านใบ และมีประชากรที่เข้าถึงบัญชีธนาคารสัดส่วนค่อนข้างสูงถึง 83% ทำให้สัดส่วนการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สูงตามไปด้วยที่ 72% และใช้เงินสดเพียง 28%

    ปัจจัยที่สนับสนุนต่อ Cashless Society หลักๆ มาจากความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยีเเละการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 78% มีสมาร์ทโฟน 134% และการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก 79%

    พร้อมๆ กับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่กระตุ้นการใช้ผ่านบริการรับโอนเงินรูปแบบใหม่ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อพร้อมเพย์ให้คนไทยเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

    ผู้บริหารวีซ่า บอกว่า จุดเด่นการใช้จ่ายของคนไทย คือ ชื่นชอบการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดมากที่สุดถึง 94% ตามด้วยวิธีการชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟน 92% และการแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลส (Contactless) 89%

    ส่วนในด้านของการใช้งานจริงนั้น 45% ของผู้ทำแบบสอบถามเลือกชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟนมากที่สุด ตามมาด้วยการสแกนชำระผ่านคิวอาร์โค้ด 42% และแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตร 41%

    คนไทยคุ้นเคยกับการจ่ายผ่านคิวอาร์โค้ด หรือโอนเงินเพื่อจ่าย มากกว่าในต่างประเทศที่นิยมแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตร เพราะคิดว่าการพกบัตรก็ไม่ได้ลำบากมากนัก ขณะเดียวกันช่วงอายุของลูกค้าก็มีผลต่อการเลือกใช้ โดยกลุ่มผู้ใหญ่ยังนิยมพกบัตร ส่วนคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาพร้อมเทคโนโลยีก็จะถนัดจ่ายทางสมาร์ทโฟนมากกว่า

    ส่วนในอนาคตนั้นมองว่า การชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน จะเข้ามาเเทนที่การใช้จ่ายผ่านบัตรในทึ่สุด เเต่ยังไม่ใช่ในเร็วๆ นี้ โดยบัตรที่ทำจากพลาสติกจะยังคงมีต่อไปอีกสักระยะ เเต่จะค่อยๆ ลดลง ตามเจเนอเรชันที่เปลี่ยนไปของสังคม

    Photo : Shutterstock

    เตรียมบุก ‘เเตะเพื่อจ่าย’ ทางเรือ ส่วน MRT ยังต่อรอไปก่อน 

    เหล่านี้ ทำให้กลยุทธ์ของวีซ่าในปี 2021 จะมุ่งไปที่การเพิ่มสัดส่วนธุรกรรมการจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลสเป็น 20% ของธุรกรรมทั้งหมด จากเดิมที่อยู่ราว 15% เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 1 ปี จากก่อนหน้าที่มีแค่ 0.1% เท่านั้น

    นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของจำนวนธุรกรรมนั้น มีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนบัตรเดบิตเครดิตที่หมดอายุของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากบัตรรุ่นใหม่จะมีฟังก์ชันการใช้งานเเบบคอนแทคเลสได้ทันที รวมไปถึงความก้าวหน้าของเครื่องรับบัตร (EDC) ที่สามารถรับชำระได้ 4 in 1 ได้ โดยล่าสุดยอดการใช้ธุรกรรมการใช้ผ่านคอนแทคเลสในไทยมีมากกว่า 2 ล้านรายการต่อเดือน

    นอกจากนี้ วีซ่าจะมีแคมเปญส่งเสริมการใช้จ่ายเเบบคอนแทคเลส โดยการร่วมมือกับพันธมิตรเช่น ผู้ให้บริการทางเรือและรถไฟฟ้าใต้ดิน เเละจับมือกับธุรกิจ e-Wallet รวมไปถึงการทำโปรเจกต์กับธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะนำข้อมูล Big Data อย่างพฤติกรรมผู้บริโภค การใช้จ่ายต่างๆ มาพัฒนาร่วมกัน โดยจะเริ่มใน 2-3 เดือนนี้

    บริการเเตะเพื่อจ่ายในบริการขนส่งทางเรือ คาดว่าจะได้เห็นในช่วงไม่กี่เดือนนี้ ส่วนการเเตะเพื่อใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินนั้น ยังต้องรอการเจรจาจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐเเละเอกชน ซึ่งมีความพยายามจะทำมานานเเล้ว เเต่ตอนนี้ยังไม่สามารถระบุระยะเวลาได้ว่าจะใช้ได้จริงเมื่อใด

    โดยที่ผ่านมา หลังจากมีบริการเเตะเพื่อจ่ายบนรถเมล์ในไทยกว่า 3,000 คันนั้น พบว่ามีกระเเสตอบรับที่ดี เเต่เมื่อต้องเจอกับการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้การเดินทางต้องมีช่วงหยุดชะงักชั่วคราว ก็ส่งผลกระทบเช่นกัน เเต่ก็หวังว่าประชาชนจะกลับมาใช้เพิ่มขึ้น หลังจากสถานการณ์เริ่มคลี่คลายเเละมีการกระจายวัคซีนทั่วถึง

    เเม้จะมีปัจจัยหนุนมากมายที่จะทำให้ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดเร็วขึ้นตามยุคสมัย เเต่ในอีกมุมเมื่อถามว่าอะไรเป็นอุปสรรคบ้าง สุริพงษ์มองว่าคือปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้น ยิ่งเมื่อเกิดวิกฤตก็ยิ่งมีผลต่อการใช้จ่ายของผู้คนด้วย

     

     

    ]]>
    1324731
    เปิด 5 กลยุทธ์ พิชิตยอดขายสุดปังช่วงเทศกาลวันหยุดยุค COVID-19 https://positioningmag.com/1308753 Thu, 03 Dec 2020 10:00:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308753
    เข้าสู่เดือนธันวาคมเป็นเดือนสุดท้ายของปี แน่นอนว่าเป็นช่วงเวลาแห่งเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ อีกทั้งยังมีช่วงวันหยุดยาวให้ได้พักผ่อนกันอย่างเต็มที่ สมกับที่ทำงานมาเหนื่อยๆ ทั้งปี เชื่อว่าถ้าใครที่ไม่ได้ไปเที่ยวในช่วงวันหยุดยาว ก็ต้องอยู่บ้านพักผ่อน เล่นโซเชียลมีเดีย และช้อปปิ้ง กลายเป็นว่าช่วงหยุดยาวก็เป็นอีกหนึ่งช่วงที่จะโกยยอดขายได้เช่นกัน

    ยิ่งการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยิ่งทำให้พฤติกรรมการช้อปปิ้งของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง หลายคนใช้เวลากับการช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น รวมไปถึงการใช้จ่ายผ่านบัตร Contactless เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสต่อกัน

    เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการไม่ว่าจะรายใหญ่ หรือรายเล็กต้องเตรียมปรับตัวให้ทันต่อพฤติกรรมผู้บริโภค และสถานการณ์ในปัจจุบัน หากใครที่กำลังมาหาเคล็ดลับ หรือเทรนด์ของการช้อปปิ้งในยุค New Normal แล้วละก็ คุณมากถูกทางแล้ว

    มีผลสำรวจของวีซ่าเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจภาคฮอลิเดย์อิดิชั่น (The Visa Back to Business Study, Holiday Edition) ได้เผยให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงพร้อมที่จะจับจ่ายในช่วงเทศกาลวันหยุด

    สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย
    • โดย 88% ของผู้ทำแบบสำรวจยังคงวางแผนที่จะซื้อและมอบของขวัญให้กันในช่วงการแพร่ระบาด
    • ธุรกิจขนาดเล็ก60%กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าพวกเขาได้เริ่มเตรียมพร้อมสำหรับเทศกาลนี้ ซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอล หรือแม้กระทั่งเปิดให้บริการนานขึ้น

    ทั้งนี้ จากผลวิจัยของวีซ่า ชี้ให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิด 5 เทรนด์ใหม่ ซึ่งหากเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กสามารถปรับตัวตามกระแสได้ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิตอลก็จะช่วยเพิ่มโอกาสเพิ่มยอดขายและเติบโตอย่างแข็งแกร่งได้

    1. อีคอมเมิร์ซ “ในชีวิตจริง”

    การสำรวจของวีซ่า เกี่ยวกับการทำธุรกิจในช่วงเทศกาลวันหยุดแสดงให้เห็นว่า 59% ของผู้บริโภคที่ใช้จ่ายออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดหนักของ COVID-19 จะยังคงเลือกใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของการจับจ่ายทั้งหมดในช่วงเทศกาลวันหยุด และ “ในชีวิตจริง” ยังมีนักช้อปอีกไม่น้อยที่ยังคงชอบที่จะไปซื้อสินค้าในร้านอยู่

    48% ของผู้บริโภคยังวางแผนที่จะออกไปช้อปปิ้งในห้างร้านตามปกติ โดยวีซ่าเชื่อว่าเส้นบางๆ ที่กั้นระหว่างการช้อปออนไลน์หรือที่ร้านค้าได้หายไปอย่างถาวร ดังนั้น สิ่งสำคัญสำหรับร้านค้าไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ ควรพิจารณาการทำดำเนินธุรกิจที่ผสมผสานระหว่างออนไลน์ และการมีหน้าร้าน หรือเรียกว่า Omnichannel

    2. โซเชียล คอมเมิร์ซกลายเป็นกระแสอย่างเต็มตัว

    โซเชียลคอมเมิร์ซเป็นที่นิยมมากทั้งในตลาดเมืองไทยและเอเชีย และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในซีกโลกตะวันตก โดยมันทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมและก่อให้เกิดการพูดคุยกันทางออนไลน์พร้อมๆ กับการซื้อขายโดยผู้ซื้อไม่ต้องสลับแอพพลิเคชั่นมีการคาดการณ์ว่ามากกว่า 10% ของออเดอร์จากโทรศัพท์มือถือในช่วงเทศกาลวันหยุดจะเกิดจากการซื้อขายผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซ

    โดย 66% ของกลุ่มคน GEN Z พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าพวกเขาเคยซื้อสินค้าบนโซเชียลในช่วงการแพร่ระบาดที่ผ่านมา อ้างอิงจากผลสำรวจของวีซ่า ชี้ให้เห็นว่า 28%ของธุรกิจขนาดเล็ก ได้เคยพยายามทำโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการเข้าถึงลูกค้าใหม่

    3. สร้างความแตกต่างด้วยการชำระเงินแบบ Contactless

    ผลสำรวจของวีซ่า ระบุว่า 78% ของผู้บริโภคได้เปลี่ยนวิถีการชำระเงินไปแล้ว โดยหันมาใช้จ่ายผ่านดิจิตอลคอมเมิร์ซและพึ่งพาเทคโนโลยีอย่างการชำระเงินในรูปแบบ Contactless มากขึ้นเพราะเป็นช่องทางที่ปลอดภัยที่สุดในช่วง COVID19

    การเติบโตของการใช้จ่ายในรูปแบบ Contactless เกิดขึ้นทั่วโลก เพราะความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย เพียงแตะเพื่อจ่าย และได้กลายเป็นทางที่ลูกค้าเลือกใช้มากกว่าวิธีการเดิมๆ และธุรกิจขนาดเล็กเองควรให้ความสำคัญของประสบการณ์การซื้อและการชำระเงินที่เอื้อต่อลูกค้า

    เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาในประเทศไทยได้มีการ “แตะเพื่อจ่าย” ผ่านบัตร Visa Contactless มากกว่าสองล้านครั้งในหนึ่งเดือนเป็นครั้งแรกของวีซ่าในประเทศไทย และ 2 ใน 3 ของผู้บริโภคทั่วโลกคาดว่าจะใช้บริการธุรกิจที่นำเสนอทางเลือกในการจ่ายผ่านบัตร Contactless

    4. บัตรของขวัญกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น

    ผลสำรวจของวีซ่า ได้คาดการณ์ว่าผู้บริโภค 32% จะมอบบัตรของขวัญในรูปแบบดิจิตอลมากขึ้น เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ตามมาด้วยบัตรชนิดอื่นๆ กิจกรรมต่างๆ หรือทริปท่องเที่ยว ที่มีสัดส่วน 19% และดิจิตอลเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ 18% ร้านค้าที่คิดว่าตัวเองเป็นมากกว่า “ร้านค้า” จะมีโอกาสมากกว่าในการเตรียมพร้อมเพื่อเทศกาลช้อปปิ้งที่จะมาถึง

    5. กันไว้ดีกว่าแก้

    ก่อนหน้าการเกิดโรคระบาดครั้งนี้ เป็นเรื่องง่ายที่จะสันนิษฐานว่าอาชญากรทั้งหลายพยายามที่จะโจรกรรมผู้ค้า และองค์กรขนาดใหญ่ น่าเสียดายที่พวกเขาพบว่าบรรดาผู้ประกอบขนาดกลาง และขนาดย่อมกลับไม่ค่อยใส่ใจดูแลป้องกันตัวเองเท่าที่ควร ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาตกเป็นเป้าให้กับมิจฉาชีพเหล่านี้

    ร้านค้าจำเป็นต้องมีวิธีการป้องกัน ในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาสมดุลไม่ทำให้ประสบการณ์การใช้จ่ายของลูกค้าสะดุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลวันหยุดที่คาดว่าจะมีการค้าขายมากกว่าปกติ

    ทางที่ดีที่สุดคือการใช้เครื่องมือตรวจจับการทุจริตที่สามารถใช้งานได้จริง แนะนำให้คุณปรึกษากับธนาคารผู้ให้บริการทางการชำระเงินของคุณ เพื่อหาหนทางที่จะช่วยเพิ่มการอนุมัติธุรกรรมที่ดี ในขณะเดียวกันลดจำนวนธุรกรรมที่น่าสงสัย

    Photo : Pixabay

    ต้องบอกว่าธุรกิจ SME มีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก มีการจ้างงานมากกว่า 1 ใน 3 ทั่วโลก ขณะที่ COVID-19 ไม่เพียงแต่พิสูจน์ให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของร้านค้าขนาดเล็ก มันยังเผยให้เห็นถึงจุดอ่อนของธุรกิจเหล่านั้นด้วย

    เพราะฉะนั้นการใช้ความสร้างสรรค์ และการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ได้ช่วยให้ร้านค้าขนาดเล็กมากมายประสบความสำเร็จมาแล้วมานับไม่ถ้วน ในความเป็นจริงเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก 75% ยังคงมีมุมมองที่ดีต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต ซึ่งนั่นไม่ใช่เป็นความเพียงความฝัน แต่บางทีการมีทัศนคติที่ดีอาจจะเป็นเคล็ดลับที่ดีที่สุดในการทำธุรกิจก็ว่าได้

    เรียกได้ว่า 5 เทรนด์ของวีซ่าล้วนมีประโยชน์แก่ผู้ประกอบการอย่างมาก ทำให้ได้เห็นพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อีกทั้งยังทราบความต้องการที่แท้จริง ร้านค้าควรเรียนรู้ และนำไปปรับใช้ เพื่อสร้างยอดขายสุดปังในช่วงเทศกาลหยุดยาวไปด้วยกัน

    ]]>
    1308753
    ดีลเเพง! Visa ซื้อกิจการ Plaid สตาร์ทอัพพัฒนา API การเงิน มูลค่ากว่า 1.6 แสนล้านบาท https://positioningmag.com/1260572 Tue, 14 Jan 2020 21:02:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1260572 ยักษ์ใหญ่ธุรกิจผู้ให้บริการชำระเงินผ่านบัตรอย่าง Visa ประกาศเข้าซื้อกิจการสตาร์ทอัพฟินเทคดาวรุ่ง “Plaid” ด้วยมูลค่ากว่า 5,300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.6 เเสนล้านบาท) เเพงขึ้นเป็นเท่าตัวจากการเพิ่มทุนครั้งล่าสุด เมื่อปี 2018 ที่บริษัทเคยมีมูลค่า 2,700 ล้านเหรียญ

    สำหรับ Plaid เป็นสตาร์ทอัพผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ API เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลบัญชีธนาคารของผู้ใช้งานเข้ากับแอปพลิเคชั่นบริการทางการเงินต่าง ๆ เป็นที่รู้จักกันอย่างเเพร่หลายในเหล่าผู้พัฒนาฟินเทค (fintech) เเต่คนทั่วไปอาจจะไม่ค่อยรู้จักกัน

    Plaid มีลูกค้าเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงอย่าง Venmo แอปพลิเคชั่นชำระเงินยอดนิยม, Robinhood แอปฯ สำหรับซื้อขายหุ้น เเละ Coinbase ที่ให้บริการซื้อขายเงินคริปโต เป็นต้น

    ในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผู้มีบัญชีธนาคารกว่า 1 ใน 4 ของอเมริกาเชื่อมต่อสู่บริการแอปฯ ฟินเทคต่าง ๆ ด้วย Plaid

    บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นคู่เเข่งกันทั้ง Visa, Mastercard, Citi, American Express รวมถึง Goldman Sachs ต่างก็ร่วมลงทุนในสตาร์ทอัพ Plaid

    อ่านเพิ่มเติม : Mastercard ซื้อกิจการ RickRecon สตาร์ทอัพประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย

    Photo : plaid.com

     

    ในปี 2018 ทาง Plaid ระดมทุนได้ 250 ล้านเหรียญเเละได้รับการประเมินมูลค่าบริษัทเป็น 2,700 ล้านเหรียญ มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นสองเท่าจากปี 2017 ถึง 2018 เเละกำลังขยายไปยังสหราชอาณาจักรและแคนาดา

    Al Kelly ซีอีโอของ Visa เปิดเผยว่า Plaid มีการเติบโตต่อเนื่องจากปี 2015 ด้วยอัตราเฉลี่ยกว่า 100% โดยข้อตกลงนี้จะช่วยในการวางเเผนอนาคตของ Visa ในระยะยาว เเละจะช่วยขยายตลาดเเละเพิ่มรายได้ของบริษัท พร้อมเชื่อมความสัมพันธ์กับกลุ่มฟินเทคด้วย

    ด้าน Zach Perret ซีอีโอของ Plaid บอกกับ CNBC ว่า แบรนด์ของ Visa จะช่วยให้บริษัทพัฒนาความสามารถ พร้อมขยายขนาดบริษัทเเละผลิตภัณฑ์ไปทั่วโลกได้ เเละรู้สึกโชคดีที่จะได้มีส่วนช่วยพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัลของ
    เทคโนโลยีฟินเทค

     

    ที่มา : cnbc

    ]]>
    1260572
    Visa-Mastercard-eBay แท็กทีมถอนตัวจาก ”Libra” ของเฟซบุ๊ก หวั่นปัญหาฟอกเงิน https://positioningmag.com/1249700 Mon, 14 Oct 2019 05:44:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1249700 หลังจากที่ PayPal ได้ประกาศเลิกสนับสนุน Libra ล่าสุด Visa, Mastercard, eBay และ Stripe ต่างประกาศในวันที่ 11 .. ที่ผ่านมาว่าขอถอนตัวไม่เข้าร่วมโปรเจกต์เงินดิจิทัล “Libra” ของเฟซบุ๊ก หวั่นมีปัญหาฟอกเงิน

    CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า บริษัทชื่อดังด้านการเงินทั้ง Visa, Mastercard และ Stripe ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการจ่ายและชำระสินค้า รวมถึง eBay ต่างออกมายืนยันว่าได้ถอนตัวจากโปรเจกต์สกุลเงิน Libra ของเฟซ บุ๊กแล้ว

    บริษัทเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่มีรายชื่อในฐานะผู้ก่อตั้งสมาคม Libra ไม่ต่ำกว่า 2 โหลของทั้งองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและบริษัท

    Mastercard ตัดสินใจจะไม่เป็นสมาชิกของสมาคม Libra ในช่วงเวลานี้โฆษกบริษัท Mastercard กล่าวผ่านแถลงการณ์ให้กับ CNN ภาคธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามทาง Mastercard กล่าวว่า ทางบริษัทยังคงเฝ้าติดตามต่อความพยายามของ Libra ต่อไป

    และเหมือนเช่นที่โฆษก eBay แถลงว่าทางเรานับถืออย่างสูงต่อวิสัยทัศน์ของสมาคม Libra แต่อย่างไรก็ตาม eBay ได้ตัดสินใจที่จะไม่ก้าวต่อไปร่วมกันในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้ง

    ซึ่งก่อนหน้านี้ทางเฟซบุ๊กได้อ้างว่า โปรเจกต์เงินบิทคอยน์ “Libra” จะช่วยพัฒนาการเข้าถึงการให้บริการทางการเงินเพิ่มมากขึ้น

    แต่นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมาที่ทางเฟซบุ๊กได้ประกาศโปรเจกต์นี้ต่อสาธารณะพบว่าทางเฟซบุ๊กได้ถูกตรวจสอบทางความมั่นคงอย่างหนักและได้รับการต่อต้านจากผู้กำกับจากทั่วโลกที่เกรงว่าอาจจะละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้บริโภค และมีความเป็นไปได้ว่าอาจถูกนำไปใช้ในการก่อการร้าย

    ทั้งนี้ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก” ผู้ก่อตั้งร่วมบริษัทเฟซบุ๊ก และซีอีโอบริหารมีกำหนดต้องเข้าให้การกับคณะกรรมาธิการบริการทางการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ในเดือนนี้ โดยหัวหน้าคณะซึ่งเป็น ส.ส จากพรรคเดโมแครตวิพากษ์วิจารณ์โปรเจกต์ Libra ของเฟซบุ๊กอย่างหนัก พร้อมกับเรียกร้องให้ยุติการดำเนินการเสีย

    โฆษกสมาคม Libra ของเฟซบุ๊กกล่าวผ่านแถลงการณ์กับ CNN ภาคธุรกิจว่าเรารู้สึกซาบซึ้งต่อการสนับสนุนของ บริษัทสตริปและอีเบย์ต่อเป้าหมายและพันธกิจของสมาคม Libra”

    Source

    ]]>
    1249700
    วีซ่าปรับตัวรับเทรนใหม่เปิดตัวแพลตฟอร์ม Visa Developer https://positioningmag.com/1111040 Fri, 16 Dec 2016 03:01:47 +0000 http://positioningmag.com/?p=1111040 วีซ่า ระบุความต้องการโซลูชั่นนวัตกรรมการชำระเงินยังคงเพิ่มสูงในประเทศไทย มูลค่าการชำระเงินของวีซ่า เติบโต 9.3% สูงกว่าระบบ แยกเป็นการเติบโตของบัตรเครดิต 8.6% บัตรเดบิต 18% พร้อมปรับเทรนใหม่เปิดตัวแพลตฟอร์ม Visa Developer ที่เปลี่ยน VisaNet ซึ่งเป็นเครือข่ายการชำระเงินค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดของโลก เป็นแพลตฟอร์มเปิด (open platform) สำหรับการชำระเงิน และการค้าโดยนักพัฒนาซอฟต์แวร์

    นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ขณะที่การเติบโตของนวัตกรรมไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับอุตสาหกรรมการชำระเงิน แต่เรากำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนด้านนวัตกรรม โลกการค้าดิจิตอลในรูปแบบใหม่ และการเชื่อมต่อกันอย่างมากที่สุด (hyper-connected) กำลังเกิดขึ้น ซึ่งเมื่อลูกค้าสถาบันการเงินออกบัตรวีซ่า จะได้ออกสินค้าที่เป็นมากกว่าบัตรหนึ่งใบ ซึ่งจะเป็นบัตรที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าสถานการเงินนั้นๆ ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ให้กับลูกค้าสถาบันการเงิน และร้านค้าได้เป็นอย่างดี โดยถือเป็นการเปิด “บัญชีวีซ่า” ที่ทำให้ลูกค้าสามารถใช้บัตรวีซ่าได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้รับการเชื่อมต่อ

    โดยมูลค่าการชำระเงินทั้งหมดจากบัตรวีซ่า ได้เพิ่มขึ้นถึง 9.3%ในปีงบประมาณที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเติบโตของบัตรเดบิตวีซ่า 18% และบัตรเครดิตวีซ่า 8.6% ขณะที่มูลค่าธุรกรรมบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่เกิดขึ้นจากบัตรวีซ่า สูงขึ้นถึง 24% ปัจจุบัน วีซ่ามีผู้ถือบัตรประมาณ 2.4 พันล้านใบ ร้านค้าที่รับบัตรวีซ่า 40 ล้านร้าน มีธนาคารที่ใช้บัตรวีซ่า ประมาณ 1,600 แห่ง ที่กระจายอยู่ 200 ประเทศทั่วโลก

    นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนนวัตกรรมการชำระเงินในประเทศไทย วีซ่าได้เปิดตัวแพลตฟอร์ม Visa Developer ที่เปลี่ยน VisaNet ซึ่งเป็นเครือข่ายการชำระเงินค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดของโลก เป็นแพลตฟอร์มเปิด (open platform) สำหรับการชำระเงิน และการค้า โดยนักพัฒนาซอฟต์แวร์จากสถาบันทางการเงิน บริษัทด้านเทคโนโลยี ร้านค้า และสตาร์อัปต่างๆ จะสามารถเข้าถึงระบบการชำระเงินยอดนิยมของวีซ่า ผ่าน APIs, SDKs และการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ด้วยตนเอง

    ตัวอย่างของโซลูชั่นที่ได้รับการพัฒนา และเปิดตัวในประเทศไทย คือ แอปพลิเคชั่นมือถือที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ซึ่งใช้ Visa Direct API เพื่อให้บริการด้านการชำระเงินแบบเรียลไทม์ โดยผลิตภัณฑ์นี้จะทำเกิดการให้การโอนคะแนนสะสม หรือเงินแก่ผู้ใช้บัตรโดยตรง บริการ Visa Tokens Service (VTS) เป็นอีก API หนึ่งที่ช่วยให้สถาบันทางการเงินสามารถออกรหัสโทเคน ซึ่งเป็นบัญชีดิจิตอลที่เพิ่มระบบความปลอดภัย และทำให้การซื้อสินค้าของผู้บริโภคง่ายดายยิ่งขึ้น เมื่อทำการซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ส่วนตัว หรืออุปกรณ์มือถืออื่นๆ

    นอกจากนี้ วีซ่ากำลังขยายจุดรับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วประเทศไทย โดยปัจจุบันมีจำนวนของร้านค้าที่รับบัตรวีซ่า ได้เพิ่มขึ้นเกือบครึ่งล้านในปี 2559 โดยเฉพาะนอกกรุงเทพมหานคร และยังมีจำนวนของเครื่องรูดบัตรพกพาสำหรับมือถือ และแท็บเล็ต (mPOS) ที่มีการใช้งานอยู่เกือบถึงห้าหมื่นเครื่อง ซึ่งเป็นที่นิยมในธุรกิจประกันชีวิต

    “เทคโนโลยีมีศักยภาพอันมหาศาลที่จะยกระดับประสบการณ์การชำระเงินของผู้บริโภคทั้งหมด ปัจจุบัน ธุรกิจจำนวนมากยังคงพึ่งพาระบบแบบเดิมๆ ในขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ผู้บริโภคต้องการทุกสิ่งทุกอย่างทันทีในเวลาอันสั้น ประสบการณ์ของพวกเขา (customer experience) มีความสำคัญอย่างยิ่ง วีซ่ามีความมุ่งมั่นที่จะขยายการเข้าถึงการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ และเพิ่มมูลค่า และประสิทธิภาพในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงนี้” นายสุริพงษ์ กล่าว

    ที่มา : http://astv.mobi/AbCqPsv

    ]]>
    1111040