WHA – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 22 Apr 2021 08:34:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 WHAUP ลุยโปรเจ็กต์โซล่าร์ เต็มสูบ ล่าสุดคว้างานติดตั้ง Solar Farm ขนาด 2.32 MW เดินหน้าทั้งปีปั้นยอดกำลังผลิตไฟฟ้าแตะ 670 MW https://positioningmag.com/1328821 Thu, 22 Apr 2021 08:40:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328821 บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (WHAUP) เดินหน้าลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ (Solar) ล่าสุดคว้างานติดตั้ง Solar Farm บริษัท อุตสาหกรรมแป้งมันบ้านโป่ง จำกัด บนพื้นที่ 20 ไร่ ขนาดกำลังผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ระดับ 2.32 เมกะวัตต์ พร้อมระบุสามารถประหยัดต้นทุนพลังงานให้ลูกค้าได้ถึง 206 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 25 ปี พร้อมดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565 จ่อทยอยรับรู้รายได้จากโปรเจกต์ดังกล่าวภายในไตรมาส1/2565 มั่นใจปีนี้ตั้งเป้ากำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นของ WHAUP แตะระดับ 670 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 590 เมกะวัตต์

ดร.นิพนธ์ บุญเดชานันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP เปิดเผยว่า บริษัทฯ ยังคงมุ่งเน้นการเติบโตทางธุรกิจทั้งภายในและนอกนิคมอุตสาหกรรม ทั้งในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมโซลูชั่นในการขยายธุรกิจด้านพลังงานทดแทน อาทิ โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งในแบบที่ติดตั้งบนหลังคาโรงงาน บนหลังคาที่จอดรถ แบบลอยน้ำ และบนพื้นดิน (Solar Rooftop, Solar carpark, Floating solar and Solar Farm) รวมถึงการให้บริการสาธารณูปโภครูปแบบใหม่ๆ ให้กับกลุ่มลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าปี 2564 จะมีการติดตั้ง Solar Rooftop เพิ่มเติมอีก 40 เมกะวัตต์ จากปัจจุบัน ที่ทยอยติดตั้งไป 61 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะทยอยเปิดดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ประมาณ 22 เมกะวัตต์ ส่งผลให้บริษัทฯ ตั้งเป้ากำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นของ WHAUP แตะระดับ 670 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นของ WHAUP ที่ 590 เมกะวัตต์

ล่าสุด บริษัทฯได้ลงนามเซ็นสัญญาร่วมกับ บริษัท อุตสาหกรรมแป้งมันบ้านโป่ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลัง เพื่อติดตั้งแผง Solar Farm บนพื้นที่ 20 ไร่ หรือคิดเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ระดับ 2.32 เมกะวัตต์ โดยโรงงานดังกล่าวตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565 ที่สำคัญจะส่งผลให้ลูกค้าสามารถประหยัดต้นทุนพลังงานได้ถึง 206 ล้านบาทตลอดระยะเวลา 25 ปี  สำหรับโปรเจกต์ในครั้งนี้บริษัทฯจะเริ่มทยอยรับรู้รายได้จากการติดตั้งดังกล่าวภายในไตรมาส1/2565 เป็นต้นไป

ทั้งนี้จากประสบการณ์ความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจสาธารณูปโภคและธุรกิจพลังงาน ทั้งภายในและนอกนิคมอุตสาหกรรม เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า นอกจาก WHAUP มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ การติดตั้งโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในหลายรูปแบบ ทั้งการติดตั้งบนหลังคาโรงงาน หลังคาที่จอดรถ แบบลอยน้ำ และบนพื้นดิน นับเป็น Track record โครงการที่สำคัญ รวมถึงมีมาตรฐานสูงด้านวิศวกรรมและความปลอดภัยแล้ว ยังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการเตรียมก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านธุรกิจสาธารณูปโภคและธุรกิจพลังงานในภูมิภาคเอเชียอย่างครบวงจรในอนาคตอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา WHAUP มีการขยายโครงการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) ให้กับบริษัทกลุ่มลูกค้าชั้นนำอย่างต่อเนื่อง อาทิ บริษัท ไวส์วูดส์ จำกัด ในรูปแบบ Solar Farm และ Solar Floating โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมอยู่ที่ระดับ 4.99 เมกะวัตต์, บริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (เอเอที) ติดตั้ง Solar Rooftop บนหลังคาโรงงาน กำลังผลิตไฟฟ้า 5 เมกะวัตต์  บริษัท อัสโน่ โฮริเอะ (ประเทศไทย) จำกัด (Asno Horie) ติดตั้ง Solar Rooftop บนหลังคาโรงงาน กำลังผลิตไฟฟ้า 3.6 เมกะวัตต์ ส่วนบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด เป็นการติดตั้ง Solar Carpark กำลังการผลิตไฟฟ้า 4.88 เมกะวัตต์  นับเป็นการติดตั้ง Solar Carpark ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

]]>
1328821
กสทช. ยัน 5G ไทยไม่ช้า! เตรียมคลื่นไว้แล้ว ถามใจ “โอเปอเรเตอร์” พร้อมประมูลหรือไม่ https://positioningmag.com/1247573 Wed, 25 Sep 2019 11:59:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1247573 วันนี้ (25 ..) เว็บไซต์ manager.com หรือ MGROnline ในเครือหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 360 จัดเสวนาในหัวข้อกระชากปม 5G ไปไม่ถึงฝัน” เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกันถกปัญหาสำคัญของ “5G” ในประเทศไทยว่าเหตุใดจึงไปไม่ถึงฝัน

พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าการให้บริการ 5G เป็นเทรนด์ของอุตสาหกรรมทั่วโลกที่นำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและบริการ ประเทศไทยเองต้องการให้ 5G เกิดในปี 2563 ซึ่งเป็นความตั้งใจของรัฐบาลชุดก่อนที่ต้องการขับเคลื่อนเรื่องนี้

ดังนั้นหน้าที่ของ กสทช. คือจัดสรรคลื่นความถี่รองรับ 5G ปัจจุบัน ITU ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับนานาชาติขององค์การสหประชาชาติ ยังไม่ได้ประกาศเป็นทางการว่าจะให้ใช้คลื่นไหนเป็นคลื่น 5G โดยการประชุมจะเกิดขึ้นปลายเดือนต.ค. นี้ ในงาน WRC 2019

ขณะนี้หลายประเทศได้เดินหน้า 5G กันไปแล้ว โดยจัดให้มีอุปกรณ์ค้นคว้าทดลองใช้คลื่น 5G ซึ่งมีความเร็วกว่า 4G สิบเท่า กสทช. เองก็จัดตั้งคณะทำงาน หาแนวทางการนำคลื่นมาให้บริการ 5G

“เมื่อ กสทช. จัดคลื่นแล้วก็ต้องมีโอเปอเรเตอร์มาประมูลคลื่น ถ้าไม่มีโอเปอเรเตอร์มาประมูล 5G ก็ไม่เกิด เงื่อนไขที่จะทำให้ 5G เกิด ก็คือต้องให้โอเปอเรเตอร์มาประมูลคลื่นไปดำเนินการ”

พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร

พล.อ.สุกิจกล่าวย้ำว่า ประเทศไทยยังไม่ช้าเรื่อง 5G เพราะในบรรดาประเทศอื่นๆ ที่เดินหน้า 5G ไปแล้ว ปัจจุบันมีมือถือเพียงไม่กี่ยี่ห้อ ไม่กี่โมเดล ที่สามารถรองรับ 5G ได้ และอยู่ในขั้นของการพัฒนาไปเรื่อยๆ อะไรก็แล้วแต่ที่ยังอยู่ในขั้นของการพัฒนาไปเรื่อยๆ มันก็ยังไม่หยุด

กสทช. ชี้ 5G ไม่เกิดเสียโอกาส

ในวงเสวนา “กระชากปม 5G ไปไม่ถึงฝัน” ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่าขณะนี้การจัดสรรคลื่นความถี่ยังเป็นไปตามแผนทั้งหมด ทั้งคลื่น 2600 และ คลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ รวมทั้ง 26 – 28 กิกะเฮิรตซ์ ที่เริ่มกระบวนการประมูลในปี 2563 หากเป็นไปตามนี้ การเปิดบริการ 5G ในปลายปี 2563 จะเดินได้ตามโรดแมป โดยจะให้บริการบางพื้นที่เชิงพาณิชย์ก่อน เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โลจิสติกส์

หากประเทศไทยเดินหน้า 5G ได้เร็วกว่าหรือใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ นักลงทุนไม่ย้ายฐาน แต่หาก 5G ไม่เกิดจะได้รับผลแน่นอน ทั้งภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และดึงนักลงทุนไม่ให้ย้ายฐานการผลิต

“5G หากไม่เกิดประเมินมูลค่าสูญเสียโอกาสจากภาคการผลิต 600,000 ล้านบาท โลจิสติกส์ 100,000 ล้านบาท  ภาคเกษตร 90,000 ล้านบาท รวมสูญเสีย 2 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งคงยอมไม่ได้ จึงต้องเดินหน้าขับเคลื่อน 5G ต่อไป”

ฐากร ตัณฑสิทธิ์

มั่นใจ 5G เกิดได้ปี 63

เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่าการหารือร่วมกับ “โอเปอเรเตอร์” ก่อนหน้านี้ ทุกรายนิ่งหมด โดยบอกว่าการลงทุน 4G ยังไม่คุ้มทุน ขณะที่การลงทุน 5G ต้องใช้เงินลงทุนสูง เพราะเป็นคนละเทคโนโลยีกับ 4G แต่ละรายต้องใช้เงินลงทุนหลัก “แสนล้านบาท” จึงลำบากที่จะลงทุนในช่วงนี้ และต้องการให้รัฐบาลช่วยกำหนดเงื่อนไขการจัดสรรคลื่นให้ฟรีก่อน เพราะหากดูการจัดสรรคลื่น 5G ในประเทศจีน เวียดนาม ก็ได้กำหนดเงื่อนไขให้โอเปอเรเตอร์ได้ใช้ฟรีก่อน แล้วนำมาชำระเงินภายหลัง

ปัจจุบัน กสทช. ได้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ เพื่อรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายและวางแนวทางทำงานร่วมกัน เพราะ 5G ไม่ใช่บริการสำหรับโมบายอย่างเดียว แต่ใช้ในทุกอุปกรณ์ของภาคอุตสาหกรรมและบริการ จึงต้องช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น

จากการรับฟังความเห็นของคณะทำงาน พบว่ามี 3 เรื่องหลัก 1. การกำหนดมูลค่าคลื่นความถี่ 2. การลงทุนของโอเปอเรเตอร์ 3. การต่อยอดการทำงาน การนำไปใช้งาน

“เมื่อโอเปอเรเตอร์มีความมั่นใจในการลงทุน เชื่อว่าจะช่วยสานฝัน 5G ให้เกิดขึ้นได้ในปี 2563 เพราะ 5G เป็นเส้นเลือดใหญ่ของประเทศและของโลก”

อเล็กซานดรา ไรซ์

รอดูเงื่อนไขประมูล-ราคาคลื่น

อเล็กซานดรา ไรซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค  กล่าวว่า 5G ในประเทศไทยจะเกิดได้ต้องมาจากความร่วมมือของทุกฝ่าย เพราะ 5G เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะกับ B2B ส่วน B2C ก็ได้ประโยชน์ ในเกาหลีการทดสอบ 5G ยังไม่ได้ผลที่ชัดเจนเพราะมีผู้ใช้งานแค่ 10% เครือข่ายก็ยังไม่ดีมาก การขับเคลื่อน 5G ทั่วโลกเหมือนยังเป็นการหวังผลทางการตลาดมากกว่า

บริการ 5G เป็นการใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนของอุตสาหกรรมต่างๆ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่คิดว่าพร้อมจะจ่ายค่าใช้บริการในอัตราสูงขึ้นเพื่อความเร็วที่ดีกว่าเดิม ดีแทคต้องการให้ภาคอุตสาหกรรมเกิดการพัฒนา ผ่านการขับเคลื่อน 5G เพราะเห็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

“การทำให้เกิด 5G ถ้าเร่งมากไปจะได้ผลที่ไม่ชัดเจน จึงควรมีโรดแมป มีแผนการพัฒนาที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดการลงทุนที่เหมาะสม มองว่าปี 2563 อาจจะเร็วเกินไป ปี 2564 น่าจะเหมาะสมมากกว่าเพราะจะมีความพร้อมทั้งการลงทุน ภาครัฐต้องคิดถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้จากเทคโนโลยีในระยะยาว”

ดีแทคมุ่งมั่นและต้องการลงทุน 5G แต่ด้วยราคาคลื่นความถี่คงต้องขอเวลาที่เหมาะสมในการลงทุน การลงทุน 5G จะเป็นการลงทุนระยะยาว ซึ่งโอเปอเรเตอร์ทุกราย พร้อมที่จะขยายเครือข่ายให้บริการ 5G แต่ต้องขอดูรายละเอียดเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ที่เหมาะสมด้วย

“สุดท้ายแล้ว 5G จะเกิดขึ้นได้ต้องมีความพร้อมในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะต้องมีการลงทุนทางธุรกิจที่สมเหตุสมผล”

จรีพร จารุกรสกุล

หนุนดึงต่างชาติลงทุน

จรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าในฐานะภาคอุตสาหกรรมที่ลงทุนนิคมอุตสาหกรรม ยังไม่ได้รับความชัดเจนโรดแมป 5G ของประเทศ เพราะผู้ลงทุนทุกคนอยากรู้ว่าการลงทุนจะได้ผลการลงทุนคุ้มค่าหรือไม่

การประเมินว่า 5G จะทำให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจ 1.307 พันล้านล้านเหรียญสหรัฐ มาจากภาคพลังงาน 19% การผลิต 18% สาธารณสุข 12% กลุ่มเหล่านี้อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมทั้งนั้น แต่ทั้งหมดยังไม่มีข้อมูลและการทดสอบ 5G ในภาคอุตสาหกรรม

ต้องบอกว่า “เทรดวอร์” ที่เกิดขึ้น เป็นโอกาสที่ดีของไทยในการเคลื่อนย้ายทุนการผลิตจากจีนมาที่ประเทศไทย 5G เป็นส่วนที่สำคัญ ที่จะรองรับอุตสาหกรรมที่จะมา ช่วยสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อม เพื่อไม่ให้ไทยเสียโอกาส

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

แนะปรับวิธีประมูล

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าการเกิด 5G นั้น มองด้านเศรษฐกิจ 5G ทำให้การเชื่อมโยงในการติดต่อกันรวดเร็วขึ้น เกิดความสะดวกสบาย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เกิดความสามารถในการแข่งขันประเทศ เกิดการดึงดูดการลงทุนต่างประเทศ เกิดนวัตกรรมใหม่

ในอนาคต 5G จะเป็นบริการที่อยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ ของภาคการผลิต เช่นเดียวกับภาคบริการที่สามารถติดตั้งเซ็นเซอร์กับสินค้า เพื่อตรวจสอบการให้บริการต่างๆ การเก็บ “ดาต้า” ต่างๆ จากผู้ใช้งาน

ดังนั้นไมว่าจะเร็วหรือช้า ก็จะมีการเดินหน้าเรื่อง 5G

ด้านรูปแบบการลงทุน 5G มองว่าหากจะใช้วิธีประมูลเหมือนเดิม “ไม่เห็นด้วย” เพราะควรหาแนวทางในการประมูลที่เหมาะสม เช่น รายใดเสนอค่าบริการต่ำสุดชนะ แม้รัฐบาลได้เงินน้อยแต่ยังมีการลงทุนยังมีเหมือนเดิมที่จะช่วยด้านเศรษฐกิจ และประชาชนได้ใช้บริการในราคาถูก

]]>
1247573
เปิดพอร์ตบิ๊กโลจิสติกส์ WHA VS TICON ใคร “ใหญ่” กว่ากัน https://positioningmag.com/1156786 Tue, 13 Feb 2018 23:15:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1156786 การสูญเสีย “สมยศ อนันตประยูร” ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA กลายเป็นข่าวช็อกแวดวงอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไม่น้อย เพราะเขาเป็นคีย์แมนคนสำคัญที่ก่อตั้งธุรกิจให้บริการด้าน “โลจิสติกส์แบบครบวงจร” ตั้งแต่การพัฒนาและบริการอสังหาริมทรัพย์ (Logistics Hub), พัฒนานิคมอุตสาหกรรม มีโรงงานให้เช่า, ให้บริการด้านสาธารณูปโภคและพลังงาน และให้บริการดิจิทัล (Digital Platform Hub) ครบด้วยศูนย์ข้อมูล คลาวด์โซลูชั่น   

WHA มีการเติบโตอย่างรวดเร็วมาก เพราะดำเนินธุรกิจเพียง 10 ปีเศษ สร้างมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) ทะลุ 6 หมื่นล้านบาท มีโรงงาน คลังสินค้า กระจายอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ทางการค้าจำนวนมาก เช่น บางนา-ตราด ลาดกระบัง พระราม 2 อยุธยา ลำพูน ขอนแก่น เป็นต้น

จุดแข็งที่ทำให้ WHA โตพรุ่งปรี๊ด เพราะเข้ามาในจังหวะที่ “ใช่” ยุคที่ภาคธุรกิจในประเทศไทยกำลังยกระดับและให้ความสำคัญกับโลจิสติกส์อย่างมาก เพราะถือเป็นหัวใจสำคัญในการกระจายสินค้าเข้าถึง (Reach) กลุ่มเป้าหมาย และการมีคลังสินค้าอยู่ใกล้ตลาดเป้าหมาย อยู่ในเส้นทางที่ขนส่งสะดวก ก็ทำให้การค้าขายสินค้ามีชัยไปกว่าครึ่ง

อีกทั้งความร้อนแรงของการค้าขายออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ มีสารพัดทุนตบเท้ามาชิงขุมทรัพย์ในประเทศไทย ทั้ง Shopee สิงคโปร์, เจดี ดอทคอม, อาลีบาบา และลาซาด้าของจีน เข้ามา ทำให้ต้องมีคลังสินค้าเพื่อบริหารจัดเก็บและกระจายสินค้า

ที่ผ่านมาจึงเห็น “เซ็นทรัล-เจดี ดอทคอม” เข้าไปเป็นลูกค้าใหม่ WHA เช่าพื้นที่ขนาด 6,848 ตารางเมตร (ตร.ม.) ที่ ดับบลิวเอชเอ เมกะ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ ชลหารพิจิตร บนถนนบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 19 สามารถเข้าถึงได้ทั้งจากถนนบางนา-ตราด เทพารักษ์ และสุขุมวิทสายเก่า ใกล้ใจกลางกรุงเทพฯ รวมถึงสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ นับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สำหรับอุตสาหกรรมอี-คอมเมิร์ซ และค้าปลีก โดยลูกค้าดังกล่าวเป็นการขยายฐานเพิ่มจากลูกค้ากลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคอีกด้วย

แต่สิ่งที่ทำให้ WHA ปัง! เป็นที่ถูกอกถูกใจของลูกค้า คือบริการให้เช่าคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า และโรงงานคุณภาพ ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละราย (Built-to-Suit) เพราะต้องยอมรับว่าแต่ละบริษัทมีสินค้าที่แตกต่างกันไป จะให้ยกคลังสินค้าเหมือนๆ กันไปใช้กับทุกรายคงไม่ตอบโจทย์นัก ทำให้ตาม Need ลูกค้าแล้ว ถ้ารายไหนต้องการโครงสร้างแบบสำเร็จรูป (Ready-to-Built) ก็มีให้เช่นกัน

ยุคนี้ดิจิทัลมีบทบาทต่อธุรกิจอย่างมาก การจัดเก็บข้อมูลเป็น Big Data ให้ลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ และบริษัทไม่พลาดที่จะมีบริการ Data Center ให้ทันยุคทันสมัย

แม้ชื่อของ WHA จะอยู่แถวหน้าของธุรกิจคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า แต่อีกรายที่ “ใหญ่” และเป็น “คู่แข่ง” โดยตรงในตลาดนี้หนีไม่พ้น “บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TICON ของ “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี”

ไทคอนทำหน้าที่พัฒนาโรงงาน ส่วนบริษัทลูกอย่างไทคอน โลจิสติคส์ พาร์ค (TPARK) พัฒนาคลังสินค้าให้เช่าบนทำเลยุทธศาสตร์หลายแห่ง เช่น แหลมฉบัง อีสเทิร์นซีบอร์ด ขอนแก่น อยุธยา เป็นต้น มีลูกค้าในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค โมเดิร์นเทรด อีคอมเมิร์ซ จากทั้งในเครือและนอกเครือ เช่น บิ๊กซี  ลอรีอัล เนสท์เล่ ฯลฯ

สิ่งที่ทำให้ TPARK กวาดลูกค้าบิ๊กๆ ได้ไม่ใช่แค่จุดแข็งของทำเลที่ตั้งคลังสินค้า แต่เพราะการพัฒนาคลังตามแบบ (Ready-to-Built) และทำเลที่ลูกค้าต้องการ (Custom-Built Warehouse) จริงๆ แต่เมื่อไหร่ที่ลูกค้าไม่ไปต่อก็จะซื้อคลังสินค้าจากลูกค้าเพื่อให้เช่ากลับคืนด้วย (Sale and Leaseback)

แต้มต่อของ TPARK ใต้เงาเสี่ยเจริญ และเฟรเซอร์ มีมากขึ้น เมื่อ “ทายาทสิริวัฒนภักดี” ลงมาดูการออกแบบคลังสินค้าเองละเอียดยิบถึงขั้น รถถอยเข้าไปรับสินค้าองศาไหนเหมาะสุด ส่วนทีมผู้บริหารก็ไปศึกษาดูงานของเฟรเซอร์ ออสเตรเลีย เพื่อนำองค์ความรู้ใหม่ๆ มาต่อยอดธุรกิจ เช่น การเก็บข้อมูลของลูกค้าไว้ ว่ารายไหนเช่าคลังเมื่อไหร่ เลิกเช่าเมื่อไหร่ และหนีไปซบคู่แข่งที่ไหน เพื่อไปตามกลับมาได้ถูกจังหวะ   

จากข้อมูลของ ไนท์ แฟรงก์ ระบุว่าปี 2559 ความต้องการ (ดีมานด์) คลังสินค้ามีมากกว่า 3.1 ล้าน ตารางเมตร (ตร.ม.) เติบโต 9.5% และมีพื้นที่คลังสินค้า (ซัพพลาย) กว่า 3.9 ล้านตร.ม. เติบโต 8.1%

ขณะที่ข้อมูลกสิกรไทยระบุว่า ภาพรวมธุรกิจคลังสินค้าในปี 2560 มีมูลค่าราว 71,400-73,000 ล้านบาท และยังคงเติบโต 5.3-7.6% จากปี 2559.

]]>
1156786
คืบหน้าไปอีกขั้น เซ็นทรัล เจดี คอมเมิร์ซ เช่าคลังสินค้า WHA ขยายธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในไทยและอาเซียน https://positioningmag.com/1154527 Thu, 25 Jan 2018 09:42:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154527 เซ็นทรัล เจดี คอมเมิร์ซ ซึ่งเกิดจากการรวมทุนระหว่าง กลุ่มเซ็นทรัล และ เจดี ดอทคอม ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่จากจีน ได้ตกลงเช่าคลังสินค้าจากบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโซลูชันครบวงจรด้านโลจิสติกส์และนิคมอุตสาหกรรมของประเทศไทย

โดยคลังสินค้าแห่งนี้ ครอบคลุมพื้นที่ขนาด 6,848 ตร.ม. ดับบลิวเอชเอ เมกะ โลจิสติกส์ เซ็นเตอร์ ชลหารพิจิตร บนถนนบางนา-ตราด กิโลเมตรที่ 19 ซึ่งเข้าถึงได้ทั้งจากถนนบางนา-ตราด เทพารักษ์ และสุขุมวิทสายเก่า ใกล้ใจกลางกรุงเทพฯ รวมถึงสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นสองจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สำหรับอุตสาหกรรมอี-คอมเมิร์ซ และค้าปลีก

นอกจากนี้ ยังตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับพื้นที่คลังสินค้าของกลุ่มเซ็นทรัล อีกสามกลุ่มธุรกิจ ได้แก่ เซ็นทรัล ดีพาร์ตเมนต์ สโตร์ เซ็นทรัล เรสเตอรองต์ กรุ๊ป และเซ็นทรัล กรุ๊ป ออนไลน์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน และปฏิบัติการด้านอี-คอมเมิร์ซของเซ็นทรัล เจดี คอมเมิร์ซ มากยิ่งขึ้น กอปรกับพื้นที่ใช้สอยของคลังสินค้าที่กว้างขวางเหมาะในการขนถ่ายสินค้าด้านอี-คอมเมิร์ซ ทำให้คลังสินค้าแห่งนี้พร้อมให้บริการสินค้าและผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ตั้งแต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า ไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภค และอื่นๆ.

ที่มา : mgronline.com/business/detail/9610000007729

]]>
1154527