ZTE – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 28 Sep 2022 03:47:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 AIS จับมือ ZTE เปิดตัว A-Z Center ศูนย์นวัตกรรม 5G ขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ ในไทย https://positioningmag.com/1401891 Tue, 27 Sep 2022 16:19:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401891 AIS จับมือ ZTE เปิดตัว A-Z Center ศูนย์นวัตกรรม 5G ในไทย วางเป้าส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล พัฒนาโซลูชันสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าที่จะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์จากการพัฒนาในด้านนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจาก 5G

สำหรับศูนย์นวัตกรรม 5G A-Z Center ที่ AIS และ ZTE ร่วมมือกัน ทั้ง 2 ฝ่ายนั้นมองว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพของประเทศไทยให้เดินหน้าไปอีกขั้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ที่เริ่มทำ Digital Transformation เพื่อเสริมประสิทธิภาพและยกระดับการบริหารจัดการ อันจะส่งผลโดยตรงต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS ความร่วมมือกับ ZTE นั้นจะช่วยในหลายประเด็นไม่ว่าจะเป็นการยกระดับโครงข่าย 5G ของไทยมีมาตรฐานระดับโลก การพัฒนาโซลูชันเพื่อภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ภาคประชาชน รวมถึงการส่งต่อบริการ 5G เพื่อประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย

สวี จือหยาง ประธานกรรมการบริหารของ ZTE Corporation ได้กล่าวถึงความร่วมมือนี้ว่า ในฐานะพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลสู่การจัดตั้ง A-Z Center นั้นจะสามารถนำเสนอนวัตกรรมทางเทคโนโลยีได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะยิ่งการนำเอาโครงข่าย 5G มาวางรากฐานด้านการวิจัยและพัฒนาจะทำให้เกิด Use Case ใหม่ๆ ในอนาคตที่พร้อมรองรับทั้งความต้องการของลูกค้าและการเพิ่มโอกาสให้กับภาคธุรกิจ

ศูนย์นวัตกรรม 5G A-Z Center นั้นจะเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและโซลูชันที่ครบถ้วนที่สุดเพื่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มาพร้อมกับเทคโนโลยีเครือข่ายต้นแบบ 5G ไม่ว่าจะเป็น

  • Next Generation Products for 5G Capability Growth เทคโนโลยีเครือข่ายที่พร้อมรองรับ 5G เช่น อุปกรณ์โทรคมนาคมที่ AIS ร่วมพัฒนากับ ZTE ที่สนับสนุนคลื่นความถี่ที่ใช้งานในประเทศไทย เช่น คลื่น 2.6GHz  และอุปกรณ์โทรคมนาคมเหล่านี้ยังลดการใช้พลังงานลง เนื่องจากมีการใช้ชิปหรือเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานต่ำ
  • 5G Use Cases  ซึ่งเป็นการจำลองนำเทคโนโลยี 5G มาใช้งานจริงๆ เช่น รถขนถ่ายสินค้าอัตโนมัติที่สามารถใส่ซิมการ์ด 5G ได้ทันที ไปจนถึงระบบ Holographic ที่สามารถนำมาใช้ในการประชุมทางไกลได้ รวมถึง Metaverse รวมถึง AR/VR ที่มีการใช้งานแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่ เป็นต้น
  • Diversified 5G Terminal Devices ความร่วมมือของ AIS และ ZTE นั้นได้ผลิตสมาร์ทโฟน 5G ราคาจับต้องได้ ซึ่งถือว่าถูกที่สุดในประเทศไทย โดยคาดว่าจะเปิดตัวได้ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้

ก่อนหน้านี้ความร่วมมือของทั้ง 2 องค์กรนั้นมีมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตัว Router สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบ้านของ AIS หรือแม้แต่การพัฒนาในภาคส่วนอื่นๆ ก่อนที่จะมีความร่วมมือครั้งใหม่ในการเปิดศูนย์นวัตกรรมครั้งนี้

]]>
1401891
‘หัวเว่ย’ หัวจะปวด! หลัง ‘แคนาดา’ สั่งแบนอุปกรณ์ 5G เพราะเป็นภัยความมั่นคงแห่งชาติ https://positioningmag.com/1386150 Fri, 20 May 2022 08:18:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1386150 รัฐบาลแคนาดาได้สั่งให้บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายในแคนาดาห้ามติดตั้งอุปกรณ์ของ ‘หัวเว่ย’ (Huawei) และ แซดทีอี (ZTE) ในเครือข่าย 5G เนื่องจากมีความกังวลเรื่องด้านความมั่นคง

ที่ผ่านมา แคนาดาเป็นสมาชิกเพียงกลุ่มเดียวของกลุ่มพันธมิตรด้านข่าวกรองของ Five Eyes ที่จะไม่ห้ามหรือจำกัดการใช้อุปกรณ์จากบริษัท หัวเว่ย (Huawei Technologies Co Ltd) ในเครือข่าย 5G ขณะที่ สหรัฐฯ และประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้แก่ อังกฤษ, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้แบนหัวเว่ยทั้งหมด

การแบนของแคนาดาในครั้งนี้ไม่ใช่แค่หัวเว่ย แต่รวมถึง ZTE Corp หนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดของจีนและเป็นบริษัทของรัฐบาล โดยให้บริการที่ติดตั้งอุปกรณ์นี้ไว้แล้วจะต้องหยุดใช้งานและถอดอุปกรณ์ออกภายในเดือนมิ.ย. 2567 โดยทางรัฐบาลจะไม่มีการชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้น ขณะที่บริษัทไร้สายรายใหญ่ของแคนาดาได้เริ่มทำงานกับผู้ให้บริการรายอื่นแล้ว

“เรากำลังประกาศเจตนารมณ์ที่จะห้ามการรวมผลิตภัณฑ์และบริการของ Huawei และ ZTE ในระบบโทรคมนาคมของแคนาดาฟรองซัวส์-ฟิลิปป์ ชองปาญ รัฐมนตรีอุตสาหกรรมกล่าว

มาร์โก เมนดิซิโน รัฐมนตรีกระทรวงความปลอดภัยสาธารณะ กล่าวว่า มีผู้แสดงพฤติกรรมที่เป็นปฏิปักษ์หลายคนที่พร้อมจะใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในการป้องกันของเรา โดยรัฐบาลได้ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดและเพิ่มความพยายามในการปกป้องชาวแคนาดาเป็นสองเท่า

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้พยายามโน้มน้าวพันธมิตรอย่างแคนาดามาหลายปีแล้ว เพื่อกีดกันหัวเว่ยจากเครือข่ายมือถือ 5G เนื่องจากกังวลว่าผู้ปกครองคอมมิวนิสต์ของจีนจะบังคับให้บริษัทช่วยเรื่องการจารกรรมทางอินเทอร์เน็ต สหรัฐฯ เตือนว่าจะทบทวนการแบ่งปันข่าวกรองกับทุกประเทศที่ใช้อุปกรณ์ของหัวเว่ย

อย่างไรก็ตาม หัวเว่ยได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ Saint-Jacques กล่าวว่า ภายใต้กฎหมายของจีนไม่มีบริษัทใดสามารถปฏิเสธคำขอจากรัฐบาลจีนในการแบ่งปันข้อมูล ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ 5G ของหัวเว่ยในประเทศ

“การตัดสินใจควรเกิดขึ้นเมื่อสองหรือสามปีที่แล้ว แต่มาช้าก็ยังดีกว่าไม่มา” Guy Saint-Jacques อดีตเอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศจีนกล่าว

ย้อนไปเมื่อปี 2562 รัฐบาลแคนาดาได้จับกุม เมิ่งหว่านโจว บุตรสาวของ เหรินเจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งบริษัทหัวเว่ยที่สนามบินแวนคูเวอร์ ภายใต้คำร้องของของรัฐบาลสหรัฐฯ จากนั้นจีนก็ตอบโต้ด้วยการจำคุกชาวแคนาดา 2 คน จนในเดือนกันยายนปี 2564 ทางหัวเว่ยก็บรรลุข้อตกลงกับสหรัฐฯ เพื่อชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดีกับเมิ่งไปจนถึงปี 2022 ซึ่งทำให้ศาลในเมืองแวนคูเวอร์ของแคนาดามีคำสั่งปล่อยตัวเธอ และอาจเป็นการสิ้นสุดการฟ้องร้องดำเนินคดีที่ยืดเยื้อเกือบ 3 ปีจนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ จีน และแคนาดาตึงเครียด

Source

]]>
1386150
ZTE บรรลุข้อตกลง “สหรัฐฯ” ได้แล้ว ยอมจ่ายค่าปรับ 1 พันล้านดอลลาร์ แลกยกเลิกคว่ำบาตร https://positioningmag.com/1173541 Fri, 08 Jun 2018 09:08:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1173541 เอเจนซีส์ – ล่าสุดบริษัทโทรคมนาคมของจีน ZTE สามารถบรรลุข้อตกลงกับสหรัฐฯ ได้ในวันพฤหัสบดี (7 มิ.ย.) ยอมจ่ายค่าปรับ 1 พันล้านดอลลาร์ พร้อมกับอนุญาตให้ผู้กำกับสหรัฐฯ เข้าจับตาความเคลื่อนไหวการทำธุรกิจของบริษัท แลกเปลี่ยนกับการได้รับอนุญาตยกเลิกการคว่ำบาตรห้ามไม่ให้ทำธุรกิจในอเมริกา พบข้อตกลงเกิดขึ้นหลังทรัมป์ทวีต กำลังทำงานร่วมกับ “ประธานาธิบดีสี” ในการรักษาตำแหน่งงานในจีน ส่วนหนึ่งของการเจรจาข้อตกลงการค้าที่ใหญ่กว่า 

เดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษ รายงานเมื่อวานนี้ (7 มิ.ย.) ว่า ค่าปรับจำนวนมหาศาลเกิดขึ้นหลังผู้นำสหรัฐฯ ยื่นมือเข้าช่วยเหลือบริษัทโทรคมนาคมของจีน ZTE ที่ก่อนหน้าถูกหน่วยงานกำกับของสหรัฐฯ สั่งห้ามเข้ามาทำธุรกิจในอเมริกา การคว่ำบาตรกลายเป็นหายนะต่อธุรกิจของ ZTE

และนอกเหนือจากค่าปรับมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ พบว่าจะมีการจัดตั้งทีมจากสหรัฐฯ เข้ามาฝังตัวภายใน ZTE เพื่อที่จะสามารถเฝ้ามอนิเตอร์การทำธุรกิจ และอีกทั้งบริษัทคมนาคมของจีนต้องเปลี่ยนชุดบอร์ดบริหารและทีมบริหารใหม่ทั้งหมด

ซึ่งพบว่าข้อตกลงระหว่าง ZTE และสหรัฐฯ สามารถบรรลุได้เมื่อวานนี้ (7) แต่ทว่าข่าวการกลับเข้ามาสู่ตลาดในสหรัฐฯ อีกครั้งสร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายสภาคองเกรส โดย สว.มาร์ค วอร์นเนอร์ (Mark Warner) รองประธานประจำคณะกรรมาธิการไม่ถาวรข่าวกรองวุฒิสภาสหรัฐฯ (The Senate Select Committee on Intelligence) ที่ได้แสดงความเห็นว่า 

“มีการสรุปอย่างเป็นเอกฉันท์จากชุมชนข่าวกรองของเราว่า ZTE แสดงความเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศของเรา ซึ่งความวิตกเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ย้อนกลับไปในปี 2012 คณะกรรมาธิการถาวรข่าวกรองสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ (The House Permanent Select Committee on Intelligence) ได้ออกรายงานด้านงานต่อต้านการจารกรรมข่าวกรองและความลับต่อความกังวลขั้นร้ายแรงเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ของบริษัท ZTE”

ซึ่งพบว่า

“ไม่ใช่แค่การที่ ZTE ถูกกวาดล้างเป็นเพราะสาเหตุแอบหลบเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านและเกาหลีเหนือ และโกหกหลังจากนั้น แต่เป็นเพราะ ZTE เป็นบริษัทโทรคมนาคมที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภัยการสอดแนมเกิดขึ้น ที่ดูเหมือนข้อตกลงนี้จะกล่าวถึงปัญหานี้น้อยมาก” 

ด้าน อแมนดา เดบัสค์ (Amanda DeBusk) ประธานด้านการค้าระหว่างประเทศและการกำกับของรัฐที่ เดเคิร์ต แอลแอลพี (Dechert LL) และอดีตเจ้าหน้าที่การค้าสหรัฐฯ กล่าวแสดงความเห็นว่า “ถือเป็นสิ่งไม่คาดหมายที่มีเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เป็นผู้คอยกำกับ…ถือเป็นความเคลื่อนไหวในแง่บวกภายใต้สถานการณ์นี้ เป็นเพราะ ZTE เป็นผู้ต้องหาที่กระทำความผิดซ้ำซาก” 

และเธอได้กล่าวต่อว่า ความสำเร็จของข้อตกลงในวันพฤหัสบดี (7) ถือเป็นเสมือนเงื่อนไขที่ต้องเกิดขึ้นก่อนความสำเร็จครั้งใหญ่จะตามมา ซึ่งในกรณีศึกษาของ ZTE ถือเป็นเสมือนหนามที่คอยทิ่มตำภายในจีน…สำหรับการที่สหรัฐฯ ได้ปิดหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของจีน ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และแน่นอนได้เรียกความสนใจจากคนเหล่านั้น

สื่ออังกฤษชี้ว่า การเดินหน้าในข้อตกลงร่วมกับ ZTE อาจเป็นการถางทางสำหรับวอชิงตันในการเดินหน้าเจรจาทางการค้ากับยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจโลกเช่นจีน ซึ่งที่ผ่านมาประเทศทั้งสองต่างแลกประกาศขึ้นภาษีศุลกากรนำเข้าตอบโต้ทางการค้าระหว่างกันมูลค่าสูงถึง 200 พันล้านดอลลาร์ ต่อการโต้เถียงในด้านกลยุทธ์ของปักกิ่งที่ต้องการแทนที่ความเป็นเจ้าโลกด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ รวมไปถึงการเรียกร้องให้บริษัทสัญชาติอเมริกัน ยอมเปิดเผยความลับทางการค้า เพื่อแลกกับการได้รับอนุญาตให้เข้าสู่ตลาดภายในจีน

Source

]]>
1173541
Huawei เจอกดดันหนัก FBI, CIA, และ NSA เตือนชาวอเมริกันอย่าใช้ หวั่นจารกรรมข้อมูล-สกัดการเติบโต https://positioningmag.com/1157058 Thu, 15 Feb 2018 04:23:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1157058 หัวหน้าสำนักงานข่าวกรองสหรัฐฯทั้งเอฟบีไอ ซีไอเอ และเอ็นเอสเอ ประกาศความกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลจีนและยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีแดนมังกร เบื้องต้นหน่วยข่าวกรองสำคัญ 6 แห่งของสหรัฐฯ เตือนว่าประชาชนชาวอเมริกันไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทจีน ทั้งห้วเว่ย (Huawei) และแซตทีอี (ZTE)

รายงานจากสำนักข่าวซีเอ็นบีซี (CNBC) ระบุว่าหัวหน้าหน่วยข่าวกรองอเมริกันประกาศคำเตือนนี้ในงานประชุมคณะกรรมการข่าวกรองวุฒิสภา (Senate Intelligence Committee) เมื่อวันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ตามเวลาสหรัฐฯ โดยกลุ่มหัวหน้าข่าวกรองเหล่านี้ประกอบด้วยหัวหน้าเอฟบีไอ ซีไอเอ รวมถึงผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ เอ็นเอสเอ

รายงานย้ำว่า ผู้อำนวยการเอฟบีไอ “คริส เรย์” (Chris Wray) กล่าวว่ารัฐบาลอเมริกันมีความกังวลมากเกี่ยวกับความเสี่ยงในการอนุญาตให้บริษัท หรือนิติบุคคลใด ๆ ที่มีภาพลักษณ์ดีได้รับการยกย่องจากรัฐบาลหลายประเทศ ให้เข้ามามีอำนาจภายในเครือข่ายโทรคมนาคมของสหรัฐฯ โดยระบุว่า ความเสี่ยงนี้อาจเปิดประตูความสามารถในการปรับเปลี่ยนหรือขโมยข้อมูลโดยมิชอบ รวมถึงการจารกรรมที่ไม่สามารถตรวจพบได้

คำเตือนเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะชุมชนข่าวกรองสหรัฐฯแสดงจุดยืนไม่ไว้วางใจในผลิตภัณฑ์หัวเว่ยมายาวนาน โดย Huawei เป็นบริษัทซึ่งก่อตั้งโดยอดีตวิศวกรที่เคยประจำการในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (People’s Liberation Army) และได้รับคำจำกัดความจากนักการเมืองสหรัฐฯ ว่าเป็น “แขนขาของรัฐบาลจีนที่มีประสิทธิภาพ”

คำเตือนครั้งก่อนนำไปสู่การเปิดไฟแดง ระงับการเสนอราคาของ Huawei ที่ต้องการทำสัญญาซื้อขายอุปกรณ์กับรัฐบาลสหรัฐฯ ในปี 2014 แต่คำเตือนครั้งนี้กำลังถูกมองว่าจะทำให้ Huawei มีปัญหาในการทำตลาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค

แม้ว่า Huawei จะเริ่มธุรกิจด้วยฐานะบริษัทโทรคมนาคม และเป็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน แต่ผลคือ Huawei ประสบความสำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา Huawei สามารถแซงหน้าแอปเปิล (Apple) ขึ้นเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากซัมซุง (Samsung)

รายงานระบุว่าฝ่ายนิติบัญญัติสหรัฐฯ กำลังพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ห้ามไม่ให้พนักงานของรัฐใช้โทรศัพท์ Huawei และ ZTE ทั้งหมด

แต่ Huawei กลับไม่เคยประสบความสำเร็จในตลาดอเมริกัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้ที่มีรายได้สูง กระทั่งเมื่อเดือนที่แล้ว Huawei วางแผนเปิดตัวเรือธง Mate 10 Pro ใหม่ในสหรัฐฯ ผ่านโอเปอเรเตอร์ใหญ่ “เอทีแอนด์ที” (AT&T) แต่โอเปอเรเตอร์อเมริกันตัดสินใจถอนตัวในนาทีสุดท้าย เนื่องจากแรงกดดันทางการเมือง

การตัดสินใจนี้ทำให้ริชาร์ด หยู (Richard Yu) ซีอีโอ Huawei กล่าวนอกบทบนเวทีงาน CES ว่าการตัดสินใจนี้เป็นความสูญเสียยิ่งใหญ่ของ Huawei ก็จริง แต่เป็นความสูญเสียที่มากกว่า สำหรับผู้บริโภค

จุดนี้ สำนักข่าวอเมริกันเชื่อว่า Huawei ยังคงพยายามขาย Mate 10 Pro ในสหรัฐฯ แต่ความพยายามนี้ดูเหมือนว่าจะผลักดันให้ Huawei ลงมือทำในสิ่งที่ ”สิ้นหวัง” เช่น การเสนอบทความรีวิวปลอมสำหรับโทรศัพท์มือถือ Huawei

ขณะนี้ รายงานระบุว่าฝ่ายนิติบัญญัติสหรัฐฯ กำลังพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ห้ามไม่ให้พนักงานของรัฐใช้โทรศัพท์ Huawei และ ZTE ทั้งหมด คาดว่าจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้งในอนาคต.

สนับสนุนข่าวโดย : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000015592

]]>
1157058
แซตทีอี หวังเบอร์ 5 ตลาดสมาร์ทโฟน https://positioningmag.com/1096781 Fri, 08 Jul 2016 00:11:02 +0000 http://positioningmag.com/?p=1096781 แซตทีอี จับมือเอไอเอส วางจำหน่าย Blade V7 Lite ทำราคาพิเศษเมื่อสมัครแพกเกจรายเดือนเหลือ 1,990 บาท จากราคาปกติ 4,990 บาท เผยเป็นหนึ่งในกลยุทธ์เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดเพื่อให้ขึ้นเป็น 1 ใน 5 ผู้จำหน่ายสมาร์ทโฟนในประเทศไทยด้วยส่วนแบ่งราว 5-6% ภายในสิ้นปีนี้

เจเรมี จ้าว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ธุรกิจอุปกรณ์สื่อสาร แซตทีอี คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า แซตทีอี ตั้งเป้าที่จะขึ้นเป็นอันดับ 5 ผู้จำหน่ายสมาร์ทโฟนในประเทศไทย ด้วยส่วนแบ่งการตลาดราว 6% หรือคิดเป็นจำนวนเครื่องราว 9 แสนเครื่อง เพิ่มขึ้นจาก 3 แสนเครื่อง หรือ 2% ในปีที่ผ่านมา โดยนับเฉพาะตัวแบรนด์ของแซตทีอี โดย 5 ผู้นำตลาดสมาร์ทโฟนที่แซตทีอี ระบุตอนนี้ประกอบไปด้วย ซัมซุง เอไอเอสลาวา แอปเปิล ออปโป้ และไอโมบาย

‘ถ้านับที่จำนวนการจัดส่งสมาร์ทโฟนในประเทศไทยปัจจุบันแซตทีอีถือเป็นอันดับ 5 ในตลาดแล้ว ด้วยส่วนแบ่งราว 8-9% แต่ด้วยส่วนใหญ่จะเป็นการจำหน่ายร่วมกับโอเปอเรเตอร์ในรูปแบบของการรับจ้างผลิต ทำให้ไม่ได้นับตัวแบรนด์ขึ้นมาเป็นหลัก ดังนั้นกลยุทธ์หลักในปีนี้คือการผลักดันแบรนด์แซตทีอีให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น’

โดยแซตทีอี ถือเป็น 1 ใน 5 ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนในตลาดโลก และเป็นบริษัทที่มีการวิจัยและพัฒนาด้วยการถือครองสิทธิบัตรมากเป็น 1 ใน 3 รายของผู้ผลิตสมาร์ทโฟน พร้อมกับเตรียมที่จะวางจำหน่ายสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ในปีนี้ทั้งหมด 7 รุ่น ประกอบไปด้วยซีรีส์ Axon 2 รุ่น Blade V ซีรีส์ 2 รุ่น และ A ซีรีส์ 3 รุ่น

ล่าสุดแซตที ได้ร่วมมือกับเอไอเอสในการวางจำหน่ายสมาร์ทโฟนที่เป็นแฟลกชิปในกลุ่มระดับราคาต่ำกว่า 5,000 บาท ด้วย Blade V7 Lite ที่เมื่อลูกค้าเปิดเบอร์รายเดือนกับเอไอเอส พร้อมชำระค่าบริการล่วงหน้าจะได้รับส่วนลดเหลือ 1,990 บาท จากราคาปกติ 4,990 บาท นอกจากนี้ในช่วงเดือนสิงหาคมจะเริ่มวางจำหน่าย Blade V7 Max ในราคา 9,990 บาท ซึ่งถือเป็นรุ่นที่เพิ่มสเปกขึ้นมา

สำหรับ Blade V7 Lite จะมากับหน้าจอขนาด 5 นิ้ว บาง 7.9 มิลลิเมตร กล้องความละเอียด 13 ล้านพิกเซล ใช้หน่วยประมวลผล MediaTek MTK6735P ความเร็ว 1GHz RAM 2 GB ส่วน Blade V7 Max ขนาดหน้าจอ 5.5 นิ้ว บาง 7.2 มิลลิเมตร รองรับการใช้งาน 4G LTE หน่วยประมวลผล MediaTek 1.8 GHz RAM 3 GB ทั้ง 2 รุ่นทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 6.0

ทั้งนี้ แซตทีอี คาดการ์ดว่าในปีนี้ยอดจำหน่ายสมาร์ทโฟนในประเทศไทยจะอยู่ที่ราว 15 ล้านเครื่อง มีอัตราการเติบโตสูงกว่า 20% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งทางแซตทีอีจะมีการเพิ่มงบการตลาดอย่างต่อเนื่องในทุกๆไตรมาส เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าถึงตัวแบรนด์ ทั้งการเพิ่มช่องทางจำหน่ายเป็น 2,000 ร้านค้า และศูนย์บริการหลังการขาย 220 แห่ง ภายในสิ้นปีนี้

ที่มา: http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000067827

]]>
1096781
ไล่ล่า!!! ซีอีโอ ZTE ชิ่งหนีคดีติดสินบน https://positioningmag.com/59851 Mon, 23 Mar 2015 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=59851
ตำรวจจีนเร่งตามล่า Wu Hai ซีอีโอแซดทีอี โมบาย ดีไวซ์ และรองประธานอาวุโส แซดทีอี หลังถูกกล่าวหาคดีทุจริตติดสินบนผู้บริหารระดับสูง ไชน่า ยูนิคอม ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเบอร์ 2 ของจีน ก่อนหลบหนีเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คาดขยายผลจากการจับกุม Zhang Zhijiang กรรมการผู้จัดการฝ่ายวางโครงข่าย ไชน่า ยูนิคอม เมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา ตามนโยบายกำจัดคอร์รัปชันของรัฐบาลกลางจีน
 
แหล่งข่าวภายในให้ข้อมูลต่อสำนักข่าว Caixin ว่า Wu Hai ซีอีโอ แซดทีอี ดีไวซ์ ไชน่า และรองประธานอาวุโส แซดทีอี ผู้มีหน้าที่สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัท และผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในประเทศจีน ยอมจ่ายเงินมากกว่า 1 ล้านหยวน ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงใน ไชน่า ยูนิคอม (China Unicom) ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม 2555 เพื่อสร้างโอกาสให้ได้รับเลือกเป็นผู้วางระบบโครงข่ายของผู้ให้บริการรายนี้ ทั้งนี้ ไชน่า ยูนิคอม มีการลงทุนด้านโครงข่ายต่อปีมากกว่า 1 ล้านล้านหยวน
 
“เพื่อนร่วมงานของเราบอกว่าเมื่อ 2 วันก่อน ยังเห็นเห็นเขาอยู่ในบริษัท” หนึ่งในพนักงาน ZTE ให้ข้อมูลต่อสำนักข่าว ZDNET ถึงการหายตัวไปก่อนหน้า 2 วันที่จะมีการแจ้งข้อกล่าวหา
 
ด้านอัยการกลาง กรุงปักกิ่ง และเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มีหน้าที่รับผิดชอบคดีนี้ ได้แจ้งข้อกล่าวหานาย Wu Hai หลังจากการหายตัวไป 2 วัน โดยคดีดังกล่าวขยายผลจากการจับกุมนาย Zhang Zhijiang รองประธานฝ่ายการก่อสร้างโครงข่ายและผู้จัดการทั่วไปเครือข่ายสาขา ไชน่า ยูนิคอม ในข้อหาทุจริตใช้ตำแหน่งหน้าที่เรียกรับผลประโยชน์จากผู้อื่น และทำให้เกิดการสอบสวนจนสามารถขยายผลต่อมาถึงผู้เสนอเงินให้ โดยปัจจุบัน นาย Zhang Zhijiang พ้นจากตำแหน่งดังกล่าว และอยู่ระหว่างการสอบสวนความผิดทางอาญา
 
**** เปิดปมขยายผล
 
การลงทุนที่มากกว่า 1 ล้านล้านหยวนต่อปี ของ ไชน่า ยูนิคอม ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเบอร์ 2 ของประเทศจีน กลายเป็นยาหอมที่ผู้ผลิตอุปกรณ์ต้องเข้าหา แน่นอนว่า ไชน่ายูนิคอม จะต้องมีการติดต่อทางธุรกิจกับผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง และหนึ่งในนั้นก็คือ ZTE โดยผู้ที่เป็นจุดเชื่อมต่อ และรายงานตรงต่อประธานบริษัทเพื่อนำไปสู่การพิจารณาอนุมัติงบลงทุนของฝ่าย ไชน่า ยูนิคอม ผู้นั้นก็คือ Zhang Zhijiang คนนี้นั่นเอง
 
แหล่งข่าวภายใน ZTE เปิดเผยว่า หลังจากเรื่องของ Wu เกิดเป็นคดีความขึ้น และหลบหนีไปนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นคดีติดสินบน โดย ZTE ได้จัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อเข้ามาดูแลความสัมพันธ์ของผู้ให้บริการทั้ง 3 รายในประเทศจีน และ Wu ก็นับว่ามีสายสัมพันธ์ที่ยาวนานกับไชน่า ยูนิคอม เป็นอย่างดี โดยช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2555 มีการติดสินบนผู้มีอำนาจในการอนุมัติการติดตั้งโครงข่ายของ ไชน่า ยูนิคอมเกิดขึ้นถึง 3 ครั้ง ด้วยมูลค่ากว่า 1 ล้านหยวน ด้วยความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่าง Wu และ Zhang Zhijiang รองประธานฝ่ายการก่อสร้างโครงข่ายและผู้จัดการทั่วไปเครือข่ายสาขา ไชน่า ยูนิคอม เริ่มเปิดเผยขึ้นระหว่างที่ Zhang Zhijiang ถูกสอบสวนในข้อหาทุจจริตรับสินบน หากแต่มุมมองของแหล่งข่าวรายนี้กลับระบุว่า อย่างไรก็ตาม Wu ได้ทำให้เกิดการสั่งซื้อที่มากขึ้น และก็ไม่ใช่การเก็บรายได้เข้ากระเป๋าแต่เป็นรายได้เข้าบริษัท ซึ่งหนทางของการสร้างสายสัมพันธ์เพื่อนำไปสู่ยอดการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกในอุตสาหกรรมนี้
 
15 ธันวาคม 2557 หน่วยงานสอบสวนกลางของจีนก็ได้ประกาศบนเว็บไซต์ว่า Zhang Zhijiang รองประธานฝ่ายการก่อสร้างโครงข่ายและผู้จัดการทั่วไปเครือข่ายสาขา ไชน่า ยูนิคอม มีการกระทำทุจริตร้ายแรงเกิดขึ้น องค์กรใหญ่อย่างไชน่า ยูนิคอม จึงถูกตรวจสอบอย่างหนัก และในบ่ายวันเดียวกัน ไชน่า ยูนิคอม ก็ได้ปลด Zhang Zhijiang ออกจากตำแหน่ง และสิ้นสุดหน้าที่ลงทันที และทำให้หน่วยงาน SASAC (State-owned Assets Supervision and Administration Commission) เริ่มเข้ามาสอบสวนการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบเพื่อเรียกรับผลประโยชน์จากผู้อื่นของ Zhang Zhijiang นอกเหนือจากการรับสินบนที่รับทราบแล้ว เพื่อรวบรวมพยานหลักฐานนำไปสู่กระบวนการทางกฎหมายต่อไป
 
“ผู้มีอำนาจในโปรเจกต์การก่อสร้างย่อมสร้างความร่ำรวยให้เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย นั่นเพราะว่าไชน่า ยูนิคอม มีการลงทุนการสร้างเครือข่ายเพื่อให้บริการกว่าหลายแสนล้านหยวนต่อปี แน่นอนว่า Zhang Zhijiang ไม่ได้มีอำนาจในการอนุมัติ และตัดสินใจทั้งหมด แต่ก็มีโอกาสสร้างการทุจริตให้เกิดขึ้นได้” แหล่งข่าวภายใน ไชน่า ยูนิคอม กล่าว
 
27 พฤศจิกายน-27 ธันวาคม 2557 ทีมตรวจสอบจากหน่วยงานกลางได้เดินทางเข้าไปตรวจสอบการดำเนินธุรกิจของไชน่า ยูนิคอม เป็นกรณีพิเศษ ตามนโยบายปราบปรามทุจจริตของรัฐบาลกลาง และ 4 กุมภาพันธ์ 2558 ก็ได้ผลการตรวจสอบว่า มีผู้บริหารและพนักงานบางคนใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการเรียกรับสินบนในรูปแบบต่างๆ เช่น เงิน ความบันเทิงทางเพศ การส่งบุตรหลานไปเรียนต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนกับความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น ตลอดจนสัญญาการงาน หรือความสัมพันธ์ที่จะนำไปสู่การได้งานจากไชน่า ยูนิคอม ขณะที่พนักงานภายในยอมรับว่ามีการเรียกรับผลประโยชน์เกิดขึ้นจริง ทั้งในรูปแบบหลักทรัพย์ เช็คของขวัญ หรือโปรแกรมสันทนาการต่างๆ และนั่นก็ทำให้ Zhang Zhijiang มีความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้นจากการดำรงตำแหน่งผู้บริหารของไชน่า ยูนิคอม
 
ปัจจุบัน Wu ในวัย 44 ปี ยังคงหลบหนีการจับกุม หากแต่ประสบการณ์กว่า 16 ปี ใน ZTE Crop. จนสามารถขึ้นมายืนบนตำแหน่ง รองประธานฝ่ายการตลาดและซีอีโอ โมบาย ดีไวซ์ ได้อย่างยาวนานนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถที่มากด้วยเล่ห์เหลี่ยมในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างดี โดยนอกจากการรับผิดชอบด้านการสร้างความสัมพันธ์จนเกิดเป็นคดีความแล้วนั้น Wu ยังนับเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้สมาร์ทโฟน ZTE Blade 880 ขายในประเทศจีน และประสบผลสำเร็จ มียอดจัดส่งกว่า 10 ล้านเครื่อง นับเป็นหนึ่งในบุคคลด้านการตลาดและการบริหารจัดการที่เป็นยอมรับในสังคม หลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานบริษัทในช่วงเดือนพฤษภาคม 2557 และควบตำแหน่งซีอีโอ โมบาย ดีไวซ์ ของ ZTE Corp. อีกด้วย
 
**** ZTE ในไทย
 
ในปี 2557 ZTE จำหน่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยผ่านผู้ให้บริการ “ดีแทค” เพียงรายเดียว โดยมียอดจำหน่ายกว่า 1.1 ล้านเครื่อง ซึ่งคิดเป็น 10% ของส่วนแบ่งการตลาด พร้อมทั้งวางเป้ายอดจำหน่ายในปี 2558 ไว้ที่ 2.5 ล้านเครื่อง คิดเป็นส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 15%-18% อีกทั้งยังวางเป้าหมายสร้างการรับรู้ในตราสินค้า ZTE ในประเทศไทย ผ่านกิจกรรมทางการตลาด โดยเพิ่มงบประมาณในปี 2558 กว่า 50% จากปีก่อนหน้า ซึ่งจะเน้นการทำตลาดรุ่นเรือธงให้มากขึ้น พร้อมเพิ่มช่องทางจำหน่ายจากเดิมที่มีเพียงจำหน่ายผ่าน ดีแทคเพียงรายเดียว โดยจะเพิ่มช่องทางจำหน่ายผ่านร้านค้าทั่วไป เช่น เจมาร์ท เป็นต้น
       

]]>
59851