adobe – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 19 Dec 2023 12:29:45 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Adobe ยกเลิกการซื้อกิจการ Figma แล้ว ให้เหตุผลหน่วยงานกำกับดูแลมีแนวโน้มไม่ให้ดีลนี้ผ่าน https://positioningmag.com/1456370 Tue, 19 Dec 2023 09:52:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1456370 Adobe ได้ประกาศยกเลิกการเข้าซื้อกิจการของ Figma ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทคู่แข่งแล้ว โดยให้เหตุผลถึงหน่วยงานกำกับดูแลทั้งในอังกฤษและสหภาพยุโรปอาจไม่ให้ดีลนี้ผ่าน เนื่องจากความกังวลในเรื่องการผูกขาด และทำให้การแข่งขันด้านซอฟต์แวร์ด้านการดีไซน์และออกแบบลดลง

Adobe บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ ที่เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ด้านกราฟิกอย่าง Photoshop หรือ Illustrator ประกาศยกเลิกการเข้าซื้อกิจการของ Figma ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านกราฟิกอีกราย ซึ่งดีลดังกล่าวมีมูลค่ามากถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

การประกาศยกเลิกดีลการซื้อกิจการดังกล่าวนั้นมาจากแรงกดดันของหน่วยงานกำกับดูแลทั้งในสหราชอาณาจักร หรือแม้แต่ในสหภาพยุโรปได้ส่งสัญญาณว่าดีลการซื้อกิจการดังกล่าวมีโอกาสที่จะไม่ได้รับไฟเขียว โดยให้เหตุผลว่า Adobe มีสิทธิ์ผูกขาดซอฟต์แวร์ด้านการออกแบบ

ไม่เพียงแค่หน่วยงานกำกับดูแลในทวีปยุโรปที่เตรียมขวางดีลดังกล่าว ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ ก็เตรียมที่จะเข้าสอบสวนดีลดังกล่าวด้วยเช่นกัน โดยมองว่า Figma ถือเป็นคู่แข่งของ Adobe ที่เริ่มมีความสำคัญเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดีผู้บริหารของ Adobe จะให้เหตุผลว่าการซื้อกิจการดังกล่าวนั้นสร้างผลดีแก่ผู้บริโภคก็ตาม

เมื่อ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา CMA หน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ได้ให้เหตุผลหลังการพิจารณาว่าดีลของ Adobe กับ Figma อาจสร้างผลกระทบต่อแวดวงคนทำงานสายดิจิทัลดีไซน์ เช่น ทำให้การแข่งขันด้านซอฟต์แวร์ดีไซน์ลดลง เนื่องจาก Figma เป็นคู่แข่งสำคัญโดนซื้อไป ทำให้คู่แข่งหายไป และเมื่อการแข่งขันที่ลดลงยังทำให้นวัตกรรมในการออกซอฟต์แวร์ใหม่จากคู่แข่งสู่ท้องตลาดลดลง

โดยหลังจากนี้ Figma จะได้รับเงินค่าชดเชยในกรณีที่ดีลการซื้อกิจการไม่ผ่านจาก Adobe เป็นเงินถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ดีลดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนปี 2022 ที่ผ่านมา ได้สร้างความฮือฮาในแวดวงการออกแบบ เนื่องจาก Figma ถือเป็นซอฟต์แวร์ออกแบบที่ถือว่าเป็นคู่แข่งสำคัญของ Adobe ในหลายซอฟต์แวร์ แม้ว่าตัวของ Adobe เองจะให้สัญญาว่าในเรื่องความเป็นอิสระของ Figma ก็ตาม

ที่มา – Adobe, The Verge, The Guardian

]]>
1456370
‘อะโดบี’ ย้ำ ตั้งออฟฟิศไทยไม่ได้มุ่งจับ ‘ลิขสิทธิ์’ แต่เห็นศักยภาพการเติบโตของศก. ดิจิทัลทัดเทียม ‘สิงคโปร์’ https://positioningmag.com/1431111 Sat, 20 May 2023 14:01:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431111 เชื่อว่าคนที่อยู่ในสายงานครีเอทีฟคงไม่มีใครไม่รู้จัก อะโดบี (Adobe) หลังจากที่เปิดสำนักงานในสิงคโปร์ โดยใช้เป็นฐานการให้บริการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานกว่า 21 ปี ล่าสุด บริษัทก็ได้เปิดสำนักงานใหม่แห่งที่ 2 ในประเทศไทย และ ไซมอน เดล รองประธานบริหาร และกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) และเกาหลีของ Adobe จะมาไขข้อสงสัยว่าทำไมถึงเลือกไทยเป็นออฟฟิศใหม่

ย้ำชัด ไม่ได้มาจับลิขสิทธิ์ แต่เห็นโอกาสเติบโต

ไซมอน ให้เหตุผลว่า ถ้าเทียบในภูมิภาคอาเซียน เศรษฐกิจดิจิทัลไทยนั้นมีโอกาสเติบโตสูงมากพอ ๆ กับสิงคโปร์ ดังนั้น การเปิดออฟฟิศในไทยนั้นเพื่อให้สื่อสารกับลูกค้าได้ง่ายขึ้น สามารถเข้ามาทำความเข้าใจลูกค้าเพื่อให้บริการได้อย่างตรงใจ นอกจากนี้ยังไม่ต้องเดินทางหรือใช้การสื่อสารระยะไกลอีกด้วย นอกจากนี้ การตั้งออฟฟิศในไทยยังช่วยให้อะโดบี พัฒนาดิจิทัลสกิลให้คนไทย ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนควบคู่กัน

ส่วนในเรื่องของปัญหาด้านลิขสิทธิ์นั้น บริษัทคงไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติมจากที่ดำเนินการอยู่ แต่มีการให้คำแนะนำกับผู้ใช้เสมอว่าการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องนั้นมีความเสี่ยงอย่างไร ทั้งในด้านของซิเคียวริตี้, การได้ใช้งานซอฟต์แวร์อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะไม่ได้รับการอัปเดต เป็นต้น

“สำหรับตลาดไทยเรามองว่ายังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก โดยเฉพาะในด้านครีเอทีฟ ดังนั้น เราอยากช่วยขับเคลื่อนครีเอทิวิตี้ของคนไทย และเรากำลังรอดูถึงนโยบายด้านการส่งเสริมครีเอทีฟและดิจิทัลจากรัฐบาลใหม่ว่าจะมีทิศทางอย่างไร และเราจะมีส่วนช่วยได้อย่างไรบ้าง”

ไม่ใช่แค่องค์กรใหญ่ แต่จะรุก SME ด้วย

ไซมอน กล่าวต่อว่า บริษัทให้ความสำคัญกับผู้ใช้ทั่วไปและลูกค้าองค์กร แต่ในส่วนของตลาดองค์กรนั้น อะโดบีจะมีทีมตรงเพื่อให้คำปรึกษา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบริษัทจะมีลูกค้าหลักเป็นองค์กรใหญ่ ซึ่งอะโดบีก็คาดหวังที่จะเข้าถึงกลุ่มธุรกิจกลางและเล็กในไทยมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเปิดออฟฟิศในไทยแต่บริษัทไม่ได้มีแผนจะทำการตลาดหรือสร้างการรับรู้ เพราะถือว่าเป็นกลุ่มธุรกิจเล็ก ๆ แต่บริษัทจะเน้นไปที่การเข้าให้ความรู้กับองค์กรธุรกิจในเรื่องของดิจิทัล โดยเฉพาะการนำเสนอโซลูชัน Experience Cloud ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับ MarTech

ทั้งนี้ ออฟฟิศในไทยที่เพิ่งจะเปิดไปได้มีการจ้างทีมงานแล้วประมาณ 10 ราย เบื้องต้น ยังอยู่ในกระบวนการศึกษางานให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะให้เข้าไปตอบโจทย์ลูกค้าได้

“การแข่งขันมีตลอดอยู่แล้ว ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ ต้องหาให้ได้ว่าลูกค้าต้องการอะไร และเราตอบโจทย์เขาได้ไหม”

]]>
1431111
กรณีศึกษา : “แบรนด์” สร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้าในช่วง COVID-19 เพื่อ “ได้ใจ” ระยะยาว https://positioningmag.com/1276572 Sat, 30 May 2020 15:14:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276572 “การมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า” นั้นเป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกกำลังมองหาในช่วงวิกฤต COVID-19 ขณะที่ทุกคนกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น การชัตดาวน์, Social Distancing, Work from Home ฯลฯ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่แบรนด์หรือธุรกิจต่างๆ ต้องคิดถึงประสบการณ์ลูกค้า (CX) เป็นสำคัญขณะที่การดำเนินธุรกิจก็อาจจะยังไม่เข้าสู่รูปแบบปกติเช่นกัน การทำความเข้าใจเรื่อง data-driven (data-driven empathy) เป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรนำมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ ให้เข้ากับสถานการณ์ และมีบทบาทในการแสดงความรับผิดชอบต่อทั้งลูกค้าและสังคม ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจรักษาและสร้างสัมพันธภาพกับลูกค้าที่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้

ปัจจุบันมีธุรกิจจำนวนมากที่กำลังทำสิ่งเหล่านี้ และ “มอบประสบการณ์ลูกค้าที่ดี” ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น

สายการบินไม่ชาร์จค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยน หรือเลื่อนไฟลท์ของผู้โดยสาร

สายการบินส่วนใหญ่มีนโยบายเข้มงวดกับผู้โดยสารที่เลื่อนการเดินทาง หรือยกเลิกเที่ยวบิน โดยทั่วไปสายการบินจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แต่จากวิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้ผู้โดยสารต้องยกเลิกการเดินทางไม่ว่าจะเป็นการเดินทางเพื่อธุรกิจ หรือการพักผ่อน สายการบินที่มี CX-minded หรือ “ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ลูกค้า” จะทำการยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมเพิ่ม

delta airlines
Delta Airlines

“จากสถานการณ์ของ H1N1 และ Ebola ทำให้เราได้เรียนรู้ และเตรียมพร้อมในการให้บริการผู้โดยสารในช่วงวิกฤต เราได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลเที่ยวบินให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบช่วง COVID-19 และเราก็ได้ยกเลิกเที่ยวบินในบางเที่ยวของเราในช่วงวิกฤตนี้เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐ ขณะเดียวกันเราก็อัพเดตนโยบายและสถานการณ์ของสายการบินให้กับลูกค้าอย่างทันท่วงที”

เราผ่อนคลายความกังวลของผู้โดยสารด้วยนโยบาย Peace of Mind โดยการเสนอการออกตั๋วใหม่ที่ไม่มีค่าธรรมเนียมในกรณีที่ผู้โดยสารทราบวันเดินทางใหม่แล้ว หรือแลกตั๋วเดินทางกับ eVoucher สำหรับผู้โดยสารที่ยังไม่มีกำหนดวันเดินทาง” บิล เล็นช์, หัวหน้าด้านประสบการณ์ลูกค้าของสายการบินเดลต้า กล่าว

ธุรกิจเอนเตอร์เทน

โรงภาพยนตร์ต้องหยุดให้บริการเพื่อระงับการแพร่เชื้อ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะหยุดให้ความบันเทิงกับลูกค้า Seattle Symphony ให้ลูกค้าได้ชมการแสดงผ่านวิดีโอบรอดคาสต์และไลฟ์สตรีมฟรี จนกว่า Benaroya Hall จะกลับมาเปิดใหม่อีกครั้ง

“ในฐานะนักดนตรี เรารวมตัวกันทั้งในช่วงเวลาที่ดีและช่วงเวลาที่ยากลำบาก เพื่อให้ “ดนตรี” ได้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตผู้คนในซีแอตเติลและทั่วโลกที่ช่วยบรรเทาจิตใจในช่วงเวลานี้ เราเชื่อว่าของขวัญที่เชื่อมคนทั่วโลกให้เข้าใจตรงกัน และให้กำลังใจกันได้คือ “ดนตรี” อเล็กซานเดอร์ไวท์, ประธานกรรมการของ Seattle Symphony กล่าว

Seattle Symphony
Seattle Symphony

โดยปกติแล้วโรงภาพยนตร์จะใช้เวลา 60 ถึง 90 วัน เพื่อรอหนังฉายในโรงภาพยนตร์ แต่ NBCUniversal ได้เปลี่ยนโมเดลการฉายหนังใหม่เพื่อให้ทุกคนได้ดูหนังที่บ้านทันทีผ่านการเช่าภายในเวลา 48 ชั่วโมง ผ่านบริษัทในเครือ Comcast and Sky โดยภาพยนตร์ “Trolls World Tour” เป็นภาพยนตร์แรกที่เปิดตัวและให้บริการต้นเดือนเมษายน

และสำหรับผู้ที่ซื้อตั๋วหนังแล้วมีแพลนที่จะดูหนังในช่วงนี้ ผู้ให้บริการจำหน่ายตั๋ว Fandango ได้ให้เงินคืนเต็มจำนวนแก่ลูกค้าที่ซื้อตั๋วแต่ไม่ได้ดูโดยที่ไม่จำเป็นต้องติดต่อทีมงานของพวกเขา ทาง Fandango ยังขยายวันหมดอายุสำหรับลูกค้าที่จะใช้ Reward  Money อีกด้วย

ยิม และฟิตเนสที่ยังคงห่วงใยคุณเสมอ

ท่ามกลางการปิดให้บริการเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 ยิมหรือฟิตเนสเป็นอีกสถานที่หนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อจิตใจและร่างกายสำหรับผู้รักสุขภาพจำนวนมาก Planet Fitness เป็นหนึ่งฟิตเนสที่ต้องปิดให้บริการแต่ Planet Fitness ยังต้องการให้สมาชิกได้ออกกำลังกาย จึงช่วยสมาชิกให้เข้าถึงเนื้อหาการออกกำลังกาย และแบบฝึกหัดเทรนนิ่งนับร้อยที่สามารถทำได้ที่บ้าน Planet Fitness ยังเปิดให้บริการ “Home Work-Ins” ผ่าน Facebook ที่ผู้สอนไลฟ์ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์

“สุขภาพกายและสุขภาพใจมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้คนโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน ถึงแม้เราจะไม่เห็นลูกค้าในฟิตเนสของเราในระยะเวลาหนึ่ง แต่เรายังสนับสนุนให้พวกเขามีช่วงเวลาดีๆ จากการออกกำลังกายกับเราเสมอ” ผู้บริหาร  Planet Fitness กล่าว

บำบัดจิตใจด้วยช้อปปิ้ง และสั่งอาหารออนไลน์

สำหรับบางคนการช้อปออนไลน์เล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถชะโลมใจให้หายจากภาวะเครียดได้บ้าง Sephora แบรนด์ความงามระดับโลก ก็พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส เช่น งดเก็บค่าจัดส่งสินค้า จนถึงต้นเดือนเมษายน นอกจากนี้ยังให้ลูกค้ารีฟันสินค้าได้ภายใน 30 วันหลังจากเปิดร้านค้าอีกครั้ง รวมถึงเพิ่มระยะเวลาสำหรับการคืนสินค้าผ่านออนไลน์เป็น 60 วัน

การเดินซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีคนพลุกพล่านสามารถเพิ่มระดับความวิตกกังวลให้กับผู้คนได้ ดังนั้นการสั่งซื้ออาหารผ่านบริการเดลิเวอรี่ช่วยคลายกังวลในเรื่องนี้ได้ Uber Eats ประกาศงดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดส่งสำหรับร้านอาหารมากกว่า 10,000 แห่ง และบริจาคอาหารฟรีกว่า 300,000 ชุด ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการตามสถานพยาบาลในสหรัฐอเมริกา และแคนาดา

ส่วนร้านขายยา CVS และ Walgreens ก็ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการจัดส่ง prescription ให้ลูกค้าที่บ้าน นอกจากนี้ Walgreens ยังจัดส่งฟรีสำหรับการสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์อีกด้วย

การให้บริการอินเทอร์เน็ตกับทุกคน

นอกจากนักเรียน นักศึกษาที่ย้ายกันมาเรียนออนไลน์แล้ว ยังมีคนทำงานอีกจำนวนมากที่ต้องเปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home ทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีมากยิ่งขึ้น ผู้ให้บริการรายใหญ่อย่าง AT&T, T-Mobile, Sprint และ Verizon เปิดให้ลูกค้าใช้บริการได้อย่างไม่จำกัด และหากลูกค้ายังไม่จ่ายบิลภายใน 60 วัน ก็ไม่คิดค่าธรรมเนียมในการชำระเงินล่าช้า

พร้อมเปิด Wi-Fi hotspot ให้ใช้ฟรี โดยสัญญาว่าจะไม่หยุดการให้บริการ ขณะที่ Verizon ให้ประเทศที่อยู่ในระดับ 3 ที่ประชาชนในประเทศไม่สามารถเดินทางต่างประเทศใช้บริการโทรทางไกลระหว่างประเทศไปยังประเทศต่างๆได้ฟรีในช่วง COVID-19

และ T-Mobile ก็ตอบแทนสังคมด้วยการบริจาคให้กับ Feeding America ธนาคารที่ไม่แสวงหากำไรมากกว่า 200 แห่ง ตามจำนวนการคลิกแอปพลิเคชัน T-Mobile Tuesday Today ($1 ต่อคลิก)

“เครือข่ายของเราและพนักงานของเราพร้อมที่จะให้บริการลูกค้าทุกคนไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน หรือพื้นที่ห่างไกลในช่วงเวลาวิกฤตนี้ที่การเชื่อมต่อ (connectivity) มีความสำคัญที่สุด” ฮานส์ เวสเบิร์ก ซีอีโอของ Verizon กล่าว

เรียนผ่านออนไลน์จนกลายเป็น New Normal ไปแล้ว

ช่วงนี้การเรียนในห้องเรียนก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงในการแพร่เชื้อและติดเชื้อ ทั้งจากการเดินทางและร่วมห้องเรียนเดียวกัน สถาบันการศึกษาหลายที่จึงมีนโยบายให้นักเรียนและนักศึกษาเรียนออนไลน์เพื่อให้จบทันกับปีการศึกษา Microsoft ได้นำเสนอแพลตฟอร์ม Microsoft Teams ให้กับนักเรียนและสถาบันการศึกษาสำหรับการเรียนการสอน รวมถึงการประชุมทางวิดีโอ และซีรีส์ของ Webinars เพื่อเชื่อมโยงผู้สอนกับผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาของ Microsoft ตลอดจนแนวทาง วิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับผู้ปกครองอีกด้วย

]]>
1276572
ทำไม อะโดบี ต้องปิดฉาก “Flash” ? https://positioningmag.com/1134414 Fri, 28 Jul 2017 03:59:50 +0000 http://positioningmag.com/?p=1134414 แม้แฟลช (Flash) จะเคยเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้บริการวิดีโออย่างยูทูป และเกมออนไลน์อีกนับไม่ถ้วนได้แจ้งเกิด แต่ต้นสังกัดอย่างอะโดบี (Adobe) ตัดสินใจประกาศโทษประหาร Flash อย่างเป็นทางการแล้วในปี 2020 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า แน่นอนว่าเรื่องนี้มีความหมายต่อชาวออนไลน์ทุกคน รวมถึงรูปแบบเนื้อหาอินเทอร์แอคทีฟในอนาคตด้วย

อะโดบีประกาศแผนยุติการสนับสนุนเทคโนโลยี Flash ในปี 2020 อย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากที่ในยุคหนึ่ง Flash เคยเป็นเทคโนโลยีที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในการรับชมวิดีโอ การฟังวิทยุสตรีมมิง และการเล่นเกมออนไลน์ เรียกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในยุคก่อนล้วนต้องติดตั้งโปรแกรมแฟลชเพลเยอร์

แต่ด้วยความที่ซอร์สโค้ดหรือชุดคำสั่งมีช่องโหว่ ทำให้อาชญากรอินเทอร์เน็ตอาศัยช่องโหว่ดังกล่าวเจาะเข้าในระบบ การเป็นข่าวสะท้อนความเสียหายในวงกว้างช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประกอบกับการมาถึงของคู่แข่งอย่างเอชทีเอ็มแอลไฟฟ์ (HTML5) ที่สามารถแสดงผลคอนเทนต์มัลติมีเดียได้โดยไม่ต้องลำบากผู้ใช้ให้ต้องคอยอัปเดตหรือติดตั้งโปรแกรมเล่นไฟล์ Flash ต่อเนื่อง จึงทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่เริ่มส่งสัญญาณตัดขาดจาก Flash

การตัดขาดจาก Flash ที่เป็นข่าวดังที่สุดคือยักษ์ใหญ่อย่างแอปเปิล ที่ตัดสินใจไม่สนับสนุนเทคโนโลยีดังกล่าวบนไอโฟน ไอแพด และไอพ็อด ตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม การตัดสินใจนี้เกิดขึ้นในช่วงที่สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) ยังรุ่งเรือง

วันนี้ อะโดบีเป็นฝ่ายปิดม่าน Flash ด้วยตัวเอง ขีดเส้นวันที่ 31 ธันวาคม 2020 เป็นกรอบสุดท้าย เพื่อให้เกมออนไลน์มากกว่า 1 แสนเกมที่ยังใช้ Flash ในทุกวันนี้ มีโอกาสโยกย้ายไปพัฒนาบนเทคโนโลยีอื่น

เบื้องต้น นักวิเคราะห์มองว่าเป็นเรื่องดีที่อะโดบีตัดสินใจปิดฉากชีวิต Flash ลง เนื่องจาก Flash เป็นจุดอ่อนที่ทำให้โลกออนไลน์มีความเสี่ยงมานานกว่า 10 ปี แน่นอนว่าสำหรับอะโดบี การปิดฉากนี้เกิดขึ้นบนความช้ำใจที่ได้ตัดสินใจซื้อเทคโนโลยี Flash มาจากบริษัทมาโครมีเดีย (Macromedia) เมื่อปี 2005 ซึ่งในช่วงปี 90 Flash เป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอย่างมาก โดยเฉพาะกับผู้ใช้เบราว์เซอร์ไออี แต่เมื่อเบราว์เซอร์โครม (Chrome) เกิดขึ้น อะโดบีก็พบว่าสถิติการใช้งาน Flash นั้นลดลงอย่างรวดเร็ว

***ชาวออนไลน์ไม่เจ็บเลย?

การอวสานของ Flash จะส่งผลกระทบต่อชาวออนไลน์ตามชนิดของเบราว์เซอร์ที่ใช้และการเชื่อมต่อข้อมูล ในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดคือ เกมคลาสิกของหลายคนอาจไม่ทำงาน โรงเรียนและธุรกิจบางอย่างที่มีโครงสร้างธุรกิจเกี่ยวข้องกับ Flash อาจต้องขยับขยายไปใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ขณะที่บางเว็บไซต์ซึ่งเก่าแก่และไม่มีการพัฒนามานาน อาจจะแสดงผลหรือทำงานไม่ได้ตามปกติ

หากเป็นเบราว์เซอร์โครม (Chrome) ผู้ใช้โปรแกรมเปิดเว็บของกูเกิลเริ่มได้เห็นหน้าต่างแจ้งขออนุญาตเล่นไฟล์ Flash บนบางเว็บไซต์ตั้งแต่ปีที่แล้ว ผลที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้คือ Chrome จะแสดงหน้าต่างเตือนบ่อยขึ้น จากนั้นจะไม่แสดง Flash โดยอัตโนมัติในปลายปี 2020

จุดนี้กูเกิลแถลงแล้วว่า จะลบ Flash ออกจาก Chrome หลังจากพ้นปี 2020 ไป เรียกว่าชาวออนไลน์จะยังเล่นเกม Flash ต่อไปได้อีก 3 ปี

สำหรับผู้ใช้ไฟร์ฟ็อกซ์ (Firefox) โปรแกรมเปิดเว็บไซต์ของมอสซิลาจะเริ่มแสดงข้อความแจ้งเตือนในเดือนสิงหาคมนี้ ว่าต้องการเปิดใช้งาน Flash บนเว็บไซต์ใดบ้าง จุดนี้ Firefox ระบุว่าจะปิดการทำงาน Flash เต็มรูปแบบในปี 2019 โดยจะยังรองรับ Flash ถึงปี 2020 เฉพาะบนชุดโปรแกรมเสริม Extended Support Release ของ Firefox ที่มีการอัปเดทข้อมูลไม่บ่อยครั้ง

ผู้ใช้เบราว์เซอร์เอดจ์ (Edge) โปรแกรมเปิดเว็บไซต์ใหม่ล่าสุดของไมโครซอฟท์จะใช้วิธีแสดงตัวเลือกให้ผู้ใช้คลิกหากต้องการเปิด Flash บนเว็บไซต์ นโยบายนี้จะเริ่มต้นในกลางปีหน้า (2018) ขณะที่เบราว์เซอร์เก่าอย่างไออี (Internet Explorer) จะยังให้บริการ Flash ตามปกติไปก่อน

รายงานระบุว่า กลางปี 2018 เบราว์เซอร์ Edge จะกำหนดให้ผู้ใช้ควบคุมการใช้ Flash อย่างจริงจัง ก่อนที่จะปิดการทำงาน Flash แบบอัตโนมัติในปี 2019 และปลายปี 2020 ไมโครซอฟท์จึงจะปิดการทำงาน Flash อย่างเบ็ดเสร็จในทั้ง 2 เบราว์เซอร์

กรณีของซาฟารี (Safari) แอปเปิลนั้นปิดกั้นการทำงานของ Flash ตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยบีบให้ผู้ใช้ที่ต้องการชมเนื้อหา Flash ไปตั้งค่าเองผ่านเว็บไซต์ที่เสนอให้ดาวน์โหลด Flash จึงจะสามารถชมเนื้อหาไฟล์ Flash ได้

อีกฝ่ายที่น่าสนใจคือเฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีเกม Flash ให้บริการมากมาย วันนี้เฟซบุ๊กเตือนนักเขียนโปรแกรมว่าจะอำนวยความสะดวกให้เกมบน Facebook ทำงานได้เช่นเดิมถึงปลายปี 2020 แต่ขอแนะนำให้ทุกคนทราบถึงกรอบเวลาให้บริการของเบราว์เซอร์แต่ละค่าย 

***ทำไมต้องรอถึงปี 2020

กอฟไวด์ บาลาคริสแนน (Govind Balakrishnan) รองประธานบริษัทฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ กลุ่มธุรกิจครีเอทีฟคลาวด์อีโคซิสเต็ม ระบุว่าการปิดฉาก Flash ต้องใช้เวลา เนื่องจาก Flash ยังเป็นมาตรฐานในหลายเว็บไซต์ ขณะเดียวกัน ก็ต้องให้เวลากับนักพัฒนาในวงการ การศึกษา เกม วิดีโอสตรีมมิง และอุตสาหกรรมอื่นเพื่อปรับปรุงหรือเขียนซอฟต์แวร์ขึ้นใหม่

เบื้องต้น ผู้บริหารอะโดบีเชื่อว่านี่คือเวลาที่เหมาะสมในการประกาศดึงปลั๊กปิดฉากการทำงานของเทคโนโลยี Flash แม้ว่าข้อมูลเบื้องต้นจะชี้ว่าวันนี้ Flash ถูกใช้งานไม่มากนักบนโลกออนไลน์ โดยเมื่อ 3 ปีที่แล้ว (2014) กูเกิลเคยออกมาเปิดเผยว่าจากสัดส่วนผู้ใช้ Chrome ที่เคยใช้งานเว็บไซต์ที่มีเนื้อหา Flash ผ่านคอมพิวเตอร์กว่า 80% ตัวเลขการใช้งานดังกล่าวลดเหลืออยู่ที่ 17% เท่านั้น คาดว่าสัดส่วนนี้จะลดลงอีกในขณะนี้

บทสรุปของการโบกมือลา Flash คือมาตรฐานมัลติมีเดียใหม่ซึ่งเป็นผลจากการที่เหล่าผู้พัฒนาเบราว์เซอร์พยายามกดดัน Flash มานานนับ 10 ปี โดยหลังจากที่ไอโฟนเครื่องแรกแจ้งเกิดโดยไม่รองรับ Flash ผู้สร้างเบราว์เซอร์ 3 รายทั้งมอสซิล่า แอปเปิล และโอเปร่า ก็รวมตัวกันในปี 2004 เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี HTML (Hypertext Markup Language) รวมถึงเทคโนโลยีหลักอื่นเพื่อใช้พัฒนาเว็บไซต์ การรวมตัวครั้งนั้นทำให้นักพัฒนามีทางเลือกมาตรฐานอื่นมากขึ้น

ปัจจุบัน นักพัฒนามีมาตรฐานทางเลือกหลากหลายตามรูปแบบมัลติมีเดียที่เปลี่ยนไป เช่น มาตรฐานภาพกราฟิก 3 มิติอย่าง WebGL, มาตรฐาน HTML5 ที่ช่วยให้วิดีโอ ไฟล์เสียง รวมถึงข้อความและภาพถูกแสดงบนเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น, มาตรฐาน SVG ที่ช่วยเรื่องการแสดงผลภาพกราฟิกเส้นอย่างโลโก้สัญลักษณ์หรือตารางหุ้น ให้แสดงผลได้ดี และที่สำคัญที่สุดคือมาตรฐาน Web Assembly ซึ่งทำให้ชาวเน็ตเปิดซอฟต์แวร์ออนไลน์และเกมได้เร็วขึ้น

กรณีของ Flash มาตรฐานที่จะมาแทนที่คือ HTML5 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เกมดังในช่วงปีนี้ส่วนใหญ่เลือกใช้ ขณะที่ผู้บริหารอะโดบีย้ำว่า การอวสานของ Flash จะไม่ส่งผลใดต่อธุรกิจของอะโดบีในยุคนี้ เพราะอะโดบียังมีโอกาสทางธุรกิจอื่นรออยู่. 


ที่มา : http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000076547

]]>
1134414
ไมโครซอฟท์ยัน “เพนต์” ยังอยู่แต่ย้ายไปวินโดวส์สโตร์ แต่ขออำลา “แฟลช” ในอีก 3 ปี https://positioningmag.com/1134267 Wed, 26 Jul 2017 17:42:50 +0000 http://positioningmag.com/?p=1134267 โปรแกรมไมโครซอฟท์ เพนต์ (Microsoft Paint) ได้รับการยืนยันแล้วยังอยู่ เพียงแต่ย้ายไปที่บ้านใหม่อย่างวินโดวส์สโตร์ (Windows Store) แต่สำหรับเทคโนโลยีแฟลช (Flash Technology) ที่หลายคนคุ้นเคยน่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ต้องจากลากันของจริง โดยทางอะโดบี ซิสเต็มส์ ออกมาเผยแล้วว่าจะดึงปลั๊กอินดังกล่าวออกในปี 2020

โดยในยุคหนึ่ง แฟลชเคยเป็นเทคโนโลยีที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในการรับชมวิดีโอ และการเล่นเกมออนไลน์ แต่ด้วยความที่ซอร์สโค้ดมีช่องโหว่ ทำให้อาชญากรอินเทอร์เน็ตอาศัยช่องโหว่ดังกล่าวเจาะเข้าในระบบ และสร้างความเสียหายได้ในวงกว้าง ประกอบกับการมาถึงของคู่แข่งอย่าง HTML5 ที่สามารถแสดงผลคอนเทนต์มัลติมีเดียได้โดยไม่ต้องลำบากผู้ใช้ให้ต้องคอยอัปเดตปลั๊กอินอยู่บ่อย ๆ จึงทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างแอปเปิล (Apple) ตัดสินใจไม่ซัปพอร์ตเทคโนโลยีดังกล่าวบนอุปกรณ์โมบายล์ของทางค่ายที่รันระบบปฏิบัติการ iOS

 Govind Balakrishnan รองประธานฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอะโดบีกล่าวยืนยันว่า บริษัทมีแผนจะยุติเทคโนโลยีแฟลชจริง เนื่องจากเทคโนโลยีอย่าง HTML5 มีความสามารถ และเสถียรมากพอที่จะก้าวขึ้นมาทดแทนแฟลชได้แล้วนั่นเอง

สำหรับอะโดบีนั้น ได้ตัดสินใจซื้อเทคโนโลยีแฟลชมาจากบริษัทมาโครมีเดียเมื่อปี 2005 ซึ่งในขณะนั้น แฟลชเป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอย่างมาก โดยเฉพาะกับผู้ใช้เบราเซอร์ Internet Explorer แต่เมื่อเบราเซอร์ Chrome เกิดขึ้น อะโดบีก็พบว่า สถิติการใช้งานแฟลชนั้นลดลงอย่างรวดเร็ว จากที่เคยใช้งานในระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปี 2014 พบว่า ตัวเลขการใช้งานแฟลชเหลืออยู่ที่ 17 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

โดยทางกูเกิลได้ยกเลิกการซัปพอร์ตเทคโนโลยีแฟลชไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม มร. Balakrishnan ผู้บริหารจากอะโดบีเผยว่า เขาไม่คิดว่าการไม่มีแฟลชจะส่งผลใด ๆ ต่ออะโดบีในยุคนี้

เราคิดว่าโอกาสของอะโดบีในทุกวันนี้มีเยอะมากกว่าโลกในยุคของแฟลชเยอะมาก

ส่วนสาเหตุที่อะโดบีต้องซัปพอร์ตแฟลชไปจนถึงปี 2020 นั้น ก็เพื่อให้ลูกค้า และพาร์ตเนอร์ ได้มีเวลาในการเปลี่ยนถ่ายไปสู่เทคโนโลยีอื่นๆ นั่นเอง 


ที่มา : http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000075896

]]>
1134267
ผลตอบรับโฆษณาผ่านสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น แต่ยังล้าหลัง https://positioningmag.com/1132501 Wed, 12 Jul 2017 08:39:53 +0000 http://positioningmag.com/?p=1132501 อะโดบี แนะธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ห้ามพลาด ดึงดูดลูกค้าผ่านทางสมาร์ทโฟน เหตุผู้บริโภคภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอบรับการใช้ “สมาร์ทโฟน” ทราฟฟิกสมาร์ทโฟน และผลที่ได้จากการโฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ยังล้าหลังประเทศอื่นๆ

อะโดบี (Adobe) ได้เปิดเผยเกี่ยวกับรายงาน Best of the Best Report ฉบับล่าสุดของ Adobe Digital Insights ภายในงาน Adobe Experience Forum โดยมีผู้บริหารองค์กรธุรกิจ นักการตลาด ผู้จัดพิมพ์ ผู้ลงโฆษณา และผู้จัดการคอนเทนต์กว่า 250 คนเข้าร่วมการประชุม

Adobe Digital Insights อ้างอิงข้อมูลจากการเยี่ยมชมราว 100,000 ล้านครั้งบนเว็บไซต์กว่า 3,000 แห่งในเอเชียในช่วงปี 2559 ว่า แม้ว่าระยะเวลาที่ผู้บริโภคใช้บนเว็บไซต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีอัตราลดลง แต่อัตราการดำเนินการที่เป็นผลมาจากโฆษณา หรือ Conversion Rate กลับเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของเดสก์ท็อปและสมาร์ทโฟน ซึ่งบ่งบอกว่า “ดัชนีชี้วัดแบบเดิมๆ” อาจไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพที่แท้จริงของประสบการณ์ลูกค้าได้อีกต่อไป

เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อินเดีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ พบว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีระยะเวลาที่ใช้บนเว็บไซต์ลดลงมากที่สุด โดยอยู่ที่เฉลี่ย 13.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในขณะเดียวกันอัตรา Conversion ก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก (เพิ่มขึ้น 40% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า)

แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่ผู้บริโภคมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ต่างๆ ในช่วงระยะเวลาที่สั้นลง โดยอาจเป็นผลมาจากความเร็วในการเชื่อมต่อเครือข่ายและแบนด์วิธที่ปรับปรุงดีขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการที่ผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้สมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์หลัก ด้วยเหตุนี้ แบรนด์ต่างๆ จึงต้องปรับตัวตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ซึ่งมีความพิถีพิถันมากขึ้นในการเลือกว่าจะโต้ตอบกับเนื้อหาคอนเทนต์ในลักษณะใด และเมื่อไร

ขณะที่ทุกประเทศมีทราฟฟิกในส่วนของเดสก์ท็อปลดลง แต่เว็บไซต์ชั้นนำ 20 เว็บไซต์ หรือ ‘Best of the Best (BoB)’ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทราฟฟิกลดลงมากที่สุดถึง 14.4%

อย่างไรก็ตาม การลดลงของเว็บไซต์ทั่วไปในภูมิภาคนี้อยู่ในระดับต่ำที่สุด (ลดลง 5.5%) เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีช่องว่างเพิ่มมากขึ้นระหว่างเว็บไซต์สองกลุ่ม แม้ว่าแนวโน้มทราฟฟิกของเดสก์ท็อปจะลดลงและมีการเพิ่มขึ้นของทราฟฟิกสมาร์ทโฟนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เว็บไซต์ทั่วไปเพิ่มขึ้น 17.9%; เว็บไซต์ BoB เพิ่มขึ้น 28.1%) แต่อัตรา Conversion Rate ในส่วนของเดสก์ท็อปเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (เว็บไซต์ทั่วไปเพิ่มขึ้น 21.4%; เว็บไซต์ BoB เพิ่มขึ้น 25%) และยังคงมากกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับ Conversion Rate ของสมาร์ทโฟน

แม้ว่าปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วผู้บริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเดสก์ท็อป แต่แบรนด์ก็ไม่ควรละเลยแนวโน้มของสมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะแซงหน้าเดสก์ท็อปในไม่ช้า

สก็อต ริกบี้ หัวหน้าฝ่าย Digital Transformation ของอะโดบีกล่าว

ทั้งนี้ อัตรา Conversion ในส่วนของสมาร์ทโฟนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แต่ก็ยังคงตามหลังประเทศอื่นๆ โดยยังมีส่วนที่ต้องปรับปรุงอีกมาก แบรนด์ต่างๆ จึงจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค สำหรับการใช้งานเว็บ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากระยะเวลาการใช้งานที่ลดลงและอัตราการเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ลดลงในเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม”

]]>
1132501