AIS eSports STUDIO – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 02 Aug 2024 10:17:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เดินหน้าต่อเนื่อง! ‘AIS’ ยกเครื่องใหม่ ‘AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์’ สานต่อภารกิจป้อน ‘บุคลากรอีสปอร์ต’ เข้าสู่อุตสาหกรรม https://positioningmag.com/1485017 Sat, 03 Aug 2024 03:51:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1485017

นับตั้งแต่ปี 2019 ที่ เอไอเอส (AIS) ประกาศวิสัยทัศน์ในการสนับสนุนอุตสาหกรรม เกม ของไทย เอไอเอสก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมจนปัจจุบันคาดว่าจะมีมูลค่าทะลุ 4 หมื่นล้านบาท และหนึ่งในตัวช่วยสำคัญก็คือ AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์


4 ปี ร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเกมไทย

นับตั้งแต่ประเทศไทยมี สมาคมอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย เกิดขึ้นในปี 2017 และในปี 2019 เอไอเอส (AIS) ก็ประกาศ 3 นโยบายสนับสนุนโดยมีจุดมุ่งหมาย ยกระดับเกมเมอร์ไทยไปมืออาชีพ ได้แก่ 1. สร้างเน็ตเวิร์คอินฟราสตรัคเจอร์สำหรับอีสปอร์ต 2. สร้างเวทีการแข่งขัน เพื่อเสริมสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้นักกีฬาอีสปอร์ต และผู้ที่มีความสนใจในวงการนี้ให้เติบโตอย่างยั่งยืน และ 3. สร้างคอมมูนิตี้อีสปอร์ตให้แข็งแรงผ่านทาง AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์ และ AIS eSports STUDIO at SIAM

สำหรับ AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์ เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2020 ซึ่งถือเป็น คอมมูนิตี้ฮับอีสปอร์ตแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใจกลางกรุงเทพฯ ณ ชั้น 2 สามย่านมิตรทาวน์ และมาปลายปี 2023 เอไอเอสก็เปิด AIS eSports STUDIO at SIAM ตามมา ปัจจุบัน AIS eSports STUDIO ทั้ง 2 สาขามีจำนวนผู้ใช้งานรวมกันเฉลี่ยกว่า 300 คน/วัน หรือราว 10,000 คน/เดือน และมีจำนวน Members กว่า 30,000 ราย

“ในปี 2019 ที่เราประกาศวิสัยทัศน์ว่าจะสนับสนุนอีสปอร์ต ซึ่งอาจจะเกิดคำถามว่าถึงการสนับสนุนดังกล่าวเพราะคนทั่วไปอาจจะยังติดภาพจำในอดีตของการเล่นเกม แต่ในปัจจุบันนี้ เราเห็นนักกีฬาที่ได้เหรียญในการแข่งขันซีเกมส์ และอีกจุดเปลี่ยนคือ ในปี 2021 ที่ราชกิจจาฯ ประกาศให้อีสปอร์ตเป็นกีฬา” รุ่งทิพย์ จารุศิริพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการพันธมิตรธุรกิจด้านบันเทิงและคอนเทนต์ AIS กล่าว


ความต่อเนื่อง หัวใจสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรม

นับตั้งแต่ที่เอไอเอสประกาศวิสัยทัศน์ด้านอีสปอร์ต เอไอเอสก็ได้ทำงานร่วมกับ พันธมิตร หลากหลายด้าน รวมถึงมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดทัวร์นาเมนต์แข่งขันอีสปอร์ต, โครงการ AIS eSports Young Caster Talent ที่ช่วยฝึกฝนให้เด็กรุ่นใหม่ที่อยากเป็นนักพากย์แข่งเกม จนสามารถป้อนบุคลากรด้านอีสปอร์ตใหม่ ๆ เข้าสู่อุตสาหกรรม อาทิ ณัฏฐณิชชา ภูวสิริโรจน์ หรือ MORFINN ที่เคยเข้าโครงการ AIS eSports Young Caster Talent ปี 2 โดยปัจจุบันเป็นทั้งนักกีฬาอีสปอร์ตและแคสเตอร์

“เรามองว่าความครบและความสม่ำเสมอคือหัวใจสำคัญ ดังนั้น เราพยายามทำให้ครบและต่อเนื่อง อย่างโครงการ AIS eSports Young Caster Talent เราทำมา 3 ปีติดต่อกัน แต่เราไม่ได้มองว่าจะไปสร้างสังกัดส่งนักกีฬาแข่ง เราเป็นแค่เวทีให้เด็ก ๆ แสดงความสามารถ เพื่อให้สังกัดหรือค่ายที่เห็นแววมานำเข้าไปในอุตสาหกรรม” รุ่งทิพย์ อธิบาย


อัพเกรด AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์ ย้ำความเป็น Hub อาเซียน

อีกความต่อเนื่องที่ทำก็คือ อักเกรด AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์ โดยครั้งนี้เอไอเอสตั้งใจจะพลิกโฉมให้ยกระดับไปอีกขั้นด้วยประสบการณ์ที่เหนือกว่าด้วย บรอดแบนด์ไฟเบอร์ระดับ 5000/5000 Mbps ควบคู่ไปกับ สุดยอดเทคโนโลยีเกมมิ่งพีซี เกมมิ่งเกียร์สเปกไฮเอนด์ระดับโปรเพลเยอร์แบบครบวงจร อาทิ การใส่ INTEL CORE i7-14700KF และการ์ดจอตัวแรงระดับเทพ VGA GALAX RTX 4080 SUPER SG PCI-E 16GB GDDR6X ในคอมพิวเตอร์ การใช้จอภาพ Samsung Odyssey G7 Series 28” 4K 144Hz เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับ RIOT Games นำเกมยอดนิยมอย่าง Valorant, League of Legends และ Teamfight Tactics มาเปิดให้บริการที่นี่ที่เดียว

นอกจากอัพเกรดเครื่องและได้พาร์ทเนอร์ค่ายเกมระดับโลกเป็นพันธมิตร AIS eSports STUDIO สามย่านมิตรทาวน์ ยังการเปิด Arena Zone ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำหรับจัดการแข่งขันอีสปอร์ต และกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยการจัดการที่ครบครันทั้งระบบแสง สี เสียง ที่ทันสมัย เพื่อรองรับการแข่งขันอีสปอร์ตที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังเปิดกว้างให้กับโปรโมเตอร์, แบรนด์, และองค์กรต่าง ๆ เข้ามาใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมและการแข่งขัน โดยที่ผ่านมา Arena Zone ได้จัดกิจกรรมและการแข่งขันมาแล้ว มากกว่า 100 รายการ

“เอไอเอสย้ำมาตลอดเรื่องการไปกับพันธมิตร ดังนั้น เราคิดว่าเอไอเอสทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มมากกว่าจะสร้างทั้งต้นน้ำและปลายน้ำเอง”


ตลาดอีสปอร์ตไทย 4 หมื่นล้านยังโตได้อีก

สำหรับอุตสาหกรรมเกมไทยถือเป็น อันดับ 2 ของอาเซียน โดยในปีนี้คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าถึง 41,000 ล้านบาท มีจำนวนประชากรที่เล่นเกมราว 42 ล้านคน และกว่าครึ่ง (23 ล้านคน) มีการใช้จ่ายกับเกมโดยเฉลี่ยแตะเกือบ 1,800 บาท เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอุตสาหกรรมเกมไทยจะใหญ่ และภาพลักษณ์ก็ดีขึ้นกว่าอดีต แต่ รุ่งทิพย์ มองว่า อุตสาหกรรมยัง มีความท้าทาย คือ ไทยยังเป็นประเทศผู้บริโภค ยังขาดส่วนของ การผลิต นี่จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ต้องเร่งพัฒนาในอนาคต

“อุตสาหกรรมเกมไทยพัฒนาขึ้นมาก แต่เราพัฒนาแต่ยังไม่สุด โดยเฉพาะเกมจากคนไทยที่ยังมีน้อย ส่วนใหญ่ยังเป็นเกมอินดี้เล็ก ๆ ดังนั้น ขาของเดเวลอปเปอร์ยังต้องพัฒนาอีกเยอะ อีกเรื่องคือ เรายังไม่มีสถานที่ที่จัดแข็งระดับโปรจริง ๆ ส่วนใหญ่จะจัดในห้างฯ ยังไม่มีสเตเดี้ยมเฉพาะ ซึ่งถ้าเป็นประเทศใหญ่ ๆ อย่างเกาหลีมี แต่ในอาเซียนยังไม่มีใครมี” รุ่งทิพย์ ทิ้งท้าย

 

]]>
1485017
เจาะอินไซต์ตลาด ‘อีสปอร์ต’ กับโอกาสของ ‘แบรนด์’ ในการแทรกตัวสู่ขุมทรัพย์ 2.7 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1303891 Fri, 30 Oct 2020 15:21:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303891 หลายคนคงจะรู้อยู่แล้วว่า ‘เอไอเอส’ (AIS) ผู้ให้บริการโครงข่ายเบอร์ 1 ของไทยได้พยายามที่จะมีส่วนร่วมในการผลักดันอุตสาหกรรม ‘อีสปอร์ตไทย’ ตลอดมา และล่าสุดได้จัดงาน AIS x Techsauce Esports Summit ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นจุดเริ่มต้นให้ฝั่งของภาครัฐ ภาคธุรกิจเกม ผู้พัฒนาเกม สตรีมเมอร์ นักกีฬา มาร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อยกระดับอีโคซิสต็มของอีสปอร์ตพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย และก้าวสู่การเป็นผู้นำอีสปอร์ตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตลาดอีสปอร์ตไทยทะลุ 27,000 ล้านบาท

ปีที่ผ่านมามูลค่าตลาดอีสปอร์ตในภูมิภาคอาเซียนอยู่ที่ 137,300 ล้านบาท โดยคิดเป็นรายได้จากอุปกรณ์พกพา หรือ Mobile Gaming ราว 70% หรือ 96,720 ล้านบาท อีกราว 17% มาจากกลุ่มเครื่องเกมคอนโซล จากผู้ผลิตเครื่องเกมอย่างไมโครซอฟท์, โซนี่ และนินเทนโด ส่วนตลาดอีสปอร์ตของไทยในปีที่ผ่านมามีมูลค่าถึง 22,000 ล้านบาท โดยปีนี้เนื่องจาก COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนมีเวลาอยู่บ้านเล่นเกมมากขึ้น คาดว่าจะเติบโตเป็น 27,000 ล้านบาท และในปี 2021 คาดว่าจะเติบโตแตะ 30,000 ล้านบาท

“ที่น่าสนใจคือ ตลาดอีสปอร์ตในไทยเติบโตต่อเนื่อง 10% ทุกปี และแม้จะไม่สามารถจัดอีเวนต์ออฟไลน์ต่าง ๆ ได้ ทำให้รายได้ในส่วนของการขายบัตรและสินค้าจะหายไป แต่เพราะเกมเกิดจากดิจิทัลดังนั้นจึงสามารถจัดการแข่งขันและเล่นเกมผ่านออนไลน์ได้เหมือนเดิม ถ้ากลับมาจัดอีเวนต์ได้ตลาดก็จะยิ่งเติบโต” อรนุช เลิศสุวรรณกิจ Co-Founder และ CEO ของ Techsauce Media กล่าว

ในส่วนของพฤติกรรมการเล่นเกมพบว่า เกมที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ แนว Multiplayer Online Battle Arena (MOBA) เช่น RoV และ Battle Royale เช่น Free Fire ซึ่งเป็นเกมที่ใช้ความสามารถ ต้องเล่นเป็นทีม ส่งผลให้ได้รับความนิยมและอยู่ได้นานกว่าเกมประเภทอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบว่ามีคนกว่า 180 ล้านคนในภูมิภาคที่รับชมคอนเทนต์เกี่ยวกับเกม 1 ใน 6 หรือราว ๆ 30 ล้านคนรับชมการแข่งขันอีสปอร์ต และประมาณ 50% ยอมจ่ายเงินให้กับเกม และ 90% ของผู้ที่จ่ายเงิน เป็นการจ่ายเพื่อซื้อไอเทมในเกมที่เล่นฟรี

‘Gaming Marketing’ สร้างภาพลักษณ์ในทางบวก

ดร.ศรุต วานิชพันธุ์ Director, Sea (Thailand) ระบุว่า เมื่อก่อนสปอนเซอร์ที่สนับสนุนอีสปอร์ตส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ไอทีหรือเกมมิ่งเกียร์ แต่ปัจจุบันแบรนด์ในกลุ่ม ‘FMCG’ ก็เริ่มมีบทบาทในอีสปอร์ตมากขึ้น เพราะสิ่งที่น่าสนใจสำหรับแบรนด์คือ เกมสามารถสร้าง ‘ภาพลักษณ์’ ให้แบรนด์ในทาง ‘บวก’ อย่างเครื่องดื่ม ‘อิชิตัน’ ที่เข้ามาเป็นสปอนเซอร์เกม ‘Free Fire’ เพื่อสร้างการรับรู้ของสินค้า โดยผลที่ได้กลับมาคือ ยอดขายขึ้นเป็นอันดับ 1 ในตลาดภายใน 2 สัปดาห์แรก

“คนที่ชอบเกมส่วนใหญ่เป็น Young Gen ที่มีความชอบหลากหลาย แต่เกมเป็นสิ่งที่เขาชอบแน่นอน และแบรนด์สามารถใช้เกมเพื่อผลลัพธ์ในหลายด้านไม่ว่าจะการรับรู้หรือยอดขาย และสามารถกระจายได้รวดเร็วเพราะเป้าหมายส่วนใหญ่อยู่บนดิจิทัล”

ทั้งนี้ การเข้ามาของแบรนด์มีหลายรูปแบบทั้งระยะสั้นและระยะยาว อย่างระยะสั้น ก็เข้ามาสนับสนุนการแข่งขันเป็นรายรายการ ส่วนระยะยาว คือ การเข้ามาร่วมทำแคมเปญร่วมกันทั้งในออนไลน์และออฟไลน์ โดยสามารถทำได้ในหลายรูปแบบ อาทิ ‘KFC’ ที่มีการนำคาแร็กเตอร์ ‘ผู้พันแซนเดอร์’ ไปใช้ในเกม รวมถึงแจกโค้ดเกมเมื่อซื้อชุด ‘The Box’ หรืออย่างการจัด ‘Mrt’ ที่จัดพื้นที่ภายในสถานีในธีมเกมเพื่อสร้างจุดทัชพอยต์กับผู้บริโภค หรือ ‘AIS’ ที่ออกซิมสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะ

“หากแบรนด์ที่จะเข้ามาต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าอยากใช้เกมทำอะไร เป้าหมายคืออะไร อย่าง ‘ยาแต้มสิว’ ก็ทำได้ เช่น โยงกับเรื่องเล่นเกมดึก และอีกหนึ่งโอกาสของประเทศไทยคือเป็นประเทศท่องเที่ยว ดังนั้นสามารถโปรโมตการท่องเที่ยวเข้าไปเสริมได้ ยิ่งถ้าดึงดูดงานใหญ่ ไทยก็มีโอกาสเป็นฮับของอีสปอร์ตในภูมิภาคแต่อาจต้องรอหลัง COVID-19”

บุคลากรไทย ‘พร้อม’ แต่ ‘ไม่พอ’

คนไทยเก่งและมีความพร้อมมากโดยเฉพาะครีเอทีฟ ดังนั้น ต่างชาติชอบมาจัดการแข่งขันในไทย แต่อาชีพที่เกี่ยวข้องกับอีสปอร์ตมีอีกหลายอาชีพ แต่ยังขาดคนอยู่มากทั้งแคสเตอร์, สตรีมเมอร์ หรือแม้กระทั่งผู้จัดการแข่งขันอีสปอร์ต โอกาสยังเปิดอีกมากสำหรับคนที่อยากเข้ามาอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ตั้งแต่นักพัฒนาไปจนถึงนักกีฬา รวมถึงอาชีพที่เกี่ยวข้อง อาทิ นักกายภาพ, นักจิตวิทยา ที่ต้องเข้ามาฝึกนักกีฬา

อย่างวงการสตาร์ทอัพก็มีคนที่ทำเรื่องการพัฒนาเกมอยู่ไม่น้อย แต่ยังถูกจำกัดวงอยู่ในกลุ่มคนที่สนใจธุรกิจเกม แต่จะทำอย่างไร เพื่อให้กลุ่มนี้เชื่อมต่อไปสู่ภาคเอกชนอื่น ๆ เพื่อไปสู่ระดับโลกได้ ทั้งนี้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน อย่างไรก็ตาม การจะพัฒนาบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมอาจต้องปลูกฝังตั้งแต่สมัยเรียน รวมถึงย่นช่องว่างของคนยุคเก่ากับยุคใหม่ให้เปิดใจถึงอาชีพใหม่ ๆ เกี่ยวกับเกม

]]>
1303891
เจาะยุทธศาสตร์ ‘AIS eSports’ กับภารกิจดันไทยสู่ Hub ของอาเซียน https://positioningmag.com/1287812 Wed, 15 Jul 2020 10:00:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287812

เป็นที่รู้กันว่า ‘อีสปอร์ต’ (E-Sport) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และแม้ว่าทั่วโลกจะผลกระทบจากวิกฤต Covid-19 แต่อีสปอร์ตกลับเติบโตสวนทาง เพราะนอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ทำยามว่างแล้ว ทัวร์นาเม้นท์การแข่งขันต่าง ๆ ก็สามารถจัดแข่งออนไลน์ได้ต่างจากกีฬาปกติที่ต้องระงับไป ดังนั้น อีสปอร์ตได้ยกระดับเป็นกีฬาและความบันเทิงใหม่ในยุค New Normal และถือส่วนสำคัญที่อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาล เพราะแค่ไทยก็มีจำนวน eSports Participants กว่า 4.1 ล้านคน เติบโต 24% และคาดว่าปีนี้จะมีมูลค่าถึง 27,000 ล้านบาท

ปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส ระบุว่า ก่อนมี Covid-19 อีสปอร์ตก็เติบโต แต่หลังเกิด Covid-19 ยิ่งเติบโต โดยในช่วงล็อกดาวน์เติบโตราว 30-40% เพราะคนมีเวลาในการเล่นและรับชมการแข่งขัน ซึ่งมีการจัดแข่งแบบออนไลน์มากขึ้น เพื่อทดแทนการแข่งขันแบบออฟไลน์ และอีสปอร์ตจะยิ่งเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนสมาร์ทดีไวซ์และการใช้งานอินเตอร์เน็ต ดังนั้น เชื่อว่าอย่างน้อยอีสปอร์ตจะเติบโตกว่า 30% ต่อปี ซึ่งไทยมีโอกาสเป็นผู้นำหรือ E-Sports Hub ของภูมิภาคอาเซียน

“อีสปอร์ตทั่วโลกเติบโต และไทยมีโอกาสสูงที่จะเป็นผู้นำในภูมิภาค เพราะตอนนี้ Covid-19 มันทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมชะลอการเติบโต แต่อีสปอร์ตยังเติบโตได้ และตอนนี้สังคมเปิดใจยอมรับมากขึ้น เพราะเห็นภาพชัดแล้วว่านี่เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่สร้างการเติบโต และมีศักยภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้ก้าวหน้าได้”

เอไอเอส ถือเป็นหนึ่งในผู้ที่เห็นถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมอีสปอร์ต โดยได้ลงทุนคอยผลักดันมาโดยตลอด อย่างปีที่ผ่านมาได้จัดงาน Thailand Game Expo by AIS eSports รวมทั้งจัดกิจกรรมและทัวร์นาเมนต์อีสปอร์ตไปแล้วกว่า 20 ครั้ง และยังได้จัดงานดังกล่าวต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เอไอเอสก็พร้อมเดินหน้าสานต่อ 4 ยุทธศาสตร์อีสปอร์ต ได้แก่

1.Connect ด้วยเครือข่ายที่แข็งแรงของเอไอเอสไม่ว่าจะเป็น 5G และ AIS Fibre พร้อมสินค้าและบริการที่ออกแบบมาเพื่อหนุนศักยภาพกีฬาอีสปอร์ตโดยเฉพาะ ทั้งแพ็กเกจมือถือ, เน็ตบ้าน, เกมมิ่งโฟน, เทคโนโลยี VR 4K และไอเทมเกม

2.Compete ร่วมมือกับสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย สร้างนักกีฬาอีสปอร์ตรุ่นใหม่ให้กับประเทศ พร้อมจัดการแข่งขันอีสปอร์ตตลอดปี

3.Co-Educate ผนึกมหาวิทยาลัยชั้นไทย ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักกีฬาอีสปอร์ต ผ่านชมรมอีสปอร์ตของมหาวิทยาลัย พร้อมสนับสนุนโครงข่ายดิจิทัลพื้นฐานหลัก รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ใช้จัดการแข่งขันอีสปอร์ตภายในมหาวิทยาลัย

4.Community สร้างสรรค์พื้นที่สำหรับชาวอีสปอร์ต โดยเอไอเอสได้ร่วมกับพันธมิตรเพื่อจัดกิจกรรมมากมายยิงยาวถึงสิ้นปี อาทิ จัด Training, ทำรายการ Gamer Talk รายการทอล์คด้านอีสปอร์ต, งาน eSports Conference เพื่อร่วมแลกเปลี่ยน แชร์องค์ความรู้ พร้อมผลักดันอีสปอร์ต สุดท้าย การมอบรางวัล Game Award  อันจะเป็นรางวัลการันตีคนคุณภาพให้กับวงการอีสปอร์ตไทย

เพื่อสร้างคอมมูนิตี้ให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม เอไอเอสได้เปิดตัว AIS eSports STUDIO คอมมูนิตี้ฮับอีสปอร์ตแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ สามย่านมิตรทาวน์ โดยมีจุดเด่นที่ เครือข่าย 5G, Wi-Fi 6 และ AIS Fibre ความเร็วสูงสุด 1000 Mbps พร้อมเกม VR มีอุปกรณ์เกมมิ่งสเปกเทพ มี Battle Arena บริการขนมและ ‘We Proudly Serve Starbucks’ บริการ Vending Machine จำหน่ายกาแฟจาก Starbucks

โดย AIS eSports STUDIO นี้เปิดกว้างให้ใช้งานได้ไม่จำกัดค่าย รวมถึงยังเปิดให้ผู้จัดงานอีเว้นท์ ออร์แกไนเซอร์ แบรนด์ มาใช้พื้นที่จัดกิจกรรมบนแพลตฟอร์มทั้ง Online และ On Ground อาทิ แข่งขันอีสปอร์ต, Live Conference, เปิดตัวสินค้า และ Sharing บนโซเชียลได้ด้วย

ทั้งนี้ เอไอเอส มองว่า อินฟาสตรั๊กเจอร์ที่แข็งแรงจะยิ่งทำให้อีสปอร์ตเติบโต เพราะด้วยความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่มากขึ้น จะทำให้ได้สัมผัสกับ Cloud Gaming และการนำเทคโนโลยี VR/AR เข้ามาจะทำให้เกิดประสบการณ์ที่สมจริงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเติบโตต้องไม่ใช่แค่มูลค่าอย่างเดียว แต่อุตสาหกรรมต้องเติบโตแบบยั่งยืนในเชิงสังคมด้วย เพราะตอนนี้เด็ก 7 ขวบก็เริ่มใช้สมาร์ทโฟน อายุ 15 ขึ้นไปก็จะเริ่มก้าวสู่วงการอีสปอร์ตแล้ว ดังนั้น เอไอเอสมีการจัดทำชุดความรู้ทางด้านความฉลาดทางดิจิทัล (DQ) ควบคู่ไปด้วยเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกวิธีและเหมาะสม ซึ่งจะช่วยสร้างการเติบโตอย่างสร้างสรรค์ ยั่งยืน

“อีสปอร์ตในวันนี้ไม่ได้มีภาพของเด็กติดเกมอีกต่อไป แต่เป็นอุตสาหกรรมที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัล ฟื้นฟูประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้หลัง Covid-19 ภายใต้ความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้เกี่ยวข้องใน eSports Ecosystem ทุกภาคส่วน เชื่อว่า ประเทศเทศไทยจะสามารถก้าวสู่การเป็นฮับอีสปอร์ตแห่งภูมิภาคอาเซียนได้อย่างแน่นอน”

]]>
1287812