WISESIGHT – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 02 Jan 2021 00:35:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ย้อนรอย 10 ประเด็นฮอตโลกโซเชียลแห่งปี 2020 https://positioningmag.com/1312709 Fri, 01 Jan 2021 11:23:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312709
ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับปี 2020 ที่เป็นอีกปีที่ ‘หนักหนา’ สำหรับใครหลาย ๆ คน เพราะการระบาดของ COVID-19 และแน่นอนว่ามีอีกหลายเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่ถูกพูดถึงในโลกโซเชียล ซึ่งทาง ‘Wisesight’ ได้ใช้ ZOCIAL EYE วิเคราะห์ข้อมูลบนโลกโซเชียลหา 10 ประเด็นฮอตแห่งปี โดยวัดจากค่าเอ็นเกจเมนต์ จะเป็นเรื่องอะไรกันบ้างไปดูกัน

1.วิกฤต COVID-19 116,041,589 เอ็นเกจเมนต์

ตลอดทั้งปี 2020 นี้ คนไทยรวมถึงคนทั้งโลกต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวมระดับประเทศ รวมถึงการดำเนินชีวิตที่ต้องปรับเปลี่ยนจนเกิดคำว่า New Normal และขณะที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก็ได้เกิดการระบาด COVID-19 ระลอก 2 ขึ้น ท่ามกลางความมุ่งมั่นในการพัฒนาวัคซีนของบุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลก
Photo : Shutterstock

2.BLACKPINK กับซิงเกิล How You Like That 63,818,713 เอ็นเกจเมนต์

Come Back อย่างยิ่งใหญ่และได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามจากซิงเกิลใหม่ How You Like That

3.ลิเวอร์พูลคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก 28,662,178 เอ็นเกจเมนต์

เมื่อลิเวอร์พูลคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี สร้างความดีใจให้กับชาวหงส์แดงเป็นอย่างมาก

4.ตูน Bodyslam แต่งงาน ก้อย รัชวิน 24,965,893 เอ็นเกจเมนต์

เรื่องน่ายินดีของวงการบันเทิงไทย เมื่อคู่รักมาราธอนอย่างตูน-ก้อย ก็ได้ลั่นระฆังวิวาห์ แต่งงานกันไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งชาวโซเชียลก็ได้ร่วมแสดงความยินดีกันอย่างมาก
ภาพจากผู้จัดการออนไลน์

5.ลุงพล 22,268,583 เอ็นเกจเมนต์

“น้องชมพู่” เด็กสาวที่เสียชีวิตอย่างปริศนา แต่เรื่องราวกลับตาลปัตร จากลุงพล “ผู้ต้องสงสัย” กลายเป็น “ผู้น่าสงสาร” สู่เส้นทางคนดังของสังคม จนท้ายที่สุดสังคมเริ่มตั้งคำถามถึงบทสรุปของคดีของน้องชมพู่ จะจบลงอย่างไร และสังคมกำลังหลงลืมอะไรไปหรือเปล่า?

6.เรือดำน้ำ 14,216,771 เอ็นเกจเมนต์

การจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ของรัฐบาลกับการถกเถียงอย่างมากในโซเชียลจากหลายฝ่าย จนท้ายที่สุด เมื่อวันที่ 31 ส.ค. ทางกองทัพเรือก็ได้มีมติว่าให้เลื่อนการจัดซื้อออกไปก่อน
ภาพจากผู้จัดการออนไลน์

7.เยาวชนปลดแอก 10,962,692 เอ็นเกจเมนต์

เรื่องราวของคนรุ่นใหม่กลุ่ม “เยาวชนปลดแอก” (Free YOUTH) รวมตัวชุมนุมกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยสู่ประเทศไทย
ภาพจากผู้จัดการออนไลน์

8.ยังคั่นกู 10,570,161 เอ็นเกจเมนต์

แฮชแท็กยอดนิยมในโลกทวิตเตอร์ จากซีรีส์เรื่องดัง “เพราะเราคู่กัน 2gether the series” นำแสดงโดย “ไบรท์” และ “วินทร์” ความสนุกของละครเรื่องนี้การันตีด้วยกระแสตอบรับที่ดีมากจนเกิดแฮชแท็ก “#ยังคั่นกู” ที่ผวนออกมาเป็นคำว่า “ยังคู่กัน”
ซีรีส์วัยรุ่นจะยังเป็นจุดแข็งในช่วงไพรม์ไทม์ของช่อง GMM2

9.ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ 9,827,370 เอ็นเกจเมนต์

แฮชแท็กเดือดที่สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ชุมนุมวันที่ 16 ส.ค. คณะประชาชนปลดแอกได้ก้าวเดินเพื่อเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยอีกครั้ง
ภาพจากผู้จัดการออนไลน์

10.กระแส “ส้มหยุด” 8,710,583 เอ็นเกจเมนต์

ปิดท้ายด้วยกระแสไวรัลแห่งปี ที่มาแรงแบบไม่มีอะไรมากั้นกับการแจ้งเกิดของแม่สิตางศุ์ บัวทอง กับกระแสที่โชว์พลังเหนือธรรมชาติใน TikTok หยุดส้มที่กำลังกลิ้งๆ ได้อย่างน่ารัก และได้รับการตอบรับจากเหล่าคนดัง และชาวโซเชียลไปอย่างล้นหลาม
]]>
1312709
บทสรุป 179 รางวัลจากงาน Thailand Zocial Awards 2020 ครั้งที่ 8 ที่สุดรางวัลแด่คนโซเชียล https://positioningmag.com/1266604 Wed, 04 Mar 2020 08:48:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266604 ประกาศผลรางวัลผู้ชนะเลิศที่ทำผลงานได้ดีเยี่ยมบนโซเชียลมีเดียไปเรียบร้อย สำหรับงาน Thailand Zocial Awards 2020 (ไทยแลนด์ โซเชียล อวอร์ด 2020) ครั้งที่ 8 งานประกาศรางวัลสำหรับคนโซเชียลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพื่อเชิดชูแบรนด์ อินฟลูเอนเซอร์ และบุคคลในวงการบันเทิงที่ทำผลงานได้ดีเยี่ยม

ภายใต้คอนเซ็ปต์ SHIFTMake it SHIFT พาทุกคนยกระดับการทำงานกับโซเชียลมีเดีย พร้อมด้วยกูรูออนไลน์ตัวจริงหลายวงการร่วมอัปเดต ‘WISESIGHT METRIC’ โดยมี AI และ Data Science ใช้วัดผลรางวัลในแต่ละกลุ่มสาขา เพื่อหาสุดยอดตัวอย่างที่ดีในวงการโซเชียลมีเดีย ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 สยามสแควร์วัน เมื่อวันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ปีนี้การจัดงาน Thailand Zocial Awards 2020 ก้าวสู่ปีที่ 8 มาพร้อมไฮไลต์และสาระน่าสนใจเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ที่จะพาทุกคนยกระดับบรรทัดฐานการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตรงตามคอนเซ็ปต์ SHIFTMake it SHIFT

เรามองว่าโซเชียลมีเดียอยู่กับทุกคนมานานราว 10 ปี ดังนั้นในยุคที่มีข้อมูลใหม่ๆ เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ จึงควรที่จะเปลี่ยนการใช้โซเชียลมีเดียแบบเดิมๆ พร้อมเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ให้ทันยุคสมัยปัจจุบันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากตลอดระยะหลายปีที่ผ่านมา โซเชียลมีเดียมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมค่อนข้างมาก รวมถึงแพลตฟอร์มหลายแพลตฟอร์มก็เติบโตขึ้นมาก โดยปีนี้เราเชื่อว่าเรื่องของการสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการจะมีมากขึ้น เพราะหลายธุรกิจเริ่มขยับเข้ามาทำเรื่องนี้ ดังนั้นคนไทยพร้อมแล้วหรือยัง จึงเป็นที่มาที่อยากชวนทุกคนมา SHIFT กันมากขึ้น”

ความพิเศษของการจัดงานครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากกูรูออนไลน์ตัวจริงหลายวงการในเมืองไทยร่วมอัปเดต WISESIGHT METRIC’ ที่ใช้วัดผลรางวัลในกลุ่มแบรนด์ กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ ได้แก่ ศาสตราจารย์วิทวัส รุ่งเรืองผล นักวิชาการด้านการตลาด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีเว็บไซต์Pantip.com คุณสุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล ผู้ก่อตั้ง BrandBaker คุณพงษ์ปิติ ผาสุขยืด ผู้จัดทำ Ad Addict คุณสโรจ เลาหศิริ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด Rabbit Digital Group คุณมัณฑิตา จินดา Vice President of Digital Marketing บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนต์ (จำกัด) มหาชน และกลุ่มเอ็นเทอร์เทนเมนต์ ได้แก่ ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม ประธานบริษัท แก่น 555 จำกัด คุณชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ คุณวิเชียร ฤกษ์ไพศาล ผู้ก่อตั้ง genie records พร้อมร่วมลุ้นนาทีแห่งการประกาศผลรางวัลผู้ชนะเลิศแต่ละสาขาร่วมกัน

โดยสรุปผลรายชื่อผู้ชนะเลิศได้รับรางวัลทั้งหมด 179 รางวัล ในงาน Thailand Zocial Awards 2020 ครั้งที่ 8 ดังนี้

  1. รางวัลแบรนด์ที่ทำผลงานบนโซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมตามกลุ่มธุรกิจ (Best Brand Performance on Social Media) แบ่งตามกลุ่มธุรกิจทั้งหมด 81 รางวัล ประกอบด้วย

– กลุ่มธุรกิจสายการบิน (Airline) ได้แก่  Air Asia
– กลุ่มธุรกิจยานยนต์ (Automotive) 
ได้แก่ Mitsubishi Motors
– กลุ่มธุรกิจธนาคาร (Banking) ได้แก่ KBank
– กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Beverage-Alcohol) 
ได้แก่ Chang World
– กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ (Beverageได้แก่ Oishi Drink
– กลุ่มธุรกิจวัสดุก่อสร้าง (Building and Design Material
ได้แก่ SCG Brand
– กลุ่มธุรกิจร้านอาหารเครือข่าย (Chain Restaurantได้แก่ KFC
– กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Electronics
ได้แก่ Samsung Thailand
– กลุ่มธุรกิจเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว (Cosmeticsได้แก่ Bobbi Brown
– กลุ่มธุรกิจสินค้าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม (Dairy Food Productได้แก่ Nestlé Ice Cream Thailand
– กลุ่มธุรกิจขนส่ง (Delivery Service Providerได้แก่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
– กลุ่มธุรกิจร้านขนมและเครื่องดื่ม (Dessert & Beverage Caféได้แก่ Swensen’s
– กลุ่มธุรกิจตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (EMarketplaceได้แก่ Shopee
– กลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการทางการเงิน (Financial Service (NonBank)) ได้แก่ Krungsri First Choice
– กลุ่มธุรกิจทองคำและอัญมณี (Gold and jewelryได้แก่ Aurora Design
– กลุ่มหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ (Government & State Enterpriseได้แก่ Amazing Thailand
– กลุ่มธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและสำนักงาน (Home & Office Applianceได้แก่ LG
– กลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับบ้านและเฟอร์นิเจอร์ (Home Furnishing Retailerได้แก่ Homepro
– กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาล (Hospitalได้แก่ Bumrungrad International
– กลุ่มธุรกิจค้าปลีก (Hypermarket & Supermarketได้แก่ Tops Thailand
– กลุ่มธุรกิจประกัน (Insuranceได้แก่ Muang Thai Life
– กลุ่มธุรกิจสินค้าแม่และเด็ก (Mom & Babyได้แก่ S-26
– กลุ่มธุรกิจสินค้าของใช้ส่วนตัว (Personal Careได้แก่ Sunsilk
– กลุ่มธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับที่อยู่อาศัย (Property Developerได้แก่ Singha Estate
– กลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้า (Shopping Mallได้แก่ The Mall
– กลุ่มธุรกิจสินค้าขนมและของหวาน (Snack & Sweetsได้แก่ Taokaenoi Club
– กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม (Telecommunicationได้แก่ AIS

  1. รางวัลผู้ที่ทำผลงานบนโซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมโดยแพลตฟอร์ม (Best Performances on Social Media by Platform) รวมทั้งหมด 10รางวัล ประกอบด้วย

– 1) Facebook
1.1) Best use of Facebook Family of apps 
ได้แก่ Samsung Thailand
1.2) Best Mobile First Innovative
 ได้แก่ Pepsi
1.3) Best Mobile First Video 
ได้แก่ Wacoal
– 2) Pantip
2.1) Best Brand Performance on Pantip (Fast response)
 ได้แก่ AIS
2.2) Best Brand Performance on Pantip (Highest Quality)
 ได้แก่ DDproperty
2.3) Best Entertainment Performance on Pantip (นักแสดง) 
ได้แก่ ญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์
2.4) Best Entertainment Performance on Pantip (ศิลปิน)
 ได้แก่ เป๊ก ผลิตโชค
– 3) Twitter
3.1) The Most Talked About Brand on Twitter 
ได้แก่ AIS
3.2) #TrendStarter on Twitter 
ได้แก่ เป๊ก ผลิตโชค
– 4) YouTube
4.1) Best Brand Performance on YouTube 
ได้แก่ Samsung Thailand

  1. รางวัลคนบันเทิงบนโซเชียลมีเดียยอดเยี่ยม (Best Entertainment on Social Media) รวมทั้งหมด 39 รางวัล ประกอบด้วย

– สาขานักแสดงชาย (Actorได้แก่ นาย ณภัทร
– สาขานักแสดงหญิง (Actressได้แก่ เบลล่า ราณี
– สาขาศิลปินกลุ่ม (Duo or Group Artistได้แก่ BNK48
 – สาขาศิลปินชาย (Male Artistได้แก่ เป๊ก ผลิตโชค
– สาขาศิลปินหญิง (Female Artistได้แก่ แก้ม วิชญาณี
– สาขาเพลงไทยแห่งปี (Songได้แก่ ชอบแบบนี้ – หนามเตย สะแบงบิน
– สาขาผู้ดำเนินรายการ (MC) ได้แก่ หนุ่ม กรรชัย
– สาขาภาพยนตร์ไทย (Thai Movieได้แก่ Where We Belong ที่ตรงนั้น มีฉันหรือเปล่า
– สาขารายการข่าว (Thai News Programได้แก่ เรื่องเล่าเช้านี้
– สาขาละครไทย (Thai Seriesได้แก่ กรงกรรม
– สาขารายการโทรทัศน์ (Thai TV Programได้แก่ The Rapper 2
– สาขารายการออนไลน์ (Online Program) ได้แก่ ตามใจตุ๊ด
– สาขารายการพอดแคสต์ (Podcast) ได้แก่ The Secret Sauce

  1. 4. รางวัลผู้มีอิทธิพลบนโซเชียลมีเดียยอดเยี่ยม (Best Influence on Social Media)
    รวมทั้งหมด 48 รางวัล ประกอบด้วย

– สาขายานยนต์ (Automotive) ได้แก่ XO Autosport
– สาขาความสวย ความงาม (Beautyได้แก่ สะบัดแปรง
– สาขาการทำอาหาร (Cookingได้แก่ หมีมีหม้อ
– สาขาสิ่งแวดล้อม (Environmentได้แก่ Pearypie
– สาขาครอบครัวและผู้สูงอายุ (Family & Seniorได้แก่ ตายายสอนหลาน
– สาขาแฟชั่น (Fashionได้แก่ WEARTOWORKSTYLE
– สาขาการเงินและการลงทุน (Financialได้แก่ ลงทุนแมน
– สาขาสุขภาพและการออกกำลังกาย (Fitness & Healthได้แก่ Bebe Fit Routine
– สาขาอาหาร (Food & Diningได้แก่ Starvingtime เรื่องกินเรื่องใหญ่
– สาขาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี (Gadget & Techได้แก่ LDA ลดา – Ladies of Digital Age
– สาขาเกมมิ่ง (Gamingได้แก่ Zbing Z.
– สาขาไลฟ์สไตล์ (Lifestyleได้แก่ KaykaiSalaider Channel
– สาขาพ่อ แม่ และ เด็ก (Parenting & Kids) ได้แก่ Chujai Family
– สาขาสัตว์เลี้ยง (Petได้แก่ Gluta Story
– สาขาวิจารณ์สังคม (Social Criticมีเข้าชิง ได้แก่ ใต้เตียงดารา, อีเจี๊ยบเลียบด่วน
– สาขาท่องเที่ยว (Travel) ได้แก่ I Roam Alone

  1. รางวัลพิเศษที่เชิดชูบุคคลหรือหน่วยงานที่ใช้โซเชียลอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ (Special Award)
    1 รางวัล ได้แก่ นุช (แฟนคลับ เป๊ก ผลิตโชค)

]]>
1266604
บทสรุปผู้เข้าชิงรางวัลโซเชียลมีเดียแห่งปี เตรียมลุ้นใน Thailand Zocial Awards 2020 https://positioningmag.com/1262362 Wed, 29 Jan 2020 07:52:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262362 ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียล เตรียมจัดงาน “Thailand Zocial Awards 2020” ในปีนี้มีการแจกรางวัลทั้งหมด 192 รางวัล

ใกล้เข้าไปทุกที สำหรับงาน “Thailand Zocial Awards 2020” งานประกาศรางวัลสำหรับคนโซเชียล ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพื่อเชิดชูแบรนด์ อินฟลูเอนเซอร์ และบุคคลในวงการบันเทิงที่ทำผลงานได้ดีเยี่ยม โดยจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 พร้อมก้าวไปอีกขั้นกับการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ 2 วันเต็ม 

ในปีนี้จัดยิ่งใหญ่ 2 วัน โดยแบ่งเป็นวัน Forum (27 กุมภาพันธ์ 2563) งานสัมมนาที่รวบรวม แพลตฟอร์มชั้นนำมาขึ้นบรรยายมากที่สุดถึง 14 บรรยาย จาก 12 แพลตฟอร์ม ได้แก่ Facebook, Facebook Watch, Line, Line TV, Spotify, Pantip, AIS Play, YouTube, TikTok, Twitter, JOOX, WeTV

และที่ขาดไม่ได้คืองานประกาศรางวัลในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อเชิดชูและสร้างบรรทัดฐานของการใช้โซเชียลมีเดีย มีให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

ตอนนี้ได้ผู้เข้าชิงรายวัลโซเชียลมีเดียแห่งปีโดยมีทั้งหมด 192 รางวัล จาก 3 กลุ่มใหญ่ แบรนด์, Influencer และบุคคลในวงการบันเทิง โดยในแต่ละกลุ่มรางวัล มีรายชื่อผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงดังต่อไปนี้ 

*รายชื่อผู้เข้าชิงในแต่ละสาขา ไม่ได้เรียงลำดับตามคะแนนที่ได้

Best Brand Performance on Social Media

แบ่งตามกลุ่มธุรกิจทั้งหมด 81 รางวัล ประกอบด้วย

1. กลุ่มธุรกิจสายการบิน (Airline)

  • Air Asia
  • Bangkok Airways
  • Thai Airways

2. กลุ่มธุรกิจยานยนต์ (Automotive)

  • KIA
  • Mitsubishi Motors
  • Toyota Motor Thailand

3. กลุ่มธุรกิจธนาคาร (Banking)

  • KBank
  • Krungthai
  • TMB

4. กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Beverage-Alcohol)

  • Chang World
  • Sang Som
  • Spy Wine Cooler

5. กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ (Beverage)                     

  • M150 Thailand
  • NESCAFÉ
  • Oishi Drink

6. กลุ่มธุรกิจวัสดุก่อสร้าง (Building and Design Material)

  • Jotunthailand
  • Scg Brand
  • ผลิตภัณฑ์ตราเพชร

7. กลุ่มธุรกิจร้านอาหารเครือข่าย (Chain Restaurant)

  • Bar B Q Plaza
  • KFC
  • MK Restaurants

8. กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Electronics)

  • OPPO
  • Samsung
  • Vivo

9. กลุ่มธุรกิจเครื่องสำอางค์และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว (Cosmetics)

  • 4U2 Cosmetics
  • Bobbi Brown
  • L’Oréal Paris

10. กลุ่มธุรกิจสินค้าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม (Dairy Food Product)

  • Dutchie Yoghurt
  • Nestlé Ice Cream Th
  • Wall’s Thailand

11. กลุ่มธุรกิจขนส่ง (Delivery Service Provider)

  • Kerry Express
  • LINE MAN
  • บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

12. กลุ่มธุรกิจร้านขนมและเครื่องดื่ม (Dessert & Beverage Café)

  • Krispy Kreme
  • Starbucks
  • Swensen’s

13 กลุ่มธุรกิจตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace)

  • Lazada
  • Shopee
  • Zilingo

1.14. กลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการทางการเงิน (Financial Service (Non-Bank))

  • Krungsri First Choice
  • KTC
  • TrueMoney

15. กลุ่มธุรกิจทองคำและอัญมณี (Gold and jewelry)

  • Aurora Gold and Jewelry
  • Jubilee
  • ห้างทองเพชรมังกร

16. กลุ่มหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ (Government & State Enterprise)

  • Amazing Thailand
  • กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  • สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page

17. กลุ่มธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและสำนักงาน (Home & Office Appliance)

  • Carrier
  • LG
  • Sony

18. กลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับบ้านและเฟอร์นิเจอร์ (Home Furnishing Retailer)

  • Homepro
  • Ikea
  • SB Design Square

19. กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาล (Hospital)

  • Bumrungrad International
  • โรงพยาบาลศิริราช
  • โรงพยาบาลสมิติเวช

20. กลุ่มธุรกิจค้าปลีก (Hypermarket & Supermarket)

  • Big C
  • Tesco Lotus
  • Tops

21. กลุ่มธุรกิจประกัน (Insurance)

  • Dhipaya Insurance
  • Muang Thai Life
  • Thai Life Insurance

22. กลุ่มธุรกิจสินค้าแม่และเด็ก (Mom & Baby)

  • Hi Q
  • Lamoon
  • S26

23. กลุ่มธุรกิจสินค้าของใช้ส่วนตัว (Personal Care)

  • DENTISTE’
  • Sunsilk
  • TRESemmé

24. กลุ่มธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับที่อยู่อาศัย (Property Developer)

  • AP Thai
  • SC Asset
  • Singha Estate

25. กลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้า (Shopping Mall)

  • Central Department Store
  • Central World
  • The Mall

26. กลุ่มธุรกิจสินค้าขนมและของหวาน (Snack & Sweets)

  • LaysThailand
  • Sunsnack kDunk
  • Taokaenoi Club

27. กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม (Telecommunication)

  • AIS
  • DTAC
  • TrueMove H

Best Entertainment on Social Media

รวมทั้งหมด 39 รางวัล ประกอบด้วย

1. สาขานักแสดงชาย (Actor)

  • เจมส์ จิรายุ
  • ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์
  • นาย ณภัทร

2. สาขานักแสดงหญิง (Actress)

  • เบลล่า ราณี
  • ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก
  • ใหม่ ดาวิกา

3. สาขาศิลปินกลุ่ม (Duo or Group Artist)

  • BNK48
  • GETSUNOVA
  • MEAN BAND

4. สาขาศิลปินชาย (Male Artist)

  • นนท์ ธนนท์
  • เป๊ก ผลิตโชค
  • ไผ่ พงศธร

5. สาขาศิลปินหญิง (Female Artist)

  • แก้ม วิชญาณี
  • ต่าย อรทัย
  • ส้ม มารี

6. สาขาเพลงไทยแห่งปี (Song)

  • กรรม – ป้าง นครินทร์
  • เลิกคุยทั้งอำเภอ – ลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น
  • ชอบแบบนี้ – หนามเตย สะแบงบิน

7. สาขาผู้ดำเนินรายการ (MC) 

  • เจนนี่ ปาหนัน
  • หนุ่ม กรรชัย
  • โอ๊ต ปราโมทย์

8. สาขาภาพยนตร์ไทย (Thai Movie)

  • Friend Zone ระวัง..สิ้นสุดทางเพื่อน
  • Where We Belong ที่ตรงนั้น มีฉันหรือเปล่า
  • ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ

9. สาขารายการข่าว (Thai News Program)

  • ทุบโต๊ะข่าว
  • เรื่องเล่าเช้านี้
  • โหนกระแส

10. สาขาละครไทย (Thai Series)

  • กรงกรรม
  • ใบไม้ที่ปิดปลิว
  • หัวใจศิลา

11. สาขารายการโทรทัศน์ (Thai TV Program)

  • 10 Fight 10
  • The Rapper 2
  • เทยเที่ยวไทย The Route

12. สาขารายการออนไลน์ (Online Program)

  • กันต์เอง
  • ตามใจตุ๊ด
  • นอนบ้านเพื่อน

13. สาขารายการพอดแคสต์ (Podcast)

  • Readery Podcast
  • The Secret Sauce
  • คำนี้ดี

Best Social Media Influencers

รวมทั้งหมด 48 รางวัล ประกอบด้วย

1. สาขายานยนต์ (Automotive)

  • Life Of Cars Bkk – ตามติดชีวิต 4 ล้อ
  • Xo Autosport
  • จอร์น ไรเดอร์ – John Rider

2. สาขาความสวย ความงาม (Beauty)

  • Archita Station
  • Gamgy Makeup
  • สะบัดแปรง

3. สาขาการทำอาหาร (Cooking)

  • หมีมีหม้อ
  • หมูแข็งแรง
  • หมูหิว

4. สาขาสิ่งแวดล้อม (Environment)

  • Greenpeace Thailand
  • Pearypie: Make-Up Artist/Theatrical Artis
  • ReReef

5. สาขาครอบครัวและผู้สูงอายุ (Family & Senior)

  • SopitChitchat โสภิตชิทแชท
  • ตายายสอนหลาน
  • มนุษย์ต่างวัย

6. สาขาแฟชั่น (Fashion)

  • Maxed Out
  • Pipo diy
  • WEARTOWORKSTYLE

3.7. สาขาการเงินและการลงทุน (Financial)

  • Paul Pattarapon พอล ภัทรพล
  • TaxBugnoms
  • ลงทุนแมน

8. สาขาสุขภาพและการออกกำลังกาย (Fitness & Health)

  • Bebe Fit Routine
  • Booky HealthyWorld
  • Forcejun

9. สาขาอาหาร (Food & Dining)

  • I’m Mayyr – Blog
  • PEACH EAT LAEK
  • Starvingtime เรื่องกินเรื่องใหญ่

10. สาขาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี (Gadget & Tech)

  • Beartai : แบไต๋
  • Ceemeagain
  • LDA ลดา – Ladies of Digital Age

11. สาขาเกมมิ่ง (Gaming)

  • Heartrocker
  • Zbing Z.
  • กิต งาย

12. สาขาไลฟ์สไตล์ (Lifestyle)

  • Bie The Ska
  • Kaykai Salaider Channel
  • KyutaeOppa – BehindtheScene

13. สาขาพ่อ แม่ และ เด็ก (Parenting & Kids)

  • Chujai Family
  • Guy Haru Family
  • Little Monster

14. สาขาสัตว์เลี้ยง (Pet)

  • Gluta Story
  • Kingdom Of Tigers: ทูนหัวของบ่าว
  • เค้าเรียกผมว่าแมว

15. สาขาวิจารณ์สังคม (Social Critic)

  • ใต้เตียงดารา
  • อีเจี๊ยบ เลียบด่วน
  • อีจัน

16. สาขาท่องเที่ยว (Travel) 

  • Bie The Ska
  • I Roam Alone
  • I’m Mayyr – Blog
]]>
1262362
“WISESIGHT” ประกาศความพร้อม Thailand Zocial Awards 2020 งานใหญ่ของวงการโซเชียล https://positioningmag.com/1254113 Thu, 21 Nov 2019 08:07:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254113 ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียล อันดับหนึ่งในประเทศไทย ประกาศยกระดับบรรทัดฐานการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์และมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในงาน “Thailand Zocial Awards 2020

งานประกาศรางวัลสำหรับคนโซเชียล ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพื่อเชิดชูแบรนด์ อินฟลูเอนเซอร์ และบุคคลในวงการบันเทิง ที่ทำผลงานได้ดีเยี่ยม โดย จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 พร้อมก้าวไปอีกขั้นกับการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ 2 วันเต็ม และการรวมตัวของ โซเชียลแพลตฟอร์มชั้นนำมากที่สุดในประเทศไทย

ถือเป็นการยกระดับงานประกาศรางวัลสำหรับคนโซเชียลไปอีกขั้นเมื่อ กล้า ตั้งสุวรรณ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศจัดงาน Thailand Zocial Awards 2020 งานประกาศผลรางวัลโซเชียลครั้งที่ 8

จัดขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ SHIFT: Make it SHIFT เพื่อพาทุกคนยกระดับการทำงานกับโซเชียลมีเดีย ด้วยการวัดผลข้อมูลโซเชียลที่ เห็นภาพรวมชัดเจนกว่าเดิมและคาดการณ์อนาคตได้แม่นยำที่สุดผ่านเครื่องมือของเรา

ในครั้งนี้จัดยิ่งใหญ่ 2 วัน โดยแบ่งเป็นวัน Forum (27 กุมภาพันธ์ 2563) งานสัมมนาที่รวบรวม แพลตฟอร์มชั้นนำมาขึ้นบรรยายมากที่สุดถึง 14 บรรยาย จาก 12 แพลตฟอร์ม ได้แก่ Facebook, Facebook Watch, Line, Line TV, Spotify, Pantip, AIS Play, YouTube, TikTok, Twitter, JOOX, WeTV

และ 2 บรรยายพิเศษ จาก คุณอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)และ TheSHIFT of Consumer Insight จาก Wisesight รวมถึงช่วงเสวนา พิเศษจากทั้งโซเชียลแพลตฟอร์มและกูรูด้านการทำการตลาดออนไลน์ ที่จะอัดแน่นไปด้วยเทรนด์ อินไซท์ต่างๆ รวมถึงวิธีการวัดผลรูปแบบใหม่เพื่อให้นักการตลาดสามารถนำไปวางกลยุทธ์ให้สอดคล้อง กับพฤติกรรมของผู้บริโภคบนโซเชียลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

และที่ขาดไม่ได้คืองานประกาศ รางวัลในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อเชิดชูและสร้างบรรทัดฐานของการใช้โซเชียลมีเดีย มีให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งเรายังคงได้รับการสนับสนุนอย่าง ต่อเนื่องจากผู้ทรงคุณวุฒิ หลากหลายวงการ ในเมืองไทยร่วมให้คำปรึกษาอัปเดต WISESIGHT METRIC ที่ใช้วัดผลรางวัลในงาน

โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์วิทวัส รุ่งเรืองผล นักวิชาการด้านการตลาด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คุณอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีเว็บไซต์ Pantip.com, คุณสุรศักดิ์เหลืองอุษากุล ผู้ก่อตั้ง BrandBaker, คุณพงษ์ปิติ ผาสุขยืด ผู้จัดทำ Ad Addict, คุณสโรจ เลาหศิริ  ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด Rabbit Digital Group และ คุณมัณฑิตา จินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายดิจิทัล บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนต์ (จำกัด) มหาชน

ส่วนการวัดผล รางวัลในกลุ่มเอนเตอร์เทนเมนต์นั้น ได้รับเกียรติจาก ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม ประธานบริษัท แก่น 555 จำกัด, คุณชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่-บริหาร สายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) และคุณวิเชียร ฤกษ์ไพศาล ผู้ก่อตั้ง genie records

โดย Thailand Zocial Awards2020 แจกทั้งหมด 195 รางวัล แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. รางวัลแบรนด์ที่ทำผลงานบนโซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมตามกลุ่มธุรกิจ (Best Brand Performances on Social Media) จำนวน 81 รางวัล 2. รางวัลแบรนด์ที่ทำผลงานบนโซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมตาม แพลตฟอร์ม (Best Brand Performances by Social Media Platform) 3. รางวัลคน บันเทิงบนโซเชียลมีเดียยอดเยี่ยม (Best Entertainment on Social Media) 39 รางวัล 4. รางวัล ผู้มีอิทธิพลบนโซเชียลมีเดียยอดเยี่ยม (Best Influencers on Social Media) 51 รางวัล และ 5. รางวัล พิเศษที่เชิดชูบุคคลหรือหน่วยงานที่ใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ (Special Award) 1 รางวัล

Thailand Zocial Awards 2020 จะมีขึ้นในวันที่ 2728 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 สยามสแควร์วัน ติดตามรายละเอียดและซื้อบัตรเข้างาน Forum ได้ที่www.thailandzocialawards.com เฟซบุ๊ก @thailandzocialawardsและทวิตเตอร์ @zocialawardsโดยจะเปิดขายบัตร EARLY SHIFT ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 10.00 น. เป็นต้นไป

]]>
1254113
ครั้งแรก! Wisesight เปิดข้อมูลเจาะลึก Influencer Landscape ของไทย เมื่อยอดผู้ติดตาม “ไม่ใช่คำตอบ” https://positioningmag.com/1246722 Tue, 17 Sep 2019 12:33:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1246722 ในยุคสื่อออนไลน์บูม ประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสัดส่วนกว่า 82% ทำให้การตลาดออนไลน์ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญสื่อสารกับผู้บริโภคมากขึ้น ในยุคที่คนไม่เชื่อโฆษณา Influencer Marketing จึงเป็นกลยุทธ์ที่อุตสาหกรรมต่างๆ นำมาใช้และจ่ายเม็ดเงินลงทุนมากขึ้นทุกปี ถือเป็นเทรนด์การตลาดที่มาแรง!

ปัจจุบันประเทศไทยมี “อินฟลูเอนเซอร์” จำนวนมากตั้งแต่ระดับท็อปถึง นาโน อินฟลูเอนเซอร์ เรียกว่าเกินหลักหมื่นราย ด้วยตัวเลือกจำนวนมาก ที่ผ่านมาการใช้ “อินฟลูเอนเซอร์” จากฝั่งแบรนด์ มักมีคำถามว่า จะเลือก “ใครดี” ใช้แล้ว “เวิร์ก” หรือไม่

กล้า ตั้งสุวรรณ

“อินฟลูเอนเซอร์” เทรนด์แรง

จากประเด็นที่เป็นคำถามต่อการใช้ “อินฟลูเอนเซอร์” ของนักการตลาดและแบรนด์ในปัจจุบัน Wisesight ผู้ให้บริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมีเดียอันดับหนึ่งในประเทศไทย จึงจัดทำรายงาน Thailand’s Influencer Performance Report ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2019 จากอินฟลูเอนเซอร์ 1,500 รายในกลุ่มท็อป พิจารณาจากทั้งจำนวนผู้ติดตามขั้นต่ำ 50,000 คนขึ้นไป รวมทั้งเอนเกจเมนต์ จากคอมเมนต์ ไลค์ แชร์โพสต์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบการวัดประสิทธิภาพของอินฟลูเอนเซอร์

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บรัษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ ทั่วโลกถือว่าเติบโตสูง พบว่า 63% ของแบรนด์วางแผนเพิ่มการใช้งบประมาณการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ โดยทุกการใช้จ่าย 1 ดอลลาร์บนการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ ธุรกิจสามารถมูลค่าสื่อกลับมา 5.20 ดอลลาร์ คาดการณ์ว่าในปี 2020 การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ทั่วโลกจะมีมูลค่าราว 10,000 ล้านดอลลาร์

ในประเทศไทยเองยังไม่มีการเก็บตัวเลขมูลค่าการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ แต่จากจำนวนอินฟลูเอนเซอร์ที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ระดับท็อปไปถึงระดับนาโน อินฟลูเอนเซอร์ เช่นเดียวกับฝั่งนักการตลาดและแบรนด์ที่มีการใช้งบประมาณการตลาดอินฟลูเอนเซอร์มากขึ้น ในทุกกลุ่มธุรกิจ เรียกว่าเป็น “เครื่องมือ” การตลาดมาแรงในประเทศไทย

เปิดข้อมูล “อินฟลูเอนเซอร์ แลนด์สเคป” 

จากรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลอินฟลูเอนเซอร์ของ Wisesight แบ่งอินฟลูเอนเซอร์ออกเป็น 4 กลุ่ม พิจารณาจากผู้ติดตามและประสิทธิภาพเอนเกจกเมนต์ คือ เกรด A+ สัดส่วน 10% เกรด A สัดส่วน 30% เกรด B สัดส่วน 50% และ เกรด C สัดส่วน 10%

โดยแบ่งอินฟลูเอนเซอร์ออกเป็น 13 ธุรกิจ หรือ คลัสเตอร์ คือ Beauty & Fashion, Financial, Food & Dining, Gaming, Health & Fitness, IT & Digital, Kids, Lifestyle, Online Program, Pets, Promotion, Social News และ Travel

สรุปข้อมูล Influencer Landscape ของประเทศไทย ไตรมาส 2 ปี 2019 เปรียบเทียบกับไตรมาสแรก พบว่า อินฟลูเอนเซอร์ โพสต์ 685,000 ข้อความ ใน 4 แพลตฟอร์ม แบ่งเป็น เฟซบุ๊ก 568,000 ข้อความ เพิ่มขึ้น 19%, อินสตาแกรม 71,000 ข้อความ ลดลง 7%, ทวิตเตอร์ 30,000 ข้อความ ลดลง 32% และยูทูบ 18,000 คลิป เพิ่มขึ้น 6%

เมื่อวิเคราะห์โพสต์ของอินฟลูเอนเซอร์ดังกล่าวสามารถสร้าง Engagements ในกลุ่มผู้บริโภคได้ 1,500 ล้านเอนเกจเมนต์ แบ่งเป็น เฟซบุ๊ก 1,099 ล้านเอนเกจเมนต์ เพิ่มขึ้น 17%, อินสตาแกรม 302 ล้านเอนเกจเมนต์ ลดลง 8%, ทวิตเตอร์ 23 ล้านเอนเกจเมนต์ ลดลง 13% และยูทูบ 119,000 เอนเกจเมนต์ ลดลง 19%

ท็อป 5 กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์มาแรง

ไตรมาส 2 ปีนี้ กลุ่มท็อป 5 คลัสเตอร์ หรือประเภทของอินฟลูเอนเซอร์ ที่สร้างเอนเกจเมนต์สูงสุดไตรมาส 2 คือ Lifestyle 771 ล้านเอนเกจเมนต์ เพิ่มขึ้น 5%, Food & Dining 145 ล้านเอนเกจเมนต์ เพิ่มขึ้น 31%, Beauty & Fashion 129 ล้านเอนเกจเมนต์ ลดลง 8%, Social News 115 ล้านเอนเกจเมนต์ ทรงตัว และ Pets 68 ล้านเอนเกจเมนต์ เพิ่มขึ้น 62%

กลุ่ม Food & Dining ที่สร้างเอนเกจเมนต์ได้สูงสุด 3 อันดับแรกในไตรมาส 2 ปีนี้ คือ Wongnai Cooking, กับข้าวกับปลาโอ และ ศุภชัย เสมอมิตร โหน่งโชว์

กลุ่ม Pets ที่สร้างเอนเกจเมนต์ได้สูงสุด 3 อันดับแรกในไตรมาส 2 ปีนี้ คือ Dog’s Clip, ข้าวจ้าว หมากวนตีน และ พี่โบน

พบว่าการมีผู้ติดตาม (Followers) จำนวนมาก ไม่ได้เท่ากับสามารถสร้างการโน้มน้าวหรือจูงใจกลุ่มเป้าหมายได้สูงตามไปด้วย

1 ใน 3 กลุ่มท็อปเอนเกจเมนต์ต่ำเกณฑ์

จากการวิเคราะห์ดาต้าการโพสต์คอนเทนต์ของกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์และวัดประสิทธิภาพเอนเกจเมนต์ เปรียบเทียบกับเกณฑ์วัดมาตรฐานของ Wisesight พบว่าประสิทธิภาพของอินฟลูเอนเซอร์ 2 กลุ่มแตกต่างกัน

อินฟลูเอนเซอร์ กลุ่ม B และ C สัดส่วน 13% เป็นกลุ่มที่สร้างประสิทธิภาพจากการโพสต์คอนเทนต์ได้ดี เพราะสามารถสร้างเอนเกจเมนต์ได้เท่ากับอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มท็อป

ขณะที่อินฟลูเอนเซอร์ กลุ่ม A+ และ A สัดส่วน 32% หรือ 1 ใน 3 สร้างเอนเกจเมนต์ได้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

การวิเคราะห์ดาต้าที่ออกมาเป็นสิ่งที่นักการตลาดและแบรนด์ต้องกลับไปศึกษาประสิทธิภาพการใช้อินฟลูเอนเซอร์แต่ละกลุ่มใหม่ เพราะหลักเกณฑ์เดิมที่เลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์จากจำนวน “ผู้ติดตาม” สูงสุด ถือเป็นสิ่งที่ต้องกลับมาทบทวน เพราะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาคือมีการ “ปั่นยอดผู้ติดตาม” ของกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้เป็นตัวเลือกของนักการตลาด

ดังนั้นการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ จึงควรดูจาก “ดาต้า” ที่สามารถสร้างประสิทธิภาพจากการโพสต์คอนเทนต์ ที่มาจากตัวเลขเอนเกจเมนต์ นักการตลาดและแบรนด์ควรทำการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ผ่าน data driven เช่นเดียวกับเครื่องมือการตลาดอื่นๆ เช่นกัน

]]>
1246722
ยุคบิ๊กดาต้าเป็นสิ่งจำเป็น! เทรนด์โซเชียลต้องเกาะติด ปั้นคอนเทนต์ “เรียลไทม์” เข้าถึงผู้บริโภค https://positioningmag.com/1244193 Tue, 27 Aug 2019 23:08:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1244193 ในยุคที่ผู้บริโภคเข้าถึงถึงอินเทอร์เน็ตสัดส่วนกว่า 80% ของประชากรไทย ใช้เวลากับสื่อโซเชียลมีเดียวันละกว่า 3 ชั่วโมง การวิเคราะห์ดาต้าจากโลกออนไลน์กลายเป็นอาวุธสำคัญที่ทำให้นักการตลาดและแบรนด์สามารถหาลูกค้ากลุ่มที่ใช่เจอและท้ายที่สุดนำมาซึ่งยอดขาย

ในเสวนา Big Data อาวุธทรงพลัง ยุค Digital Disruption ที่จัดโดย Business Today ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย ให้มุมมองว่าในยุคที่สื่อดิจิทัลเข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตและการเสพสื่อ วันนี้ “ดาต้า” จึงเป็นเรื่องสำคัญที่นักการตลาดและแบรนด์ต้องนำมาใช้ประโยชน์ ทั้งดาต้าที่มาจากองค์กรธุรกิจและจากพันธมิตรองค์กรต่างๆ

“เดิมหากต้องการเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค ก็คงต้องทำวิจัย แต่วันนี้ ดาต้าทำให้เห็นพฤติกรรมจริงโดยไม่ต้องถามข้อมูล การได้ข้อมูลที่แม่นยำ ก็คือการเข้าใจผู้บริโภคว่าต้องการอะไร และทำสิ่งนั้นไปตอบสนองความต้องการ”

ในอดีตการจัดเก็บดาต้าและวิเคราะห์ข้อมูล อาจมีต้นทุนสูงแต่วันนี้เทคโนโลยีทำให้การใช้ประโยชน์จากดาต้ามีต้นทุนต่ำลง การประมวลผลข้อมูลทำได้มีประสิทธิภาพจากแมชชีนเลิร์นนิ่ง

ช่วง 5 ที่ผ่านมาภาคธุรกิจขับเคลื่อนผ่านเรื่อง Data driven marketing มากขึ้น องค์กรที่ใช้ดาต้าในการตัดสินใจ จะได้เปรียบและนำหน้าคนอื่นไปได้ไกล เพราะดาต้าทำให้เข้าถึงเซ็กเมนต์ผู้บริโภคใหม่ๆ ที่สามารถสร้างยอดขายจากกลุ่มนี้ได้ ส่วนคนที่ไม่ใช้ดาต้าจะไม่มีทางหากลุ่มนี้เจอ นั่นจึงทำให้ช่องว่างระหว่างคนที่ใช้ดาต้าและไม่ใช้ห่างออกไปเรื่อยๆ เพราะวันนี้ใครเจอเซ็กเมนต์ลูกค้าใหม่ก่อน ก็จะสร้างฐานลูกค้าและสร้างรายได้นำคนอื่นๆ

จึงบอกได้แต่เพียงว่า “วันนี้ดาต้าเป็นเรื่องที่ยิ่งกว่าจำเป็นต้องใช้”

ศิวัตร เชาวรียวงษ์

เกาะเทรนด์โซเชียลปั้นคอนเทนท์เรียลไทม์

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บรัษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียล กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยใช้สื่อโซเชียลด้วยปริมาณที่มากขึ้นทุกปี แต่ละวันจะมีข้อมูลที่ผู้ใช้สร้างขึ้นกว่า 20 ล้านข้อความ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 19% ถือเป็นดาต้าสาธารณะที่สามารถดูเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค และนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์หากต้องการสื่อสารกับผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ

เทรนด์โซเชียล มีเดียเปลี่ยนทุกวันและเปลี่ยนเร็ว เพื่อให้นักการตลาด สื่อและคนทั่วไป เกาะติดเทรนด์โซเชียลที่กำลังอยู่ในความสนใจในแต่ละวัน “ไวซ์ไซท์” จึงเปิดให้ใช้งาน trend.wisesight.com ฟรี เพื่อให้ทุกคนสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโลกโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่ถูกพูดถึงบน Facebook, Twitter, Instagram, YouTube, Pantip, ฟอรัม, บล็อก รวมถึงข่าวต่างๆ ที่กำลังเป็นกระแสบนโลกโซเชียลกันแบบเรียลไทม์

กล้า ตั้งสุวรรณ

การรู้ข้อมูลเทรนด์โซเชียลที่กำลังอยู่ในความสนใจของคนทั่วไป จะทำให้ทั้งนักการตลาด แบรนด์ และสื่อ สามารถสร้างคอนเทนต์และทำ “เรียลไทม์ มาร์เก็ตติ้ง” ได้ตรงความสนใจผู้บริโภค

ข้อมูลของเทรนด์โซเชียล พบว่าคอนเทนต์ที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภคปีนี้ ข่าวการเมืองและข่าวบันเทิง โดยเฉพาะข่าวการเมืองติดเทรนด์มาตั้งแต่หลังการเลือกตั้ง

]]>
1244193
คอนเทนต์ท่วม! “แบรนด์” โพสต์โซเชียลมีเดียพุ่ง 23% แต่เอ็นเกจเมนต์ “ดิ่ง” อินฟลูเอนเซอร์กระหน่ำมากกว่า “เท่าตัว” https://positioningmag.com/1231841 Tue, 28 May 2019 13:02:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1231841 ด้วยจำนวนประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแล้วกว่า 82% มีพฤติกรรมใช้ “โซเชียลมีเดีย” มาเป็นอันดับแรก วันนี้ “แบรนด์” ต่างๆ จึงมุ่งสื่อสารคอนเทนต์ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล แต่ประสิทธิภาพการเข้าถึงผู้บริโภคกลับต่ำลง  

จากการวิเคราะห์ดาต้า “โซเชียลมีเดีย” ในประเทศไทย ช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค. – เม.ย.) 2019 ของ ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) หรือ Wisesight สรุปผู้ใช้งาน Active Users ของ 3 แพลตฟอร์ม คือ เฟซบุ๊ก 53 ล้านราย, อินสตาแกรม 13 ล้านราย และทวิตเตอร์ 9.5 ล้านราย

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลมีเดียพบว่ากลุ่มผู้ใช้ ทวิตเตอร์ มีอัตราเพิ่มขึ้นมากที่สุด และเป็นแพลตฟอร์มที่มีการโพสต์ข้อความมากที่สุด แม้มีจำนวนผู้ใช้น้อยกว่าเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม แต่เรียกว่าได้โพสต์ข้อความเข้าขั้น “โหด” คือโพสต์เยอะมาก โดยเฉพาะเมื่อเกิดกระแส “ดราม่า” ประเด็นต่างๆ

“ทวิตเตอร์” ข้อความพุ่งกระแสการเมือง

หัวข้อที่เป็นกระแสบนโซเชียลมีเดียและถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ คือ การเมือง โดยเฉพาะช่วงที่มีการเปิดตัวแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เดือน ก.พ. และช่วงเลือกตั้งเดือน มี.ค. นั่นทำให้ “ทวิตเตอร์” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ผู้สนใจการเมืองใช้งานมากที่สุด จึงมีปริมาณการโพสต์ข้อความเพิ่มขึ้น

ไวซ์ไซท์ คาดการณ์ว่าปี 2019 ปริมาณ “ข้อความ” บนโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น 19% หรือมีจำนวน 6,300 ล้านข้อความ จากปี 2018 มีจำนวน 5,300 ล้านข้อความ

ประชากรเฟซบุ๊กคือประชากรไทย

สำหรับ “เฟซบุ๊ก” แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด 53 ล้านราย หากเปรียบเทียบตามประชากรศาสตร์ของไทย พบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกัน โดยประเทศไทยมีประชากร เพศชาย 49% เพศหญิง 51% ส่วนประชากรเฟซบุ๊ก มีผู้ใช้งานผู้ชาย 50% และเพศหญิง 50%

เมื่อแยกรายอายุ พบว่ามี 2 ช่วง อายุที่มีความแตกต่างกัน คือ อายุ 18 – 24 ปี ประชากรจริงอยู่ที่ 6.42 ล้านคน ส่วนประชากรเฟซบุ๊กอยู่ที่ 13 ล้านคน และอายุ 25 – 34 ปี ประชากรจริงอยู่ที่ 9.30 ล้านคน ส่วนประชากรเฟซบุ๊ก อยู่ที่ 16 ล้านคน

แสดงให้เห็นว่าในช่วงอายุ 18 – 34 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้เฟซบุ๊กมากที่สุด มีจำนวนมากกว่าประชากรจริง “2 เท่าตัว” แสดงว่ามีการให้ข้อมูลอายุบนเฟซบุ๊ก “ต่ำกว่า” อายุจริง ดังนั้นแบรนด์ที่ต้องการสื่อสารกับผู้บริโภคอายุ 18 – 34 ปี จะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการอย่างแท้จริง

แบรนด์โพสต์คอนเทนต์เยอะแต่เอ็นเกจต่ำ

มาดูความเคลื่อนไหวของแบรนด์และผู้บริโภคบนโซเชียลมีเดีย ช่วง 4 เดือนแรก 2019 จากการเก็บข้อมูลจำนวน 1,000 แบรนด์ ของไวซ์ไซท์ พบว่าแบรนด์มีการโพสต์คอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย จำนวน 1.95 แสนโพสต์ เพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมี 130 ล้าน Engagements ลดลง 18% 

จุดนี้วิเคราะห์ได้ว่าเป็นหลักการของ “ดีมานด์และซัพพลาย” คือแพลตฟอร์มหลักอย่างเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม จำนวนผู้ใช้ไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากมีผู้ใช้งานจำนวนมากอยู่แล้ว แต่จำนวนคอนเทนต์ที่แบรนด์โพสต์เพิ่มขึ้น ทำให้ Engagements ลดลง

นอกจากนี้ยังมาจากปัจจัยอัลกอริทึมของเฟซบุ๊ก ที่กำหนดสัดส่วนให้ผู้ใช้เห็นโพสต์จากแบรนด์ลดลง แต่จะแสดงโพสต์จากเพื่อนให้เห็นมากขึ้น ทำให้ Engagements โพสต์คอนเทนต์ของแบรนด์ลดลง คือ ยิ่งโพสต์มาก Engagements ยิ่งต่ำลงไปเรื่อยๆ

สำหรับ “แบรนด์” ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่โพสต์คอนเทนต์ “แอคทีฟ” มากที่สุดในช่วง 4 เดือนแรก 2019 ใน 10 อันดับแรก คือ 1. ช้อปปิ้ง มอลล์ 2. รัฐบาลและหน่วยงานรัฐ 3. อี-มาร์เก็ตเพลส 4. เทเลคอม 5. ไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ต 6. สายการบิน 7. อสังหาริมทรัพย์ 8. บิวตี้ เซ็นเตอร์ 9. ธนาคาร 10. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ส่วนแบรนด์ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มี Engagement สูงสุด 10 อันดับแรก คือ 1. เทเลคอม 2. อี-มาร์เก็ตเพลส 3. สายการบิน 4. ไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ต 5. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 6. ยานยนต์ 7. ธนาคาร 8. เชนร้านอาหาร 9. อสังหาริมทรัพย์ 10. เครื่องสำอาง

อุตสาหกรรมที่มีโพสต์คอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียมี Engagement เติบโตสูงสุด 3 อันดับแรก คือ 1. บริการทางการเงิน เพิ่มขึ้น 40% 2. อี-มาร์เก็ตเพลส เพิ่มขึ้น 30% 3. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้น 28%

ขณะที่อุตสาหกรรมที่ Engagement ลดลงมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1. ประกัน ลดลง 57% 2. สินค้าแม่และเด็ก ลดลง 49% 3. เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลง 46%

ส่องผลงาน Engagement 4 แพลตฟอร์ม

การวิเคราะห์ “ดาต้า” 4 เดือนแรก ปี 2019 จากการที่ “แบรนด์และผู้บริโภค” โพสต์คอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย 4 แพลตฟอร์ม พบว่า

  • เฟซบุ๊ก โพสต์เพิ่มขึ้น 22.41% Engagement ลดลง 14.49%
  • อินสตาแกรม โพสต์เพิ่มขึ้น 92.68% Engagement ลดลง 46.55%
  • ทวิตเตอร์ โพสต์ลดลง 10.75% Engagement เพิ่มขึ้น 51.73%
  • ยูทูบ โพสต์เพิ่มขึ้น 2.56% Engagement เพิ่มขึ้น 37.9%

ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่า “แบรนด์” ส่วนใหญ่สื่อสารบนแพลตฟอร์มโซเชียล มีเดีย ที่มีผู้ใช้จำนวนมากอย่าง “เฟซบุ๊กและอินสตาแกรม” เป็นหลัก ขณะที่ “ผู้บริโภค” จะเอ็นเกจอยู่บนทวิตเตอร์และยูทูบมากกว่า ในจุดนี้แบรนด์ต่างๆ จะต้องสร้างสมดุลการใช้เครื่องมือสื่อสารกระจายตัวทั้งแพลตฟอร์มเดิมที่มีผู้ใช้จำนวนมาก และโซเชียลมีเดียที่มีแนวโน้มผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น

ที่ผ่านมามีการพูดถึง “ทวิตเตอร์” ซึ่งมีแนวโน้มผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีกลุ่มหลัก “คอการเมือง” และ “แฟนคลับที่ติดตามศิลปินเกาหลี” ปัจจุบันมีผู้ใช้งานหลากหลายมากขึ้น อีกทั้งกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลี ที่เริ่มใช้ทวิตเตอร์ทั้งต่อมัธยม เข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัย จบการศึกษาและเริ่มทำงาน จึงเป็นอีกกลุ่มกำลังซื้อสำคัญที่แบรนด์ต่างๆ จะต้องมองช่องทางการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่กำลังเติบโตด้วยเช่นกัน

แชมป์แบรนด์ 4 แพลตฟอร์ม

ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ “แบรนด์” ที่ครองแชมป์การสื่อสารและเอ็นเกจเมนต์บน 4 แพลตฟอร์มหลัก คือ “เคเอฟซี” แชมป์ “เฟซบุ๊ก”, การบินไทย แชมป์บน อินตาแกรม, โออิชิ แชมป์บนทวิตเตอร์ และ ซัมซุง แชมป์บนยูทูบ

การเคลื่อนไหวของแบรนด์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่สำคัญในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลออกมาได้ 5 ปัจจัยในแต่ละแพลตฟอร์ม

  • เฟซบุ๊ก มีอัตราการ Like มากที่สุด ตามด้วย “แชร์” ที่ปัจจุบันมากกว่าการ “คอมเมนต์” ถึง 2 เท่า ในจุดนี้จะต้องมาดูการสื่อสารของแบรนด์ต่างๆ ว่า เป็นการโพสต์คอนเทนต์ที่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับแบรนด์หรือไม่
  • อินสตาแกรม พบว่า 60% ของ 10 อันดับท็อปแบรนด์ที่มีการคอมเมนต์สูงสุด คือกลุ่มเครื่องสำอาง
  • ยูทูบ มีเพียง 4 แบรนด์ที่มียอดวิวเกิน 100 ล้านวิว
  • ทวิตเตอร์ ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ แบรนด์ที่ติดอันดับ 1. รีทวิต นานที่สุดไม่เกิน 1 เดือน นั่นหมายถึง ทวิตเตอร์ เป็นช่องทางที่แบรนด์ต่างๆ สามารถสร้างสรรค์คอนเทนต์และมีโอกาสขึ้นมาครองอันดับ 1 ได้ เพราะไม่มีแบรนด์ครองแชมป์ได้ยาวนานในช่องทางนี้
  • สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นองค์กรที่ครองแชมป์โพสต์คอนเทนต์มากที่สุดจำนวน 2,000 ครั้ง ในช่วง 4 เดือนแรก เนื่องจากเป็นองค์กรที่ใช้ข้อมูลการเลือกตั้งในช่วงที่ผ่านมา

อินฟลูเอนเซอร์สร้างโพสต์มากกว่าแบรนด์ “เท่าตัว”

จากการเก็บข้อมูล 1,000 Influencers ช่วง 4 เดือนแรก 2019 พบว่ามีการโพสต์คอนเทนต์ 4.49 แสนครั้ง มี Engagements 1,321 ล้านครั้ง หากเปรียบเทียบกับการโพสต์คอนเทนต์ ช่วง 4 เดือนแรกของแบรนด์ผ่านโซเชียล มีเดีย มีจำนวนโพสต์มากว่า “เท่าตัว” และมี Engagement มากกว่า 10 เท่าตัว

หากแบ่งตาม Category โพสต์ที่มี Engagements สูงสุด ประกอบด้วย

  • ไลฟ์สไตล์ 646 ล้านครั้ง
  • บิวตี้ 200 ล้านครั้ง
  • อาหาร 132 ล้านครั้ง
  • Social Critic 111 ล้านครั้ง
  • สัตว์เลี้ยง 70 ล้านครั้ง
  • เด็ก 35 ล้านครั้ง
  • ท่องเที่ยว 28 ล้านครั้ง
  • สุขภาพ 27 ล้านครั้ง
  • โปรแกรมออนไลน์ 23 ล้านครั้ง
  • เกม 23 ล้านครั้ง
  • การเงิน 16 ล้านครั้ง
  • ไอที&ดีไซน์ 7.6 ล้านครั้ง

เปิดกลุ่มท็อปโพสต์-เอ็นเกจสูงสุด

10 อินฟลูเอนเซอร์ ที่การโพสต์คอนเทนต์มากที่สุด 1. อีจัน 2. wongnai.com 3. Spice 4. ชมรมสาวโสด 5. Chillpainai 6. สมาคมนิยมสาวน่ารักฯ 7. BoxzaRacing 8. สิ่งเล็กๆ 9. แก๊งค์ซ่า บ้าบอล 10. Online Station

10 อินฟลูเอนเซอร์ที่มี Engagement สูงสุด 1. รักจับใจ 2. อีจัน 3. Beauty Community 4. สิ่งเล็กๆ 5. เมีย 6. ใต้เตียงดารา 7. Mayyr 8. Pimtha 9. อีเจี๊ยบ เลียบด่วน 10. สมาคมกวน Teen

จากดาต้าดังกล่าวจะเห็นว่าอินฟลูเอนเซอร์ที่โพสต์มากสุด หรือมีผู้ติดตามมาก ไม่ได้สร้างเอ็นเกจเมนต์ได้มากที่สุด

“ท็อป 3” อินฟลูเอนเซอร์ที่มี Engagement สูงสุดต่อโพสต์ ใน 4 แพลตฟอร์ม

  • เฟซบุ๊ก 1. ตามใจตุ๊ด 2. กับข้าวกับปลาโอ 3.ใต้เตียงดารา
  • ทวิตเตอร์ 1. ใต้เตียงดารา 2. HEATROCKER 3. อีเจี๊ยบ เลียบด่วน
  • อินสตาแกรม 1. Sunbeary 2. Kaykai Salaider 3. Pimtha
  • ยูทูบ 1. 1412 2. ตุงตาข่าย 3. Hiwwhee Official

ข้อมูลการโพสต์คอนเทนต์ของกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ รายแพลตฟอร์ม พบว่ามีเพียง 20% ที่ทำตัวเลข Engagement ได้สูงกว่าค่าเฉลียของแพลตฟอร์ม

  • เฟซบุ๊ก ค่าเฉลี่ย Engagement อยู่ที่ 2,762 ครั้งต่อโพสต์ อินฟลูเอนเซอร์ ทำได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย 24% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 76%
  • ทวิตเตอร์ ค่าเฉลี่ย Engagement อยู่ที่ 149 ครั้งต่อโพสต์ อินฟลูเอนเซอร์ ทำได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย 45% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 55%
  • อินสตาแกรม ค่าเฉลี่ย Engagement อยู่ที่ 5,458 ครั้งต่อโพสต์ อินฟลูเอนเซอร์ ทำได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย 21% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 79%

ปัจจุบันกระแสการใช้อินฟลูเอนเซอร์กำลังได้รับความนิยมในแบรนด์ต่างๆ ทำให้มีอินฟลูเอนเซอร์เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละคนจะมีบุคลิกแตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์จะต้องเหมาะกับแบรนด์ อีกทั้งแนวทางการวัดผลจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน เช่น วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ROI ผลตอบรับแบรนด์ หรือการสร้างการเชื่อมโยงกับแบรนด์ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การใช้อินฟลูเอนเซอร์เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

]]>
1231841
ไวซ์ไซท์ เผยปี 61 คนไทยส่ง 5.3 พันล้านข้อความ เปิด 2 เวที ประลอง “แพลตฟอร์ม” ดัง สื่อสาร-สตรีมมิ่ง เผย 24 แบรนด์ คว้ารางวัล Thailand Zocial Awards 2019 https://positioningmag.com/1217351 Mon, 04 Mar 2019 02:57:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1217351 บริษัทไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ใหบริการวิเคราะห์ข้อมูลด้านโซเชียลมีเดีย นําโดย กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า โซเชียลมีเดียในยุคปัจจุบันมีการใช้งานเพิ่มขึ้น และสามารถใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแชท, การแชร์, การใช้เพื่ออำนวยความสะดวก หรือการใช้ในเชิงธุรกิจก็สามารถทำได้เช่นกัน ถือได้ว่าโซเชียลมีเดียเป็นศูนย์กลางในการสื่อสารที่สะดวกและรวดเร็วที่สุดในยุคนี้ 

โซเชียลมีเดียในเมืองไทย อย่าง Facebook มีผู้ใช้ 53 ล้านคน, Instagram 13 ล้านคนและ Twitter 7.8 ล้านคน ซึ่งมีปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้นตลอด โดยปีที่ผ่านมามีจํานวนข้อความเกิดขึ้นบนโลกโซเชียลสูงถึง 5.3 พันล้านข้อความ โดยเฉลี่ย 10,000 ข้อความต่อนาที เติบโตถึง 47% โดยมีกว่า 230 ล้านภาพ นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่เราสามารถนำรูปภาพเหล่านี้มาทำการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ลึกขึ้น ทั้งในส่วนของผลิตภัณฑ์ และบริการ เช่น การวิเคราะห์การรับรู้ของแบรนด์ผ่านภาพถ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมทางการตลาด

นอกจากนี้ยังเปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใช้ Wisesight Trend เพื่อติดตามกระแสต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกโซเชียลได้แบบเรียลไทม์ โดยสามารถเข้าใช้งานได้ที่ https://trend.wisesight.com

ปีนี้ ยังจัดถึงสองเวทีไฮไลต์ ที่เป็นการรวมตัวของโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มดังอย่ําง Google, Facebook, Instagram, LINE, Pantip, Twitter ที่มําเผยถึงกํารเติบโตและความสนใจของเหล่ายูสเซอร์ในแต่ละแพลตฟอร์มในปี 2561

เปิดด้วยมุมมองของฝั่ง Google ที่ได้วิเคราะห์ดิจิทัลช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา คนพูดถึงโซเชียลมีเดียมากขึ้น ดังนั้นการเข้าถึงผู้ใช้ จะต้องถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา ด้ําน Facebook และ Instagram ก็เติบโตอย่างก้าวกระโดด Facebook มีผู้ใช้ถึง 37 ล้านคนต่อวัน (Dailyactiveuser) ส่วน IGstory ก็เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่เติบโตรวดเร็วที่มีคนใช้ถึง 400 ล้ํานคนทั่วโลกในแต่ละวัน Facebook ยังให้ความสำคัญด้าน Social Commerce ด้วย

Line สิ่งที่เห็นได้ชัดในปีที่ผ่านมาคือ การเป็นตัวกลางระหว่างแบรนด์กับกลุ่มลูกค้าด้วยการเปิดเคพีไอให้กับหลังบ้านของแบรนด์ เพื่อให้แบรนด์ส่งข้อมูลทุกอย่างถึงลูกค้าได้โดยตรง ส่วน Pantip มีฟีเจอร์ติดตามสร้างความเฉพาะเจาะจงในเรื่องที่สนใจมากยิ่งขึ้น ส่วนแอปพลิเคชั่นที่มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัดในปีที่ผ่านมา คือ Twitter ที่กลุ่มผู้ใช้ช่วงอายุ 25-34 ปี ให้ความสนใจรับข้อมลูข่ําวสารของแอคเคาท์ของแบรนด์ออฟฟิเชียลได้อยางเรียนไทม์ สามารถเช็กได้ว่าเกิดอุบัติเหตุอะไรขึ้นบนท้องถนน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกของเหล่าสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มชื่อดัง AISPlay, JOOX, LineTV, TrueIDTV, VIU และ YouTube จะมาเผยอินไซด์เกี่ยวกับโลกโซเชียลในปีที่ที่ผ่านมา พร้อมกับอัพเดตฟีเจอร์ต่างๆ ของแต่ละแพลตฟอร์ม

เริ่มจากค่ายใหญ่อยาง AIS Play ที่นําจดุแข็งของเน็ตเวิร์กและพําร์ตเนอร์อย่ําง Netflix และ iflix มาตอบโจทย์ความต้องการของผู้ที่ชื่นชอบในการดูหนัง ปัจุบนัมีลูกค้าเกือบ 4 ล้ํานคนในเมืองไทย เติบโตเป็นสองเท่าจากปีที่แล้ว

ทางด้ําน Joox นึกถึงควมต้องการของผู้ใช้และพยายามปรับให้ตอบโจทย์ให้มากที่สุด ปี 2562 มีแผนขยายไปพม่า และเพิ่มฟีเจอร์คาราโอเกะ ให้ยูสเซอร์สามารถร้องคาราโอเกะในแอปได้

ส่วน LineTV เผยว่าพฤติกรรมของคนดโทรทัศน์เปลี่ยนไป ต้องการที่ไหนและเวลาไหนก็ได้ จึงเสริมคอนเทนต์ด้านโทรทัศน์ และถูกจัดให้เป็น 1 ของทีวีรีรัน Line TV จึงขยายไปยังกลุ่มคนดูแมสยิ่งขึ้น และมีแผนทำงานกับโปรดิวเซอร์ เพื่อผลิตออริจินัลคอนเทนต์ให้มากขึ้น

สําหรับ TrueID TV เน้นใช้ดาต้าอินเทอร์เน็ต ที่ต่ำกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ 30% เพื่อให้เข้าถึงคนต่างจังหวัด จึงลงทุนเรื่องลิขสิทธิ์คอนเทนต์เพื่อตีตลาดหนังเถื่อน และยกระดับมาตรฐานการดูออนไลน์

เช่นเดียวกับ VIU ที่จับกลุ่มมุบริโภคหนังเถื่อนให้มาดูแบบถูกกฎหมํายได้ VIU เป็นสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มน้องใหม่ที่มีกํารเติบโตถึง 89% แต่ด้วยกํารเป็นแพลตฟอร์มที่เพิ่งเข้ํามาจึงต้องสร้างฐานให้แข็งแรงและสร้างเอกลักษ์ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ตบท้ํายด้วยสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มรุ่นใหญ่ Youtube ที่มีคนใช้ต่อเดือนถึง 1.9 พันล้ํานคนทั่วโลก จะมีเครื่องมือชื่อว่า WatchTime สําหรับวัดชั่วโมงการใช้ซึ่งประเทศไทยติดเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก และกลุ่มคนต่างจังหวัด เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ก็จะเข้าถึง Youtube มีสงูถึง 92%

สำหรับ Thailand Zocial Awards 2019 อยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ PLAY : Rolling your data โดยมีรางวัลให้ลุ้นกันทั้งหมดถึง 154 รางวัล แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ

1. รางวัลแบรนด์ที่ทำผลงานบนโซเชียลมีเดียยอดเยี่ยม (แบ่งตามกลุ่มธุรกิจ) จำนวน 24 รางวัล

2. รางวัลแบรนด์ที่ทำผลงานบนโซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมโดยแพลตฟอร์ม จำนวน 7 รางวัล (แบ่งตามประเภทของแต่ละแพลตฟอร์ม ได้แก่ Facebook, Pantip, Twitter และ YouTube) 3. รางวัลคนบันเทิงบนโซเชียลมีเดียยอดเยี่ยม จำนวน 11 รางวัล

4. รางวัลผู้มีอิทธิพลบนโซเชียลมีเดียยอดเยี่ยม จำนวน 11 รางวัล 5. รางวัลโซเชียลมีเดียแคมเปญยอดเยี่ยม จำนวน 5 รางวัล (สำหรับแบรนด์ และเอเจนซี่ที่สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีคุณภาพบนโซเชียลมีเดีย) 6. รางวัลพิเศษที่เชิดชูบุคคลหรือหน่วยงานที่ใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ จำนวน 1 รางวัล

โดยได้ใช้เครื่องมือ “Wisesight Metric” ในการวัดผล ซึ่งได้อัพเดตความสามารถในการวัดผล เช่น Voices ถูกนำมาใช้วัดผลปีนี้เป็นครั้งแรก เพื่อรู้ถึงปริมาณการรับรู้การพูดถึงแบรนด์ จากการทำกิจกรรมการตลาดบนโซเชียลมีเดีย

นอกจากนี้ ไวซ์ไซท์เซอร์ไพรส์ด้วยโชว์สุดพิเศษจาก สาวๆ BNK48 รุ่นที่ 2 มาสร้างสนุกและแจกความสดใสบนเวทีกันอย่างใกล้ชิด.

]]>
1217351
THOTH รีแบรนด์เป็น WISESIGHT บุกตลาดเอเชียแปซิฟิก เล็งปั้นผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์โซเชี่ยล มีเดีย ขานรับความต้องการของตลาด https://positioningmag.com/1183075 Wed, 18 Jul 2018 05:00:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1183075 เพื่อการบริหารงานที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการสร้างภาพลักษณ์ของการเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการด้านการวิเคราะห์โซเซี่ยล มีเดีย (Social Data Analytic Service) อย่างแท้จริง ทำให้จากจุดเร่ิมต้นเมื่อปี 2007 เรื่อยมาจนถึงโธธ โซเชียล โอบีว็อค ปัจจุบันได้กลายร่าง หรือรีแบรนด์เป็น “ไวซ์ไซท์” (WISESIGNT) โดยชิมลางเปิดบริการศูนย์บัญชาการระดับภูมิภาคที่มาเลเซีย เมื่อต้นปี 2017 ที่ผ่านมา ก่อนตั้งเป้าลุยตลาดเอเชียแปซิฟิกอย่างจริงจัง พร้อมเปิดอะคาเดมี ปั้นผู้เชี่ยวชาญเสริมดีมานด์ตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวท์ไซท์ จำกัด ให้รายละเอียดว่า “แนวทางในการทำธุรกิจของไวซ์ไซท์จะไม่ลงทุนร่วมกับพันธมิตร แต่จะอาศัยการจ้างงานคนในท้องถิ่นที่มีทักษะและความสามารถ ตลอดจนมีความรู้ ความเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภคและวัฒนธรรมอันมีลักษะเฉพาะของท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ Local Sources ทั้งหลาย เช่น เว็บบอร์ดยอดนิยมในไทยคือ Pantip ส่วนในมาเลเซียคือ Lowyat เป็นต้น โดยสาเหตุที่เลือกตั้งศูนย์ฯ ที่มาเลเซีย เนื่องจากมีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน และสามารถต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้รับไปยังตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคได้ง่าย โดยเฉพาะในเรื่องความหลากหลายของภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งมีการใช้ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ทั้งจีนกลางและคันโตนีส ภาษาทมิฬ (ใช้ในกลุ่มคนเชื้อสายอินเดีย) และภาษามาเลย์ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันก็มีต้นทุนถูกกว่าการตั้งศูนย์ฯ ที่สิงคโปร์ด้วย สำหรับปีนี้กำลังเตรียมขยายตลาดไปยังเวียดนาม อินโดนีเซีย และกัมพูชา ขณะที่ฮ่องกงเป็นจุดหมายแรกนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไวซ์ไซท์ต้องการจะไปเปิดธุรกิจ”

ทั้งนี้ ไวซ์ไซท์ มีทีมงานมากกว่า 160 ชีวิต ในจำนวนนี้ไม่ต่ำกว่า 70 คน เป็น Data Scientist แบ่งการให้บริการเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่

1. WISESIGHT INSIGHTS

ช่วยให้องค์กรกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารและการตลาดได้อย่างตรงประเด็นและตรงกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ตลาดและผู้บริโภค รวมทั้งจับตาความเคลื่อนไหวของคู่แข่ง ได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ ด้วยเครื่องมืออย่าง Zocial Eye (ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลคู่แข่งในหลากหลายแง่มุม ,วัดผลแคมเปญ และติดตามเทรนด์ต่าง ๆ )  Metric, และ Research (นำเสนอข้อมูลเชิงลึก 12 เรื่อง อาทิ การวัดผลแคมเปญ,การวิเคราะห์แบรนด์, การวิเคราะห์การประชาสัมพันธ์,การวิเคราะห์ผู้ทรงอิทธิพล-ผู้นำทางความคิด,เทรนด์ต่าง ๆ ด้านดิจิทัล เป็นต้น)

2. WISESIGHT CRM

ช่วยให้องค์กรสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ลูกค้า ด้วยเครื่องมือและทีมงานที่ช่วยให้ตราสินค้าสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ตามเวลาจริง เพื่อช่วยแก้ปัญหา ตอบข้อสงสัย สร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวด้วย Warroom และ Monitoring

3. WISESIGHT CONVERSION

เข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมายผ่านข้อมูลเชิงลึกรายบุคคล เพิ่มโอกาสใหม่ทางธุรกิจและเป็นส่วนหนึ่งในการวางกลยุทธ์สื่อสาร เครื่องมือ Precision ยังสามารถเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อจัดกลุ่มเป้าหมายให้แม่นยำยิ่งขึ้น สร้างประสบการณ์ที่นำไปสู่ความภักดีกับตราสินค้า

4. WISESIGHT ACADEMY

เพิ่มขีดความสามารถให้ผู้สนใจวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียล จัดหลักสูตรการวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้เครื่องมือ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในล้อมกรอบ เปิดอะคาเดมี ตอกย้ำการเป็นตัวจริงด้านการวิเคราะห์ข้อมูล โซเชียล มีเดีย)

กล้าให้รายละเอียดอีกว่า ไวซ์ไซท์ มีทุนจดทะเบียน 33 ล้านบาท มีฐานข้อมูลโซเชียล มีเดียกว่า 15,000 ล้านข้อความ ให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ใช้คีย์เวิร์ดได้ไม่จำกัด แสดงผลแบบเรียลไทม์ (ใช้เวลาน้อยกว่า 15 วินาที) มีผลวิจัยที่ทำเป็นประจำกว่า 1,600 ฉบับต่อปี  ปัจจุบันมีลูกค้ามากกว่า 150 แบรนด์ ในมากกว่า 20 กลุ่มอุตสาหกรรม โดยคาดว่าปีนี้จะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นจากปี 2017 ที่ผ่านมาราว 30-40%

กล้า ตั้งสุวรรณ CEO และพเนิน อัศววิภาศ COO

ด้าน พเนิน อัศววิภาส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “เราขยายตลาดต่างประเทศตั้งแต่ต้นปี 2017 ด้วยวิธีลงทุนเต็มรูปแบบ ปัจจุบันเราตั้ง ไวซ์ไซท์ มาเลเซีย เป็นศูนย์บัญชาการระดับภูมิภาค  มี Shakthi DC ผู้อำนวยการภูมิภาคร่วมบริหารงาน ซึ่งขณะนี้เราดำเนินธุรกิจจนผ่านจุดคุ้มทุนแล้วและกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องสู่ระดับเอเชียแปซิฟิก ด้วยกลยุทธ์ Hyper Localization ที่ประกอบด้วยจุดแข็ง 3 ประการ คือ

1. เทคโนโลยี

จากระบบการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการเก็บข้อมูลในระดับท้องถิ่นที่ลงลึกอย่างละเอียด

2. ภาษา

ความเข้าใจความซับซ้อนของภาษาเป็นหัวใจของการใช้ประโยชน์จากข้อมูลโซเชียล มีเดีย ไวท์ไซท์ได้ปรับกระบวนการทั้งหมดทั้งในส่วนเทคโนโลยีและการปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าของภาษาเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่แม่นยำสูงสุด โดยสามารถรองรับภาษาหลักทั้งหมดในภูมิภาคนี้ได้

3. วัฒนธรรม

การทำงานกับคนท้องถิ่นที่เข้าใจวัฒนธรรมของตลาดอย่างถ่องแท้  ทำให้สามารถบุกตลาดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

เปิดอะคาเดมี ตอกย้ำการเป็นตัวจริงด้านการวิเคราะห์ข้อมูล โซเชียล มีเดีย

ไวซ์ไซท์ไม่ได้มุ่งเน้นแค่การขยายตลาดสู่ระดับเอเชียแปซิฟิกเท่านั้น ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานและความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียล มีเดีย จึงตัดสินใจเปิด ไวซ์ไซท์ อคาเดมี จัดหลักสูตรอบรมการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียล มีเดีย ร่วมกับสถาบัน BINARY ของ สุพลชัย กีรติขจร ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจ นอกจากความรู้พื้นฐานด้านนี้สำหรับทุกคนที่ต้องการจะเข้าถึงและกลั่นเอาข้อมูลจากโซเชียล มีเดีย มาใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจแล้ว ยังมีหลักสูตรเข้มข้นหรือระดับมาสเตอร์ คลาส เพื่อสร้างและพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้าน Data Science เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 

“ข้อมูลในโซเชียล มีเดีย สำคัญมาก เพราะมันเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจ การได้ข้อมูลที่สำคัญและจำเป็น รวมถึงการมีทักษะความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้อง แม่นยำ นั้น ก็จะช่วยทำให้ตัดสินใจในการลงทุนหรือวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้ดีขึ้นด้วย โดยเตรียมเปิดหลักสูตรพื้นฐานในเดือนสิงหาคม 2018 นี้ ในราคาหลักสูตรละ 14,900 บาท”


ทำไมต้อง ไวท์ไซท์

ไวซ์ไซท์ สื่อความหมายถึงการมองเห็นข้อมูลอย่างชาญฉลาด สีแดงสการ์เล็ตถูกใช้เพื่อสะท้อนวิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำ ความเข้มแข็ง ความกล้าหาญ ความรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็เป็นสีแห่งความมงคลของชาวเอเชียด้วย  โดยเลือกใช้ตัวอักษรดับเบิลยู W ตัวอักษรแรกของชื่อ ไวซ์ไซท์ แทนสัญลักษณ์ สื่อถึงการมองเห็นข้อมูลโซเชียล มีเดีย ที่ชัดเจนแม่นยำผ่านวงกลมที่เปรียบเสมือนลูกตา ข้อมูลมหาศาลบนโซเชียล มีเดีย ที่ถูกเล่าผ่านเส้นนำสายตาจากซ้ายมาขวา แสดงถึงการกลั่นกรองอย่างมีระบบจนเป็นความชาญฉลาดที่ลูกค้าสามารถมองเห็นและนำไปตัดสินใจได้ สิ่งนี้เป็นคุณค่าหลักหรือ Core Valueที่ส่งมอบให้ลูกค้าและถูกถ่ายทอดผ่านรูปทรงเพชรด้านบนขวาสุดของตัวอักษร W บนโลโก้ ไวซ์ไซท์

]]>
1183075