นับตั้งแต่การระบาดของโควิด ทำให้หลายองค์กรตระหนักและเริ่มนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อทรานส์ฟอร์ม โดย AIS Business ผู้นำบริการด้านดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อองค์กรภาคธุรกิจของไทย ได้เผยถึง 5 ขุมพลังดิจิทัล รวมถึงการเปิด AIS Evolution Experience Center ในพื้นที่ Thailand Digital Valley ให้องค์กรได้เข้าไปสัมผัสว่า เทคโนโลยีของ AIS Business จะช่วยติดสปีดการทำงานขององค์กรธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ให้ชิงความได้เปรียบทางการแข่งขันให้ประเทศ ได้อย่างไรบ้าง
ภูผา เอกะวิภาต รักษาการหัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS เล่าว่า จากการที่ เอไอเอส พูดคุยกับลูกค้าองค์กรถึงสถานการณ์และความท้าทายที่ต้องเผชิญในปัจจุบันพบว่า มี 4 ปัจจัย หลัก ๆ ได้แก่
“สถานการณ์การดิสรัปต์มันชัดตั้งแต่ช่วงโควิด ทำให้ฝั่งธุรกิจมองหาเทคโนโลยีมาช่วย แต่เรายังเชื่อมั่นในโมเดลของเราก็คือ เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน นั่นแปลว่า มันไม่สามารถทำได้ด้วยคนเดียว ดังนั้น ทิศทางของ AIS Business คือ Digital Evolution: Sustainable Business for a Sustainable Nation เพื่อทรานส์ฟอร์มธุรกิจและประเทศชาติอย่างยั่งยืน”
จากแนวคิด Sustainable Business for a Sustainable Nation ของ AIS Business ได้สร้างสรรค์ 5 ขุมพลังด้านดิจิทัล ประกอบด้วย
• Intelligent Network and Infrastructure ขุมพลังแห่งโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ ครบครันตั้งแต่ On-Premise Cloud ไปจนถึงระดับไฮเปอร์สเกล การันตีด้วยรางวัล Microsoft Partner of the Year – Thailand 3 ปีซ้อน (2022-2024), ผู้ให้บริการ Broadcom’s VMware Cloud Service Provider อันดับหนึ่งในไทย พร้อมความร่วมมือกับ Oracle เพียงรายเดียวในประเทศที่จะทำให้บริการ Cloud พร้อมสนับสนุนการบริหารจัดการองค์กรที่เติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ องค์กรต่าง ๆ สามารถแสดงความจำนงการใช้บริการศูนย์ GSA ดาต้าเซ็นเตอร์ จากความร่วมมือของ Gulf, Singtel และ AIS ขนาดกว่า 20 เมกะวัตต์ ที่มุ่งนำเทคโนโลยีล้ำสมัยจากพลังงานสะอาดได้แล้ว ก่อนเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2025
นอกเหนือจากลูกค้าองค์กรระดับโลกมากมายที่เป็นลูกค้าเอไอเอส ไม่ว่าจะเป็น Midea ผู้นำการผลิตเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ไฟฟ้ารายใหญ่ ได้เลือกใช้ AIS Dedicated 5G Private Network เป็นโครงข่ายหลักในการทำ Smart Factory รวมถึงบริษัท Mitsubishi Electric, Schneider Electric, AI and Robotics Ventures ที่ใช้เน็ตเวิร์ก 5G ของเอไอเอส หรือแม้กระทั่ง ไปรษณีย์ไทย ที่ใช้ AIS CPaaS เป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างบุรุษไปรษณีย์กับผู้รับ ผ่านระบบสมาร์ทคอล เป็นต้น SME ก็ยังเป็นกลุ่มที่เอไอเอสให้ความสำคัญ โดยหลายบริการนั้นเป็นแบบ Pay per use หรือ จ่ายเท่าที่ใช้งาน
“บริการเราหลายตัวเป็นแบบ Pay per use ดังนั้น ไม่จำกัดแค่ลูกค้ารายใหญ่ แต่ธุรกิจขนาดกลางหรือเล็กก็ใช้เราได้ทั้งหมด เราเน้นที่ธุรกิจแบ่งปัน ดังนั้น เราต้องการสร้างอีโคซิสเต็มส์ให้ได้จริง ๆ” ภูผา ย้ำ
ปัจจุบัน เอไอเอสโฟกัสใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต, โลจิสติกส์, ภาครัฐ, แบงก์ และ SME โดยเอไอเอสจะมีทีมที่ดูแลแต่ละอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ เพื่อนำความต้องการ ฟีดแบกต่าง ๆ มาพัฒนาเป็นเซอร์วิส
“บริการไหนมีความต้องการมากสุด ขึ้นอยู่กับมุมมองหรือช่วงเวลาที่ต่างกันขององค์กรนั้น ๆ แต่ตอนนี้เราเห็นการใช้งานคลาวด์มากที่สุด เราเองก็พยายามจะลงทุนกับตรงนี้ และเรามั่นใจว่าสามารถตอบสนองความต้องการที่แอดวานซ์ของลูกค้า เพราะเรามีความยืดหยุ่น ที่สำคัญยังตรงตามกฎหมายไทย”
นอกจากนี้ AIS Business ได้เป็นองค์กรแรกที่เข้ามาใน Thailand Digital Valley ผลงานการพัฒนาพื้นที่ของ depa ใน เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ภายใต้ชื่อ AIS EEC หรือ AIS Evolution Experience Center โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ เป็นศูนย์กลางสำหรับการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจ อาทิ 5G, Cloud, AI & Data Analytics, Digital Platform และยังเป็นพื้นที่ ที่เปิดให้สำหรับการทดสอบ ทดลองเชิงปฏิบัติ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมบนเครือข่าย และระบบนิเวศดิจิทัล สัมผัสประสบการณ์การนำเทคโนโลยีมาใช้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ
สำหรับ AIS Evolution Experience Center หรือ AIS EEC โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
“เราเชื่อมั่นว่าเราต้องเป็นคนเริ่ม เพื่อดึงองค์กรหรือโรงงานใน EEC ให้มาร่วมกับเรา และเรามั่นใจว่าเราเป็นบริษัทที่มองเรื่องความยั่งยืนเป็นหลักจะช่วยดึงดูดพาร์ทเนอร์ เพราะธุรกิจทำคนเดียวไม่ได้ต้อง Co-Create เพื่อช่วยให้ธุรกิจและประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืน” ภูผา ทิ้งท้าย
]]>
ในช่วง 3 ปีที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ทำให้หลายองค์กรเริ่มจะทำ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น เพื่อสร้างการเติบโตและโอกาสทางการแข่งขันของธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าองค์กรที่ AIS โดยกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กรอย่าง AIS Business ได้พิสูจน์ตัวเอง จนได้รับการยอมรับเป็นอันดับ 1 ในการให้บริการด้าน IT Solution & System Integrator (SI) ในฐานะผู้ให้บริการโครงข่าย
ทำให้ที่ผ่านมา AIS Business ได้เข้าไปเป็นพาร์ทเนอร์สำคัญให้หลายองค์กรในการวางระบบดิจิทัลเทคโนโลยี การทำทรานฟอร์มเมชันองค์กรต่างๆ จนกระทั่งหลายธุรกิจเริ่มเห็นภาพและเปิดใจที่จะนำความสามารถของดิจิทัลเทคโนโลยีเข้าไปช่วยยกระดับกระบวนการทำงาน
และในปีนี้ AIS Business ก็ได้ออกมาฉายเทรนด์ และแนวทางการทำงานซึ่งเป็น Post Covid ที่องค์กรต่างมองหาโอกาสในการกลับมาเติบโตอีกครั้ง
แม้การระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบันจะไม่รุนแรงเหมือนที่ผ่านมาแล้ว แต่การทำงานที่ยืดหยุ่น สามารถทำงานที่ไหนก็ได้กลายเป็นเรื่องพื้นฐานของหลายองค์กร ดังนั้น สิ่งที่ เอไอเอส เห็นก็คือ องค์กรต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเทคโนโลยีที่มีความพร้อม เพราะองค์กรตระหนักถึง ความปลอดภัย มากขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงเรื่องข้อมูลรั่วไหลที่มีมากตามมา
ดังนั้น วิสัยทัศน์ของเอไอเอสยังไม่เปลี่ยนแปลงคือเป็น Most Trusted ให้กับลูกค้า และต้อง ไปด้วยกัน หรือเป็น Partnership เพื่อสร้างการเติบโตภายใต้แนวคิด “เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน” (Growth-Trust-Sustainability) ผ่าน 5 กลยุทธ์ ในการสร้าง Digital Business Ecosystem ให้มีความสมบูรณ์แบบ ได้แก่
หนึ่งในจุดแข็งของเอไอเอสที่ใช้สร้างความเชื่อใจ คือ บริการโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นโครงข่าย Data Center, Intelligent Network, Cloud X Platforms, และ Cyber Security ที่สอดรับกับกฎระเบียบของการใช้งานและเป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละอุตสาหกรรม รวมถึงข้อบังคับของประเทศไทยด้วย
“Position เราคือพาร์ทเนอร์ช่วยเรื่องดิจิทัลทรานซ์ฟอร์มของลูกค้า ไม่ใช่ผู้ซื้อ-ผู้ขาย ดังนั้น เราจะมีการคุยกับลูกค้าตั้งแต่ต้นว่าอยากได้อะไร แล้วเราจะไปทำการบ้านเพื่อสร้างโซลูชั่นมารองรับ แต่การจะเป็นพาร์ทเนอร์กับใคร ความเชื่อใจเป็นสิ่งสำคัญ เรายังเห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูล” นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS ย้ำ
นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS
ปัจจุบัน องค์กรต้องการบริการแบบ One Stop Service ซึ่งสอดคล้องกับเอไอเอสที่เชื่อว่า ไม่มี One size fits all แต่ต้องพร้อมช่วยสร้างโซลูชันใหม่ ๆ เฉพาะอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น Smart Manufacturing, Smart Transportation & Logistics, Smart City & Building, และ Smart Retail ซึ่งเอไอเอสก็สามารถตอบโจทย์การให้บริการลูกค้าด้วยการบริหารจัดการข้อมูลอัจฉริยะ Data Insight & Lifestyle as a Service ซึ่งเอไอเอสช่วยวางแผนตั้งแต่เริ่ม
นอกจากนี้ 5G ก็ถือเป็นอีกโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการแข่งขัน เพราะปัจจุบันเรื่อง Data, AI กลายเป็นเรื่องพื้นฐานที่ลูกค้าต้องการใช้งาน และโจทย์ของลูกค้ามีแต่ยากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสิ่งที่สร้างความแตกต่างของเอไอเอสก็คือ 5G ที่ไม่ใช่เน็ตเวิร์กแต่เป็นแพลตฟอร์ม AIS 5G NEXTGen ที่เอไอเอสพัฒนาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ซึ่งลูกค้าสามารถจะลงแอปพลิเคชั่นได้เลย
“เราไม่ได้เล่นในระดับแอปพลิเคชั่น แต่เล่นในระดับ Infrastructure ดังนั้น 5G ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานไม่ได้คุยกันเรื่องครอบคลุมไม่ครอบคลุมอีกต่อไป แต่วัดกันที่เรื่องคุณภาพ เนื่องจากองค์กรต้องการความเสถียร ความยืดหยุ่น และต้องเรียลไทม์ เพราะตอนนี้การแข่งขันเฉือนกันที่ข้อมูล”
เรื่อง ความยั่งยืน (Sustainability) กลายเป็นสิ่งที่เอนเตอร์ไพรซ์ให้ความสำคัญมากขึ้น ดังนั้น ส่วนนี้จะเป็นอีกสิ่งที่เอไอเอสจะให้ความสำคัญครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยสามารถพัฒนาโซลูชั่นตั้งแต่ระดับ เก็บข้อมูล, รีพอร์ต และบริหารจัดการพลังงาน
“ที่ผ่านมาเราเคยทำงานร่วมกับ SCG ในการนำ 5G มาใช้คุมรถอีวีในเหมืองโดยไม่ใช้คน ดังนั้น นี่ไม่ใช่แค่ช่วยเรื่องความยั่งยืนแต่ช่วยเรื่องความปลอดภัย และยังเป็นจุดที่สร้างความแตกต่างให้กับ SCG ในการดำเนินธุรกิจด้วย”
ธนพงษ์ ย้ำว่า เอไอเอสต้องการเป็นผู้ให้บริการ Sustainable Digital Economy ของประเทศไทย ดังนั้น ในแต่ละปีเอไอเอสมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเฉลี่ยนไม่ต่ำกว่า 2-3 หมื่นล้านบาท และสำหรับเป้าหมายปีนี้ เอไอเอส บิสซิเนสมั่นใจว่าจะเติบโตได้สูงกว่าตลาด และรักษาตำแหน่งเบอร์ 1 ในตลาด
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่เอไอเอสจะเน้นทำตลาดในปีนี้ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นค้าปลีก (Retail), การผลิต (Manufacturing), โลจิสติกส์ (Transportation & Logistics) และ Smart City แต่อีกอุตสาหกรรมที่เอไอเอสเห็นการเติบโตก็คือ การท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นอีกอุตสาหกรรมที่เอไอเอสจะให้ความสำคัญในปีนี้ นอกจากนี้ กลุ่ม SME ก็เป็นอีกกลุ่มที่เอไอเอสให้ความสนใจที่จะช่วยให้ฟื้นตัวจากผลกระทบในช่วงโควิด
“ที่ลูกค้าเลือกเราเพราะเขามั่นใจและคุยกับเราแล้วจบ นอกจากนี้ เรายังมีฐานลูกค้าคอนซูมเมอร์และพาร์ทเนอร์คอมเมอร์เชียลในมือ เราก็ช่วยจับคู่ให้เขาได้ ทำให้เกิดเป็นอีโคซิสเต็มส์ ดังนั้น เขาเลยรู้สึกว่าการทำงานกับเอไอเอสไม่ใช่การขายของแต่มันเติบโตไปด้วยกัน” ธนพงษ์ ทิ้งท้าย
]]>เป็นเวลา 31 ปีแล้วที่ ‘เอไอเอส’ (AIS) อยู่คู่กับองค์กรธุรกิจไทย จากที่ช่วงแรกให้บริการเฉพาะด้านโมบายมาสู่ดิจิทัลเซอร์วิส ไม่ว่าจะเป็นคลาวด์, GPS Tracing, โซลูชั่น IoT, 5G จนมาสู่ยุคของ AI, Machine Learning และ Metaverse ด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี Positioningmag จะพาไปเจาะลึกกลยุทธ์ในฝั่งของ เอไอเอส บิสซิเนส (AIS Business) ที่ต้องปรับตัวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง รวมถึงวิสัยทัศน์ใหม่ ‘Cognitive Telco’
ในแต่ละปีเอไอเอสใช้เงินลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานปีละกว่า 30,000-35,000 ล้านบาท จนปัจจุบัน เอไอเอสมีสถานีฐาน AIS 5G กว่า 19,000 สถานีฐานครอบคลุม 76% ของประชากรทั่วประเทศ และในพื้นกรุงเทพฯ ปริมณฑล สามารถครอบคลุมถึง 99% ส่วนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ครอบคลุมถึง 90%
สำหรับปีนี้ เอไอเอสตั้งเป้าจะขยายสัญญาณ 5G ให้ครอบคลุมประชาชนคนไทยให้ได้ 85% และเมื่อสัญญาณ 5G เริ่มครอบคลุมการใช้งานแล้ว AIS Business จะเริ่มเน้นที่ 5G Vertical Solutions หรือการพัฒนา 5G ในแนวดิ่ง เป็นการใช้ 5G เจาะลงลึกเฉพาะอุตสาหกรรมนั้น ๆ เพื่อประโยชน์ในการทำ Digitization อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยี AR, VR, Data Solutions เป็นต้น
ในส่วนกลยุทธ์ของ AIS Business ปีนี้จะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ Cognitive Telco หรือการขยับขึ้นไปเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ โดยจะประกอบไปด้วย 5 กลยุทธ์หลัก ได้แก่
1.เชื่อมต่อ 5G Ecosystem ในการเชื่อมต่อโครงข่าย AIS 5G ที่เปรียบเสมือนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และผู้ประกอบการ ให้สามารถนำเทคโนโลยีไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม ภายใต้การดึงศักยภาพของเทคโนโลยีร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อให้เกิดอีโคซิสเต็มที่สมบูรณ์
2.ยกระดับการทำงานของโครงข่ายด้วย Intelligent Network จากปริมาณความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต่างประเทศในช่วงปีที่ผ่านมา ที่มีปริมาณการใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 50% ด้วยการเป็นผู้ให้บริการด้านการเชื่อมต่อที่ครบวงจรทั้งเครือข่ายใยแก้วนำแสง และเครือข่ายไร้สายสำหรับลูกค้าองค์กร
3.มุ่งเสริมความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและแพลตฟอร์ม ด้วยการขยายผลในฐานะผู้ให้บริการด้านดิจิทัลแพลตฟอร์มด้าน CCII ที่ครอบคลุม เทคโนโลยีที่ครบครัน ทั้งโซลูชันคลาวด์ (Cloud) บริการความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) บริการ IoT (Internet of Things) และบริการด้านไอซีทีโซลูชัน (ICT Solution)
4.เสริมอาวุธด้านการตลาด และเพิ่มโอกาสการเติบโตด้วย Business Big Data การนำประสบการณ์ด้านงานดูแลลูกค้าทั่วไป เพื่อสร้างโอกาสทางการแข่งขัน รวมถึงอาวุธใหม่ๆ สำหรับการสื่อสารทางการตลาดที่จะสร้างยอดขายและการเติบโตได้มากยิ่งขึ้น
5.ส่งมอบบริการด้วยทีมงานมืออาชีพ จากการที่มีซีเอส ล็อกซอินโฟ หรือ CSL เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน ทำให้วันนี้ เอไอเอส บิสสิเนส เป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวในตลาดที่มีความพร้อมสูงสุด มีบุคลากรในสายงาน ICT ที่เชี่ยวชาญและรอบด้าน ทำให้การส่งมอบบริการเพื่อตอบโจทย์องค์กรธุรกิจมีความต่อเนื่อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การให้คำปรึกษา ประเมิน ติดตั้ง บริหารโครงการ และบริการหลังการขายอย่างมืออาชีพ
“นอกจากขยายการลงทุนเรื่อง 5G และหาพาร์ทเนอร์เพิ่มเติมแล้ว จะเห็นว่าเราเน้นเรื่องดาต้า เอไอ เรื่องอินเทลลิเจนท์เน็ตเวิร์ก ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้พัฒนาไปตลอดเวลา ที่สำคัญคือคนไอที โดยเราตั้งเป้าเพิ่มอีก 3 เท่าเพื่อให้เพียงพอต่อการรองรับความต้องการลูกค้า” ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS กล่าว
การระบาดของ COVID-19 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้องค์กรเริ่มเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ดังนั้น จะเห็นว่าทุกอุตสาหกรรมตื่นตัวมาใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะในกลุ่ม Healthcare, Retail, Transportation และ Manufacturing ด้วยความต้องการที่มีมาก สิ่งที่ตามมาคือ การแข่งขันโดนเฉพาะเรื่องของ ราคา
อย่างไรก็ตาม เอไอเอสมองว่าการแข่งขันในด้านราคานั้น ไม่ยั่งยืน ดังนั้น วิสัยทัศน์ของเอไอเอสคือต้องการเป็น Part of Success โดยจะเน้นสร้างโซลูชันใหม่ ๆ ออกมาเพื่อรองรับความต้องการลูกค้า โดยปีนี้เอไอเอสมั่นใจว่าจะมียูสเคสใหม่ ๆ ออกมาเพื่อกระตุ้นตลาด
“ลูกค้าต้องการโฟกัสที่ธุรกิจหลัก ไม่ได้อยากเก่งเรื่องเทคโนโลยี เขาต้องการพาร์ทเนอร์ที่ให้คำปรึกษาเรื่องเทคโนโลยีได้ ซึ่งความท้าทายตอนนี้คือ ลูกค้ามีความคาดหวังมากขึ้น ต้องการโซลูชั่นที่ยากมากขึ้น แน่นอนว่าสงครามราคามันมี แต่ไม่ใช่ทุกอย่างของการแข่งขัน สุดท้ายมันคือเรื่องของเซอร์วิส”
AIS Business มีลูกค้าในกลุ่มองค์กรใหญ่กว่า 60% และ SME กว่า 40% โดยปีที่ผ่านมา AIS Business เติบโตได้ 16% ทำรายได้ 5,291 ล้านบาท สูงกว่าตลาดที่เติบโต 10% และเมื่อรวมกับรายได้จากองค์กรธุรกิจในฝั่งโมบายแล้วจะคิดเป็นสัดส่วนรายได้ราว 10-12% โดยในปีนี้ คาดว่าจะสามารถเติบโตได้ในอัตรา 2 หลัก
“แม้การเป็น Growth Engine มาพร้อมความคาดหวังที่สูง แต่การเติบโตในปีที่ผ่านมาถือเป็นข้อพิสูจน์ว่าเรามาถูกทางแล้ว และเรามีโอกาสที่จะเติบโตแบบก้าวกระโดด แม้ AIS Business จะมีหลายบทบาทแล้วแต่มุมมองของลูกค้า แต่เรามองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เขาเติบโตได้ เปรียบเสมือนอะไหล่รถที่ให้เขาวิ่งได้”
]]>
หากพูดถึงเรื่องการทรานส์ฟอร์มองค์กรไปสู่ดิจิทัล แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่บางองค์กรอาจจะไม่ได้รู้สึกว่าต้องปรับตัว หรือยังไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ทำให้การปรับองค์กรไปสู่ดิจิทัลจึงยังไม่ได้เริ่ม จนกระทั่งการมาของ COVID-19 ที่เป็นการบังคับให้ต้องปรับตัว ล่าสุดงาน AIS Business Digital Future 2021- Your Trusted Smart Digital Partner งานสัมมนาในรูปแบบ Virtual Conference ที่รวมสุดยอดองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางดิจิทัลแห่งปี โดยมี Microsoft เป็น Digital Partner ซึ่งจะมาแนะแนวทางการปรับเปลี่ยนองค์กรว่าไม่ยากอย่างที่คิด
ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS Business เปิดเผยว่า COVID-19 ได้กลายเป็นตัวเร่งให้ทุกองค์กรปรับตัวเร็วขึ้น โดยพบว่าไม่ว่าองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่มีการปรับตัวมากถึง 18-40 เท่า จากการทำงานแบบเดิม ขณะที่บริษัทระดับ Top 10 ของไทยสามารถใช้ดิจิทัลสร้างการเจริญเติบโตของรายได้มากถึง 5 เท่า และทำกำไรได้กว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับบริษัทที่ไม่มีแผนที่จะทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของประเทศไทยในการทรานส์ฟอร์มไปสู่ดิจิทัลนั้นพบว่ามี Digital Leader เพียง 3% ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 5% ส่วน Digital Adopters (ที่เริ่มเปิดรับดิจิทัล) มี 22% ขณะที่ทั่วโลกเฉลี่ย 23% แม้จะน้อยกว่าแต่หากดูภาพรวมแล้ว บริษัทในประเทศไทยที่ไม่มีแผนการนำดิจิทัลมาทรานส์ฟอร์มองค์กรมีเพียง 5% เท่านั้น เมื่อเทียบกับทั่วโลกที่มีสัดส่วนถึง 9%
“COVID-19 ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกไปแล้ว ทำให้โลกออนไลน์และดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต องค์กรธุรกิจก็ต้องทรานส์ฟอร์มไปสู่ดิจิทัล เพื่อให้การทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนมากขึ้น รวมถึงสร้าง New Business Model เพื่อตอบสนอง Lifestyle ใหม่เพื่อที่จะอยู่รอดท่ามกลางการระบาด”
สำหรับองค์กรที่ยังไม่ร้จะเริ่มทรานซ์ฟอร์มจากตรงไหน คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์, กรรมการผู้จัดการใหญ่,Microsoft (Thailand) ได้แนะนำ 5 Key Digital Enablers ที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงการทำงานในยุคอนาคตที่สำคัญมีดังนี้
Future of Work: การทำงานในปัจจุบันต้องสามารถทำจากที่ไหนก็ได้ ซึ่งที่ผ่านมา Microsoft ได้ออกแพลตฟอร์มสำหรับสร้างประสบการณ์การทำงานให้แก่องค์กรในยุคใหม่ ชื่อว่า “Microsoft Viva” ที่จะช่วยให้พนักงานสามารถบาลานซ์ในเรื่องของ Productivity, Well-being และ Learning เพื่อให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน
Journey to Cloud: แน่นอนว่าการไป Cloud จะช่วยในเรื่องงบที่น้อยลง Speed ที่เร็วขึ้น แต่ก็ต้องพิจารณาในหลายด้าน องค์กรควรเลือก Cloud Partnership ที่น่าเชื่อถือ ไม่ได้จบแค่ฟังก์ชั่นหรือฟีเจอร์ แต่ต้องความสามารถที่จะช่วยดูแลระบบให้องค์กรได้ตลอดการใช้งานพร้อมกับช่วยดูแลในเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูล
Data & AI: องค์กรควรจะต้องหาวิธีในการนำข้อมูลที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลมาสร้าง Customer Engagement หรือการนำข้อมูลมาปรับปรุงกระบวนการผลิต เช่น การสร้างแบบจำลองการผลิตโดยใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ ประเมินผล และปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Security & Privacy: องค์กรควรให้ความสำคัญกับกระบวนการในการปกป้องข้อมูลทั้งข้อมูลภายในและข้อมูลของลูกค้าโดยช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยมีดีไวซ์กว่า 1.7 ล้านเครื่องถูกโจมตี ดังนั้น Microsoft มีคอนเซปต์ Zero Trust Principle Concept นั่นคือ คือการไม่ไว้ใจใครเลย และจำเป็นต้องตรวจสอบทุกคนหรืออุปกรณ์ทุกเครื่องอย่างเคร่งครัด
Skill: ในช่วงนี้ถือเป็นโอกาสที่จะให้ทุกคนสามารถ Upskill หรือ Reskill ในการทำงานได้ โดย Microsoft ได้ร่วมกับ LinkedIn, GitHub ในการเข้าถึงคอร์สหรือหลักสูตรการเรียนรู้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้าน DevOps Engineer, Android/ iOS Developer, Data Scientist ได้ฟรี
จากนี้ไปการทำงานต้องสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ไม่ใช่แค่บ้าน เช่นเดียวกันกับลูกค้าที่ต้องเข้าถึงบริการจากที่ไหนก็ได้ในโลก ต้องออกแบบกลยุทธ์และ Digital ให้ไปควบคู่กันไป ต้องมีการนำ Cloud มาใช้เพื่อเพิ่ม Speed และความคล่องตัว ใช้งาน AI เพื่อประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการวางระบบ Security เพื่อสร้างความปลอดภัยให้องค์กร เพื่อสร้าง ความไว้ใจหรือ Trust รวมถึงการ Up Skill, Re Skill พนักงาน
ดังนั้น ตอนนี้โลกหมดยุค ‘It’s me’ แต่เป็น ‘It’s WE!’ องค์กรธุรกิจตอนนี้จะทำคนเดียวไม่ได้ แต่ต้องมี Partnership ในเชิง Business เพื่อทำงานร่วมกัน ช่วยกันสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น Microsoft นั้นที่ได้ลงทุนเทคโนโลยี Intelligent Edge และ Intelligent Cloud แต่การจับมือกับ AIS ในประเทศไทยก็ถือเป็นการผสานเทคโนโลยีทั้งในส่วนของ 5G, Cloud, AI, IoT และอื่น ๆ อีกมากมายเข้าด้วยกัน
สุดท้าย องค์กรต้อง รู้ตนเอง ว่ามีปัญหาและเป้าหมายอะไรในการนำเทคโนโลยีมาใช้ รู้ลูกค้า ว่ามีความต้องการหรือปัญหาอะไรเพื่อจะ capture value เหล่านั้น รู้เทคโนโลยี ว่าใช้อะไรไปตอบโจทย์อะไรได้บ้าง และ รู้ partner ว่าใครจะช่วยนำ technology กับ business expertise มาประกอบกันให้สามารถปฏิบัติได้จริง
“ขอให้องค์กรถือเอาช่วงเวลานี้เป็นโอกาสที่ดีในการที่จะนำ Digital Technology มาปรับเปลี่ยนให้องค์กรให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดย AIS และ Microsoft พร้อมที่เป็น Digital Partner ที่จะช่วยให้ท่านสามารถปรับเปลี่ยนองค์กรสู่อนาคต” ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์, Microsoft (Thailand)
สำหรับธุรกิจองค์กรที่สนใจปรับการทำงานสู่ยุค Future of Work ไม่ว่าจะเป็นบริการ Microsoft 365 หรือ Microsoft Viva สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ https://business.ais.co.th/solution/microsoft365.html หรือหากองค์กรต้องการย้ายระบบขึ้น Cloud สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://business.ais.co.th/solution/microsoftazure.html หรือหากสนใจบริการดีๆจาก AIS Business Cloud สามารถอีเมล์มาได้ที่ [email protected]
]]>